ผู้เขียน หัวข้อ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ  (อ่าน 3367 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~KittY~

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 152
  • เพศ: ชาย
  • ชมรมคนรักพ่อแก่
    • MSN Messenger - superkidman@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
อยากศึกษา อยากเรียนรู้
ที่ไหนมีรัก ที่นั้นมีทุกข์ จัยขื่นขม ชัวนิรันณ์

http://www.acccomp.ath.cx/meu/
                 ชมรมคนรักพ่อแก่

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 05 ธ.ค. 2550, 11:41:24 »
การเรียน กสิน ต้องมี ผู้แนะนำ พระอาจารย์ ที่จะมาแนะนำเรานะครับ  ;D

ออฟไลน์ พาหุง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 339
  • เพศ: ชาย
  • ศรัทธา วัดบางพระ
    • MSN Messenger - athiphong90@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 ธ.ค. 2550, 02:15:22 »
พี่ๆ เพื่อนๆ น้าๆ กสิน คือไรเหรอ ครับ :086: :086: ผมไม่รู้จิงๆ อ่า ? :075: 11;
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ� สูงต่ำอยู่ทำตัว

ออฟไลน์ min

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 142
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 06 ธ.ค. 2550, 11:24:59 »
............  ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ....         1      เตโชกสิน.....   กสินไฟ
                             
                                                              2     วาโยกสิน......   กสินลม

                                                              3     โอปากสิน......... กสินน้ำ

ออฟไลน์ ลูกชายพ่อสังวรณ์

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 351
  • เพศ: ชาย
  • พุททังกันตัง
    • MSN Messenger - pom_146@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 21 เม.ย. 2551, 10:16:33 »
เล่นกสินนี้ก่อนดี กสินจิต
คุมตัวเองรู้ตัวเองก่อนถึงไปคุมไปรู้อย่างอื่นครับ
ลองทำดูคุณทำได้
เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นเรื่องธรรมดา
ยากดีมีจนก็แล้วแต่กรรมที่ทำมา

ออฟไลน์ Chaiwat Prasurin

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 149
  • เพศ: ชาย
  • สับสนแต่ไม่หลงทาง
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 22 เม.ย. 2551, 11:52:43 »
:017:คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. | ปฐวีกสิณ | อาโปกสิณ | เตโชกสิณ | วาโยกสิณ | นิลกสิณ | โลหิตกสิณ | ปิตกสิณ | โอทากสิณ | อาโลกกสิณ | อากาสกสิณ | ...
แต่ละกสินก็มีความหมายที่แตกต่างกันไป......เช่น.....ปฐวีกสิณ กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ 
ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน" 
กสิณแปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ว่า "เพ่งดิน"
 
อาโปกสิณ อาโปกสิณ อาโป แปลว่า "น้ำ" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" อาโปแปลว่า "เพ่งน้ำ" 
กสิณน้ำมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ 
ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่าง ๆ มา 
ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะ เท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง 
การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต
อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม
สำหรับปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือ ใสมีประกายระยิบระยับ
เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้ว จงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน 
บทภาวนา ภาวนาว่า "อาโปกสิณัง"
 
เตโชกสิณ เตโชกสิณ แปลว่า "เพ่งไฟเป็นอารมณ์" 
กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ 
ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชน 
แล้วเอาเสื่อ หรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า
ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ 
การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบ ที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์
ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต
อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ 
สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น มีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือ คล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ 
เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา 
 
วาโยกสิณ วาโยกสิณ แปลว่า "เพ่งลม" 
การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
การถือด้วยการถูกต้องกระทบ ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบจะให้พัดลมเป่าแทน ลมพัด หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้ลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ 
เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณังๆ ๆ ๆ     
อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับ กระไอ แห่งการหุงต้ม ที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั้นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั้นเอง อาการอื่นนอกนี้เหมือนปฐวีกสิณ 
 
นิลกสิณ นิลกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเขียว" 
ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนังกระดาษก็ได้แล้วเอาสีเขึยวทา หรือจะเพ่งพิจารณา สีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ 
อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณังๆ ๆ ๆ 
อุคคหนิมิตนั้น ปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง
 
ปีตกสิณ  ปีตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเหลือง" 
การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด 
บทภาวนา ภาวนาว่าเป็น ปีตกสิณังๆ ๆ
 
