แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

หน้า: [1]
1
:090: เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๑๑ :090:


เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๑๑ ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)

ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระได้จัดทำเพื่อเพื่อนสมาชิกได้ใส่ร่วมพิธีไหว้ครู

ปีนี้เป็นปีที่ ๑๒ ขณะนี้ทางทีมงานได้เริ่มดำเนินการจัดทำเสื้อที่ระลึกรุ่นที่ ๑๑ แล้ว

เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบันทึกข้อมูล ทางทีมงานจึงเปิด Pre-Order ให้สั่งจองเสื้อที่ระลึก รุ่น ๑๑

ได้ที่แฟนเพจเฟสบุ๊ก วัดบางพระ จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่น) เพียงที่เดียวเท่านั้น 

คลิกไปอ่านรายละเอียด และสั่งจองตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ได้ที่ลิ้งค์..

https://web.facebook.com/Bp.or.Th/posts/2810995705627415

**เปิดสั่งจองรอบ Pre-Order ได้ ตั้งแต่ วันนี้ - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

***จัดส่งได้ ประมาณ ต้นเดือน มีนาคม ก่อนงานไหว้ครู


ตัวละ ๓๕๐ บาท ( ฟรีค่าจัดส่ง เฉพาะช่วง Pre-Oeder นี้เท่านั้น )

**** ทั้งนี้ ทางทีมงานอาจจะทำเสื้อเพิ่มไว้จำนวนหนึ่งนอกเหนือจากที่เปิดให้สั่งจองรอบ Pre-Order ซึ่งจะเปิดให้บูชาได้ในวันงานไหว้ครูประจำปี วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๓ ณ อาคารสำนักงานวัดบางพระ หน้ากุฏิใหญ่


ขนาดเสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

ขนาดเสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL


จึงแจ้งมาเพื่อทราบ...
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ :001:

4






















หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

5


















หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

6
:090:เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๑๐ :090:


เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๑๐ ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)

ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระได้จัดทำเพื่อเพื่อนสมาชิกได้ใส่ร่วมพิธีไหว้ครู

ปีนี้เป็นปีที่ ๑๑ ขณะนี้ทางทีมงานได้เริ่มดำเนินการจัดทำเสื้อที่ระลึกรุ่นที่ ๑๐ แล้ว

และในปีนี้จะไม่มีการเปิดจองเสื้อผ่านหน้าเว็บบอร์ดเหมือนปีที่ผ่านมา

เนื่องจากทีมงานแต่ละท่านติดภาระกิจไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง

จึงปรึกษากันว่า เปิดให้บูชาที่วัดบางพระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


ราคา 350 บาท

*** บูชาได้ในวันงานไหว้ครูประจำปี วันเสาร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๒ ณ อาคารสำนักงานวัดบางพระ หน้ากุฏิใหญ่

*** สำหรับจำนวนการผลิตเสื้อในปีนี้ ทางทีมงานจะดูจากสถิติการสั่งจองเสื้อย้อนหลัง ๔ ปี

ขนาดเสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

ขนาดเสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งทางทีมงาน ( แจ้งตอบในกระทู้นี้ ) เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ

จึงแจ้งมาเพื่อทราบ...

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ
:001:

7

       ขอเจริญพรอนุโมทนาแด่ทุกท่านที่มาร่วมพิธีทอดกฐินในวันนี้ ก็มีด้วยกันหลายๆ ท่านด้วยกัน ทั้งญาติโยมทั้งหลายที่อยู่บริเวณวัดบางพระและใกล้เคียง มาจากต่างจังหวัด สถานที่ห่างไกล ได้ร่วมกันมาทำบุญกฐินวัดบางพระในวันนี้ ก็เพราะท่านทั้งหลายยังระลึกถึงความดี คุณงามความดีของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระอุดมประชานาถ หรือหลวงพ่อเปิ่นของเรา ที่ท่านได้อุปการคุณตอนท่านยังมีชีวิตอยู่ ในตำบลเขตวัดบางพระ และเขตใกล้เคียง ทั้งต่างจังหวัดมาอยู่ตลอดจวบจนมาถึงทุกวันนี้ ท่านทั้งหลาย ยังระลึกถึงความดีของท่าน ก็เลยนำกันมาร่วมทอดกฐินในวันนี้

   การทอดกฐินนี้มีอานิสงส์มาก ปีนึงมีทอดกันครั้งเดียว และมีเวลาแค่เดือนเดียวเท่านั้นเอง อานิสงส์กฐินดังที่ท่านโฆษกได้ประกาศไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง อาตมาก็จะไม่ขอกล่าวซ้ำอีก

   ดังนั้นก็ ขออำนวยอวยพรท่านทั้งหลายที่มาร่วมทอดกฐินในวันนี้ จงมีแต่ความสุขความเจริญ คิดอะไรให้สมความปรารถนา เป็นนักลงทุนผู้ที่เกี่ยวกับการค้า ก็ขอให้การค้าทั้งหลายเจริญรุ่งเรือง และผู้ที่เกี่ยวข้องทำงานราชการขอให้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ยศถาบรรดาศักดิ์ และท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการงานเกษตรกร ขอให้กิจการทำไร่ ทำนา เกิดมรรคผล ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

   ก็ขอให้ท่านทั้งหลายจงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ คิดประสงค์จำนงหมายสิ่งใดอันเป็นที่ชอบที่ถูกที่ควรแล้วไซร้ ขอให้สิ่งนั้นๆ จงพลันสำเร็จ โดยทั่วกันทุกท่านทุกคนเทอญ ขอเจริญพร.


:114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:

พระครูอนุกูลพิศาลกิจ ( หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร )
เจ้าอาวาสวัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
กล่าวสัมโมทนียกถา อนุโมทนาบุญ พิธีทอดกฐินวัดบางพระ
วันอาทิตย์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ( แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ )

9




































































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

10


















































































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

11
































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

13
วันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๓๙ น.







































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

14
















































































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

15
[shake]ปิดกิจกรรมแล้ว..
ขอล็อคกระทู้ (ปิดการตอบในกระทู้) ครับ.
[/shake]

รายละเอียดของรางวัลที่นำมาแจก



กระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม พ.ศ.๒๕๔๑
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ร่วมอธิษฐานจิตฯ




ภาพเพิ่มเติม จากงานพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกอ่านได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30990.0

:114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:




พระไตรรัตน์ปิดตาสังกัจจายน์
กราบขอบพระคุณพระครูสรพาจน์โฆษิต (มนตรี ฐิตโสภโณ) วัดบางแวก กทม.
ที่เมตตามอบมาให้แจกแก่สมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ มา ณ โอกาสนี้ ด้วยครับ.

:114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:


สติ๊กเกอร์งานไหว้ครูประจำปีหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี ๒๕๖๐ (ได้รับการอธิษฐานจิตแล้ว)
หลวงพ่อสำอางค์ ท่านฝากเน้นย้ำมาว่า หากไม่นำไปติดรถฯ ก็ควรเก็บไว้ในที่อันควร เพราะมีรูปหลวงพ่อเปิ่นอยู่

:114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:


เหรียญหลวงพ่อสำอางค์ วัดบางพระ ที่ระลึกจากงานพิธีฉลองสมณศักดิ์ เมื่อวันพุธที่ ๒๕ มกราคม ที่ผ่านมา

:114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

รายละเอียดและกติกาการร่วมลงชื่อรับรางวัล

- สงวนสิทธิ์ในการแจกรางวัลครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ ผู้ที่ลงชื่อรับรางวัล ๑๒ ท่านแรก โดยโพสขอรับรางวัลได้ในกระทู้นี้เท่านั้น (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้)

- ผู้ที่ลงชื่อรับรางวัล ๑๒ ท่านแรก จะได้รับ กระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ จำนวน ๑ ใบ, พระไตรรัตน์ปิดตาสังกัจจายน์ จำนวน ๑ องค์, สติ๊กเกอร์งานไหว้ครูประจำปีหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี ๒๕๖๐ จำนวน ๑ ใบ และเหรียญหลวงพ่อสำอางค์ วัดบางพระ จำนวน ๑ เหรียญ (รวม ๔ ชิ้น / ๑ ท่าน)

- สำหรับผู้ที่ลงชื่อรับรางวัลทั้ง ๑๒ ท่าน กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล และรับรายละเอียดชำระค่าจัดส่ง (มีค่าจัดส่ง ๖๐ บาท) ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

16
พิธีฉลองสมณศักดิ์ แสดงมุทิตาสักการะ ในโอกาสที่ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ วันพุธที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๐๐ น.



























































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

18

ประวัติพระปลัดประสิทธิ์ ธมฺมโชโต (คงประจักษ์)

        พระปลัดประสิทธิ์ ธมฺมโชโต หรือนามที่ลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดมักเรียกว่า “หลวงพี่ต้อย” ตามเอกสารทะเบียนราษฎรเกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๗ (แจ้งเกิดล่าช้าประมาณ ๒ ปี) ที่บ้านตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อนายยม คงประจักษ์ โยมมารดาชื่อนางถนอม มามะเริง มีพี่น้องร่วม ๘ คน คือ

        ๑.   นายสนั่น
        ๒.     พระปลัดประสิทธิ์ ธมฺมโชโต
        ๓.   นางสาวเจนจิรา
        ๔.   นายสุนันท์ (ถึงแก่กรรม)
        ๕.   นายจำลอง
        ๖.   นายปฐพี
        ๗.   นางสาวมัทนิน
        ๘.   นางสาววันเพ็ญ
        และมีน้องสาวต่างมารดา ๒ คน คือ
        ๑.   นางสาวพเยาว์
        ๒.   นางสาวประทุมทิพย์



        ในวัยเด็ก หลวงพี่ต้อยมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงนัก โยมแม่จึงพาไปหาพระอาจารย์เปลี่ยน ปัดรังควานเพื่อเป็นสิริมงคลให้ และยกหลวงพี่ต้อยเป็นบุตรบุญธรรมของเตี่ยยุง แม่หนู นุชจำเริญ

   หลวงพี่ต้อยได้รับความรักและการดูแลอย่างดีจากเตี่ยยุง แม่หนู รวมทั้งญาติๆ ที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะอางานและอาตุ๊ ส่งผลให้หลวงพี่ต้อยเป็นคนมีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ใจเย็น เป็นมิตรกับทุกๆ คน

   เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบางพระ ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ ที่วัดโคกเขมา โดยมีพระอธิการเปิ่น ฐิตคุโณ เป็นเจ้าอาวาส





   ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้อุปสมบทที่วัดบางพระ จำพรรษาได้ครบ ๑ พรรษา จึงลาสิกขาเพื่อไปช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพ

   หลวงพี่ต้อยช่วยงานในครอบครัวเท่าที่สุขภาพร่างกายจะพอรับได้ ไม่เคยวางเฉย ทั้งๆ ที่ตัวเล็กนิดเดียว หลวงพี่ต้อยไม่เคยท้อที่จะต้องช่วยเตี่ยยุงใช้ระหัดชกมวยวิดน้ำเข้าสวน

   หลวงพี่ต้อยหารายได้ช่วยครอบครัวด้วยการเป็นกระเป๋ารถเมล์สายบางพระ-นครปฐม ผู้โดยสารโดยเฉพาะนักเรียนที่ต้องใช้บริการรถเมล์ทุกวัน เห็นกระเป๋ารถเมล์ผู้มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส พูดคุยกับผู้โดยสารด้วยถ้อยคำสุภาพ สนุกสนานอยู่เป็นนิจ หลวงพี่ต้อยจึงเป็นกระเป๋ารถเมล์ที่เป็นขวัญใจของผู้โดยสารในยุคนั้นอย่างแท้จริง





   ยามว่างในช่วงชีวิตของความเป็นวัยรุ่น หลวงพี่ต้อยร่วมเป็นสมาชิกชมรมพัฒนาวัดบางพระ ที่มีสมาชิกเป็นวัยรุ่นทั้งชายและหญิงหลายสิบคน โดยมีคุณครูเทพ ปิ่นเวหา เป็นหัวหน้าชมรม รวมพลังกันสร้างความดี ทำงานเพื่อส่วนรวม กิจกรรมใดๆ ที่ต้องการกำลังงานจากชมรม หลวงพี่ต้อยและสมาชิกทุกคนจะพร้อมใจกัน ไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย ช่วยกันดายหญ้าหน้าวัด หน้าโรงเรียน ขายทองงานประจำปีของวัด ขนทราย เทปูนในวัด และหลวงพี่ต้อยก็มักทำตัวเป็นชูรสของกลุ่มทำงานอยู่เสมอ เพราะขณะทำงานเหนื่อยๆ ก็หาเรื่องราวมาเล่าให้สนุกสนานไปกับการทำงานได้เป็นอย่างดี

   การใช้ชีวิตในความเป็นฆราวาสช่วงนี้ เป็นสิ่งที่หลวงพี่ต้อยต้องทบทวนเพื่อหาคำตอบให้กับตัวเอง และสิ่งที่เป็นคำตอบคือ
“ขอบวชอีกครั้ง”

   ปี พ.ศ.๒๕๒๒ หลวงพี่ต้อย อุปสมบทครั้งที่ ๒ เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี ณ พัทธสีมาวัดบางพระ โดยมีพระครูปัญญาประยุต (หลวงพ่อมาก ปญฺญายุตฺโต) วัดสุขวัฒนาราม (บางระกำ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ สุนฺทโร) วัดกลางบางพระ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกาเปิ่น ฐิตคุโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์






   เมื่อบวชเป็นพระ สิ่งที่หลวงพี่ต้อยมุ่งมั่นด้วยใจที่แน่วแน่คือการศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ และสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ.๒๕๒๕

   นอกจากศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว หลวงพี่ต้อยยังได้ศึกษาวิชาความรู้และศาสตร์ต่างๆ จากพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) ซึ่งเป็นปู่แท้ๆ ของหลวงพี่ต้อย และได้ยึดถือเป็นต้นแบบทั้งการทำหน้าที่ของสงฆ์ การวางตัว ความมีเมตตา และสิ่งสำคัญที่หลวงพี่ต้อยปฏิบัติมาโดยตลอดคือ
“การเป็นผู้ให้”

   ปี พ.ศ.๒๕๓๘ หลวงพี่ต้อยได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระปลัด” ฐานานุกรมในพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) เจ้าอาวาสวัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม






   หลวงพี่ต้อยเป็นพระที่มีเมตตาสูง จึงทำให้มีลูกศิษย์มากมาย และด้วยแรงศรัทธาเหล่านั้น ทั้งเงินและสิ่งของที่ลูกศิษย์นำมาถวาย หลวงพี่ต้อยจะเก็บรวบรวม และให้กับบุคคลหรือสถานที่ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งสิ้น หลวงพี่ต้อยยิ่งให้ หลวงพี่ต้อยยิ่งได้รับ เป็นความจริงในข้อนี้ เพราะหลวงพี่ต้อยไม่มีเงินเดือน ไม่มีรายได้ประจำ แต่หลวงพี่ต้อยได้รับศรัทธา และส่งแรงศรัทธาเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังจะเห็นได้ว่าหลวงพี่ต้อยร่วมสร้างถาวรวัตถุร่วมกับพระเดชพระคุณพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) เช่น สร้างอุโบสถวัดหนองกรับ จ.สุพรรณบุรี สร้างอุโบสถวัดหนองผักไร จ.นครราชสีมา บูรณะศาลาการเปรียญวัดหลักร้อย จ.นครราชสีมา บูรณะศาลาการเปรียญวัดสายโทรเลข จ.ตาก สร้างศาลาการเปรียญวัดอมราวดี จ.ตาก สร้างฌาปนสถาน ณ สำนักสงฆ์หนองกิ่งฟ้า จ.ตาก ทอดกฐินสามัคคี วัดเวียงแก้ว จ.เชียงราย สร้างอุโบสถวัดมาตานุสรณ์ จ.ตาก สร้างอาคารเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดบางพระ สร้างสะพานข้ามคลองเข้าวัดเกษตราราม สร้างห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดเกษตราราม อ.บางเลน จ.นครปฐม เป็นต้น และสิ่งสุดท้ายที่หลวงพี่ต้อยหมดห่วงคือ จัดหารถพยาบาลสำหรับรับ-ส่ง ผู้ป่วย มอบให้กับโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น เป็นที่เรียบร้อย

   ด้วยแรงศรัทธาของลูกศิษย์ และด้วยหัวใจอันเปี่ยมล้นของความเป็นผู้ให้ หลวงพี่ต้อยต้องเดินทางไม่ว่าใกล้หรือไกล หลวงพี่ต้อยไปประเทศจีน ทั้งเมืองคุณหมิง ปักกิ่ง และฮ่องกง กิจนิมนต์บ้านลูกศิษย์ที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย หลวงพี่ต้อยก็ไปเพื่อเป็นการฉลองศรัทธาของลูกศิษย์ที่มีต่อหลวงพี่ต้อย นับเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันสมบูรณ์ยิ่ง ตลอด ๓๘ พรรษา ของหลวงพี่ต้อย







   ปี พ.ศ.๒๕๕๓ หลวงพี่ต้อยเริ่มมีอาการอาพาธหายใจไม่ออก ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น แต่สิ่งที่ทำให้ญาติ และบรรดาลูกศิษย์ที่ทราบข่าวอาการอาพาธของหลวงพี่ต้อยพากันวิตกกังวล ด้วยผลการตรวจของแพทย์ทางโรงพยาบาลทรวงอกที่แจ้งว่า ตรวจพบมะเร็งปอดระยะสุดท้ายถึง ๕ ก้อน ซึ่งอยู่ในบริเวณอวัยวะสำคัญ ผ่าตัดได้ไม่หมด ทำให้เชื้อมะเร็งลุกลามอย่างรวดเร็ว

   ปี พ.ศ.๒๕๕๗ เชื้อมะเร็งลามขึ้นสมอง แพทย์รักษาด้วยวิธีการฉายแสงถึง ๑๓ ครั้ง ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ทุกๆ คนที่อยู่ใกล้ชิดจะทราบดีว่า ขณะที่หลวงพี่ต้อยอาพาธเจ็บปวดเพียงใด หลวงพี่ต้อยจะเก็บซ่อนความรู้สึกไม่ให้ใครเป็นทุกข์ไปด้วย แม้ขณะนอนอยู่ในโรงพยาบาล ทุกๆ คนที่ไปเยี่ยมจะพบกับใบหน้ายิ้มแย้ม และท่านจะเล่าเหตุการณ์ในการรักษาของแพทย์เป็นเรื่องตลกขบขันให้ฟังเป็นส่วนใหญ่

   ปี พ.ศ.๒๕๕๘ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช แพทย์ลงความเห็นว่า เชื้อมะเร็งลามมาที่กระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกผุลงมาทับเส้นประสาท ส่งผลให้เดินไม่ได้

   ท้ายสุดแห่งชีวิต หลวงพี่ต้อยขอกลับมารักษาตัวอยู่ที่วัด บรรดาลูกศิษย์และญาติพี่น้องพากันแวะเวียนมาเยี่ยมมิได้ขาด สิ่งที่ทุกๆ คนได้เห็นคือ สายตาที่เปี่ยมด้วยความเมตตา และพยายามพูดคุยกับทุกคนให้คลายกังวลกับอาการอาพาธของหลวงพี่ต้อย ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่หลวงพี่ต้อยจะให้กับทุกคนได้


   หลวงพี่ต้อยมรณภาพอย่างสงบ ท่ามกลางความรักความอาลัยของแพทย์ พยาบาล ญาติพี่น้อง และลูกศิษย์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๖.๔๓ น. สิริอายุได้ ๖๒ ปี (นับอายุจริง ๖๔ ปี) ๕ เดือน ๑๒ วัน








   
แสงตะวัน ลาลับ ดับขอบฟ้า   เหลือเพียงแต่ หยดน้ำตา ที่รินไหล
พระประสิทธิ์ ผู้เป็น ดั่งร่มไทร      มาจากลา อาลัย ไม่กลับมา
   ต่อไปนี้ จะไม่มี ท่านอีกแล้ว   ร่มโพธิ์แก้ว ต้นใหญ่ ใบดกหนา
ให้ร่มเงา ดับร้อน ด้วยเมตตา      ต้องร้างลา จากไป ให้จาบัลย์
   อานิสงส์ ผลบุญ ที่ท่านสร้าง   คุณความดี ทุกอย่าง ที่สร้างสรรค์
จะสถิต ในใจคน จนนิรันดร์       ศรัทธานั้น จะคงอยู่ ตลอดกาล
   ยี่สิบเจ็ด ตุลา ปีห้าเก้า         คือวันที่ แสนโศกเศร้า มหาศาล
ยกมือไหว้ ด้วยใจ อันร้าวราน      กราบนมัสการ ด้วยศรัทธา และอาลัย

ประพันธ์โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น

:089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089:

19
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๙




































































































22




































































































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

23
[shake]..ปิดกิจกรรมแล้วครับ..[/shake]

แจกพระพิมพ์ขุนแผนนะเสน่หา มวลสารรักทองเก่า+เนื้อปูน จากองค์หลวงพ่อโต วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) จำนวน ๕๐ องค์



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



ประมวลภาพช่วงบูรณะองค์หลวงพ่อโต วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) จ.นครปฐม








:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



พระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) หน้าตักกว้าง ๗๕ นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖
หลวงพ่อเปิ่นได้สร้างไว้ในช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม



มวลสารเนื้อปูนเก่าจากองค์หลวงพ่อโต ที่กระเทาะออกช่วงบูรณะเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

จากการสัมภาษณ์พระครูโกวิทสุตการ (หลวงพ่อกำไร) เจ้าอาวาสวัดโคกเขมารูปปัจจุบัน และพระสมุห์ไพรวัน คุณวนฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา ต่างให้ข้อมูลยืนยันตรงกันว่า ทางวัดไม่เคยมีการลอกรักทองออกจากองค์หลวงพ่อโตเลยนับตั้งแต่หลวงพ่อเปิ่นท่านได้สร้างหลวงพ่อโตไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ แต่มีการลงรักเคลือบองค์หลวงพ่อโตใหม่ประมาณ ๒ ครั้ง โดยทาเคลือบรักทองเดิมไว้ไม่ได้มีการลอกรักทองเก่าออก

และเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๕๙ ทางวัดโคกเขมา ได้ดำเนินการยกฐานหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ พร้อมกับบูรณะองค์หลวงพ่อโต โดยลอกรักทองเก่าออกเพื่อทำผิวปูนใหม่ ทางวัดโคกเขมา จึงได้นำรักทองเก่าและเนื้อปูนจากองค์หลวงพ่อโตที่กระเทาะออกช่วงบูรณะมาเป็นมวลสารจัดสร้างพระพิมพ์ขุนแผนนะเสน่หา ซึ่งได้ถอดพิมพ์พระขุนแผนที่หลวงพ่อเปิ่นสร้างไว้ที่วัดโคกเขมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ มาเป็นองค์ต้นแบบ เพื่อไว้แจกจ่ายญาติโยมไว้เป็นที่ระลึกในงานประจำปีปิดทองสมโภชหลวงพ่อโต-หลวงพ่อเปิ่น วัดโคกเขมา ๒๕๕๙ ฯ


พระพิมพ์ขุนแผนนะเสน่หา เนื้อสีแดง ผสมมวลสารรักทองเก่า+เนื้อปูน จากองค์หลวงพ่อโต วัดโคกเขมา



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



พระครูโกวิทสุตการ (หลวงพ่อกำไร) รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดโคกเขมารูปปัจจุบัน ท่านเมตตาให้นำมาแจกให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ (www.bp.or.th) และแฟนเพจเฟสบุ๊ควัดบางพระ จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่น) (www.facebook.com/bp.or.th) จำนวน ๕๐ องค์



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต พิธีพุทธาภิเษกพระพิมพ์ขุนแผนนะเสน่หา (พร้อมวัตถุมงคลอื่นๆ ในงานประจำปีฯ วัดโคกเขมา ๒๕๕๙) เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ (แรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม)

๑.พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์) เจ้าอาวาสวัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จุดเทียนชัย
๒.พระครูวิบูลสิริธรรม (หลวงพ่อเพี้ยน) เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ดับเทียนชัย
๓.พระครูโกวิทสุตการ (หลวงพ่อกำไร) รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
๔.พระครูศรีสุตากร (หลวงพ่อทั่ง) เจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
๕.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
๖.พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ (หลวงพ่อทองคำ) เจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก อ.เมือง จ.นครปฐม
๗.พระครูสถิตบุญเขต (หลวงพ่อบุญช่วย) เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
๘.พระครูปฐมวราจารย์ (หลวงพ่ออวยพร) รองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม
๙.พระครูพิจิตรสรคุณ (หลวงพ่อพร) เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
๑๐.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



ประมวลภาพพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลที่ระลึกในงานประจำปีปิดทองสมโภชหลวงพ่อโต-หลวงพ่อเปิ่น วัดโคกเขมา ๒๕๕๙


พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์) เจ้าอาวาสวัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จุดเทียนชัย


พระครูวิบูลสิริธรรม (หลวงพ่อเพี้ยน) เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


พระครูโกวิทสุตการ (หลวงพ่อกำไร) รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี


พระครูปฐมวราจารย์ (หลวงพ่ออวยพร) รองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม


พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



รายละเอียดการแจกพระพิมพ์ขุนแผนนะเสน่หา เนื้อสีแดง มวลสารรักทองเก่า+เนื้อปูน จากองค์หลวงพ่อโต วัดโคกเขมา จำนวน ๕๐ องค์


แจกให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ และแฟนเพจเฟสบุ๊ควัดบางพระ จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่น) ที่มาร่วมงานทำบุญวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อเปิ่น ครอบรอบ ๑๔ ปี วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙

เปิดให้ลงชื่อยืนยันตัวตน-รับพระฯ ได้ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๔.๐๐ น. ณ สำนักงานวัดบางพระ (หน้ากุฏิใหญ่)

จำกัดสิทธิ์แจกเฉพาะสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ และแฟนเพจเฟสบุ๊ควัดบางพระ จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่น) เท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/๑ องค์)

หากยังมีพระเหลือจากการแจก จะนำมาแจกที่หน้าแฟนเพจวัดเฟสบุ๊คบางพระ จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่น) ต่อไป.




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

24































































































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

25
ภุมโม ๕ เมษายน ๒๕๕๙ ณ วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม






พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี



พรครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น อาจารสมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา


พระครูโกวิทสุตการ (พระมหาระพิน อภิชาโน "หลวงพ่อกำไร") รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม








พระสมุห์ไพรวัน คุณวนฺโต วัดโคกเขมา กับ พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ ธมฺมทินฺโน) เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม




พระอาจารย์สนธ์ วัดใหม่สุคนธาราม พระอาจารย์วัน วัดโคกเขมา หลวงพ่อสำอางค์ วัดบางพระ


พระครูธรรมธรชะออม ขนฺติโก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


พระครูปฐมวราจารย์ (หลวงพ่ออวยพร ฐิติญาโณ) เจ้าคณะตำบลดอนยายหอม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม


หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม กับหลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก




















พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ (หลวงพ่อบุญสม ผลญาโณ) เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดสำโรง จ.นครปฐม


หลวงพ่อสำอางค์ วัดบางพระ กับ หลวงพ่อบุญสม วัดสำโรง























 :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

26
วันเปิดงานประจำปีปิดทองสมโภชหลวงพ่อโต-หลวงพ่อเปิ่น วัดโคกเขมา วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙
พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ ประธานเปิดงาน



พระครูโกวิทสุตการ (พระมหาระพิน อภิชาโน "หลวงพ่อกำไร")
รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) จ.นครปฐม













พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ ป.ธ.๙)
เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม รองเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร












หลวงพ่อสำอางค์ มอบทุนการศึกษา


















พระครูธรรมธรชออม ขนฺติโก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางพระ รับทักษิณานุปทาน


พระอาจารย์ติ่ง สนฺตจิตฺโต แวะมาภายในงานประจำปีวัดโคกเขมา ๒๕๕๙

หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

27
วันศุกร์ที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙










































































หมายเหตุ: ข้อมูลภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอก,ตัดต่อ เพื่อใช้ในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต
หากมีความประสงค์จะนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อ กรุณาให้เครดิต-วางลิ้งค์ที่มาของภาพ กำกับไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้สืบค้นอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลฯ

29


เปิดให้ร่วมบุญบูชาแล้วบนกุฏิใหญ่วัดบางพระ
เนื้อทองแดงรมดำ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๑๕๐ บาท

!!!เฉพาะวันเสาร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙ บูชาพานครู ๑๐๐ บาท
จะได้รับเหรียญไหว้ครู ๕๙ เนื้อทองแดงรมดำ ๑ เหรียญ!!!



30
วันจันทร์ที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๖.๓๐ น. @กุฏิใหญ่ วัดบางพระ






























































































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

31











:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ลอคเกตลูกอมเสือ บูชาครู ๒๕๕๙ (หลวงพี่ต้อยจัดสร้าง)
รายได้สมทบทุนซื้อรถพยาบาลฉุกเฉิน
มอบให้โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น

รายละเอียดการจัดสร้าง

๑. ลอคเกตลูกอมเสือ บูชาครู ๒๕๕๙ ฉากสีดำ จำนวนสร้าง ๒๐๐ อัน
    ร่วมบุญสั่งจองบูชาอันละ ๓๐๐ บาท


๒. ลอคเกตลูกอมเสือ บูชาครู ๒๕๕๙ ฉากสีแดง  จำนวนสร้าง ๒๐๐ อัน
    ร่วมบุญสั่งจองบูชาอันละ ๓๐๐ บาท


[shake]**หมายเหตุ** ด้านหลังลอคเกตลูกอมเสือ บูชาครู ๒๕๕๙ ทุกอัน อุดผงเก่าของหลวงพ่อเปิ่น + จีวรหลวงพ่อเปิ่น + ตะกรุด ๑ ดอก + สิงห์ (แกะจากกระดูกช้าง) ๑ ตัว[/shake]

เปิดให้ร่วมบุญสั่งจองได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่กุฏิหลวงพี่ปาด (ข้างกุฏิหลวงพี่ต้อย)

กำหนดรับลอคเกตลูกอมเสือ บูชาครู ๒๕๕๙ ได้หลังวันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เป็นต้นไป


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมบุญในครั้งนี้
..สาธุ สาธุ อนุโมทามิ..

