แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - St.Pipo

หน้า: [1]
1
มองแม่เห็นแม่แก่เฒ่า แต่ตัวเรานั้นไร้ความสามารถ เราไม่อาจทดแทนท่านได้หมด ทุกวันนี้แสนรันทด แม่ยังยอมอดให้เราเอาไปก่อน

รักแม่มากนะ

2
ดีครับ สนับสนุนทุกกิจกรรม รบกวน PM กำหนดการให้ด้วยนะครับ

3
ขอตอบตามนี้ครับ
๑ ท่านรู้จักวัดบางพระได้อย่างไร
   จากรายการทีวีเมื่อนานมาแล้ว เป็นรูปงานไหว้ครูประมาณปี 37 ครับ
๒ เคยเดินทางมาที่วัดบางพระหรือไม่ ประมาณกี่ครั้ง
   ไปเป็นระยะๆครับ แต่ไม่บ่อย รวมๆแล้วน่าจะไม่ถึง 10 ครั้ง
๓ ครั้งแรกที่ท่านมานั้นมีโอกาสได้พบหลวงปู่ เปิ่นตอนท่านยังดำรงค์ขันธ์ หรือเปล่า
   เสียใจที่ไปไม่ทันหลวงปู่ครับ
๔ ท่านเคยสักยันต์ที่วัดบางพระหรือไม่ สักหมึก หรือน้ำมัน
   สักหมึกครับ
๕ ท่านรู้จักเว็บบอร์ด วัดบางพระ ได้อย่างไร
   เพื่อนในวงการแนะนำครับ 
๖ ท่านอยากให้มีสิ่งใดเพิ่มเติมในบอร์ด วัดบางพระ
   ไม่มีครับ

4
สิงโตครับผม เคยได้ยินมาแต่จำไม่ได้ว่าผู้ใดเอ่ย ประมาณว่าเป็นตำราโบราณที่พระอาจารย์ญาท่านมีน่ะครับ

7


เอามาให้ชมบ้างครับรูปหล่อหลวงพ่อตัด เบ้าทุบรุ่นแรกเนื้อทองคำระฆังครับจำไม่ได้สร้างกี่องค์แฮะๆของผมโค้๖เลข ๖๕๔ครับผม

สวยงามมากครับ ส่วนตัวชอบพระลอยองค์อยู่แล้ว ยินดีด้วยครับ

8
อย่างที่คุณแหวกบาดาลว่าละครับ ถึงเวลาไม่มีอะไรกินก็กินมันได้ทุกอย่างแหละ คือตามความเข้าผมคือถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงไป แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ทานไปเถอะครับเพราะเราทานเพราะรักษาร่างกายไว้

อย่างอาจารย์ท่านนึงติดป้ายห้ามไว้ตัวโตๆว่าห้ามดื่มเหล้า แต่พอถามว่าถ้าดื่มจะเป็นอย่างไร ท่านก็บอกว่า "ดื่มแล้วก็มีเรื่องสิ(ของขึ้น) ถ้าไม่ดื่มได้ก็จะดีมาก ดีกับตัวเอง" แล้วของกินล่ะ ฝัก แฝง แตงกวา เนื้อ ทานได้ไหม ท่านก็บอกว่า "ฉันเองก็ทานทุกอย่าง เวลาไม่มีอะไรจะกินเราเลือกได้ไหม"

สบายใจได้ครับผมคิดว่าเรื่องอาหารต้องห้ามนี่มีผลน้อยมาก น้อยกว่าข้อห้ามอื่นๆเช่นห้ามด่าพ่อ-แม่อีกนะครับ

9
สวยครับเส้นคม หมึกติดดำดี
ลิงลมกำกับด้วย ยุวาพะวา นะมะพะทะ มะอะอุ ครับผม

10
บทสวดมนต์ / ตอบ: สัมพุทเธ
« เมื่อ: 24 เม.ย. 2552, 06:12:05 »
เป็นหนึ่งในพระปริตรใช่ไหมครับ ลองสอบถามพระอาจารย์หรือพระอาจารย์หนึ่งดูนะครับ

11
1 ยันต์ลิงเป็นลิงลมครับ รูปไม่ชัดแต่คาดว่าน่าจะมีหัวใจคาถาลิงลมนะครับ พุทธคุณ ปราดเปรียวว่องไว
2 สิงห์ก็มหาอำนาจครับ
3 รูปเพิ่มเติมเป็นยันต์เมตตา
พุทซ้อน นะโมพุทธายะ
ยอดลง มะอะอุ
ข้างลง หัวใจฤษี ฤ ฤา ฦ ฦา
ฐานลง จะพะกะสะ

12
คุ้นๆว่าเคยมีสมาชิกโฟสนะครับ จำไม่ผิดเป็นหลวงพี่พันธ์ครับ ส่วนเรียกว่าเสืออะไรไม่ทราบครับผม

http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,8026.0.html

13
ติดพลอยแดงแสดงว่าพี่นุชเกิดวันอาทิตย์สิครับ ผมก็มีเหมือนกันครับแต่แขวนไม่ดีท่านตกจากหิ้งพลาสติกแต่เลยครับ มีคนลือว่ารักษาไม่ดีท่านจะแสดงอภินิหารออกมา บางท่านว่าอัดกรอบยากแตกบ่อยถึงขนาดต้องอาราธนาเลี่ยมเลยครับ (ฟังเขามาอีกที)

14
เดี๋ยวพระอาจารย์จะจัดให้เองครับ หรือลองกราบเรียนขอตามที่ต้องการก็ได้ครับ ขอให้สมดังหวังครับ

15
สวยงามครับ อาจารย์ท่านลงไว้ด้วย

โอมศรีคเณสายะ นะมะสะหัสเนตโต นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ มะอะอุ

ผิดถูกอย่างไรขออภัยครับ

16
อันนี้แถวอ่อนนุชครับไม่ไกลจากบางนาเท่าไร อ.ต๋อย
XXXX[/color].com/thaiblog/2008/07/blog-post_07.html]http://www.sak-yant.com/thaiblog/2008/07/blog-post_07.html

แล้วก็มีแถวบ้านน้องก๊อตน่ะครับ อ.พัฒน์ โต๊ะทอง หลังเปาโลวชิรปราการ ม.ทรัพย์บุญชัย นั่งวินจากหน้า รพ.ไปได้เลยครับ ท่านเป็นครูใหญ่ของ อ.ต๋อย ครับ สักวันพฤหัส อาทิตย์ (ดอกไม้ ธูป เทียน บุหรี่ ติดมือไปด้วยนะครับ)

แต่ถ้ามีเวลาไปบางพระก็ได้ครับ พระอาจารย์เมตตาทุกท่านครับ

17
สวยดีครับ อีกหน่อยก็เต็มแล้ว  :015:

18
คงเป็นอาการแพ้ทางผิวหนังน่ะครับ หรืออาจจะเป็นว่าหมึกที่สักอาจมีว่านที่ไม่ถูกกับน้ำมันมะกอกก็ได้ครับ ส่วนผมไม่ทาอะไรเลยครับ เคยลองทาวาสลีนแล้วรู้สึกคันหนักกว่าเดิมอีก

19
ก็ลองหาข้อมูลเรื่อยล่ะกันครับ หลายที่ก็ดีๆทั้งนั้น บางพระก็ดีครับ หรือเอาเป็นว่าเดินทางสะดวกก็ได้ครับ ส่วนของผมหนุมานสี่กรที่เหนือก้นกบก็แรงดี ทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธาด้วยครับ

21
ไม่ต่างหรอกครับ เพราะไม่ว่าอาจารย์จะใช้อะไรสักก็ขลังเหมือนกัน เพราะท่านได้ผ่านการเรียนการครอบมาอย่างดีแล้ว คล้ายท่านอาจารย์เก่งๆเอาเหล็กมาจารยันต์บนแผ่นตะกั่ว หรือเหมือนกับการเขียนผ้ายันต์ สำคัญที่ตัวอาจารย์ครับว่าของจริงหรือปลอม อย่างหลวงพ่อออด ของจริงครับ คอนเฟิร์ม

22
แต่ละคนไม่เหมือนกันครับ อาจจะขึ้นทุกอย่างที่มีหรือขึ้นแค่บางอย่าง อย่างผมก็จะขึ้นพวกหนุมาน เสือ พ่อแก่ แต่ละครั้งก็จะขึ้นอย่างเดียว แบบว่าเหนือยครับ ถ้าคนแข็งแรงอาจจะขึ้นจนครบก็ได้ ส่วนเรื่องนั่งสวดภาวนาให้มันขึ้นหรือไม่คงไม่ค่อยมีมั่งครับ ของมันจะขึ้นมันก็ขึ้นเองครับผม

23
เรื่องยันต์ผมไม่ทราบว่าเรียกนะอะไร แต่กำกับด้วย "ทุสะมะนิ" ครับ

ทุกข์
สมุทัย
นิโรธ
มรรค

24
ถูกต้องตามที่น้องก็อตบอกเลยครับ เคยเห็นหลวงพี่ตูนสักให้ลูกศิษย์เช่นกันครับ

25
บทความ บทกวี / ตอบ: ทำนายอดีตชาติ
« เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 12:09:29 »
ของผมครับ ฮาดี

ชาติที่แล้ว คุณเป็น ผู้ชาย

สถานที่คุณเกิด : หมู่เกาะHulhule ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกาและทางตอนปลายของอินเดีย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศ มัลดีฟส์ น่าอิจฉาจริงๆนะเนี่ยเพราะในอดีตคุณเคยได้อยู่ในสถานที่ๆขึ้นชื่อว่าสวยติดอันดับโลกทีเดียว
ประมาณปี พ.ศ. 1386

อาชีพเดิมของคุณคือ  :
เจ้าเมือง ผู้ปกครองเมือง มีบุญบารมีสูงมาก

บุคลิกภาพของคุณในอดีต  :
พูดมากกว่าฟัง คุณเป็นที่ปรึกษาที่ไม่ดี แต่ชอบให้คำปรึกษาโดยไม่ชอบฟังปัญหาของคนอื่น ถ้าพูดน้อยฟังเยอะ เสน่ห์และมิตรภาพจะเพิ่มขึ้นอีกเยอะนะ

บทเรียนในอดีตชาติของคุณ  :
งานหลักของคุณคือทำโลกให้สวยงามมากกว่านี้ ความแห้งแล้ง ไม่ว่าจะเป็นจิตใจหรือกายภาพ กำลังคอยคุณอยู่ ยิ้มเข้าไว้!

