ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง  (อ่าน 37246 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« เมื่อ: 31 มี.ค. 2551, 08:18:13 »

พระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรีอีกรูปหนึ่ง นามหลวงพ่อแช่ม อินฺทสโร ที่ไม่อาจปฏิเสธถึงชื่อเสียงแห่งพระเกจิอาจารย์จากลุ่มน้ำนครชัยศรีไปได้

ยิ่งเมื่อทอดสายตาไปทั่วเมืองนครปฐม พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและโดดเด่นมากรูปหนึ่งในนั้น มี หลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก ยืนอยู่ตรงแถวหน้ารูปหนึ่ง

หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นี่แหละที่น่าจะกล่าวถึงไว้ในอัตโนประวัติหลวงพ่อแช่ม เนื่องเพราะอย่างน้อยมีสายสัมพันธ์กันในฐานะ อาจารย์ และ ศิษย์โดยเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อแช่ม

ทว่าปูมหลังการอุปสมบทของหลวงพ่อแช่ม มีอยู่ถึง 2 เส้นทาง

ทางหนึ่งกล่าวว่า หลวงพ่อแช่ม ได้อุปสมบทที่วัดตาก้อง โดยมีพระอธิการจันทร์ วัดท่ามอญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูกลั่น วัดพระประโทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

อีกเส้นทางหนึ่งกลับว่า หลวงพ่อแช่ม อุปสมบทที่วัดพระประโทน มีพระอุตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น) วัดพระประโทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ชุ่ม วัดพระประโทน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

กล่าวสำหรับพระอาจารย์ชุ่มนี้ จากประวัติในเส้นทางแรกว่า เป็นน้องชายของหลวงพ่อแช่ม แต่ในประวัติตามเส้นทางที่สองว่า เป็นน้าชายของหลวงพ่อแช่ม และต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสมถกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดพระประโทนต่อจากพระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น)

ปูมหลังของพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าๆ สับสนเช่นนี้เสมอ ที่สับสนเนื่องเพราะไม่มีการบันทึกรายละเอียดของประวัติไว้ นอกจากอาศัยคำบอกเล่าจึงมักคลาดเคลื่อนเสมอ

ความสับสนไม่เพียงในเรื่องของการอุปสมบท วันเดือนปีเกิดของหลวงพ่อแช่ม ก็ยังไม่ชัดแจ้ง

ทางหนึ่งนั้นว่า หลวงพ่อแช่ม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 3 ปีจอ พ.ศ.2405 ที่บ้านตาก้อง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

เป็นบุตรของนายชื่น และนางใจ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน โดยท่านเป็นคนโต และน้องชายชื่อชุ่ม

ทางที่สองกลับว่า หลวงพ่อแช่ม เป็นบุตรคนหัวปี มีจำนวนพี่น้อง 7 คน อันประกอบด้วย ชาย 5 หญิง 2 ของนายกลัด และนางเหม นามสกุล มากลัด เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2398-2400 ที่บ้านหอคอย (มีบางท่านบอกว่าเป็นชาวบ้านดอนข่อย) อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านดอนกลาง ตำบลมาบแค

แต่ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อพลิกหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" อันเรียบเรียงโดย เทพ สุนทรศารทูล กลับกล่าวว่า

"หลวงพ่อแช่ม เป็นชาวตำบลตาก้องโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2400 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเกิดวัน เดือน ปีอะไรก็ไม่มีใครรู้ หลวงพ่อแช่มเองก็ไม่ทราบท่านจำไม่ได้เหมือนกันว่าท่านเกิดปีอะไร ทั้งนี้เพราะบิดามารดาไม่ได้บอกไว้ ท่านเองก็ไม่สนใจปีเกิดของท่าน เมื่อประมาณ พ.ศ.2490 ข้าพเจ้าเคยถามท่านว่า หลวงพ่ออายุเท่าไรแล้ว ท่านตอบว่า "เกือบร้อย" ท่านบอกใครๆ ว่า อายุท่านเกือบร้อยทั้งนั้น โยมผู้ชายหลวงพ่อแช่มชื่อ "กลัด" หลวงพ่อแช่ม เป็นุบตรคนหัวปี มีน้องชายคนหนึ่งชื่อ "นาค" น้องสาวชื่อ ทิม น้องชายคนสุดท้องชื่อทับ"

กล่าวว่าเมื่อหลวงพ่อแช่ม อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระประโทน ยาวนานถึง 8 พรรษา แต่ เทพ สุนทรศารทูล ระบุไว้ในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" (ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2519 ต่อมาคณะศิษยานุศิษย์วัดตาก้องได้นำมาพิมพ์ซ้ำเมื่อปี พ.ศ.2537) ว่า

"หลวงพ่อแช่ม บวชแล้วก็มิได้จำพรรษาที่วัดตาก้อง ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ไปจำพรรษาที่วัดพะเนียงแตก ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม"

พระอุปัชฌาย์มิใช่ไหนอื่นไกลเลย คือ พระครูอุตรการบดี (ทา) นั่นเอง

ได้อยู่ศึกษาวิชากับพระครูอุตรการบดี ร่ำเรียนวิชากรรมฐาน เป็นเบื้องต้น ก่อนจะสอนวิชาคาถาอาคมต่างๆ ให้กับหลวงพ่อแช่ม จากนั้นจึงออกธุดงควัตรเป็นการทดสอบจิต

กล่าวว่านอกเหนือจากการศึกษาวิชาจากพระครูอุตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตกแล้ว หลวงพ่อแช่มยังได้ศึกษาวิชาจากพระเกจิอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น เรียนทางด้านการทำผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ และผงปถมัง กับพระครูปริมานุรักษ์ (คด) วัดริมจวน นครปฐม เรียนวิชาทางด้านคงกระพันชาตรีกับพระอาจารย์จันทร์ วัดพระงาม เรียนทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาดกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี

ภายหลังจากธุดงควัตรกลับมาถึงวัดพะเนียงแตกแล้ว หลวงพ่อแช่มได้เข้าไปกราบลาพระครูอุตรการบดี (ทา) เพื่อขอกลับไปอยู่ยังวัดตาก้อง เพื่อให้อยู่ใกล้ญาติโยมทางโน้น ซึ่งพระครูอุตรการบดี (ทา) ได้กล่าวเพียงว่า

"ไปอยู่วัดตาก้องน่ะ ต้องระวังให้ดี ที่นั่นเขาเป็นพระบ้านทั้งนั้น เราเป็นพระป่านะ"

ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัด เป็นเพียงพระลูกวัดธรรมดา แต่เพราะชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่ม นั่นแหละวัดตาก้องจึงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

อย่างที่กล่าวไว้แต่แรกว่า ปูมหลังของหลวงพ่อแช่มนั้นมีอยู่ถึง 2 ทาง ทางหนึ่งบอกหลวงพ่อแช่มเป็นชาวตำบลตาก้อง แต่อีกทางหนึ่งกลับว่าเป็นชาวบ้านหอคอย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

กระนั้นความเชื่อถือในข้อมูลของทางที่หนึ่งนั้นมีมากกว่า เชื่อว่าหลวงพ่อแช่มเป็นชาวตำบลตาก้อง ที่มีวัดหนึ่งอยู่ในตำบลชื่อเดียวกัน คือ วัดตาก้อง

ตำบลตาก้องที่แต่เดิมเรียกกันว่า "อ้ายก้อง" ดังเมื่อครั้งที่หมื่นพรหมพักศร (มี) กวีมีชื่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เดินทางผ่านระหว่างไปนมัสการพระแท่นดงรัง ที่เมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2376 ได้แต่งนิราศไว้ว่า

"ข้ามห้วยหนองคลองบึงถึงอ้ายก้อง

สกุณร้องรัญจวนถึงนวลหงษ์

พอโพล้เพล้เพลาจะค่ำลง

ให้งวยงงง่วงเหงาเศร้าฤทัย

เสียงจักกระจั่นแจ้งแจ้วให้แว่วหวาด

หนาวอนาถนึกน่าน้ำตาไหล

ยะเยือกเย็นเส้นหญ้าพลาลัย

วังเวงใจจรมาในราตรี"

