ผู้เขียน หัวข้อ: ....ตัณหา.......  (อ่าน 3200 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
....ตัณหา.......
« เมื่อ: 22 ส.ค. 2554, 09:32:47 »
ตัณหา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก
ตัณหา ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท
ตัณหา ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้

ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก
ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา

ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง

กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5
ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง
วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความอยากดับสูญ
ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา 3 อย่างนี้


อ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ...ตัณหา ๓...โดย คุณ ~@เสน่ห์เอ็ม@~
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=17788.msg155611

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ ตัณหา
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ....ตัณหา.......
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 ส.ค. 2554, 09:35:33 »
ตัณหา 6

ตัณหา 6 หมวด ได้แก่

รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)

สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง

คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น

รสตัณหา คือ อยากได้รส

โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)

ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์

ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์

ตัณหาทั้ง 6 นี้ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

ธรรมะที่เกียวข้อง

จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา 1 การได้เพราะอาศัยการแสวงหา 1 การวินิจฉัยเพราะอาศัยการได้ 1 ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย 1 ความหมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ 1 ความหวงแหนเพราะอาศัยความหมกมุ่น 1 ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน 1 การจัดการอารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ 1 ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตราการทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียดว่ามึงๆ และพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการนี้แล ฯ


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/ตัณหา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ....ตัณหา.......
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 ส.ค. 2554, 09:42:30 »
อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา


ตัณหา คือ ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ จึงได้แต่สร้างความไม่สงบและความทุกข์ต่างๆ ให้บังเกิดขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้ปฏิบัติ เพื่อละตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยากปรารถนานั้นเสีย สำหรับผู้ที่ต้องการจะพบกับความสงบ

และในขั้นสามัญก็ได้มีคำสอนอันแสดงไว้ว่า “ให้อาศัยตัณหาละตัณหาเสีย” ความตัณหาละตัณหานั้น ก็หมายความว่า ให้ใช้ความดิ้นรนทะยานอยากในทางที่พบกับความสิ้นทุกข์ คือให้อยากพบความสิ้นทุกข์ อยากบรรลุมรรคผลนิพพาน

อันความอยากดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นความพอใจใคร่ที่จะปฏิบัติกระทำท่านเรียกว่า “ฉันทะ” เป็นอธิบาท คือธรรมที่ให้บรรลุถึงความต้องการที่มาก ฉันทะนี้ก็เป็นตัณหา และเมื่อแสดงอย่างละเอียดแม้ฉันทะดังกล่าวนั้นก็เป็นตัณหาอย่างละเอียดอย่างหนึ่ง แต่เป็นตัณหาในทางที่ดี ก็ให้อาศัยตัณหาในทางที่ดีเพื่อละตัณหาในที่สุด

ในข้อนี้ได้มีการแสดงถึงการอาศัยฉันทะเพื่อละฉันทะ ดังที่ท่านพระอานนทเถระได้ตอบปัญหาที่มีผู้ถามว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร”

ท่านตอบว่า “เพื่อละฉันทะ”

ผู้ถามก็ถามต่อไปว่า “การละฉันทะนั้นจะทำอย่างไร”

ท่านก็ตอบว่า “ให้อบรมทำฉันทะให้บังเกิดขึ้น”

ผู้ถามจึงแย้งว่า “คำตอบเช่นนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะทีแรกตอบว่าประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละฉันทะ แล้วทำไมจึงมาตอบอีกว่าให้ปฏิบัติอบรมทำฉันทะ”

ท่านพระอานนท์จึงได้แสดงอุปมาว่า “การที่จะมาสู่อารามนี้ ผู้มาก็ต้องมีฉันทะที่จะมา ต้องมีความเพียรที่จะมา ต้องมีจิตตะที่จะมา ต้องมีความใคร่ครวญที่จะมา แต่ว่าครั้นมาถึงอารามนี้แล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ความเพียรก็สงบ จิตใจที่มาก็สงบ วิมังสา คือความใคร่ครวญพิจารณาที่จะมาก็สงบ ฉะนั้นจึงละฉันทะอย่างนี้”

ตามคำตอบของท่านนี้ ก็คือต้องอาศัยฉันทะในการที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ก็เป็นอันว่าละฉันทะ

อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาก็เช่นเดียวกัน อาศัยตัณหา คือความอยากเพื่อที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ตัณหานั้นก็สงบ แต่ว่าต้องละตัณหาจึงจะพบกับความสงบ อันหมายถึงความสิ้นสุดกิจที่จะพึงทำนั้นได้

ฉะนั้น เมื่อยังมีตัณหาอยู่ก็ให้เป็นนายของตัณหา อย่าให้ตัณหาเป็นนาย ตัณหาเป็นนายนั้นเรียกว่า “ตณฺหาทาโส” แปลว่าเป็นทาสของตัณหา ความเป็นทาสของตัณหานั้นก่อให้เกิดความทุกข์ อันเป็นความไม่สงบด้วยประการทั้งปวง