26
อันว่าตึงไปก็ไม่ดี หย่อนก็ไม่ดี ทางสายกลางเป็นที่พึ่ง อันว่าเคาราพตามครูสั่งก็ดี ไม่เคารพก็ดี ทำได้ก็ดี ทำไม่ได้ก็ดี ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี

ผลมันก็เกิดจากเหตุ ทำไมสักยันต์เป็นโจรโดนยิงไม่เข้า ทำไมเป็นโจรแล้วแพ้ภัยตัวเองในที่สุด มันก็คือกรรมครับ ดังนั้นพึงถือพระเวทย์ที่ได้มาด้วยความไม่ประมาท อันปุถุชนคนธรรมดาถือตึงบ้างหย่อนบ้างนั้นมีทั่วไป ก็เปรียบได้กับว่ายันต์เดียวกันถือดีบ้างไม่ดีบ้าง พอประสบเหตุคนถือดีแล้วแคล้วคลาด คนถือไม่ดีอาจโดนแต่ไม่ตาย ทำนองนี้ครับ

อย่าประมาท สร้างกรรมดี ไม่มีเสื่อมครับ

27
ไม่เสื่อมหรอกครับ อาจารย์ท่านให้มาดีแล้ว ไม่สบายใจก็อธิฐานจิตขอขมา รักษาศีลให้มั่น แต่ละคนก็รักษาได้ไม่เท่ากันตึงหย่อนต่างกันได้กุศลก็ไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราหย่อนข้อหนึ่งข้อใดแล้วจะเสื่อม ผมเชื่อว่าสิ่งที่อาจารย์ให้มาสามารถรักษาไว้ได้ด้วยบุญ รักษาศีลก็เป็นบุญ

การสร้างบุญบารมี มี 3 อย่าง ทาน ศีล ภาวนา
1.ทาน การให้ทานมีหลายระดับ เช่น
   ให้ทานแก่สัตว์ 100 ครั้งยังได้บุญน้อยกว่าการให้ทานแก่มนุษย์ 1 ครั้ง
   ให้ทานแก่มนุษย์ 100 ครั้งยังได้บุญน้อยกว่าการให้ทานแก่มนุษย์ที่รักษาศีล 5 เป็นนิจ เพียงครั้งเดียว
   ให้ทานแก่มนุษย์ที่พร้อมด้วยศีล 100 ครั้งยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่สามเณรครั้งเดียว
   ให้ทานแก่สามเณรที่พร้อมด้วยศีล 100 ครั้งยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่พระสงฆ์ครั้งเดียว
   .................. สุดท้ายการถวายสังฆทานอันมีพระอรหันต์เป็นประธาน 100 ครั้งยังได้บุญน้อยกว่าการให้อภัยทาน
2.ศีล เช่นกัน
   มนุษย์ผู้ใดรักษาศีล 5 ดีแล้วถึง 100 ปี ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ทีรักษาศีล 8 แม้เพียงวันเดียว
   มนุษย์ผู้ใดรักษาศีล 8 ดีแล้วถึง 100 ปี ยังได้บุญน้อยกว่าสามเถรที่บวชรักษาศีล 10 ได้เพียงวันเดียว
   ..................  บุญในข้อศีลสูงสุดก็จะบังเกิดแก่พระสงฆ์ที่รักษาปาฏิโมกข์ศีล 227 ข้อได้สมบูรณ์
3.ภาวนา เช่นกัน
   มนุษย์ผู้ใดทำสมถกรรมฐานดีแล้วจนจิตนิ่งดีได้ถึง 100 ปี ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่วิปัสสนาภาวนาจนแจ้งมรรค แม้เพียงช่วงเวลาช้างกระดิกหู ไก่กระพือปีก ซึ่งสมถกรรมฐานและวิปัสสนาภาวนา เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เราต้องอาศัยจิตที่แกร่งแล้วด้วยสมถ นำมาวิปัสสนา แล้วก็จะแจ้งปัญญา ซึ่งสมถ เริ่มได้ด้วยหลักกรรมฐาน 40 อันมี 40 วิธี เช่น พิจารณาความดาย พิจารณาซากของเน่าเหม็น พิจารณากาย ซึ่งรายละเอียดวิธีกรรมฐานนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเคยทำมาหากชาติก่อนทำวิธีใดมาชาตินี้เราก็จะชอบวิธีนั้น สำคัญคือต้องมีอาจารย์สอน หากใครสนใจก็สอบถามพระอาจารย์ที่ท่านนับถือได้นะครับ

สรุปเรื่องการสร้างบุญบารมีนิดนึง บางท่านอาจเข้าใจว่าอัน ภาวนานั้นได้กุศลสูงสุดงั้นเรามาทำภาวนากันอย่างเดียวเถิด อันนี้ก็ไม่ถูกต้องนักเพราะถึงได้บุญมากลงทุนน้อยที่สุดก็จริง แต่กุศลที่บังเกิดจะได้เป็นคนที่มีปัญญา แต่ถ้าหากเราไม่รู้จักการให้ทานด้วยแล้วนั้น เราก็จะเป็นเพียงคนที่มีปัญญามากแต่ไร้ซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิตและเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานลำบากซักหน่อย   ดังนั้นจึงควรสร้างบุญบารมีประกอบกันทั้ง ทาน ศีล ภาวนา แล้วแต่โอกาสจะอำนวยนะครับ

ตามความเข้าใจจากพระนิพนธ์ เรื่องการสร้างบุญบารมี ของสมเด็จพระสังฆราช

28
อาบัติครับ ถ้าว่ากันตามพระวินัย

29
แนะนำว่าให้สักมือเดียวครับ เพราะพระอาจารย์จะวางภาพตามความเหมาะสม มีการวางแผนการล้อมไว้แล้ว หลังเราจะออกมาสวยครับ

แต่ถ้าชอบหลายๆสำนักก็สักได้ครับ สักภาพให้แน่นๆแล้วก็ไปให้พระอาจารย์ท่านไหนก็ได้ครับล้อมทีเดียวท่านเดียวก็จะออกมาสวยเช่นกันครับ

31
อยากไปกราบหลวงพี่เอจัง หลวงพี่เอต้องอยู่วัดนกวันนี้แน่ๆเลย ฝากนมัสการครับ

32
ไม่เสื่อมครับ สำรวมไว้ ใจหยาบแต่กาย วาจา ไม่หยาบ ก็ไม่เสื่อม แค่สู้คนที่ประเสริฐกว่าเราไม่ได้  คือเราจะแพ้แค่คนที่ละเอียดทั้งกาย วาจา ใจ

33
คนไทยแท้ๆ ต้องทำให้ได้อย่างภาพ บางทีก็นึกอยากให้ศาสนาเราสักการะศาสดาวันละ 5 รอบแบบเขาบ้าง

34
ไม่เสื่อมครับ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ

35
   สำหรับผมไม่ห้อยแล้วครับ ไหว้พระบูชาอย่างเดียวพอแล้ว ครูเยอะ ห้อยไม่หมดเลยไม่ห้อยดีกว่า สักการะท่านบนหิ้งดีแล้ว พี่พีชเป็นคนมีน้ำใจนะครับ ว่างๆเจอกัน

36
ไปยังไงบอกทางด้วยค่ะ
 :017: :017: :017: :017:


จากอนุสาวรีย์ฝั่งไปหมอชิตนั่ง 54(ป้ายวนขวา) และ 74 รถทั่งสองสายจะวิ่งไปถึงแยกสะพานควายแล้วเลี้ยวขวาเข้าสุทธิสาร ผ่านแยกสุทธิสาร-วิภาวดี รถจะเลี้ยวขวาเมือเจอสามแยก จากนั่นก็นั่งมองซ้ายนับซอยอินทามระไปเรื่อยๆ แล้วลงซอย 59 ตามแผนที่ด้านบนเลยครับ  เดินเข้าซอยอีกประมาณ 200 ม. เห็นโบส์ถอยู่ไม่ไกลครับ :002:

37
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ

38
อนุโมทนาด้วยครับ  :090:

39
หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อมให้ไว้
นะโม 3 จบ
พุทธัง อาราธนานัง
ธัมมัง อาราธนานัง
สังฆัง อาราธนานัง
อุกาสะ อาระธะนัง กะโรมิ

40
ใส่ยาเส้นไว้ในตลับพระครับ ภูมิปัญญาโบราณ คนเฒ่าคนแก่เก็บพระผงหรือพระเนื้อว่านในกระป๋องยาเส้นครับ รักษาเนื้อพระดีนักแล  :089:

41
St.Pipo ชื่อปีโป้
b. ตกลง งานรวมพลชาวเว็บบอร์ดบางพระ (ครอบเศียร+ลงนะมหาเสน่ห์+สาลิกาลิ้นทอง) ครั้งที่ 1
PM เบอร์ตามไปติดๆ

42
เสียดายที่กว่าจะได้ไปวัดบางพระ หลวงพ่อละสังสารแล้ว  :065:

43
ยันต์กำกับเสือ

นะโมพุทธายะ กุรุสุกุ จะภะกะสะ อิทะคะมะ มะอะอุ อิติปัตถิ (ไม่แน่ใจช่วยเสริมหน่อยครับ)

45
เหรียญหลวงพ่อรุ่นเปิดสะพานปี 31 ปะครับ

46
รอยสัก = ทอง
ศีล = เปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ของทอง

รอยสักจะขลังด้วยศีล ขอบคุณครับ :114:

47
ห้าแถวไม่เกี่ยวกับดวงตกหรอกครับ อย่าไปตามสื่อมากนัก ถ้าคิดว่าติดขัดก็แก้ด้วยการทำบุญแผ่เมตตานะครับ อันว่าสักอะไรก็แล้วแต่ถ้าไม่รู้จักทำบุญอุทิศให้ท่านทั้งหลายที่จองเวรเรามันก็ไม่มีประโยชน์อะไร