โลหิตกสิณ โลหิตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีแดง" 
บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณังๆ ๆ ๆ 
นิมิตที่จัดหามาเพ่งจะเพ่งดอกไม้สีแดง หรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้
อุคคหนิมิต เป็นสีแดง
ปฏิภาคนิมิต เหมือนนีลกสิณ
 
โอทากสิณ โอทากสิณ แปลว่า "เพ่งสีขาว" 
บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณังๆ ๆ ๆ 
สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้ หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้
นิมิตทั้งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหนิมิต เป็นสีขาวเท่านั้นเอง
 
อาโลกสิณ อาโลกสิณ แปลว่า "เพ่งแสงสว่าง" 
ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝา หรือช่องหลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ 
แล้วภาวนาว่า อาโลกสิณังๆ ๆ ๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ 
อุคคหนิมิตของอาโลกสิณ เป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ 
ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับเอาแสงสว่าง มากองรวมกันไว้ที่นั่น
แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไปก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ 
 
อากาสกสิณ  อากาสกสิณ แปลว่า "เพ่งอากาศ" 
อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณังๆ ๆ 
ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องฝาเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อ หรือผืนหนัง 
โดยกำหนดว่า อากาศๆ ๆ จนเกิดอุคคหนิมิตซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด 
ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ คำอธิบายอื่นก็เหมือนกสินอื่น
 
อุปกรณ์กสิณ

ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปกรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาดจากผงธุลี หรือ จะทำเป็นสะดึงยกไปมาได้ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง 
ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดินสีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน 
ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่าหาได้จากดินขุยปู เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัย 
เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตามขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลายติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน

ขนาดดวงกสิณ

วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔ นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน 
ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว 
ตั้งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณ ที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ 
เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบและริ้วรอยต่าง ๆ

กิจก่อนการเพ่งกสิณ

เมื่อจัดเตรียมอุปการณ์เรียบร้อยแล้ว ท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาดแล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่งสำหรับนั่ง 
หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการ ตามนัยที่กล่าวไว้ในอสุภกรรมฐาน (ต้องการทราบละเอียดโปรดเปิดไปที่บทว่าด้วยอสุภกรรมฐานจะทราบละเอียด) 
เมื่อพิจารณาโทษของกามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณ จดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ ก็หลับตาใหม่
กำหนดภาพกสิณไว้ในใจภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพกสิณเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไป ทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพันครั้งเท่าที่ได้ ไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่ก็ตาม ภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใน นึกเห็นภาพกสิณได้ขัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจตลอดเวลาอย่างนี้ ท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต " แปลว่านิมิตติดตา
อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณโทษอยู่มาก คือ ภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้และขอบวงกลมของสะดึงย่อมปรากฏริ้วรอยต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้วท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต 
ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้งอยู่ในใบบัวฉะนั้น รูปนั้นบางท่านกล่าวว่าคล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่ายๆ ก็คือ เหมือนแล้วที่สะอาดนั้นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตามความประสงค์ อย่างนี้ ทานเรียกปฏิภาคนิมิต
เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับนักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่าใส่ใจอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจจะทำอารมณ์สมาธิที่กำลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้สลายตัวได้โดยฉับพลัน 
ขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวังอารมณ์ รักษาปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น

จิตเข้าสู่ระดับฌาน

เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐ อย่างนั้นมีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกฌาน ๔ บ้างฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และฌาน ๕ ให้เข้าใจเสียก่อน
 
ฌาน ๔

ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้

๑.ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือละวิตก และวิจารณ์เสียได้ คงดำรงอยู่ในองค์ ๓ คือปีติ สุข เอกัคคตา
๓.ตติยฌานมีองค์ ๒ คือละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ดำรงอยู่ในสุขกับเอกัคคตา
๔.จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือละวิตก วิตาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
 
ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้
สำหรับในที่บางแห่งท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดไว้ดังต่อไปนี้
 
ฌาน ๕

๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒.ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือละวิตกเสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๓.ตติยฌานมีองค์ ๓ คือละวิตก วิจาร เสียได้ คงทรงปีติ สุข เอกัคคตา
๔.จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือละวิตก วิจาร ปีติเสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
๕.ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่าปัญจมฌาน มีองค์เหมือนกันคือ ละวิตกวิจาร ปีติ สุขเสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
 
