ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมสมาธิ ๕  (อ่าน 3657 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ธรรมสมาธิ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:29:50 »
ธรรมสมาธิ ๕
 
       ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมถูกต้อง กำจัดความข้องใจสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดธรรมสมาธิ คือความมั่นสนิทในธรรม ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต

       ห้าประการได้แก่
       ๑. ปราโมทย์ (ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส)       
       ๒. ปีติ (ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ)
       ๓. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็นกายใจ, ความผ่อนคลายรื่นสบาย)
       ๔. สุข (ความรื่นใจไร้ความข้องขัด)
       ๕. สมาธิ (ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย)

       ธรรม หรือคุณสมบัติ ๕ ประการนี้ ตรัสไว้ทั่วไปมากมาย เมื่อทรงแสดงการปฏิบัติธรรมที่ก้าวมาถึงขั้นเกิดความสำเร็จชัดเจน ต่อจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะเดินหน้าไปสู่การบรรลุผลของสมถะ (คือได้ฌาน) หรือวิปัสสนา แล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงใช้เป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติขั้นตอนในระหว่างได้ดี และเป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ
 
 
 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 05:27:03 »
พระวรคติธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก


“ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก
เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ
เป็นทางแยก
จะไปสูงไปต่ำ จะไปดีไปร้าย
เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น
พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดีแล้วจงเลือกเถิด
เลือกให้ดีเถิด”


โอวาทธรรมหลวงปู่ทา จารุธัมโม

"รู้ซื่อ ๆ รู้จิตซื่อ ๆ
อาการของจิตมันเป็นอย่างไรก็รู้มันตรง ๆ
อย่าไปอยากให้มันเป็นอย่างไร ให้รู้ซื่อ ๆ
อันนี้เป็นทางเดินของมรรค
รู้ซื่อ ๆ นี่แหละคือปัจจุบัน
จิตมันเป็นอย่างไรก็รู้มันในขณะนั้น
นี่เป็นทางเดินของพระอรหันต์ทั้งหลาย
เราอย่าไปอยาก
พอจิตมันไม่ดีก็อยากให้จิตมันดี
พอจิตมันเป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างโน้น
อันนี้ท่านว่ามันเป็นกิเลสตัณหา
ซึ่งเป็นทางตรงกันข้ามกับพระนิพพาน
ไม่ใช่ทางปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และของพระอรหันต์สาวก"

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 08:35:48 »
หากท่านพากเพียรบากบั่นแล้ว
ไม่มีสิ่งใดจะเป็นความยากสำหรับท่าน
ท่านจึงต้องพากเพียรอย่างสุดกำลัง
และจงทำตนให้เสมือนกับหยดน้ำเล็ก ๆ ที่หยดอยู่เสมอไม่ขาดระยะ
ย่อมสามารถเจาะหินให้ทะลุเป็นทางไปได้ฉันนั้น

จากหนังสือ ของฝากการเดินทาง
หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม
วัดหนองป่าพง


การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น
จะเริ่มต้นด้วยวิธีไหนก็ได้
เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว
ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น
เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน
จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำสำหรับบริกรรมเช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น
เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน
เมื่อจิตรวมสงบแล้ว คำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง
แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน
คือมี วิมุตติ เป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:11:18 »
ธรรมสมาธิ สามารถนำมาใช้ในชีวิตได้เลย

องค์ธรรม ธรรมสมาธิ 5 ประกอบด้วย
ปราโมทย์ – ปีติ – ปัสสัทธิ – สุข – สมาธิ


   เมื่อองค์ธรรมเกิดจะเกิดตามกันเป็นชุด โดยเริ่มจากปราโมทย์ (ความพอใจ) แล้วปราโมทย์ก็พัฒนาเป็น ปิติ (ความอิ่มใจ) เมื่อปิติสงบ (ปัสสัทธิ)  ความสุข (สุข) ก็ตามมา เมื่อสุขดับ จิตก็สงบ ตั้งมั่น (สมาธิ )