การเริ่มด้วยเก้ายอดถูกแล้วครับเป็นสูตรวัดบางพระ จริงๆแล้วที่ไหนๆก็เหมือนกันอาจารย์จะเริ่มจากด้านบนแผ่นหลังไล่ลงไปด้านล่างจนเต็ม แล้วส่วนอื่นๆค่อยว่ากัน จึงจำเป็นต้องขึ้นยันต์ที่มียอดไว้ที่ต้นคอก่อน

ขอให้มีความสุขนะครับ แล้วอย่าลืมไปสักเพิ่มต่อนะครับ :090:

48
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ตอบ: *-*
« เมื่อ: 08 ก.พ. 2552, 12:26:45 »
นมัสการหลวงพี่ครับ

49
ลงครั้งละเก้าแผ่นก็พอครับ เรื่อยๆไม่ต้องรีบ

50
หนุมานตัวที่เท่าไรจริงๆมันคือท่าทางๆแตกต่างกันมากกว่า แต่สายหลวงปู่แลแต่ละตัวมีพุทธคุณต่างกันครับ ยังไงหนุมานก็คงกระพันเป็นหลักครับ  :015:

51
คาถากำกับหนุมาน
หะนุมานะ นะโมพุทธายะ อิระชาคะตะระสา นะมะพะทะ มะอะอุ

คาถากำกับยันต์แม่ทัพ
กันหะเนหะ

คาถากำกับ 29 ยอด
นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ มะอะอุ
เตชาสุเนมะภูจะนาวิเวอิ(ฝั่งขวาไม่ชัวน์)

คาถากำกับ 9 ยอดด้านล่าง
มะอะอุ สิวัง พรหมมาจิตตัง

สวยครับรักษาไว้ดีดีนะครับ

52
คุณคนบางแวก ผมรู้นะว่าคุณเป็นใคร เปลี่ยนชื่อใหม่มันก็ไม่ได้มีไรดีขึ้นมาหรอก

54
ก็ตามที่คิดไว้ก็เหมาะสมแล้วครับ แต่แนะนำว่าถ้าเปิดหลังกับท่านใดแล้วควรตามให้จบครับ เพราะพระอาจารย์ท่านคงคิดล่วงหน้าไว้แล้วว่าจะวางภาพอย่างไรต่อถึงจะสวยงามครับ ขอให้สมหวังครับ

55


กฎไตรลักษณ์


.........อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง หมายความว่าสิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป ไม่มีความ

คงที่ตายตัว

.........ทุกขัง แปลว่าเป็นทุกข์ มีความหมายว่า สิ่งทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข ์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ

ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้นๆ

.........อนัตตา แปลว่าไม่ใช่ตัวตน หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความ

เป็นตัวเป็นตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่าเป็นตัวเราของเรา ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้ง

ชัดเจนถูกต้องแล้ว ความรู้สึกที่ว่า "ไม่มีตัวตน" จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เราหลงเห็นไปว่าเป็น

ตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง

.........ขอให้ทราบว่า ลักษณะสามัญ ๓ ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากกว่าคำสั่งสอนอื่นๆ

ในบรรดาคำสั่งสอนทั้งหลายจะนำมารวบยอดอยู่ที่การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ทั้งนั้น

บางทีก็กล่าวตรงๆ บางทีก็พูดด้วยโวหารอย่างอื่น แต่ใจความมุ่งแสดงความจริงอย่างเดียวกัน

เรื่องของความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งทั้งหลายนี้ เคยมีสอนกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้ขยาย

ความให้ลึกซึ้งถึงที่สุด ไม่ประกอบด้วยเหตุผล และไม่สามารถชี้ถึงวิธีดับทุกข์ที่สมบูรณ์จริงๆ ได้

เพราะยังไม่รู้จักความทุกข์อย่างเพียงพอเท่ากับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ส่วนเรื่องความไม่ใช่ตัว

ไม่ใช่ตนนี้ มีสอนแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่รู้จักว่าอะไรเป็น

อะไรถึงที่สุดเท่านั้น จึงจะรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน เหตุนั้นจึงมีสอนแต่

โดยพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้ว่า อะไรเป็นอะไรได้ถึงที่สุดจริงๆ

.........คำสอนเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้ มีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งมากมายหลายวิธีด้วยกัน ถ้าปฏิบัติ

จนเห็นแจ้งแล้ว เราจะพบว่ามีข้อสังเกตข้อหนึ่ง คือต้องการเห็นจนรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่ายึดถือ

ไม่มีอะไรที่อยากจะเอา จะมี จะเป็น ซึ่งสรุปสั้นๆ ว่า "ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น" เมื่อท่านมองเห็นว่า ความมีความเป็นอย่างใดก็ตามเป็นของหลอกลวง เป็นมายา ไม่น่าเอา

ไม่น่าเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ ดังนี้แล้ว นั่นแหละ คือการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างถูกต้อง

ส่วนคนที่ท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ทั้งเช้าทั้งเย็นหลายร้อยหลายพันครั้งมาแล้ว ไม่อาจเห็นก็ได้

เพราะไม่ใช่วิสัยที่จะเห็นได้ด้วยการฟัง หรือด้วยการท่องการคำนึงคำนวณเอาตามหลักเหตุผลนั้นไม่ใช่

"การเห็นแจ้ง" อย่างที่เรียกว่า "เห็นธรรม" การเห็นธรรมไม่อาจจะเห็นได้ด้วยการคิดไปตามเหตุผล แต่ต้องเห็นแจ้ง ด้วยความรู้สึกภายในที่แท้จริง เช่นพิจารณาเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำความเจ็บปวดให้แก่ตน

ที่เข้าไปหลงไหลอย่างสาสม อาศัยการที่ได้กระทบจริงๆ จนเกิดเป็นความรู้สึกแก่จิตใจขึ้นมาจริงๆ แล้วเกิด

ความเบื่อหน่าย เกิดความสลดสังเวชขึ้นมา อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเห็นธรรม หรือเห็นแจ้ง

......... การเห็นแจ้งทำนองนี้ อาจเลื่อนสูงขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงเรื่องสุดท้ายที่ทำให้ปล่อยวาง

สิ่งทั้งปวงได้ ส่วนผู้ที่ท่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาอยู่ทั้งวันทั้งคืน แต่ถ้าไม่เกิดความ

รู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง คือไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร ไม่อยากยึดถือในอะไรแล้ว

ก็เรียกว่ายังไม่เป็นอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงสรุปเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ความไม่ใช่ตัวตน

ลงไว้ที่คำว่า "เห็นจนเกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่น่าเอาหรือน่าเป็น"

......... พุทธศาสนามีคำอยู่คำหนึ่งเป็น คำรวบยอด คือคำว่า "สุญญตา" ซึ่งแปลว่า ความเป็นของว่าง

คือว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน ว่างจากสาระที่เราควรจะเข้าไปยึดถือด้วยกำลังใจ

ทั้งหมดทั้งสิ้นว่า ตัวเรา-ของเรา การเพ่งพิจารณาดูให้เห็นว่า สิ่งทั้งปวงว่างจากสาระที่ควรเข้าไป

ยึดถือนั้น เป็นตัวศาสนาโดยแท้ เป็นหัวใจของการปฏบัติตามหลักพุทธศาสนา เมื่อรู้แจ้งว่าทุกสิ่ง

ทุกอย่างว่างจากตัวตนแล้ว ก็เรียกว่ารู้พุทธศาสนาถึงที่สุด

......... คำว่า "ว่างจากตัวตน" คำเดียว เป็นการเพียงพอ ที่รวบเอาคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาไว้ด้วย

เสร็จ เมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีส่วนไหนยั่งยืนถาวร ก็เรียกได้ว่าว่างเหมือนกัน

เมื่อเต็มไปด้วยลักษณะที่ดูแล้วน่าสังเวชใจก็แปลว่า ว่างจากส่วนที่เราควรจะเข้าไปยึดถือเอา

เมื่อเราพิจารณาดูว่าไม่มีลักษณะไหนที่จะคงทนเป็นตัวตนของมันเองได้ เป็นเพียงธรรมชาติ

ที่ผันแปรไปตามกฎของธรรมชาติ อันไม่ควรเรียกว่าเป็นตัวตนของมันเอง ดังนี้ก็เรียกว่า "ว่างจากตัวตนได้"

ถ้าบุคคลใดเห็นความว่างของสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึก "ไม่น่าเอาไม่น่าเป็น" ในสิ่งต่างๆ

ขึ้นมาทันที ความรู้สึกไม่อยากเอา ไม่อยากเป็นนี่แหละ มีอำนาจเพียงพอที่จะคุ้มครองคนเรา

ไม่ให้ตกไปเป็นทาสของกิเลสหรือของอารมณ์ทุกชนิด บุคคลชนิดนี้ไม่สามารถทำความชั่วต่อไป

ไม่หลงใหลพัวพันติดอยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเอนเอียงไปตามสิ่งยั่วยวนใจใดๆ เขาย่อมมีจิตใจ

เป็นอิสระอยู่เสมอ และไม่มีความทุกข์เลย

......... ที่ว่า "ไม่มีอะไรน่าเอาน่าเป็น" นี้ เป็นสำนวนโวหารอยู่สักหน่อย คำว่า "เอา" และ "เป็น" ในที่นี้

หมายถึงการเอาหรือเป็นด้วยจิตใจที่หลงใหล ด้วยจิตใจที่ยึดถือ ด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ

มิได้หมายความว่า คนเราจะเป็นอยู่ได้โดยไม่มีอะไรไม่เป็นอะไรเสียเลย ตามปกติคนเราจะต้อง

เอาอะไร เป็นอะไรอยู่เป็นประจำ เช่นจะต้องมีทรัพย์สมบัติ มีบุตร ภรรยา เรือกสวนไร่นาจะต้อง

เป็นคนดี เป็นผู้แพ้ เป็นผู้ชนะ หรือเป็นผู้ถูกเอาเปรียบเป็นต้น จะต้องมีความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง

อยู่เสมอ แต่แล้วทำไมพุทธศาสนาจึงสอนให้เราพิจารณาในทางที่จะไม่เอาไม่เป็น

......... ข้อนี้หมายความว่า พุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นความ การเอาการเป็นนั้น เป็นเรื่องสมมติอย่างโลกๆ

อย่างหนึ่ง และเป็นไปด้วยอำนาจของความไม่รู้ (อวิชชา) นั่นเอง เพราะเมื่อพูดกันตามความจริง

ขั้นที่เด็ดขาดถึงที่สุด ซึ่งเรียกว่า ขั้นปรมัตถ์แล้ว คนเราจะเอาอะไร เป็นอะไรไม่ได้เลย เพราะเหตุใด?