33

แจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ ร่วมทำบุญกับหลวงพี่ต้อย เพื่อสมทบทุนสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ ณ วัดเวียงแก้ว จ.เชียงราย และสมทบทุนซื้อรถพยาบาล โดยสามารถร่วมบุญบูชาวัตถุมงคลเพื่อสมทบทุนโครงการงานบุญดังกล่าวได้ดังนี้

:089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089:

๑. เหรียญหลวงพ่อเปิ่น ปี ๒๕๓๗ เนื้อนวะโลหะ (กล่องเดิม) เปิดให้ร่วมบุญบูชาได้เลย เหรียญละ ๕,๐๐๐ บาท



:089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089:

๒. ลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น รุ่นเลื่อนยศ ปลดหนี้ ปี ๕๘ พิมพ์พิเศษ (หลังอุดผงยาจินดามณีเก่าของหลวงพ่อเปิ่น+ตะกรุดเงิน ๑ ดอก+เหรียญเม็ดกระดุมหลวงพ่อเปิ่น ปี ๒๕๔๓ จำนวน ๑ องค์+เหรียญเม็ดกระดุมหลวงพ่อเปิ่น ปี ๒๕๔๔ จำนวน ๑ องค์) เปิดให้ร่วมบุญบูชาได้เลย องค์ละ ๑,๐๐๐ บาท


:089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089:

๓. พระบูชาหลวงพ่อเปิ่น ฐานเสือคู่ หน้าตัก ๓ นิ้ว หลวงพี่ต้อยจัดสร้างจำนวน ๓๐๐ องค์ ร่วมบุญสั่งจององค์ละ ๑,๓๐๐ บาท รับพระได้ก่อนงานไหว้ครู ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙ (ยอดสั่งจองใกล้เต็มแล้ว)



:089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089:

รายการวัตถุมงคลทั้งหมดนี้ ร่วมบุญบูชา และสั่งจองได้ที่หลวงพี่ปาด ข้างกุฏิหลวงพี่ต้อย วัดบางพระ ที่เดียวเท่านั้น (ไม่มีจัดส่งทางไปรษณีย์)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

อนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ร่วมบุญในครั้งนี้ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

34

แจกรูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์
แก่สมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ จำนวน ๑๕๐ ใบ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

รายละเอียด-พิธีกรรมอธิษฐานจิตปลุกเสก

จำนวนสร้างรูปใบเล็กรวม ๓,๐๐๐ ใบ โดยถวายหลวงพี่ติ่งไว้ ๒,๐๐๐ ใบ (รูปที่ถวายหลวงพี่ติ่งไว้ จะตัดภาพพื้นหลังออกบางส่วน)

อีก ๑,๐๐๐ ใบ (ภาพเดิมตามฟิล์มต้นฉบับ) แยกถวายแล้วบางส่วน เช่น ถวายหลวงพ่อสำอางค์, ถวายหลวงพี่ต้อย, ถวายหลวงพี่สุธี, นำไปแจกที่ประเทศจีน ฯ


รูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์นี้ ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก-มหาพุทธาภิเศก ๒ พิธี ดังนี้

วันพุธที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๙.๓๙ น. มหัทธโนฤกษ์ ณ อุโบสถวัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑. พระครูวิบูลสิริธรรม (หลวงพ่อเพี้ยน) เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา จ.นครปฐม (ประธานจุดเทียนชัย)
๒. พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ (หลวงพ่อบุญสม) เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดสำโรง จ.นครปฐม (ประธานดับเทียนชัย)
๓. พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ (หลวงพ่อทองคำ) เจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม เจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม
๔. พระครูสิโรตม์สุวรรณารักษ์ (หลวงพ่อมานิตย์) รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดศรีษะทอง จ.นครปฐม
๕. พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์) เจ้าอาวาสวัดบางพระ จ.นครปฐม
๖. พระครูสถิตบุญเขต (หลวงพ่อบุญช่วย) เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
๗. พระครูพิจิตรสรคุณ (หลวงพ่อพร) เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว จ.นครปฐม
๘. พระครูโกวิทสุตการ (หลวงพ่อกำไร) เจ้าคณะตำบลศรีมหาโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา จ.นครปฐม


ภาพบรรยากาศพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม



































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ พระวิหารพระร่วงฯ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม (พิธี ๑๐๐ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ)

รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกแผ่เมตตาจิต พิธีมหาพุทธาภิเศก ชุดแรก เวลา ๑๖.๐๐ น.
๑. พระครูเกษมปัญญาคม (หลวงพ่อยิ้ม) วัดโกสินารายณ์ จ.ราชบุรี
๒. พระครูวรพรตธาดา (หลวงพ่อทองสุข) วัดหนองปลาดุก จ.ราชบุรี
๓. พระครูสิริโพธิรักษ์ (หลวงพ่อยวง) วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
๔. พระครูปัญญาวิภูษิต (หลวงปู่หนู) วัดไผ่สามเกาะ จ.ราชบุรี
๕. พระครูถาวรวิริยคุณ (หลวงพ่อคง) วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
๖. พระครูวิมลชัยสิทธิ์ (หลวงพ่อล้อม) วัดไผ่รื่นรมย์ จ.นครปฐม
๗. พระครูสิริวรธรรมาภินันท์ (หลวงพ่อชูชาติ) วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
๘. พระครูอดุลพิริยานุวัฒน์ (หลวงพ่อชุบ) วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
๙. พระครูประพัฒน์วรกิจ (หลวงปู่ซ่วน) วัดเขาแดง จ.ประจวบคีรีขันธ์
๑๐. พระครูสังฆรักษ์กิติศักดิ์ วัดหุบตาโคตร จ.ประจวบคีรีขันธ์

รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกแผ่เมตตาจิต พิธีมหาพุทธาภิเศก ชุดที่สอง เวลา ๑๘.๐๐ น.
๑. พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
๒. พระมงคลวรสิทธิ (หลวงพ่อยิ้ม) วัดลาดปลาเค้า จ.นครปฐม
๓. พระสิทธิญาณมุนี (หลวงพ่อสุรินทร์) วัดคูหาสวรรค์ กรุงเทพมหานคร
๔. พระโสภณพัฒนากร (หลวงพ่อจรัล) วัดใหญ่บางพลีใน จ.สมุทรปราการ
๕. พระครูสุวรรณสีลาธิคุณ (หลวงพ่อพูน) วัดบางแพน จ.พระนครศรีอยุธยา
๖. พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อป่วน) วัดบรรหารแจ่มใส จ.สุพรรณบุรี
๗. พระครูปภัสสรวรพินิจ (หลวงพ่อไพโรจน์) วัดห้วยมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์
๘. พระครูภาวนาโสภณ (หลวงพ่อพร) วัดป่าธรรมโสภณ จ.ลพบุรี
๙. พระครูประยุตนวการ (หลวงปู่แย้ม) วัดสามง่าม จ.นครปฐม
๑๐. พระครูฌานวัชราภรณ์ (หลวงพ่อห่วย) วัดห้วยทรายใต้ จ.เพชรบุรี
๑๑. พระครูภาวนาวัชราภรณ์ (หลวงพ่อพฤหัส) วัดไร่มะม่วงราชดำริ จ.เพชรบุรี
๑๒. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (หลวงพ่ออิฏฐ์) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
๑๓. พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (หลวงพ่อบุญเลิศ) วัดปราโมทย์ จ.สมุทรสงคราม
๑๔. พระครูเกษมสาธุวัฒน์ (หลวงพ่อสมชาย) วัดปรีดาราม จ.นครปฐม
๑๕. พระครูปฐมวราจารย์ (หลวงพ่ออวยพร) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๑๖. พระครูสมุห์อุเทน สิริสาโร วัดท่าไม้ จ.สมุทรสาคร


ภาพบรรยากาศพิธีมหาพุทธาภิเศก ณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม


















































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

หมายเหตุ: ข้อมูล และภาพทั้งหมดนี้ ห้ามคัดลอกนำไปเผยแพร่ต่อ
เพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการซื้อขาย,แลกเปลี่ยน หรือประโยชน์อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

รายละเอียดและกติกาการร่วมลงชื่อรับรูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ

- สงวนสิทธิ์ในการแจกรางวัลครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมลงชื่อเพื่อรับรูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ตั้งแต่ตอนนี้ เป็นต้นไป (โดยโพสตอบในกระทู้นี้เท่านั้น)

- สิทธิ์ในการได้รับรูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ได้แก่ ผู้ที่ลงชื่อ ๗๕ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้)

- ผู้ที่ลงชื่อ ๗๕ ท่านแรก จะได้รับ รูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ จำนวน ๒ ใบ (รวม ๒ ใบ/ ๑ ชื่อสมาชิกผู้ใช้งาน)

- สำหรับผู้ที่ลงชื่อรับรูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ทั้ง ๗๕ ท่าน กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ผู้ที่ลงชื่อรับรูปหลวงพ่อเปิ่น-พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ทั้ง ๗๕ ท่าน เมื่อได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองจดหมายธรรมดา) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)


หมายเหตุ: หากปฏิบัติตามกติกาไม่ได้ กรุณาอย่าลงชื่อตอบกระทู้ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์แก่สมาชิกท่านอื่นที่สามารถปฏิบัติตามกติกาได้

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

35
[shake]ปิดการจอง (ยอดจองเต็มแล้วทุกรายการ)
อนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ : ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
[/shake]




ลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น รุ่น เลื่อนยศ ปลดหนี้ (หลวงพี่ต้อยจัดสร้าง)
วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์
ณ วัดเวียงแก้ว ต.เมืองชุม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
จัดสร้าง ๒ สี คือ
๑.ฉากสีขาวดำ ๒.ฉากสีน้ำตาล






มวลสารหลักที่ใช้อุดหลังลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น รุ่น เลื่อนยศ ปลดหนี้ ประกอบด้วย เม็ดยาจินดามณีเก่าของหลวงพ่อเปิ่น ปี ๓๖, พระผงหลวงปู่ทวดเนื้อผงยาจินดามณีวัดบางพระ ปี ๔๐, พระผงเก่าของหลวงพ่อเปิ่น ฯลฯ



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



***รายละเอียดการจัดสร้าง***


๑. ลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น รุ่นเลื่อนยศ ปลดหนี้ รันนัมเบอร์ ๙๙๙ (หลังอุดผงยาจินดามณี+ตะกรุดทองคำจารมือ ๒ ดอก+เหรียญหล่อพิมพ์ปรกโพธิ์สะดุ้งกลับวัดบางพระเนื้อเงิน ปี ๓๕ จำนวน ๑ องค์+เกศาหลวงพ่อเปิ่น) เปิดให้ร่วมบุญสั่งจองสีละ ๓ องค์ (เต็มแล้ว)



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:




๒. ลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น รุ่นเลื่อนยศ ปลดหนี้ รันนัมเบอร์ ๑-๙ (หลังอุดผงยาจินดามณี+ตะกรุดทองคำจารมือ ๑ ดอก+เหรียญหล่อพิมพ์ปรกโพธิ์สะดุ้งกลับวัดบางพระเนื้อเงิน ปี ๓๕ จำนวน ๑ องค์+เกศาหลวงพ่อเปิ่น) เปิดให้ร่วมบุญสั่งจอง "สีละ ๙ องค์" ร่วมบุญบูชาองค์ละ ๓,๕๐๐ บาท (เต็มแล้ว)



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:





๓. ลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น รุ่นเลื่อนยศ ปลดหนี้ (หลังอุดผงยาจินดามณี+ตะกรุดเงินแท้จารมือ ๑ ดอก+เหรียญเม็ดกระดุมหัวเสือ ๑ องค์+เหรียญเศียรหนุมานจิ๋ว ๑ องค์) เปิดให้ร่วมบุญสั่งจอง "สีละ ๑๕๙ องค์" ร่วมบุญบูชาองค์ละ ๕๐๐ บาท (เต็มแล้ว)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


***ลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น รุ่น เลื่อนยศ ปลดหนี้ มีโค้ดกำกับทุกองค์***

เปิดให้ร่วมบุญสั่งจอง
ที่กุฏิหลวงพี่ปาด (ข้างกุฏิหลวงพี่ต้อย) ที่เดียวเท่านั้น (ยอดจองเต็มทุกรายการ ปิดรายการจอง : ๑๐ พ.ย. ๕๘)

กำหนดรับลอคเกตได้ที่กุฏิหลวงพี่ปาด (ข้างกุฏิหลวงพี่ต้อย) ตั้งแต่วันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

อนุโมทนากับผู้ที่ได้ร่วมบุญทุกท่าน สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

37
คำถาม

๑)   วันไหว้ครู ลพ.เปิ่น ปี ๕๙ ตรงกับวันอะไร? วันที่เท่าไร? เดือนอะไร?
๒)   พิธีไหว้ครู ลพ.เปิ่น จัดขึ้นครั้งแรกที่วัดบางพระ พ.ศ. อะไร?
๓)   วันไหว้ครู ลพ.เปิ่น ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่มีการปลุกเสกวัตถุมงคลไปด้วย พ.ศ. อะไร?



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


ของรางวัล

๑) พระผง ลพ.เปิ่น (“ผู้การเสือ” สร้างถวาย)


๒) ผ้ายันต์ เก้ายอด ลพ.เปิ่น (“ผู้การเสือ” สร้างถวาย)



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบและประกาศผลรายชื่อผู้โชคดี ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ ต.ค. ๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- ผู้ที่ตอบคำถามถูกครบทั้ง ๓ ข้อ จะได้รับทั้ง ๒ รางวัล (พระผง ลพ.เปิ่น (“ผู้การเสือ” สร้างถวาย) จำนวน ๑ องค์ และ ผ้ายันต์ เก้ายอด ลพ.เปิ่น (“ผู้การเสือ” สร้างถวาย) จำนวน ๑ ผืน)  

- ผู้ที่ตอบคำถามถูก ๑ - ๒ ข้อ จะได้รับ พระผง ลพ.เปิ่น (“ผู้การเสือ” สร้างถวาย) จำนวน ๑ องค์

- ให้มารับรางวัลกับ “ผู้การเสือ” ในวันเสาร์ที่ ๑๐ ต.ค. ๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๔.๐๐ น. ณ "ศาลาชาติ ศาสน์ กษัตริย์" วัดบางพระ (รับรางวัลแทนกันไม่ได้)



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


หมายเหตุ

ผู้ใดทายถูกไม่ว่ากิจกรรม “สิบทัศน์” ครั้งที่เท่าใด (มาไม่พบ หรือมาไม่ได้) ก็จะให้สิทธิ์แสดงตนมารับรางวัลได้ครับ


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๑๒
(แผ่นจาร (นิรนาม) พี่ผอม (กุฎิ ลพ.ต้อย) มอบให้ ๑๐ กว่าปีมาแล้ว)

พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๑๓ (ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ)


พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๑๔ (ชาติ ศาสน์ กษัตริย์)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

38
วันเสาร์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ณ กุฏิใหญ่ วัดบางพระ
























40
งานบุญวันแม่แห่งชาติช่วงเช้า ณ ที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี

























:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:




กิจกรรมงานบุญวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อเปิ่น อายุครบ ๙๒ ปี




























































































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:




ของฝาก เก็บภาพมาให้ชม..


สรรพตำราของหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


หนังเสือ กราบขอบพระคุณหลวงพ่อสำอางค์ที่เมตตา


ตะกรุดใบลาน ๓ ห่วง ผ้าขาวห่อศพ กราบขอบพระคุณหลวงตา..


เหรียญหลวงพี่ติ่ง รุ่น ๑ ที่ระลึกร่วมบุญกับท่าน




พระปรกโพธิ์สะดุ้งกลับเนื้อดิน,เหรียญกษาปณ์ตอกโค้ด,แหวนหัวเสือเนื้อเงิน (หลวงพ่อเปิ่นอธิษฐานจิต)
กราบขอบพระคุณหลวงพี่..





ลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น ที่ระลึก ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘ ขอบคุณพี่เอที่เป็นธุระให้ครับ





สมเด็จหลวงพ่อเปิ่นตะกรุดทองคำ,หลวงปู่ทวดเนื้อผงยาจินดามณี,เหรียญหลวงพ่อสำอางค์รุ่นแรก,เจ้าสัว ๓
ขอบคุณทุกๆ มิตรภาพที่มีให้กันเสมอมา..




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:





กิจกรรมรับรางวัลจากผู้การเสือ (ภาพโดยคุณ PANUWIT)



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



อนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่าน สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
(ภาพเพิ่มเติมไว้ลงให้ชมอีกครั้ง)

41
[shake]!!!ปิดกิจกรรมแล้วครับ!!![/shake]



ด้วยวันที่ ๑๒ ส.ค. ๕๘ เป็นวันสำคัญของเหล่าลูกศิษย์ ลพ.เปิ่น จะมาร่วมชุมนุมแสดงความกตัญญูต่อพระอาจารย์ทั้งหลายนั้นคือ “วันเกิดลพ.เปิ่น”


คำถาม
๑) วันที่ ๑๒ ส.ค. ๕๘ ถ้า ลพ.เปิ่นยังมีชีวิตอยู่จะมีอายุเท่าไร?

๒) พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังเก่าของวัดบางพระ จ.นครปฐม มีนามว่าอะไร?

๓) พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังใหม่ของวัดบางพระ จ.นครปฐม มีนามว่าอะไร?

๔) เหตุใด ลพ.เปิ่น จึงหยุดสักให้ลูกศิษย์? และท่านหยุดสักให้ลูกศิษย์เมื่อ พ.ศ. ใด?



ของรางวัล
๑) พระผง ลพ.เปิ่น รุ่น “ผู้การเสือ ๗๐”


๒) วัตถุมงคลหลายอย่างที่ “สิบทัศน์” มอบมาให้ (ของรางวัลจากกระทู้นี้.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31247 )



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบและประกาศผลรายชื่อผู้โชคดี ในวันจันทร์ที่ ๑๐ ส.ค. ๕๘ เวลา ๑๒.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- ผู้ใดรู้ตัวเองว่าทายถูกกี่ข้อก็จะได้รับรางวัลเท่านั้นชิ้น (มีสิทธิ์เลือกรับรางวัลใดก็ได้ ตามจำนวนข้อที่ท่านตอบคำถามถูก)

- ให้มารับรางวัลกับ “ผู้การเสือ” ในวันพุธที่ ๑๒ ส.ค. ๕๘ (วันคล้ายวันเกิด ลพ.เปิ่น) เวลา ๑๒.๐๐ น. - ๑๓.๐๐ น. ณ "ศาลาชาติ ศาสน์ กษัตริย์" วัดบางพระ (รับรางวัลแทนกันไม่ได้)



หมายเหตุ
ผู้ใดทายถูกไม่ว่ากิจกรรม “สิบทัศน์” ครั้งที่เท่าใด (มาไม่พบ หรือมาไม่ได้) ก็จะให้สิทธิ์แสดงตนมารับรางวัลได้ครับ


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๙


พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๑๐ (ลพ.ญา มอบให้เมื่อ ๑๐ กว่าปีมาแล้ว)


พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๑๑ (ลายมือ ลพ.นัน ที่งดงามมาก)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

42
วันพุธ (วุโธ) ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เดินทางออกจากวัดบางพระ เวลา ๘.๐๐ น.



ถึงวัดสวนหมาก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.







เมื่อเดินทางไปถึงวัดสวนหมากแล้ว หลวงพี่แป๊วท่านก็ได้พาไปกราบหลวงพ่อเจ้าคณะอำเภอคอนสาร ณ วัดป่าเรไร










เมื่อกราบคาราวะหลวงพ่อเจ้าคณะอำเภอคอนสารแล้ว ก็เดินทางกลับมายังวัดสวนหมาก

จากนั้นหลวงพี่สุธี ตัวแทนคณะสงฆ์วัดบางพระ ได้ทำการถวายเทียนจำนำพรรษาพร้อมเครื่องบริวารทั้งหลายแด่หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดสวนหมาก และหลวงพี่แป๊ว ตามลำดับ















บรรยากาศภายในวัดสวนหมาก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ





































ผ้ายันต์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ที่บ้านโยมของหลวงพี่แป๊ว (เขตจังหวัดขอนแก่น)

พักค้างที่วัดสวนหมาก ๑ คืน แล้วเดินทางกลับในวันรุ่งขึ้น
กลับถึงวัดบางพระเวลา ๑๙.๓๐ น. โดยสวัสดิภาพ


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

43
วันเสาร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๖.๓๙ น. (ราชาฤกษ์) ณ กุฏิพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น)

(สืบเนื่องจากกระทู้.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31270 )






































































44
เกริ่นนำ

        ด้วย “ผู้การเสือ” จะมีอายุครบ ๗๐ ปี ใน ๓ ปีข้างหน้านี้ จึงดำริที่จะสร้างบุญอันยิ่งใหญ่เป็นพุทธบูชาถวายแด่ ลพ.เปิ่น ที่เหล่าลูกศิษย์ทั้งหลายเคารพบูชา จึงสร้าง

        ๑. พระผงหลวงพ่อเปิ่น (รุ่นผู้การเสือ ๗๐) จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ (สร้างในครั้งแรกนี้ ๖๐,๐๐๐ องค์) โดยได้รับความเมตตาจากหลวงรวย (วัดเขาวงษ์หนองม่วง จ.ลพบุรี) ซึ่งเป็นศิษย์สายตรงของ ลพ.เปิ่น ได้ดำเนินการจัดสร้าง (“ผู้การเสือ” ออกแบบ) โดยมีมวลสาร    
            ๑) ว่าน ๑๐๘
            ๒) ผงอิทธิเจ
            ๓) ดอกบัว ๘๔,๐๐๐ ดอก (จาก จ.นครปฐม)

        ๒. ผ้ายันต์ ๙ ยอด ลพ.เปิ่น จำนวน ๑,๐๐๐ ผืน โดยได้นำจีวรของท่านเจ้าคุณราชญาณกวี วัดพระราม ๙ มอบให้เพื่อใช้ในการจัดสร้าง (พระอาจารย์สมัครกำลังดำเนินการให้อยู่) คาดว่าแล้วเสร็จ ๑๒ ส.ค ๕๘ นี้

        ๓. วันเสาร์ ที่ ๑๘ ก.ค. ๕๘ นี้ (เวลา ๑๖.๑๙ น. "ราชาฤกษ์") จะทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวโดย ลพ.เปิ่น ณ กุฎิใหญ่ (ได้ขออนุญาตจากท่านเจ้าอาวาส, ลพ.ญา, ลพ.นัน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

        ๔. หลังเสร็จพิธี จะแจกให้ทุกๆคน คนละ ๑ องค์ (นำฤกษ์)

        ๕. ขออนุโมทนาบุญ ให้ลูกศิษย์ ลพ.เปิ่น ทุกท่านได้บุญกุศลในกาลครั้งนี้ ทุกท่าน...เทอญ



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

 
“ผู้การเสือ” ออกแบบองค์พระ


        ๑. ลพ.เปิ่น นั่งสมาธิอยู่บนหน้าเสือ และนั่งอยู่บนก้อนเมฆ (อันเกิดจากนิมิตขณะปฏิบัติสมถกรรมฐาน ในโบสถ์เก่า เมื่อ ๑๐ กว่าปีมาแล้ว)

        ๒. เขียนว่า "หลวงพ่อเปิ่น" มีตัว "นะ" อยู่ซ้ายขวา

        ๓. ด้านหลัง เป็นยันต์แม่ทัพ อันลือชื่อของวัดบางพระ ลพ.เปิ่น จะสักให้เฉพาะเป็น ตำรวจ-ทหารเท่านั้น เขียนว่า “ผู้การเสือ ๗๐ ถวาย”

        ๔. ทุกองค์พระไม่เหมือนกันเลยทุกองค์ ขึ้นอยู่กับ กลีบดอกบัวที่บังเกิดขึ้น และมีกลิ่นหอมของดอกมะลิ 

        ๕. แกะ Block ด้วย Laser ตัวนูน คมชัดมาก ใช้โรงงาน (นครสวรรค์) มือ Pro ปั๊มโดยคัดไม่สวยออกทั้งหมด ใช้เวลาเตรียมการนี้ ประมาณ ๓ เดือน (ใช้เวลาขึ้นล่อง ลพบุรี/นครสวรรค์/วัดบางพระ) อยู่หลายเที่ยว จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น สมเจตนารมณ์ ของทุกๆพระอาจารย์ที่ให้คำปรึกษา ตลอดมา

        ๖. ไม่มีจำหน่าย (แจกฟรี) เฉพาะลูกศิษย์ ลพ.เปิ่น ในโอกาสต่างๆ ต่อไป




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:




รูปที่ ๑ “ผู้การเสือ” วันไหว้ครู หลวงรวย วัดเขาวงษ์หนองม่วง จ.ลพบุรี (๒๑ มิ.ย. ๕๘)




รูปที่ ๒ พระผงหลวงพ่อเปิ่น (รุ่นผู้การเสือ ๗๐)




รูปที่ ๓ ผ้ายันต์ ๙ ยอด ลพ.เปิ่น (รุ่นผู้การเสือ ๗๐)



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

45
เริ่มจากกุฏิหลวงพี่ต้อย

จัดกิจกรรมแจกไข่+น้ำมัน แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ ๗๐ ปีขึ้นไป ที่เข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ จำนวน ๓๐๐ ชุด







ภาพเพิ่มเติมจากหลวงพี่ตี๋




















ออกร้านอาหารใต้ศาลาการเปรียญ









46
[shake]!!!ปิดกิจกรรมแล้วครับ!!![/shake]



เมื่อวันที่ ๑ ม.ค. ๕๗ “ผู้การเสือ” ได้รับเมตตาจากพระอาจารย์ที่ได้รับความศรัทธาจากลูกศิษย์วัดบางพระ ได้เขียนยันต์ลงไว้ในสไบ (เพื่อใช้ในโอกาสสำคัญ)


คำถามชุดที่ ๑ :
ภาพยันต์ที่ ๑ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?
ภาพยันต์ที่ ๒ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?
ภาพยันต์ที่ ๓ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?
ภาพยันต์ที่ ๔ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?
ภาพยันต์ที่ ๕ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?
ภาพยันต์ที่ ๖ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?
ภาพยันต์ที่ ๗ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?
ภาพยันต์ที่ ๘ เป็นลายมือของพระอาจารย์ท่านใด?



















:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:




อริยะสงฆ์ ผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตา อย่างสูงมากมาก
(กราบที่วัด ๒ ครั้งและที่ศิริราชอีก ๒ ครั้ง)


คำถามพิเศษ (โบนัส) : ใครที่กราบ ลพ.คูณ และขอให้ ลพ.คูณทำอะไรให้ ลพ.คูณ ท่านก็จะช่วยสงเคราะห์ทำให้ทุกอย่าง แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ ลพ.คูณ ท่านจะไม่ทำให้อย่างเด็ดขาด

คำถาม? สิ่งที่ ลพ.คูณ จะปฏิเสธไม่ทำให้อย่างเด็ดขาดนั้น คืออะไร?

รางวัลของคำถามพิเศษ (โบนัส) : ๑๐ ท่านแรกที่ตอบคำถามพิเศษได้ถูกต้อง จะได้รับ ผ้ายันต์ ลพ.เปิ่น (“ผู้การเสือ”ทำถวาย แจกเมื่ออายุ ๖๐) จำนวน ๑ ผืน / ๑ ท่าน



รายการของรางวัล


เหรียญหลวงพ่อเปิ่น ย้อนยุครุ่น ๑ วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) เนื้อทองฝาบาตร จำนวน ๓ เหรียญ




เหรียญพรหมวิหารหลวงพ่อเปิ่น ปี ๕๗ เนื้อนวะโลหะ จำนวน ๓ เหรียญ




ผ้ายันต์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จำนวน ๓ ผืน




เหรียญหลวงพ่อโต วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) รุ่น "ยกฐานะ" เนื้อทองฝาบาตร ด้านหลังลายมือหลวงพ่อเปิ่น จำนวน ๓ เหรียญ




ผ้ายันต์ราหู บูชาครู ๕๘ วัดบางพระ จำนวน ๓ ผืน




ยันต์จีวรหลวงพ่อสำอางค์ พรรษา ๕๗ จำนวน ๓ แผ่น




ลูกสะกดถักเชือกผูกข้อมือ หลวงพ่อเอนก วัดปรีดาราม จ.นครปฐม จำนวน ๓ เส้น




รูปหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม (หลวงพ่ออวยพรสร้าง) จำนวน ๓ รูป




รูปหล่อพระอุปคุต วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) จำนวน ๓ องค์




รููปหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เสาร์ ๕ พ.ศ.๒๕๒๘ จำนวน ๓ รูป




ผ้ายันต์เกราะเพชร บูชาครู ปี ๕๖ วัดโพธิ์ บางระมาด ตลิ่งชัน กทม. จำนวน ๓ ผืน


ลอคเกต (รูปกระดาษเคลือบ) หลวงพ่อโต วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) จำนวน ๓ องค์




เหรียญเสมาหลวงปู่นาค-หลวงปู่เสงี่ยม ฉลองอายุ ๙๐ ปี วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม จำนวน ๔ เหรียญ



ของรางวัลจากผู้การเสือ..