ที่วัดตาก้องในสมัยที่หลวงพ่อแช่มไปจำพรรษา มีเจ้าอาวาสชื่อ กร่าย ใน หนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ของ เทพ สุนทรศารทูล กล่าวไว้ว่า

"สิ้นบุญหลวงพ่อเกริ่นแล้ว สมภารกร่ายก็ได้ปกครองวัดต่อมา สมภารกร่ายองค์นี้เป็นญาติทางฝ่ายมารดาของข้าพเจ้า แต่สมภารกร่าย หรือหลวงน้ากร่ายของข้าพเจ้านี้ สู้หลวงพ่อเกริ่นไม่ได้ เพราะท่านโมโหร้ายนัก สมัยนั้นนักเรียนประชาบาลอาศัยเรียนอยู่บนศาลาการเปรียญ เวลาหยุดพักกลางวันเด็กๆ ก็เล่นกันส่งเสียงเอะอะเกรียวกราวหนวกหู ท่านสมภารกร่ายก็ลงจากกุฏิ ถือขวานลูกหนึ่งวิ่งกวดนักเรียน นักเรียนก็วิ่งหนีเป็นการสนุกแกมหวาดกลัว เที่ยวซุกซ่อนอยู่ตามใต้ถุนศาลาบ้าง วิ่งขึ้นไปหาครูบนศาลาบ้าง ปีหนึ่งจะมีเรื่องต้องวิ่งหนีสมภารกร่ายกัน 2-3 ครั้งเสมอ เพราะนานๆ เข้าเด็กๆ ก็ลืม ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวให้ท่านไล่กวดตะเพิดเอาเรื่อยๆ"

เมื่อหลวงพ่อแช่มมาถึงวัดตาก้องแล้วนั้น ได้ขึ้นไปกราบเรียนให้สมภารกร่ายทราบว่า ท่านมาจำพรรษาที่วัดตาก้อง แต่กลับพบความเฉยเมยของเจ้าอาวาสวัดตาก้อง ที่เพียงพยักหน้ารับทราบอย่างเมินๆ กับหลวงพ่อแช่ม

แต่บัดนั้นเป็นต้นมา จึงเป็นที่ทราบว่าสมภารกร่าย ดูจะไม่ค่อยชอบหลวงพ่อแช่ม ดังนั้นหลวงพ่อแช่มจึงได้ไปปลูกกุฏิอยู่นอกเขตวัดตาก้อง บริเวณกุฏิท่านเป็นป่าละเมาะ ซึ่งหลวงพ่อแช่ม และชาวบ้านอีก 2-3 คน มาช่วยกันหักร้างถางพง ปลูกกุฏิขึ้นแบบศาลาไม่มีฝาผนังเปิดโล่งตลอด ไม่ยอมลงโบสถ์ทำสังฆกรรมร่วมกับพระวัดตาก้อง

เมื่อท่านจำพรรษาอยู่ ณ กุฏิแห่งนี้ ชาวบ้านพากันมากราบท่านทุกวี่วัน ซึ่งคงขัดนัยน์ตาสมภารกร่ายยิ่งนัก ที่หลวงพ่อแช่มมีญาติโยมมาเยี่ยมกราบมิได้ขาด

ความไม่ชอบใจหลวงพ่อแช่มของสมภารกร่ายได้นำไปสู่การร้องเรียนต่อเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัด โดยสมภารกร่ายเป็นผู้ร้องเรียนด้วยตัวท่านเอง ที่สุดนำไปสู่การสอบสวนด้วยข้อกล่าวหาที่ฉกรรจ์หลายข้อด้วยกัน คือ

1. ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส

2. ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าจะไปไหน ไปทำอะไร

3. หายไปจากวัดหลายๆ วันเสมอ ไม่ทราบว่าไปทำอะไรที่ไหน

4. ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นพร้อมพระภิกษุอื่นในวัด

5. ไม่ลงฟังพระสวดปาติโมกข์ในวันพระ

6. ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามธรรมเนียมของพระภิกษุ

7. หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวทำครัวเหมือนชาวบ้าน

8. รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์ เป็นหมอรักษาไข้ให้ชาวบ้าน ผิดกิจของสงฆ์

9. อวดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ผิดศีลของพระภิกษุ

ในการสอบสวนหลวงพ่อแช่มนั้น มีเจ้าคณะจังหวัด พร้อมด้วยเจ้าคณะตำบล และคณะผู้ติดตาม เดินทางมาสอบสวนถึงวัดตาก้อง เมื่อมาถึงกุฏิของสมภารกร่ายได้ให้พระลูกวัดไปนิมนต์หลวงพ่อแช่มมาพบที่กุฏิ ทว่าพระลูกวัดได้กลับมารายงานว่า หลวงพ่อแช่มไม่ยอมมาพบ และได้ฝากข้อความมาว่า ตัวของท่านเป็นจำเลยอยู่แล้ว มีคดีร้ายแรงอย่างใดก็ขอให้ไปที่กุฏิของท่าน หากผิดจริงจะได้จับสึกกันเสียทีเดียวที่กุฏิของท่าน

คณะของเจ้าคณะจังหวัดจึงได้ไปยังกุฏิของหลวงพ่อแช่มเพื่อทำการสอบสวนเรื่องร้องเรียนของสมภารกร่าย เมื่อมาถึงกุฏิที่หลวงพ่อแช่มปลูกเป็นศาลา พบหลวงพ่อแช่มนุ่งสบงผืนเดียวนั่งขัดสมาธิคอยอยู่บนพื้นกระดานแผ่นใหญ่ที่ปูอยู่กับพื้นดิน มีไม้ขอนวางรอง ไร้เฟอร์นิเจอร์ใดๆ ทั้งสิ้น กระทั่งเสื่อปูรองก็ไม่มี

เจ้าคณะตำบลที่มาด้วยเห็นเช่นนั้นก็ได้บอกให้หลวงพ่อแช่มไปครองจีวรเสียให้เรียบร้อยและชี้แจงให้รู้จักว่า นั่นเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดให้นมัสการกราบไหว้เสีย เพราะท่านเป็นเจ้าคณะใหญ่ผู้ปกครองสงฆ์ชั้นสูง หลวงพ่อแช่มยังคงเฉย และกล่าวต่อเจ้าคณะตำบลว่า "ผมมันไม่ใช่พระใช่เจ้าอะไรแล้ว เป็นจำเลยให้เขาฟ้องร้อง มีตุลาการมาสอบสวน ก็อยากให้สอบสวนกันอย่างนี้ ดีร้ายจะได้ถอดสบงสึกกันง่ายๆ ไม่ต้องครองไตรจีวรให้เสียเวลา"

ซึ่งเจ้าคณะตำบลได้กล่าวปลอบชี้แจงว่า ยังไม่ใช่นักโทษ เพียงแต่ถูกอธิกรณ์ข้อกล่าวหา จะต้องสอบสวนกันก่อน ถ้าผิดจึงจะลงโทษ ถ้าไม่ผิดก็ไม่มีโทษอะไร เจ้าคณะท่านเป็นพระผู้ใหญ่มา ควรครองไตรจีวรให้เรียบร้อย เพื่อแสดงความเคารพท่าน หลวงพ่อแช่มก็กล่าวว่า "ถ้าหากผมนุ่งสบงตัวเดียวอยู่วัดอย่างนี้ ผมไม่ใช่พระหรืออย่างไร ถ้าหากผมครองไตรจีวรเรียบร้อยแล้ว ผมมีศีลด่างพร้อย ต้องอาบัติปาราชิก ผมจะเป็นพระเพราะครองไตรจีวรหรือ"