เพราะเหตุว่าทั้งคนที่จะเอาและสิ่งที่จะถูกเอานั้นมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนด้วยกันทั้งนั้น

แต่คนที่ไม่รู้เช่นนั้น ย่อมจะต้องมีความรู้สึกว่า "เราเอา" "เรามี" "เราเป็น" เป็นธรรมดา นี่เป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้

.........ความรู้สึกว่าเอา ว่าเป็น นั่นเอง ได้ทำให้เกิดมีความหนักใจ หรือความทุกข์ขึ้นมา การเอา การเป็น

ก็เป็นความอยากอย่างหนึ่ง คืออยากไม่ให้สิ่งที่ตนกำลังเอา กำลังเป็นอยู่นั้นสูญหายหลุดลอยไป

ความทุกข์เกิดมาจากความอยากมี อยากเป็น อันรวมเรียกสั้นๆ ว่า ความอยาก ซึ่งเรียกโดยภาษา

บาลีว่า "ตัณหา"

......... การที่อยากก็เพราะไม่รู้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรอยาก มันเป็นความเข้าใจผิดติดตาม

มาตามสัญชาตญาณเกิดมาตั้งแต่เด็กๆ ก็รู้จักอยาก แล้วก็บังเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา

ซึ่งตรงตามที่อยากก็มี ไม่ตรงก็มี ถ้าได้ผลตรงตามที่อยาก ก็เกิดอยากให้มากขึ้นไปอีก ถ้าไม่ได้ผล

ตรงตามที่อยาก ก็ต้องดิ้นรนทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปจนกว่าจะได้ผลตรงตามที่อยาก เมื่อทำลงไป

มันก็ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง วนเวียนเป็นวงกลมของกิเลส-การกระทำ-ผล วิบากอยู่อย่างนี้ เรียกว่า "วัฏฏสงสาร"

......... คำว่าวัฏฏสงสาร นั้นอย่าเพ่อไปเข้าใจว่า เป็นเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ชาติโน้น ชาตินี้ ชาตินั้น

แต่อย่างเดียว ที่แท้จริงกว่านั้นเป็นเรื่องการวนเวียนของสิ่ง ๓ สิ่ง คือ ความอยาก-การกระทำตาม

ความอยาก-ผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้มาจากการกระทำนั้น-แล้วไม่สามารถหยุดความอยากได้

เลยต้องอยากอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป-แล้วก็กระทำอีก-ได้ผลมาอีก-เลยส่งเสริมความอยากอย่าง

ใดอย่างหนึ่งต่อไปอีก เป็นวงกลมอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ท่านเรียกว่า วัฏฏะ หรือ วัฏฏสงสาร

เพราะเป็นวงกลมที่เวียนวน ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้

......... คนเราต้องทนทุกข์ทรมาน ก็เพราะติดอยู่ในวงกลมนี้เอง ถ้าใครหลุดออกไปจากวงกลมนี้ได้

ก็เป็นอันว่าพ้นไปจากความทุกข์ทุกอย่างแน่นอน (นิพพาน)

......... ไม่ว่ากระยาจกเข็ญใจ เศรษฐี มหากษัตริย์ จักรพรรดิ เทวดา พรหม หรือจะเป็นอะไรก็ตามที ล้วน

แต่ตกอยู่ในวงกลมนี้ทั้งนั้น จะต้องมีความทุกข์ทรมานชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับความ

อยากของเขา ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ในวัฏฏสงสารนี้ เต็มไปด้วยความทรมานอันใหญ่หลวง

ศีลธรรมหรือจริยธรรมนั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาข้อนี้ได้เลย เราจึงต้องพึ่งตัวแท้ของพุทธศาสนา

ที่เป็นหลักธรรมชั้นสูง ให้แก้ไขในเรื่องนี้โดยเฉพาะทีเดียว ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า ความทุกข์นั้น

มาจากความอยาก สมดังที่พระพุทธเจ้าท่านจัดความอยากไว้ในเรื่องอริยสัจจ์ข้อที่สอง ในฐานะ

เป็นมูลเหตุให้เกิดความทุกข์ต่างๆ โดยตรง

......... ความอยากมีอยู่ ๓ อย่าง อย่างแรกเรียกว่า กามตัณหา อยากในสิ่งน่ารักใคร่พอใจ จะเป็นรูป

เสียงกลิ่น รส สัมผัส อะไรก็ได้ อย่างที่สองเรียกว่า ภวตัณหา คือความอยากเป็นอย่างนี้อย่างนั้น

ตามที่ตนอยากจะเป็น อย่างที่สามเรียกว่า วิภวตัณหา คือความอยากไม่ให้มีอย่างนั้น ไม่ให้เป็น

อย่างนี้ หลักเกณฑ์ข้อนี้กล้าท้าให้ใครๆ พิสูจน์หรือแย้งอย่างไรก็ได้ว่า ยังมีความอยากอะไรอีกบ้าง

นอกเหนือไปกว่า ๓ อย่าง ที่กล่าวมานี้

.........ท่านทั้งหลายจะมองเห็นว่า เมื่อมีความอยากที่ไหน ก็มีความร้อนใจที่นั่น และเมื่อต้องกระทำตาม

ความอยาก ก็ย่อมมีความทุกข์ตามส่วนของการกระทำ ได้ผลมาแล้วก็หยุดอยากไม่ได้ คงอยากต่อไป

ต้องมีความร้อนใจต่อไปอีก เพราะยังไม่เป็นอิสระจากความอยาก ยังต้องเป็นทาสของความอยาก

ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า คนชั่วทำชั่วเพราะอยากทำชั่ว มันก็มีความทุกข์ไปตามประสาคนชั่ว คนดี

อยากทำดีตามประสาของคนดี

........ แต่ข้อนี้ อย่าเพ่อเข้าใจว่าเป็นการสั่งสอนให้เลิกละจากการทำความดี เฉพาะในที่นี้ประสงค์จะชี้

ให้เห็นว่า ความทุกข์นั้นมีอยู่หลายระดับ ละเอียดจนคนธรรมเข้าใจไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยสติ

ปัญญาของบุคคลประเภทพระพุทธเจ้าซึ่งชึ้ให้เห็นว่า เราจะพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงด้วย

ลำพังเพียงการกระทำความดีอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่พอ ยังจะต้องทำบางสิ่งที่ยิ่งหรือเหนือไปจาก

การทำความดีซึ่งได้แก่ การทำจิตให้หลุดพ้นไจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของความอยากทุกชนิดนั่นเอง

นี่เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีทางแพ้ศาสนาใดๆในโลก อันไม่อาจเข้ามาเทียบ

สู้หรือเคียงคู่ได้ในส่วนนี้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องจำไว้ให้แม่นยำ

......... เราเอาชนะความอยากทั้ง ๓ อย่งที่กล่าวแล้วได้นั่นแหละ จึงจะเป็นความพ้นจากความทุกข์ หรือหมดความทุกข์โดยประการทั้งปวง

......... เราจะกำจัดหรือดับระงับหรือตัดรากเง่าของความอยากให้หมดจดสิ้นเชิงได้อย่างไร?

คำตอบก็คือว่าพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน จนมองเห็นว่าไม่มี

อะไรที่น่าอยากนั่นเอง มันมีอะไรบ้างที่น่าเอา น่าเป็น ซึ่งเมื่อเอาหรือเป็นเข้าแล้ว จะไม่โยนความทุกข์

ชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่ให้บุคคลนั้น? ขอให้ตั้งปัญหาถามขึ้นอย่างนี้ ได้อะไรหรือเป็นอะไรบ้าง ที่จะไม่

นำมาซึ่งความหนักอกหนักใจ

......... ขอให้ลองคิดดู การได้บุตรได้ภรรยานำเอาความเบากายเบาใจมาให้ หรือเอาภาระหลายอย่างมาให้?