ลพ.ทันใจ (ฝังข้าวสารหิน) หลวงพ่อรวย วัดเขาวงษ์หนองม่วง จ.ลพบุรี จำนวน ๑๐ องค์
และพระผงฤาษี (ไหว้ครู ลพ.เปิ่น ๕๘) หลวงพ่อรวย สร้างถวายวัดบางพระ จำนวน ๑๐ องค์



รวมของรางวัลทั้งหมด ๖๐ ชิ้น



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบและประกาศผลรายชื่อผู้โชคดี ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๒.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- ๒๐ ท่านแรก ที่ตอบคำถามชุดที่ ๑ ถูกทั้งหมด มีสิทธิ์เลือกรับรางวัลใดก็ได้ (ท่านละ ๒ รางวัล)

- ผู้ที่ตอบคำถามชุดที่ ๑ ถูกแต่ไม่ครบทุกข้อ (ตอบถูกจำนวนข้อลดหลั่นลงมา) มีสิทธิ์เลือกรับรางวัลใดก็ได้ จำนวน ๑ รางวัล (ผู้ที่จะได้รับสิทธิ์นี้คือ ๒๐ ท่านแรก ต่อจากผู้ที่ตอบคำถามชุดที่ ๑ ถูกครบทุกข้อ)

- ให้มารับรางวัลกับ “ผู้การเสือ” ในวันอังคาร ที่ ๓๐ มิ.ย. ๕๘ (วันคล้ายวันมรณภาพ ลพ.เปิ่น ปีที่ ๑๓) เวลา ๑๒.๓๐ น. ที่ศาลาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (รับรางวัลแทนกันไม่ได้) อุปเท่ห์ ต้องการให้มาร่วมกันทำบุญและ พี่น้องจะได้เจอะเจอกันในวันสำคัญนี้



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๗
ขนาด ๑.๖๐ ม. x ๑ ม. เขียนมือโดย ลพ.สมัคร



พิพิธภัณฑ์ “ผู้การเสือ” รูปที่ ๘
จีวรชุดใหญ่ ลพ.เปิ่น (ลพ.นัน มอบให้เมื่อกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

47

























































หลวงพี่ต้อยได้มอบให้แก่คณะผู้บริหาร ตัวแทนแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น
"ยอดรวมผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนสร้างอาคารโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น
ณ เวลา ๑๒.๐๙ น. ของวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑,๐๓๙,๔๙๑.๕๐ บาท (หนึ่งล้านสามหมื่นเก้าพันสี่ร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทห้าสิบสตางค์)"
อนุโมทนา สาธุ











ท้ายสุด..ส่งมอบวัตถุมงคล (กว่า ๓๐ ชิ้น) ให้พี่หนึ่ง "ผู้การเสือ"
เพื่อนำไปแจกเป็นรางวัลในกิจกรรมครั้งต่อไป เร็วๆ นี้
"๓๐ มิถุนายน วันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อเปิ่น"

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

48
นิตยสารผาสุก
ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑๘๒
มกราคม - เมษายน ๒๕๕๗
ISSN 0125 - 0796



คอลัมน์คุยแบบไทย (น.๒๐ - ๒๓)
เรื่อง : “ปั้นหยา” ภาพ : “พีพี”




อาจารย์ทอง สนธิรอด “สักยันต์” สักศรัทธาแห่งความดี



   “สักยันต์” พิธีกรรมความเชื่อทางไสยศาสตร์อีกรูปแบบหนึ่งที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน การใช้เข็มเหล็กแหลมจุ่มน้ำมันแทงสักลงอักขระลายเส้นบนร่างกายกำกับคาถาอาคมเสกเป่า ด้วยความเชื่อในคุณอำนาจลายสักยันต์แต่ละประเภทที่ให้ผลแตกต่างกันไป เช่น เมตตามหานิยม แคล้วคลาดหนังเหนียว นับเป็นพิธีกรรมที่มีมาแต่โบร่ำโบราณย้อนกลับไปถึงสมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน การสักยันต์ก็ยังคงเป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมศรัทธาอย่างมากในหมู่คนไทยที่มีความเชื่อ เพื่อเป็นการเปิดสมองทางความเชื่อเกี่ยวกับการสักยันต์ นิตยสารผาสุกจึงขออนุญาตพูดคุยกับ “อาจารย์สัก” ที่ถือว่าเป็น “รุ่นใหญ่” ของวงการ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่รู้จักในวงกว้าง นั่นคือ อาจารย์ทอง สนธิรอด หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้นิยมสักยันต์ว่า “อาจารย์ทอง ตลาดพลู”



ผาสุก – ก่อนอื่นต้องถามเกี่ยวกับชีวิตของอาจารย์ว่ามาเป็นอาจารย์สักยันต์ได้อย่างไร
อ.ทอง – “ผมเริ่มสนใจการสักยันต์ตั้งแต่สมัยเด็กๆ พอดีแถวบ้านมีอาจารย์สักยันต์ มีลูกศิษย์ลูกหาเข้าออกสักยันต์อยู่เป็นประจำจนรู้สึกสนใจ ก็เข้าไปดู ก็ชอบ จากนั้นจึงเฝ้าดูการสักมาตลอด เรียกว่าติดตามเลยดีกว่า เพราะเวลาที่รู้ข่าวว่ามีอาจารย์สักคนไหนเก่งๆ ก็มักจะไปเฝ้าดูการสักยันต์ของอาจารย์ท่านนั้น พอสบโอกาสก็เข้าไปพูดคุยกับท่าน ขอวิชาอะไรต่างๆ นานา
   กระทั่งหลังบวช ผมตั้งใจร่ำเรียนวิชาสักยันต์ อักขรวิธีต่างๆ ตลอดจนวิชาคาถาอาคมอย่างเป็นจริงเป็นจัง อาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับผมมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์ฮะ วัดใหญ่ศรีสุพรรณ อาจารย์เที่ยง น่วมมานา วัดสุวรรณาราม ก็อาศัยเป็นลูกศิษย์ท่าน เก็บวิชาความรู้ไปเรื่อยๆ หลังๆ อาจารย์ท่านก็ไว้วางใจให้เราสักยันต์ไปด้วย ตอนนั้นก็ทำงานหาเลี้ยงตัวเองไปด้วย กระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๐ ผมเปิดสำนักสักยันต์ขึ้นที่บ้านตัวเอง เพราะคนที่อยากสักกับเรามีเยอะ การที่เราทำงานไปด้วย สักยันต์ไปด้วย ทำให้ไม่สามารถสงเคราะห์พวกเขาได้อย่างเต็มที่ จึงตัดสินใจเปิดสำนักมาจนถึงปัจจุบัน”




ผาสุก – การสักยันต์ในมุมมองของอาจารย์คืออะไร
อ.ทอง – “เป็นไสยศาสตร์แขนงหนึ่ง เป็นวิชาการที่ต้องใช้เรื่องพลังจิต คาถาอาคม การเสกเลขยันต์ต่างๆ ต้องใช้ความตั้งมั่นในจิต การสักยันต์จะสำเร็จสมบูรณ์ได้ต้องประกอบด้วยจิตและคาถาของผู้ลงเข็มส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่คนถูกสักที่ต้องมีจิตศรัทธาพ้องกัน คือมีความเชื่อในเรื่องนี้ อาจต้องการความเป็นสิริมงคล หรือต้องการอาคมขลังติดตัวไว้เพื่อช่วยป้องกันภยันตรายต่างๆ ซึ่งเลขยันต์แต่ละแบบที่สักลงไปจะให้คุณที่แตกต่างกัน เช่น สักยันต์ ๘ ทิศเพื่อต้องการคุณด้านหนังเหนียว อยู่ยงคงกระพัน หรือสักยันต์ ๕ แถวเพื่อเป็นการเสริมดวง”



ผาสุก – การสักยันต์สามารถให้ผลเช่นนั้นกับผู้สักได้จริงหรือ อย่างสักยันต์ ๕ แถวไปแล้วจะช่วยส่งเสริมดวงให้ดีขึ้นได้ มีข้อพิสูจน์อะไรหรือเปล่า
อ.ทอง – “จริงๆ แล้วตรงนี้ก็ไม่อยากพูดอะไรมาก พูดตามตรง พิสูจน์ไม่ได้หรอก ขึ้นชื่อว่าไสยศาสตร์แล้ว การพิสูจน์เป็นเรื่องยาก เป็นความเชื่อความศรัทธา ได้ผลจริงหรือไม่อยู่ที่คนมาสักเองว่าเขามีความเชื่อแค่ไหน คนที่จะมานั่งให้สักตรงนี้คือต้องมาด้วยความศรัทธา ถามว่าได้ผลแค่ไหน สักแล้วจะเป็นยังไง ป้องกันอะไรได้ขนาดไหน ตรงนี้ตัวผู้สักต้องปฏิบัติเองถึงจะรู้ มองด้วยตาเปล่ามันยาก อยู่ที่การปฏิบัติหลังจากที่สักไปแล้ว เหมือนกับการห้อยพระ ๒ องค์เหมือนกัน องค์หนึ่งยังไม่ได้ปลุกเสก แต่อีกองค์ปลุกเสกแล้ว คุณจะเอาองค์ไหน ก็ต้องเอาที่ปลุกเสกแล้วเพราะความเชื่อในเรื่องพุทธคุณ การสักก็เช่นเดียวกัน พิสูจน์ไม่ได้หรอกว่ามีผลอะไรแค่ไหน เป็นเรื่องของความเชื่อแต่ละบุคคล ผมเองเป็นอาจารย์สักมาเกือบ ๔๐ ปีแล้ว แต่ก็ไม่กล้าคุยมากว่าสักไปแล้วจะเป็นยังไง หนังเหนียวขนาดไหน คงพูดไม่ได้”



ผาสุก – ถ้าพูดถึงความนิยมในการสักยันต์ เปรียบเทียบระหว่างสมัยก่อนที่เริ่มเป็นอาจารย์สักใหม่ๆ กับสมัยนี้ความนิยมในช่วงไหนดีกว่ากัน
อ.ทอง – “สมัยนี้คนมาสักเยอะขึ้น อาจด้วยกระแสตามสื่อต่างๆ ทำให้คนรู้สึกสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้นิยมสักกันเยอะ ต่างจากสมัยก่อนซึ่งคนที่มาสักส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ เพราะเขาจะเข้าใจเรื่องนี้มากพอสมควรถึงเข้ามาสัก แต่เดี๋ยวนี้มีหมดทั้งผู้ชาย ผู้หญิง วัยรุ่น เพราะกระแสนี่แหละ บางอาจารย์อาจมีดาราไปสัก คนก็ตามเข้าไป ดังนั้น สมัยนี้คนที่มาหาเราจึงไม่ใช่คนที่มาสักเพื่อพุทธคุณ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ บางคนสักตามเพื่อน สักตามดารา หรือสักเพราะอยากสวยงามก็มี เจออยู่บ่อยๆ ประเภทจู้จี้จุกจิก เอานู่นเอานี่ เอาสวยๆ อย่างว่าบางคนอาจสักไปเพื่อโชว์ความสวยงาม อาจคิดว่าเป็นงานศิลปะบนร่างกาย แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของเราไม่ใช่แบบนั้น เราอยากสักให้คนที่มาสักเพราะความศรัทธา เพราะผลของพุทธคุณ ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและการปฏิบัติตัวหลังสักด้วย”



ผาสุก – แสดงว่าการสักยันต์ไม่ใช่แค่การลงเข็มให้เป็นอักขระเท่านั้น แต่ยังต้องประกอบด้วยการปฏิบัติตนของผู้สักหลังจากนั้นด้วย
อ.ทอง – “ใช่ คือสักเสร็จแล้วไม่ใช่ว่าคุณจะไปทำตัวยังไงก็ได้ ไปตีรันฟันแทง ข่มเหงรังแกใครก็ได้ แบบนั้นพุทธคุณไม่ปกป้องหรอกครับ มีข้อห้ามข้อพึงระวังหลายอย่างเกี่ยวกับการสัก เช่น สักแล้วต้องประพฤติตนเป็นคนดีอยู่ในศีลในธรรม ห้ามเสพของมึนเมา หรือห้ามผู้หญิงข้ามตัว ห้ามลอดราวตากผ้า อย่างนี้เป็นต้น แล้วข้อพึงระวังทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้สักต้องปฏิบัติตลอดชีวิต
   ข้อห้ามเหล่านี้เหมือนเป็นกุศโลบายที่จะคุมประพฤติคนไว้ก่อน เพราะคนเราถ้าสักไปแล้วโดยที่ไม่มีข้อห้ามเลย ก็ไม่รู้จะทำอะไรต่อไป ไม่รู้อะไรผิดอะไรถูก บางทีไปทำผิดข้อห้าม เช่น ไปด่าพ่อล่อแม่คนอื่น ก็จะเกิดปัญหา ซึ่งถ้าเรามีของแล้วเราต้องระวังตัวมากขึ้น อย่าด่าแม่เขา อย่าเป็นชู้กับเมียเขา ต้องอยู่ในศีลในธรรม ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเมื่อสักแล้วเราต้องเป็นคนดี ปฏิบัติดี อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่าอาจารย์เก่ง จะทำอะไรก็ได้ ไม่ได้ครับ ผมจึงคิดว่าข้อห้ามเหล่านี้สำคัญ ถ้าไม่มีข้อห้ามเลยก็ไม่รู้จะสักเพื่ออะไร เราต้องเชื่อและปฏิบัติตามข้อพึงระวังที่อาจารย์ท่านบอกเอาไว้ ถ้าไม่เชื่อก็อย่าสักเลย เจ็บตัวเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์ สักแล้วต้องได้ประโยชน์ ต้องเข้าใจในสิ่งที่ทำว่ามีประโยชน์อย่างไร ดีอย่างไร เสียอย่างไร ไม่ใช่สักตามเขาว่า แบบนั้นไม่ได้อะไรหรอก ได้แค่ความพอใจชั่วขณะหนึ่ง พอนานไปก็เบื่อ
   บางคนที่มาสักด้วยความศรัทธา เขามีความภูมิใจเหมือนมีของมงคลอยู่ในตัว จะไปไหน ทำอะไรก็รู้สึกแคล้วคลาดปลอดภัย เพราะหลังจากที่สัก เขาประพฤติตนในกรอบที่วางเอาไว้ อยู่ในศีลในธรรม ห้อยพระผมว่ามันเป็นวัตถุมงคลที่เคลื่อนย้าย สามารถถอดได้ เปลี่ยนได้ เดี๋ยวเบื่อองค์นี้ องค์นี้กำลังเป็นกระแสนิยม ฮิตมาก ก็เอามาห้อยตามไป แต่การสักเราเลือกแล้ว เอาออกไม่ได้ มันอยู่กับเราตลอดชีวิต ดังนั้น คนที่มาสักต้องมีความมั่นใจ สักด้วยความมั่นใจ เชื่อมั่นจริง ศรัทธาจริง ถ้าจะมาคิดว่าเป็นเรื่องตลก เป็นของสวยของงาม ผมว่ากลับไปก่อนดีกว่า”


ผาสุก – ตอนนี้เรียกง่ายๆ ว่าอาจารย์สักยันต์เป็นอาชีพ และเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับความเชื่อ ความศรัทธา อาชีพนี้หล่อเลี้ยงเราได้แค่ไหน และเป้าหมายในวิชาชีพของอาจารย์คืออะไร
อ.ทอง – “เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ผมยอมรับว่าทำภายใต้ความเชื่อความศรัทธาของผู้คน แต่พูดตามตรงนะ ผมไม่ค่อยได้เงินได้ทองเท่าไหร่หรอก ถ้าสักแล้วรวย ผมจะมาอยู่ในสำนักบ้านไม้แบบนี้เหรอ แล้วการสักไม่ใช่สบายนะ เหนื่อย แต่ลูกศิษย์ลูกหาที่เข้ามา เขาอยากให้เราสักให้เพราะความศรัทธา ดังนั้น ทุกครั้งผมจึงมีความตั้งใจอย่างแรงกล้า ไม่ใช่ว่าเอาเงินอย่างเดียวแล้วสักไปเรื่อยเฉื่อย จริงๆ อายุการทำงาน ๓๘ ปี ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้แล้ว ถ้าคนไม่ศรัทธา หรือเราไม่มีดีอะไรเลย อยู่ไม่ได้ถึงป่านนี้หรอกครับ มีอาจารย์ที่เก่งกว่านี้อีกเยอะ ส่วนตัวคิดว่าเป็นคนที่ตั้งใจคนหนึ่งในการทำงานให้กับลูกศิษย์ลูกหา มอบความปรารถนาดีให้ ไม่ใช่ว่าทำแบบมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง หรือทำเพราะอยากร่ำรวย ถ้ารวยผมรวยไปนานแล้ว
   ผมทำตามอุดมการณ์ครับ ทำตามแนวทางเดิมของครู ครูสอนอะไรมา เราก็ทำ อย่าไปทำเพื่อหวังร่ำหวังรวย อย่าไปกอบไปโกย อย่าไปเรียกร้อง เอาแค่ค่าครูพออยู่ได้ ไม่ปฏิเสธหรอกครับว่าต้องมีค่าครู เพราะผมก็คน ต้องกินข้าว ต้องใช้ชีวิต เงินค่าครูที่ได้มาคือเพื่อยังชีพเรา เลี้ยงครอบครัว แต่เขาก็ได้ความสุขความสบายใจจากตรงนี้ไป ถือเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องที่ทำตามประเพณีที่ครูบาอาจารย์ทำสืบต่อกันมา เขาจะใส่ค่าครูเท่าไหร่ก็ใส่มาตามศรัทธา ไปเรียกร้องไม่ได้
   ทุกวันนี้ก็พยายามตั้งใจทำอย่างดีที่สุด เพราะอาจารย์สักไม่ได้มีผมคนเดียว ทุกวันนี้รุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลาน ขึ้นมาเป็นอาจารย์เยอะแยะ ผมตอนนี้ต้องบอกว่าเป็นรุ่นใหญ่ในวงการ ดังนั้นต้องทำให้ดี ให้เขาเห็นเป็นตัวอย่าง สะท้อนสิ่งดีๆ ออกไปให้มากที่สุด เพื่อคนรุ่นหลัง อยากอนุรักษ์การสักตรงนี้ไว้ให้ตรงตามจุดประสงค์ของครูบาอาจารย์ สักเพื่อศรัทธา เพื่อความดีงาม และเป็นมรดกทางวัฒนธรรม”




ผาสุก – ทุกวันนี้ ความเชื่อเรื่องการสักไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะคนไทย หรือคนในประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น แต่ยังแพร่ขยายความนิยมไปยังชาวต่างชาติอื่นๆ อีกด้วย เช่น คนจีนหรือฝรั่ง ทุกวันนี้ก็เห็นพวกเขามาสักยันต์ที่เมืองไทยกันเยอะ
อ.ทอง – “คนต่างชาติที่เข้ามาช่วงนี้ ที่เยอะก็จะเป็นคนจีน คนฮ่องกง ไต้หวัน พวกนี้ชอบสักกันเยอะ บางทีมาเป็นทัวร์เลยก็มี จุดประสงค์ก็หลายๆ อย่างกันไป อาจจะตามกระแส ตามความนิยม หรืออะไรก็ว่ากันไป ตามความศรัทธาก็มีบ้าง แต่เสียตรงที่เราคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง หมายความว่าเราอยากสอนเขาให้มากกว่านี้ แต่สื่อสารไม่ได้ จริงๆ ถ้าสื่อสารกับเขาได้ เขาจะเข้าใจสิ่งพวกนี้มากขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้น ถึงจะคุยผ่านล่าม แต่บางคนก็แปลผิดๆ ถูกๆ ไม่เข้าใจหลักการปฏิบัติหลังจากการสัก การสวดมนต์ไหว้พระ ข้อควรระวัง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร อยากให้เขาได้รับรู้สิ่งเหล่านี้มากกว่า เพราะขนาดคนไทยที่พูดกันง่ายยังไม่ค่อยทำกันเลย”

ผาสุก – สุดท้ายนี้ อยากให้อาจารย์ฝากคำแนะนำเกี่ยวกับการสักยันต์ให้กับผู้อ่านสักหน่อย
อ.ทอง – “ที่ผมอยากเน้น ไม่ใช่เรื่องการสักหรือเรื่องการลงยันต์อักขระอะไร เพราะนั่นไม่สำคัญเท่ากับตัวบุคคลผู้สัก ของจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่การสักเลขยันต์เพียงเท่านั้น ต้องประกอบกับการประพฤติตนของบุคคลนั้นด้วย ถ้าปฏิบัติตัวดี อยู่ในศีลในธรรม ไม่ละเมิดข้อห้าม ความขลังก็จะอยู่ติดตัวไปตลอดชีวิต แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติตัวให้ดีตามข้อกำหนดได้ ก็เหมือนไปเจ็บตัวเปล่าๆ มันเป็นเรื่องของการปฏิบัติของแต่ละคน
   คนเรามีรักตัวกลัวตาย มีหนาวมีร้อน มีกิเลสตัณหาเหมือนกันหมด อยู่ที่ว่าจะควบคุมตัวเองได้แค่ไหน นี่คือสิ่งที่ผมสอนเน้นลูกศิษย์เสมอ ว่าสักไปแล้วต้องเป็นคนดีมีศีลธรรม เพราะการสักยันต์คือพุทธคุณ ซึ่งพุทธคุณจะอยู่ได้ด้วยความดี ผมไม่สอนหรอก ว่าถ้าภาวนาคาถาบทนี้จะกันปืน คาถานี้กันมีด สักยันต์นี้ไม่ต้องกลัวใคร เข้าไปลุยเลย แบบนั้นมันสอนตาย ผมสอนเป็นครับ สอนให้เป็นคนดี ทำความดี รู้จักทำมาหากิน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ละเว้นจากการทำชั่ว แล้วการสักยันต์จะเป็นมงคลแน่นอน ของแบบนี้ต้องรู้ด้วยตัวเอง”


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

49
[shake]!!!ปิดกิจกรรมแล้วครับ!!![/shake]


รับมอบจากหลวงพี่หนุ่ม วัดบางแวก มาแจกเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ รายละเอียดดังนี้..

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัลได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป

- โพสตอบกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัลได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสเพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัลได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพส) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ "๙ ท่านแรก ที่โพสกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัล"

- ๙ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้และไม่ทำผิดกติกา)!! จะได้รับ "ผ้ายันต์เมตตา+เสน่ห์รามัญ ของหลวงพี่หนุ่ม วัดบางแวก ๑ ผืน" (๑ ผืน/ ๑ ท่าน)

- สำหรับทั้ง ๙ ท่านแรก ที่โพสขอรับสิทธิ์รับรางวัล (และไม่ทำผิดกติกา) กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ๙ ท่านแรก ที่โพสตอบกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัล และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองจดหมาย) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

50
วันศุกร์ที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๑๐ น.




























































































































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

51
[shake]!!!ปิดกิจกรรมแล้วครับ!!![/shake]


เมื่อวานนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘) เป็นวันคล้ายวันเกิดของ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ อายุครบ ๖๒ ปี

หลวงพ่อสำอางค์ท่านก็ได้เมตตามอบ "เหรียญไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น ปี ๕๘ พิมพ์เล็ก" ให้กับทุกคนที่ไปร่วมแสดงมุทิตาสักการะ ไว้เป็นที่ระลึก



เหรียญไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น ปี ๕๘ พิมพ์เล็ก ที่หลวงพ่อสำอางค์มอบให้เป็นที่ระลึก

ทั้งนี้ หลวงพ่อสำอางค์ ท่านเมตตามอบเหรียญไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น ปี ๕๘ พิมพ์เล็ก มาแจกให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ จำนวน ๙ เหรียญ

ท่านใดที่ประสงค์จะรับเหรียญไว้บูชา กรุณาลงชื่อเพื่อขอรับได้ตามรายละเอียดกติกาตามนี้เลยครับ..


รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัลได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป

- โพสตอบกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัลได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสเพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัลได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพส) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ "๙ ท่านแรก ที่โพสกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัล"

- ๙ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้และไม่ทำผิดกติกา)!! จะได้รับ "เหรียญไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น ปี ๕๘ พิมพ์เล็ก" (๑ เหรียญ / ๑ ท่าน)

- สำหรับทั้ง ๙ ท่านแรก ที่โพสขอรับสิทธิ์รับรางวัล (และไม่ทำผิดกติกา) กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ๙ ท่านแรก ที่โพสตอบกระทู้เพื่อขอรับสิทธิ์รับรางวัล และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองจดหมาย) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

52
วันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘

พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ เมตตาเป็นประธานเปิดงานประจำปีปิดทองหลวงพ่อโต-หลวงพ่อเปิ่น วัดโคกเขมา ๒๕๕๘








พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ ป.ธ.๙) วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม




พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ (หลวงพ่อบุญสม ผลญาโณ) เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดสำโรง จ.นครปฐม


(รูปขวาสุด) พระศรีวิสุทธิวงศ์ (พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชญฺญู) เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๕
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม เจ้าคณะอำเภอบางเลน























หลวงพ่อสำอางค์มอบเงินทำบุญแก่พระครูโกวิทสุตการ (พระมหาระพิน อภิชาโน) หลวงพ่อกำไร
เจ้าคณะตำบลศรีมหาโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา จ.นครปฐม





























ทักษิณานุปทาน




พระครูสังฆรักษ์ชออม ขนฺติโก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางพระ


พระอาจารย์ปลิ๋ว เจ้าอาวาสวัดท่าใน


พระอาจารย์พระมหาไพศาล วัดกกตาล


พระปลัดรัชวุฒิ รชวฺฒโฑ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร


หลวงพ่อพระครูมงคลสุทธิกิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยพลู


พระครูปลัดเอกราช ชยวุฒฺโฑ วัดห้วยพลู




พระอาจารย์ประดิษฐ์ อนุตฺตโร วัดบางพระ






53
เย็นวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘







































หลวงพ่อสำอางค์ทำน้ำมนต์สำหรับใช้ในพิธีไหว้ครู






























54



ผ้ายันต์นี้ ได้ใช้บล็อคแม่พิมพ์สักเก่ารูปหงษ์มาปั๊ม (เป็นบล็อคสักไม้หลวงพ่อเปิ่นแกะเอง และใช้สักให้กับลูกศิษย์ในสมัยก่อน)

โดยนำหมึกสำหรับใช้สักยันต์เก่าที่หลวงพ่อเปิ่นใช้ มาปั๊มลงบนผ้า ซึ่งหมึกสักนี้ได้รับการอธิษฐานจิตจากพระคณาจารย์หลายรูปหลายวาระ

อาทิเช่น หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร, หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม, นำเข้าพิธีครอบเศียรที่กุฏิหลวงพี่ติ่ง เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ที่ผ่านมา เป็นต้น

ทั้งนี้อาจารย์ประพนธ์ได้มอบผ้ายันต์หงษ์นี้มาให้ผมไว้จำนวนหนึ่ง จึงนำมาแจกให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระต่อไป


รายละเอียดการแจก

*ส่วนหนึ่งได้มอบให้พี่หนึ่ง "ผู้การเสือ" เป็นของรางวัลสำหรับผู้โชคดีจากกิจกรรมตอบปัญหาชิงรางวัลครั้งที่ ๔ รายละเอียดตามลิ้งก์ http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31132

**อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้แจกเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระในวันไหว้ครู เสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๘

สำหรับเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระท่านใดที่พบผมในวันไหว้ครู ก็สามารถเข้ามาขอรับผ้ายันต์ได้เลย (ถ้าไม่หมดเสียก่อน)..

55

น้องๆ โรงเรียนวัดบางพระ มากราบหลวงพ่อเปิ่น


เริ่มพิธีครอบครูที่กุฏิหลวงพี่ติ่งช่วงเช้า














ด้านในกุฏิหลวงพี่ต้อย


พิธีกลางแจ้ง




































































วัตถุมงคลที่ระลึก (ทันหลวงพ่อเปิ่น)






คุณสุวรรณฉัตร พรหมชาติ โชเฟอร์แท็กซี่ใจบุญ ก็มาร่วมพิธี


คณะของอาจารย์สักยันต์ฆราวาสจากอีสานมาช่วยสักยันต์ที่วัดบางพระ
ก่อนมาช่วยสักจึงมากราบหลวงพ่อสำอางค์ เพื่อบอกกล่าวขออนุญาต และทำพิธีครอบครู













































คณะศิษย์จากมาเลเซียมาเจิมหน้าผากที่กุฏิ




ช่วงเย็นที่กุฏิหลวงพี่ติ่ง








หลวงพี่ต้อยฝากบอกบุญสมทบทุนสร้างอาคารโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น
"สร้อยกำไลข้อมือหินมงคล ติดเม็ดกระดุมหลวงพ่อเปิ่น (ศิษย์ชาวจีนสร้างถวาย)
จำนวนสร้าง ๒๐ เส้น ร่วมบุญบูชาได้ที่กุฏิหลวงพี่ปาด เส้นละ ๑,๐๐๐ บาท



เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระ รุ่น ๗ บูชาได้ที่สำนักงานวัดบางพระ ตัวละ ๓๕๐ บาท
รายละเอียดคลิกดูได้ที่ http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31133
ภาพพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตคลิกดูได้ที่ http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31178



หลวงพ่อสำอางค์เดินสำรวจตรวจตราวัดช่วงเย็น


ครูเทพปรึกษาเตรียมงานกับหลวงพ่อ


แวะเยียมคณะแม่ครัววัดบางพระ














เตรียมงานไหว้ครู วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๘




บรรยากาศงานประจำปี ปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดบางพระ ระหว่างวันที่ ๔-๖ มีนาคม ๒๕๕๘
พรุ่งนี้คืนสุดท้าย








































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

[shake]แล้วพบกันอีกครั้งในวันไหว้ครูประจำปีวัดบางพระ
วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๘
[/shake]

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘
เวลา ๐๒.๓๑ น.

56









รายละเอียดลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น บูชาครู ๒๕๕๘ (หลวงพี่ต้อยจัดสร้าง)

รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (ซึ่งลอคเกตชุดนี้ได้นำเข้าในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ณ วัดนก กทม. เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๗ ด้วย ภาพบรรยากาศพิธีปลุกเสก ณ วัดนก คลิกชมได้ที่.. www.facebook.com/media/set/?set=a.760983947295278.1073741837.123218131071866&type=3)

ด้านหลังอุดผงเก่าหลวงพ่อเปิ่น, จีวรหลวงพ่อเปิ่น และ "ตะกรุดเก่า (ที่หลวงพ่อเปิ่นอธิษฐานจิตปลุกเสกไว้) จำนวน ๙ ดอก"

จำนวนสร้างทั้งหมด ๑๐๐ องค์ (แยกเป็นลอคเกตฉากสีน้ำตาล จำนวน ๕๐ องค์ และลอคเกตฉากสีเขียวอีกจำนวน ๕๐ องค์)

โดยหลวงพี่ต้อยเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกให้อีกครั้ง เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบุญกับหลวงพี่ต้อยเนื่องในงานพิธีไหว้ครูวัดบางพระ ๒๕๕๘

ร่วมบุญบูชาองค์ละ ๓๐๐ บาท ติดต่อร่วมบุญบูชาได้ที่กุฏิหลวงพี่ปาด (ข้างกุฏิหลวงพี่ต้อย) ที่เดียว ไม่มีจัดส่งทางไปรษณีย์

อนุโมทนาบุญล่วงหน้ากับผู้ร่วมบุญในครั้งนี้ทุกๆ ท่าน

สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.


57
พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ

เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระ รุ่น ๗

วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๘ (ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย จ.ศ.๑๓๗๖)

เวลา ๘.๓๙ น. บนกุฏิใหญ่ วัดบางพระ จ.นครปฐม
































ด้านหน้า


ด้านหลัง


ยันต์ลายมือหลวงพ่อเปิ่น ที่กระเป๋าเสื้อ


ลายมือพระอาจารย์อภิญญาเขียนว่า "วัดบางพระ" ที่แขนเสื้อด้านซ้าย


สัญลักษณ์เสื้อเว็บบอร์ดรุ่น ๗ ที่แขนเสื้อด้านขวา


ยันต์หงส์คู่ ด้านหลังเสื้อ


เปิดให้บูชาแล้วที่สำนักงานวัดบางพระ ติดต่อพระสุธี (หลวงพี่เก่ง)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


***บทความที่เกี่ยวข้อง***

เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๗
คลิกอ่านได้ที่..
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31133

จากพิมพ์สักเก่าของหลวงพ่อเปิ่น..สู่เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระ รุ่น ๗
คลิกอ่านได้ที่..
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31166


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๘
เวลา ๒๓.๓๑ น.