ท่านเจ้าคณะจังหวัดซึ่งได้นิ่งฟังอยู่เป็นนานแล้ว ได้กล่าวกับหลวงพ่อแช่มว่า "นี่แน่ะท่านแช่ม ถ้าท่านเป็นพระถือศีลบริบูรณ์อยู่ ให้ท่านไปห่มจีวรให้เรียบร้อยก่อน เรื่องผิดถูกค่อยพูดกันทีหลัง" หลวงพ่อแช่มจึงลุกขึ้น คว้าจีวรห่มนั่งลงที่เดิม ไม่ได้นิมนต์ให้เจ้าคณะจังหวัดนั่ง ซึ่งท่านก็ได้นั่งลงเองพร้อมๆ กับพระภิกษุรูปอื่นๆ

ต่อเมื่อได้นั่งมองสังเกตไปรอบๆ กุฏิของหลวงพ่อแช่ม ที่ปลุกเป็นศาลาโรงดิน หลังคามุงจาก เปิดฝาผนังโล่งทั้ง 4 ด้าน ไม่มีพื้นกระดาน นอกจากแผ่นกระดานใหญ่ที่ปูนอนอยู่บนพื้น และเป็นที่นั่งรับแขก สักครูหนึ่ง เจ้าคณะจังหวัดจึงได้เอ่ยขึ้น "ที่มาวันนี้ก็ไม่ได้ตั้งใจจะมาสอบสวนอะไร ไม่ได้คิดว่าท่านแช่มจะทำผิดศีลวินัยอะไร แต่อยากจะมาดูให้รู้กับหูกับตาว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะมีคำร้องฟ้องกล่าวโทษไปหลายข้อ" ว่าแล้วก็หยิบคำฟ้องจากย่ามขึ้นมาอ่านให้ฟัง แล้วถามเป็นข้อๆ

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมก็อยู่ในเขตวัดตาก้อง เจ้าอาวาสก็อยู่ในกุฏิของท่าน ผมก็อยู่ในกุฏิของผม ต่างคนต่างอยู่ ไม่เคยพบหน้ากัน เจ้าอาวาสไม่เคยมาว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนอะไรผม ไม่เคยสั่งห้ามอะไร ผมก็ไม่เคยฝ่าฝืนข้อห้ามข้อใดเลย แล้วจะว่าผมไม่อยู่ในปกครองได้อย่างไร ธรรมดาพ่อแม่ปกครองลูก ก็ต้องดูแลว่ากล่าว ตักเตือน สั่งสอน ห้ามปราม นี่ไม่เคยเลย ผมก็ไม่เคยทำอะไรฝ่าฝืน จะว่าฝ่าฝืนข้อไหน ท่านไม่มาปกครองผมเองต่างหาก"

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าไปไหน ทำอะไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"เมื่อสมภารไม่มาปกครองผม ปล่อยผมตามใจ ผมก็ปกครองตัวเอง จะไปไหนก็ไปเอง กลับเอง ทำอะไรก็ทำเอง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของวัด ข้อนี้ผมมีความผิดธรรมวินัยของสงฆ์อย่างไร"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หายหน้าไปจากวัดเสมอ ครั้งละหลายๆ วัน ไม่ทราบว่าไปทำผิดทำชั่วทำความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์อย่างไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมออกจากวัดไปเสมอจริง ไปครั้งละหลายๆ วันจริง ก็ไปทำกิจส่วนตัวที่ชาวบ้านเขานิมนต์เป็นกิจส่วนตัว ไม่ได้ไปทำผิด ทำชั่ว ทำความเสื่อมเสียอะไร ถ้าหากว่าไปทำผิดทำชั่วจริง คงจะมีคนจับได้ คงจะถูกฟ้องร้อง ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวเข้าคุกตะรางไปแล้ว แต่นี่ก็ไม่มีใครพบเห็นว่าทำผิดทำชั่วที่ไหนเลย อย่างนี้จะผิดธรรมวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหา ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ร่วมกับพระภิกษุสงฆ์องค์อื่น หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ผมก็ทำของผมองค์เดียวเพราะผมอยู่องค์เดียว ผมเป็นพระป่า เคยออกธุดงค์เดินป่า ก็ทำวัตรสวดมนต์องค์เดียวมาตลอด พระอรหันต์ท่านไปอยู่ป่า อยู่ถ้ำ ท่านก็สวดมนต์ภาวนาองค์เดียว การสวดมนต์องค์เดียวผิดศีลวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์ในวันพระ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"วันพระผมก็สวดพระปาติโมกข์เอง สวดเอง ฟังเอง เหมือนพระสงฆ์อื่นๆ ที่ท่านให้ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์นั้น สำหรับพระที่สวดพระปาติโมกข์เองไม่ได้ จะได้ฟังเอาบุญก็ผมสวดเองได้ จะต้องไปฟังใครสวดอีกเล่า พระอื่นๆ เสียอีกที่สวดพระปาติโมกข์ไม่ได้นั่นแหละจะสู้ผมไม่ได้ ถ้ามาว่าพระปาติโมกข์แข่งกัน"

ซึ่งเจ้าคณะจังหวัดได้แย้งว่า "การฟังพระปาติโมกข์นั้น ฟังจบแล้วก็ได้ฟังคำสั่งสอนอบรมของเจ้าอาวาสด้วย" หลวงพ่อแช่มจึงตอบกลับว่า "ผมสวดพระปาติโมกข์จบแล้วก็นั่งเจริญสมาธิภาวนา อบรมจิตของตนเป็นการบำเพ็ญภาวนา ดีเสียกว่านั่งฟังครูอาจารย์สั่งสอบอบรมเสียอีก คนเราลองถ้าได้สงบจิตเตือนใจของตนได้แล้ว ใครเล่าจะวิเศษไปกว่าตนของตนเตือนตน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามธรรมเนียมของพระภิกษุสงฆ์ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ที่ท่านให้ออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์นั้นก็เพื่อจะได้อาหารมาเลี้ยงชีพอย่างหนึ่ง กับเพื่อจะได้ออกไปเตือนอุบาสกสีกาให้บริจาคทานทำบุญ ก็เมื่อผมเองไม่ต้องออกไปบิณฑบาตก็มีอาหารเลี้ยงชีพ จะต้องออกบิณฑบาตอีกทำไม ถ้าจะว่าออกไปเตือนคนให้บริจาคทานทำบุญทำกุศลก็ผมเองนั่งอยู่ที่กุฏินี้ เขาก็คิดถึงนำอาหารมาถวาย ผมทำให้คนทั้งหลายบริจาคทานทำบุญได้อยู่แล้ว ไม่ต้องออกไปเตือนให้เขาทำบุญจนถึงบ้าน อย่างนี้จะว่าผิดธรรมเนียมสงฆ์อย่างไรอีก ถ้าผมออกบิณฑบาตกลับจะเป็นโทษ เพราะคนเขาจะพากันทำบุญตักบาตรผมเสียมาก พระภิกษุอื่นๆ จะขาดลาภไปเสีย อย่างนี้จะไม่ว่าผมมีเมตตาแก่ภิกษุบวชใหม่บ้างหรือ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวเอง เหมือนชาวบ้าน หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ก็เมื่อผมไม่ออกบิณฑบาตขอภิกขาจารอาหารเช้ากิน จึงต้องหุงข้าวกินเอง เพราะผมฉันอาหารแต่เช้า พอตะวันขึ้นชาวบ้านเขาเอาถวายไม่ทัน อีกประการหนึ่ง ผมมีลูกศิษย์หลายคน ทั้งพระทั้งฆราวาสจึงต้องตั้งครัวหุงต้มเลี้ยงกันเอง ชาวบ้านเขาเอาข้าวสาร กะปิ น้ำปลา ปลาแห้ง ปลาเค็ม มาถวาย ก็จัดการหุงต้มแกงกินกันเอง อย่างนี้จะผิดศีลวินัยข้อไหน"

เจ้าคณะจังหวัดว่า "ผิดที่สะสมอาหารไว้อย่างไรเล่า พระภิกษุเราไม่ควรจะต้องสะสมอาหาร ควรบิณฑบาตเลี้ยงชีพไปชั่วมื้อชั่ววันเท่านั้น"

