ผู้เขียน หัวข้อ: พ่อท่านแต่ง วัดนันทาราม อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี  (อ่าน 18537 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด
                         

      ประวัติ: หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม

      หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม อ.ท่าฉาง จ. สุราษฎร์ธานี


     หลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นันทสโร เป็นพระภิกษุที่เรืองวิทยาคมรูปหนึ่ง ท่านมีความรู้ทางด้านไสยศาสตร์มากมาย สามารถสร้างเครื่องรางของขลังได้มากชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างตะกรุด สามารถสร้างได้มากชนิด อนุภาพแต่ละชนิดก็แตกต่างกัน ซึ่งท่านจะมีชื่อเรียกเป็น ชนิดๆไปตะกรุดประจำวัน คู่ชีพ มหาอุด พิชัยสงคราม ฯลฯ

     อีกประการหนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านไสยศาสตร์มาก เพราะในช่วงชีวิตของท่านนั้น ได้ติดตามพระอาจารย์ที่แก่กล้าวิทยาคมหลายรูปของเมืองสุราษฎร์ ออกธุดงค์เช่น หลวงพ่อนุ้ย สุวัณโณ วัดอัมพาราม หลวงพ่อสมุห์ทองพิมพ์ วัดหัวสวน เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปที่ผู้เขียนกล่าวนามมานั้น วิทยาคมท่านสูงส่งมาก

    ในช่วงชีวิตของหลวงพ่อแต่งนั้น ท่านได้ร่วมเดินทางธุดงค์ไปกับพระสมุห์ทองพิมพ์หลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า ได้เดินทางติดตามไปยังสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ณ เมืองกุสินา ประเทศอินเดีย โดยใช้เวลาเดินทางเท้าเพียง ๑๕ วันเท่านั้น ซึ่งการเดินทางครั้งนั้น ได้ผ่านเมืองชุมพร มะริด ตะนาวศรี ย่างกุ้ง ยะไข่ แล้วจึงข้ามไปอินเดีย

     สาเหตุที่ใช้เวลาน้อยมาก ทั้งๆ ที่ต้องบุกป่าผ่าดง ก็เพราะอำนาจการย่นทางของอาจารย์ของท่าน คือ พระสมุห์ทองพิมพ์ นั่นเอง

     นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อแต่งท่านยังได้ธุดงค์ไปภาคเหนือ ไปสระบุรี เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท เป็นต้น

     ประวัตวัดนันทาราม
     วัดนันทาราม เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดใหม่ขี้ลม" เพราะตั้งอยู่ในกลางทุ่งนา ทำเลโพ้เพ้ มีลมจัด พระอธิการปาน อานันโท เป็นเจ้าอาวาส แต่ชรามาก ญาติพี่น้องจึงติดต่อ หลวงพ่อแต่ง ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง ตำบลคลอง อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ไปช่วยภาระการปกครองวัด ท่านรับรองและไปอยู่จำพรรษาตามที่ญาติวิงวอน

     เมื่อพระอธิการปาน อานันโทมรณภาพ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อแต่งจึงได้ยืนหนังสือถึงเจ้าคณะจังหวัด พระเทพรัตนกวี เพื่อเสนอขอเปลี่ยนชื่อวัด โดยใช้ฉายาของท่านเป็นเครื่องพิจารณา

    วัดนี้จึงได้รับการเปลี่ยชื่อจาก วัดใหม่ขี้ลม มาเป็น วัดนันทาราม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

    ในระยะแรกที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส สภาพของวัดยังเป็นป่าอยู่มาก ท่านได้เร่งรัดพัฒนาถึงสามทาง คือการศึกษาพระธรรมวินัยของพระเณร การวางแผนผังและปรับปรุงสภาพวัด การศึกษาประชาบาลของเยาวชนในท้องถิ่น แม้ท่านเองก็ศึกษาปริยัติธรรมควบคู่กันไปด้วย จนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท ส่วนลูกศิษย์ที่ท่านสอนก็ปรากฏว่าสอบได้มากที่เดียว

      ประวัติหลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม

      หลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นันทสโร เดิมชื่อนายแต่ง นามสกุล สังข์เทพ เกิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาม ๒๔๒๓ ตรงกับ วันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ยี่ ปี มะโรง เวลา ๙.00 ที่บ้านน้อยสี่ หมู่ที่ ๓ ตำบท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาชื่อ นายกิม มารดาชื่อ นางแช่ม นามสกุล สังข์เทพ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๑ คน ชื่อนางชู แก้วชำนาญ ซึ่งเป็นพี่สาว

