ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๑๒ สค. ๕๔ ...  (อ่าน 941 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๑๒ สค. ๕๔ ...
ตถตาอาศรม เขาเรดาร์ บ้านบึง ชลบุรี
เสาร์ที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
            การเจริญจิตภาวนานั้นเป็นการกระทำที่จิตก็จริงอยู่ แต่จิตต้องอยู่กับกาย มีความสัมพันธ์กัน
จิตระลึกรู้อยู่ในกาย ไม่ส่งจิตออกนอกกาย อันเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นเพราะจิตส่งออก
ในความไร้รูปแบบนั้น คือความเป็นไปตามความเหมาะสม ตามจังหวะ เวลา โอกาส สถานที่และบุคคล
การเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมที่จะกระทำได้ในขณะนั้น มาประพฤติปฏิบัติเพื่อไม่ให้ขัดทั้งในทางโลก
และในทางธรรม ดำเนินไปในความเป็นปกติ การไร้รูปแบบนั้น มันก็มีรูปแบบของมันในตัวเองเสมอ
ต้องผ่านการฝึกฝนในรูปแบบมาก่อน จนมีความรู้ความเข้าใจและชำนาญในรูปแบบมาก่อนแล้ว
จึงจะละรูปแบบมาสู่รูปแบบที่ไร้กฏเกณฑ์กติกา ไร้การยึดติด มาทำที่จิตโดยทิ้งรูปแบบทางกาย
ไม่ใช่การทอดทิ้งธุระ ที่กระทำไปเพราะความมักง่าย อันเกิดจากอกุศลจิตคือความเกียจคร้าน
ความไม่ชอบใจทั้งหลาย แต่เกิดจากความรู้ความเข้าใจแล้วจึงปล่อยวาง...
          การเดินจงกรมนั้น เป็นการเจริญสติและสัมปชัญญะพร้อมกันไปในตัว เป็นได้ทั้งอารมณ์สมถะ
และวิปัสสนา ซึ่งถ้าจะให้เป็นสมถะนั้นเราก็เน้นที่สติ คือสติอยู่กับองค์ภาวนาในขณะที่เรากำลังก้าวเดิน
แต่ถ้าจะให้เป็นวิปัสสนานั้น เปลี่ยนมาเป็นการใช้สตินั้นพิจารณาตามดู ตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกาย
มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะจิต ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมที่มักจะเกิดขึ้นนั้น คือขาดความต่อเนื่องในอารมณ์
กรรมฐาน ไม่เสมอกันในอิริยาบท เพราะความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน คิดว่าการเสมอกันในอิริยาบทนั้นคือการที่
ปฏิบัติในอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ในระยะเวลาที่เท่ากัน ซึ่งเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะความหมาย
ของคำว่า " การเสมอกันในอิริยาบท "นั้น หมายถึงการปฏิบัติในกรรมฐานกองเดียวกันในอิริยาบททั้งหลาย
คืออารมณ์กรรมฐานนั้นเสมอกันในทุกอิรยาบท เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของอารมณ์กรรมฐานตามหลักของ
" อิทธิบาท ๔ "  อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต วิมังสา  ซึ่งเราต้องค้นหาตัวเองให้ได้ว่า เราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร
ต้องการเพียงความสงบ เพื่อหลบปัญหา หรือว่าปรารถนาซึ่งความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย เพื่อ มรรค
ผล นิพพาน หรือเพื่อความต้องการที่จะมีอิทธิฤทธิ์  เราต้องถามตนเองให้ได้คำตอบเสียก่อนว่า " เราทำเพื่ออะไร "
และเมื่อได้คำตอบให้ตนเองแล้ว จึงมาคิดต่อไปว่าทำอย่างไร ศึกษาหาข้อมูลของการปฏิบัติธรรม ว่าควรทำอย่างไร
ถามผู้รู้ ดูตำรา หาครูบาอาจารย์ นั้นคือแนวทางต่อไป และสิ่งที่จะทำให้เกิดความเจริญในธรรมได้เร็วนั้น ก็คือแนวทาง
ที่จะปฏิบัตินั้น ต้องเหมาะสมกับจริตของเรา " ธรรมะสัปปายะ " อันมี " ฉันทะ " ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำ เป็นพื้นฐาน
คือการมีศรัทธาในสิ่งที่กระทำ มีความเพียรพยายามที่จะกระทำในสิ่งที่ชอบ ในสิ่งที่ใช่ ตั้งใจทำไปโดยไม่ทอดทิ้งธุระ
กระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีการคิดพิจารณาใคร่ครวญว่าสิ่งที่ทำไปนั้นมันเป็นอย่างไร  สิ่งนี้คือ   " อิทธิบาท ๔ "
สิ่งนี้คือแนวทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหลาย...
             การไร้รูปแบบก็คือการมีรูปแบบเฉพาะตัวนั้นเอง โดยการไม่เข้าไปยึดติดในรูปแบบที่เป็นกระแสนิยมของสังคม
เป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับจริตและวิถีชีวิตของผู้ปฏิบัตินั้นเอง เป็นการกระทำที่รู้ได้เฉพาะตน มีเหตุและผลในการ
กระทำทั้งหลาย มีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศลควบคุมกายจิตอยู่ทุกขณะ เป็นสภาวะของปรมัตตธรรม จิตเข้าสู่ความ
เป็นปัตจัตตัง รู้ได้เฉพาะตนในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ ดำเนินชีวิตไปอย่างเรียบง่าย ไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น
ไม่ฝ่าฝืนธรรมวินัย เป็นไปโดยชอบอันประกอบด้วยกุศล เป็นมงคลต่อชีวิต ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ...
                                 เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                                      รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๕.๑๕ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๑๒ สค. ๕๔ ...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 ส.ค. 2554, 07:07:20 »
อิทธิบาท ๔...อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต วิมังสา 17; 17;
                           
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ รักษาดูแลสุขภาพด้วยนะครับ :054: :054:
   
ขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์ สำหรับคำสอนดีๆ ที่นำมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                             
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบพระคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