58



ปฏิสันถารกับพระครูพิทักษ์วีรธรรม (หลวงพ่อสืบ ปริมุตโต) เจ้าอาวาสวัดสิงห์




















































แจกเหรียญ (หลวงพ่อท่านเรียกเหรียญนินจา)




59
ภาพพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกเหรียญที่ระลึกไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น ๒๕๕๘ ครั้งสุดท้ายก่อนนำออกให้บูชา

วันอังคาร (ภุมโม) ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๖.๓๙ น. ณ กุฏิพระอุดมประชานาถฯ (กุฏิใหญ่) วัดบางพระ


อธิษฐานจิตปลุกเสกโดย

หลวงพ่อคง เจ้าอาวาสวัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี

หลวงพ่อสมเจตน์ เจ้าอาวาสวัดนก กรุงเทพมหานคร

หลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระ จ.นครปฐม


เปิดให้บูชา และรับพระ (สำหรับผู้ที่สั่งจองไว้) ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘) เป็นต้นไป ที่กุฏิใหญ่ วัดบางพระ

รายละเอียดราคาร่วมบุญบูชาเหรียญที่ระลึกไหว้ครู ปี ๕๘ คลิกดูได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31163



:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


































































































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

60
ที่มาของยันต์หงส์คู่ที่ใช้ปักหลังเสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระ รุ่น ๗



แม่พิมพ์บล็อคสักเก่าที่หลวงพ่อเปิ่นใช้สักให้กับลูกศิษย์


ย้อนกลับไปในสมัยก่อน ที่หลวงพ่อเปิ่นเริ่มสักยันต์ให้กับลูกศิษย์ลูกหา แม่พิมพ์หรือบล็อคพิมพ์สำหรับใช้ในการสักยันต์นั้น หลวงพ่อเปิ่นท่านจะนำไม้มาแกะบล็อคแม่พิมพ์สำหรับใช้สักยันต์ด้วยตัวของท่านเอง เมื่อจะทำการสัก ท่านก็จะใช้บล็อคไม้ที่แกะพิมพ์ไว้นั้นมารมเขม่าควันไฟ แล้วกดปั๊มไปที่ผิวหนังของผู้สัก แล้วจึงเริ่มสักตามรอยเขม่าควันไฟที่ติดผิวหนังนั้น



แม่พิมพ์บล็อคสักรูปหงส์ ที่หลวงพ่อเปิ่นแกะ และใช้สักให้กับลูกศิษย์


ยันต์หงส์ที่หลวงพ่อเปิ่นสักให้หลวงพ่อสำอางค์ (ใช้แม่พิมพ์บล็อคไม้ตามภาพด้านบน)


ยันต์ที่ใช้ปักหลังเสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระในปีนี้ (พ.ศ.๒๕๕๘) ได้รับความเมตตาจากพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระรูปปัจจุบัน ในการเลือกยันต์เพื่อใช้ปักบนหลังเสื้อที่ระลึก โดยยันต์นั้นคือ "ยันต์หงส์คู่" (ประยุกต์ตามแบบฉบับจากแม่พิมพ์บล็อคสักเก่ารูปหงส์ของหลวงพ่อเปิ่น) ซึ่งหลวงพ่อสำอางค์ท่านเมตตาเล่าให้ฟังถึงอิทธิคุณของยันต์หงส์ตามที่หลวงพ่อเปิ่นท่านได้เคยกล่าวให้ฟังไว้ว่า "ยันต์หงส์คู่นี้ให้ผลทางเมตตาค้าขาย" โดยในสมัยก่อนตอนที่กำลังเรียนวิชากับหลวงพ่อเปิ่นใหม่ๆ หลวงพ่อเปิ่นได้อธิบายเคล็ดลับสำหรับยันต์หงส์ให้หลวงพ่อสำอางค์ไว้ว่า.. "อิติพุทโธ ตัวหนึ่งอยู่ ตัวหนึ่งไป" ซึ่งหลวงพ่อสำอางค์ท่านก็สามารถเข้าใจความหมายนัยสำคัญนั้นได้ทันที



ยันต์หงส์คู่ที่ใช้ปักหลังเสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๗
ประยุกต์ตามแบบฉบับจากแม่พิมพ์บล็อคสักเก่ารูปหงส์ของหลวงพ่อเปิ่น


สำหรับเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระที่ประสงค์จะร่วมบุญบูชารับเสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระ รุ่น ๗ ไว้เป็นที่ระลึก (หลังจากตัดเย็บเสร็จแล้วจะนำไปขอความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระ อธิษฐานจิตปลุกเสก เพื่อความเป็นศิริมงคล เช่นทุกปี) สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่: http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31133


แบบเสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระ รุ่น ๗ เปิดให้บูชาเร็วๆ นี้


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันศุกร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
เวลา ๑๗.๕๐ น.

61

รายละเอียดการสร้าง

๑.เหรียญเนื้อเงินหน้าทองคำ จำนวนสร้าง ๑๙ เหรียญ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๔,๐๐๐ บาท
๒. เหรียญเนื้อนวะโลหะหน้าทองคำ จำนวนสร้าง ๑๙ เหรียญ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๓,๕๐๐ บาท
๓. เหรียญเนื้อเงินลงยา (มี ๓ สี น้ำเงิน, เขียว และแดง) จำนวนสร้างสีละ ๑๙ เหรียญ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๒,๕๐๐ บาท
๔. เหรียญเนื้อเงินบริสุทธิ์ จำนวนสร้าง ๑๙ เหรียญ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๑,๕๐๐ บาท
๕. เหรียญเนื้อนวะโลหะ จำนวนสร้าง ๑๙ เหรียญ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๑,๐๐๐ บาท
๖. เหรียญเนื้อตะกั่ว จำนวนสร้าง ๑๙ เหรียญ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๑,๐๐๐ บาท
๗. เหรียญเนื้อโลหะสามกษัตริย์ จำนวนสร้าง ๓,๐๐๐ เหรียญ ร่วมบุญบูชาเหรียญละ ๓๐๐ บาท
๘. เหรียญเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนสร้าง ๒๕,๐๐๐ เหรียญ มอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบูชาพานครูในวันไหว้ครูประจำปี วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ร่วมบุญบูชาพานครู ๑๐๐ บาท, ร่วมบุญบูชาบนกุฏิใหญ่เหรียญละ ๑๕๐ บาท


***หมายเหตุ***

- รายการที่ ๑-๖ "เปิดให้สั่งจอง" บนกุฏิใหญ่วัดบางพระ (ติดต่อรับพระได้ตั้งแต่วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ที่กุฏิใหญ่วัดบางพระ)
- รายการที่ ๗-๘ เปิดให้บูชาตั้งแต่วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นไป (ไม่ต้องสั่งจอง)
- กำหนดพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกในวันอังคารที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โดยหลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี, หลวงพ่อสมเจตน์ วัดนก กทม. และหลวงพ่อสำอางค์ วัดบางพระ บนกุฏิใหญ่ วัดบางพระ



ภาพพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกครั้งสุดท้ายก่อนออกให้ร่วมบุญบูชา คลิกดูได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31168




ด้านหน้าเทียบขนาดกับเหรียญบาท


ด้านหลังเทียบขนาดกับเหรียญบาท

62
เกริ่นนำ..

"ไอ้เก่ง..มึงรวบรวมประวัติวัดโคกเขมาให้หลวงพ่อที" เสียงหลวงพ่อสมภารดังขึ้น

พอสิ้นเสียงสั่งงาน ก็มีเสียงคำขานตอบรับอย่างฉับพลันดังขึ้นว่า "ครับหลวงพ่อ"

หลังจากเร่งสะสางงานวิจัยจนเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ผมจึงได้โอกาสเริ่มสืบค้นข้อมูลเพื่อสนองงานหลวงพ่อที่รับคำท่านไว้

หากกล่าวถึง "วัดโคกเขมา" หลายท่าน โดยเฉพาะผู้ที่เคยศึกษาประวัติของพระเดชพระคุณพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) ก็คงจะพอทราบคร่าวๆ ว่า วัดนี้เคยเป็นวัดเก่าที่หลวงพ่อเปิ่นเคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนที่จะมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบางพระ แต่รายละเอียดประวัติความเป็นมาของวัด หรือประวัติของหลวงพ่อเปิ่นในช่วงสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมานั้น ก็ไม่ค่อยมีการรวบรวมนำมาเผยแพร่มากเสียเท่าไหร่

ภาพกระบวนการเสาะแสวงหาความจริงที่มีอยู่ในหัว ณ ขณะนั้น คือ "การสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ร่วมสมัย และหรือเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเปิ่น ณ ช่วงเวลานั้น" อาทิเช่น พระสมุห์ไพรวัน คุณวนฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อาจารย์หวั่น อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาซึ่งปัจจุบันท่านพักอาศัยอยู่ห้วยพลู และอีกทางเลือกที่ยังพอเป็นไปได้คือ การหาข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว

และจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม แสงสว่างแห่งความโชคดีก็เริ่มฉายแสงสาดส่องมาให้ผมได้เห็นภาพคำตอบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยช่วงกลางปีที่ผ่านมา เย็นวันหนึ่ง หลังจากอยู่ช่วยงานหลวงพ่อบนกุฏิใหญ่แล้ว ก็มาหาหนังสืออ่านเล่นที่สำนักงานวัดบางพระ จังหวะบังเอิญไปเจอหนังสือเข้าเล่มนึง ชื่อว่า "ประวัติวัดในจังหวัดนครปฐม" จึงเปิดดูเนื้อหาพบว่า "มีรวบรวมประวัติวัดโคกเขมาไว้ด้วยเช่นกัน!!" (โชคดีที่ได้บันทึกภาพ และยังเก็บภาพรายละเอียดไว้ครบถ้วน) ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองงานหลวงพ่อ และเผยแพร่ประวัติวัดโคกเขมา (อันเป็นวัดเก่าที่หลวงพ่อเปิ่นเคยเป็นเจ้าอาวาส) ให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ และผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา ผมจึงนำเนื้อหาและภาพประกอบมาลงไว้ รายละเอียดดังนี้...



ประวัติวัดโคกเขมา ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ชื่อวัด

   วัดโคกเขมา ตั้งอยู่เลขที่ ๖ หมู่ที่ ๕ ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ ๗๓๑๒๐
   สังกัดมหานิกาย อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑๔






พระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) ที่หลวงพ่อเปิ่นสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖


วัดและที่ธรณีสงฆ์

   ที่วัดมีเนื้อที่จำนวน ๑๙ ไร่ ๓ งาน – ตารางวา
   มีอาณาเขตดังนี้   ทิศเหนือ จรดถนนสาธารณะ
         ทิศใต้ จรดที่ดินของนายจิต พุ่มดียิ่ง
         ทิศตะวันออก จรดถนนสาธารณะ
         ทิศตะวันตก จรดคลองสาธารณะ



ประวัติวัดโคกเขมา ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๐ จนถึงปัจจุบัน)

   วัดโคกเขมาเดิมมีชื่อว่า “วัดสร้อยนกเขา” ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าจน พ.ศ.๒๔๔๐ มีพระภิกษุชื่อ พระพัด ได้มีการบุกเบิกโดยได้รับมอบที่ดินจาก ปู่นุ้ย ย่าเชื่อม สนสาขา จำนวน ๑๕ ไร่ ๑ งาน ๘๖ ตารางวา ตลอดจนชาวบ้านได้รวมกันบริจาคทรัพย์เป็นจำนวน ๒ หาบด้วยกัน จึงได้สร้างโบสถ์ด้วยจากขึ้นมาเป็นหลังแรก แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ และยังได้กุฏิสงฆ์ จำนวนหนึ่ง ต่อมาพระพัดได้ย้ายไปอยู่ที่วัดท้องไทร ทางวัดได้ให้พระเปลื้องรักษาการอยู่พักหนึ่งจึงได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อเผือก มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสเรื่อยมาจนถึงพระอธิการสุนทร (ฮะ) สุนฺทโร เป็นเจ้าอาวาสประมาณ พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านเห็นว่าโบสถ์หลังเก่าทรุดโทรม จึงได้เรียกประชุมชาวบ้านเพื่อทำโบสถ์หลังใหม่แทนหลังเก่าในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ทำเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ เรื่อยมาจนถึงพระอธิการสาย ปิยวนฺโน เป็นเจ้าอาวาสได้มีการสร้างโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ ขึ้นในบริเวณวัด เพื่อเป็นที่ศึกษาของเยาวชนในหมู่บ้าน พร้อมตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม สอนพระภิกษุสามเณร ที่บวชเรียนขึ้นในวัดและปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างที่ทรุดโทรมเรื่อยมาจนอาจารย์ลาสิกขา ทางวัดได้ตั้งพระเส็ง รักษาการแทนอยู่ ๑ พรรษา ทางวัดจึงได้นิมนต์พระอธิการเปิ่น ฐิตคุโณ มาจากวัดทุ่งนานางหรอก จังหวัดกาญจนบุรี ท่านยังได้สร้างพระรูปหล่อพระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของประชาชน ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ พระอธิการเปิ่นได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางพระ ทางวัดได้ตั้งพระอธิการหวั่น ปญฺญาวุโธ เป็นเจ้าอาวาสแทนเรื่อยมาจนถึงพระอธิการไพรวัน คุณวนฺโต  และพระครูโกวิทสุตการ (พระมหาระพิน อภิชาโน) เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน


ภาพหลวงพ่อเปิ่น ช่วงที่เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา

งานด้านการปกครอง

   ลำดับรายนามเจ้าอาวาส

   ๑. พระพัด เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ – พ.ศ.ใดไม่ทราบ
   ๒. หลวงพ่อเผือก เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๕ – ๒๔๗๐
   ๓. พระอธิการสุนทร (ฮะ) สุนฺทโร เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๐ – ๒๔๙๓
   ๔. พระอธิการสาย ปิยวนฺโน เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ – ๒๕๐๗
   ๕. พระอธิการเปิ่น ฐิตคุโณ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ – ๒๕๑๘
   ๖. พระอธิการหวั่น ปญฺญาวุโธ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ – ๒๕๒๙
   ๗. พระอธิการไพรวัน คุณวนฺโต เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๙ – ๒๕๓๘
   ๘. พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) รักษาการเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘ – ๒๕๔๖
   ๙. พระครูโกวิทสุตการ (พระมหาระพิน อภิชาโน) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๖ – ปัจจุบัน



ภาพเขียนพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) บนกุฏิวัดโคกเขมา

 งานการศึกษา

   ๑. เปิดให้มีการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๙๖ – ปัจจุบัน
   ๒. ปัจจุบันเปิดให้มีการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ และ มีโรงเรียนในสังกัดวัดโคกเขมา เพิ่มอีก ๒ โรงเรียน คือ
   ๒.๑ โรงเรียนบ้านห้วยกรด เปิดให้มีการเรียนการสอนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖
   ๒.๒ โรงเรียนแหลมบัววิทยา เปิดให้มีการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖
   ๓. เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ – ปัจจุบัน
   ๔. เปิดให้มีการเรียนการสอน นักธรรมชั้นตรี และธรรมศึกษาตรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ – ปัจจุบัน
   ๕. ปัจจุบันเปิดให้มีการเรียนการสอน นักธรรมชั้นตรี และธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
   ๖. เปิดให้มีการเรียนการสอน ในรายวิชาสังคมศึกษากับพระพุทธศาสนา ให้กับนักเรียนซึ่งสังกัดวัดโคกเขมา จำนวน ๓ โรงเรียน คือ
   ๖.๑ โรงเรียนวัดโคกเขมา
   ๖.๒ โรงเรียนบ้านห้วยกรด
   ๖.๓ โรงเรียนแหลมบัววิทยา



ลานวัดโคกเขมา ในอดีตเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อเปิ่นใช้ประกอบพิธีไหว้ครูสักยันต์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘

งานการเผยแผ่

   ๑. จัดให้มีการแสดงธรรม และบรรยายธรรม ในระยะพรรษาและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ เรื่อยมา
   ๒. พ.ศ.๒๕๓๕ ได้ทำการก่อสร้างหอกระจายข่าวเสียงตามสายขึ้น เพื่อกระจายข่าวและธรรมะสู่ประชาชน



อุโบสถวัดโคกเขมา
[/size]

งานสาธารณูปการ

   พ.ศ.๒๔๔๐ พระพัด ได้ร่วมมือกับชาวบ้านก่อสร้างโบสถ์ มุงหลังคาด้วยจาก
   พ.ศ.๒๔๗๖ หลวงพ่อเผือก ได้สร้างหอสวดมนต์เพื่อทำพิธีทางพระพุทธศาสนา กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๖ เมตร เป็นอาคารทรงไทยยอดแหลมหลังคาสองชั้น มีหน้าบันเป็นไม้สัก และสลักลวดลายประดับทั้งสองด้าน
   พ.ศ.๒๔๘๖ พระอธิการสุนทร (ฮะ) สุนฺทโร ได้สร้างอุโบสถ ก่ออิฐก่อปูนขึ้น กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร มีลักษณะแบบไทย เป็นลวดลายประดิษฐ์ ที่หน้าชั้นทั้ง ๒ ด้าน ได้ทำการยกช่อฟ้า และผูกพัทธสีมา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๓
   พ.ศ.๒๕๑๖ พระอธิการเปิ่น ฐิตคุโณ ได้สร้างรูปหล่อ พระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) หน้าตักกว้าง ๗๕ นิ้ว
   พ.ศ.๒๕๑๗ พระอธิการเปิ่น ฐิตคุโณ ได้วางศิลาฤกษ์ ศาลาการเปรียญจนได้มาแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๘
   พ.ศ.๒๕๓๔ พระอธิการไพรวัน คุณวนฺโต โดยการนำของ ส.จ.ลำยอง พูนลำเภา ได้ทำการก่อสร้างเมรุขึ้น เพราะเดิมการที่เผาศพจะใช้เชิงตะกอนกลางแจ้ง ทำให้ดูไม่เหมาะสม
   พ.ศ.๒๕๓๗ พระอธิการไพรวัน คุณวันฺโต ได้สร้างกุฏิสงฆ์จำนวน ๑๒ ห้อง เพื่อให้เป็นแนวเดียวกันสวยงามและเป็นระเบียบ โดยก่อสร้างเป็นแบบสองชั้น ชั้นละ ๖ ห้อง
   พ.ศ.๒๕๔๐ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) รักษาการแทนเจ้าอาวาสเห็นว่าเมรุหลังเก่ามีความทรุดโทรม จึงได้ทำการก่อสร้างเมรุใหม่ขึ้นมาแทนหลังเก่าจนถึงปัจจุบันนี้
   พ.ศ.๒๕๔๕ ดำเนินการสร้างศาลาธรรมสังเวช แต่ยังไม่แล้วเสร็จ และในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ พระมหาระพิน อภิชาโน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
   พ.ศ.๒๕๔๖ พระมหาระพิน อภิชาโน ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ได้ก่อสร้างศาลาธรรมสังเวชต่อมาจนแล้วเสร็จ และได้สร้างห้องน้ำจำนวน ๑๐ ห้องหลังกุฏิสงฆ์ ๑๒ ห้อง แทนห้องน้ำเดิมซึ่งเก่าและผุพัง แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๗
   พ.ศ.๒๕๔๗ พระมหาระพิน อภิชาโน เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา ได้ทำการบูรณะหอสวดมนต์ให้มีสภาพดีขึ้น พร้อมสร้างกุฏิสงฆ์จำนวน ๙ ห้อง จนแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๘
   พ.ศ.๒๕๔๘ พระมหาระพิน อภิชาโน ได้ทำการบูรณะอุโบสถ ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมผุพัง ให้มีสภาพดีขึ้น พร้อมบูรณะศาลาการเปรียญ แล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ.๒๕๔๘
   พ.ศ.๒๕๔๙ พระมหาระพิน อภิชาโน ได้ทำการก่อสร้างศาลากำไรบุญ แทนศาลาหลังเก่า ซึ่งใช้จำหน่ายธูป เทียน ทอง และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปให้ประชาชนกราบไหว้บูชา จากนั้นได้ทำการถมที่จนได้ระดับพร้อมเทพื้นคอนกรีต และได้ทำการก่อสร้างกุฏิศาลาหอสวดมนต์จำนวน ๖ ห้อง ซึ่งเกิดอัคคีภัยขึ้นแทนกุฏิหลังเก่า แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๕๐
   พ.ศ.๒๕๕๐ พระมหาระพิน อภิชาโน ติดตั้งหอกระจายเสียง เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ ให้ชาวชุมชนได้รับทราบ พร้อมก่อสร้างกุฏิสงฆ์จำนวน ๓ ห้องหลังกุฏิ ๑๒ ห้อง แล้วเสร็จ จากนั้นได้ทำการก่อสร้างกำแพงล้อมรอบวัด พร้อมช่องบรรจุอัฐิ แล้วเสร็จบางส่วน
   พ.ศ.๒๕๕๑ พระมหาระพิน อภิชาโน ได้เริ่มทำการบูรณะกุฏิไม้หลังเก่า โดยยกระดับให้สูงขึ้น และก่อสร้างกุฏิด้านล่างใหม่จำนวน ๓ ห้อง แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ๒๕๕๑
   พ.ศ.๒๕๕๑ พระมหาระพิน อภิชาโน ได้สร้างกำแพงล้อมรอบวัดต่อ พร้อมสร้างช่องบรรจุอัฐิ แล้วเสร็จเมษายน ๒๕๕๒
   พ.ศ.๒๕๕๑ พระมหาระพิน อภิชาโน ได้ทำการสร้างกุฏิสงฆ์หลังใหม่ ข้างกุฏิสงฆ์ ๑๒ ห้องแล้วเสร็จพฤษภาคม ๒๕๕๒
   พ.ศ.๒๕๕๒ พระมหาระพิน อภิชาโน ได้ทำการปรับที่ดินบริเวณโกศบรรจุอัฐิ ให้มีสภาพดีขึ้น โดยจะทำการเกลี่ยพื้นดินบริเวณที่ตั้งโกศบรรจุอัฐิกระดูกให้เสมอกัน ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ




บรรยากาศภายในหอสวดมนต์


อีกมุมของอุโบสถ


ศาลาการเปรียญ



ฌาปนสถาน








กุฏิสงฆ์

งานการศึกษาสงเคราะห์

   ๑. พ.ศ.๒๕๒๕ ร่วมจัดตั้งกองทุนในการศึกษา ให้แก่โรงเรียนวัดโคกเขมา เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่ยากไร้ เป็นประจำทุกปี ปีละ ๕ ทุน ทุนละ ๕๐๐ บาท
   ๒. พ.ศ.๒๕๔๗ จัดตั้งกองทุนการศึกษา ให้แก่นักเรียนโรงเรียนแหลมบัววิทยา เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่ยากไร้ จำนวน ๑ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นต้นมา
   ๓. พ.ศ.๒๕๔๗ จัดตั้งกองทุนในการศึกษา ให้แก่เด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยกรด เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่ยากไร้ จำนวน ๓ ทุน ทุนละ ๕๐๐ บาท
   ๔. พ.ศ.๒๕๕๐ มอบทุนการศึกษาให้แก่พระภิกษุ ผู้ศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับพระภิกษุผู้กำลังศึกษาอยู่ ภายในวัดโคกเขมา จำนวน ๒ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท
   ๕. พ.ศ.๒๕๕๑ มอบทุนการศึกษาให้แก่พระภิกษุ ผู้ศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นทุนการศึกษา จำนวน ๒ ทุน ทุนละ ๑,๕๐๐ บาท
   ๖. มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน เนื่องในงานประจำปีปิดทองวัดโคกเขมา วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๕ โรงเรียน รวม ๖๑ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงินทั้งสิ้น ๖๑,๐๐๐ บาท พร้อมมอบเงินรางวัลแก่เด็กนักเรียนเป็นค่าอุปกรณ์การศึกษา จำนวน ๑๔๓ คน คนละ ๑๐๐ บาท เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๔,๓๐๐ บาท ตามรายการ ดังนี้
   โรงเรียนวัดโคกเขมา จำนวน ๒๑ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท
   โรงเรียนบ้านห้วยกรด จำนวน ๑๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท
   โรงเรียนบ้านลานแหลม จำนวน ๑๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท
   โรงเรียนวัดท้องไทร จำนวน ๑๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท
   โรงเรียนแหลมบัววิทยา จำนวน ๑๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท
   มอบเงินรางวัลแก่นักเรียนเป็นค่าอุปกรณ์การศึกษา จำนวน ๗๕๓ คน คนละ ๑๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๗๕,๓๐๐ บาท



หอระฆัง



หอกระจายเสียง


ศาลากำไรบุญ


หน้าศาลาการเปรียญ

งานด้านสาธารณะสงเคราะห์

   ๑. พ.ศ.๒๕๐๓ ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งของวัด ทำการก่อสร้างโรงเรียนวัดโคกเขมาขึ้นมาจำนวน ๑ หลัง เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔
   ๒. พ.ศ.๒๕๓๕ เปิดใช้เมรุเผาศพครั้งแรก
   ๓. พ.ศ.๒๕๔๒ เมรุหลังใหม่ ได้สร้างเสร็จเรียบร้อย จึงได้เปิดทำการใช้แทนหลังเก่ามาถึงปัจจุบัน
   ๔. บริจาคปัจจัยตามโครงการในแต่ละปี เพื่อช่วยผู้ยากไร้ตามสถานที่ต่างๆ อาทิ เช่น บ้านพักคนชรา โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น
   ๕. เปิดใช้ศาลาธรรมสังเวชเป็นที่เลือกตั้งของชาวชุมชน ซึ่งสะดวกในการเดินทางมาลงคะแนนเสียง






บรรยากาศริมคลองหลังวัด



ศาลาโรงครัว


ภายในศาลากำไรบุญ


กำแพงพร้อมช่องบรรจุอัฐิหลังวัด

โบราณวัตถุ

   โบราณวัตถุของวัดโคกเขมาที่สำคัญดังนี้

   ๑. พระพุทธรูปนิรันตราย จากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาทราบว่า เป็นพระพุทธรูปอัญเชิญมาจากวัดสระสี่เหลี่ยม (แต่ไม่ปรากฏว่าอัญเชิญสมัยใด ใครเป็นผู้อัญเชิญมา) องค์พระประทับหน้าตัก ๓ ศอก ลงรักปิดทองทั้งองค์ ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ
   ๒. พระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) เป็นพระพุทธรูปปั้นลอยองค์ สร้างโดยหลวงพ่อเปิ่น เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ ประดิษฐานอยู่ลานวัดเพื่อประชาชนจะได้เคารพและเป็นที่สักการบูชา
   ๓. พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของวัดโคกเขมา ได้ทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารใกล้พระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของประชาชนทั่วไป
   ๔. นางกวัก ได้ทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๘ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารใกล้พระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของประชาชนทั่วไป
   ๕. พระพิฆเนศวร ปางลีลาเสวยสุข ท่ายืน ได้ทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณหน้ากุฏิสงฆ์ ๑๒ ห้อง เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของประชาชนทั่วไป
   ๖. พระพุทธมหาจักรพรรดิราช ปางเชียงแสน สมัยอยุธยา ได้ทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารใกล้พระสังกัจจายนะ (หลวงพ่อโต) เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของประชาชนทั่วไป



อุโบสถวัดโคกเขมา จารึกชื่อพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) ผู้อุปถัมภ์สมทบทุนบูรณะอุโบสถ


ภายในอุโบสถวัดโคกเขมา


รูปหล่อพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ)


ซุ้มสักการะบูชา

ถาวรวัตถุภายในวัด

   ๑. ศาลาเมรุเริ่มเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕ สำเร็จเมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เงินบริจาคสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล คุณปิยภัสร์ ปานทอง บริจาคสีทา และประชาชนเป็นผู้สร้าง
   ๒. บูรณะหอสวดมนต์เริ่ม เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗ แล้วเสร็จเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘ คุณปิยภัสร์ ปานทอง บริจาคสี กระเบื้องปูพื้น และศรัทธาจากประชาชน สร้างพร้อมกุฏิสงฆ์ใหม่
   ๓. บูรณะโบสถ์ใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๘ โดยพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ คุณอนุชา สะสมทรัพย์ คุณฑัมพร นิพนธ์วิทยา ประธานร่วมบริจาคทรัพย์จ้างช่างสร้าง
   ๔. บูรณะศาลาการเปรียญ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๘ แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘
   ๕. ศาลาจำหน่าย ธูป เทียน ทอง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘ แล้วเสร็จปลาย พ.ศ.๒๕๔๘ เพื่อทดแทนศาลาหลังเก่า
   ๖. สร้างกุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ ห้อง เริ่มเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๑
   ๗. สร้างกำแพงล้อมรอบวัด พร้อมช่องบรรจุอัฐิ เริ่มเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๑


[พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ ปธ.๙) และพระครูสุธีเจติยานุกูล (รุ่ง กตปุญฺโญ ปธ.๖), ประวัติวัดในจังหวัดนครปฐม (กรุงเทพฯ: บริษัท ออนป้า จำกัด, ๒๕๕๖), น.๒๙๓-๒๙๘.]


