ผู้เขียน หัวข้อ: "ความสุขอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า"  (อ่าน 2792 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขึ้นชื่อว่า"ความสุข"แล้วเราทุกคนล้วนใฝ่หา เราทำทุกอย่างในชีวิต ไม่ว่าการงาน การเงิน ครอบครัว แสวงหาสิ่งปรนเปรอด้วย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ในรูปแบบต่างๆ บ้าน รถยนต์หรูหรา ทรัพย์สิน เงินทอง บริวาร ลาภ ยศ สรรเสริญนานา ก็เพื่อสนองความต้องการความสุขในชีวิตกันทุกคน แต่ความสุขแบบโลกๆที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เล็กจนโตมักมาในรูปแบบที่ว่า ฉันได้ในสิ่งที่ฉันต้องการ ฉันเอาในสิ่งที่ฉันใฝ่หา ฉันเป็นเจ้าของในสิ่งที่ฉันและคนอื่นยื้อแย่งกัน เมื่อสมอยากแล้วก็รู้สึกว่า "สุข" เป็นสุขที่รอคอยการมาของความทุกข์ เป็นสุขที่ปลายอีกด้านนึงคือทุกข์เป็นไม้ท่อนเดียวกัน เหมือนรุ่งอรุณรอคอยการมาของราตรีอันมืดมน เป็นสุขที่เหมือนการปีนเขาสูงชัน ยิ่งสูงมากก็ยิ่งหนาว หากตกลงมาระยะทางยิ่งสูงมากฉันใด ก็ยิ่งตกลงมาเจ็บมากเป็นทวีคูณฉันนั้น เพราะเป็นสุขที่อยู่บนพื้นฐานของความ "อยากได้ อยากมี อยากเป็น" เมื่อสมอยากแล้วก็จะเกิดความเคยชินต่อมาเมื่อมันน้อยลงหรือหายไป ซึนามิแห่งความทุกข์ก็เริ่มถาโถมเข้ามาในชีวิต แม้จะอ้างเหตุผลในการอยากได้มาด้วยความดีบางอย่างเช่น ความรับผิดชอบหรือกตัญญู เช่น เพื่อครอบครัว พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา แต่ก็เป็นความทุกข์สีขาวอยู่ดี เหตุเพราะวางใจไว้ไม่ถูกต้องก็อยู่บนพื้นฐานของ ตัวฉัน ครอบครัวฉัน สุดท้ายก็เพื่อฉัน
และรอวันพลัดพรากอยู่ดี ทำอย่างไรชีวิตถึงจะมีความสุขโดยแท้จริงได้?


พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสถึง"ความสุขอันแท้จริง"เอาไว้ว่า"สุขใดยิ่งกว่าความสงบเป็นไม่มี" อันหมายถึง "สงบสุข"หรือ "อยู่เย็นเป็นสุข" มีสันติในใจ สะอาด สว่าง สงบ มีศีล แปลว่า ศิลา คือ หนักแน่น มั่นค ง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มากระทบ ไม่หวั่นไหวต่อความบีบคั้น กระหายในความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความเหงาเศร้าซึม ความคิดฟุ้งซ่านในใจ จิตใจเป็นกลางไม่ "เลือกที่รัก ปัดที่ชัง" ซึ่งการจะได้มาซึ่งสุขแบบนี้เกิดขึ้นจากการ "ไม่ปล่อยปะละเลย" หมั่นย้อนทำความรู้สึกกลับมาที่กาย ด้วยอุบายต่างๆตามจริตนิสัยที่ชอบ( ดูลมหายใจ, ความรู้สึกเคลื่อนไหวของกาย, การบริกรรม ,สวดมนต์ ,การอุทิศบุญต่างๆ) หมั่นย้อนกลับมาดูใจ,สังเกตุ,สำรวจ,เรียนรู้ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ของตนเองให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้ โดยพยายามทำไปพร้อมๆกับการงานทางโลก หรือ ปลีกวิเวกหาสถานที่ เวลาสักช่วงใหญ่ๆอยู่ทำคนเดียวให้มากหน่อยในระยะแรกๆ เมื่อทำดังนี้ได้บ่อยๆมากๆจนเป็นนิสัย ในที่สุดจิตกับความคิดก็จะค่อยๆแยกออกจากกันให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นคนละสิ่งกัน เมื่อนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น "สัมมาทิฏฐิ" อันเป็นสิ่งแรกในอริยมรรคมีองค์ 8 อันแท้จริง คือ เห็นถูกต้องในธรรมชาติของใจเราอย่างแท้จริง เมื่อนั้นเราจะกลายเป็น "ผู้รู้" อันมักเอาแต่ "เห็นความคิด"ปรุงแต่งทะยานอยากของตนเอง ไม่ไปเพ่งโทษหรืออคติต่อผู้อื่น จนค่อยๆละวางความปรุงแต่งในใจตนไปได้เรื่อยๆจนเกิดความ"สงบสุข"ในใจอย่างแท้จริง มากกว่าจะเป็น "ผู้อวดรู้" ที่มีแต่"ความคิดเห็น" ของตัวกูของกูเป็นใหญ่ กูเก่งของกูถูกต้องที่สุด มี"ความสุข"แบบที่ได้เอาชนะผู้อื่น ได้ของที่ตนเองอยากได้ แต่รอวันแพ้พ่าย เพราะได้น้อยลงหรือเสียของที่เคยเป็นของกู คนที่เคยเป็นของกูไป และ พ่ายแพ้แก่ใจตนเองในที่สุดกับ "ความสุขจอมปลอม"ที่ได้มาชั่วครั้งชั่วคราวแต่กลับไม่เคยพบ "ความสงบสุขอันแท้จริง" ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้เลย ฉนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะย้อนถามตนเองว่า


"ความสุขแบบไหนกันแน่ที่เราต้องการจริงๆ