แต่ความเป็นนายของตัณหานั้น แม้ว่าจะมีความไม่สงบเพราะตัณหา แต่ก็สามารถควบคุมตัณหาได้ ไม่ให้ตัณหานำไปในทางที่ผิด เพราะว่าเมื่อมีความดิ้นรนทะยานอยากบังเกิดขึ้นก็ควบคุมได้ เพราะพิจารณารู้ว่าที่ดิ้นรนทะยานอยากไปอย่างนั้นถูกหรือผิด

ถ้าเป็นไปในทางที่ผิด ก็งดเว้นไม่กระทำ สงบความอยากนั้นเสีย
ถ้าเป็นไปในทางที่ถูกก็กระทำ

ก็เป็นอันว่าเป็นนายของตัณหาควบคุมตัณหาได้ และเป็นการอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาเสียด้วย ก็เพราะว่าเมื่ออยากจะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำอันใดอันเป็นกิจที่ดีที่ชอบ เมื่อกระทำเสร็จลงไปแล้ว ตัณหาในเรื่องนั้นก็สงบ เป็นอันละตัณหานั้นได้ พบความสงบไปชั้นหนึ่งๆ ดังนี้


: ความสงบ
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8632

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ....ตัณหา.......
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 03:22:36 »
ตัณหาทั้ง6 (ความอยาก)  รูป รส กลิ่น เสียง ทางกายสัมผัส ใจนึกคิด 36; 36;
 
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความที่ดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                                       
ป.ล  อ่านแล้วได้ความรู้มากๆครับ + เพลินดีมากครับ
                                                                                                                                                         
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ....ตัณหา.......
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 07:28:34 »
ขยายความเล็กน้อยในข้อหก แห่งตัณหา ๖

คติธรรมคำสอน หลวงปู่ทวด - ธรรมารมณ์



การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์

คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง

อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน

คือ รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ

ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน

เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่าง ๆ

แล้วถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น

เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/times/2010/07/17/entry-1

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ....ตัณหา.......
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 09:33:29 »
ตัณหาเกิดจากอะไร
โ ด ย : พระราชสังวรญาณ ( พุธ ฐานิโย ) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


         พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า "อานนท์ เธอว่าตัณหาเกิดจากอะไร ?"
"ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม"
พระองค์ก็ทรงตอบว่า "ตัณหาเกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เกิดได้ เพราะตาเห็นรูป หูได้
ยินเสียง จมูกได้กลิ่นลิ้นได้รส กายสัมผัส"
"มันจะดับที่ตรงไหน ?"
"มันเกิดที่ไหน มันก็ดับที่ตรงนั้น คือมันจะดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ"
"ทำอย่างไร มันจึงจะดับ ?"

[shake]"ฝึกสติ" [/shake]

อันนี้หลักฐานยืนยันชัดเจน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฝึกสติ ไม่ต้องไปคำนึงว่า เราจะไปนั่งสมาธิที่ไหน
ในวัดใด สมาธิจะได้ลึกตื้นหนาบางเพียงใด แค่ไหน ขอให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา

จาก ครอบครัวตัวละคร ธรรมะติดปีก
[/color]
ที่มา
http://variety.teenee.com/foodforbrain/5090.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ส.ค. 2554, 09:34:26 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ....ตัณหา.......
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 09:45:11 »
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

      นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง

อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4


แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต

      สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้

1. ราคจริต
      ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา

2. โทสจริต
      คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป

3. โมหะ และ วิตกจริต
      อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป

4. สัทธาจริต
      ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ

พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน

     ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
5. พุทธิจริต
      คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง

มรณานุสสติกรรมฐาน
อุปมานุสสติกรรมฐาน
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน

      กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่เพราะอรูปละเอียดเกินไป

ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ส.ค. 2554, 09:47:35 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ....ตัณหา.......
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 23 ส.ค. 2554, 10:16:05 »
หมวดกิเลสตัณหา [Craving]

1.  ยถาปิ  มูเล อนุปฺปทฺทเว ทฬฺเห
ฉินฺโนปิ  รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
    เอวมฺปิ  ตณฺหานุสเย  อนูหเต
       นิพฺพตฺตตี  ทุกฺขมทํ  ปุนปฺปุนํ ฯ

            เมื่อรากยังแข็งแรง ไม่ถูกทำลาย
            ต้นไม้ที่ถูกทำลายแล้วก็งอกได้ใหม่ได้ฉันใด
            เมื่อยังทำลายเเชื้อตัณหาได้ไม่หมด
            ความทุกข์นี้ก็ยังเกิดขึ้นร่ำไป ฉันนั้น ฯ

            As a tree cut down sprouts forth again
            If its toots remain undamaged and firm,
            Even so, while latent craving is not removed
            This sorrow springs up again and again.