การได้ตำแหน่งหน้าที่ เป็นการได้มาซึ่งความสงบเย็น หรือได้มาซึ่งภาระหนักโดยนัยนี้จะเห็นได้โดย

ง่ายว่า ล้วนแต่นำมาซึ่งภาระและหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่า สิ่งทั้ง

หลายทั้งปวงล้วนแต่เป็นภาระ เพราะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนของมันนั่นเอง เมื่อเราได้อะไรมา เราก็จะต้องจัดการกับสิ่งนั้นๆ ให้มันคงอยู่กับเรา ให้เป็นไปตามใจเราหรือมี

ประโยชน์แก่เรา แต่แล้วสิ่งนั้นๆ ตามปกติ มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เป็นตัวตนของใคร คือ

ไม่รู้ไม่ชี้ต่อความประสงค์มุ่งหมายของบุคคลใด มีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามวิสัยของมัน

เอง การพยายามของคนเราจึงเป็นการต่อสู้ หรือเป็นการต่อต้านกฎแห่งความเปลี่ยนแปลงของสิ่ง

เหล่านั้น ฉะนั้น จึงเกิดเป็นความยากลำบาก หรือเป็นความทนทรมานในการที่จะเป็นอยู่ หรือไปทำ

สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ให้เป็นไปตามความประสงค์ของเรา

......... อุบายซึ่งจะจัดการกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่ไม่น่าเอาไม่น่าเป็นนั้นมีอยู่ ข้อนี้ได้แก่การพิจารณาให้

ลึกซึ้งจนพบความจริงว่าเมื่อยังมีกิเลสตัณหา ความรู้สึกในการเอา การเป็นนั้น ย่อมมีลักษณะ

ไปอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีกิเลสตัณหา มีแต่ปัญญาที่รู้จักสิ่งต่างๆ ถูกต้องดีว่า อะไรเป็นอะไรแล้วความรู้สึก

ในการเอา การเป็น หรือการได้ของบุคคลนั้นย่อมอยู่ในลักษณะอีกแบบหนึ่ง

......... ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การกินอาหาร ถ้ากินด้วยตัณหา หรือด้วยความอยากในความเอร็ดอร่อย

การกินอาหารของผู้นั้น ต้องมีอาการต่างจากบุคคลที่ไม่กินอาหารด้วยตัณหา แต่กินด้วยสติ

สัมปชัญญะหรือมีปัญญารู้ว่าอะไรเป็นอะไร นี้ก็เป็นคนด้วยกัน แต่คนหนึ่งกินด้วยตัณหา อีกคน

หนึ่งกินด้วยความรู้สึกตัวด้วยสติปัญญา การกินจะต้องผิดกัน กิริยาอาการที่กินและความรู้สึก

ในขณะกิน ก็จะต้องผิดกัน และในที่สุดผลอันเกิดจากการกินก็จะต้องผิดกัน

......... เราต้องทำความเข้าใจกันในข้อที่ว่า แม้จะไม่ต้องมีตัณหาหรือความอยากในรสอร่อย คนเราก็กิน

อาหารได้ พระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีกิเลสตัณหาเลย ก็ยังทำอะไรๆ ได้

เป็นอะไรๆ ได้ ยังทำงานมากกว่าพวกเรา ที่ทำด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา ท่านทำด้วยอำนาจ

ของอะไร? ท่านทำเหมือนกับพวกเรา ที่ทำด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา อยากเป็นนั่นเป็นนี่หรือ

คำตอบก็คือ ท่านทำด้วยอำนาจของปัญญา คือความรู้ที่แจ่มแจ้งถึงที่สุดว่า อะไรเป็นอะไร

ผิดแปลกแตกต่างจากพวกเราซึ่งทำอะไรๆ ด้วยตัณหา ผลที่เกิดขึ้นนั้นคือ พวกเราต้องเป็นทุกข์

กันแทบตลอดเวลา แต่ส่วนท่านไม่มีความทุกข์เลย ท่านไม่อยากได้อะไร ไม่อยากเอาอะไร ผลจึง

ไปได้แก่คนทั้งหลายเหล่าอื่น ด้วยความเมตตาของท่านเอง ท่านมีปัญญาเป็นเครื่องบอกว่า สิ่งที่

ควรจะทำแทนที่จะอยู่เฉยๆ ฉะนั้นท่านจึงทำการสืบอายุพระศาสนามาจนถึงพวกเราได้ และทั้งได้

ทำประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย

......... ร่างกายและจิตใจที่ปราศจากกิเลสตัณหา ก็แสวงหาและบริโภคอาหารได้ด้วยปัญญา ไม่แสวงและ

บริโภคด้วยกิเลสตัณหาเหมือนแต่ก่อน เมื่อเราหวังจะเป็นผู้พ้นทุกข์ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า

หรือของพระอรหันต์ทั้งหลายเราก็ควรฝึกฝนตัว ในการที่จะทำอะไรลงไปด้วยปัญญา อย่าทำไปด้วย

อำนาจกิเลสตัณหา ถ้าเป็นคนศึกษาเล่าเรียนก็ศึกษา ไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีว่ามันเป็นการ

สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา ถ้าประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำไปด้วยความรู้สึก

ผิดชอบชั่วดี ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำและทำให้ดีที่สุด ด้วยความเยือกเย็นเท่าที่สติปัญญา

จะอำนวยให้

......... ถ้าทำไปด้วยตัณหา มันจะร้อนใจเมื่อกำลังทำ และร้อนใจเมื่อทำเสร็จแล้ว แต่ถ้าทำด้วยอำนาจ

ของปัญญาควบคุมอยู่ จะไม่ร้อนใจเลย ผลแตกต่างกันอย่างนี้ ฉะนั้นเราจำเป็ฯต้องรู้อยู่เสมอว่า

สิ่งทั้งหลายโดยแท้จริงแล้วเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็ฯ จะเข้าไปเกี่ยวข้อง

ก็เข้าไปด้วยปัญญา การกระทำของเราก็จักไม่ตกหล่มของกิเลสตัณหา

......... การทำด้วยสติปัญญา จะไม่มีความทุกข์ตั้งแต่เบื้องต้นจนปลาย จิตใจจะไม่มีความหลงยึดถือ

อย่างหลับหูหลับตาว่าเป็นของน่าเอา น่าเป็น ทำไปด้วยจิตว่าง ปล่อยให้เป็นไปตามขนบ

ธรรมเนียมประเพณีหรือตามกฏหมาย ยกตัวอย่างเช่น เรามีที่ดินเป็นทรัพย์สมบัติอยู่ เราไม่จำเป็น

ต้องมีความรู้สึกที่เป็นตัณหาไปยึดถือในสิ่งนั้น จนถึงกับหนักอกหนักใจแผดเผาหัวใจ กฎหมายยังคง

คุ้มครองที่ดินผืนนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเราอยู่นั่นเอง เราไม่ต้องทุกข์ร้อนวิตกกังวลมันก็ไม่หลุด

มือหายไปไหน

......... แม้ว่าจะมีใครมาแย่งชิงก็ยังคงทำการต้านทานป้องกันได้ด้วยสติปัญญา ไม่ต้องต้านทานด้วย

กิเลสตัณหาให้เร่าร้อนด้วยไฟคือโทสะ เราอาศัยอำนาจกฎหมายทำการต้านทานได้โดยไม่ต้อง

มีความทุกข์ เราก็ยังคงรักษาคุ้มครองเอาไว้ได้ แต่ถ้าหากว่ามันจะหลุดมือไปจริงๆ เราจะมีกิเลส

ตัณหาหรือไม่มีก็ตาม มันก็ช่วยไม่ได้ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ คิดเสีย

ดังนี้เราก็ไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร แม้"การเป็น" ก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปยึดถือในการได้เป็นนั่นเป็นนี่ เพราะโดยที่แท้แล้ว ไม่มีอะไรที่น่าสนุกเลยล้วนแต่นำมาซึ่งความทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งนั้น

......... อุบายง่ายๆ ที่เราจะต้องพิจารณา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนา หรือเป็นการปฏิบัติธรรมโดยตรงก็คือ

พิจารณาให้เห็นว่า ไม่มีอะไรที่น่าเป็น หรือไม่มีการเป็นอะไรที่น่าสนุกเลย ท่านทั้งหลายลองตั้ง

ปัญหาสำหรับพิจารณาในข้อนี้ว่าการเป็นอะไรบ้างที่น่าสนุก? เช่น เป็นบุตร เป็นบิดา มารดา

เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นนายเขา เป็นบ่าวเขา สนุกไหม? เป็นมนุษย์สนุกไหม? กระทั่งว่าเป็นพรหม

สนุกไหม?

......... ถ้าท่านมีความรู้ว่า อะไรเป็นอะไรอย่างแท้จริงแล้วทุกอย่างล้วนแต่ไม่มีอะไรที่น่าสนุกเลย

เราต้องทนทำ ทนเป็น ทนเอา ทนอยู่ โดยไม่รู้สึกตัว แล้วทำไมเราจะต้องไปมอบกายถวายชีวิต

หลงใหลเอา หลงใหลเป็น หรือทำไปด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา? เราควรจะมีความรู้ที่ถูกต้อง

ในสิ่งเหล่านี้ แล้วมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ในอาการที่จะให้เป็นทุกข์

น้อยที่สุด หรือไม่ให้เป็นทุกข์เสียเลยยิ่งดี

......... อีกประการหนึ่ง เราจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่อยู่ร่วมกันในโลก จะเป็นมิตรสหาย แม้ที่สุดบุตร

ภรรยาผู้ใกล้ชิดสนิทสนม ว่าสิ่งทั้งปวงมันเป็นอย่างนี้ ให้เขามีความเข้าใจที่ถูกต้องเหมือนกับเรา

แล้วก็จะไม่มีอะไรขัดขวางกันในครอบครัว ในบ้านเมืองตลอดถึงในโลก ต่างคนต่างมีจิตใจที่ไม่

ยึดมั่นหลงใหลในสิ่งใดๆ หรือในกันและกัน ด้วยอำนาจกิเลสตัณหา แต่ว่าคงมีชีวิตเป็นอยู่ด้วย

อำนาจของปัญญา โดยมองเห็นชัดอยู่เสมอว่า ไม่มีอะไรที่จะยึดถืออย่างจริงจังได้

......... ขอให้ทุกคนมีความรู้สึกว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นตัวตนอย่างแท้จริง ไม่

น่าหลงด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งสิ้น ควรยับยั้งด้วยปัญญาเรียกว่าเป็นผู้รู้ด้วยปัญญา มีความเห็นถูกต้อง

ตามคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา จึงสมควรเรียกว่าเป็นพุทธบริษัทอย่างแท้จริง แม้จะไม่เคยบวช

ไม่เคยรับศีล แต่ก็เป็นบุคคลที่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแท้จริง

เขามีจิตใจอย่างเดียวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือมีความสะอาด สว่าง สงบในจิตใจ

เพราะเหตุที่ไม่ยึดถือในสิ่งใด ว่าน่าเอา หรือน่าเป็นนั่นเอง เขาจึงเป็นพุทธบริษัทขึ้นมาได้โดย

สมบูรณ์ อย่างง่ายดายและอย่างแท้จริง ด้วยอาศัยอุบายที่ถูกต้อง ที่พิจารณามองเห็นความไม่

เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่ใช่ตัวตน ของตัวของตน จนเกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ น่าเอา

น่าเป็นสักอย่างเดียว

......... ความชั่วเป็นชั้นที่ทรมานที่สุด ก็มาจากความอยากเอา อยากเป็น ด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา

ความชั่วที่เบาขึ้นมาก็ทำกันด้วยอำนาจของความรู้สึกที่เบา ด้วยกิเลสตัณหา ความดีทั้งปวงก็ทำกัน

ด้วยตัณหา ชนิดที่ดี ที่ประณีตละเอียดสูงขึ้นไป เป็นความอยากเอา อย่างเป็นในชั้นดี แม้ความดี

ถึงที่สุดก็ทำด้วยตัณหา ที่ประณีตละเอียดที่สุด จนคนไม่ถือว่าเป็นความชั่วเลย แต่แล้วก็ยังไม่พ้น

จากความทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่พ้นทุกข์ถึงที่สุด กล่าวคือพระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่หมด

จากการกระทำด้วยอำนาจของตัณหา กลายเป็นบุคคลที่ทำชั่วทำดีไม่ได้ ทำได้แต่สิ่งที่เหนือไป

กว่าความชั่วและความดี คือมีใจเป็นอิสระอยู่เหนือการครอบงำในค่าของความชั่วและความดี

ท่านจึงไม่มีความทุกข์เลย

......... หลักของพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างนี้ เราจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม ปรารถนาหรือไม่ปรารถนาก็ตาม

แนวของความพ้นทุกข์ย่อมมีอยู่อย่างนี้ วันนี้ยังไม่ปรารถนา วันหน้าก็จะต้องปรารถนา เพราะว่าเมื่อ

ได้ละความชั่วเสร็จแล้วความดีก็ทำได้เต็มเปี่ยม แต่จิตยังหม่นหมอง ด้วยตัณหาชั้นประณีต

บางประการอยู่ และก็ไม่รู้จักจะดับด้วยวิธีใด นอกจากพยายามอยู่เหนืออำนาจตัณหา คืออยู่เหนือ

การที่จะไปอยากได้ อยากเป็นทั้งในสิ่งที่ชั่ว หรือสิ่งที่ดีก็ตาม ต้องไม่มีความอยากโดยสิ้นเชิง จึงจะ

พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ (นิพพาน)

......... สรุปความว่า การรู้ว่า อะไรเป็นอะไรถึงที่สุดนั้น คือรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

ของตน เมื่อรู้โดยแท้จริงแล้ว ก็จะเกิดความรู้ชนิดที่จิตใจจะไม่อยากเป็นอะไรด้วยความยึดถือ

แต่ถ้าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใดๆ ที่เรียกกันว่า "ความมี- ความเป็น" บ้าง ก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

สติสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจของปัญญา ไม่เกี่ยวข้องด้วยอำนาจของตัณหา เพราะฉะนั้น จึงไม่มี

ความทุกข์เลย

(ที่มา : ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ)




56
พอดีเคยอ่านเจอมาว่าถ้าจะขลังผู้ที่สักกับผู้ที่เสกต้องเป็นคนเดียวกัน คือเวลาที่ลงเข็มแต่ละครั้งก็ต้องว่าคาถาไปด้วยอะไรทำนองนี้น่ะครับ เลยงง งง  :075:

ตามสูตรการลงยันต์โบราณเขาก็ว่าไว้อย่าที่คุณเข้าใจหล่ะครับ แต่ปัจจุบันเห็นหลายๆที่ตอนลงภาพลงยันต์อาจารย์ก็คุยกับลูกศิษย์เป็นปกติ จะกำหนดสมาธิเฉพาะตอนเสกครับ อันนี้ไม่ได้ปรามาทครูนะครับท่านอาจจะภาวนาไว้แล้วในใจขณะที่กำลังลงลายเส้นเลขยันต์ อยากทราบลองถามพระอาจารย์ด้วยความเคารพสิครับว่าทำแบบที่คุณเข้าใจมาหรือไม่

สวนผมไม่กล้าถามครับเพราะก่อนจะยกหลังให้ครูผมเชื่อมั่นแล้วว่าต้องดีไม่ว่าท่านจะทำอย่างไร พระอาจารย์ท่านหนึ่งสอนว่าก่อนจะยกหลังหรือฝากตัวเป็นศิษย์กับใครให้ไปรู้จักท่านก่อนไปพูดคุยไปดูปฏิปทาท่านก่อน อาจจะใช้คำไม่ถูกแต่ในความเข้าใจคือไปดูว่าท่านเป็นคนอย่างไรรู้ธรรมะมากแค่ไหนท่านสักท่านเสกให้เราท่านหวังอะไรหรือท่านแฝงคำสอนอะไรไว้ เพราะสมัยนี้สื่อมันปรุงแต่งให้คนหลงได้ง่าย หลวงพี่บอกว่าเป็นครูบาอาจารย์ ไปสักให้เขาเขาเจ็บเป็นกรรมนะ เราน่ะดีแค่ไหน ไปทำเขาเจ็บฟรีแต่ก็เอาตัวไม่รอด หมายถึงว่าถ้าพระอาจารย์ยังไม่เข้าใจธรรมะพอ ไม่มีจิตระลึกถึงนิพพานเป็นที่ตั้งสักไปก็เท่านั้นไม่มีความหมายไปทำคนเขาเจ็บฟรี ผมพูดกว้างๆนะไม่ได้จะให้ไปจับผิดพระอาจารย์กัน แต่ให้ใช้ปัญญาพิจาณาว่าท่านใดเป็นพระสุปฏิปันโนแล้วก็ยกหลังให้ท่านได้เลยและลบความสงสัยเรื่องปลุกเสกเลขยันต์ออกเสียนะครับ

ยึดมั่นไตรลักษณ์ ภาวนาพุทโธ แล้วจะเห็นเองครับ

57
แหล่มเลย รู้ได้ไงว่าผมเครียดอยู่ อิอิ  :004:

ตอนนี้วงการพระเงียบแต่วัดเราไม่เงียบเลยนะครับ ทุกวันนี้ผมก็เข้ามาอ่านเว็บบางพระที่เดียว กระทู้เดินดี ไม่ยึดติดเท่าไร เว็บหลวงพ่ออื่นมีแต่พวกลูกศิษย์ที่ยังยึดเอาพระเครื่องเป็นสาระ น่าจะหาเวลาไปสนธนาธรรมกับหลวงพ่อหลวงพี่บ้าง แต่ก็นานาจิตตัง ใจเขาใจเราครับ จริตไม่เหมือนกัน

ขอบคุณอีกครั้งครับ มีอีกโฟสอีกนะ :015:

58
ใครเป่าก็เหมือนกันครับ เพราะเรายกพานแล้วก็เป็นการเชิญครูใหญ่เชิญเทวดามาประสิทธิให้อยู่แล้วครับ ขลังด้วยแรงครูครับ อย่างที่หลวงพี่ตูนพูดบ่อยๆว่า ผมอะไม่เก่งหรอก แต่ครูผมเก่ง

59
เป็นบทความที่ดีครับ

แต่สำหรับผมการประกอบให้จิตละเอียดเกิดปิติคงต่างออกไป เพราะผมไม่ชอบเปิดเพลงฟังครับ สงสัยส่วนตัวไม่ชอบให้ใครมาพูดมาบ่นมั้งครับ ชอบคิดเองทำเองมากกว่า แต่บางขณะจิตถ้าเพื่อนร่วมงานเปิดพอได้ยินผมก็ผ่อนคลายดีแต่อันที่จะไปหามาเปิดเองคงไม่ใช่นิสัยเท่าไร

ผมชอบอยู่เงียบๆ วิเวกๆ เจริญสมาธิอันนี้รู้สึกสุขกว่าครับ

60
ยินดีรู้จักครับ ลูกพระจอมเหมือนกัน ผมลุกพระจอมสวนส้มครับ :090:

61
ถ้าครูไม่ห้ามก็ไม่เสื่อมครับ ของพรรณนี้มันอยู่ที่ใจ ผมจะบอกเมียเสมอว่าเห็นไหมพี่สักองค์พระมานะ นั่นหมายถึงพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า ไหนจะอักขระอีกนั่นมีบทสรรเสริญพระพุทธคุณอยู่ น้องจะมาข้ามมาขี่มันสมควรหรือ อย่างน้อยพี่เป็นสามีต้องให้เกียรติกันบ้างจะมาข้ามมาขี่มันไม่ควรด้วยประการทั้งปวง

เรื่องประจำเดือนก็เหมือนกันผมว่ามันอยู่ที่ตัวเรามากกว่าเราทำดีแค่ไหนถ้าเราถือดีแล้ว ไหว้พระสวดมนต์หมั่นทำบุญ ไม่ผิดครูลบหลู่บิดามารดา ไม่เป็นไรหรอกครับ อาจารย์ผมพูดเสมอทองยังไงก็เป็นทอง

สักแล้วให้ใจแน่วแน่ ศรัทธาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้มั่น นั่งสมาธิให้เกิดปิติ(ปฐมญาณก็ยังดี) ภาวนาพุทโธไว้ตลอดเวลา เดียวดีเองรับรอง

แล้วที่บอกว่า ให้ภาวนา พุทโธ ไว้ตลอดเวลา หมายถึง ตอนที่เราทำสมาธิรึเปล่าหรือว่าเวลา...........
งง ไม่เข้าใจ ไม่ได้ลบหลู่นะ แต่ว่าถ้าภาวนาตอนนั้น ตามที่ท่านอชิตะได้กล่าวไว้ จะเกี่ยวกันยังไงล่ะ
อ๋อ! รู้แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องให้เกิดสมาธิ ถึงจะสำเร็จใช่ป่าว?


