ผู้เขียน หัวข้อ: ถืออุโบสถศีล  (อ่าน 3437 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ jidarsarika

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 93
  • เพศ: หญิง
  • อาจาริโย วันทามิ
    • ดูรายละเอียด
ถืออุโบสถศีล
« เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 12:52:35 »
นอกจากวันที่ 16 กรกฎาคม จะเป็นวันเข้าพรรษาแล้ว
วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ เป็นวันสำคัญทางศาสนาอีกวันหนึ่งคือวันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 นอกจากมีการเวียนเทียนในวันนี้ ยังมีการถืออุโบสถศีลด้วย ซึ่งได้อานิสงค์มากมาย นำมาบอกต่อพี่น้องบางพระกัน



ความหมายของ "ศีล๘" และ "อุโบสถศีล"

ศีล ๘
"ศีล ๘" หรือ "อัฏฐศีล" (Attha-sila: the Eight Precepts; training rules) คือ การรักษาระเบียบทางกายวาจา ข้อปฏิบัติในการฝึกหัวกายวาจา ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
"ศีล ๘" นี้ สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ เรียกว่า อุโบสถ (Uposatha: the Observances) หรือ อุโบสถศีล (precepts to be observed on the Observance Day)
"อุปกิเลส" หรือ "จิตตอุปกิเลส ๑๖" คือ ธรรมเครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)


***********************************

"ศีล ๘" สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธา จะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ "อุโบสถศีล" ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือ ขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์)


***********************************

"อานิสงส์แห่งการรักษาอุโบสถ"

อันผู้รักษาอุโบสถศีลนั้น ย่อมได้อานิสงส์ทั้งชาตินี้และชาติหน้าโดย อนุรูปแก่การปฏิบัติของตนๆ ดังพระพุทธพจน์ตรัสไว้ในตอนท้าย แห่งอุโบสถสูตรว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วย องค์ ๘ ที่อริยสาวกเข้าอาศัยอยู่นานแล้ว เป็นคุณมีผลใหญ่ และอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองแผ่ไพศาลมาก"
…การเข้ารักษาอุโบสถ นับว่าเป็นการเข้าถือบวชของคฤหัสถ์ เพราะเป็นอุบายเว้นจากบาปแล้วอบรมบ่มกายวาจาใจให้สุข เกิดเป็นรสหวาน ซึ่งเป็นผลที่ต้องการทั้งทางคดีโลกคดีธรรม จริงอย่างนั้น น้ำใจอัธยาศัยอันธรรมอบรมบ่มให้สุขแล้ว ย่อมเกิด รสหวานคือน่าเคารพและน่าคบค้าสมาคมด้วยความสนิทสนม การและวาจาอันศีลอบรมบ่มให้สุขแล้ว ย่อมเกิดรสหวาน กล่าวคือกิริยาทางกายหวานตาน่าดูน่าชม คำพูดทางวาจา ก็หวานหู ฟังไม่รู้เบื่อ
(จาก คู่มืออุบาสก-อุบาสิกา โดย กองวิชาการ อำนวยสาส์น [ธรรมบรรณาคาร])


***********************************

"ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีลนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้น จากพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นต้นตำรับของพระพุทธศาสนา เป็น ศีลระดับสูงของชาวพุทธผู้เป็นฆราวาส เป็นศีลที่มีความ สำคัญยิ่ง เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวพุทธ"


"อุโบสถศีลคืออะไร"

อุโบสถศีล เป็นศีลชั้นสูงของฆราวาส คำว่า "อุโบสถ" นี้ มีความหมาย ๖ ประการ คือ

๑. เป็นชื่อการประชุมสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ ในวันพระ ขึ้น-แรม ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า อุโบสถกรรม
๒. เป็นชื่อการประพฤติวัตรบางอย่างของลัทธินอกพระพุทธ ศาสนา เช่น ปฏิญญาณตนอดข้าววันหนึ่งบ้าง หรือ ปฏิญญาณ ตนบริโภคเฉพาะน้ำผึ้งบ้าง เรียกว่า อุโบสถ
๓. เป็นชื่อของช้างตระกูลหนึ่ง มีสีการเป็นสีทอง เรียกว่า ช้างตระกูลอุโบสถ
๔. เป็นชื่อของโบสถ์ เรียกว่า พระอุโบสถ
๕. เป็นชื่อของวันสำคัญในพระพุทธศาสนา (วันพระ) เรียกว่า วันอุโบสถ
๖. เป็นชื่อของการรักษาศีล ๘ ในวันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ (กรณีเดือนขาด) เรียกว่า อุโบสถศีล
อุโบสถศีลมีวันพระเป็นแดนเกิด ศีล ๘ ที่รักษาในวันอื่นนอกจาก วันพระไม่เรียกว่า อุโบสถศีล เรียกว่า ศีล ๘ ธรรมดา