    เมื่อเยาว์วัย บิดามารดาได้ให้ศึกษาภาษาไทยในสำนักของสมุห์ทองพิมพ์ ภัททมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวสวน(วัดในแร่ว) หมู่ที่ ๒ ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จบความรู้อ่านออกเขียนได้ บิดามารดาก็ให้บรรพชาเป็นสามเณร

     ต่อมาได้ลาสิกขา กลับไปช่วยงานทางบ้าน ครั้งอายุได้ ๒๘ ปี จงได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดหัวสวน โดยมีพระครูพิศาลคณะกิจ(จ้วน) เป็นพระอุปชฌาย์ พระปลัดเกตุ เกสโร เป็นพระกรมวาจาจารย์ พระสมุห์นวล มณีโสภโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

      เมื่ออุปสมบทเสร็จแล้ว ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสนากรรมฐาน ศึกษาภาษาไทยจนจบหลักสูตรชั้นมูลสาม ทางราชการจึงได้ให้ช่วยสอนนักเรียนในโรงเรียนประชาบาล

     นอกจากศึกษาทางพระธรรมวินัย และวิชาภาษไทยแล้ว ท่านยังได้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ ในสำนักของพระสมุห์ทองพิมพ์ วัดหัวสวน ได้ติดตามไปธุดงค์ในดินแดนต่างๆมากมายหลายแห่ง

      นอกจากนี้ยังได้ไปศึกษากับพระครูธรรมปรชา วัดดอนยาง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และพระอาจารย์นาค วัดโคกขอย จังหวัดพัทลุง แล้วกลับมาศึกษาอยู่ในสำนักของพระอธิการนุ้ย สุวัณโณ วัดอัมพาราม(วัดม่วง) อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งหลวงพ่อนุ้ย รูปนี้ท่านเก่งวิชาอาคมมากมาย หากพิจารณาประวัติแล้วก็ต้องยกให้ท่านอยู่ในระดับปรมาจารย์ทางไสยศาสตร์เลยที่เดียว

      นอกจากนี้ วิชาการแพทย์แผนโบราณ ท่านก็สนใจศึกษา จนมีความรู้ในวิชาเหล่านี้เป็นอย่างดี

      ส่วนความรู้พิเศษที่สนใจคือ การเขียนคำกลอนประเภทต่างๆ หนังตะลุง ทั้งในและนอกจังหวัดได้จดจำไปใช้ในการแสดง แม้ลูกศิษย์ที่เป็นหนังตะลุงยังปรากฎอยู่ในเวลานี้ก็หลายคน

      ส่วนงานด้านการปกครอง ท่านได้รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง เป็นเวลา ๓ ปี ท่านได้วางแผนผังวัดได้อย่างงดงามมาก

     ผลงานทางวัตถุ ในวัดนันทารามมีมากมาย อาทิ อุโบสถ ศาลาการเปรียญหลังเก่าและใหม่ กุฏิพระลูกวัด กุฏิเจ้าอาวาส หอฉัน

     นอกจากนี้ก็ได้ช่วยสร้างโรงเรียนประชาบาลทั้งในวัดนันทาราม และโรงเรียนบ้านท่าแซะ ทางด้านสงคมก็จัดสร้างสะพานข้ามครองห่อ พร้อมกับพระครูประนม ปภัสสโร การอนุเคราะห์ประชาชนผู้เจ็บไข้ด้วยยาก็มีอยู่เป็นประจำเพราะท่านเป็นแพทย์แผนโบราณด้วย

     หลวงพ่อได้ถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๔ สิริอายุ ๑๐๐ ปี ๖ เดือน ๘ วัน

     อภินิหารหลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม

     สำเร็จวิชานะปัดตลอด ปรากฏกายใหญ่ผิดปกติจนหัวจรดเพดานกุฏิ สร้างตะกรุดมากชนิดต่างก็มี อานุภาพแตกต่างกัน

    ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่ว่าจะเป็นวัดใดเป็นผู้จัดก็ตามทีพระภิกษุที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกนั้น จะต้องมีหลวงพ่อแต่งเสมอ จนเกือบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีพิธีปลุกเสกใหญ่ๆ ครั้งใดในสุราษฎร์ธานี ที่จะขาดหลวงพ่อแต่งนับแต่กิ่งพุทธกาล ความจริงแล้วท่านได้รับการนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกมานานนับหลายสิบปีแล้ว จนกระทั่งมรณภาพ

   ในด้านอภินิหารเท่าที่ทราบ เช่น

   ๑ สำเร็จวิชานะปัดตลอด โดยเหตุที่ ประวัติของหลวงพ่อแต่ง ท่านได้ไปศึกษาวิชาไสยศาสตร์จาก หลวงพ่อนุ้ยวัดอัมพาราม อำเภอท่าฉาง ผู้เขียนจึงได้เดินทางไปสืบเสาะประวัติของ หลวงพ่อนุ้ย ที่วัดอัมพารามด้วย

    ได้เรียนถามเจ้าอาวาสถึงวิชาต่างๆที่หลวงพ่อแต่งไปเรียนสำเร็จอะไรบ้าง และอภินิหารอะไรบ้าง

    ได้รับคำตอบจากเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันว่าเท่าที่หลวงพ่อแต่งเคยแสดงให้ท่านเห็น ก็มีวิชานะปัดตลอด โดยเอาต้นกล้วยตัดเป็นท่อนๆกองสูงเป็นพะเนิน จากนั้นก็ใช้หมึกเขียนที่ต้นกล้วยท่อนบนสุดเป็นตัว นะ เมื่อยกท่อนกล้วยแต่ละท่อนออกตรวจดู ปรากฏว่า ทุก ท่อนจะมีตัวนะอยู่ด้วย

    ๒.ปรากฏกายใหญ่ผิดปกติจนหัวจรดเพดานกุฏิ

    นายเฟือม พลภักดี ครูโรงเรียนวัดนันทารามได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ในงานฝังพัทธเสมา วัดนันทาราม เมื่อหลายปีมาแล้ว นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ก้าน แก้วสุพรรณ ได้เปิดการแสดงในงานวัดด้วยปรากฏว่าในช่วงที่ก้าน แก้วสุพรรณ ขึ้นกุฏิไปนมัสการท่านนั้น ก้านได้เห็นตัวของหลวงพ่อแต่งขยายใหญ่จนหัวจรดเพดานกุฏิ

    ข่าวนี้จึงแพร่ขยายวงออกไปอย่างกว้างขวางเรื่องนี้ผู้เขียนไม่ยืนยัน เพราะไม่มีโอกาสสอบถามจากปากคำของก้าน แก้วสุพรรณเอง เรื่องนี้มีคนร่ำลือกันมาก เพราะมีข่าวคนพบเห็นว่าท่านแสดงหลายคน แต่ไม่สามารถสืบเอาต้นข่าวได้

     วิชาขยายตัวนี้คาดว่า คงจะเรียนจากหลวงพ่อนุ้ย เพราะสมัยหลวงพ่อนุ้ยมีชีวิต วันไหนท่านสบายใจ ก็ฝึกวิชาขยายใหญ่จนตัวติดเพดานแล้วร้องบอกว่า ตัวใหญ่ออกประตูกุฏิไม่ได้แล้ว

    ๓. สร้างตะกรุดมากชนิดต่างก็อานุภาพแตกต่างกัน หลวงพ่อแต่งได้สร้างตะกรุดมากชนิด เช่น ตะกรุดคู่ชีพ ตะกรุดประจำวัน ตะกรุดพิชัยสงคราม อานุภาพแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน

    ผู้เขียนได้เคยไปให้ท่านทำตะกรุดให้ขณะนั้นท่านป่วย ผู้เขียนได้ให้ท่านเขียนตะกรุดคู่ชีพให้ด้วยทราบว่าตะกรุดชนิดนี้อานุภาพสูงมากที่สุด

   ท่านบอกว่า ขณะนี้ป่วย กระแสจิตไปถึงขั้นที่จะปลุกเสกตะกรุดชนิดนี้ให้ได้ จิตขณะนี้ปลุกเสกได้เพียงแค่ตะกรุดพิชัยสงครามเท่านั้น