หลวงพ่อแช่มได้ตอบกลับว่า "ผมไม่ได้สะสมอาหารสุกไว้กินในยามวิกาล ผมสะสมอาหารดิบอาหารแห้งไว้ประกอบกินในวันพรุ่งนี้ต่างหาก ผมไม่ได้สะสมไว้เพื่อตัวเอง สะสมไว้เพื่อศิษย์ต่างหาก การประกอบอาหารผมก็ไม่ลงมือทำเองศิษย์ทำถวายทั้งสิ้น"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "อาหารดิบนั้น มีปลาเป็นๆ ไข่ไก่อยู่หรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ปลาเป็นๆ ไม่มีอุบาสกสีกาคนใดอุตริเอามาถวายเลย ไข่สดไม่มีมีแต่ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาเป็นๆ นั้นไม่มีใครถวาย ถ้าประสงค์จะหามาแกง ปลาในสระวัดตลอดหน้าวัดก็มีแยะไป แต่ไม่มีใครไปจับเอามาทำอาหารเลย"

"ผักสด ผักเขียว ไม่มีเลยหรือ" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อ

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ยอดผักบุ้ง ยอดผักกะเฉด ผักแว่น สายบัว ผมฉันสดๆ เสมอ แต่ไม่เคยไปเด็ดเอง ท่านเจ้าคณะไม่เคยฉันผักสดเลยทีเดียวหรือ"

เจ้าคณะจังหวัดได้ตอบว่า "ผมไม่ชอบ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์เป็นหมอยารักษาไข้ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"รดน้ำมนต์ ผมรดจริง เพื่อสงเคราะห์คนที่เขามีทุกข์ พระอาจารย์ทั้งหลายก็รดกันอยู่ทั่วไป จะผิดศีลวินัยข้อไหน ก็คงผิดกันมาก อุปัชฌาย์อาจารย์ก็ไม่เคยบอกว่ารดน้ำมนต์ผิดวินัย หลวงพ่อของผมท่านก็รดน้ำมนต์ให้ใครๆ อยู่เรื่อยๆ"

"เรื่องให้หวยเล่า" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบไปว่า "หวยก็ให้ เมื่อมีคนเขามาถามว่าหวยงวดนี้ออกตัวอะไร ก็บอกให้เขาไปเล่นกัน รัฐบาลท่านอนุญาตให้เล่นหวยกัน พระสงฆ์ก็ต้องบอกหวยได้"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "เห็นตัวเลขจริงหรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "เข้าสมาธิภาวนา จิตเป็นหนึ่งก็เหมือนน้ำใส ไม่มีตะกอน ไม่มีละลอกคลื่นก็มองเห็นเงาในน้ำได้"

"เห็นอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มจึงตอบว่า "เห็นเป็นตัว ก. ตัว ข. เห็นเป็นตัวม้า ตัวเรือ" (สมัยนั้นเป็นหวย ก. ข.)

"เขาเอาไปเล่นกันถูกไหม" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มก็ตอบ "เขามาบอกว่าถูกก็มี ไม่ถูกก็มี"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "ทำไมจึงมีถูกบ้าง ผิดบ้าง"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "แล้วแต่โชคลาภของคนแทง เพราะเราไม่ได้บอกตรงๆ เราใบ้หวยให้เขาต่างหาก"

"ทำไมต้องใบ้ ทำไมจึงไม่บอกตรงๆ" เจ้าคระจังหวัดได้ถามต่อ

"ถ้าบอกตรงๆ ก็อวดอุตริมนุสธรรม" เป็นคำตอบจากหลวงพ่อแช่ม

จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เรื่องทำเสน่ห์ว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ไม่เคยทำเสน่ห์ยาแฝด ของลามก มีแต่คนมาขอเสน่ห์ ก็ให้สีผึ้งไปสีปาก"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ "ใช้สีผึ้งสีปาก แล้วมีเสน่ห์จริงๆ หรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "สุดแล้วแต่ศรัทธาของคน ขี้ผึ้งนี้ก็เสกด้วยคาถาเมตตาจิต ทำด้วยเมตตาจิต ถ้าใช้ด้วยเมตตาจิต ก็เกิดเมตตาจิต มีเสน่ห์"

"คาถาเมตตาจิตว่าอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "คาถาต้องเรียนด้วยความเชื่อมั่น มีครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ต้องยกครู กว่าผมจะเรียนได้มาก็ต้องอุตส่าห์พยายาม ไม่ใช่มาบอกคาถากันต่อหน้าธารกำนัลถึงจะบอกไปท่องได้ ถ้าไม่เชื่อถือก็ป่วยการเปล่า"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เป็นหมอรักษาไข้ จริงหรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยเป็นหมอรักษาไข้ใคร นอกจากมีคนป่วย ญาติเขามาหาถามอาการดู เห็นว่าพอรักษาได้ ก็ให้คนไปซื้อยามา ผมก็เอาลงหม้อ เสกให้เอาไปต้มกินเท่านั้น"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "แล้วหายไหมเล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ก็เห็นบอกว่าหายดี"

"เป็นหน้าที่ของสงฆ์หรือเปล่า พระพุทธเจ้าเคยเป็นหมอรักษาใครบ้างหรือเปล่า" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามหลวงพ่อแช่มต่อ

คำตอบจากหลวงพ่อแช่ม คือ "การเป็นหมอรักษาไข้ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ เป็นหน้าที่ของหมอ แต่ถ้าเขาหมดทางรักษา เรามียาอยู่ ควรจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้เขาพ้นทุกข์ ผมก็ต้องสงเคราะห์ไปจะผิดจะถูกอย่างไรผมก็ยอม ผมไม่ใช่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผมจะเป็นได้ก็พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีช่วยเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ถ้าผมเห็นว่าควรจะสละศีลเพื่อช่วยชีวิตเขา ผมก็จะสละ ถ้าผมคิดว่าจะสละวินัย เพื่อช่วยคนให้พ้นทุกข์ ผมก็จะสละ ถ้าผมพบผู้หญิงกำลังจะจมน้ำตาย ผมก็จะกระโดดน้ำลงช่วยอุ้มเขาขึ้นมาให้รอดตาย ถึงผมจะถูกปรับอาบัติว่าสังฆาทิเสส ผมก็จะยอม ผมจะไม่รักษาศีลบริสุทธิ์ยอมให้คนจมน้ำตายไปต่อหน้า ถ้าผมทำเช่นนั้น ผมก็ไม่รู้ว่าผมบวชเพื่ออะไร"

เจ้าคณะจังหวัดฟังคำตอบแล้วถามหลวงพ่อแช่มต่อว่า "เรื่องอวดอุตริมนุสธรรมต่างๆ จะว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยอวดอ้างความวิเศษอะไรที่ผมไม่มี ถึงความวิเศษที่ผมมีมากกว่าพระภิกษุอื่นๆ ผมก็ไม่เคยอวด นอกจากมีคนมาถาม ผมก็ตอบเขาไป ใครมีพยานหลักฐานว่า ผมอวดฤทธิปาฏิหาริย์อย่างไรบ้าง ก็ยืนยันมาเถิด"

เจ้าคณะจังหวัดว่าต่อ "เช่นเรื่องหนังเหนียว คงกะพันชาตรี ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก"

หลวงพ่อแช่มกล่าวตอบว่า "ผมไม่ได้อวด แต่ผมบอกว่าอานุภาพของคุณพระนั้น ช่วยป้องกันอันตรายได้จริง มีอานุภาพจริง เช่น ทำให้ผิวหนังเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก คลาดแคล้ว"

"ของดีที่แจกไป เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ จะกันมีดพร้าอาวุธได้จริงหรือ" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มได้ตอบไปว่า "ถ้าเขามีศรัทธาเชื่อมั่น แล้วใช้เป็นก็ป้องกันศัสตราวุธได้จริง"