"ความหมายของอุโบสถศีล"

 [/color] อุโบสถศีล มีบทวิเคราห์ศัพท์ว่า อุปะวะสิตัพโพ อุโปสะโถ แปลว่า สถาวธรรมอันบุคคลทั้งหลายผู้ต้องการด้วยบุญ พึงเข้าไปอาศัยอยู่ (รักษา) ชื่อว่า อุโบสถศีล อุปะกิเลเส อุเสติ ทะหะติ อุปะตาเปติ วาติ อุโปสะโถ ความว่า การกระทำที่กำจัดอุปกิเลส ๑๖ เผาอุปกิเลส ๑๖ ทำให้อุปกิเลส ๑๖ เดือดร้อน หมายความว่า ทำอุปกิเลส ๑๖ ให้หมดสิ้นไป ชื่อว่า อุโบสถศีล


"ความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล ๘"
 
๑. อุโบสถศีล กับ ศีล ๘ มีข้อห้าม ๘ ข้อเหมือนกัน
๒. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
๓. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล ๘ สมาทานรักษาได้ทุกวัน
๔. อุโบสถศีล มีอายุ ๒๔ ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล ๘ ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
๕. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล ๘ เป็นศีลสำหรับ ชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี


"คำอาราธนาอุโบสถศีล"
 
อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ
(จาก ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล โดย พันเอก (พิเศษ) สฤษฏิ์ สิทธิเดช)


***********************************

คำอาราธนาศีล ๘

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิพระจะกล่าว "ติสรณคมนัง ปริปุณนัง"
โยคีกล่าวรับ "อามะภันเต"



********************************************

ศีล ๘
 
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์)
อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)
อะพรัหมะจะริยา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการกระทำอันมิใช่พรหมจรรย์)
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง)
สุราเมระยะ มัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)
วิกาละโภชนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล)
นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะมัณฑะนะ
วิภูสะนัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การดนตรี การดูการเล่น
ที่เป็นข้าศึกต่อกุศล การทัดทรงสวมใส่ การประดับ การตกแต่งด้วยพวงมาลา
ด้วยกลิ่นหอม ด้วยเครื่องทา)
อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(เจตนาเป็นเครื่องเว้นการนั่งนอนบนที่สูงและที่นอนใหญ่) พระจะกล่าว "อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ"
โยคีกล่าวรับ "อามะภันเต"


 http://www.geocities.com/easydharma/dm004016.html#three




พุทธัง ธรรมมัง สังฆัง มาตาปิตุโร อาจาริโย

ออฟไลน์ jidarsarika

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 93
  • เพศ: หญิง
  • อาจาริโย วันทามิ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ถืออุโบสถศีล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 12:59:45 »
จำกัดกาล คือ อุโบสถศีล เป็นศีล สำหรับ

1.ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต
2.ผู้สะสมบารมี เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพาน

ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล


นางเอกุโปสติกาภิกษุณี ออกบวชเมื่ออายุได้ 7 ปี บวชแล้วไม่ทันถึงครึ่งเดือน นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ..
หลายคนสงสัยว่า เหตุใดนางจึงได้บรรลุธรรมรวดเร็วอย่างนั้น นางจึงเล่าประวัติ การเวียนว่ายตายเกิดของนางว่า เมื่อ 91กัปป์ที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมาแล้ว 7 พระองค์ คือ
พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมะพุทธเจ้า ของเราในสมัยนี้
ในสมัยพระเจ้าวิปัสสีพุทธเจ้า นางเอกุโปสติกาภิกษุณี เกิดเป็นหญิงรับใช้ของพระเจ้าพันธุมมะ ผู้ครองนครพันธุมดี นางได้เห็นพระเจ้าพันธุมมะ
พร้อมด้วยอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทรงสละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ นางคิดว่า อุโบสถศีลนี้ น่าจะเป็นของดีวิเศษ เจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงสนใจสมาทานรักษาเป็นประจำ
นางคิดได้ดังนี้ จึงศึกษา และทำใจร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ ผลของการรักษาอุโบสถศีล ทำให้นางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีวิมานอันสวยงาม
มีนางฟ้าแสนนางเป็นบริวาร มีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทองคำ มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าอื่นๆ ระหว่างที่นาง ยังท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่ว่าจะเกิดในภพใดชาติใด
นางจะเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกภพทุกชาติ ได้ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนยอดปราสาทมณฑป ได้ดอกไม้เครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ของกินของใช้ไม่เคยอดอยาก
ภาชนะเครื่องใช้ทำด้วยเงินทองแก้วผลึกแก้วปทุมราช ผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าเปลือกไม้ล้วนแต่งามวิจิตรมีราคาสูง พาหนะ ช้าง ม้า รถ มีครบบริบูรณ์
ทุกอย่างเป็นผลบุญที่เกิดขึ้นจากการรักษาอุโบสถศีลในวันพระของนาง
ตลอดเวลา 91กัปป์ นางมิได้ไปเกิดในทุคติภูมิเลย พระพุทธองค์ตรัสว่า ” ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์แปดที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลยิ่งใหญ่
มีอานิสงส์มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก มีผลอานิสงส์แผ่ไพศาลมาก ” อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์ บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก มหาเศรษฐี
มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ความร่ำรวยเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แล้ว ย่อมเป็นของเล็กน้อย
ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทุกคนในโลกรวมกัน ก็ไม่เท่าทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการรักษาอุโบสถศีล ย่อมเป็นของเล็กน้อย คือ
ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของผลบุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพราะ สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นสมบัติมนุษย์ เป็นสมบัติหยาบ เป็นความสุขหยาบ ใช้เวลาเสวยอย่างมากไม่เกินร้อยปี
แต่ผลของอุโบสถศีล เป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย การเสวยสมบัติทิพย์ กินเวลายาวนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ บางทีเป็นนิรันดร์(นิพพานสมบัติ)
ดังนั้น ชาย หญิงทั้งหลาย ผู้ได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่า ทำความดีอันมีความสุข เป็นกำไร ไม่มีคนดีที่ไหนจะติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์หกชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง

วิธีการรักษาอุโบสถศีล

เมื่อวันพระเวียนมาถึง ให้ทำความตั้งใจว่า วันนี้เราจะรักษาอุโบสถศีล เป็นเวลาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือตั้งแต่เช้าวันพระจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น
เจตนาละเว้นจากความชั่วทางกายวาจานั้นแลคือตัวศีล โดยปกติ วันพระ อุบาสก อุบาสิกา จะพากันไปสมาทานอุโบสถศีลที่วัด พักอาศัยอยู่ที่วัดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
ถ้าไม่ได้ไปวัดก็ให้ทำสมาทานวิรัติ หรือเจตนาวิรัติอุโบสถศีลเอาเอง สมาทานวิรัติ คือ ตั้งใจสมาทานศีลด้วยตนเอง จะรักษากี่วัน กำหนดเอง เว้นจากข้อห้ามของศีลเสียเอง เจตนาวิรัติ คือ
เพียงแต่มีเจตนาเว้นจากข้อห้ามที่ใจเท่านั้น ก็เป็นศีลแล้ว ไม่ต้องใช้เสียงก็ได้

สมาทานวิรัติ ดังนี้
เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวันทามิ สาธุ สาธุ สาธุ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์ ตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึง… ข้าฯ จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือ
1. ปานาติปาตา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไมทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นการลดการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
2. อทินนาทานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เป็นการลดการเบียดเบียน ทรัพย์สินของผู้อื่น
3. อพรหมจริยา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการประพฤติอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ คือ ไม่เสพเมถุนล่วงมรรคใดมรรคหนึ่ง (ถ้าไม่แตะต้องกายเพศตรงข้าม และไม่จับของต่อมือกันจะช่วยให้การฝึกสติสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น)
4. มุสาวาทา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการพูดปด คือ พูดไม่ตรงกับความจริง
5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มสุราเมรัยของมึนเมาเสียสติ อันเป็นเหตุของความประมาทมัวเมา
6. วิกาลโภชนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มกินอาหารในเวลาหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นการลดราคะกำหนัด และลดความง่วงเหงาหาวนอน
7. นัจจคีตวา ทิตตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธวิเลปานะ ธารณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดูละครฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อันปลุกเร้าราคะ กำหนัดให้กำเริบ
8. อุจจา สะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการนั่งนอนเครื่องปูลาด อันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี และวิจิตรงดงามต่างๆ เป็นการลดการสัมผัสอันอ่อนนุ่มน่าหลงไหล อดความติดอกติดใจสิ่งสวยงาม มีกิริยาอันสำรวมระวังอยู่เสมอ ข้าฯ สมาทานวิรัติ ซึ่งอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ
เมื่อวิรัติศีลแล้ว พึงรักษา กาย วาจา เว้นการกระทำ ตามที่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้จนสิ้น กำหนดเวลา พยายามรักษากาย วาจา มั่นอยู่ในศีล อย่าให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด หรือทะลุด่างพร้อยมัวหมอง ถ้ากระทำบ่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ศีลจะอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิจะอบรมปัญญาให้แก่กล้า สามารถรู้ธรรมเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้..

ปัญหา ในการรักษาศีล 8 คือ
กลัวไม่ได้กินอาหารเย็น กลัวหิว กลัวเป็นโรคกระเพาะ กลัวรักษาศีลไม่ได้แล้วจะยิ่งบาป
ที่จริงแล้ว ผู้รักษาศีล 8 สามารถรับประทาน น้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้ ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือ คั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง ผสมเกลือและน้ำตาลพอได้รส
หรือ รับประทาน เภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย(น้ำตาล) นอกจากนี้ยังรับประทานสิ่งที่เป็นยาวชีวิก ได้โดยไม่
รับประทานเป็น ยาได้แก่ รากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมู น้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลม ผลไม้
เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์และเกลือต่างๆ

ที่มา: คนเมืองบัว โดย กมลเวช เมืองศรี


ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ถืออุโบสถศีล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 02:03:57 »
ความหมายของ ศีล๘ และ อุโบสถศีล 36; 36;
                                     
ขอขอบคุณน้อง jidarsarika ที่นำบทความธรรมะที่ดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                             
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ถืออุโบสถศีล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 07:11:34 »
พรุ่งนี้ วันพระใหญ่ วันอาสาฬหบูชา
ขอโมทนาบุญกับน้อง jidarsarika ผู้ถืออุโบสถศีลด้วยครับ

วันนี้ ผมก็จะนำน้ำผึ้งไปถวายท่านพระอาจารย์ ไม่รู้ว่าได้น้ำผึ้งมาจริงแท้ขนาดไหน

ปล..คุณน้องตรวจเมล์บ็อกซ์ด้วย ตอนนี้ มันเต็มแล้วครับ ลบของเก่าทิ้งไปบ้างนะครับ
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ รันตี

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 743
  • เพศ: ชาย
  • อยากเห็นผู้อื่นสุข จงฝึกตนให้มีเมตตา อยากเป็นผู้มีสุข จงฝึกตนให้มีเมตตา:ดาไลลามะ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ถืออุโบสถศีล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 08:50:40 »
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ เป็นความรู้ที่เรียบเรียงชัดเจน อ่านสนุกด้วย

เมตตาพระอาจารย์อภิญญา คณุตฺตโม ศิษย์ขอน้อมรำลึกพระคุณไว้ ณ ที่นี้

ออฟไลน์ jidarsarika

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 93
  • เพศ: หญิง
  • อาจาริโย วันทามิ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ถืออุโบสถศีล
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 07:21:16 »
พรุ่งนี้ วันพระใหญ่ วันอาสาฬหบูชา
ขอโมทนาบุญกับน้อง jidarsarika ผู้ถืออุโบสถศีลด้วยครับ

วันนี้ ผมก็จะนำน้ำผึ้งไปถวายท่านพระอาจารย์ ไม่รู้ว่าได้น้ำผึ้งมาจริงแท้ขนาดไหน

ปล..คุณน้องตรวจเมล์บ็อกซ์ด้วย ตอนนี้ มันเต็มแล้วครับ ลบของเก่าทิ้งไปบ้างนะครับ

จร้าพี่ หนูกะจะ ไปรับอุโบสถศีลพรุ่งนี้ตอน 10 โมงเช้าและบวชชีพราหมณ์ต่อรับศีลตอนเย็นเลย (คงสึกวันจันทร์อ่ะ)
แม่ชีพี่เลี้ยงที่วัดบอกถ้าจะบวชต่อหลายวัน ก็ทำพิธีอาราธนารับศีลแปด(บวชพราหมณ์)ได้ต่อเลยตอนเย็น (หรือแล้วแต่ตารางเวลาบวชของวัดนั้นๆ) แล้วค่อยไปลาศีล8(ศีลที่บวชพราหมณ์) อีกทีวันศึก
ส่วนถ้าเจาะจงมาบวชศีลอุโบสถแค่วันเดียวไม่ต้องลาศีลใดๆทั้งสิ้น ครบวันก็กลับบ้านได้เลย (เป็นสัจจะของเราเองเราต้องรู้ระยะเวลา)

หรือคนที่กำลังบวชถือศีล8อยู่ในวัด แล้ววันต่อๆมามีการถือศีลอุโบสถ (ในวันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ (กรณีเดือนขาด))  แล้วเราอยากรับศีลนี้ เราก็สามารถรับศีลอุโบสถนั้นได้เลย โดยไม่ต้องลาศีลอุโบสถ แต่ถ้าจะศึกก็แค่ลาศีล 8 (ที่เราบวชพราหมณ์ไว้ก่อนหน้านี้) ประมาณนั้น

พยายามเรียบเรียงให้อ่านเข้าใจง่ายค่ะ เป็นเรื่องละเอียดซับซ้อนค่ะ ใครอยากปฏิบัติต้องศึกษาให้ดีก่อนค่ะ

พี่ชายคะ ทำไงดี หนูไปลบข้อความออกเยอะแล้ว แต่ข้อความใหม่ๆไม่เข้าเลยค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ก.ค. 2554, 07:25:04 โดย jidarsarika »