ผู้เขียน หัวข้อ: พระครูปัจฉิมทิศบริหาร (นาค โชติโก) วัดห้วยจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม  (อ่าน 7488 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด
                       

หลวงปู่นาค โชติโก เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ร.ศ.35) ตรงกับปีกุน จ.ศ. 1177 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 อุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี ณ พัทธสีมา วัดพระปฐมเจดีย์ ตรงกับปี พ.ศ. 2379 พระอุปัชฌาจารย์ไม่ปรากฏนาม ทราบแต่พระกรรมวาจาจารย์คือ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระปฐมเจติยานุรักษ์ (หลวงปู่กล่ำ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ได้รับฉายาว่า "โชติโก"

อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจำพรรษาอยู่วัดพระปฐมเจดีย์กับหลวงปู่กล่ำ เจ้าอาวาสทั้งสองเป็นสหธรรมิก มีความสนิทสนมกันดี หลวงปู่กล่ำเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาหลวงปู่นาคเป็นรองเจ้าอาวาส ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยดีตลอดมา ต่อมาปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดฯแต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ 1.พระครูปริมานุรักษ์ (นวม พรหมโชติ) วัดสรรเพชร รักษาด้านทิศตะวันออก 2.พระครูทักษิณานุกิจ (แจ้ง ธมมสโร) วัดศิลามูล รักษาด้านทิศใต้ 3. พระครูปัจฉิมทิศบริหาร (นาค โชติโก) วัดห้วยจระเข้ รักษาด้านทิศตะวันตก 4. พระครูอุตตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก รักษาด้านทิศเหนือ   หลวงปู่นาค ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ทำหน้าที่รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศตะวันตก และยังดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี ถ้าเปรียบสมัยนี้เท่ากับรองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม

  

                       


  
หลวงปู่นาค สร้างพระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด เมื่อ พ.ศ. 2432 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่หลวงปู่นาคได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ หลวงปู่นาคท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเนื้อเมฆพัดมาก การผสมเนื้อแร่ต่างๆ การปั้นพิมพ์ และการเทหล่อองค์พระท่านทำด้วยตัวท่านเอง องค์พระที่ท่านหล่อออกมาสวยงาม ไม่มีรอยตะเข็บ ไม่เป็นฟองอากาศ เนื้อพระเป็นสีดำอมเขียว สีดำเงาคล้ายปีกแมลงทับ สวยงามพิสดาร เนื้อพระผิวตึง สมบูรณ์แบบด้านรูปทรง ว่ากันว่า "หลวงปู่นาค" กับ"หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว" มีความสนิทสนมกัน เป็นสหธรรมิกรุ่นน้อง(หลวงปู่นาค มีอายุมากกว่าหลวงปู่บุญ 35 ปี) และมีการแลกเปลี่ยนวิชาซึ่งกันและกันด้วย โดยหลวงปู่บุญขอเรียนวิชาการสร้างเนื้อเมฆพัดไปจากหลวงปู่นาคส่วนหลวงปู่นาคก็ได้ขอเรียนวิชาอื่นจากหลวงปู่บุญไปเป็นการแลกเปลี่ยน สำหรับหลวงปู่บุญท่านได้ก็สร้างพระเนื้อเมฆพัดขึ้นจำนวนหนึ่ง