เจ้าคณะจังหวัดถามอีก "ถ้าผมจะลองฟันคุณเดี๋ยวนี้จะได้หรือไม่"

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "ยังไม่เคยมีใครมากล้าผมเลย"

เจ้าคณะจังหวัดหัวเราะแล้วกล่าวว่า "ผมก็ไม่กล้าลองคุณเหมือนกัน"

ครั้นแล้วการสอบสวนก็เป็นอันเสร็จสิ้น เจ้าคณะจังหวัดได้บอกว่า "คุณไม่มีความผิดอะไร" จากนั้นก็ได้สนทนากับหลวงพ่อแช่มถึงการเดินธุดงค์ และคาถาอาคมต่างๆ

เทพ สุนทรศารทูล ได้กล่าวถึงตอนท้ายของการสอบสวนหลวงพ่อแช่ม โดยเจ้าคณะจังหวัดในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ว่า

"ในที่สุดเจ้าคณะจังหวัด ก็ถามว่า ไหนคุณว่าคุณมีดีกว่าพระภิกษุอื่น คุณมีดีกว่าอย่างไร

หลวงพ่อแช่ม ก็ว่าอิติปิโสแปดบทให้ฟัง แล้วก็ว่าอิติปิโสถอยหลังให้ฟัง จบแล้วก็บอกว่าพระองค์อื่นก็ว่าอิติปิโสเดินหน้าได้อย่างเดียว แต่ผมนั้นเชี่ยวชาญขนาดว่าทะแยงก็ได้ ว่าถอยหลังก็ได้ จะไม่ดีกว่าพระอื่นได้อย่างไร

เจ้าคณะจังหวัดก็เลยพาคณะกลับ"



สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่ม ท่านทำขึ้นมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ธง เสื้อยันต์ ผ้าเช็ดหน้ามหานิยม ผ้าประเจียดแดง ตะกรุดฝาบาตร พระพลายเพชรผงผสมดินหน้าตะโพน ลูกสะกดปรอท

เหล่านี้เป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อแช่ม ได้สร้างขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว

จนเมื่อปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นยกพลเข้าสู่ประเทศไทย ลูกศิษย์ของท่านขอให้หลวงพ่อแช่มสร้าง "เหรียญพระเครื่อง" ท่านจึงได้สร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ.2484

เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง มีทั้งชนิดรมดำ และไม่รมดำ มีหูในตัว แล้วเชื่อมต่อด้วยห่วงกลมอีกห่วงหนึ่ง ขอบโดยรอบเป็นมุมแหลม 16 มุม หรือหยักเป็น "โสฬสมงคล"

บ้างก็เรียกเหรียญพิมพ์พัดพุดตาน

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มรูป ครองจีวรในแบบสบายใจของท่าน ซึ่งเป็นลักษณะห่มคลุมไว้เท่านั้น ท่านั่งของท่านกลับแผกต่างจากเหรียยหรือพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นอันมาก ท่านนั่งนอกแบบอย่างสิ้นเชิง คือ ไม่เป็นทั้งแบบสมาธิ หรือมารวิชัย กลับเป็นท่านั่งที่ยกมือขึ้นข้างซ้าย อันหมายถึง ห้ามลูกปืน เป็นมหาอุด และประทับอักขระขอมตัว "นะ" ไว้ในฝ่ามือ

อาสนะท่านกลับเป็นนั่งทับปืนไขว้ โดยรอบเหรียญภายในวงกลมเป็นอักขระขอม เป็นพระนามย่อพระเจ้าสิบพระองค์ เริ่มต้นตัวแรกสุดใต้ห่วงหูอ่านว่า "นะ มะ นะ อะ นอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อุ" ภายในกรอบกลมมีอักษรชื่อ "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" และอักขระขอม อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" เฉพาะตรงกลางอกเป็นตัว "อะ"

ด้านหลัง เป็นยันต์ที่แตกต่างจากพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นยันต์ที่ผูกเป็นราหู ประกอบด้วยมือทั้งสอง และหน้าที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นลายกระหนก และอักขระ เฉพาะตรงส่วนจมูกเป็นองค์พระ ดวงตาทั้งสองเป็น "มะ อะ" ส่วน "อุ" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม ภายในช่องปากนั้นลงด้วย "นวหรคุณ" คือ "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" และยอดหัวใจต่างๆ

มีผู้กล่าวแย้งว่า ด้านหลังไม่ใช่รูปราหู แต่เป็นรูปหนุมานอมพลับพลา

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มนี้ มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพืหูเดียว และพิมพ์สองหู ที่แตกต่างกัน คือ ตรงใบหู ในพิมพ์หูเดียว ใบหูด้านซ้ายของหลวงพ่อ (ด้านขวามือเรา) ไม่มี มีเพียงด้านขวาด้านเดียวเท่านั้น

พิมพ์หูเดียว เป็นพิมพ์นิยม เนื่องเพราะค่อนข้างหายากกว่าพิมพ์สองหู

ในปี พ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่มได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเสมาอีกรุ่นหนึ่ง

ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มครึ่งรูป

ด้านหลัง เป็นอักษรเรียงกัน 5 แถว ว่า "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ช.ล. 2485"

อักษร ช.ล. นี้ยังเป็นปัญหาว่า หมายถึงอะไร?

พระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของหลวงพ่อแช่ม คือ พระเนื้อดินหน้าตะโพน

ดินหน้าตะโพน คือ ดินที่พวกตีกลองจะผสมกันขึ้นมาทาปิดหน้ากลอง เพื่อให้เกิดเสียงดังทุ้ม กลองที่ทาพอกด้วยดินหน้าตะโพนนี้ มีทั้งกลองยาว และกลองเพล

ส่วนผสมของดินหน้าตะโพน ประกอบด้วย ดินเสกเป่าด้วยคาถาอาคม ข้าวสุก ฯลฯ ผสมคลุกเคล้ากัน ความเหนียวจากข้าวสุกจะเป็นตัวยึดดินให้ติดกับหน้ากลอง ดินตะโพนที่ขึ้นชื่อแล้วจ้องเป็นดินจากหลวงพ่อแช่ม

จากการขอดินหน้าตะโพนจากหลวงพ่อแช่มอย่างมากมายนี้เอง ท่านจึงได้คิดทำเป็นองค์พระเครื่องขึ้นมา เนื่องเพราะในบางครั้งนั้นผู้ที่ขอไปไม่ใช่พวกลิเกที่ต้องการดินหน้าตะโพนสำหรับใช้ทาบนหน้ากล้อง

พระดินหน้าตะโพนจึงถือกำเนิดขึ้น หลายคนเรียกขานกันว่า "พลายเพชรผงดินหน้าตะโพน" ทั้งนี้เนื่องว่าคล้ายกับพระพลายคู่ของกรุบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เรียกกันว่า "พลายเพชรพลายบัว" สันนิษฐานว่า หลวงพ่อแช่มได้ล้อพิมพ์ขึ้นมา

ด้านหน้า เป็นพระเครื่องปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว พิมพืพระค่อนข้างตื้น

ด้านหลัง มียันต์ประทับในลักษณะจมลงไปในเนื้อพระด้านหลัง

องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมกลีบบัว มีขนาดกว้างประมาณ 1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.8 เซนติเมตร สร้างขึ้นด้วยเนื้อดินผสมผงและว่าน มีสีเทาอมเขียวอ่อนแก่คละเคล้ากัน ที่สำคัญเนื้อพระจะต้องมีความแห้งสนิท

นอกเหนือจากนั้นหลวงพ่อแช่มยังได้สร้างพระกริ่งเฉลิมพลขึ้นมาด้วย เป็นพระกริ่งที่ถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งเฉลิมพลของพระองค์ชายกลาง ที่เททองหล่อสร้างขึ้นที่วัดสุทัศนเทพวราม และที่วัดช้างให้ สำหรับของหลวงพ่อแช่มที่ถอดพิมพ์มานั้นใต้ฐานจะตอกโค้ดไว้เป็นอักษร "เฉลิมพล" และมีหมายเลขกำกับ หากบางองคก็ไม่ตอกหมายเลขไว้

ทั้งยังมีพระปิดตา และเครื่องรางของขลังต่างๆ


 
หลวงพ่อแช่มตอบว่า "เข้าสมาธิภาวนา จิตเป็นหนึ่งก็เหมือนน้ำใส ไม่มีตะกอน ไม่มีระลอกคลื่นก็มองเห็นเงาในน้ำได้"

"เห็นอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มจึงตอบว่า "เห็นเป็นตัว ก. ตัว ข. เห็นเป็นตัวม้า ตัวเรือ" (สมัยนั้นเป็นหวย ก. ข.)