เราสามารถใช้จิตที่เป็นสมาธินี้ ไปพิจารณาธรรมใดๆ(วิปัสสนา) ก็ได้ต่อไป

การวิปัสสนานั้น ทำได้ 2 วิธี คือ โดยวิธีใช้จิตที่เป็นสมาธิตามธรรมชาติ และโดยในสมาธิจัดตั้ง (คือการฝึกกรรมฐานตามวิธีใดวิธีหนึ่งในทั้ง 40 วิธี)

วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาติ จึงเริ่มต้นจาก การนึกถึงความดีที่ทำ หรือนึกถึงศีลที่รักษาอย่างไม่ด่างพร้อย หรือพอใจกับผลงานที่สร้าง เป็นต้น จิตก็จะเกิดปราโมทย์ขึ้นจนถึงจบกระบวนธรรมที่สมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ จึงแจ่มใส นุ่มนวล ควรการนำไปใช้งานทางปัญญา เพื่อรู้เห็นธรรมได้ตามที่เป็นจริง (ตามระดับญาณของตน)

การพัฒนาทักษะด้านมิติสัมพันธ์

1 เขียนอัตชีวประวัติเกี่ยวกับปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ เช่น เคยวาดการ์ดเพื่อส่งให้คุณแม่ เคยวาดรูปประกอบบทเรียน เคยวาดภาพทิวทัศน์เพื่อประดับฝาผนังในห้องนอน เป็นต้น เพื่อค้นหาความสามารถและความสามารถของตนที่พัฒนาขึ้น

2 ฝึกวาดวงกลม โดยอาจเริ่มที่วงกลมขนาดประมาณเหรียญห้าบาท วาดใหม่ๆอาจจะยังไม่กลม ไม่เป็นไรค่ะ เราเพียงฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ และฝึกการควบคุมทิศทาง เมื่อวาดไปเรื่อยๆ จะพบว่าวงของเราค่อยๆกลมมากขึ้นค่ะ อาจเปลี่ยนขนาดของวงกลมให้เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง

3 พัฒนาทักษะการสังเกตด้วยสายตา เช่น การวาดภาพในแนวพฤกษศาสตร์ ที่ต้องใช้การสังเกตอย่างถี่ถ้วนถึงรูปทรง สีสัน รายละเอียด เพื่อให้ถ่ายทอดออกมาได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

4 พัฒนาความแม่นยำเรื่องทิศทาง เช่น ฝึกวาดแผนที่ง่ายๆ

5 ฝึกเขียนหนังสือกลับหัว (การเขียนหนังสือกลับหัว เราต้องจำภาพตัวหนังสือปกติแล้วนึกถึงการกลับบนลงล่าง และการกลับซ้ายเป็นขวาไปด้วยในคราวเดียวกัน )

6 วาดภาพตนเองกำลังทำงานโดยกำลังใช้ปัญญาด้านคิดถึงมิติสัมพันธ์ เพื่อเป็นการเตือนตนเองว่าเป็นสิ่งที่ตนต้องทำให้สำเร็จ

ด้วยความอดทนต่อการพัฒนา ผลคือ ศักยภาพของตนเองที่เพิ่มขึ้น และความนับถือตนเองที่ตามมา และเป็นอีกเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรม ธรรมสมาธิ 5

เหล่านี้เป็นการฝึกทักษะและแผนการพัฒนาทักษะด้านมิติสัมพันธ์อย่างง่ายๆ ส่วนการวาดภาพแนวพฤกษศาสตร์ในบล็อคนี้ ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านนี้

ที่มา
http://kv-lit.heroku.com/blog/nadrda/424604
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ก.ค. 2554, 09:12:11 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:44:06 »
ข้อควรทราบที่๓(นิวรณ์๕ องค์ฌาน๕ ธรรมสมาธิ๕)