ซึ่งพระเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่บุญที่ท่านสร้างเองลักษณะเนื้อหาจะเหมือนๆ ของหลวงปู่นาคมากผิดกับเนื้อเมฆพัดพิมพ์กลีบบัว และพิมพ์ปิดตาที่วางตามสนามทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพระที่สั่งทำจากโรงงานมาปลุกเสกทีหลังในการสร้างพระปิดตาของหลวงปู่นาคท่านสร้างหลายครั้งด้วยกัน สร้างไปเรื่อยๆตามแต่จะมีโอกาส พระปิดตาของท่านจึงมีประมาณ 4-5 พิมพ์ นับแล้วพระปิดตาห้วยจระเข้ก็มีอายุร่วมๆ หนึ่งร้อยปีเห็นจะได้เอกลักษณ์ของพระปิดตาห้วยจระเข้นอกจากจะดูพิมพ์เป็นหลักแล้ว พระปิดตาห้วยจระเข้จะต้องมีการลงเหล็กจารทุกองค์ด้วย ในการลงเหล็กจารนั้นมีเรื่องเล่ากันว่าหลวงปู่นาคท่านนำเอาพระปิดตาที่สร้างเสร็จแล้วไปลงเหล็กจารที่ท่าน้ำข้างๆ วัด โดยท่านจะดำลงไปจารอักขระใต้น้ำ เมื่อจารเสร็จแล้วก็จะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเหนือน้ำเองโดยมีลูกศิษย์ที่อยู่บนฝั่งคอยเก็บ ถ้าพระปิดตาองค์ไหนลงจารแล้วไม่ลอยน้ำขึ้นมา แสดงว่าพระปิดตาองค์นั้นไม่มีพลังพุทธคุณ อันอาจจะเกิดอักขระวิบัติจากการจารอักขระก็ได้การที่พระเกจิอาจารย์ท่านใดสามารถดำลงไปทำวัตถุมงคลใต้น้ำได้นานๆ แบบนี้ ก็แสดงว่าพระเกจิอาจารย์ท่านนั้น

สำเร็จวิชากสิณที่สามารถแปลงธาตุน้ำให้เป็นช่องว่างมีอากาศหายใจได้ นอกจากการจารอักขระพระปิดตาใต้น้ำแล้ว หลวงปู่นาคท่านก็มีวิธีการจารอักขระอีกวิธีหนึ่งคือ ท่านจะไปจารที่กลางทุ่งนา หรือในป่าริมคลองที่มีปูอาศัยอยู่มากๆ เมื่อไปถึง และหารูปูเจอแล้ว ท่านก็จะยืนโดยเอาหัวแม่เท้าขวาอุดที่ปากรูปู จากนั้นก็จะกำหนดจิตบริกรรมคาถา และลงเหล็กจารไปพร้อมๆ กัน ขณะนั้นทั่วทั้งทุ่ง และป่าริมคลองนั้นจะเงียบสงัดทันที เสียงนก หรือแมลงร้องจะไม่มีได้ยิน สัตว์ทุกตัวที่อยู่บริเวณนั้นจะหยุดนิ่งชะงักเป็นจังงังกันหมด เมื่อท่านผ่อนคลายกำหนดจิตจากการลงอักขระเสร็จแล้วนั่นแหละ ทุกอย่างจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ก่อนที่จะกลับหลวงปู่นาคท่านจะทำน้ำมนต์รดที่รูปูนั้นเพื่อเป็นการคลายอาคม หากมิเช่นนั้นปูที่อยู่ในรูจะออกมาไม่ได้ หรือถ้าปูอยู่ข้างนอกก็จะกลับลงรูไม่ได้เหมือนกันอักขระที่ท่านใช้คือ "นะคงคา" เป็นตัวหลัก เพราะหลวงปู่นาคสำเร็จ อาโปกสิน วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกจึงหนักไปทางพลังเย็น เข้มขลังอย่างเอกอุ จากพิธีกรรมการสร้างอันเข้มขลังนี้เอง จึงทำให้พระปิดตาห้วยจระเข้เป็นจักรพรรดิของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดทั้งปวง แต่พระปิดตาห้วยจระเข้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเนื้อเมฆพัดชนิดเดียว แต่ได้มีชนิดที่สร้างด้วย "เนื้อชิน" อีกด้วย ซึ่งพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินเป็นแบบ "ชินตะกั่ว" โดย

หลวงปู่นาคท่านนำเอาแผ่นตะกั่วมาลงอักขระแล้วหลอมเทเป็นพระปิดตา และลงเหล็กจารด้วยกรรมวิธีการเช่นเดียวกับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด กล่าวถึงพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินตะกั่วนี้ก็มีการสร้างในยุคแรกๆ เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่นาคท่านสร้างขึ้นก่อนที่ท่านจะสร้างเนื้อเมฆพัดได้สำเร็จ แต่ในการเล่นหาพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินตะกั่วจะถูกกว่าเนื้อเมฆพัด