"เขาเอาไปเล่นกันถูกไหม" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มก็ตอบ "เขามาบอกว่าถูกก็มี ไม่ถูกก็มี"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "ทำไมจึงมีถูกบ้าง ผิดบ้าง"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "แล้วแต่โชคลาภของคนแทง เพราะเราไม่ได้บอกตรงๆ เราใบ้หวยให้เขาต่างหาก"

"ทำไมต้องใบ้ ทำไมจึงไม่บอกตรงๆ" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อ

"ถ้าบอกตรงๆ ก็อวดอุตริมนุสธรรม" เป็นคำตอบจากหลวงพ่อแช่ม

จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เรื่องทำเสน่ห์ว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ไม่เคยทำเสน่ห์ยาแฝด ของลามก มีแต่คนมาขอเสน่ห์ ก็ให้สีผึ้งไปสีปาก"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ "ใช้สีผึ้งสีปาก แล้วมีเสน่ห์จริงๆ หรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "สุดแล้วแต่ศรัทธาของคน ขี้ผึ้งนี้ก็เสกด้วยคาถาเมตตาจิต ทำด้วยเมตตาจิต ถ้าใช้ด้วยเมตตาจิต ก็เกิดเมตตาจิต มีเสน่ห์"

"คาถาเมตตาจิตว่าอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "คาถาต้องเรียนด้วยความเชื่อมั่น มีครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ต้องยกครู กว่าผมจะเรียนได้มาก็ต้องอุตส่าห์พยายาม ไม่ใช่มาบอกคาถากันต่อหน้าธารกำนัลถึงจะบอกไปท่องได้ ถ้าไม่เชื่อถือก็ป่วยการเปล่า"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เป็นหมอรักษาไข้ จริงหรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยเป็นหมอรักษาไข้ใคร นอกจากมีคนป่วย ญาติเขามาหาถามอาการดู เห็นว่าพอรักษาได้ ก็ให้คนไปซื้อยามา ผมก็เอาลงหม้อ เสกให้เอาไปต้มกินเท่านั้น"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "แล้วหายไหมเล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ก็เห็นบอกว่าหายดี"

"เป็นหน้าที่ของสงฆ์หรือเปล่า พระพุทธเจ้าเคยเป็นหมอรักษาใครบ้างหรือเปล่า" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามหลวงพ่อแช่มต่อ

คำตอบจากหลวงพ่อแช่ม คือ "การเป็นหมอรักษาไข้ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ เป็นหน้าที่ของหมอ แต่ถ้าเขาหมดทางรักษา เรามียาอยู่ ควรจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้เขาพ้นทุกข์ ผมก็ต้องสงเคราะห์ไปจะผิดจะถูกอย่างไรผมก็ยอม ผมไม่ใช่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผมจะเป็นได้ก็พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีช่วยเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ถ้าผมเห็นว่าควรจะสละศีลเพื่อช่วยชีวิตเขา ผมก็จะสละ ถ้าผมคิดว่าจะสละวินัย เพื่อช่วยคนให้พ้นทุกข์ ผมก็จะสละ ถ้าผมพบผู้หญิงกำลังจะจมน้ำตาย ผมก็จะกระโดดน้ำลงช่วยอุ้มเขาขึ้นมาให้รอดตาย ถึงผมจะถูกปรับอาบัติว่าสังฆาทิเสส ผมก็จะยอม ผมจะไม่รักษาศีลบริสุทธิ์ยอมให้คนจมน้ำตายไปต่อหน้า ถ้าผมทำเช่นนั้น ผมก็ไม่รู้ว่าผมบวชเพื่ออะไร"
 


เจ้าคณะจังหวัดฟังคำตอบแล้วถามหลวงพ่อแช่มต่อว่า "เรื่องอวดอุตริมนุสธรรมต่างๆ จะว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยอวดอ้างความวิเศษอะไรที่ผมไม่มี ถึงความวิเศษที่ผมมีมากกว่าพระภิกษุอื่นๆ ผมก็ไม่เคยอวด นอกจากมีคนมาถาม ผมก็ตอบเขาไป ใครมีพยานหลักฐานว่า ผมอวดฤทธิปาฏิหาริย์อย่างไรบ้าง ก็ยืนยันมาเถิด"

เจ้าคณะจังหวัดว่าต่อ "เช่นเรื่องหนังเหนียว คงกระพันชาตรี ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก"

หลวงพ่อแช่มกล่าวตอบว่า "ผมไม่ได้อวด แต่ผมบอกว่าอานุภาพของคุณพระนั้น ช่วยป้องกันอันตรายได้จริง มีอานุภาพจริง เช่น ทำให้ผิวหนังเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก คลาดแคล้ว"

"ของดีที่แจกไป เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ จะกันมีดพร้าอาวุธได้จริงหรือ" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มได้ตอบไปว่า "ถ้าเขามีศรัทธาเชื่อมั่น แล้วใช้เป็นก็ป้องกันศัสตราวุธได้จริง"

เจ้าคณะจังหวัดถามอีก "ถ้าผมจะลองฟันคุณเดี๋ยวนี้จะได้หรือไม่"

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "ยังไม่เคยมีใครมากล้าลองผมเลย"

เจ้าคณะจังหวัดหัวเราะแล้วกล่าวว่า "ผมก็ไม่กล้าลองคุณเหมือนกัน"

ครั้นแล้วการสอบสวนก็เป็นอันเสร็จสิ้น เจ้าคณะจังหวัดได้บอกว่า "คุณไม่มีความผิดอะไร" จากนั้นก็ได้สนทนากับหลวงพ่อแช่มถึงการเดินธุดงค์ และคาถาอาคมต่างๆ

เทพ สุนทรศารทูล ได้กล่าวถึงตอนท้ายของการสอบสวนหลวงพ่อแช่ม โดยเจ้าคณะจังหวัดในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ว่า

"ในที่สุดเจ้าคณะจังหวัด ก็ถามว่า ไหนคุณว่าคุณมีดีกว่าพระภิกษุอื่น คุณมีดีกว่าอย่างไร

หลวงพ่อแช่ม ก็ว่าอิติปิโสแปดบทให้ฟัง แล้วก็ว่าอิติปิโสถอยหลังให้ฟัง จบแล้วก็บอกว่าพระองค์อื่นก็ว่าอิติปิโสเดินหน้าได้อย่างเดียว แต่ผมนั้นเชี่ยวชาญขนาดว่าทะแยงก็ได้ ว่าถอยหลังก็ได้ จะไม่ดีกว่าพระอื่นได้อย่างไร
 


เจ้าคณะจังหวัดก็เลยพาคณะกลับ"

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่ม ท่านทำขึ้นมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ธง เสื้อยันต์ ผ้าเช็ดหน้ามหานิยม ผ้าประเจียดแดง ตะกรุดฝาบาตร พระพลายเพชรผงผสมดินหน้าตะโพน ลูกสะกดปรอท

เหล่านี้เป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อแช่ม ได้สร้างขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว

จนเมื่อปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นยกพลเข้าสู่ประเทศไทย ลูกศิษย์ของท่านขอให้หลวงพ่อแช่มสร้าง "เหรียญพระเครื่อง" ท่านจึงได้สร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ.2484

เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง มีทั้งชนิดรมดำ และไม่รมดำ มีหูในตัว แล้วเชื่อมต่อด้วยห่วงกลมอีกห่วงหนึ่ง ขอบโดยรอบเป็นมุมแหลม 16 มุม หรือหยักเป็น "โสฬสมงคล"

บ้างก็เรียกเหรียญพิมพ์พัดพุดตาน

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มรูป ครองจีวรในแบบสบายใจของท่าน ซึ่งเป็นลักษณะห่มคลุมไว้เท่านั้น ท่านั่งของท่านกลับแผกต่างจากเหรียญหรือพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นอันมาก ท่านนั่งนอกแบบอย่างสิ้นเชิง คือ ไม่เป็นทั้งแบบสมาธิ หรือมารวิชัย กลับเป็นท่านั่งที่ยกมือขึ้นข้างซ้าย อันหมายถึง ห้ามลูกปืน เป็นมหาอุด และ ประทับอักขระขอมตัว "นะ" ไว้ในฝ่ามือ

อาสนะท่านกลับเป็นนั่งทับปืนไขว้ โดยรอบเหรียญภายในวงกลมเป็นอักขระขอม เป็นพระนามย่อพระเจ้าสิบพระองค์ เริ่มต้นตัวแรกสุดใต้ห่วงหูอ่านว่า "นะ มะ นะ อะ นอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อุ" ภายในกรอบกลมมีอักษรชื่อ "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" และอักขระขอม อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" เฉพาะตรงกลางอกเป็นตัว "อะ"

ด้านหลัง เป็นยันต์ที่แตกต่างจากพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นยันต์ที่ผูกเป็นราหู ประกอบด้วยมือทั้งสอง และหน้าที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นลายกระหนก และอักขระ เฉพาะตรงส่วนจมูกเป็นองค์พระ ดวงตาทั้งสองเป็น "มะ อะ" ส่วน "อุ" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม ภายในช่องปากนั้นลงด้วย "นวหรคุณ" คือ "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" และยอดหัวใจต่างๆ

มีผู้กล่าวแย้งว่า ด้านหลังไม่ใช่รูปราหู แต่เป็นรูปหนุมานอมพลับพลา

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มนี้ มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หูเดียว และพิมพ์สองหู ที่แตกต่างกัน คือ ตรงใบหู ในพิมพ์หูเดียว ใบหูด้านซ้ายของหลวงพ่อ (ด้านขวามือเรา) ไม่มี มีเพียงด้านขวาด้านเดียวเท่านั้น

พิมพ์หูเดียว เป็นพิมพ์นิยม เนื่องเพราะค่อนข้างหายากกว่าพิมพ์สองหู

ในปี พ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่มได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเสมาอีกรุ่นหนึ่ง

ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มครึ่งรูป

ด้านหลัง เป็นอักษรเรียงกัน 5 แถว ว่า "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ช.ล. 2485"

อักษร ช.ล. นี้ยังเป็นปัญหาว่า หมายถึงอะไร?

พระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของหลวงพ่อแช่ม คือ พระเนื้อดินหน้าตะโพน

ดินหน้าตะโพน คือ ดินที่พวกตีกลองจะผสมกันขึ้นมาทาปิดหน้ากลอง เพื่อให้เกิดเสียงดังทุ้ม กลองที่ทาพอกด้วยดินหน้าตะโพนนี้ มีทั้งกลองยาว และกลองเพล

ส่วนผสมของดินหน้าตะโพน ประกอบด้วย ดินเสกเป่าด้วยคาถาอาคม ข้าวสุก ฯลฯ ผสมคลุกเคล้ากัน ความเหนียวจากข้าวสุกจะเป็นตัวยึดดินให้ติดกับหน้ากลอง ดินตะโพนที่ขึ้นชื่อแล้วต้องเป็นดินจากหลวงพ่อแช่ม

จากการขอดินหน้าตะโพนจากหลวงพ่อแช่มอย่างมากมายนี้เอง ท่านจึงได้คิดทำเป็นองค์พระเครื่องขึ้นมา เนื่องเพราะในบางครั้งนั้นผู้ที่ขอไปไม่ใช่พวกลิเกที่ต้องการดินหน้าตะโพนสำหรับใช้ทาบนหน้ากล้อง

พระดินหน้าตะโพนจึงถือกำเนิดขึ้น หลายคนเรียกขานกันว่า "พลายเพชรผงดินหน้าตะโพน" ทั้งนี้เนื่องว่าคล้ายกับพระพลายคู่ของกรุบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เรียกกันว่า "พลายเพชรพลายบัว" สันนิษฐานว่า หลวงพ่อแช่มได้ล้อพิมพ์ขึ้นมา

ด้านหน้า เป็นพระเครื่องปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์พระค่อนข้างตื้น

ด้านหลัง มียันต์ประทับในลักษณะจมลงไปในเนื้อพระด้านหลัง

องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมกลีบบัว มีขนาดกว้างประมาณ 1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.8 เซนติเมตร สร้างขึ้นด้วยเนื้อดินผสมผงและว่าน มีสีเทาอมเขียวอ่อนแก่คละเคล้ากัน ที่สำคัญเนื้อพระจะต้องมีความแห้งสนิท

นอกเหนือจากนั้นหลวงพ่อแช่มยังได้สร้างพระกริ่งเฉลิมพลขึ้นมาด้วย เป็นพระกริ่งที่ถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งเฉลิมพลของพระองค์ชายกลาง ที่เททองหล่อสร้างขึ้นที่วัดสุทัศนเทพวราราม และที่วัดช้างให้ สำหรับของหลวงพ่อแช่มที่ถอดพิมพ์มานั้นใต้ฐานจะตอกโค้ดไว้เป็นอักษร "เฉลิมพล" และมีหมาย เลขกำกับ หากบางองค์ก็ไม่ตอกหมายเลขไว้

ทั้งยังมีพระปิดตา และเครื่องรางของขลังต่างๆ
นำมาจากเวปhttp://article.pornpra.com/topic_detail.php?id=197

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 31 มี.ค. 2551, 08:47:51 »
สุดยอดจริงๆครับ คณาจารย์ระดับแนวหน้าของเมืองนครปฐมอีกรูปนึง นับถือๆ :)

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 01 เม.ย. 2551, 04:54:05 »
ครับ ผมชอบตรงบทความนี้มากเลยครับ ลองอ่านดูนะครับ ทำให้รู้อะไรดีๆอีกเยอะเลย


ความไม่ชอบใจหลวงพ่อแช่มของสมภารกร่ายได้นำไปสู่การร้องเรียนต่อเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัด โดยสมภารกร่ายเป็นผู้ร้องเรียนด้วยตัวท่านเอง ที่สุดนำไปสู่การสอบสวนด้วยข้อกล่าวหาที่ฉกรรจ์หลายข้อด้วยกัน คือ

1. ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส

2. ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าจะไปไหน ไปทำอะไร

3. หายไปจากวัดหลายๆ วันเสมอ ไม่ทราบว่าไปทำอะไรที่ไหน

4. ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นพร้อมพระภิกษุอื่นในวัด

5. ไม่ลงฟังพระสวดปาติโมกข์ในวันพระ

6. ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามธรรมเนียมของพระภิกษุ

7. หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวทำครัวเหมือนชาวบ้าน

8. รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์ เป็นหมอรักษาไข้ให้ชาวบ้าน ผิดกิจของสงฆ์

9. อวดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ผิดศีลของพระภิกษุ

ในการสอบสวนหลวงพ่อแช่มนั้น มีเจ้าคณะจังหวัด พร้อมด้วยเจ้าคณะตำบล และคณะผู้ติดตาม เดินทางมาสอบสวนถึงวัดตาก้อง เมื่อมาถึงกุฏิของสมภารกร่ายได้ให้พระลูกวัดไปนิมนต์หลวงพ่อแช่มมาพบที่กุฏิ ทว่าพระลูกวัดได้กลับมารายงานว่า หลวงพ่อแช่มไม่ยอมมาพบ และได้ฝากข้อความมาว่า ตัวของท่านเป็นจำเลยอยู่แล้ว มีคดีร้ายแรงอย่างใดก็ขอให้ไปที่กุฏิของท่าน หากผิดจริงจะได้จับสึกกันเสียทีเดียวที่กุฏิของท่าน