   เสร็จแล้วท่านก็หยิบตะกรุดพิชัยสงครามซึ่งท่านได้ปลุกเสกคืนก่อนวันผู้เขียนจะไปที่วัดในขณะนั้นมีคนป่วยมารับการรักษาอยู่กับท่านที่ในกุฏิ เพราะถูกคุณไสย์ ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อคืนผมนั่งดูหลวงพ่อแต่งปลุกเสกตะกรุดชุดนี้เห็นกระเด็นเหมือนคั่วข้าวตอก กระเด็นลอยสูงประมาณเมตรเศษ

    ประสบการณ์ตะกรุดของท่าน เท่าที่ฟังมาจะปรากฏผลด้านมหาอุตม์เป็นหนึ่งตามด้วยคงกระพันชาตรี ทราบว่า พ.ต.ต.สลับ อนุฤทธิ์ อดีต สวญอำท่าฉาง ได้นำไปใช้ติดตัว ในคราวไปปราบฝิ่นในภาคเหนือ ปรากฏผลทางด้านแคล้วคลาดดีมาก จนมีหนังสือไปแนะนำให้ลูกน้องเก่าหาไว้ใช้ติดตัวกันบ้าง

    ๔. ปลุกเสกเขี้ยวเสือโดดจับเนื้อ เจ้าของและโชเฟอร์รถเมล์เบอร์๖๙สายพุนพินบ้านดอน ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า นายสุนทร ดัดศร โชเฟอร์คิวรถแทกซี่บ้านดอน-หลังสวนกับ นายต่วน โชติชุติ โชเฟอร์คิวรถแทกซี่บ้านดอน-ท่าข้าม ได้นำเขี้ยวเสือแกะแล้วทำพิธีปลุกเสกต่อหน้าที่ทันที ปรากฏว่าเขี้ยวเสือกระโดดขึ้นไปจับเนื้อ
วัตถุมงคล หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม...

 หลวงพ่อได้ออกวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังต่างๆหลายชนิด เช่นตะกรุดแบบต่างๆสาลิกาหลงรัง ผู้หญิงนิยมใช้กันมาก รูปเหมือนและเหรียญรุ่นต่างๆดังนี้

    ๑ รูปเหมือน

     เป็นรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรพาดสังฆาฎิ ที่ฐานด้านหน้าจะปรากฏตัวหนังสือว่า หลวงพ่อแต่ง เนื้อทองเหลืองลงหิน ใต้ฐานจะมีรอยทองเหลืองอุด แล้วตะไปแต่ง จากนั้นก็จารยันต์นะอุณาโลมลงที่ก้อนทองเหลืองที่อุดก้นขนาดความสูงประมาณ๒.๗ซม.ปีที่ สร้าง พ.ศ.๒๕o๕

   ๒ เหรียญรุ่นต่างๆ
   เหรียญของท่านออกทั้งหมด ๔ รุ่นด้วยกันคือ...

   รุ่นที่ ๑
   ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ หน้าตรงห่มจีวร พาดสังฆาฏิ ด้านล่างมีอักษรว่าหลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นนทสโร ส่วนหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า มีอักษรขอม นะ โม พุทธา ยะ แล้วชักยันต์พระภควัมบดี ๔ทิศ ล้อมรอบด้วยเลขไทยตั้งแต่1-9ส่วนด้านล่างมีอักษรปรากฏว่า วัดนันทาราม อ .ท่าฉาง จ. สุราษฎธานี บรรทัดล่างสุดเขียนไว้ว่า 1 มค 05 เป็นเหรียญหูในตัว เนื้อโลหะทองแดงรมน้ำตาลและอัลปาก้า

    รุ่นที่ ๒

    เป็นรูปหลวงพ่อหันข้างครึ่งองค์ ด้านล่างปรากฏอักษรว่าหลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นนทสโร ส่วนด้านหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า มีอักขระขอมว่า นะ โม พุท ธา ยะ แล้วยันต์พระภควัมบดี๔ทิศ ล้อมรอบด้วยตัวเลขไทยตั้งแต่๑-๙ส่วนด้านล่างบรรทัดแรกเขียนว่า วัดนันทาราม บรรทัดที่๒เขียนว่า อ .ท่าฉาง จ. สุราษฎร์ธานี บรรทัดที่สามเขียนว่า๒๕๑๔ซึ่งเป้นพ.ศ.ที่สร้างเป็นเหรียญหูในตัว เนื้อโลหะอัลปาก้าและทองแดง