เมื่อ พ.ศ. 2441 หลวงปู่นาค โชติโก ได้ย้ายจากวัดพระปฐมเจดีย์ มาสร้างวัดห้วยจระเข้ เพื่อให้เป็นวัดบริวารขององค์พระปฐมเจดีย์ ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นเป็นป่ารก มีสัตว์ป่าชุกชุม ลำห้วยมีจระเข้มาก ริมคลองเจดีย์บูชา อันเป็นคลองประวัติศาสตร์ที่ทรงโปรดฯให้ขุดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2407 เพื่อเชื่อมต่อกับแม่น้ำนครชัยศรี ให้เป็นเส้นทางเสด็จมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ทางชลมารค หลวงปู่นาคใช้เวลา 3 ปี จึงสร้างวัดสำเร็จ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดย สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 โดยให้ชื่อว่า "วัดห้วยจระเข้"หลวงปู่นาค จัดเป็นพระปรมาจารย์เมืองนครปฐมในสมัยแรก เป็นต้นตำรับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จประพาสพักแรม ณ พระราชวังสนามจันทร์ จะต้องเสด็จแวะกราบนมัสการหลวงปู่นาคเป็นประจำ และหลวงปู่นาคได้มอบพระปิดตาให้ทั้งสองพระองค์

ไว้บูชาคู่พระวรกายด้วย หลวงปู่นาค โชติโกได้เป็นผู้สร้างวัดห้วยจระเข้ร่วมกับประชาชน ปกครองวัดมานาน 11 ปี ถึงกาลละสังขารเมื่อปี พ.ศ. 2453 ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 95 ปี 74 พรรษา ก่อนที่หลวงปู่นาคท่านจะมรณภาพ ก็ได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างพระปิดตาให้กับ "หลวงปู่ศุข" ลูกศิษย์ซึ่งต่อมาหลวงปู่ศุขท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ต่อจากหลวงปู่นาค หลวงปู่ศุขท่านนี้ก็เป็นพระเกจิอาจารย์ของเมืองนครปฐมที่มีชื่อเสียงรุ่นราวคราวเดียวกับ "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" และ "หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา" ที่มีคนนับถือมากเช่นกัน หลวงปู่ศุขท่านสร้างพระปิดตาเนื้อเมฆพัดพิมพ์แบบเดียวกับหลวงปู่นาคทุกอย่าง เพียงแต่ท่านไม่ได้ลงเหล็กจารเพื่อให้มีความแตกต่างไม่เป็นการวัดรอยเท้าอาจารย์

แต่ก็มีบ้างอยู่เหมือนกันที่มีการเอาพระปิดตาหลวงปู่ศุขมาลงเหล็กจารแล้วหลอกขายเป็นของหลวงปู่นาคเพื่อให้ได้ราคาสูง จึงควรพิจารณารอยเหล็กจารว่าต้องมีความเก่า ถ้าเป็นรอยจารใหม่แต่เป็นพิมพ์เดียวกันก็แสดงว่าเป็นของลูกศิษย์แน่ครับปัจจุบันพระปิดตาห้วยจระเข้กลายเป็นพระปิดตาที่หายากอีกสำนักหนึ่งของวงการ ราคาก็มีการเล่นหาสูงตั้งแต่หลักหมื่นอ่อนๆ ถึงหลักหมื่นกลางๆ จนเลยถึงหลักแสนไปแล้วก็มี แต่ของเก๊ก็เพียบเหมือนกัน  การ์ดไม่สูงโดนเหมือนกันหมด  




ขอขอบคุณที่มา...http://www.praboonporn.com/index.php?option=com_content&task=view&id=110&Itemid=48
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ก.ค. 2553, 10:01:00 โดย ธรรมะรักโข »

ออฟไลน์ berm

  • สิ่งที่ควรทำคือความดี..สิ่งที่ควรมีคือคุณธรรม..สิ่งที่ควรจำคือ...บุญคุณ
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1008
  • เพศ: ชาย
  • อยู่คนเดียวระวังความคิด อยู่กับมิตรระวังวาจา
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
 :054:กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ...ที่นำประวัติอันมีประโยชน์มาเสนอ :016: :015:
ทุกคนย่อมมีปัญหาของตัวเองเกิดขึ้นตลอดเวลา  อยู่ที่ใครเลือกที่จะเดินหนีปัญหา...หรือเลือกที่จะแก้ไขปัญหา

ออฟไลน์ Jesus

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 109
  • เพศ: ชาย
  • ผมเป็นคนเดินช้าเเต่ผมไม่เคยเดินถอยหลัง
    • MSN Messenger - judas_66@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
I AM GRAPHIC DESIGNER