ป้ายอาคารกุฏิเก่าหลวงพ่อเปิ่นหลังได้รับการบูรณะแล้ว

หลวงพ่อเปิ่นเมื่อครั้งอยู่วัดโคกเขมา

ในส่วนของประวัติหลวงพ่อเปิ่นช่วงที่เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาจากการสัมภาษณ์พระสมุห์ไพรวัน คุณวนฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา นั้น ได้ข้อมูลคร่าวๆ ว่า หลวงพ่อเปิ่นท่านย้ายมาจำพรรษาพร้อมกับได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโคกเขมา เมื่อปลายพรรษา พ.ศ.๒๕๐๗ และที่วัดโคกเขมานี้เอง คือสถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นการสักยันต์ และพิธีไหว้ครูที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกกลางลานวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘

นอกจากการสักยันต์ของหลวงพ่อเปิ่นที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดโคกเขมาแล้ว "วัตถุมงคล" ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อเปิ่นเริ่มสร้างไว้ครั้งแรกที่วัดโคกเขมาเช่นกัน อาทิเช่น เหรียญเสมารุ่นแรกของหลวงพ่อเปิ่น (เหรียญพระอธิการเปิ่น) ที่บางท่านเข้าใจว่าสร้างในปี ๒๕๐๖ ความจริงแล้วเหรียญรุ่นแรกนี้สร้างเมื่อปี "พ.ศ.๒๕๐๘" โดยสังเกตได้จากประวัติหลวงพ่อเปิ่นที่ท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาเมื่อปี ๒๕๐๗ ประกอบกับตำแหน่ง "พระอธิการ" ที่มีระบุในเหรียญ จะใช้สำหรับเรียกเจ้าอาวาสวัดทั่วไปที่ไม่มีสมณศักดิ์อยู่แล้ว ดังนั้นที่กล่าวกันว่าเหรียญพระอธิการรุ่นแรกหลวงพ่อเปิ่น สร้างเมื่อปี ๒๕๐๖ จึงเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้พยานบุคคลอีก ๒ ท่าน คือทิดเลี้ยง (อดีตเคยอุปสมบทอยู่กับหลวงพ่อเปิ่นที่วัดโคกเขมา) และอาจารย์หวั่น (อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาต่อจากหลวงพ่อเปิ่น) ก็ต่างให้รายละเอียดตรงกันว่า เหรียญรุ่นแรกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ ส่วนเหรียญพิมพ์เหรียญรุ่นแรกเนื้อเงินยวงและเนื้อตะกั่ว ทิดเลี้ยงเป็นผู้เทตะกั่วหล่อเหรียญด้วยตนเอง โดยโลหะที่นำมาเทหล่อเหรียญนั้น ที่เรียกว่าเป็นเงินยวงความจริงเป็นโลหะจากกรุบางขโมย ที่หลวงพ่อเปิ่นท่านได้รับถวายมา ส่วนเนื้อตะกั่วก็ได้มาจากพระแก้บนเนื้อตะกั่วในอุโบสถ (กรรมวิธีการสร้างไม่ขออธิบาย ณ ที่นี้) ส่วนปี พ.ศ. ที่ทำออกมานั้นอยู่ในราว พ.ศ.๒๕๐๘ - พ.ศ.๒๕๑๗ เพราะมีการสร้างเรื่อยมาตลอด แต่ก็ได้รับการอธิษฐานจิตปลุกเสกจากหลวงพ่อเปิ่นเหมือนกันหมด สมัยนั้นหลวงพ่อเปิ่นท่านสั่งให้ทำแจกญาติโยมที่มาร่วมทำบุญที่วัดเสียส่วนใหญ่



พระพุทธรูปและรูปเคารพต่างๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันประดิษฐานภายในเต๊นท์ชั่วคราวบริเวณด้านหลังหอสวดมนต์




วิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่ดำเนินการก่อสร้างอยู่

ประชาสัมพันธ์งานบุญ

สำหรับโครงการในปัจจุบันที่ทางวัดกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่นั่นคือ การสร้างวิหารเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและรูปหล่อรูปสักการะต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมาก (ปัจจุบันได้ตั้งเต๊นท์เพื่อให้สาธุชนได้สักการะบูชาชั่วคราวบริเวณด้านหลังหอสวดมนต์) โดยการก่อสร้างยังขาดปัจจัยอีกจำนวนมาก ดังนั้นทางวัดโคกเขมาจึงได้สร้างวัตถุมงคล "เหรียญย้อนยุคหลวงพ่อเปิ่น รุ่น ๑" และ "กำไล รุ่น ๑" (ชนวนมวลสารเก่าของหลวงพ่อเปิ่น และอื่นๆ) เพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้กับผู้ที่ร่วมบุญสมทบทุนสร้างวิหารวัดโคกเขมา (สามารถเข้ามาร่วมบุญด้วยตนเองได้ทุกวันที่วัดโคกเขมา) กำหนดอธิษฐานจิตช่วงระหว่างงานประจำปีของวัดโคกเขมา ๒๕๕๘ (๑๐-๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘) โดยพระคณาจารย์สายวัดบางพระ รายละเอียดดังนี้




เหรียญหลวงพ่อเปิ่นย้อนยุครุ่น ๑


กำไลรุ่น ๑


ป้ายประชาสัมพันธ์งานประจำปีวัดโคกเขมา ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

เสร็จสิ้นไปอีก ๑ งาน กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ทุกๆ รูปที่อนุเคราะห์ข้อมูล
และขออนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ร่วมบุญสมทบทุนสร้างวิหารวัดโคกเขมา มา ณ โอกาสนี้ ด้วย
.........สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.........

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
เวลา ๐๒.๕๔ น.

63
งานประจำปีปิดทองรูปเหมือนบุรพาจารย์วัดบางพระ ๕๘ (วันแรก)





























































:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ต่อด้วยงานประจำปีพ่อปู่ทองสุข (หลวงปู่หิ่ม วัดบางพระ เป็นผู้บุกเบิก)

ประวัติความเป็นมาศึกษาได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=31069























:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

64
[shake]!!!ปิดกิจกรรมแล้วครับ!!![/shake]

Happy New Year ครับ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

คำถาม

           ด้วยจะมีวันไหว้ครู ลพ.เปิ่น ในวันเสาร์ที่ ๗ มี.ค.๕๘ นี้ เราเหล่าศิษยานุศิษย์ อยากได้ Comment ของท่าน (ส่วนดีอยู่แล้ว ไม่ต้อง) เพื่อทางวัดจะได้ปรับปรุง แก้ไขต่อไปให้ดีขึ้น

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

๑.    ๕ ท่านแรก ที่ Comment ได้โดนใจคณะกรรมการ จะได้รับตะกรุดผู้การเสือ ๕ ดอก (สุดท้าย)

๒.    ๕ ท่านต่อมา (ที่ Comment ได้โดนใจคณะกรรมการ) จะได้รับ พญาเต่าเรือน (ลพ.ญา ให้มาเป็นรางวัล)

๓.    ที่เหลือ (๑๐ ท่าน ที่ Comment ได้โดนใจคณะกรรมการ) จะมีรางวัลพิเศษปลอบใจจากผู้การเสือ + สิบทัศน์

๔.    ทุกรางวัลให้มารับกับมือผู้การเสือ + สิบทัศน์ เวลา ๑๓.๐๐ น. วันใหว้ครู (๗ มี.ค.๕๘)

๕.    ประกาศผู้โชคดี เวลา ๑๓.๐๐ น. (๑ มี.ค.๕๘)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ของรางวัล

ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑ รายละเอียดประวัติความเป็นมาที่..
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30928

พญาเต่าเรือน (ลพ.ญา มอบให้ – ทองแดงองค์เล็ก)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

พิพิธภัณฑ์ผู้การเสือรูปที่ ๕


ผ้ายันต์ ลพ.เปิ่น ผืนแรก ได้รับจาก ลพ.ติ่ง (๑๕-๑๖ ปีมาแล้ว)

พิพิธภัณฑ์ผู้การเสือรูปที่ ๖


สุดล้ำค่า ลพ.ต้อย มอบให้ ๑๕ ก.ค. ๔๕

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

65

เตรียมงานก่อนวันงาน




๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ วัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) จ.นครปฐม


















พระครูโกวิทสุตการ (พระมหาระพิน อภิชาโน) เจ้าคณะตำบลศรีมหาโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา จ.นครปฐม


พระอาจารย์พระสมุห์ไพรวัน คุณวนฺโต วัดโคกเขมา




อาจารย์หวั่น อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา
(เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาหลังจากที่หลวงพ่อเปิ่นย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางพระ)


















ลูกหลานชาวนครปฐม "เมสซี่เจ" ชนาธิป สรงกระสินธ์





ต่อด้วยพิธีสวดมนต์ข้ามปีของทางวัดบางพระ




พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ เมตตานั่งปรกแผ่บารมีแก่ผู้เข้าร่วมพิธี




















































แจกวัตถุที่ระลึกรับปีใหม่




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


งานต่อไป "งานประจำปี ปิดทองรูปเหมือนบุรพาจารย์วัดบางพระ"

หลวงพ่อหิ่ม หลวงพ่อทองอยู่ หลวงพ่อเปลี่ยน หลวงพ่อเปิ่น

ระหว่างวันที่ ๒ - ๔ มกราคม ๒๕๕๘

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

66
[shake]..ปิดกิจกรรมแล้วครับ..[/shake]

ลายมือพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ
ลงนามถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

คำถาม

เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๗ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ที่กำลังจะถึงนี้

"ท่านได้ทำความดี และหรือประสงค์ว่าจะทำความดีอย่างไร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ บ้าง?"

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ของรางวัล

"จีวรหลวงพ่อสำอางค์ (หลวงพ่อสำอางค์อธิษฐานจิตตลอดพรรษา ปี ๕๗)"

จีวรของหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระรูปปัจจุบัน


ผมเองได้กราบขออนุญาต และกราบขอความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์
ให้ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกตลอดกาลเข้าพรรษา ๑ ไตรมาส
เพื่อนำมาแจกให้กับเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระในโอกาสนี้

ห้องพระบนกุฏิหลวงพ่อสำอางค์
(หลวงพ่อท่านใช้เป็นที่เจริญสมาธิ, อธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล ฯลฯ)

ภาพนี้บันทึกไว้ช่วงหลังจากออกพรรษา
เมื่อเข้าไปรับจีวรจากหลวงพ่อสำอางค์แล้ว
จึงได้แวะเข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์ติ่งและพระอาจารย์ต้อย
(ส่วนประเด็นที่ท่านทั้งสองทักบอกผม เกี่ยวกับจีวรที่เพิ่งไปรับมา
เป็นเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมาก จึงขออนุญาตไม่นำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบในวันพุธที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ "๕๐ ท่านแรกที่ร่วมตอบคำถาม"

- ๕๐ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้) ที่ร่วมตอบคำถาม(และไม่ทำผิดกติกา)!! จะได้รับ "จีวรหลวงพ่อสำอางค์ ที่ระลึกไตรมาส ๕๗  จำนวน ๑ ชิ้น"

- สำหรับผู้ที่ตอบคำถามทั้ง ๕๐ ท่านแรก (และไม่ทำผิดกติกา) กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ๕๐ ท่านแรกที่ตอบคำถาม และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองจดหมายธรรมดา) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)

67





ล็อคเกตหลวงพ่อเปิ่น ๒๕๕๗ หลังฝังเหรียญเม็ดกระดุมปี ๔๓

แบบที่ ๑ และ ๒ จัดสร้างประมาณอย่างละ ๒๐๐ องค์

ส่วนแบบที่ ๓ จัดสร้างประมาณ ๕-๑๐ องค์

ร่วมบุญองค์ละ ๓๐๐ บาท

บูชาได้ที่กุฏิใหญ่วัดบางพระที่เดียว (ไม่มีจัดส่งทางไปรษณีย์ครับ)

68

พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) วัดบางพระ จ.นครปฐม
ทำพิธีลงแป้งเจิมหน้าผากแก่ผู้ที่มาร่วมบุญกับทางแผนกทุนนิธิองค์พระปฐมเจดีย์
บริเวณลานด้านหน้าฝั่งพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
(ภาพจากหลวงพี่เบียร์ วัดพระปฐมเจดีย์ฯ)




























:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


ทั้งนี้ พระปลัดรัชวุฒิ รชวฺฒโฑ (หลวงพี่เบียร์) วัดพระปฐมเจดีย์ฯ
ท่านได้มอบ "ผ้ายันต์ ๙๙ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ" มาให้จำนวนหนึ่ง
จึงขอนำมาแจกให้กับเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ จำนวน ๙ ผืน

รายละเอียดและกติกาการขอรับ "ผ้ายันต์ ๙๙ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ"

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมลงชื่อรับ "ผ้ายันต์ ๙๙ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ" ได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป

- ลงชื่อโพสเพื่อขอรับรางวัลได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถลงชื่อโพสเพื่อขอรับรางวัลได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพส) หากลงชื่อโพสซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ "ผู้ที่ลงชื่อโพสในกระทู้นี้ ๙ ท่านแรก"

- ผู้ที่ลงชื่อโพสเพื่อขอรับรางวัล ๙ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้ และไม่ทำผิดกติกา)!! จะได้รับ "ผ้ายันต์ ๙๙ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ" จำนวน ๑ ผืน (๑ ท่าน / ๑ ผืน)

- สำหรับผู้ที่ลงชื่อโพสเพื่อขอรับรางวัล ๙ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้ และไม่ทำผิดกติกา) "ทุกท่าน" กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ผู้ที่ลงชื่อโพสเพื่อขอรับรางวัล ๙ ท่านแรก และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

69
[shake]..ปิดกิจกรรมแล้วครับ..[/shake]

เกริ่นนำ

"งานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์" ถือได้ว่าเป็นงานประจำปีที่สำคัญมากที่สุดงานหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ทุกๆ ปี ที่จัดงานก็จะมีวัตถุมงคลของที่ระลึกแจกให้กับผู้ที่มาร่วมบุญในงานเสมอมา แต่ละปีทางวัดก็จะอาราธนานิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วประเทศไทยมาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตอย่างมากมาย ซึ่งในช่วงที่หลวงพ่อเปิ่นยังดำรงขันธ์อยู่ท่านก็ได้รับอาราธนามาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกอธิษฐานจิตวัตถุมงคลของทางวัดพระปฐมเจดีย์อยู่บ่อยครั้ง

ภาพหลวงพ่อเปิ่นกับพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดนครปฐม บันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐
(ส่วนวันที่และเดือนที่แน่นอนไว้จะสืบค้นมาลงให้อีกครั้ง)
ขอบคุณพี่นุ้ยเจ้าหน้าที่วัดพระปฐมเจดีย์ ที่แบ่งปันภาพมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

ปีนี้ (พ.ศ.๒๕๕๗) มีความพิเศษตรงที่ "เป็นปีที่พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดนครปฐม มีอายุครบ ๙๙ ปี" ทางวัดพระปฐมเจดีย์ฯ จึงได้เตรียมจัดงานฉลององค์หลวงพ่อพระร่วงโรจนฤทธิ์อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของทางวัดพระปฐมเจดีย์ฯ ปีนี้ "พระครูประยุตนวการ (แย้ม ฐานยุตฺโต)" วัดสามง่าม จ.นครปฐม ได้เมตตาเดินทางมาร่วมพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสพิเศษอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันนี้หลวงปู่แย้มท่านไม่รับกิจนิมนต์นอกวัดมานานแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นหากลองสังเกตเทียบประวัติของหลวงปู่แย้มดูก็จะพบว่า "ปีนี้หลวงปู่แย้มท่านมีอายุครบ ๙๙ ปี เท่ากับอายุของหลวงพ่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ด้วยอีกประการหนึ่ง" (หลวงปู่แย้มท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๘) ผมเองได้มีโอกาสไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของทางวัดพระปฐมเจดีย์ฯ มาเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ จึงเก็บภาพบรรยากาศบางส่วนมาให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระได้รับชมกัน









พระครูประยุตนวการ (แย้ม ฐานยุตฺโต) วัดสามง่าม จ.นครปฐม อายุ ๙๙ ปี
เมตตาเดินทางมาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลที่ระลึกครบรอบ ๙๙ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ

มงคลวัตถุที่ระลึกที่ได้รับมาในวันงานพุทธาภิเษกของวัดพระปฐมเจดีย์ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
"เหล็กจาร ที่หลวงพ่อเปิ่น (และพระคณาจารย์อีกหลายรูป) เคยใช้จารแผ่นยันต์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ฯ"

คำถาม

ภาพปริศนาสำหรับคำถามข้อที่ ๑

ข้อที่ ๑ "ชื่อวัดอย่างเป็นทางการ" (ตามฐานข้อมูล สำนักพุทธฯ) ที่รูปหล่อหลวงพ่อเปิ่น (ในภาพปริศนา) ประดิษฐานอยู่ มีชื่อว่าวัดอะไร? (ย้ำว่าให้ตอบเป็นชื่อที่เป็นทางการเท่านั้น!!!)

ข้อที่ ๒ วันเกิดของพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม ตรงกับวันที่เท่าไหร่? เดือนอะไร? ของทุกปี

ข้อที่ ๓ เหรียญองค์พระปฐมเจดีย์รุ่นแรก (เหรียญที่มีรูปองค์พระปฐมเจดีย์ ที่จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใด?


ของรางวัล

๑. ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑ จำนวน ๓ ดอก (สุดท้าย)


ประวัติความเป็นมา คลิกอ่านได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30928.msg227079#msg227079

๒. กระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ปี ๒๕๔๑ (หลวงพ่อเปิ่นร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก)
 ประทับยันต์ลายมือพระคณาจารย์จังหวัดนครปฐม ๔ รูป ประกอบด้วย หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม, หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม และหลวงพ่อรอด วัดวังน้ำเขียว



รายละเอียดประวัติความเป็นมา คลิกอ่านได้ที่... http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30990

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบในวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ "ทุกท่านที่ตอบคำถามได้ถูกต้องครบทั้ง ๓ ข้อ"

- ๓ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้) ที่โพสตอบคำถามทั้ง ๓ ข้อ ได้ถูกต้องทั้งหมด (และไม่ทำผิดกติกา)!! จะได้รับ "ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑" จำนวน ๑ ดอก + กระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ จำนวน ๑ แผ่น (ตะกรุดผู้การเสือ ๑ ดอก + กระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ จำนวน ๑ แผ่น "รวม ๒ ชิ้น" / ๑ ท่าน)

-สำหรับผู้ที่ตอบคำถามได้ถูกต้องครบทั้ง ๓ ข้อ (และไม่ทำผิดกติกา) ตั้งแต่ลำดับที่ ๔ เป็นต้นไป จะได้รับ "กระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ จำนวน ๑ แผ่น (กระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ จำนวน ๑ แผ่น "รวม ๑ ชิ้น" / ๑ ท่าน)

- สำหรับผู้ที่ตอบคำถามทั้ง ๓ ข้อได้ถูกต้องทั้งหมด (และไม่ทำผิดกติกา) "ทุกท่าน" กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ทุกท่านที่ตอบคำถามทั้ง ๓ ข้อได้ถูกต้องทั้งหมด และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองเอกสาร) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปีนี้ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) วัดบางพระ จ.นครปฐม
ได้รับอาราธนานิมนต์ไปทำพิธีลงแป้งเจิมหน้าผาก
แก่ผู้ที่มาร่วมบุญกับทางแผนกทุนนิธิองค์พระปฐมเจดีย์
บริเวณลานด้านหน้าฝั่งพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ
ในวันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น. เป็นต้นไป
(ภาพจากหลวงพี่เบียร์ วัดพระปฐมเจดีย์ฯ)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

70
วันศุกร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๗

ระหว่างทำภารกิจลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยในจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว จึงได้หาโอกาสแวะไปเยี่ยมเยือน "วัดทุ่งนานางหรอก" อันเป็นวัดเก่าที่หลวงพ่อเปิ่นเคยจำพรรษาอยู่ก่อนที่จะย้ายมาที่วัดโคกเขมา และวัดบางพระตามลำดับ เลยนำภาพบรรยากาศมาฝากเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระได้รับชมกันครับ



ตัวช่วยสำหรับการเดินทางครั้งนี้ (แต่หากค้นหาคำว่า "วัดทุ่งนานางหรอก" ก็จะไม่เจอในแผนที่??)



บรรยากาศการเดินทาง


หลังจากหลงวนเวียนไปมาได้ซักพัก ก็มาเจอป้ายทางเข้า "วัดทุ่งนานางหรอก" จนได้




เข้ามาถึงบริเวณหน้าวัดก็จะเจอ "อนุสาวรีย์นางหรอก" ตั้งอยู่





โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก (อยู่ติดกับวัด)




เมื่อเข้าวัดมา สิ่งแรกที่ได้พบคือ "ศาลนางหรอก" ตั้งอยู่ด้านซ้ายติดกับประตูทางเข้าวัด








ด้านบนศาลามีพื้นที่ปฏิบัติธรรมอยู่ตรงกลาง ด้านหลังเป็นกุฏิที่พักสงฆ์



ศาลาภายในประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเปิ่นนั่งหัวเสือ (สะดุ้งกลับ) ตั้งอยู่ด้านหน้ากุฏิเจ้าอาวาส




รูปหล่อหลวงพ่อเปิ่นนั่งหัวเสือ (สะดุ้งกลับ)




อุโบสถวัดทุ่งนานางหรอก




ศาลาการเปรียญ (ศาลา ๗๐ ปี หลวงพ่อลำใย)




กุฏิเจ้าอาวาส




คล้ายจะเป็นศาลาปฏิบัติธรรมอีกหลัง ตั้งอยู่ด้านหลังวัด








บรรยากาศทั่วไป (เห็นแล้วอดนึกถึงวัดทุ่งเว้า จ.มุกดาหาร ไม่ได้)



รูปเหมือนพระครูถาวรกาญจนนิมิต วัดอินทาราม (หนองขาว) จ.กาญจนบุรี


หลังวัดจะมีทางลงไปยังธารน้ำ








เข้าวัดมาได้สักพักใหญ่ก็ไม่พบใครเลย จึงเดินออกมาหน้าวัด และได้มาพบกับคุณป้าที่เปิดร้านขายน้ำอยู่ จึงได้สอบถามประวัติวัดคร่าวๆ ได้ความว่า... ชื่อ "ทุ่งนานางหรอก" มีความเป็นมาจาก "คุณยายหรอก" ซึ่งเชื่อกันว่าได้อพยพหนีมาจากสงครามเก้าทัพ (หนึ่งในนั้นมีสมรภูมิทุ่งลาดหญ้าอยู่ด้วย) คุณยายหรอกได้ต่อสู้กับข้าศึกและอพยพหนีจากสงครามมาตั้งรกราก (เป็นคนแรก) บริเวณกลางทุ่งนาแห่งหนึ่ง ซึ่งก็คือ "ทุ่งนานางหรอก" ในปัจจุบัน ภายในวัดก็ได้สร้าง "ศาลรูปปั้นยายหรอก" ไว้ให้บูชาเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงคุณยายหรอกที่ได้มาตั้งรกรากสร้างบ้านแปลงเมืองที่บริเวณนี้เป็นคนแรก คนในพื้นที่นี้ต่างก็ยกย่องบูชาคุณยายหรอกไว้เป็นเสมือนกับบรรพบุรุษต้นตระกูล เมื่อสอบถามถึงประวัติหลวงพ่อเปิ่นเมื่อครั้งที่หลวงพ่อเปิ่นได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งนานางหรอกนี้ ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสอบถามกับคุณป้าอีกคนหนึ่งที่เปิดร้านค้าขายของชำอยู่ก่อนถึงวัด


สอบถามชาวบ้านตามทางมาเรื่อยๆ จึงได้มาถึงร้านขายของชำดังกล่าว และได้มีโอกาสมาพบกับ "คุณป้าสุภาพ" ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหลวงพ่อเปิ่นเมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งนานางหรอก




คุณป้าสุภาพ (เสื้อขาว) ผู้ให้ข้อมูล


สอบถามประวัติความเป็นมาของ "ยายหรอก" คุณป้าสุภาพให้ข้อมูลตรงกันว่า จากที่เล่าสืบต่อกันมา ยายหรอกแกได้ต่อสู้กับข้าศึกในสงครามเก้าทัพที่ทุ่งลาดหญ้า และได้อพยพหนีมาตั้งรกรากกลางทุ่งนาแห่งนี้ พื้นที่ตรงนี้จึงได้ชื่อว่า "ทุ่งนานางหรอก" แต่เดิมมีรูปปั้นยายหรอกอยู่ในวัดที่เดียว พอมีคนมาบนบานสานกล่าวแล้วประสบผลสำเร็จตามที่ขอมากๆ เข้า จึงได้มีการสร้างอนุสาวรีย์รูปปั้นยายหรอก (รูปปั้นยืน) ไว้ที่หน้าวัดอีกที่หนึ่ง


ส่วนประวัติของหลวงพ่อเปิ่นเมื่อครั้งที่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งนานางหรอกนี้ คุณป้าสุภาพเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อเปิ่นท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งนานางหรอกตอนที่คุณป้าเรียนอยู่ประมาณชั้น ป.๒ ซึ่งก็จำปี พ.ศ. ที่แน่นอนไม่ได้เช่นกัน จำได้แต่ว่าคุณป้าเกิดปี ๙๐ ตอนหลวงพ่อเปิ่นมาอยู่ที่นี่ตอนนั้นอายุก็น่าจะราวๆ ๑๐ กว่าขวบ ลักษณะของท่านตอนนั้นเป็นภิกษุรูปร่างเล็กผิวค่อนข้างคล้ำ โดยหน้าที่ที่คุณป้าต้องรับใช้หลวงพ่อเปิ่นอยู่เป็นประจำก็คือ "ไปซื้อยาเส้นให้หลวงพ่อ" หลวงพ่อท่านเรียกใช้ก็ไปซื้อให้ท่านเป็นประจำ ครอบครัวที่บ้านก็จะสนิทชิดเชื้อกับหลวงพ่อเปิ่นท่านเป็นอย่างดี และตอนที่หลวงพ่อเปิ่นท่านอยู่ที่วัดนี้ท่านก็ไม่ได้มีการสักยันต์ และไม่มีการสร้างวัตถุมงคลแต่อย่างใด ส่วนกุฏิที่หลวงพ่อเปิ่นเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งนานางหรอกนั้นในปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้ว (ถูกรื้อไปนานแล้ว)


พอหลวงพ่อเปิ่นย้ายออกไปจากวัดทุ่งนานางหรอกแล้ว ก็ไม่ได้ทราบข่าวคราวของท่านอีกเลย จนกระทั่งคุณป้าแต่งงานมีลูกมีครอบครัวแล้วจึงได้ยินข่าวคราวของหลวงพ่อเปิ่นอีกครั้ง โดยคุณพ่อของคุณป้าได้ยินชื่อเสียงของพระสักยันต์รูปหนึ่งในจังหวัดนครปฐมจึงเดินทางไปหาที่วัดโคกเขมา พอเห็นหน้าตาก็จำได้ว่าท่านคือหลวงพ่อเปิ่นที่เคยมาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งนานางหรอก ต่างฝ่ายก็ต่างถามสารทุกข์สุกดิบของกันและกัน พอคุณพ่อของคุณป้ากลับมาบ้านก็มาเล่าให้คุณป้าฟังว่าไปเจอกับหลวงพ่อเปิ่นมา ตอนนี้อยู่ที่วัดโคกเขมา หลวงพ่อเปิ่นท่านยังฝากถามถึงคุณป้าสุภาพกลับมาด้วยว่า ไอ้หนูมันเป็นยังไงบ้าง แต่งงานมีลูกเต้ามีครอบครัวหรือยัง ฯลฯ หลังจากนั้นมานานพอสมควร คุณป้าสุภาพจึงได้มีโอกาสเดินทางมากราบนมัสการหลวงพ่อเปิ่นตอนที่ท่านย้ายมาที่วัดบางพระแล้ว (ส่วนรูปหล่อหลวงพ่อเปิ่นนั่งหัวเสือ (สะดุ้งกลับ) ที่ตั้งอยู่ในวัด คุณป้าสุภาพให้ข้อมูลว่า หลวงพี่ต้อย วัดบางพระ ท่านมอบให้กับทางวัดทุ่งนานางหรอกไว้หลังจากที่หลวงพ่อเปิ่นมรณภาพแล้ว)




รูปหล่อหลวงพ่อเปิ่นนั่งหัวเสือ (สะดุ้งกลับ)




ผ้ายันต์หลวงพ่อเปิ่นภายในร้านค้าของคุณป้าสุภาพ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ส่งท้ายด้วยบรรยากาศลำธารหลังวัดทุ่งนานางหรอก (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น)
บันทึกภาพ-เก็บข้อมูลมาให้เพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระได้รับชม
ความตั้งใจสำเร็จเสร็จสิ้นไปอีก ๑ งาน

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
เวลา ๒๐.๔๒ น.

71

หลายสัปดาห์ก่อนเกิดนึกเอะใจอย่างไรขึ้นมาก็ไม่ทราบ จึงได้ไปค้น "เหรียญหลวงพ่อเปิ่น ด้านหลังหลวงปู่ทองสุข" ที่มีเก็บไว้ออกมาดู (เป็นเหรียญที่อากงของผมเก็บไว้ ซึ่งอากงเสียไปเมื่อปี ๒๕๓๙)

เมื่อพิจารณาไปได้สักพักก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า หลวงปู่ทองสุขท่านเป็นใคร? มีความสำคัญอย่างไร? และหลวงพ่อเปิ่นกับหลวงปู่ทองสุขมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรถึงได้สร้างเหรียญนี้ออกมา?

ความสงสัยทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่การแสวงหาข้อมูลประวัติหลวงปู่ทองสุขและการสร้างเหรียญรุ่นนี้ในที่สุด

หลายวันต่อมาระหว่างที่ช่วยงานหลวงพ่อสำอางค์บนกุฏิใหญ่ ช่วงจังหวะที่หลวงพ่อท่านว่างจากการรับแขกจึงได้ถือโอกาสสอบถามประวัติความเป็นมาของหลวงปู่ทองสุขกับท่าน

หลวงพ่อสำอางค์ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า ความจริงหลวงปู่ทองสุขไม่ใช่พระ คือเป็นเพียงรูปปั้นรูปสักการะลักษณะคล้ายคนทั่วไป ตั้งอยู่ภายในศาล นิยมเรียกกว่า "ศาลพ่อปู่ทองสุข" ศาลนี้ก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดบางพระมากนัก โดยตั้งอยู่ระหว่างวัดบางพระกับวัดกลางบางพระ ถ้าจะมาวัดบางพระก็ลองสังเกตทางซ้ายมือก่อนถึงวัดจะเห็นป้ายศาลพ่อปู่ทองสุขอยู่ทางซ้ายมือข้างทาง ประวัติความเป็นมาของพ่อปู่ทองสุขหลวงพ่อก็ไม่ทราบเช่นกัน โดยตั้งแต่เกิดมาหลวงพ่อก็เห็นมีศาลนี้อยู่แล้ว รู้แต่เพียงว่าชาวบ้านในตำบลบางพระและละแวกใกล้เคียงที่สัญจรผ่านไปมานิยมมาไหว้มาขอพรที่ศาลพ่อปู่ทองสุขแห่งนี้กันเป็นประจำ

ส่วนเรื่อง "เหรียญหลวงพ่อเปิ่น-หลวงปู่ทองสุข" นี้ คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยของ "กำนันเทียน" ราวๆ ปี ๒๕๓๐ กว่าๆ สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสอบถามกับผู้ใหญ่ในวัดบางพระที่ต่างยืนยันตรงกันว่า เหรียญรุ่นนี้น่าจะสร้างโดย "กำนันเทียน" (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งทันหลวงพ่อเปิ่นอธิษฐานจิตปลุกเสกอย่างแน่นอน

หลังจากที่ได้ข้อมูลคร่าวๆ มาแล้ว ผมจึงเดินทางมายัง "ศาลพ่อปู่ทองสุข" ตามคำบอกเส้นทางจากหลวงพ่อท่าน เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม



แผนที่จาก google แสดงเส้นทางระหว่างวัดบางพระ-ศาลพ่อปู่ทองสุข


หากเลี้ยวซ้ายออกจากวัดบางพระแล้วตรงมาเรื่อยๆ จะเห็นทางเข้าศาลพ่อปู่ทองสุขด้านขวามือ


มองจากด้านขวาของทางเข้า "ศาลพ่อปู่ทองสุข" จะเห็นซุ้มประตูทางเข้าวัดกลางบางพระ


หากวิ่งตามถนนด้านซ้ายของทางเข้า "ศาลพ่อปู่ทองสุข" จะตรงไปวัดบางพระ


ป้าย "ศาลพ่อปู่ทองสุข" ริมถนน

เมื่อมาถึง "ศาลพ่อปู่ทองสุข" แล้ว จึงได้ลงไปสำรวจพื้นที่โดยรอบ โดยจะสังเกตเห็นตัวอาคารที่ตั้งศาล ๑ หลัง และด้านข้างมีศาลาเล็กๆ ด้านในมีโต๊ะม้าหินวางไว้สำหรับเป็นที่นั่ง อีก ๑ หลัง ตรงบันไดทางขึ้นศาลทั้ง ๒ ฝั่ง จะสังเกตเห็นรูปปั้นกระบือสีดำฝั่งละตัว ภายในอาคารที่ตั้งศาล จะมีประดิษฐานพระพุทธรูป ๒ องค์ (ตรงกลางด้านซ้าย ๑ องค์ และด้านหลังทางซ้ายอีก ๑ องค์) และรูปปั้น (เข้าใจว่าเป็นรูปจำลองพ่อปู่ทองสุข) ไว้ให้บูชาจำนวน ๒ องค์ รูปร่างลักษณะทั้ง ๒ องค์จะมีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือในมือขวาของรูปปั้นทั้ง ๒ องค์ จะถือพระขรรค์ รอบๆ จะเต็มไปด้วยดอกไม้พวงมาลัยเครื่องสักการะบูชาต่างๆ อาทิเช่น หุ่นละครรำ รูปปั้นสัตว์ชนิดต่างๆ ฯลฯ ด้านขวามือบนศาลจะมีป้ายเขียนว่า "พ่อปู่ทองสุข (ศาลตาขุน)" เมื่อลงมาด้านล่างบริเวณด้านหลังศาลจะสังเกตเห็นสวนหย่อมเล็กๆ ไว้ปลูกต้นไม้




บริเวณหน้าศาลพ่อปู่ทองสุข






รูปปั้นที่เข้าใจว่าเป็นรูปจำลองของพ่อปู่ทองสุขทั้ง ๒ องค์ ในมือขวาถือพระขรรค์


ป้ายชื่อศาลติดไว้ทางขวามือ




มุมมองทางด้านหลังรูปปั้น


มองจากด้านหลังศาลพ่อปู่ทองสุข


สวนหย่อมด้านหลังศาล



จั่วบนศาลาเล็กด้านข้างศาลทั้ง ๒ ฝั่ง เป็นลายไม้แกะสลัก

เมื่อสำรวจพื้นที่โดยรอบแล้ว จึงได้ไปสอบถามกับชาวบ้านในละแวกนั้นถึงประวัติความเป็นมาของ "ศาลพ่อปู่ทองสุข" ต่อ ซึ่งทุกคนต่างให้ข้อมูลตรงกันว่าไม่มีใครรู้ประวัติที่แท้จริงของพ่อปู่ทองสุขว่าท่านเป็นใคร ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นมีศาลนี้อยู่ก่อนแล้ว ที่เห็นอยู่เป็นประจำก็คือจะมีคนนิยมมากราบไหว้ขอพร บ้างก็มาบนบานสานกล่าว เมื่อสำเร็จตามความประสงค์ก็จะนำของมาแก้บนเป็นปกติ โดยเฉพาะในช่วงวันขึ้นปีใหม่ทางศาลจะจัดพิธี "ส่งกะบาล" ผู้คนทั่วทุกสารทิศก็จะมาทำกระทงใบตองใส่อาหารคาวหวานกับรูปปั้นคนและสัตว์แทนคนและสัตว์ในบ้านมาเข้าพิธีกันอย่างล้นหลามจนเต็มลานหน้าศาล ส่วน "เหรียญหลวงพ่อเปิ่น-หลวงปู่ทองสุข" นั้น ไม่มีใครรู้ประวัติการสร้างที่แน่นอนเช่นกัน แต่สันนิษฐานว่าจะสร้างในสมัยที่ "กำนันเทียน" เป็นผู้ดูแล "ศาลพ่อปู่ทองสุข" อยู่ ซึ่งกำนันเทียนเคยสร้างเหรียญพ่อปู่ทองสุขเพื่อหารายได้มาบูรณะศาลด้วยเช่นกัน โดยเหรียญพ่อปู่ทองสุขรุ่นแรกที่แกสร้างจะมีเขียนว่า "ท 1" กำกับไว้อยู่

พร้อมกันนี้ชาวบ้านได้แนะนำให้ผมเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมที่วัดกลางบางพระ ซึ่งมีทางลัดจากศาลพ่อปู่ทองสุขไปถึงวัดกลางบางพระได้ (ในใจผมเองก็กะว่าจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมที่วัดกลางบางพระอยู่แล้วเช่นกัน เพราะสังเกตเห็นป้ายประชาสัมพันธ์มงคลวัตถุรูปจำลองของพ่อปู่ทองสุขของวัดกลางบางพระติดอยู่ที่หน้าศาลพ่อปู่ทองสุข)



ป้ายประชาสัมพันธ์มงคลวัตถุรูปจำลองพ่อปู่ทองสุข ของทางวัดกลางบางพระ ติดไว้หน้าศาล

เมื่อเข้ามาถึงวัดกลางบางพระ ก็พอดีจังหวะได้มาเจอกับ "พี่ทิดมาร์ค" ที่แวะมาทำบุญที่วัดกลางบางพระพอดี จึงได้สอบถามถึงประวัติของ "เหรียญหลวงพ่อเปิ่น-หลวงปู่ทองสุข" ได้ความว่า น่าจะสร้างโดย "กำนันเทียน" ราวๆ ปี ๒๕๓๐ กว่าๆ ซึ่งทันหลวงพ่อเปิ่นอธิษฐานจิตปลุกเสกแน่นอน หลังจากพูดคุยกันได้สักพัก ผมจึงได้เข้าไปกราบเรียนถามประวัติของพ่อปู่ทองสุขกับท่านพระครูศรีสุตากร (อภิชาติ อภิญาโณ) เจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ โดยหลวงพ่อท่านเมตตาเล่าประวัติให้ฟังคร่าวๆ และได้นำเอกสารประชาสัมพันธ์มงคลวัตถุรูปจำลองพ่อปู่ทองสุขที่ทางวัดกลางบางพระกำลังจัดสร้างเพื่อหารายได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดกลางบางพระ และซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลพ่อปู่ทองสุข มาให้ไว้ชุดนึง โดยท่านบอกว่าในนี้มีประวัติความเป็นมาของพ่อปู่ทองสุขที่รวบรวมไว้แล้วพอสมควรลองไปอ่านดู


พระครูศรีสุตากร (อภิชาติ อภิญาโณ) เจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ รูปปัจจุบัน



จากเอกสารประชาสัมพันธ์มงคลวัตถุรูปจำลองพ่อปู่ทองสุขของวัดกลางบางพระ มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาและรายละเอียดต่างๆ ของ "พ่อปู่ทองสุข" ไว้ดังนี้

ประวัติความเป็นมาพ่อปู่ทองสุข

จากตำนาน และหลักฐานที่ปรากฏ ไม่พบว่าศาลพ่อปู่ทองสุขสร้างขึ้นมาในสมัยใด จากรุ่นสู่รุ่นที่เล่าต่อกันมา ก็เห็นศาลพ่อปู่ทองสุขมาตั้งแต่จำความได้ ทุกคนต่างมีความเคารพความศรัทธากันมาโดยตลอด ไม่เฉพาะแค่ชาวตำบลบางพระเท่านั้น เพราะการสัญจรไปมา จะต้องผ่านศาลพ่อปู่ทองสุขตั้งแต่สมัยอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

การดูแลศาลพ่อปู่ทองสุขที่ส่งต่อกันมาโดยลำดับ

จากอดีตที่ผ่านมา การดูแลศาลพ่อปู่ทองสุข ได้ส่งต่อผ่านกันมาคือ

๑. หลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพระ



หลวงปู่หิ่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพระ (ผู้ถ่ายทอดวิชาสักยันต์ให้แก่หลวงพ่อเปิ่น)

๒. พระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธมฺโม อดีตพระอนุสาวนาจารย์ วัดบางพระ


หลวงพ่อเปลี่ยน ฐิตธมฺโม พระอนุสาวนาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่น

๓. กำนันสด แจ้งหงษ์วงษ์ อดีตกำนันตำบลบางพระ

๔. กำนันเทียน ปลื้มละมัย อดีตกำนันตำบลบางพระ

๕. กำนันสมควร รอดท่าไม้ กำนันตำบลบางพระ

๖. วัดกลางบางพระ โดย เจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ

จากคำบอกเล่า หลวงพ่อหิ่ม วัดบางพระ ท่านเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบมาโดยตลอด เมื่อท่านถึงแก่มรณภาพลง พระอาจารย์เปลี่ยน วัดบางพระ ได้มาดูแล และดำเนินการต่อ ต่อมาพระอาจารย์เปลี่ยนจึงได้ยกมอบหน้าที่ให้กำนันสด แจ้งหงษ์วงษ์ เป็นผู้ดูแล เมื่อกำนันสดได้เกษียณอายุราชการ กำนันเทียน ปลื้มละมัย จึงเข้ามาดูแลรับผิดชอบพร้อมกับเป็นผู้บุกเบิกศาลพ่อปู่ทองสุขขึ้นมาใหม่ โดยการจัดสร้างศาลขึ้นใหม่ ปั้นรูปเหมือนองค์ใหม่ ปรับปรุงสถานที่พร้อมกับจัดงานประจำปี ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อกำนันเทียนเกษียณอายุราชการ กำนันสมควร จึงเข้ามาดูแลรับผิดชอบ และพัฒนาต่อมาโดยลำดับ ต่อมาคณะกรรมการเห็นสมควรให้วัดกลางบางพระเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๖ และทางวัดได้มอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลบางพระ เป็นผู้ดูแลโดยอยู่ในความรับผิดชอบของวัดกลางบางพระจนถึงปัจจุบัน

รูปเหมือนพ่อปู่ทองสุข

รูปเหมือนพ่อปู่ทองสุขที่ศาลนั้น ปัจจุบันมีอยู่ ๒ รูปเหมือน คือ รูปเหมือนเดิมที่นายแตง ทับเมฆา ได้ปั้นถวายไว้ ซึ่งสร้างแทนองค์เดิมที่ถูกคนวิกลจริตทำลายไป ต่อมาในสมัยของกำนันเทียนเป็นผู้ดูแล เห็นว่าองค์ที่นายแตงปั้นถวายไว้มีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงให้นายเกล้า สุกสีใส ซึ่งเป็นช่างปั้น จัดปั้นขึ้นมาใหม่อีก ๑ องค์ คือ องค์ที่กราบบูชาอยู่ปัจจุบันนี้



รูปปั้นพ่อปู่ทองสุของค์เก่า ที่นายแตง ทับเมฆา ปั้นถวายไว้


รูปปั้นพ่อปู่ทองสุของค์ใหม่ ที่นายเกล้า สุกสีใส ปั้นถวายไว้

ความเป็นมาเรื่องการทำบุญประจำปี

ในอดีต สมัยหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต เป็นผู้ดูแลศาลพ่อปู่ทองสุข เมื่อใกล้งานทำบุญประจำปีศาลพ่อปู่ทองสุข (ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖) หลวงพ่อหิ่มจะให้คณะกรรมการล่องเรือตีหมุ่ย (ฆ้อง) ไปตามลำแม่น้ำท่าจีน และคลองต่างๆ เพื่อขอบริจาคสิ่งของมาเข้าโรงครัวในการจัดงานทำบุญประจำปีศาลพ่อปู่ทองสุข และมีประเพณีถวายสลากภัตต์มะม่วงสุกแด่พ่อปู่ทองสุข ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าเมื่อถึงข้างขึ้นเดือน ๖ มะม่วงตามบ้านจะสุกเหลืองเต็มต้น ชาวบ้านจึงนิยมเก็บมาถวายพ่อปู่ทองสุขในงานทำบุญประจำปี จึงถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา ปัจจุบันการจัดงานทำบุญประจำปีศาลพ่อปู่ทองสุข เลื่อนมาจัดในช่วงเทศกาลปีใหม่สากลของทุกปี คือในวันที่ ๑ มกราคม จะประกอบพิธีสวดมนต์เย็น และในวันที่ ๒ มกราคม จะประกอบพิธีทำบุญเลี้ยงพระในช่วงเช้า และถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้

ประเพณีส่งกะบาลพ่อปู่ทองสุข

ประเพณีส่งกะบาลในสมัยอดีตนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ชาวบ้านมีความเชื่อว่าคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเพราะภูติผีปีศาจจะมาเอาชีวิต จึงได้ให้ผู้ที่มีความรู้มาทำพิธีส่งกะบาล โดยการนำเอาใบตองมาทำเป็นกระทงใส่ของคาวหวานเครื่องเซ่นไหว้ และปั้นหุ่นคนเจ็บใส่ลงไปด้วย เพื่อเป็นตัวแทนไม่ให้ภูติผีปีศาจเอาชีวิตไป จึงเป็นเหตุให้มีประเพณีนิยม ในการทำบุญประจำปีศาลพ่อปู่ทองสุข จะมีการปั้นหุ่นจำนวนคนในบ้าน จำนวนสัตว์ในบ้าน ใส่กระทง (โดยการแต่งอย่างวิจิตรสวยงาม) นำไปถวายพ่อปู่ทองสุขเพื่อให้ท่านได้ปกป้อง คุ้มครองรักษา ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต และการทำมาหากิน มีความร่มเย็นเป็นสุข จึงเป็นประเพณีนิยมของชาวบ้านผู้มีความศรัทธาถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้



ข้อสังเกตของพิธีส่งกะบาลพ่อปู่ทองสุข จะคล้ายกับพิธีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ที่ให้ปั้นหุ่นเป็นรูปคนและสัตว์ตามจำนวนคนในบ้าน เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัย
บันทึกภาพจากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน โสนันโท (พระครูวิหารกิจจานุการ)
ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๔๘ หน้า ๒๕๑ (ISBN: ๙๗๘-๖๑๖-๙๐๗๖๓-๕-๓)

การบนบานสานกล่าวพ่อปู่ทองสุข

เล่ากันมาตั้งแต่ครั้งอดีต พ่อปู่ทองสุข เป็นที่พึ่งของชาวบ้านทั้งหลายทั้งใกล้ไกลที่สัญจรผ่านไปมา เมื่อเวลาที่เกิดทุกข์ภัย เกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะพากันมาบนบานสานกล่าว ให้พ่อปู่ทองสุขช่วย ไม่ว่าจะเป็นของหาย ควายหาย คนในบ้านเจ็บป่วย สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วย ซึ่งการบนบานสานกล่าวนั้น ก็สมประสงค์ตามที่ขอ จึงมีการบอกต่อปากต่อปากจนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ต่างก็มาบนบานสานกล่าวกันเป็นจำนวนมาก ของที่นำมาแก้บน อาทิเช่น สำรับคาวหวาน เหล้า เบียร์ หัวหมู บายศรี ปลัดขิก พวงมาลัย ละครรำ เป็นต้น มีเรื่องกล่าวกันว่าบางคนเมื่อสมความประสงค์แล้ว ไม่ยอมมาแก้บนหรือลืม จะต้องมีเหตุต่างๆ ไปบ่งบอกให้รู้ว่าจะต้องมาทำการแก้บน ซึ่งต่อมาชาวบ้านผู้มีความศรัทธาจึงให้ความสำคัญในเรื่องการบนบานสานกล่าวนี้เป็นพิเศษ



คำบูชาพ่อปู่ทองสุข

กล่าวโดยสรุป ไม่มีใครทราบประวัติของ "พ่อปู่ทองสุข" ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร สร้างสมัยไหน และใครเป็นผู้สร้าง แต่ถึงอย่างไร "ศาลพ่อปู่ทองสุข" ก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านในตำบลบางพระและละแวกใกล้เคียงมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

และถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนของ "เหรียญหลวงพ่อเปิ่น-หลวงปู่ทองสุข" แต่จากประวัติในอดีตของ "ศาลพ่อปู่ทองสุข" ที่สืบค้นได้ว่าเคยอยู่ในความดูแลของหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพระ และหลวงพ่อเปลี่ยน ฐิตธมฺโม พระอนุสาวนาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่น ก็พอจะอนุมานได้ว่า "พ่อปู่ทองสุขกับวัดบางพระ" มีความเชื่อมโยงผูกพันธ์กันมาก่อน

โดยในขณะนี้ทางวัดกลางบางพระได้จัดสร้าง "มงคลวัตถุรูปจำลองพ่อปู่ทองสุข รุ่น อยู่เย็นเป็นสุข" เพื่อหารายได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดกลางบางพระ และซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลพ่อพ่อทองสุข ท่านใดที่มีความประสงค์จะร่วมบุญในครั้งนี้ก็เรียนเชิญได้ที่วัดกลางบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม (อยู่ก่อนถึงวัดบางพระประมาณ ๑ กิโลเมตร)




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัยสัมพันธ์ที่ทำให้ต้องแวะเวียนมาพบกัน
จากข้อสงสัยเรื่องประวัติ "เหรียญหลวงพ่อเปิ่น-หลวงปู่ทองสุข" ที่ผุดขึ้นมาอย่างไม่มีต้นสายปลายเหตุ
นำมาสู่การแสวงหาข้อเท็จจริง ซึ่งพอดีกับช่วงจังหวะที่ทางวัดกำลังจัดสร้างรูปจำลองพ่อปู่ทองสุข
ไม่มีความบังเอิญ ทุกสรรพสิ่งล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (มาก่อน)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
เวลา ๒๐.๑๕ น.

72

เบี้ยแก้อุดผงเก่าหลวงพ่อเปิ่น


ด้านหน้า


ด้านหลัง


ผงพระเก่าหลวงพ่อเปิ่นตั้งแต่รุ่นแรกเรื่อยมา

เชิญร่วมบูชาเบี้ยแก้อุดผงเก่าหลวงพ่อเปิ่น (ผงพระเก่าหลวงพ่อเปิ่นตั้งแต่รุ่นแรกเรื่อยมา)

เลี่ยมพลาสติกถักเชือกเทียนสำหรับผูกข้อมือ หลวงพี่ต้อยอธิษฐานจิตปลุกเสก

ร่วมบุญบูชาเส้นละ ๖๐๐ บาท (มีจำนวนจำกัด) รายได้สมทบทุนกฐินกับหลวงพี่ต้อย

บูชาได้ที่กุฏิหลวงพี่ปาด (ข้างกุฏิหลวงพี่ต้อย) ที่เดียวไม่มีจัดส่งไปรษณีย์

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

*หมายเหตุ

ที่กุฏิหลวงพี่ปาดมีธนบัตรขวัญธุง (แบงค์ ๑๐ บาท) หลวงพ่อเปิ่นอธิษฐานจิตไว้เมื่อปี ๒๕๓๘ ไว้ให้บูชาด้วยเช่นกัน

ร่วมบุญบูชาใบละ ๑๐๐ บาท (มีจำนวนจำกัดเห็นเหลืออยู่แค่ ๑๐ กว่าใบ) รายได้สมทบทุนกฐินกับหลวงพี่ต้อย



ธนบัตรขวัญถุง หลวงพ่อเปิ่นอธิษฐานจิตไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘


หลวงพี่ต้อยฝากมาประชาสัมพันธ์บอกบุญมายังศิษยานุศิษย์
บันทึกภาพไว้เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ณ กุฏิหลวงพี่ต้อย
สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

73
[shake]!!!ปิดกิจกรรมแล้วครับ!!![/shake][/size]

คำถาม

ข้อที่ ๑. พิธี “อาจาริยปูชา” เป็นพิธีอะไร ? มีความหมายอย่างไร ? ของหน่วยงานใด ?

ข้อที่ ๒. ในหลวงองค์ปัจจุบัน เคยแช่งใครไหม ? แช่งว่าอย่างไร ?

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม


- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ทุกท่านที่ตอบคำถามได้ถูกต้องทั้งหมด โดยสามารถเดินทางมารับรางวัลกับ "ผู้การเสือ" ได้ที่กุฏิ ลพ.ญา วัดบางพระ ในวันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. เป็นต้นไป

- ผู้ที่ตอบคำถามได้ถูกต้องทั้งหมดสามารถเดินทางมารับรางวัลกับ "ผู้การเสือ" ได้ที่กุฏิ ลพ.ญา วัดบางพระ ในวันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. เป็นต้นไป
โดย ๕ ท่านแรกที่มาติดต่อขอรับรางวัลกับ "ผู้การเสือ" จะได้รับ "พระสมเด็จ วัดเกศไชโย" ท่านละ ๑ องค์ (ลพ.เล็ก มอบให้ "ผู้การเสือ" มาเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว ที่วัดให้เช่าบูชาองค์ละ ๑,๒๐๐ บาท) หลังจาก ๕ คนแล้ว ที่เหลือจะได้รับ "พระ ลพ. ทันใจ เนื้อผสมเหล็กไหล ด้านหลังฝังข้าวสารหิน (อายุ ๒,๕๐๐ ปี)" ผู้การเสือได้รับจากท่านรวย วัดหนองม่วง จ.ลพบุรี



พระสมเด็จ วัดเกศไชโย


พระ ลพ. ทันใจ เนื้อผสมเหล็กไหล ด้านหลังฝังข้าวสารหิน (อายุ ๒,๕๐๐ ปี)

*หมายเหตุ (พิเศษ)

ผู้ที่ตอบปัญหาข้อ ๒ ได้ถูกต้อง และมีวันเกิดตรงกับวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ใดก็ได้ ให้มารับรางวัล ลพ.เปิ่น(รุ่นอาเสี่ยเล็ก) ลพ.ญาให้ "ผู้การเสือ" มามอบเป็นรางวัล



ลพ.เปิ่น(รุ่นอาเสี่ยเล็ก)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

"พิพิธภัณฑ์ผู้การเสือ"


รูปที่ ๓
ผ้ายันต์ (ผ้าห่อศพ) ขนาด ๑ ม. x ๒ ม. คนวาดเป็นคนเดียวกันกับปั้นปูนหน้าบรรณกุฎิใหญ่
/ลพ.สำอางค์ เป็นผู้เขียนยันต์-อักขระกำกับด้วยตนเอง
(น้องชายเจ้าอาวาส เป็นผู้มอบให้ จำนวนสร้างไม่เกิน ๑๐ ผืน)




รูปที่ ๔
พบในกุฏิ ลพ.เปิ่น(ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) อจ.วัน(วัดโคกเขมา) มอบให้  
 
   

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:  
       

74
        เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗) จะด้วยความบังเอิญหรือจังหวะของกระแสแห่งเหตุปัจจัยที่พัดพามาบรรจบกันก็ตามที ทำให้ผมได้เจอ “ตะกรุดใบลาน ๓ ห่วง” ที่หลวงพ่อท่านสร้างไว้ เป็นครั้งแรก และเพื่อยืนยันว่าตะกรุดที่เจอมานี้ใช่ของที่หลวงพ่อท่านสร้างไว้จริงๆ ผมจึงนำตะกรุดดอกนี้ไปขอความเมตตาหลวงพ่อให้ท่านช่วยพิจารณาให้อีกทีว่าใช่หรือไม่


ตะกรุดใบลาน ๓ ห่วง

        เมื่อส่งตะกรุดให้หลวงพ่อท่านดู ปรากฏว่าท่านจับดูพลิกไปพลิกมาสักครู่หนึ่ง ก่อนจะพูดขึ้นมาว่า.. “ของที่กูทำไว้ตั้งแต่อยู่ใต้ศาลานี่หว่า มึงไปหามาจากไหนวะ” สิ้นเสียงของหลวงพ่อผมก็ได้แต่ยิ้ม นึกดีใจว่าใช่ตะกรุดที่หลวงพ่อท่านเคยสร้างไว้อย่างแน่นอน

        หลังจากนั้นอีกประมาณสองสามวัน ระหว่างที่แวะมาช่วยงานท่าน ผมก็ได้โอกาสกราบเรียนสอบถามท่านถึงประวัติการสร้าง หลวงพ่อท่านก็เมตตาเล่าให้ฟัง จึงได้นำรายละเอียดมาเล่าสู่กันฟังดังนี้..

        ตะกรุดชุดนี้ท่านทำไว้ตอนที่ท่านยังอยู่กุฏิใต้ศาลาการเปรียญ (ประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๒๓) สมัยนั้นหลวงพ่อเปิ่นท่านยังอยู่ที่กุฏิริมน้ำ ส่วนตัวท่านเองมีหน้าที่ตรวจตราข้าวของเครื่องใช้ของวัดที่ห้องเก็บของ (ใต้ศาลาการเปรียญในปัจจุบัน) ใครจะมายืมของวัดเพื่อไปใช้ในงานต่างๆ ท่านก็จะคอยอำนวยความสะดวกให้ ทั้งการยืม-คืน ทำความสะอาด ตรวจนับสิ่งของว่าครบถ้วนหรือไม่ เป็นต้น



ภาพหลวงพ่อตอนที่อยู่กุฏิใต้ศาลาการเปรียญวัดบางพระ

        ใบลานที่นำมาทำตะกรุดนี้ หลวงพ่อท่านเล่าว่าเป็นใบลานเก่าที่เก็บไว้ตั้งแต่สมัยหลวงปู่หิ่ม ในใบลานมีอักษรขอมจารึกไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (ใบลานบางใบท่านลองอ่านดูปรากฏว่าจารึกพระปาฏิโมกข์ไว้) ท่านจึงนำใบลานนั้นมาตัดแบ่ง จากนั้นจึงหาผ้ามาตัดให้ขนาดพอดีกับใบลานที่ตัดไว้ โดยท่านเองได้เขียนบนผ้าด้วย “ยันต์ลงตะกรุดโทน” ตามตำราที่ท่านเรียนกับหลวงพ่อเปิ่นมา เมื่อเขียนยันต์ลงบนผ้าเรียบร้อยแล้ว ก็นำใบลานมาม้วนคู่กับผ้ายันต์ จากนั้นก็หาเชือกมามัดใบลานกับผ้ายันต์ไว้เพื่อรอถักเชือกต่อไป (เชือกที่นำมาใช้ถักมี ๒ สี คือสีเขียวและสีเทา ซึ่งหลวงพ่อท่านถักตะกรุดด้วยตัวของท่านเอง โดยถักเป็นลักษณะตะกรุด ๓ ห่วง เอกลักษณ์จุดสังเกตของตะกรุดชุดนี้คือแทบทุกดอกจะต้องมีรอยต่อเชือก และขนาดของตะกรุดจะไม่เสมอกันทั้งดอกจะใหญ่ข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการม้วนใบลานและผ้ายันต์ที่ไม่เสมอกันทำให้เล็กข้างใหญ่ข้าง) หลังจากที่ถักเชือกตะกรุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้นำตะกรุดมาใส่ถาดเตรียมปลุกเสก (ซึ่งตะกรุดชุดนี้ท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวท่านเองภายในกุฏิ เป็นเวลา ๑ พรรษา)


ยันต์ลงตะกรุดโทนที่หลวงพ่อท่านใช้เขียนทำตะกรุดใบลาน ๓ ห่วง

*ผ้าที่ท่านนำมาใช้เขียนยันต์นั้น ท่านให้รายละเอียดเพิ่มเติมไว้ว่ามีผ้า ๓ สี ๓ ชนิดคละกันไป ดังนี้

๑.ผ้าสีขาว เป็นผ้าห่อศพบ้าง เป็นผ้าคลุมโลงศพบ้าง (ผ้าขาวบางผืนที่ได้มายังมีคราบน้ำเหลืองน้ำเลือดจากศพติดอยู่เป็นดวง)

๒. ผ้าสีเหลือง คือผ้าที่ตัดจากสบงบ้าง ผ้าอาบบ้าง ส่วนหนึ่งก็เป็นผ้าจีวรที่ญาติโยมถวายกับท่านไว้บ้าง

๓. ผ้าสีแดง เป็นเศษผ้าที่เหลือจากผ้าที่หลวงพ่อเปิ่นท่านใช้ทำเสื้อยันต์ยุคแรก (ที่ใช้แม่พิมพ์สักยันต์มาปั๊มยันต์ลงบนเสื้อ)



ผ้าแดงที่นำมาเขียนยันต์ได้มาจากเศษผ้าที่ตัดทำเสื้อยันต์หลวงพ่อเปิ่นยุคแรก


ตะกรุดดอกที่ได้มานี้ ด้านในเป็นผ้ายันต์สีแดง

        จำนวนการสร้าง ท่านบอกว่าท่านทำตามจำนวนใบลานที่ตัดแบ่งไว้ ใบลานมีเท่าไหร่ก็ทำตะกรุดไว้เท่านั้น รวมจำนวนที่สร้างไว้ทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ ดอก

        เกี่ยวกับขั้นตอนการปลุกเสก ท่านใช้ “โองการยันนะรังสี” เป็นองค์ภาวนา ในตอนแรกยังมีสะดุดติดขัดอยู่บ้าง พอภาวนาไปได้สักพักก็เริ่มคล่องตัว คาถาที่ว่ายาวๆ ก็สามารถภาวนาไปได้อย่างราบรื่นเรื่อยไป พอจบก็ขึ้นใหม่ไปเรื่อยๆ ท่านปลุกเสกอยู่ ๑ พรรษา จึงได้นำออกมาแจกจ่าย



        พอปลุกเสกครบพรรษา ท่านก็ได้นำออกมาแจก โดยไม่ได้คิดราคาค่างวดอะไรแจกอย่างเดียว มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อท่านจำได้ว่า มีนายทหารชื่อจ่าปรีชา แกนำขบวนผ้าป่ามาทอดที่วัดบางพระ ท่านก็นำตะกรุด ๓ ห่วง นี้มาแจกให้ไป หลังจากนั้นมาสักพักใหญ่ๆ (เป็นตอนที่หลวงพ่อเปิ่นท่านย้ายกุฏิจากกุฏิชายน้ำมาอยู่กุฏิด้านใน “กุฏิหลวงพี่ญาในปัจจุบัน” แล้ว) จ่าปรีชาก็กลับมาขอตะกรุด ๓ ห่วงกับหลวงพ่อเปิ่น โดยบอกว่าตนเองแขวนตะกรุดดอกนี้แล้วไปเจอประสบการณ์มา หลวงพ่อเปิ่นท่านหัวเราะแล้วชี้มาที่ท่านพร้อมกับบอกว่า ไปขอกับหลวงพี่อางค์ท่านนู่น ท่านเป็นคนทำฉันไม่ได้ทำ วันนั้นท่านบอกว่าได้นำตะกรุด ๓ ห่วงนี้ออกมาแจกไปอีกพอสมควร ไม่ช้าไม่นานก็แจกจนหมด พอท่านเล่าประวัติความเป็นมาจบ ท่านก็หยิบตะกรุดมาเป่าด้วย "โองการยันนะรังสี" ให้อีกรอบ


พอเล่าประวัติจบท่านก็เมตตาใช้ “โองการยันนะรังสี” เป่าตะกรุดให้อีกรอบ

ขอยุติกระทู้สุดท้ายแต่เพียงเท่านี้..ขอบคุณครับ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันอาทิตย์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
เวลา ๒๒.๑๕ น.