ทั้งหมดนี่นะ ไม่ได้คิดอกุศล หรือ คิดทะลึ่งแต่อย่างใด แต่อยากทราบถึงการปฎิบัติมากกว่า  :054:   17;

พี่ท่านคงหมายถึงให้นั่งสมาธิ บ่อยๆ นะครับ จิตเป็นกุศล บารมีคุณครูบาอาจารย์รักษาคุ้มครอง

ส่วนเวลาทำกิจกรรมเข้าจังหวะ  ก็แล้วแต่ความสามารถครับ อย่าออกเสียงภาวนาดังๆละกัน  เด๋วอีกคนที่ซ้อมกิจกรรมเข้าจังหวะจะเสียฟิลหมด

ไล่ไปสวดมนต์ที่ห้องพระซะก่อนจบเพลงยุทธ์   :027:

ตามนั้นครับ


พอดีหลวงพี่สอนว่าการถือของก็ให้เราปฏิบัติธรรมปฏิบัติดีครับ เมื่อเราทำดีแล้วของก็ไม่มีวันเสื่อมครับ การภาวนาพุทโธ หลายคนอาจเข้าใจว่าทำได้เฉพาะตอนนั่งสมาธิ แต่ตามหลักกรรมฐานไม่ใช่ครับเราสามารถทำได้ตลอดโดยที่ไม่เกี่ยวกับคาบการหายใจเช่น เข้าพุทธ ออกโธ อันนี้เรากำหนดได้ฉพาะตอนนั่งสมาธิเท่านั่น แต่การกำหนดทุกอริยาบทคือให้เราว่าพุทโธ หรือน้อยที่สุดให้นึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจทุกอริยาบท กินเดินนั่งนอน หรือพูดอีกอย่างคือการรู้ตัวมีสติตลอดโดยเอาองค์ภาวนาพุทโธเป็นปัจจัย โดยไม่ต้องสนใจว่าเราจะหายใจกี่ทีว่าพุท หายใจกี่ทีว่าโธ ให้พยายามนึกพยามภาวนา เพราะไอ้การกำหนดลมหายใจพร้อมว่าเข้าพุทธ ออกโธ ตลอดเวลาการทำงาน หลวงพี่ก็บอกว่าไม่มีใครทำได้หรอกครับ ทำงานก็ทำไปเรียนก็เรียนไปให้เรามีสติให้เรารู้ตัวด้วยสติว่าเราทำอะไรอยู่ถ้านึกว่าพุทโธได้ก็ว่าไปสูบบุหรี่ก็ว่าพุทโธในใจไป ไม่ต้องเกร็งว่ามากว่าน้อย ทำไปเรื่อยๆ หลวงพี่บอกอึอยู่ สังวาสอยู่ก็ทำได้ไม่บาปครับ พระอาจารย์กรรมฐานบางรูปก็เรียกว่าการกำหนดรู้อารมณ์ครับ ถ้าเราทำได้เราจะรู้ว่า มีกิเลสมีอารมณ์สุขทุกข์เข้ามาตลอด เมื่อเรารู้อารมณ์เหล่านั้นแล้วก็ให้เราพิจารณาว่ามันเป็นสิ่งไม่เที่ยงแค่การรับรู้โดยจิตซึ่งไม่ละเอียด แล้วสิ่งเหล่านั้นก็จะตกไปเอง เราก็จะเกิดปิติครับ

62
ถ้าครูไม่ห้ามก็ไม่เสื่อมครับ ของพรรณนี้มันอยู่ที่ใจ ผมจะบอกเมียเสมอว่าเห็นไหมพี่สักองค์พระมานะ นั่นหมายถึงพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า ไหนจะอักขระอีกนั่นมีบทสรรเสริญพระพุทธคุณอยู่ น้องจะมาข้ามมาขี่มันสมควรหรือ อย่างน้อยพี่เป็นสามีต้องให้เกียรติกันบ้างจะมาข้ามมาขี่มันไม่ควรด้วยประการทั้งปวง

เรื่องประจำเดือนก็เหมือนกันผมว่ามันอยู่ที่ตัวเรามากกว่าเราทำดีแค่ไหนถ้าเราถือดีแล้ว ไหว้พระสวดมนต์หมั่นทำบุญ ไม่ผิดครูลบหลู่บิดามารดา ไม่เป็นไรหรอกครับ อาจารย์ผมพูดเสมอทองยังไงก็เป็นทอง

สักแล้วให้ใจแน่วแน่ ศรัทธาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้มั่น นั่งสมาธิให้เกิดปิติ(ปฐมญาณก็ยังดี) ภาวนาพุทโธไว้ตลอดเวลา เดียวดีเองรับรอง

63
ตะกรุดท่านดีจริงครับ เป็นการสอนทางอ้อมให้ลูกศิษย์นั่งสมาธิครับ ผมไปฝั่งมาก่อนปีใหม่ แรกๆท่องยังไงก็ไม่วิ่ง แต่พอได้ไปคุยกับพระอาจารย์ท่านหนึ่งที่เก่งเรื่องตะกรุดทองเหมือนกัน เลยทำให้ตาสว่างว่าเราฝั่งทำไม เราจะท่องคาถาเรียกทำไม ท่านก็สอนเคล็ดลับให้ เหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นเลยนะครับ นั่นคือความว่างเปล่า (ไม่หวังให้มันเกิดจนเกินควรและไม่หวังเลยก็ไม่เกิด) ให้เราเจริญศีล ทำสมาธิ ปัญญาก็จะเกิดเอง และให้เชื่อมันในไตรลักษณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ระลึกถึงพุทโธ ตลอดเวลา (กิน เดิน นั่ง นอน) แล้วปาฏิหารย์ก็เกิดของมันเองครับ ตระกรุดหลวงพ่อออดวิ่งครับ วิ่งทั้งวันเลย อันที่จริงผมว่ามันวิ่งทั้งวันนะ แต่เราไม่มีสมาธิที่จะรับรู้เองมากกว่า

สรุปตะกรุดเป็นเครื่องมือเตือนให้เราระลึกถึงพุทโธทุกขณะจิตครับ แค่จิตเป็นสมาธิก็เห็นเองครับ

64
เห็นได้เป็นบางคนครับ ด้วยสาเหตุอะไรก็ไม่ทราบครับ ส่วนของผมไม่เห็นครับ

65
ขลัง + ขึ้น เหมือนกันทุกอย่าง ฟันธง

66
อิติสุกะ

อิติมะอะ

นะโมพุทธายะ

โนกัชนามะหาติสะหะ

67
ใจเย็นๆครับ ต้องหัดทำหูทวนลม ปล่อยวาง ทุกอย่างไม่เที่ยง อันคำที่เข้าพูดนั่งปรุงแต่งมาจากจิตที่ไม่ละเอียดไปบังคับธาตุ  :050:ทั้งสี่ที่ประกอบเป็นปากเขา พอตายไปธาตุทั้งสี่ก็กลับสู่สภาพเดิม นั่นคือสิ่งที่เขาพูดนั่นปากนั่นก็ไม่ใช่ของเขาไม่ใช่ของเรา อย่าเอามาใส่ใจครับ นั่งกรรมฐานเยอะๆ จิตเราจะละเอียดแต่แกร่งดังหิน พอมีกิเลส โมหะ โทสะ เข้ามากระทบก็จะร่วงตกลงไปเอง นะครับ

68
มะอะอุ
อิติพุทโธ
จะภะกะสะ
นาสังสิโม
อิทะคะมะ
นะมะพะทะ

69
ไม่ควรสักครับ เดี๋ยวแฟนกลัว อิอิ

จริงๆแล้วผู้หญิงไม่ต้องสักพวกคงกระพัน มหาอำนาจหรอกครับ เอาเมตตาล้วนๆดีกว่าครับจะได้เนื้อหอม

ประกอบอาราธนาพระให้คุ้มครองแคล้วคลาดเป็นหลักก็พอแล้วครับ เพราะแคล้วคลาดก็คือไม่เจอเรื่องร้ายเลย อีกอย่างหนังเหนียวอะเวลาโดนมันเจ็บนะครับ ยกเว้นวิชาชาตรีที่ตีไม่เจ็บแต่หาอาจารย์ทีสักได้ยากอย่างแรงครับ

70
เท่าที่เคยเจอมาถ้าร่างพ่อแก่ขึ้น ก็คือร่างกายเกิดปฏิหารย์ของพ่อแก่คือเป็นคนแก่หลังค่อมพูดเสียงเป็นคนแก่ตัวสั่นเสียงสั่น แต่คิดว่าไม่มีองค์พ่อแก่มาแฝงร่างหรอกครับ คนที่จะทรงพ่อแก่ได้อาจจะสักมาแต่ต้องมีการรับขันธ์ก่อนถึงจะประทับได้เต็มร่าง เคยเจอคนที่องค์พ่อแก่ลงแต่ยังไม่ได้รับขันธ์พ่อแก่จะแฝงกายตลอดพูดเหมือนกันแต่ฟังไม่รู้เรื่อง มีเรอ มีสำลักบ้างนิดหน่อย แต่ถ้ารับขันธ์แล้วจะไม่มีอาการแฝงกาย พ่อแก่จะมาประทับเมื่อเราว่าคาถาเชิญเท่านั้น

ส่วนเรื่องของขึ้นมั่วหรือป่าวนั้นไม่สามารถบอกได้เพราะของอย่างนี้เป็นของที่รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น บางคนไม่เคยขึ้นก็ว่าคนที่ขึ้นมั่ว อันนี้ให้เราวางใจเป็นกลางครับ เฉยๆไว้แล้วจะดีเอง ถ้าคนที่เขาขึ้นไม่ได้สร้างความวุ่นวายก็ปล่อยเขาไปพอเหนื่อยเดี๋ยวก็ลงเอง ผมไม่เคยเห็นใครของขึ้นเป็นวันๆ สักที

71
กราบนมัสการพระอาจารย์อภิญญาครับ

72
ผมเคยไปฝากเนื้อฝากตัวแล้วฝั่งตะกรุดมา 3 ดอกครับ ไปเร็วกลับเร็วไม่มีไรมาก นับถือท่านครับไว้ว่างๆจะไปอีก

73
มีโอกาสจะไปครับ

74
คาถาอาคม / ตอบ: คาถาปลุกผีลุก
« เมื่อ: 19 ธ.ค. 2551, 09:39:38 »
เวลาทำให้หุงข้าวปากหม้อ ไข่ต้ม ขันธ์5 หากร่างกุมารเล็กมาเป็นตัวแทน ใช้เรียกเสกกุมารทองได้ครับ ก็เรียกผีเด็กเร่ร่อนครับ เคยเรียนมาแต่ทำไม่สำเร็จครับ

