กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: ทรงกลด ที่ 12 ก.ย. 2554, 09:42:49

หัวข้อ: อภิญญา 6
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 12 ก.ย. 2554, 09:42:49
อภิญญา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

1.อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
2.ทิพพโสต มีหูทิพย์
3.เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
อภิญญา 5 ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) ข้อ 6 มีเฉพาะในพระอริยบุคคล
ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/อภิญญา
หัวข้อ: ตอบ: อภิญญา 6
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 12 ก.ย. 2554, 09:57:04
ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็น กล่าวคือ การหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ

       นอก นั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)

๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน)
๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ)
๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
๔. ทิพพโสต (หูทิพย์)

๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ )
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)
๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)
๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)

ข้อที่ ๒ โดยมากจัดเข้าในข้อที่ ๓ ด้วย ข้อที่ ๓ ถึง ๘ (๖ ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา ๖.

อ้างอิง ที.สี.๙/๑๓๑๑๓๘/๑๐๑-๑๑๒.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

จากวิชชา ๘ จะเห็นว่า ญาณแบ่งได้สองส่วน คือ ส่วนที่เป็นอิทธิฤทธิืปาฏิหารย์ หรือ โลกียญาณ

อีกส่วน คือ การสิ้นกิเลส หรือ โลกุตรญาณ

ในภาคโลกียะ จะใช้สมาธิล้วนๆ(สมถกรรมฐาน)

ในภาคโลกุตระ ใช้สมาธิและวิปัสสนาร่วมกัน

ที่มา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3757.0;wap2
หัวข้อ: ตอบ: อภิญญา 6
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 12 ก.ย. 2554, 10:49:06
อภิญญา6

พระอรหันต์ คือผู้ที่ดับกิเลส จนสิ้นเชื้อไม่เหลือหรอ ไม่สามารถมีอะไรปรุงแต่งจิตของท่านได้อีกต่อไป จึงทำให้ ไม่ต้องไปเกิดในภพใดๆ อีกต่อไป เป็นการสิ้นสุด การเดินทางในวัฏฏสังสารอันยาวนาน พระอรหันต์เอง ก็มีหลายแบบ สามารถแบ่งได้ ตาม option หรือสิ่งที่ได้มาด้วยพร้อมการบรรลุอรหันต์คือ
1) พระอรหันต์แบบสุขวิปัสสโก คือ บรรลุอรหันต์ได้ด้วยการ เน้นการเจริญวิปัสสนา พอบรรลุอรหันต์แล้วก็จะไม่มี option พิเศษใดๆติดมาพร้อมการบรรลุเลย
2) พระอรหันต์แบบเตวิชโช คือ ได้ วิชชา 3 มาพร้อมกับการบรรลุอรหันต์
วิชชา 3 ได้แก่
- บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ญาณในการระลึกชาติได้
- จูตูปปาตญาณ คือ ญาณในการรู้เห็นการเกิด การตายของสัตว์ทั้งหลาย
- อาสวขยญาณ คือ ญาณในการกำจัดกิเลสให้สิ้นไป
3) พระอรหันต์ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ ได้ ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อย่างมาพร้อมกับการบรรลุอรหันต์ ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง 4 ได้แก่
- ความแตกฉานใน อรรถ
- ความแตกฉานใน ธรรม
- ความแตกฉานใน ภาษา
- ความแตกฉานใน ปฏิภาณ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้แต่พระอรหันต์เองก็ยังมีความแตกต่าง อันนี้ก็ขึ้นกับ บุญญาธิการของท่านที่ท่านได้สร้างไว้ใน ชาติก่อนๆ ด้วย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่พระอรหันต์บางรูปท่านไม่รู้และไม่แตกฉานในพระอภิธรรมปิฏก
4) พระอรหันต์แบบฉฬภิญโญ คือ ได้ อภิญญา 6 มาพร้อมกับการบรรลุอรหันต์ อภิญญา 6 ได้แก่
- แสดงอิทธิฤทธิ์ได้เช่น เหาะเหิร เดินอากาศ หายตัว ฯลฯ
- มีหูทิพย์ (ทิพยโสต)
- ระลึกชาติได้ (บุพเพนิวาสานุสติญาณ)
- รู้วาระจิตผู้อื่นได้ หรือ อ่านใจคนอื่นได้ว่าคิดอะไร (เจโตปริยญาณ)
- มีตาทิพย์ (ทิพยจักขุ)
- อาสวขยญาณ
อภิญญา 5 อย่างแรกนั้น พวกฤาษี ชีไพรทั้งหลายก็สามารถทำได้ แต่ อาสวขยญาณนั้นจะเกิดกับพระอรหันต์เท่านั้น

ที่มา
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=12966
หัวข้อ: ตอบ: อภิญญา 6
เริ่มหัวข้อโดย: เตโช ที่ 14 ก.ย. 2554, 08:51:26
"อนุโมธนามิ"