75


ประวัติหลวงพ่อนวล
           พระครูโพธิสารคุณ (นวล ธมฺมธโร) นามสกุล สุดใจแจ่ม เกิดวัน ๖ฯ๘ ค่ำ ปีฉลู วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๓๒ ที่ตำบลบางขันแตก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรนายพลู นางทรัพย์ สุดใจแจ่ม มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา ๑๐ คน หลวงพ่อนวลเป็นบุตรคนที่ ๘


การศึกษาและรับราชการ
           เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาหนังสือไทยสำเร็จชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ และรับราชการมียศเป็นนายดาบ ผู้บังคับหมวดทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์


การศึกษาพุทธาคม
           ปฐมเหตุที่หลวงพ่อนวลมีความสนใจศึกษาพุทธาคม สืบเนื่องมาจาก เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ ขณะรับราชการ หลวงพ่อนวลได้ล้มป่วยลง ได้ทราบกิตติศัพท์ความเก่งกล้าสามารถของหลวงพ่อปาน จึงไปยังวัดบางนมโค และขอให้หลวงพ่อปานรักษาโรคให้จนหายขาด หลวงพ่อนวลมีความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อปาน จึงฝากตัวเป็นศิษย์ ขอร่ำเรียนวิชาเวชศาสตร์แพทย์แผนโบราณ จนสามารถนำมาช่วยเหลือรักษาผู้เจ็บป่วยได้มากมาย เมื่อมาบวชอยู่ที่วัดโพธิ์ นอกจากนี้หลวงพ่อนวลยังได้ขอเป็นศิษย์ศึกษาพุทธาคมทุกแขนงจากหลวงพ่อปาน ได้เรียนทางด้านเจริญกรรมฐาน วิชาลบผงทำผงวิเศษตามตำรับของหลวงพ่อปาน วิธีทำของขลัง การลงยันต์ทอและยันต์เกราะเพชร อันเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อนวลศึกษาอยู่กับหลวงพ่อปานจนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๔ เป็นเวลา ๕ ปีเต็ม จึงลาออกจากราชการมาอุปสมบทที่วัดโพธิ์ บางระมาด กรุงเทพมหานคร เมื่ออยู่ที่วัดโพธิ์ก็ศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อนิ่ม ที่วัดโพธิ์ ส่วนหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยานั้น หลวงพ่อนวลได้รับการประสิทธิประสาทวิชาอาคม เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐





           ฉะนั้น จากลำดับการศึกษาพุทธาคมของหลวงพ่อนวล จากพระคณาจารย์ที่สูงด้วยวิทยาคมดังกล่าวมาแล้ว จึงไม่มีข้อสงสัยเคลือบแคลงใดๆ เลยว่า หลวงพ่อนวลจะสูงด้วยวิทยาคมเพียงใด อนึ่ง พระอาจารย์ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมสืบต่อจากหลวงพ่อนวล และได้ร่วมสร้างวัตถุมงคลกับหลวงพ่อนวลมาโดยตลอด คือ พระอาจารย์บุญมาก สัญญโม พระอาจารย์บุญมาก ท่านนี้ มีส่วนสำคัญในการสร้างวัตถุมงคลรุ่น พ.ศ.๒๕๓๕ ของวัดโพธิ์ เพื่อนำรายได้สร้างอุโบสถด้วย

อุปสมบท
           เมื่อลาออกจากราชการแล้ว อุปสมบทที่วัดโพธิ์ ตำบลบางระมาด อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๔

           พระครูภาวนาภิรมย์ (พลอย) เจ้าอาวาสวัดรัชฏาธิฐาน ธนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์

           พระอาจารย์นิ่ม พุทฺธสโร วัดโพธิ์ และพระอธิการผาด ธมฺมชโต เจ้าอาวาสวัดทอง เป็นพระกรรมวาจาอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า “ธมฺมธโร”

           หลวงพ่อนวล ได้บำเพ็ญอุปัชฌาย์วัตรและอาจริยวัตรตามหน้าที่พระนวกะ บำเพ็ญสมณกิจตามระเบียบของสำนักศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เอาใจใส่ต่อการศึกษาด้วยความวิริยะอุตสาหะ สอบประโยคนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ได้ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดกาญจนสิงหาสน์ในปี พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๓ และ ๒๔๘๗ ตามลำดับ

           หลวงพ่อนวลเป็นผู้ตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรม เมตตากรุณาสงเคราะห์แก่ญาติมิตรศิษยานุศิษย์ทั้งใกล้ชิดและห่างไกล ด้วยอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน สงเคราะห์ศิษย์ด้วยอามิสและธรรม ตั้งอยู่ในสังคมธรรมและสาราณียธรรมเป็นประจำ เนื่องจากหลวงพ่อนวลได้รับการศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ฉะนั้น เมื่อพระภิกษุ สามเณร ในวัดอาพาธ ท่านได้ปรุงยารักษาช่วยทำการปฐมพยาบาลอุบาสกอุบาสิกาที่มาฟังธรรม รักษาศีลในวัด ป่วยไข้ไปขอยาแก้โรค ท่านก็จัดให้โดยฐานเมตตานุเคราะห์ จนได้จัดสร้างอนามัย ๒ ชั้นขึ้นในวัด ด้วยทุนส่วนตัวและบอบุญเรี่ยไร การงานที่ท่านได้ปฏิบัติมาตั้งแต่เป็นพระอันดับจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส


งานปกครอง
           พ.ศ.๒๔๗๘ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ พ.ศ.๒๔๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปกครองบริหารกิจการของวัดตามพระธรรมวินัย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ตามอำนาจหน้าที่เรียบร้อยตลอดมา


งานศึกษา
           พ.ศ.๒๔๘๒ ตั้งสำนักศาสนศึกษาทั้งธรรมทั้งบาลีขึ้นในวัด สงเคราะห์พระภิกษุสามเณรปกครองและวัดที่ใกล้เคียงให้ได้รับความสะดวกในการศึกษาปริยัติธรรม หลวงพ่อนวลท่านเป็นครูสอนปริยัติธรรมด้วยตนเอง พ.ศ.๒๔๘๔ เปิดสอนบาลีโดยขอครูสอนบาลีจากท่านเจ้าคุณพระมหาโพธิวงศาจารย์ วัดอนงคาราม ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระมงคลเทพมุนี เจ้าคณะอำเภอตลิ่งชันสมัยนั้น ท่านเจ้าคุณฯ ได้จัดส่งพระเปรียญมาเป็นครูสอนบาลีประจำสำนักวัดโพธิ์ หลวงพ่อนวลได้จัดส่งนักเรียนธรรมเข้าสอบในสนามหลวงประจำปี สังกัดสำนักเรียน วัดกาญจนสิงหาสน์ ธนบุรี สอบไล่ได้ทุกปีเสมอมา พระภิกษุสามเณรสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนักธรรมของสนามหลวง สอบไล่ได้เป็นเปรียญ ๓ รูป การศาสนศึกษาซึ่งไม่เคยมีแต่เก่าก่อน หลวงพ่อนวลได้จัดให้มีขึ้นทั้งธรรมทั้งบาลี ทำให้วัดนี้เจริญก้าวหน้าทั้งฝ่ายปริยัติทั้งฝ่ายบริหาร พระภิกษุสามเณรในวัดผู้สมัครเรียนธรรมและบาลีได้สร้างหลักสูตรอุปกรณ์การศึกษาแจกพระภิกษุสามเณรอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา ส่วนในด้านการศึกษาวิทยาการทางโลก ท่านเป็นผู้อุปการะโรงเรียนประชาบาล ซึ่งตั้งอยู่ในวัดด้วยอุปกรณ์การศึกษา อำนวยความสะดวกแก่โรงเรียน พ.ศ.๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการศึกษา พ.ศ.๒๔๙๙ จัดหาที่ดินสร้างโรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษา มีผู้ศรัทธาบริจาคที่นาจำนวน ๔ ไร่ ๒ งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของวัด เจ้าของที่ดินถวายเป็นศาสนสมบัติของวัดโพธิ์ สำหรับสร้างโรงเรียน พ.ศ.๒๔๘๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง


งานเผยแผ่
           ท่านได้ทำการเผยแผ่พระศาสนาด้วยวิธีการแสดงธรรมประจำวันธรรมสวนะและอบรมพระภิกษุสามเณรในปกครองสั่งสอนศีลธรรมจรรยา แก่นักเรียนโรงเรียนประชาบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาวิสามัญ ที่ตั้งอยู่ในวัดเป็นประจำ มีอุบาสก อุบาสิกา รักษาศีล ฟังธรรม ประจำวันธรรมสวนะ พระครูโพธิสารคุณเทศนาสั่งสอนเรื่องศีลและวัฒนธรรม บางคราวท่านได้ใช้วิธีสั่งสอนให้เส้นสิ่งที่ควรเว้น ทำสิ่งที่ควรทำแนะนำในทางสุปฏิบัติมีผู้เลื่อมใสยอมรับนับถือปฏิบัตินับว่าได้ผลในด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอันมาก




พระประธานในอุโบสถหลังเก่า วัดโพธิ์ บางระมาด กทม.


งานสาธารณูปการ
           วัดโพธิ์เป็นวัดโบราณ เสนาสนะถาวรวัตถุมีอุโบสถเป็นต้น ชำรุดทรุดโทรมมาก เพราะสร้างมานานปีโดยภัยธรรมชาติ นับแต่หลวงพ่อนวลดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ของเก่าและสร้างขึ้นใหม่ ปรากฏตามบัญชีก่อสร้างปฏิสังขรณ์ดังนี้

           พ.ศ.๒๔๗๔ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ สาย กว้าง ๑.๐๐ เมตร ยาว ๒๐.๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๙๐.๐๐ บาท

           พ.ศ.๒๔๗๕ สร้างวิหารคอมกรีต ๒ ชั้น จัตุรมุขหลังคาสร้างเป็นยอดเจดีย์ กว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๑๐.๐๐ เมตร ๑ หลัง ตั้งอยู่ที่กำแพงหน้าอุโบสถ สิ้นเงิน ๕,๐๐๐ บาทเศษ

           พ.ศ.๒๔๗๖ สร้างพระพุทธบาทจำลอง กว้าง ๕๐ ซม. ยาว ๑.๕๐ ซม. สิ้นเงิน ๒,๕๐๐.๐๐ บาทเศษ มีงานนักขัตฤกษ์เปิดให้ประชาชนนมัสการประจำปี

           พ.ศ.๒๔๗๗ สร้างกุฏิ ๒ หลัง กว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๒๐.๐๐ เมตร กว้างยาวเท่ากัน สิ้นเงิน ๗,๓๐๐.๐๐ บาท

           พ.ศ.๒๔๘๐ สร้างหอสวดมนต์ ๑ หลัง กว้าง ๑๖.๐๐ เมตร ยาว ๔๒.๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๒๐,๗๖๕.๙๕ บาท

           พ.ศ.๒๔๘๒ สร้างส้วมคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง ๔ ห้อง กว้าง ๓.๐๐ เมตร ยาว ๘.๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๑๐,๐๙๐.๕๘ บาท

           พ.ศ.๒๔๘๙ ปฏิสังขรณ์อุโบสถขึ้นใหม่ทั้งหลัง โดยกะเทาะปูนออกโบกปูนทำหลังคาใหม่ด้วยเงินต่างเจ้าของ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ทำด้วยปูน สิ้นเงิน ๕๙,๔๐๙.๔๕ บาท

           พ.ศ.๒๔๙๐ สร้างกำแพงแก้วรอบอุโบสถ ซุ้มประตู ๓ ซุ้ม เทพื้นคอนกรีตภายในกำแพงแก้วรอบอุโบสถ เป็นเงิน ๙๓,๔๐๐.๖๕ บาท
   พ.ศ.๒๔๙๓ สร้างกุฏิเจ้าอาวาส ๔ มุข ๑ หลัง ชั้นล่างเสาหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเครื่องไม้ กว้าง ๑๐.๐๐ เมตร ยาว ๒๕.๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๒๘๔,๓๙๐.๓๕ บาท

           พ.ศ.๒๔๙๙ สร้างโรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษา ๑ หลัง ๒ ชั้น กว้าง ๑๐.๐๐ เมตร ยาว ๔๕.๐๐ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวอาคารไม้ หลังคามุงกระเบื้อง สิ้นเงิน ๒๑๘,๒๙๒.๐๐ บาท ด้วยทุนกระทรวงศึกษาธิการและมีผู้บริจาคสมทบ

           พ.ศ.๒๕๐๒ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ทางเดินไปโรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษา ๑ สาย กว้าง ๑.๒๕ เมตร ยาว ๔๒.๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๑,๖๖๘.๐๐ บาท

           พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างศาลาท่าน้ำตรีมุขหน้าวัด หล่อคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง หลังคาคอนกรีตมุงกระเบื้องเคลือบ แบบไทยแกมสมัย กว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๗.๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๕,๗๙๘.๘๕ บาท

           พ.ศ.๒๕๐๔ สร้างศาลาท่าน้ำหน้าวัด เสาปูน พื้นไม้ ช่อฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ หลัง หลังหนึ่งกว้าง ๕.๐๐ เมตร ยาว ๘.๐๐ เมตร หลังหนึ่งกว้าง ๔.๕๐ เมตร ยาว ๗.๕๐ เมตร เป็นเงิน ๘,๕๗๕.๓๕ บาท

           พ.ศ.๒๕๐๕ สร้างสถานีอนามัยชั้นสอง เสาคอนกรีต ตัวอาคารไม้ กว้าง ๑๒.๐๐ เมตร ยาว ๒๘.๐๐ เมตร พร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์ห้องน้ำห้องส้วม ๑ หลัง ด้วยเงินต่างเจ้าของ รวม ๕๓,๘๐๗.๓๕ บาท มีแพทย์เจ้าหน้าที่อยู่ประจำ พระเณรในวัด นักเรียนและประชาชนตำบลนั้นเจ็บไข้ได้ป่วยได้อาศัยอนามัยแห่งนี้

           พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๐๗ สร้างเขื่อนริมคลองหน้าวัด หล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว ๑๗๕.๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๖๑,๐๗๕.๕๐ บาท สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กจากอุโบสถถึงศาลาท่าน้ำ กว้าง ๒.๐๐ เมตร ยาว ๔๐.๐๐ เมตร พร้อมทั้งสะพานท่าน้ำ บันไดสองข้างมีลูกกรงรอบเป็นเงิน ๙,๕๐๕.๗๕ บาท




สมณศักดิ์
           พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมในท่านเจ้าคุณพระครูมหาโพธิวงศาจารย์ วัดอนงคาราม ครั้งเป็นพระมงคลเทพมุนี เจ้าคณะอำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี

           พ.ศ.๒๔๘๓ เป็นพระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรมในท่านเจ้าคุณพระมหาโพธิวงศาจารย์ วัดอนงคาราม ครั้งเป็นพระมงคลเทพมุนีเช่นกัน

           พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (วัดโพธิ์) ที่ “ พระครูโพธิสารคุณ”

           พ.ศ.๒๕๐๗ ได้รับเลื่อนสมณศักดิเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ในราชทินนามเดิม





วัตถุมงคลของหลวงพ่อนวล
        พอเอ่ยอ้างชื่อหลวงพ่อนวล ในแวดวงสังคมนักอนุรักษ์พระเครื่องคงอาจยังไม่รู้จักกว้างขวาง ทั้งที่หลวงพ่อนวลได้รับการศึกษาวิทยาคมมาจากพระอาจารย์ที่โด่งดังในอดีตถึง ๓ รูป คือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา และหลวงพ่อนิ่ม วัดโพธิ์ บางระมาด กรุงเทพฯ ชื่อเสียงที่เลื่องลือของหลวงพ่อนวล เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๒ คือการรักษาโรคตามหลักวิชาเวชศาสตร์แพทย์แผนโบราณ ที่ได้ศึกษามาจากหลวงพ่อปาน โดยเฉพาะผู้ที่ถูกคุณไสย์ คนบ้า ต้มยารักษาโรคนานาชนิด และต่อกระดูก หลวงพ่อนวลได้สร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ โดยนิมนต์หลวงพ่อจงจากวัดหน้าต่างนอกซึ่งเป็นอาจารย์มาร่วมปลุกเสกแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านบางระมาดจนหมดในปีนั้น พอปีต่อมาก็เกิดสงครามโลก วัตถุมงคลชุดนั้นได้ปรากฏคุณวิเศษเป็นที่ต้องการแสวงหากันมาก แต่เนื่องจากสร้างน้อยจึงไม่เป็นที่แพร่หลายทั่วไป ค่านิยมนับถืออยู่ในวงแคบเพราะบรรดาศิษย์และชาวบ้านบางระมาดที่ได้รับแจกเท่านั้น

หลวงพ่อนวลสร้างวัตถุมงคลต่อมาอีก ๒ ครั้ง กล่าวคือ
           เดือนเมษายน ๒๔๙๓ สร้างพระทั้งหมดพิมพ์เป็นพระในชุดประทับสัตว์ ๖ ชนิด แบบหลวงพ่อปาน (นก, ไก่, เม่น, ปลา, ครุฑ, และหนุมาน) กับพระสมเด็จ ๓ ชั้น และ ๗ ชั้น โดยสร้างด้วยผงที่ทำขึ้นจากยันต์เกราะเพชร ผสมเข้ากับผงเก่าของหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจง พระชุดนี้หลวงพ่อนวลให้ชื่อว่า “พระหมอ” เพราะมีความประสงค์ต้องการให้ผู้ใช้นำไปทำอาราธนาทำน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดดุจเดียวกับพระหลวงพ่อปานซึ่งปรากฏผลว่ามีพระพุทธคุณใช้ได้ผลเช่นเดียวกัน พระชุดนี้ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา ได้มาร่วมปลุกเสกด้วย

           เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ๒๕๐๒ เป็นการสร้างวัตถุมงคลครั้งสุดท้ายของหลวงพ่อนวล มีทั้งพระเครื่องซึ่งผสมด้วยผงเก่าคราวสร้างพระเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ กับผงที่หลวงพ่อนวลทำขึ้นจากยันต์เกราะเพชรและผงของหลวงพ่อจง ตะกรุด และลูกอม ซึ่งใช้ผงสร้างพระมาปั้นเป็นลูกอม มีขนาดกะทัดรัด วัตถุมงคลชุดนี้ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา ได้มาร่วมปลุกเสกกับหลวงพ่อนวล เช่นเดียวกับเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓

           อนึ่ง มีข้อที่น่าสังเกตว่า การสร้างพระของหลวงพ่อนวลนั้นแม้จะเป็นไปตามตำรับวิทยาคมที่ได้รับการสืบทอดมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค โดยตรงก็ตาม แต่หลวงพ่อนวลก็หาได้ใช้เนื้อดินเผาสร้างพระเหมือนหลวงพ่อปานไม่ แต่จะเน้นการสร้างด้วยเนื้อผงแบบพระสมเด็จ ผสมด้วยผงวิเศษมากกว่า และยังมีบางพิมพ์ที่ผสมด้วยผงใบลานเผา เช่นพิมพ์พระขุนแผนกุมารทอง

           นอกจากนั้นพระรุ่น พ.ศ.๒๕๐๒ นี้ หลวงพ่อนวลกับพระอาจารย์บุญมาก สัญญโม ศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อนวลจะร่วมกันจารอักขระยันต์ที่ได้รับการสืบทอดมาจากหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจงทุกองค์ ซึ่งบางองค์ก็จารด้วยยันต์เกราะเพชร ลายมือการจารอักขระนั้นงดงาม และต้องใช้ความอุตสาหะวิริยะ ในการจารมาก ส่วนแม่พิมพ์พระนั้นพระอาจารย์บุญมาก เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นพิมพ์ในรูปแบบพระสมเด็จ จะเป็นแบบทรงปรกโพธิ์ ทั้งนี้โดยถือเคล็ดว่า พระดังกล่าวสร้างขึ้นที่วัดโพธิ์และหลวงพ่อนวลก็เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ ฉะนั้นการสร้างพระแบบสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ ย่อมยังผลให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ผู้มีไว้บูชานั่นเอง





อวสานแห่งชีวิต
           หลวงพ่อนวลท่านปรารภจะไปพักผ่อนที่จังหวัดจันทบุรี นมัสการปูชนียวัตถุมงคลและชมโบราณสถาน แต่หาโอกาสไปไม่ได้ เพราะมีภารกิจมาก ทิ้งไปก็จะเสียการ จน พ.ศ.๒๕๐๙ ท่านได้เดินทางโดยรถยนต์ แต่ก่อนจะไปได้ปรารภกับพระในวัดว่า “อายุมากแล้วตั้งใจจะไปให้ถึงบ่อพลอย เพื่อได้เห็นด้วยตาตนเอง” มีสามเณรผู้เป็นศิษย์ติดตามไป ๑ รูป ครั้นไปถึงจังหวัดจันทบุรีแล้ว ได้พักอยู่ที่บ้านศิษย์คนหนึ่งของท่าน ซึ่งได้ไปตั้งภูมิลำเนาประกอบอาชีพ อยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ท่านได้ถึงมรณภาพ ที่บ้านศิษย์ของท่าน เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๐๙ ด้วยโรคลมปัจจุบันทันด่วน (หัวใจวาย) สิริอายุ ๗๘ ปี ๓๖ พรรษา เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดโพธิ์ ๓๑ ปี.




:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:



กราบขอบพระคุณ พระครูปลัดปราโมทย์ (หลวงพ่อช้าง ปโมทิโต) วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
ที่อนุเคราะห์ข้อมูลประวัติพระครูโพธิสารคุณ (หลวงพ่อนวล) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ กราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
เวลา ๑๕.๑๕ น.

76
ก่อนวันงาน








เช้าวันงาน
















บวงสรวงท้าวมหาราชทั้ง ๔










อ.เอกใหญ่


พี่กอล์ฟ เสน่ห์มอญ


บูชาพานครู ชำระหนี้สงฆ์


พระพุทธพักตร์
































ทอดผ้าป่าไหว้ครูบูรพาจารย์




















โปรยทาน


เตรียมครอบเศียร




เตรียมเริ่มพิธีภาคบ่าย (ปลุกอักขระ ปลุกมนต์ เป่ายันต์เกราะเพชร ประสะตัว หนุนดวง เสริมสิริมงคล)




พระครูปลัดปราโมทย์ ปโมทิโต (หลวงพ่อช้าง) วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ




พระครูประกาศโพธิกิตต์ (หลวงพ่อแดง) วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ










ประพรมน้ำพระพุทธมนต์


พระครูวิชัยพลากร (หลวงพ่อไม้) วัดมารวิชัย จ.พระนครศรีอยุธยา




อ.เอกใหญ่ ทำลูกอม (เทียนชัย) แจกผู้ร่วมพิธี








พระครูธีรวุฒิคุณ (หลวงพ่อเบี้ยว) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ


ของที่ระลึก


ชุดที่ระลึกบูชาพานครู


น้ำพระพุทธมนต์


ผ้ายันต์เกราะเพชร


สีผึ้งสัจจะบารมี (๓ สี)


เหรียญโปรยทาน


ผ้ายันต์หลวงพ่อปาน - ธงมหาพิชัยสงคราม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี


ยันต์หลวงพ่อนวล วัดโพธิ์ บางระมาด ตลิ่งชัน กทม.



สมเด็จปรกโพธิ์ หลังจารยันต์ลายมือหลวงพ่อนวล วัดโพธิ์ บางระมาด ตลิ่งชัน กทม.


กรรมฐาน


สมเด็จพระพุทธพักตร์

 
:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

77
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / แบ่งปัน
« เมื่อ: 14 ส.ค. 2557, 05:17:44 »
เกริ่นนำสักเล็กน้อย..

หลายวันก่อนได้ไปอ่านหนังสือ "มโนมยิทธิและประวัติของฉัน" ของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี อ่านไปถึงตอนที่หลวงพ่อท่านเล่าถึงประสบการณ์ของผู้ที่บูชาเหรียญหลวงพ่อปานที่ท่าน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) สร้าง ก็มาสะดุดอยู่ตรงประโยคที่ว่า..

"ประการที่ ๒ ผมเองคล้องเหรียญนี้ไปให้หมอฉีดยา หมอแทงไม่เข้า ต้องเอาเหรียญออกจากตัว จึงแทงเข้า"


ภาพจากหนังสือ "มโนมยิทธิและประวัติของฉัน"
ของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

สัญญาความจำเก่าๆ ในอดีต ก็หวนมาให้ระลึกถึงอีกครั้งว่า..

ในช่วงที่ผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ตอนนั้นจำได้ว่ากำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๔๕ ตรงกับปีที่หลวงพ่อเปิ่นมรณภาพพอดี (จำได้ว่าเคยไปร่วมกับทางโรงเรียนสิรินธรฯ ในการเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ๑๐๐ วันหลวงพ่อเปิ่นที่วัดบางพระด้วย) ซึ่งเป็นช่วงแรกๆ ที่ผมเองเริ่มสนใจเกี่ยวกับพระเครื่องวัตถุมงคลต่างๆ และคนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพระเครื่องคนแรกของผมก็ไม่ใช่คนอื่นไกล นั่นคือ "น้ายาม" ประจำโรงเรียนนั่นเอง

ทุกเย็นหลังเลิกเรียนระหว่างรอรถกลับบ้าน ก็จะมานั่งคุยเรื่องพระเครื่องเรื่องวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังต่างๆ กับน้ายามที่หน้าโรงเรียนเป็นประจำ เย็นวันหนึ่งน้ายามให้พระเครื่องผมมา ๑ องค์ แถมเล่าประสบการณ์ที่สัมผัสมากับตนเองว่า..

"น้าแขวนพระองค์นี้ แล้วตอนไปให้หมอฉีดยาที่โรงพยาบาล หมอฉีดยาให้ปรากฎว่า
เข็มฉีดยาแทงไม่เข้า ต้องอาราธนาพระออกจากคอก่อนถึงจะฉีดยาให้น้าได้"

พระที่น้ายามให้มาคือ
พระสมเด็จพระร่วง ๘๔ ปี (พ.ศ.๒๕๔๑) ของวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ซึ่งในตอนนั้นก็ถือว่าเป็นพระใหม่ที่เพิ่งสร้างได้ไม่กี่ปี



พระสมเด็จพระร่ววง ๘๔ ปี ที่น้ายามให้ไว้เป็นที่ระลึก

น้ายามบอกว่า "เก็บไว้ดีๆ นะ" ผมก็รับมาด้วยความรู้สึกขอบคุณปลาบปลื้มใจ และยังเก็บรักษาพระองค์นั้นไว้ตลอดจนถึงทุกวันนี้แม้น้ายามจะจากไปแล้วก็ตาม (ขอบคุณและระลึกถึงน้ายามชัชวาล ใจเพชร เสมอมา)


ที่หน้ากล่องใส่พระผมเห็นมีรูป "ธูป ๓ ดอก" ในใจผมสิ่งแรกที่คิดคือ พระรุ่นนี้น่าจะสร้างในปีที่มีเหตุการณ์ "ธูปยักษ์ถล่ม" แน่นอน

บันทึกไว้เล็กน้อยเกี่ยวกับความทรงจำเรื่องธูปยักษ์ พ.ศ.๒๕๔๑


ย้อนรำลึกถึงอดีตตอนที่มีข่าวธูปยักษ์ถล่ม ผมจำได้ว่าวันนั้นเป็นวันคล้ายวันเกิดพระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งทางวัดพระปฐมเจดีย์จะจัดงานเป็นประจำขึ้นทุกปีในวันที่ ๒ พฤศจิกายน แต่ในปีนี้มีความพิเศษกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยทางวัดได้เปิดให้สาธุชนได้ร่วมบุญบูชาธูป (ดอกเล็กๆ ที่ใช้บูชาพระทั่วไป) เพื่อนำไปประกอบเข้าเป็น "ธูปยักษ์" จำนวน ๓ ดอก เพื่อไว้จุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ด้านหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ ด้านทิศเหนือ

เช้าวันนั้นก่อนออกจากบ้าน ผมเห็นคุณแม่ตระเตรียมสิ่งของเครื่องบูชา ดอกไม้ธูปเทียน ของไหว้ และไข่ต้มย้อมสีชมพูไว้ในตะกร้าเพื่อเตรียมนำไปบูชาในงานวันเกิดพระร่วงฯ ที่วัดพระปฐมเจดีย์เช่นทุกปี เมื่อคุณแม่มาส่งผมที่โรงเรียนอนุบาลสุธีธรแล้ว (ตอนนั้นรู้สึกว่ากำลังเรียนอยู่ชั้น ป.๕ เป็นรุ่นแรกที่ได้ใช้อาคารสีเขียวหลังใหม่) คุณแม่ก็นั่งรถไปวัดพระปฐมเจดีย์ต่อเพื่อไปร่วมงาน

สายๆ คุณครูในโรงเรียนก็เข้ามาแจ้งข่าวว่า "ธูปยักษ์ถล่ม" วันนั้นไม่เป็นอันเรียน ห่วงว่าคุณแม่จะเป็นยังไงบ้าง พอท่านมารับหลังเลิกเรียนจึงค่อยโล่งใจว่าคุณแม่ปลอดภัยไม่ได้รับอันตรายอะไร


พิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในโอกาส ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ พ.ศ.๒๕๔๑

หลายอาทิตย์ก่อนในระหว่างพักผ่อนหลังจากอยู่ช่วยงานหลวงพ่อสำอางค์บนกุฏิใหญ่แล้ว ผมก็แวะเข้าไปหาหนังสือในสำนักงานวัดบางพระมาอ่านเล่น ซึ่งก็ไปเจอ "หนังสือที่ระลึกงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี พ.ศ.๒๕๔๑" เข้าเล่มหนึ่ง ด้านในมีรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับประวัติวัตถุมงคลและภาพพิธีปลุกเสก จากภาพก็จะเห็นพระคณาจารย์ที่มาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลชุด ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ อาทิเช่น หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม, หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า, หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม, หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ, หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม และที่สำคัญคือมีหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ พระผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่งของพวกเรารวมอยู่ด้วย จึงเก็บภาพมาฝากเพื่อนๆ สมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระให้ได้รับชมกันดังนี้






วัตถุมงคลรุ่น ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๑ ที่สร้างออกมานั้น นอกจากพระสมเด็จพระร่วงแล้ว ก็ยังมีกระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี ด้วยเช่นกัน (ปลุกเสกในพิธีเดียวกัน) โดยในกระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปีชุดนี้ จะมียันต์ที่เขียนด้วยลายมือพระคณาจารย์ของจังหวัดนครปฐม ๔ รูป เขียนไว้ด้วย มีรายนามดังนี้

๑.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม
๒.หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม จ.นครปฐม
๓.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
๔.หลวงพ่อรอด วัดวังน้ำเขียว จ.นครปฐม



แบ่งปัน

เมื่อเร็วๆ นี้ ทางวัดพระปฐมเจดีย์ได้ค้นเจอกระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่เก็บไว้จำนวนหนึ่ง ทางวัดก็ได้นำออกให้บูชาเพื่อสมทบทุนงานบุญต่างๆ บ้าง แจกให้เป็นที่ระลึกกับผู้ที่ร่วมบุญบูชาวัตถุมงคลของทางวัดบ้าง (ที่วิหารฝั่งทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ยังมีให้ร่วมบุญบูชาอยู่อีกเล็กน้อย)

ทั้งนี้ ทาง "พี่นุ้ย" เจ้าหน้าที่ของทางวัดพระปฐมเจดีย์ก็ได้แบ่งมาให้ผมไว้จำนวนหนึ่ง ต้องขอขอบคุณพี่นุ้ยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ




ปล.คงได้นำมาแจกแบ่งปันกับเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระในโอกาสต่อๆ ไป

78
งานหลวงภาคเช้า














ภาคสายในงานคล้ายวันเกิดหลวงพ่อเปิ่นครบรอบ ๙๑ ปี ที่วัดบางพระ
























































ภาคค่ำในงานพิธีหล่อเทวดาประจำวันเกิด - บูชาพระเคราะห์ต่อชะตา ที่วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


















พระครูสังฆรักษ์อวยพร ฐิติญาโณ เจ้าคณะตำบลดอนยายหอม รองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม จ.นครปฐม


พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ ธมฺมทินฺโน) เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ (แคแถว) จ.นครปฐม








พระครูสังฆรักษ์เสวก โชติธมฺโม เจ้าอาวาสวัดละมุด จ.นครปฐม


พระครูโกวิทสุตการ (หลวงพ่อกำไร อภิชาโน) เจ้าคณะตำบลศรีมหาโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) จ.นครปฐม




พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ จ.นครปฐม




















































ขุนช้าง วัดละมุด

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับดวงและวันเกิด
(ตามตำราของวัดโคกเขมา "วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น")

๑ = ๖
๒ = ๑๕
๓ = ๘
๔ = ๑๗
๕ = ๑๙
๖ = ๒๑
๗ = ๑๐
๘ = ๑๒
๙ = ๙

๑ คู่มิตรกับ ๕
๒ คู่มิตรกับ ๔
๖ คู่มิตรกับ ๓
๘ คู่มิตรกับ ๗

๑ เป็นกาลกิณีของ ๒
๒ เป็นกาลกิณีของ ๓
๓ เป็นกาลกิณีของ ๔
๔ เป็นกาลกิณีของ ๗
๗ เป็นกาลกิณีของ ๕
๕ เป็นกาลกิณีของ ๘
๘ เป็นกาลกิณีของ ๖
๖ เป็นกาลกิณีของ ๑

ฯลฯ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ของที่ระลึก


กราบขอบพระคุณหลวงพ่อ


กราบขอบพระคุณหลวงพี่ปาด


ยันต์ธงเขียนมือ ติดไว้ทั้ง ๔ ทิศ ในพิธีหล่อเทวดาประจำวันเกิดที่วัดละมุด


ชนวนโลหะ


เสื้อสามารถจากพี่หนึ่งและพี่สอง ขอบพระคุณครับ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ
สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันพุธที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๗
เวลา ๐๑.๒๐ น.