2.          ยํ  เอสา   สหเต  ชมฺมี             ตณฺหา โลเก  วิสตฺติกา
             โสกา ตสฺส  ปวฑฺฒตนฺติ          อภิวุฏฺฐํว    วรีณํ  ฯ

             ตัณหาอันลามก มีพิษร้าย ครอบงำบุคคลใด ในโลก
             เขามีแต่โศกเศร้าลสดใจ เหมือนหญ้าถูกฝนรด ย่อมงกงาม .

            Whoso in the world is overcome
            By this craving poisonous and base
            For him all sorrow increases
            As Virana  grass that is watered well .

3.         โย  เจตํ   สหเต  ชมฺมี           ตณฺหา  โลเก   ทุรจฺจยํ
            โสกา    ตณฺหา  ปปตนฺติ         อุทวินฺทุว   โปกฺขรา ฯ

            ผู้ใดเอาชนะตัณหาอันลามกที่ยากจะเอาชนะได้นี้
            ความโศกย่อมหายไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว .

            But whoso in the world overcomes
            This base craving , difficult ot overcome
            His sorrow falls away from him
            As water drops from a lotus leaf.

4.          ตสิณาย   ปุรกฺขตา  ปชา
             ปริสปฺปนฺติ   สโสว  พาธิโต
             สํโยชนสงฺคสตฺตา
             ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุนํ จิราย ฯ

             เหล่าสัตว์ติดกับตัณหา กระเสือกกระสนดุจกระต่ายติดบ่วง
             สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในกิเลสเครื่องผูกผัน ย่อมประสบทุกข์บ่อย ๆ ตลอดกาลนาน .

             Enwrapped in lust, beings run about
             Now here now there like a captive hare
             Held fast by fetters they suffer
             Again an again for long.

5.         โย นิพฺพนฏฺโฐ วนาธิมุตฺโต        วนมุตโต วนเมว ธาวติ
             ตํ ปุคฺคลเมว ปสฺสถ                   มุตฺโต พนฺธนเมว ธาวติ ฯ

              บุคคลใดสละเพศผู้ครองเรือน ถือเพศบรรพชิตปราศจากเรือน
              พ้นจากป่าคือกิเลสแล้วยังวิ่งกลับไปหาป่านั้นอีก
              พวกเธอจงดูบุคคลนั้นเถิด เขาออกจากคุกแล้วยังกลับวิ่งเข้าคุกอีก .

             Released from jungle of the household life
             He turns to  the bhikkha jungle-life
             Though freed froom the household wilds
             He runs back to that very wilds again
             Come indeed and behould such a man
             Freed he turns to that bondage again.

6.         น  ตํ  ทฬฺหํ   พนฺธนมาห  ธีรา
            ยทายสํ   ทารุชปพฺพชญฺจ
            สารตฺตรตฺตา   มณิกุณฺฑเลสุ
            ปุตฺเตสุ   ทาเรสุ  จ  ยา  อเปกฺขา ฯ

            เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็กไม้และปอป่าน
            ผู้รู้กล่าว่า ยังไม่ใช่เครื่องจองจำที่มั่นคง
            แต่ความกำหนดยินดีในเครื่องเพชร บุตร ภริยา
            เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงยิ่งนัก .

            Not strong are bonds made of iron
            Or wood, or hemp.thus say the wise
            But attachment to jeweeled ornaments
            Children and wives is a strong tie .

7.         วิตกฺกมถิตสฺส    ชนฺตุโน       
             ติพฺพราคสฺส   สุภานุปสฺสิโน
             ภิยฺโย   ตณฺหา  ปวฑฺฒติ
             เอส   โข  ทฬฺหํ  กโรติ พนฺธนํ ฯ

             ผู้ตกเป็นทาสวิตกจริต มีจิตกำหนัดยินดี
             ติดอยู่ในสิ่งที่สวยงาม
             มีแต่จะพอกความอยากให้หนา ทำเครื่องพันธนาการให้แน่นเข้า.

             For him who is of restless mind
             Who is of powerful passions
             Who sees but the pleasurable
             Craving increases all the more
             Indeed he makes the bond strong.

8.          หนนฺติ   โภคา  ทุมฺเมธํ          โน   จ ปารคเวสิโน
             โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ           หนฺติ   อญฺเญว  อตฺตานํ ฯ

             โภคทรัพย์ ทำลายคนโง่ แต่ทำลายคนที่แสวงหาพระนิพพานไม่ได้
             เพราะโลภในทรัพย์ คนโง่ย่อมทำลายคนอ่น และตนเอง .

             Riches ruin the fool
             But not those   seeking Nibbana
             Craving for wealth, the foolish man
             Ruins himself by destroying others.

9.          สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ       
             สพฺพรสํ ธมฺมรโส  ชินาติ
             สพฺพรตึ ธมฺมรตึ ชินาติ
             ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ฯ

              ธรรมทานชนะการให้ทุกอย่าง รสพระธรรมชนะรสทุกอย่าง
              ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทุกอย่าง ความสิ้นตัณหาชนะความทุกอย่า

ที่มา
http://satuk.tripod.com/supasit/supasit10.htm