ภาษา   ไทย
อยู่ในชุด   จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา
ที่มา   จาก เทศน์ บรรยาย แก่ นิสิตในโครงการฝึกปฏิบัติทางจิตตามแนวพุทธศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาสำโรง-ดงยาง อ. พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา
เรื่องที่ควรฟังก่อน   ข้อควรทราบที่๒(สังขาร๓)
เรื่องที่ต่อเนื่อง   ลำดับการปฏิบัติ



ที่มา
http://www.watnyanaves.net/th/clip_detail/117
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ก.ค. 2554, 09:44:53 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 10:14:25 »
การวัดผลการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรม มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการปลีกตัวไปหาที่สงบเพื่อทำสมาธิ หากในความเป็นจริง คือการนำธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเล่าเรียน หรือ การทำงานโดยใช้องค์ธรรม อิทธิบาท ๔ มาเป็นแนวทางในการศึกษา หรือในการปฏิบัติงานอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยประพฤติตนตามองค์ธรรมใน สังคหวัตถุ ๔ ,สัปปุริสธรรม ๗ ,มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น

การพัฒนาจิต ทั้งเพื่อชีวิตปัจจุบัน และเพื่อให้หลุดพ้น โดยการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘ (ที่หมุนวนจนโลกิยะมรรค กลายเป็นโลกุตตระมรรค)เหล่านี้เป็นต้น

การนำธรรมะมาปฏิบัติ เกิดจาก เมื่อเรามีความคิดอยากพัฒนาตนเองแล้ว (ในที่นี้คือกุศลฉันทะ บางท่านเข้าใจว่า"ความอยาก" เป็นตัณหาไปเสียทั้งหมด แต่ในความจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น) และมีศรัทธาในปัญญาของพระพุทธองค์ หรือก็คือเชื่อมั่นในศักยภาพในการพัฒนาของมนุษย์ (ตถาคตโพธิสัทธา) จึงเกิดกระบวนการทั้ง ๗ ในการแสวงหาความรู้ ครูผู้สอน การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ไล่เรื่อยไปจนถึงสามารถคิดตามธรรมเองได้ (บุพนิมิต) จึงเริ่มนำทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ หรือหนึ่งในอริยสัจ ๔ มาใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิต

เมื่อเรานำธรรมมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเมื่อฝึกปฏิบัติการทางจิตแล้ว เราคงอยากรู้ว่าเราก้าวหน้าไปหรือไม่ อย่างไร แล้วจะเอาอะไรมาวัดผล

พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ได้บรรยายถึงหลักพิจารณาไว้ดังนี้ค่ะ

“ พระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วว่า คนเรานี่จะเขวได้ง่าย จึงตรัสหลักในการตรวจสอบไว้ การตรวจสอบด้วยประสบการณ์ตรงก็คือ ให้ดูใจของตนเอง ว่ามีโลภ โกรธ หลง ไหม แล้วละคลายไปได้แค่ไหน มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้แค่ไหน เพียงไร มีความคิดประทุษร้ายต่อผู้อื่นหรือไม่ มีความเกลียดชังผู้อื่นหรือไม่ มีความต้องการในทางที่เห็นแก่ตนมากมายแค่ไหนเพียงไร มีความลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมา แค่ไหนเพียงไร ใจตัวเองรู้

ถึงจะปฏิบัติมีศีลเคร่งครัดแค่ไหนเพียงไร หรือได้ฌานสมาบัติ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไร หรือจะได้สมาธิดื่มด่ำอะไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เครื่องวินิจฉัย ”
     
นี่เป็นหลักตรวจสอบคร่าวๆ แต่หลักตรวจสอบโดยละเอียดนั้นสามารถวัดได้ 3 วิธีดังนี้
๑. วัดด้วยหลักอริยวัฒิ ( หลักวัดความเจริญของอริยชน )
เป็นการวัดด้วยกุศลธรรมที่งอกเงย งอกงาม แทนที่อกุศลธรรม โดยมีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ประการ
ประการที่ ๑ ศรัทธา ดูว่ามีความศรัทธาในสิ่งดีงาม หรือแม้แต่ความมั่นใจในศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามโพธิสัทธา อันเป็นสิ่งที่ดี ดูว่าสิ่งเหล่านี้มีเพิ่มขึ้นหรือไม่
ประการที่ ๒ ศีล ดูว่ามีศีลเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือก็คือดูว่าการปฏิบัติตนต่อสังคม สภาพแวดล้อมดีขึ้น ราบรื่นขึ้น มีวินัยขึ้นหรือไม่
ประการที่ ๓ สุตะ ดูว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ นำประสบการณ์มาเพิ่มพูนเป็นความรู้ในการพัฒนาตนมากขึ้นหรือไม่
ประการที่ ๔ จาคะ ดูว่ากิเลสต่างๆลดลงบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะความโลภ โกรธ หลง มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวมมากขึ้นหรือไม่
ประการสุดท้าย ปัญญา มีความรู้ ความเข้าใจสิ่งต่างๆถูกต้องตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัยเพิ่มขึ้นหรือไม่ และนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หรือไม่
๒ วัดด้วยการดูการทำหน้าที่ต่อธรรมต่างๆตามอริยสัจ ๔ 
อริยสัจ ๔ อันประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ( หรือก็คือมรรคมีองค์ ๘ ) นั้น ในการนำมาใช้งานจริงๆ ต้องนำมาหมุนวน ( ปริวัฏฏ์ ) พิจารณา ๓ รอบ
คือรอบแรก  รู้คำจำกัดความตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าคืออะไร (สัจญาณ หยั่งรู้สัจจะ )
รอบสอง รู้ว่าเรามีหน้าที่ หรือควรปฏิบัติต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างไร ( กิจญาณ หยั่งรู้กิจ )
รอบสาม ดูว่าหน้าที่ต่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เราได้ทำไปแล้วแค่ไหน ( กตญาณ หยั่งรู้การทำสำเร็จ )
อริยสัจ ๔ เมื่อหมุนวนพิจารณาครบทั้ง ๓ รอบ จึงเรียกว่า อริยสัจ ๔ ปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการเป็น ๑๒
๓ ดูสภาพจิตที่เดินถูกทาง
สภาพจิต หากฝึกฝนถูกต้อง ควรเกิดองค์ธรรม ตามกันมาเป็นลำดับนั่นคือ
ปราโมทย์ ร่าเริง เบิกบานใจ อันนำไปสู่ ปิติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ
ปิติที่เกิดอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นตัวนำไปสู่สมาธิ
ปิตินั้นมีอำนาจอยู่ในตัวอย่างหนึ่ง คือทำให้เกิด ปัสสัทธิ ความสงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับ ก็ย่อมเกิด สุข  ไม่มีภาวะบีบคั้น จิตมีความสงบ อันนำไปสู่ สมาธิ หรือความตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน
(องค์ธรรมเหล่านี้เรียก ธรรมสมาธิ ๕ เป็นองค์ธรรมที่เกิดต่อเนื่อง ตามกันมาเป็นชุด คือ ปราโมทย์ -ปีติ-ปัสสัทธิ-สุข-สมาธิ)
เมื่อสมาธิเกิด จิตอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า กัมมนีย์ ก็พร้อมที่จะนำจิตที่มีพลัง นุ่มนวล ควรแก่งานนี้ ไปใช้พิจารณาธรรมต่อไป หรือแม้แต่ใช้เพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ๆ

 .................................................
อ้างอิง
พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง ( หน้า ๔๒ ) สำนักพิมพ์ระฆังทอง นครปฐม
พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ที่มา
http://www.women40plus.com/women40plus-blog/a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a-a--665.html

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 24 ก.ค. 2554, 03:33:52 »
ธรรมสมาธิ สามารถนำมาใช้ในชีวิตได้เลย 36; 36;
             
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะที่ดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                             
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ sfrien16

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 8
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 03:21:23 »
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
บริษัทบริการทัวร์เชียงรายท่องเที่ยวภาคเหนือ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมสมาธิ ๕
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 09:23:11 »
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
ขอบคุณสำหรับคำขอบคุณครับ