นามะนัง สะมาโส ยุตตะโถ ยุตตะถะ เอหิ นามะทั้งหลาย พระอาจาริยเจ้าพึงหมายให้ชื่อว่า ......... เอหินามะถิเนถาเน นามะวิกรึงคะเร
(ใช้เรียกชื่อ-ตั้งชื่อ)

เรียกอาการ 32 ด้วย เกสา โลมา นักขา ทันตา ........... มัถถะลุงคันติ ในบทสวดมนต์พระมีครับ

เบิกเนตรด้วย สะหัสสะเนตรโตเทวินโทวิโสทายิอิกะวิติพุทธะสังมิโลกะวิทู (อาจจะไม่ถูกต้องนักแต่ในหนังสือสวดมนต์พระมีครับ)

แล้วเสกด้วย คาถาที่เจ้าของกระทู้ให้ครับ

ก่อนทำก็ว่า นะโม ไตรสรณะคม อิติปิโส ชุมนุมเทวดา แล้วเรียกชื่อได้เลย

เวลาปล่อยจากร่าง นะหลุดโมเลื่อนพุทเคลื่อนธาคลอนยะหลุดโมถอน ถอนด้วยนะโมพุทธายะ
เวลาผูกร่าง นะผูกโมมัดพุทรัดธากรึงยะขังขึง กรึงด้วยนะโมพุทธายะ
เวลาเรียกมาฟังคำสั่ง จำคาถาไม่ได้แล้วครับ ขออภัย

แชร์ความรู้กันครับสนุกๆไม่ต้องคิดมาก

75
ชื่อปีโป้ครับ อยากได้ครับ แต่ไม่รู้จะว่างได้ไปเอาป่าว

76
ของผมสักหมึกแดงไม่ค่อยติด อาจารย์เลยสักหมึกดำทับไป อาจารย์เดียวกันไม่เป็นไรครับ

77
ขออภัยเจ้าบ้านนะครับ ลองอัพรูปดู ขอบคุณครับ

78
ขอบคุณครับ

79
แก้ได้ครับ ทำพิธีขอขมา หรือให้อาจารย์ที่สักประสิทธิให้ใหม่ หรือไปครอบวันไหว้ครูก็ถือว่าเป็นการขอขมาสิ่งที่เราล่วงเกินครูบาอาจารย์ แล้วทุกอย่างก็จะดีเองครับ ผมยังเชื่อว่าถ้าคนที่ถือศีลห้าเป็นนิต ผิดครูเรื่องเล็กๆน้อยๆไม่เสื่อมครับ ถึงเสื่อมก็ประสิทธิใหม่ได้ เพราะลายสักมันก็เหมือนผ้ายันต์มันไม่ได้ขลังที่อักขระหรือลายหมึกบนตัว มันขลังที่คนประสิทธิ ถ้าคิดว่าเสื่อมก็ประสิทธิใหม่ แต่ไม่ใช่ว่าจะมาทำกันเล่นๆบ่อยๆได้ เฉพาะที่เราไม่ตั้งใจผิดครูน่ะครับ เหมือนพระมีอาบัติเล็ก อาบัติใหญ่ อาบัติเล็กก็ปลงได้ อาปัตติโย อะปัณโณตา ปะติเดเสมิ ครับ

80
อยากได้สักตัว

81
แฟนพันธุ์แท้ อยากทราบว่ารุ่นปีสุดท้าย พ.ศ. อะไรที่ทันหลวงพ่อปลุกเสกครับ

83
นะโม 3 จบ
อมพระยาเสือโคร่ง โตหลายเสือ อมเสือเหลืองโตหลาย จ้ำลอดเสือแก่เทอมาลาย สอดตาแสงให้กูแฮงอย่างกับซ้างพรายสาร ให้กูหารดังซ้างพังซ้างพราย เมือกูอวยหน้าต่อให้ได้แสนเมือง เมื่อกูมองให้ได้เกิ้งก้อนเมือง เมื่อกูปากฮ้องเสียกูก้องธรณี เสียงกูมีอำนาจไป ผาบแผ้ฝูงหมู่มาลา สวาะหับ

*เป็นสำเนียงอีสานน่ะครับ ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันว่าแปลเป็นภาษากลางว่าไงบ้าง*

84
นะโม 3 จบ
อิเมกะริสสะเต อิเมกะริสสะตัง นะมะอะอุ หงษ์ทองทั้งคู่ตัวหนึ่งอยู่อีกตัวไป พุทปะนะโกสา
อิเมกะริสสะเต อิเมกะริสสะตัง นะมะอะอุ หงษ์ทองทั้งคู่ตัวหนึ่งอยู่อีกตัวไป โธปะนะโสกา

85
นะมะพะทะ

ใช้หนุนธาตุทั้ง 4 ก็ครอบคลุมแล้วครับ

86
นะโม 3 จบ
หนุมานะ นะมะอะอุ ยะตะมะอะ นะมะพะทะ

หรือ

นะโม 3 จบ
นะนามะ พะหนุโลมาคงคง ทันตาพะหนุคงคง ตะโจพะหนุคงคง นะหารูพะหนุคงคง อัฐถิพะหนุคงคง คงทั้งมีด คงทั้งหอก คงทั้งดาบ คงทั้งตะบองเพชรเจ็ดพระเนิน มาตีกูอยู่คงคง ธงธง สวาหะคงคง กรีเพชชะ พะหะนุคงคง นามะพะหนุคงคง มาอยู่ในวิญญาณแห่งข้าพเจ้าประเดี๋ยวนี้ ประฏิสนธิอยู่ในวิญญาณข้าพเจ้าจนตลอดเข้าสู่พระนิพพาน ขอคุณพระฤาษีทั้ง 8 พระองค์ จงช่วยข้าพเจ้าปฏิสนธิ ทั้งพระภูมิ นางพระธรณีและแม่พระคงคา ลุกไปอยู่ในที่ใดจงช่วยป้องกันรักษา ตัวข้าพเจ้าอยู่พันทะกรีคงคง ยะธาพุทโมนะ คงคง สวาหะ

87
โทษครับไม่ครบ

นะโม 3 จบ
นะมะอำอะ นะออนะอา นะมาหากู นะมาโมมา มิดๆ มัมๆ มิมๆ มานิมา นะมะพะทะ

88
นะโม 3 จบ
นะมะอำอะ นะออนะอา นะมาหากู นะมาโมมา มิดๆ มัมๆ มิมๆ มานิมา นะมะพะ

89
แล้วแต่คนครับ บางคนก็ขึ้นจัง บางคนไม่ขึ้นเลย อยู่ที่จิตมากกว่า คล้ายๆสะกดจิตตัวเอง อย่างผมนี่ขึ้นเสือมากหน่อย หนุมานนิดหน่อย เวลาครอบใจมันจะสั่นไม่รู้เนื้อรู้ตัว มีสติแต่ควบคุมไม่ได้ อย่างผมใจร้อนโมโหง่ายสักเสือมาด้วยเวลาทะเลาะกับใครก็ควบคุมอารมณืไม่ค่อยได้ครับ แต่บางคนใจเย็นสักอะไรๆก็ไม่เห็นของมันขึ้นสักที

90
ขอบคุณครับ

91
ผมส่งสัยอยู่อย่าว่าคำสบถเวลาเราอารมณ์เสียเช่น แ  ง หรือใช่เป็นคำอุทานเรียกคนที่เราไม่ชอบ มันมีความหมายหรือบัญญัติเดียวกับคำว่า เ ดแม่ หรือป่าวครับ เพราะพูดบ่อยเวลาอารมณ์เสีย กลัวว่าจะผิดครูหรือไม่ใครทราบช่วยตอบที

93
เคยโดนฟันสมัยเรียนเทคนิคครับ โดนฟันที่หัวไหล่แบบว่าเขากะฟันคออะนะแต่พลาดปลายดาบโดนหัวไหล่ ไม่เข้าครับแค่เป็นรอยช้ำ ตอนนั้นสวมแหวนหลวงปู่ทวดครับ เชื่อล้านเปอร์เซ็นต์ ส่วนปืนยังไม่เคยเจอครับและไม่อยากเจอครับ เสียดายคุณโจรงัดห้องแล้วเอาแหวนหลวงปู่ทวดไปแล้วแสดงว่าคุณโจรดูพระเป็นนะนี่พระรายการอื่นไม่เอาเลยซะงั้นเจ็บใจจริงๆ

94
บีมเขาอะ ชอบไปกับหนุ่มๆสองต่อสอง 555 ผมก็โดนมาแล้ว อยากให้ไปกันหลายๆคนแบบที่พี่รักษ์พระว่านะสนุกดี วันไหนจัดอย่าลืมชวนนะหลวงบีม จ๋าขอ

95
อ.ต๋อย ก็เรียนวิชากับ อ.พัฒน์ โต๊ะทองครับ อ.ต๋อยเคยสักนายขนมต้มให้ผมเป็นน้ำมัน ตอนสักไม่ได้ทรงพ่อแก่ครับ คาดว่าตอนนั้นยังไม่ได้รับขันธ์ครู หลายปีแล้วครับ อ.ต๋อยไปช่วยบรรจุครูให้อาจารย์พัฒน์ทุกปีครับ แต่ผมไม่ได้ไปหา อ.พัฒน์ สามปีแล้วเลยไม่ได้เจอ อ.ต๋อยเลย ส่วนตัว อ.ต๋อยเป็นคนพูดน้อยน่านับถือดีครับ

96
ไปครั้งแรกสักน้ำมันได้ยันต์อะไรมิทราบ แต่เป็นยอดๆอะครับ คล้ายเก้ายอดแต่มีแค่เจ็ดยอดเอง คราวหน้าอยากสักกับหลวงพี่ญาครับเห็นลายเข็มท่านแล้วสวยมากให้ท่านแทงแรงๆจะได้จุดไข่ปลาใหญ่ๆ สวยดีๆ

97
เสียดายไม่ได้ไปครับ ติดงานอ่า

98
บีมพาไปฝังตะกรุดทองคำหน่อยสิ เงียบเลยนะ

หน้า: [1]