79
[shake]!!..ปิดกิจกรรมแล้วครับ..!![/shake]


"การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่า ไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งาม บริบูรณ์ ไม่ได้"


คำถาม

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนี้ พระองค์ทรงพระราชทานไว้ในพิธีใด? เมื่อวันที่ เดือน พ.ศ.?


ของรางวัล

พระผง ลป.ไดโนเสาร์ ทรงระฆัง (รับมาจากมือท่าน) ลป.ไดโนเสาร์ จ.กาฬสินธิ์
(ปัจจุบันอายุ 90 ปี พรรษา 67)
เป็นพระป่า (ฉันในบาตร) เวลามากรุงเทพจะพำนักอยู่กับ ลป.วิริยังค์ วัดธรรมมงคล
ขอขอบพระคุณ “พระหนึ่ง” ลูกชายเศรษฐีแห่งหมู่บ้านปัญญา
ที่ได้บอกบุญและมีโอกาสใกล้ชิด ลป. ในวาระนี้ด้วย
"ผู้การเสือ"


กติกา

1. กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

2. สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

3. เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบในวันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลา 18.00 น.

4. โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

5. สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (1 ชื่อผู้ใช้งาน/ 1 โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

6. สมาชิกผู้ใดรู้ว่าคำตอบของตัวเองถูกต้อง (ใช้ระบบเกียรติศักดิ์ Honors system) ให้มารับรางวัล (รับแทนกันไม่ได้) เป็นพระผงทรงระฆัง ลป.ไดโนเสาร์ จ.กาฬสินธิ์ (1 ท่าน ต่อ 1 องค์)

7. มารับรางวัลกับมือ “ผู้การเสือ” (12 ส.ค. 2557) ที่กุฏิ ลพ.ญา (ลูกศิษย์ ลพ.ญา ร่วมออกร้านอาหาร เชิญครับ Free)


 :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


***หมายเหตุ***

“พิพิธภัณฑ์ผู้การเสือ” รูปที่ 1
ปีที่1 ฉบับที่ 1  1ม.ค.35


 :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


“พิพิธภัณฑ์ผู้การเสือ” รูปที่ 2
กัลยาณมิตร มอบให้ “ผู้การเสือ” นานมากแล้ว


 :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


“พี่2” ประธาน TNN มอบเสื้อสามารถผ่าน “พี่1” มามอบให้ “สิบทัศน์” ด้วยความปรารถนาดี


 :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:


ขอบคุณ "พี่1" และ "พี่2" มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)


 :054::001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :054:

80

ทั้งนี้ หลวงพี่ต้อยท่านได้ทำลอคเกตหลวงพ่อเปิ่นเพื่อมอบให้แก่ผู้ที่ร่วมบุญในครั้งนี้ด้วย




รายละเอียดลอคเกตหลวงพ่อเปิ่น

- ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อเปิ่นครึ่งองค์ ฉากสี (มี ๔ สี) ด้านหลังอุดเหรียญหัวโตหลวงปู่ทวด และจีวรหลวงพ่อเปิ่นทุกองค์

- จำนวนสร้างรวมทั้งหมด ๒๐๐ องค์

- มอบให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ร่วมบุญสมทบทุนกฐิน ณ วัดเวียงแก้ว ร่วมบุญบูชาองค์ละ ๓๐๐ บาท

- เปิดให้บูชาวันนี้เป็นวันแรก (วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗)

- ร่วมบุญบูชาได้ที่กุฏิหลวงพี่ปาด (ข้างกุฏิหลวงพี่ต้อย) ได้ที่เดียว ไม่มีจัดส่งไปรษณีย์



อนุโมทนาบุญกับทุกท่านล่วงหน้าครับ
..สาธุ สาธุ อนุโมทามิ..

81
[shake]ปิดกิจกรรมแล้วครับ[/shake]

คำถาม

๑. โครงการหมู่บ้านศีล ๕ “ที่เริ่มดำเนินการกันทุกจังหวัดในประเทศไทยแล้วนั้น” เป็นโครงการของใคร (หน่วยงานใด)?

๒. “๑๐๐ ปี หลวงพ่อเปิ่น” (หากหลวงพ่อเปิ่นยังมีชีวิตอยู่) จะตรงกับวันที่เท่าไหร่? เดือนอะไร? ปี พ.ศ. อะไร?   

๓. ฉายาของหลวงพ่อเปิ่น “ฐิตคุโณ” เขียนคำอ่านได้ว่าอย่างไร? (เขียนตัวสะกดให้ถูกต้อง)

ตัวอย่างเช่น: “ปภสฺสโร” อ่านว่า ปะ – พัด – สะ – โร,
“คมฺภีโร” อ่านว่า คำ – พี – โร. เป็นต้น

๔. วัดโคกเขมา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม (วัดเก่าหลวงพ่อเปิ่น) เดิมมีชื่อวัดว่าอะไร?

๕. “ลำดับสมาชิกของท่าน” คือหมายเลขอะไร? (ให้ตอบเป็นเลขไทย)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ของรางวัล

๑. เหรียญบูชาคุณหลวงพ่อเปิ่น หลังองค์พิฆเณศวร "เนื้อโลหะกะไหล่ทองลงยา ๔ สี (แดง, ขาว, เขียว, น้ำเงิน)" จำนวน ๑๐ เหรียญ


รายละเอียดข้อมูลของเหรียญดูได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30933

๒. ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑ จำนวน ๕ ดอก


ประวัติความเป็นมา คลิกอ่านได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30928.msg227079#msg227079

๓. สติ๊กเกอร์รูปหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี (ผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกแล้ว) จำนวน ๕ แผ่น



ภาพในอดีต: หลวงพ่อเปิ่นร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงปู่โต๊ะที่วัดประดู่ฉิมพลี

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบในวันศุกร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ ๑๐ ท่านแรก ที่โพสตอบคำถามทั้ง ๕ ข้อ ได้ถูกต้องทั้งหมด (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้)

- ๑๐ ท่านแรก ที่โพสตอบคำถามทั้ง ๕ ข้อ ได้ถูกต้องทั้ง ๕ ข้อ!!

ลำดับที่ ๑-๕ จะได้รับ "เหรียญบูชาครูหลวงพ่อเปิ่น" ๑ เหรียญ + "ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑" จำนวน ๑ ดอก + สติ๊กเกอร์หลวงปู่โต๊ะ ๑ แผ่น (เหรียญหลวงพ่อเปิ่น ๑ เหรียญ + ตะกรุดผู้การเสือ ๑ ดอก + สติ๊กเกอร์หลวงปู่โต๊ะ ๑ แผ่น "รวม ๓ ชิ้น" / ๑ ท่าน)

ลำดับที่ ๖-๑๐ จะได้รับ "เหรียญบูชาครูหลวงพ่อเปิ่น" ๑ เหรียญ (รวม ๓ ชิ้น / ๑ ท่าน)

- สำหรับผู้ที่ตอบคำถามถูกต้องทั้งหมด ๑๐ ท่านแรก กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ในกรณีที่มีผู้ตอบคำถามถูกทุกข้อ แต่ไม่ครบ ๑๐ ท่าน รวมถึงในกรณีที่ไม่มีผู้ตอบคำถามถูกทุกข้อแม้แต่คนเดียว จะขอความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระ จับสลากจากรายชื่อผู้ที่ร่วมกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลทั้ง ๓ ครั้ง ทุกท่าน (ที่ไม่ทำผิดกติกา) จำนวน ๑๐ รายชื่อ เพื่อรับรางวัลดังกล่าวแทนทั้งหมด


หมายเหตุ - ผู้ที่ร่วมกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลทั้งสองครั้งที่ผ่านมา ก็จะได้สิทธิ์ตามจำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วย เช่น เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง ๒ ครั้งที่ผ่านมา ก็จะได้ ๒ สิทธิ์ (๒ สิทธิ์ คือ มีรายชื่อ ๒ สลาก) หากร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ก็จะได้เพิ่มอีก ๑ สิทธิ์ รวมเป็น ๓ สิทธิ์ หรือ เพิ่งเข้าร่วมกิจกรรมตอบคำถามครั้งนี้เป็นครั้งแรก ก็จะได้รับเพียง ๑ สิทธิ์ (สลาก ๑ รายชื่อ) เป็นต้น.

- ผู้ที่ได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองเอกสาร) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันพุธที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๑๓.๒๒ น.

82
[shake]ปิดกิจกรรมแล้วครับ[/shake]

[shake]? ? ? ภาพปริศนา รอยสักยันต์วัดบางพระ ? ? ?[/shake]

คำถาม

๑. รอยสักยันต์จากภาพปริศนา เป็นรอยสักรูป "สัตว์ชนิดใด" ?

๒. รอยสักยันต์จากภาพปริศนานี้ พระอาจารย์รูปใดเป็นผู้สัก? (ฝีเข็มของพระอาจารย์รูปใด)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ของรางวัล

๑. เหรียญบูชาคุณหลวงพ่อเปิ่น หลังองค์พิฆเณศวร "เนื้อโลหะกะไหล่ทองลงยา ๔ สี (แดง, ขาว, เขียว, น้ำเงิน)" จำนวน ๕ เหรียญ

หลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระ เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกให้อีกวาระหนึ่ง (เหรียญนี้เข้าพิธีพุทธาภิเษกมาหลายวาระแล้ว) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย เวลา ๑๔.๕๙ น. "เทวีฤกษ์"

(เทวีฤกษ์ คือ ฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ ความมีเสน่ห์ และการสมความปรารถนา ตามความเชื่อ)

*หมายเหตุ* - เหรียญรุ่นนี้ที่มีจารอักขระ "พุท โธ" ที่ด้านหลังเหรียญ มีเพียง ๑๐๐ องค์เท่านั้น (ทั้ง ๕ เหรียญที่นำมาแจกในกิจกรรมครั้งนี้ อยู่ในชุดเดียวกันกับที่มีจารอักขระ "พุท โธ" ที่ด้านหลังเหรียญเช่นกัน)






๒. ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑ จำนวน ๕ ดอก


ประวัติความเป็นมา คลิกอ่านได้ที่.. http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30928.msg227079#msg227079

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด (หากทำผิดกติกาถือว่าสละสิทธิ์)

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบในวันจันทร์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ ๕ ท่านแรก ที่โพสตอบคำถามทั้ง ๒ ข้อ ได้ถูกต้องทั้งหมด (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้)

- ๕ ท่านแรก ที่โพสตอบคำถามทั้ง ๒ ข้อ ได้ถูกต้องทั้ง ๒ ข้อ!! จะได้รับ "เหรียญบูชาครูหลวงพ่อเปิ่น" ๑ เหรียญ + "ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑" จำนวน ๑ ดอก (เหรียญหลวงพ่อเปิ่น ๑ เหรียญ +ตะกรุดผู้การเสือ ๑ ดอก "รวม ๒ ชิ้น" / ๑ ท่าน)

- สำหรับผู้ที่ตอบคำถามถูกต้องทั้งหมด ๕ ท่านแรก กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ผู้ที่ตอบคำถามถูกต้องทั้งหมด (๕ ท่านแรก) และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองเอกสาร) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

คำถามคงไม่ยากจนเกินไปนะครับ
ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันเสาร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๐๘.๑๗ น.

83
[shake]ปิดกิจกรรมแล้วครับ[/shake]


เกริ่นนำ..ประวัติความเป็นมาของ "ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑"

๑. สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมปัจจัยถวาย ลพ.ต้อย (อาพาธครั้งแรก) ดอกละ ๒๐๐ บาท

๒. จารในโบสถ์เก่าวัดบางพระ (ช่วงจารนกร้องเสียงเซ็งแซ่ตลอดเวลา - พระอาทิตย์ส่องแสงแรงกล้า)

๓. จารพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ (ตัวผู้ และตัวเมีย)

๔. ปลุกเสกในบาตร (ท่านเจ้าคุณ "พระราชญาณกวี" มอบให้ - บาตรแรกของการเป็นพระ)

๕. ลพ.ต้อย + ลพ.ญา + ลพ.นัน จารอักขระรอบฝาบาตร + บนฝาบาตร + ใต้ฝาบาตร

    อนุโมทนาบุญในกาลนี้, ลพ.ญา + ลพ.นัน มอบวัตถุมงคลร่วมด้วย (เพื่อรวบรวมปัจจัยถวาย ลพ.ต้อย)

๖. จำนวนสร้าง ๙๙ ดอก (ส่วนมากอยู่ที่ตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งร่วมทำบุญเหมาไปเกินครึ่ง)

๗. ผู้การเสือได้มอบไว้ให้กระผมจำนวน ๙ ดอก (จารในวาระแรก แต่ยังไม่ได้ตัดจากแผ่นเงิน) สุดท้ายแล้ว

๘. นำมาแจกในกิจกรรมทายปัญหาชิงรางวัลครั้งนี้ จำนวน ๕ ดอก (ที่เหลือไว้แจกในกิจกรรมครั้งต่อๆ ไป)


๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

ประมวลภาพ ขณะที่ผู้การเสือจารตะกรุดรุ่น ๑ ภายในอุโบสถเก่าวัดบางพระ (ภาพโดยพี่จ๊อบ "ข้าวหลามตัด")
ที่มาของภาพ:
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=29087.0













๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒

เกร็ดความรู้จาก..ผู้การเสือ

พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ เป็นหัวใจพระอรหันต์

นะ มะ นะ อะ

นอ กอ นะ กะ

กอ ออ นอ อะ

นะ อะ กะ อัง

แก้ สรรพทุกข์, สรรพโศก, สรรพโรค, สรรพภัย แก้คุณไสย มีอิทธิฤทธิ์เหนือความคาดหมาย.

สมัยก่อน วันไหว้ครู (ลพ.เปิ่นยังมีชีวิตอยู่) พวกเราจะนอนที่กุฏิ ลพ.ต้อย เด็กหนุ่มคนใต้เป็นผู้ให้คาถานี้แก่ผม บอกว่าถ้าท่องผิดจะเป็นบ้า แต่ท่องถูก และท่องอยู่ ๓ ปี จะอยู่ยงคงกระพัน สำนักทางใต้จะใช้คาถานี้ทั้งนั้น แม้แต่กระทั่งท่านขุนพันธ์ฯ

ผมจึงพยายามท่องไม่ให้ผิด..ต่อมาทราบว่ามี "ตัวผู้ - ตัวเมีย" ด้วย จึงหัดท่องได้ทั้งคู่..ละครับ.

ผมท่องคาถานี้ไม่เว้น..แม้แต่วันเดียว..ขอให้น้องๆ หัดหมั่นท่องไว้นะครับ...ดีแน่!


(๑๒ ปี ลพ.เปิ่นมรณภาพ)
"ผู้การเสือ"
(๓๐ มิ.ย ๕๗)


๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓

คำถามจาก..ผู้การเสือ

๑. บรรดาศักดิ์ "ท่านขุน" คนสุดท้ายที่มีชีวิตของประเทศไทย คือใคร?
    *ตอบให้ครบทั้งยศ - ราชทินนาม  และเขียนให้ถูกต้องทุกตัวสะกด

๒. "อัศวินแหวนเพชร" คนแรกของประเทศไทย คือใคร?
    *ตอบให้ครบทั้งยศ - ชื่อ - นามสกุล และเขียนให้ถูกต้องทุกตัวสะกด

๓. ชาญ, ตาล และผม ไปกราบ ลพ.คูณ และขอให้ ลพ.คูณ เขียนยันต์ลงในธนบัตร, ลพ.คูณ ปฏิเสธ และสอนว่า ธนบัตรมีรูปในหลวงอยู่ ไม่ควรขีดเขียนอะไรลงไป ซ้ำยังสอนว่าให้ไว้หัวนอนบูชา คำถามคือ ในกรณีเขียนยันต์ลงในธนบัตร ตาม พ.ร.บ. ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดโทษไว้หรือไม่ อย่างไร?

๔. มีลายสักยันต์ของวัดบางพระ (ยันต์เดียว) ที่ไม่สักให้ผู้หญิง คือยันต์อะไร?

๕. "ผู้การเสือ" พ.ค. ๕๗ นี้ อายุครบเท่าไร?



๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔

รายละเอียดและกติกาการร่วมกิจกรรม "ทายปัญหา..ชิงรางวัล ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑"

- กรุณาปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด

- สงวนสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เปิดให้ร่วมตอบคำถามได้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป, ปิดรับคำตอบในวันศุกร์ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๘.๐๐ น.

- โพสตอบคำถามได้ในกระทู้นี้กระทู้เดียวเท่านั้น

- สามารถโพสตอบคำถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (๑ ชื่อผู้ใช้งาน/ ๑ โพสคำตอบ) หากโพสตอบซ้ำ จะถือว่าทำผิดกติกา

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ ๕ ท่านแรก ที่โพสตอบคำถามทั้ง ๕ ข้อ ได้ถูกต้องทั้งหมดทุกข้อ (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้)

- ๕ ท่านแรก ที่โพสตอบคำถามทั้ง ๕ ข้อ ได้ถูกต้องทั้งหมดทุกข้อ!! จะได้รับ "ตะกรุดผู้การเสือ รุ่น ๑" (จำนวน ๑ ดอก / ๑ ท่าน)

- สำหรับผู้ที่ตอบคำถามถูกต้องทั้งหมด ๕ (ท่านแรก) กรุณารอการยืนยันสิทธิ์รับรางวัล ซึ่งจะตอบกลับให้ทางระบบข้อความส่วนตัว (pm)

- ผู้ที่ตอบคำถามถูกต้องทั้งหมด (๕ ท่านแรก) และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลแล้ว กรุณาส่งซองเปล่า (ซองจดหมาย) ติดแสตมป์ ๓๗ บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มายังที่อยู่ที่ได้รับจากการยืนยันสิทธิ์รับรางวัลในระบบข้อความส่วนตัว (pm)


๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
วันพุธที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๑๕.๒๑ น.

85
เหรียญวิวองค์พระปฐมเจดีย์รุ่นแรก เนื้อเงิน หลังแบบ



เหรียญเสมาหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม รุ่น ๒ ผิวไฟ



เหรียญเสมาหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม รุ่น ๖ รอบ



เหรียญโก๋ใหญ่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ๐๖



พระสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง พิมพ์กลาง ปี ๑๔



ลอคเก็ตหลวงพ่อเปิ่น เลี่ยมทองเดิม (ได้มาอีกองค์)


86

       ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ (สำหรับผู้สักยันต์) จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสำนัก

        วันนี้จึงขอนำเสนอข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้สักยันต์ของทางวัดบางพระ (ในปัจจุบัน) ที่ได้เรียนสอบถามกับท่านพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระรูปปัจจุบัน ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ดังนี้

        ๑. ห้ามด่าพ่อแม่บุพการี (ทั้งของตนเองและผู้อื่น)
        ๒. ห้ามผิดลูกผิดเมียผู้อื่น (ผิดลูก หมายถึง ไปล่วงเกินลูกของผู้อื่น กล่าวคือผู้ที่ยังมีผู้ปกครองดูแลอยู่, ผิดเมีย หมายถึง ไปล่วงเกินภรรยา รวมถึงสามีของผู้อื่น และคนที่มีคู่ครองอยู่แล้ว ด้วยเช่นกัน)
        ๓. ห้ามลอดไม้ค้ำต้นกล้วย
        ๔. ห้ามลอดสะพานหัวเดียว (สะพานหัวเดียว มีลักษณะเป็นสะพานริมตลิ่งที่ยื่นลงไปในแม่น้ำ)
        ๕. ห้ามลอดราวตากผ้า (ราวแขวนเสื้อผ้าขายแบบในตลาดทั่วไปไม่ได้ห้าม)
        ๖. หมั่นรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด

        ในสมัยก่อนจะมีห้ามกินมะเฟือง น้ำเต้า ฯลฯ แต่ปัจจุบันไม่ได้ห้ามแล้ว โดยหลวงพ่อท่านบอกว่า "ขืนห้ามกินมีหวังอดตาย!!" (ประหนึ่งว่าท่านให้พิจารณาว่าคุณค่าแท้ของการกินอาหารเป็นไปเพื่อยังอัตภาพร่างกายให้ดำรงอยู่ได้เพียงเท่านั้น)

        สำหรับผู้ที่ประพฤติผิดข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ก็จะมีผลทำให้อิทธิคุณของรอยสักพร่องไปไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกกันว่า "ของเสื่อม"

        วิธีแก้ไขสำหรับผู้ที่ประพฤติผิดข้อห้ามและข้อปฏิบัติมี ๒ วิธี (อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้) คือ

        ๑. ขอขมาลาโทษสำนึกต่อสิ่งที่ได้เผลอทำพลาดพลั้งไป แล้วมาให้หลวงพ่อสำอางค์ท่านเป่าครอบให้ใหม่อีกครั้ง (ทำผิดอีกก็ต้องมาเป่าครอบใหม่อีกเรื่อยไป)
        ๒. เข้าพิธีไหว้ครูใหญ่ของทางวัดบางพระ (ไหว้ครูประจำปี) ในพิธีไหว้ครูก็จะจัดให้มีมีการกล่าวบูชาครู การขอขมาลาโทษครูบาอาจารย์ต่อสิ่งที่ได้กระทำผิดสัจจะคำครู เป็นต้น

        ส่วนที่เข้าใจกันว่าเมื่อเข้าพิธีไหว้ครูเพียงครั้งเดียวแล้วจะทำให้รอยสักไม่เสื่อมตลอดไป อันนี้ก็เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะเมื่อเข้าพิธีไหว้ครูแล้วไปทำผิดข้อห้ามข้อปฏิบัติอีก อิทธิคุณของรอยสักก็จะพร่องไม่สมบูรณ์เหมือนเดิมอีกเช่นกัน

        ดังนั้น ทางที่ดีคือควรพยายามรักษาสัจจะไม่ให้ผิดข้อห้ามคำครูเป็นการดีที่สุด

        สำหรับผู้ที่ต้องการสักยันต์ที่วัดบางพระ ก็ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจสักยันต์ หากมั่นใจว่าตนเองสามารถรักษาข้อห้าม ทำตามข้อควรปฏิบัติตามสัจจะคำครูดังนี้ได้ ก็ค่อยมาฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเข้ารับการสักยันต์ ไม่เช่นนั้นรอยสักที่แผ่นหลังก็จะไม่ต่างไปกับผิวหนังเปื้อนหมึก (ในกรณีที่ไปประพฤติตัวไม่ดี สัญลักษณ์ร่องรอยการสักบนผิวหนังก็จะเป็นเครื่องฟ้องว่า "เป็นศิษย์จากสำนักใด").

        ย้ำอีกครั้งว่า แต่ละสำนักก็จะมีข้อห้ามข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป สำหรับข้อมูลที่นำมาลงไว้นี้เป็นข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่สักยันต์ของสำนักวัดบางพระเท่านั้น!!

        (สำหรับคนที่บอกว่า "ถือมากไปก็หนัก" พระอาจารย์รูปหนึ่งท่านฝากถามกลับว่า "แล้วจะสักไปเพื่ออะไร?")


:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

เนื้อหาเกี่ยวกับข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติ สำหรับผู้ที่สักยันต์ของวัดบางพระ
เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ท่านพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระรูปปัจจุบัน
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ กุฏิใหญ่ (กุฏิพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น)) วัดบางพระ จ.นครปฐม

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

87

ขอเชิญร่วมทำบุญ วันคล้ายวันมรณภาพพระอุดมประชานาถ (เปิ่น ฐิตคุโณ) ครบรอบ ๑๒ ปี

ในวันจันทร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

เวลา ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์

เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ๑๐๐ รูป

เวลา ๑๒.๐๐ น. ทักษิณานุประทาน

 
:089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089: :089:

88


        "ในตอนแรกๆ นั้น อาตมาคิดว่าได้เรียนวิชาเอกไว้มากมายแล้ว และได้เรียนรู้ในข้อธรรมทั้งหลายลึกซึ้งดีแล้ว แต่ที่ไหนได้ พอได้พบได้สนทนากับผู้ที่มีความรู้และภูมิธรรมสูงกว่า และเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดำริตนให้พ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวงแล้วนั้น ทำให้อาตมารู้สึกว่า อาตมาเองเหมือนกบอยู่ในกะลาครอบจะต้องเรียนรู้จะต้องศึกษาอีกมากมาย และยังต้องบำเพ็ญเพียรทางจิตอีกมากจึงจะเทียบเท่าท่านผู้รู้เหล่านั้นได้ เพราะขณะนั้นอาตมายังไม่ได้ปฏิบัติตน ไม่เคยเห็นโลกกว้างเหมือนผู้รู้ผู้แสวงหา ไม่ได้ถึงธรรมอย่างแท้จริง และปฏิบัติกันอยู่แค่วิชาความรู้ทางไสยศาสตร์เพียงอย่างเดียว ไม่อาจนำพาตัวเองรอดจากเวียนว่ายตายเกิดได้ เลยต้องศึกษา ปฏิบัติควบคู่ไปเป็นพลังเสริมความมั่นคงอันเกิดความก้าวหน้าทางจิต จนกระทั่งได้พบกับแสงสว่างทางธรรมอันสมควรอีกด้วย และถ้าอาตมาไม่แสวงหาวิชาความรู้ต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วแผ่นดินแล้ว ก็อยู่เพียงเท่านี้ไม่ก้าวหน้า ต่อไปวิชาก็ไม่แน่นอน ไม่ได้เห็นแสงสว่างทางธรรม และยังไม่ได้เข้าถึงคุณวิชาที่เข้าศึกษาจึงจำเป็นต้องไป เพื่อกาลข้างหน้าจะได้เป็นผู้รู้ได้บ้าง แต่จะได้มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่บุญกุศลเถิด ว่าจะสนองตอบเราได้เพียงไหน"

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ที่มา: คณะกรรมการวัดบางพระ-วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์). ประวัติพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น)
เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี วัดบางพระ นครปฐม. (น.๑). นครปฐม: ทองบุญการพิมพ์.

:001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001: :001:

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

89
[shake]ปิดกิจกรรมแล้ว..[/shake]



ตะกรุดเมตตา เนื้อเงิน จารมือ ถักด้วยสายสิญจน์ในพิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่นปี ๕๗
ลงรักปิดทองคำเปลว
(ที่หลวงพ่ออธิษฐานจิตไว้ใช้สำหรับลงนะหน้าทอง-สาริกาลิ้นทอง)
ปลุกเสกในพิธีเสาร์ ๕ (๑๙ เม.ย. ๕๗) จำนวนสร้าง ๘ ดอก
หลวงพ่อสำอางค์เมตตาให้นำมาแจกสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระ ๖ ดอก
(มอบให้พี่หนึ่งผู้การเสือ ๑ ดอก และลุงจำนงค์ มือขวาหลวงพ่ออีก ๑ ดอก)










รายละเอียดและกติกาการร่วมลงชื่อรับรางวัล (กรุณาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด)

- สงวนสิทธิ์ในการแจกรางวัลครั้งนี้ให้กับสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระเท่านั้น

- เนื่องจากมงคลวัตถุมีจำนวนจำกัดและเพื่อความเท่าเทียมกันของเพื่อนสมาชิก ดังนั้นจึงขอเปิดให้ร่วมลงชื่อเพื่อรับรางวัลในวันอังคารที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป (โดยโพสตอบในกระทู้นี้เท่านั้น, ๑ ท่าน ต่อ ๑ โพส)

- สิทธิ์ในการได้รับรางวัลได้แก่ ผู้ที่ลงชื่อรับรางวัล ๖ ท่านแรก (นับจากลำดับการโพสตอบกระทู้)

- ก่อนโพสตอบกระทู้ ให้ผู้ที่จะร่วมลงชื่อรับรางวัลอาราธนาสมาทานศีล ๕ ก่อน โดยกล่าวตามดังนี้ (ให้กล่าวคำสมาทานศีลด้วยตนเองก่อนโพสลงชื่อ ไม่ต้องโพสคำสมาทานศีลมาในการตอบกระทู้)..

   "นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
   นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมม