ผู้เขียน หัวข้อ: พระอภิธรรม  (อ่าน 5173 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พระอภิธรรม
« เมื่อ: 19 ก.ค. 2554, 11:18:22 »
ประวัติพระอภิธรรม

เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

     ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรูแล้ว พระองค์ทรงพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะใน พระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรม อันเป็นที่มาของคัมภีร์มหาปัฎฐานอยู่นั้นก็ปรากฎฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีเทา สีเงิน และสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก แผ่ออกมาจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์
 
    ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้องกับปรมัตถธรรมล้วน ๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธาอันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธาและมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคำสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้  พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ทราบ เพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี

    ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติประองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันตุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฎิมาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันตุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น

   พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมแก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดารตลอดพรรษา คือ ๓ เดือนเต็ม สำหรับในโลกมนุษย์นั้นพระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์แรก คือในระหว่าง ที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทร์ ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ใกล้กับสระอโนดาต เพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรงสรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน (พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรด้วย สังเขปนัย คือ แสดงอย่างย่นย่อ) เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรงกระทำเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน เมื่อการแสดงบนเทวโลกจบสมบูรณ์แล้ว การแสดง พระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนา เทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นำมาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระอภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย

   ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมา สัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นเช่นกัน กำลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรม ก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรมเท่านั้นหาได้รู้ความหมายใด ๆ ไม่ แต่ก็พากัน ตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้นจากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียนพระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมา

   การสาธยายท่องจำและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังจาก ถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมะอย่างแตกฉาน สามารถแยกแยะและขยายความได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีปฏิภาณไหวพริบ มีโวหารและวาทะที่จะทำให้ผู้อื่นรู้ตามเข้าใจตามได้โดยง่าย) ฉฬภิญญะ (ผู้มีอภิญญา ๖ อันได้แก่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒ มีหูทิพย์ ๓ ทายใจผู้อื่นได้ ๔ ระลึกชาติได้ ๕ มีตาทิพย์ ๖ สามารถทำลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) และเตวิชชะ (ผู้ที่ได้วิชชา ๓ อันได้แก่ ๑ ระลึกชาติได้ ๒ รู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ ๓ มีปัญญาที่ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป) ได้ช่วยกันทำสังคายนา พระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระอภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา การทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-05.htm
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 19 ก.ค. 2554, 11:41:53 »
พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร ?

เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

    ต่อมาประมาณปี พ.ศ ๙๐๐ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎก ท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรมอยู่ที่สำนักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราชบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับอารธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้น ให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและจดจำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์จึงได้อาศัยพระบาลี อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ + ธรรม + อัตถะ + สัง + คหะ

อภิ = อันประเสริฐยิ่ง
ธรรมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน
อัตถะ = เนื้อความ
สัง = โดยย่อ
คหะ = รวบรวม

อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็วพระอภิธรรมแบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉทมี เนื้อหาโดยสรุปดังนี้

ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร ทำให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต

ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
แสดงเรื่องเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิตมีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภทเจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล

ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
แสดงการนำจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความรู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว (เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ) ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) และที่ตั้ง ที่อาศัยของจิต (วัตถุ)

ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
แสดงวิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทำงานของจิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้วจะทำให้รู้กระบวนการทำงานของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิด ที่ไหน เกิดที่วิถีจิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน คอยเปิดประตูให้เกิด จิตบุญหรือจิตบาปจิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) หรือการวางใจ อย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาป เกิดขึ้นได้

ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
แสดงถึงการทำงานของจิตขณะใกล้ตาย ขณะตาย (จุติ) และขณะเกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร ควรเตรียมใจอย่างไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี
พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันทีไม่ใช่ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบายเรื่องของกรรม ลำดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย)

ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน
เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องจิต และเจตสิก อันเป็นนามธรรมมาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ ได้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูปร่างกาย (รูปธรรม) โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่าง ๆ ได้ ๒๘ ชนิด และอธิบายถึง สมุฎฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร ในตอนท้ายได้กล่าวถึง เรื่องพระนิพพาน ว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะทำให้เข้าใจเรื่องของ พระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน

ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
เมื่อได้ศึกษาปรมัตตธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่ฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผล เป็นความทุกข์ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรม ของแต่ละบุคคล คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้ จึงทำให้ชีวิตตกอยู่ใน วัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น) อายตนะ ๑๒ (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์) ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติ ที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน) อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูล การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฎฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘

ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
ในปริจเฉทนี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฎิจจสมุปบาท (เหตุและผลที่ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฎฎ์) และปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ (สมมุติสัจจะหรือสมมุตโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก

ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฎฐานสังคหวิภาค
ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทำสมาธิ หรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญ สมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุขอยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น
จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต + เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มี การเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป ต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกำลังแก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-06.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 06:41:08 »
ประโยชน์จากการศึกษาพระอภิธรรม

เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมี โดยสังเขปดังนี้

๑ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์อย่างแท้จริง

๒ การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ) เรื่องเจตสิก เรื่องอำนาจจิต เรื่องวิถีจิต เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องสัตว์ใน ภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและ มาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและ ไปได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียด ลึกซึ้ง

๓ ผู้ศึกษา พระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตาม ธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไร ทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุด พักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมพระอินทร์ หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

๔ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

๕ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะ แค่การทำทาน รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฎฎกุศล เพราะกุศลชนิดนี้ยังไม่ทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนำไปสู่ การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

๖ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้นามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดรู้อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ

๗ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุดไม่มีวิทยาการใด ๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกเท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม

๘ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตลอดไป

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-08.htm

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 09:11:17 »
อ่านแล้ว..ได้ความรู้มากๆเลยครับ 36; 36;
                                         
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะที่ดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
                                                                                                                                           
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ) :033: :033:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.ค. 2554, 09:12:00 โดย saken6009 »

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 10:46:19 »
พระอภิธรรมปิฎก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย

คำสอนของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่า "ธรรมวินัย" ทั้งหมด ยังมิได้แยกเป็นปิฎกสามปิฎก ดังพระพุทธวจนะว่า "ธรรมและวินัยใดที่เราตถาคตแสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว" ต่อมาในการสังคายนาครั้งที่ 3 ธรรมวินัยได้รับการแบ่งแยกออกเป็นปิฎกสามปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
อรรถกาอัตถสาลินี อันเป็นอรรถกาที่อธิบายคัมภีร์สังคณีแห่งพระอภิธรรมปิฎก และอรรถกาธัมมปทัฏฐกถา อันเป็นอรรถกถาที่อธิบายคัมภีร์ธรรมบทแห่งพระสุตตันตปิฎก ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปเทศน์พระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 หลังจากทรงตรัสรู้ และได้ทรงถ่ายทอดพระอภิธรรมนั้นแก่พระสารีบุตรในเวลาต่อมา

สำนวนในการเขียนพระอภิธรรมปิฎกเป็น "ภาษาหนังสือ" แตกต่างจากสำนวนภาษาในพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก จึงมีผู้สันนิษฐานว่าพระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นของแต่งขึ้นใหม่ภายหลัง

สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้นแบ่งออกเป็นเจ็ดคัมภีร์ ซึ่งเรียกย่อว่า สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. และ ป. ตามลำดับ ประกอบไปด้วย
1. สังคณี หรือธัมมสังคณี (เรียกโดยย่อว่า "สํ.") - รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท
2. วิภังค์ (เรียกโดยย่อว่า "วิ.") - ยกหมวดธรรมขึ้นตั้งเป็นหัวข้อเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
3. ธาตุกถา (เรียกโดยย่อว่า "ธา.") - สังเคราะห์หรือจัดประเภทข้อธรรมต่าง ๆ เข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ดังต่อไปนี้ คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ
4. ปุคคลบัญญัติ (เรียกโดยย่อว่า "ปุ.") - บัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่าง ๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่
5. กถาวัตถุ (เรียกโดยย่อว่า "ก.") - แถลงและวินิจฉัยทัศนะที่ขัดแย้งกันของนิกายต่าง ๆ ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 โดยเน้นความถูกต้องของฝ่ายเถรวาท คัมภีร์นี้เป็นบทนิพนธ์ของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
6. ยมกะ (เรียกโดยย่อว่า "ย.") - ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
7. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ (เรียกโดยย่อว่า "ป.") - อธิบายปัจจัย 24 และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมทั้งหลายอย่างละเอียด

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ พระอภิธรรมปิฎก

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 01:14:47 »
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน

    เนื่องจาก พระอภิธรรม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ในการศึกษา พระไตรปิฎก   เพราะถือว่าเป็นหัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้า   แต่ก็เข้าใจได้ยากถ้าปราศจากการชี้แนะ    ทางเราเห็นว่าหนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" โดย  Nina Van Gorkom (แปลโดย  ดวงเดือน   บารมีธรรม) ของ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการปูพื้นฐานก่อนจะศึกษาพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งต่อไป   จึงขอนำมาเสนอไว้นะที่นี้    โดยจะทยอยลงทีละบทโดยไม่ตัดทอน จนครบทั้ง 24 บท  ดังต่อไปนี้
สารบัญ

คำนำ
1.   ปรมัตถธรรม 4
2.   ขันธ์ 5
3.   ลักษณะประการต่างๆของจิต
4.   ลักษณะของโลภะ
5.   โลภะขั้นต่างๆ
6.   ลักษณะของโทสะ
7.   อวิชชา
8.   อเหตุกจิต
9.   อเหตุกจิตที่ไม่มีใครรู้ในชีวิตประจำวัน
10.  จิตขณะแรกในชีวิต
11.  ปฏิสนธิจิตประเภทต่างๆ
12.  กิจของภวังคจิต
13.   กิจของจิตที่เป็นปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี
14.  ชวนกิจ
15.   กิจของตทาลัมพณจิตและจุติจิต
16.  อารมณ์และทวาร
17.  ทวารและวัตถุที่เกิดของจิต
18.  ธาตุ
19.  โสภณจิตในชีวิตของเรา
20.  ภูมิของสัตว์
21.  สมถภาวนา
22.  ฌานจิต
23.  โลกุตตรจิต
24.  การตรัสรู้อริยสัจจธรรม

 
คำนำ

พระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคที่รวบรวมไว้ในพระไตรปิฎก   คือ  พระวินัย (ระเบียบปฏิบัติสำหรับพระภิกษุ)   พระสูตร  และพระอภิธรรม

ทั้งสามปิฎกเป็นแหล่งบันดาลใจให้เราอาจหาญร่าเริงที่จะประพฤติ   ปฏิบัติธรรมเพื่อดับความเห็นผิดและกิเลสทั้งปวงได้ในที่สุด

พระธรรมวินัยทั้งสามปิฎกสอนให้เราเข้าใจ   "ธรรมะ"  คือ ทุกอย่างที่มีจริง    การเห็นเป็นธรรมอย่างหนึ่ง   เป็นสิ่งที่มีจริง    สีเป็นธรรมอย่างหนึ่ง   เป็นสิ่งที่มีจริง    ความรู้สึกเป็นธรรมอย่างหนึ่ง   เป็นสิ่งที่มีจริง    กิเลสเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่มีจริง

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้อริยสัจจธรรม   พระองค์ทรงประจักษ์แจ้งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง   พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อเราจะได้ประจักษ์แจ้งสัจจธรรมตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับพระองค์

ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงพระธรรม   เราก็ไม่รู้เรื่องสภาพธรรม   เรามักยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง   สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข   สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน    จุดประสงค์ของพระไตรปิฎก   คือ  สอนให้อบรมเจริญมัคค์ 8 ซึ่งนำไปสู่ความดับกิเลส

พระวินัยปิฎกเป็นระเบียบปฏิบัติสำหรับพระภิกษุเพื่อดำเนินชีวิต "พรหมจรรย์"    จุดมุ่งหมายของชีวิตพรหมจรรย์   คือ  การดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้น   แม้คฤหัสถ์ก็ควรศึกษาพระวินัย    มีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่า   มีภิกษุที่หันเหจากชีวิตพรหมจรรย์    เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น   พระผู้มีพระภาคก็ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อป้องกันพระภิกษุไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท    ขณะที่ศึกษาพระวินัยก็เตือนสติให้รู้โลภะ   โทสะ  โมหะ ของเราเอง    สภาพธรรมเหล่านั้นมีจริง   ตราบใดที่สภาพธรรมเหล่านั้นยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท   สภาพธรรมเหล่านั้นจะเกิดเมื่อใดก็ได้    พระวินัยเตือนให้รู้ว่ากิเลสเหนียวแน่นเพียงใด และนำไปสู่โทษภัยอะไร เมื่อพิจารณาอย่างนี้   เราก็จะเร่งรีบอบรมเจริญมัคค์มีองค์ 8   ซึ่งนำไปสู่ความดับความเห็นผิด   ความริษยา  ความตระหนี่   ความสำคัญตน  และกิเลสอื่นๆ

พระสูตรเป็นเรื่องราวต่างๆ ของบุคคลต่างๆ ณ สถานที่ต่างๆ    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องสภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6  กรรมและวิบาก   และหนทางซึ่งนำไปสู่ความดับทุกข์

พระอภิธรรมเป็นปิฎกที่กล่าวถึงสภาพธรรมทั้งปวงอย่างละเอียด    คำว่า "อภิ"  หมายถึง "ยิ่งใหญ่"    ฉะนั้น "อภิธรรม" หมายถึง "พระธรรมที่ยิ่งใหญ่"    การแสดงธรรมในพระอภิธรรมปิฎกแม้จะต่างจากสองปิฎก   แต่จุดมุ่งหมายก็เหมือนกัน คือ   เพื่อการดับความเห็นผิดและดับกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉท    ฉะนั้น   เมื่อเราศึกษาสภาพธรรมซึ่งจำแนกเป็นประเภทต่างๆ   ก็ไม่ควรลืมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาพระธรรม    ปริยัติธรรมเกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการประจักษ์แจ้ง
สัจจธรรม (ปฏิเวธ)    ขณะที่ศึกษาและไตร่ตรองนามธรรมและรูปธรรมนั้น   สติอาจเกิดขึ้นระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก็ได้ด้วยหนทางนี้เราก็จะรู้ว่าพระอภิธรรมเป็นเรื่องทุกอย่างที่มีจริง   นั่นก็คือ   โลกที่กำลังปรากฏทางทวาร 6


จุดมุ่งหมายที่เขียนหนังสือเล่มนี้   คือ   เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาพระอภิธรรม    ดิฉันหวังว่า   แทนที่ท่านผู้อ่านจะท้อใจที่เห็นตัวเลขและคำภาษาบาลีมากมาย   ก็คงจะหันมาสนใจสภาพธรรมที่ปรากฏที่ภายในและรอบๆท่านผู้อ่านเอง

คุณสุจินต์  บริหารวนเขตต์   ได้ช่วยเหลือและเป็นกำลังใจอย่างมากให้ดิฉันได้ศึกษาพระอภิธรรม
คุณสุจินต์ส่งเสริมให้ดิฉันรู้ด้วยตนเองว่า   พระอภิธรรมเป็นเรื่องสภาพธรรมที่รู้ได้   ทางตา  ทางหู  ทางจมูก   ทางลิ้น  ทางกาย  และทางใจ    ดิฉันจึงได้ตระหนักว่า   การศึกษาพระอภิธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆตลอดชีวิต    ดิฉันหวังว่าท่านผู้อ่านจะมีความรู้สึกอย่างเดียวกัน   มีความกระตือรือร้นและความสุขใจทุกครั้ง ที่ได้ศึกษาสภาพธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง

ดิฉันยกข้อความในพระสูตรหลายแห่งเพื่อแสดงให้เห็นว่า   คำสอนในพระอภิธรรมไม่ต่างจากคำสอนในปิฎกอื่นๆ      ข้อความที่ยกมา   ส่วนใหญ่จากพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ   ฉบับแปล ของสมาคมบาลีปกรณ์    ส่วนข้อความจากวิสุทธิมัคค์   ดิฉันใช้ฉบับแปลของท่านพระภิกษุญาณโมลี (โคลัมโบ  ประเทศศรีลังกา 2507)

ท่านพระภิกษุธัมมธโร (แอแลน   ไดรเวอร์)   ได้ช่วยแก้ไขและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเขียนหนังสือเล่มนี้   ด้วยความอนุเคราะห์อย่างขันแข็งจากท่าน   การเรียบเรียงและการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้จึงสำเร็จได้

ที่มาและอ่านทั้งหมดได้...........
http://buddhiststudy.tripod.com/abhidhamma.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 07:26:40 »
บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พร้อมคำแปล

พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรม (มี ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน) (สภาวธรรม) ล้วน ๆ ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ส่วนที่เรียกชื่อว่า นาย ก นาย ข นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย

พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่


๑ คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ คือ

๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น

๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น

๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของปรมัตถธรรม

๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของปรมัตถธรรม

๒ คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ (หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ส่วนวิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต ดังนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง) เรียกว่า ขันธวิภังค์

๓ ธาตุกถา แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)

๔ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอัน เกี่ยวกับบุคคล

๕ คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ อันถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย

๖ คัมภีร์ยมก ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ

๗ คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร

สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงอยากให้ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรม นั้นต่างกันอย่างไร


จาก http://www.dharma-gateway.com
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=18-06-2007&group=24&gblog=3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.ค. 2554, 07:27:23 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 08:42:54 »
อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูง หัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สำหรับอภิธรรมส่วนใหญ่พระท่านจะสวดบทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

มีอุปมาเอาไว้ว่า พระอภิธรรมปิฎกมีความสำคัญเปรียบเสมือนรากแก้ว พระวินัยปิฏกประหนึ่งลำต้น พระสุตตันตปิฎกเหมือน กิ่งก้านสาขา บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระอภิธรรมจึงมีความสำคัญที่สุด เป็นความรู้ระดับสูง ที่ท่านเรียกว่า ปรมัตถธรรม


คำอาราธนาธรรม

พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ

พระสังคิณี

กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณังวา ธัมมา รัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.

พระสังคิณี (แปล)

ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรุปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ ความฟุ้งซ้านย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล.


พระวิภังค์

ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขักขันโธ, ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะ ตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิตธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา ทีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อภิสัญญูหิตวา อภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.

พระวิภังค์ (แปล)

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุปัน ภายในก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม นั้นกล่าวรวมกันเรียกว่ารูปขันธ์


พระธาตุกะถา

สังคะโห อะสังคะโห, สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.


พระธาตุกะถา (แปล)

การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้ สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราห์ไม่ได้.


พระปุคคะละปัญญัตติ

ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนา ภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน.

พระปุคคะละปัญญัตติ (แปล)

บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ สัจจบัญญัติ อินทรีย์บัญญัติ บุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้ ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้ ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา ผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร ผู้เที่ยง ผู้ไม่เที่ยง ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์.


พระกถาวัตถุ

ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, นะ เหวัง วัตตัพเพ, อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, มิจฉา.

พระกถาวัตถุ (แปล)

(ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ
(ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง
(ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ
(ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด.


พระยะมะกะ

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะลามูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา.

พระยะมะกะ (แปล)

ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล อีกอย่าง ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล.