เมื่อพิจารณาดูแล้วฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่ฌาน ๒ ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือนฌาน ๔ ตามนัยนั่นเอง อารมณ์ฌานมีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ ท่านแยกเรียกเป็นฌาน ๔ หรือฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกัน
กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน ๔ หรือฌาน ๕ ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญในกสิณนั้นเอง
เมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้า เวลาออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อออกเมื่อไร ได้ตามใจนึก
การเข้าฌานต้องคล่อง ไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้แต่ครึ่งนาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานละ ก็เข้าได้ทันที ต้องยึดฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือ เอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ 
เมื่อเข้า ฌานคล่องแล้ว ต้องฝึก นิรมิต ตามอำนาจกสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงชื่อว่าได้กสิณกองนั้นๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึงไม่ควรย้าย ไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น การทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็วกลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ ทำใหม่ เก่าก็หาย ใหม่ก็ไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิต อธิษฐาน แล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกัน ต่างกันแต่สีเท่านั้น จะเสียเวลาฝึกกองต่อ ๆ ไปไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน เป็นอย่างสูงจะนิรมิตอธิษฐานได้ สมตามที่ตั้งใจ 
ขอนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน จนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน จึงค่อยย้ายกองต่อไป
 
องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง


ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ

วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิตนั้นเป็นอารมณ์ 
วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงาม คล้ายแว่นแก้ว ที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจารธุลีต่างๆ มีประเภท ๕ คือ
๑.ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
๒.ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
๓.โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่านก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
๔.อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลาย ๆ กิโลก็มี
๕.ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่สูงขึ้นกว่าปกติสุขมีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น
ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่ายอารมณ์ออก นอกจากปฏิภาคนิมิต ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ 
แปลกแต่กสิณ มีอารมณ์ ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่จตุตถฌาน หรือปัญจมฌาน
 
ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ

ตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง 
การกำหนด การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่น ด้วยอำนาจปีติ  อารมณ์สงัดมาก
ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงามวิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์จิตแนบสนิทเป็นสมาธิมากกว่า 
 
ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ

ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ คือ มีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้ มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที 
ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องใน เกินกว่าที่ประสบมา อารมณ์ของจิตไม่สนในกับอาการทางกายเลย
 
จตุตถฌาน

ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุขและความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น
มีอุเบกขาวางเฉย ต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลงคล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมาก หลายๆ ดวงตั้งไว้ในที่ใกล้
ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่เสียง ลมหายใจสงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก 
ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆ ไว้ว่าเมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี
 

ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบกสิณต้องถึงฌาน ๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณ ก็เป็นเสมือนท่านยังไม่ได้กสิณเลย

อานุภาพกสิณ ๑๐
 
          กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ 
         อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้

ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้ 
อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เข่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้วให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น 
เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้ 
วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้ 
นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้ 
ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้ 
โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์ 
โอทากสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ 
อาโลกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง 
อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้ 
 
วิธีอธิษฐานฤทธิ์
 
วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ก่อน
แล้วออกจากฌาน ๔ 
แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น
แล้วกลับเขาฌาน ๔ อีก 
ออกจากฌาน ๔ 
แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา
(จบกสิณ ๑๐ แต่เพียงเท่านี้)

 
 :090:หากคุณปฎิบัติได้และรักษาได้อย่างดีคุณจะยอดสุดๆ




 

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 22 เม.ย. 2551, 05:26:40 »
เรื่อง กสิณ ก็ตามที่ท่าน Chaiwat Prasurin  บรรยายมาหละครับ

อยากศึกษา อยากเรียนรู้

ถ้าอยากศึกษา เรียนรู้ ก็เชิญ โรงเรียนกสิณธร มีหลายที่ มีทั้งอาคาเดมี่/เซนต์ปีเตอร์ :005: :005: :005:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 22 เม.ย. 2551, 09:08:31 »
ขอบคุณครับท่าน :-*

ออฟไลน์ !~ก๊อตซิล่า~!

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 49
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 24 ธ.ค. 2551, 01:21:55 »
ขอบคุณมากครับ

ออฟไลน์ porpar

  • ......... ขอคุณพระคุ้มครอง ........
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1274
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คัยมีความรู้เรื่อง กสิน มั้งคับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 24 ธ.ค. 2551, 03:35:52 »
ขอบคุณครับผม...