   รุ่นที่ ๓ มี ๒ บล็อก
   บล็อกแรก เป็นรูปหลวงปู่แต่งนั่งเต็มองค์ ใบหน้าของหลวงปู่ดูเกร็งจนใบหน้าและคางเบี้ยวเส้นคอตึง นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หัวแม่มือทั้งสองจรดกัน หลวงปู่ห่มจีวรเฉียง พาดสังฆาฏิ ล้อมรอบด้วยอักษรขอม ทั้งด้านข้างซ้าย ขวา และล่าง ด้านล่างสุดปรากฏหนังสือว่าหลวงปู่แต่ง นนทสโร ขอบเหรียญยกนูนเป็นรูปเกลียวเชือก ส่วนด้านหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า จารึกอังษรขอมว่า นะ โม พุทธ า ยะ ล้อมรอมด้วยตัวเลขไทย๑-๙ ส่วนด้านบนสุดก็เป็นหัวใจพระคาถาจารึกเป็นอักษรขอม ด้านล่างเขียนว่า รุ่นพิเศษหนึ่งเก้า วัดนันทาราม สุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งดอกจัน ๒ดอก ด้านหนังและหลังข้อความ เนื้อทองแดงรมดำ

    บล็อกที่สอง เป็นรูปหลวงปู่นั่งตะแคงข้ามทั้งลำตัวและศีรษะ ในลักษณะเอียงซ้าย ไหล่ซ้ายสูงกว่าขวา เป็นรูปเต็มองค์ นั่งขัดสมาธิ มือวางในแบบชราธรรมทั้งสองข้าง พระคาถาเป็นอักขระขอมเหมือนกันกับบล็อกแรก

    ส่วนด้านล่างเขียนว่า หลวงปู่แต่ง นนทสโร ส่วนด้านหลังอักขระพระคาถาและเลขยันต์ต่างๆ ตลอดจนข้อความเหมือนบล็อกแรกทุกประการเนื้อโลหะ เท่าผู้เขียนพบเห็นก็มีเนื้อทองแดงรมน้ำตาล

    รุ่นที่ ๔

    เหรียญรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ ลักษณะเหรียญเป็นรูปเสมา ขอบเหรียญยกเป็นเส้นนูน ประดับด้านลายกนกโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปหลวงพ่อหน้าตรง ห่มจีวรเฉียง พาดสังฆาฎิ ด้านล่างเขียนว่า หลวงปู่แต่ง นนทสโร ส่วนที่ฐานเขียนว่าที่ระลึกอายุครบ ๑oo ปี

     ด้านหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า ลงพระคาถาไว้ในยันต์สี่เหลี่ยมว่า นะ โม พุทธ า ยะ และมียันต์พระภควัมบดีสี่ทิศ ล้อมรอบด้วยตัวเลขไทย ๑-๕ ด้านล่างบรรทัดแรกเขียนว่า วัดนันทาราม บรรทัดที่สอง ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง บรรทัดที่สาม จ.สุราษฎร์ธานี บรรทัดที่สี่ ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นปี พ.ศ. ที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญหูในตัว มีทั้งเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองแดงรมดำ

     ประสบการณ์วัตถุมงคลของหลวงพ่อแต่ง เท่าที่ฟังๆ มา มักจะเด่นด้านมหาอุตม์ และคงกระพันตามด้วยแคล้วคลาด อย่างเช่น กรณีของ พ.ต.ต. สลับ อนุฤทธิ์ เป็นต้น

     วิทยาคมด้านมหาอุตม์ของท่าน เคยมีชาวต่างชาติจะไปขอลอง หลวงพ่ออนุญาตให้ลองได้ แต่มีข้อต่อลองว่า เมื่อท่านได้ทดลองแล้ว หากปืนยิงไม่ออก จะต้องสร้างกำแพงปิดล้อมวัดนันทาราม ปรากฏว่าบุคคลคณะนั้นได้หายสาบสูญไปเลยไม่กล้าที่จะเสี่ยงทดลองของของท่าน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.zoonphra.com

 

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณสำหรับประวัติพ่อท่านแต่งครับ  ขอกราบนมัสการครับ  :054:

ออฟไลน์ Aobsurat

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอบคุณมากสำหรับประวัติหลวงปู่แต่ง หามาตั้งนานแล้วคับ

ศรัทธา มานานแล้วคับ ผมห้อยหลวงพ่อแต่งรุ่น1อยู่คับ

ขอกราบนมัสการครับ