พระมหาปัฏฐาน

เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากาปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.

พระมหาปัฏฐาน (แปล)

ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้ ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย.


นำมาจากงานเขียน คุณชงโค

ที่มา
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=18-06-2007&group=24&gblog=3

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระอภิธรรม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 14 ก.ย. 2554, 12:59:00 »
จาก..........ประวัติการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย


เนื่องจากพระอภิธรรมเป็นธรรมชั้นสูง ถ้าเปรียบได้กับการเรียนแพทย์ศาสตร์ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนเตรียมแพทย์ศาสตร์ แล้วเรียนปรีคลีนิค ได้แก่เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานของวิชาแพทย์เสียก่อน ก่อนที่จะไปศึกษาเรื่องโรคภัย ไข้ เจ็บในตัวคนต่อไป นอกจากนั้นการเรียนพระอภิธรรมซึ่งเป็นปรมัตถธรรมมีการแสดงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพานเท่านั้น เป็นการศึกษาชีวิตคนที่ลึกซึ้งมาก บุคคลผู้จะศึกษาต้องมีศรัทธาสนใจที่จะรู้ว่าชีวิตคืออะไรปัญหาของชีวิตมีอะไร ตายแล้วไปไหน และการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเป็นความทุกข์ของชีวิต และจักแก้ปัญหาของชีวิตได้อย่างไร ฯลฯ จำนวนนักศึกษาพระอภิธรรมจึงมีจำนวนน้อย ก็เช่นเดียวกัน ในมหาวิทยาลัยย่อมมีนักเรียนแพทย์จำนวนน้อยกว่านักศึกษาวิชาอื่นๆ ทั้งสิ้น

 ผลการศึกษาพระอภิธรรมในปีแรกๆ นั้นมีจำนวนน้อยมาก เพราะยังไม่มีการวัดผลของการศึกษาที่ดี ต่อมา “อภิธรรมมหาวิทยาลัย” ได้จัดให้มีการสอบขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ มีผู้จบหลักสูตรการศึกษาพระอภิธรรมเป็น “ อภิธรรมบัณฑิต ” เป็นรุ่นแรกของการศึกษา เป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาต่างๆ เท่าที่มีการศึกษาและการสอนพระอภิธรรมเป็นเวลา ๖๐ ปี ที่แล้วมานี้ มีนักศึกษาที่สอบไล่สำเร็จอภิธรรมตรี โท เอก ประมาณกว่าหนึ่งพันคน และที่ได้ “อภิธรรมบัณฑิต” ประมาณ ๒๐ ท่าน แม้ปัจจุบันนี้ ก็มีนักศึกษาพระอภิธรรมในกรุงเทพฯ ไม่กี่ร้อยคน รวมกับต่างจังหวัดด้วยแล้วมีประมาณพันกว่าคน สำหรับครูอาจารย์ที่สอนพระอภิธรรมนั้นก็มีเป็นจำนวนไม่ถึงร้อย เนื่องจากเป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิต จึงมีคนสนใจน้อยในยุคปัจจุบัน....

 แม้พระอภิธรรมจะเป็นเรื่องที่ศึกษาได้ยาก หากให้ความสนใจ และเห็นถึงประโยชน์ในการเข้าถึงสัจธรรมชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนา ทางมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ นำโดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร บุตรสาวของท่านพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร ได้ดำเนินการนำพระอภิธรรมทั้ง ๙ ปริจเฉท เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้สนใจใฝ่ธรรมทั้งหลาย ได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ทางปัญญา เพื่อแสวงหาสัจธรรมให้แก่ชีวิต อันจะนำความผาสุกสวัสดีมาให้ ทั้งในภพนี้และภพหน้า ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เป็นผู้เปี่ยมล้นไปด้วยปัญญา มากด้วยบุญบารมี ตราบสิ้นอายุขัย ด้วยเถิด...

ที่มาและศึกษาได้ที่นี่

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p0/start.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ก.ย. 2554, 01:05:58 โดย ทรงกลด »