คณะของเจ้าคณะจังหวัดจึงได้ไปยังกุฏิของหลวงพ่อแช่มเพื่อทำการสอบสวนเรื่องร้องเรียนของสมภารกร่าย เมื่อมาถึงกุฏิที่หลวงพ่อแช่มปลูกเป็นศาลา พบหลวงพ่อแช่มนุ่งสบงผืนเดียวนั่งขัดสมาธิคอยอยู่บนพื้นกระดานแผ่นใหญ่ที่ปูอยู่กับพื้นดิน มีไม้ขอนวางรอง ไร้เฟอร์นิเจอร์ใดๆ ทั้งสิ้น กระทั่งเสื่อปูรองก็ไม่มี

เจ้าคณะตำบลที่มาด้วยเห็นเช่นนั้นก็ได้บอกให้หลวงพ่อแช่มไปครองจีวรเสียให้เรียบร้อยและชี้แจงให้รู้จักว่า นั่นเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดให้นมัสการกราบไหว้เสีย เพราะท่านเป็นเจ้าคณะใหญ่ผู้ปกครองสงฆ์ชั้นสูง หลวงพ่อแช่มยังคงเฉย และกล่าวต่อเจ้าคณะตำบลว่า "ผมมันไม่ใช่พระใช่เจ้าอะไรแล้ว เป็นจำเลยให้เขาฟ้องร้อง มีตุลาการมาสอบสวน ก็อยากให้สอบสวนกันอย่างนี้ ดีร้ายจะได้ถอดสบงสึกกันง่ายๆ ไม่ต้องครองไตรจีวรให้เสียเวลา"

ซึ่งเจ้าคณะตำบลได้กล่าวปลอบชี้แจงว่า ยังไม่ใช่นักโทษ เพียงแต่ถูกอธิกรณ์ข้อกล่าวหา จะต้องสอบสวนกันก่อน ถ้าผิดจึงจะลงโทษ ถ้าไม่ผิดก็ไม่มีโทษอะไร เจ้าคณะท่านเป็นพระผู้ใหญ่มา ควรครองไตรจีวรให้เรียบร้อย เพื่อแสดงความเคารพท่าน หลวงพ่อแช่มก็กล่าวว่า "ถ้าหากผมนุ่งสบงตัวเดียวอยู่วัดอย่างนี้ ผมไม่ใช่พระหรืออย่างไร ถ้าหากผมครองไตรจีวรเรียบร้อยแล้ว ผมมีศีลด่างพร้อย ต้องอาบัติปาราชิก ผมจะเป็นพระเพราะครองไตรจีวรหรือ"

ท่านเจ้าคณะจังหวัดซึ่งได้นิ่งฟังอยู่เป็นนานแล้ว ได้กล่าวกับหลวงพ่อแช่มว่า "นี่แน่ะท่านแช่ม ถ้าท่านเป็นพระถือศีลบริบูรณ์อยู่ ให้ท่านไปห่มจีวรให้เรียบร้อยก่อน เรื่องผิดถูกค่อยพูดกันทีหลัง" หลวงพ่อแช่มจึงลุกขึ้น คว้าจีวรห่มนั่งลงที่เดิม ไม่ได้นิมนต์ให้เจ้าคณะจังหวัดนั่ง ซึ่งท่านก็ได้นั่งลงเองพร้อมๆ กับพระภิกษุรูปอื่นๆ

ต่อเมื่อได้นั่งมองสังเกตไปรอบๆ กุฏิของหลวงพ่อแช่ม ที่ปลุกเป็นศาลาโรงดิน หลังคามุงจาก เปิดฝาผนังโล่งทั้ง 4 ด้าน ไม่มีพื้นกระดาน นอกจากแผ่นกระดานใหญ่ที่ปูนอนอยู่บนพื้น และเป็นที่นั่งรับแขก สักครูหนึ่ง เจ้าคณะจังหวัดจึงได้เอ่ยขึ้น "ที่มาวันนี้ก็ไม่ได้ตั้งใจจะมาสอบสวนอะไร ไม่ได้คิดว่าท่านแช่มจะทำผิดศีลวินัยอะไร แต่อยากจะมาดูให้รู้กับหูกับตาว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะมีคำร้องฟ้องกล่าวโทษไปหลายข้อ" ว่าแล้วก็หยิบคำฟ้องจากย่ามขึ้นมาอ่านให้ฟัง แล้วถามเป็นข้อๆ

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมก็อยู่ในเขตวัดตาก้อง เจ้าอาวาสก็อยู่ในกุฏิของท่าน ผมก็อยู่ในกุฏิของผม ต่างคนต่างอยู่ ไม่เคยพบหน้ากัน เจ้าอาวาสไม่เคยมาว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนอะไรผม ไม่เคยสั่งห้ามอะไร ผมก็ไม่เคยฝ่าฝืนข้อห้ามข้อใดเลย แล้วจะว่าผมไม่อยู่ในปกครองได้อย่างไร ธรรมดาพ่อแม่ปกครองลูก ก็ต้องดูแลว่ากล่าว ตักเตือน สั่งสอน ห้ามปราม นี่ไม่เคยเลย ผมก็ไม่เคยทำอะไรฝ่าฝืน จะว่าฝ่าฝืนข้อไหน ท่านไม่มาปกครองผมเองต่างหาก"

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าไปไหน ทำอะไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"เมื่อสมภารไม่มาปกครองผม ปล่อยผมตามใจ ผมก็ปกครองตัวเอง จะไปไหนก็ไปเอง กลับเอง ทำอะไรก็ทำเอง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของวัด ข้อนี้ผมมีความผิดธรรมวินัยของสงฆ์อย่างไร"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หายหน้าไปจากวัดเสมอ ครั้งละหลายๆ วัน ไม่ทราบว่าไปทำผิดทำชั่วทำความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์อย่างไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมออกจากวัดไปเสมอจริง ไปครั้งละหลายๆ วันจริง ก็ไปทำกิจส่วนตัวที่ชาวบ้านเขานิมนต์เป็นกิจส่วนตัว ไม่ได้ไปทำผิด ทำชั่ว ทำความเสื่อมเสียอะไร ถ้าหากว่าไปทำผิดทำชั่วจริง คงจะมีคนจับได้ คงจะถูกฟ้องร้อง ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวเข้าคุกตะรางไปแล้ว แต่นี่ก็ไม่มีใครพบเห็นว่าทำผิดทำชั่วที่ไหนเลย อย่างนี้จะผิดธรรมวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหา ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ร่วมกับพระภิกษุสงฆ์องค์อื่น หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ผมก็ทำของผมองค์เดียวเพราะผมอยู่องค์เดียว ผมเป็นพระป่า เคยออกธุดงค์เดินป่า ก็ทำวัตรสวดมนต์องค์เดียวมาตลอด พระอรหันต์ท่านไปอยู่ป่า อยู่ถ้ำ ท่านก็สวดมนต์ภาวนาองค์เดียว การสวดมนต์องค์เดียวผิดศีลวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์ในวันพระ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"วันพระผมก็สวดพระปาติโมกข์เอง สวดเอง ฟังเอง เหมือนพระสงฆ์อื่นๆ ที่ท่านให้ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์นั้น สำหรับพระที่สวดพระปาติโมกข์เองไม่ได้ จะได้ฟังเอาบุญก็ผมสวดเองได้ จะต้องไปฟังใครสวดอีกเล่า พระอื่นๆ เสียอีกที่สวดพระปาติโมกข์ไม่ได้นั่นแหละจะสู้ผมไม่ได้ ถ้ามาว่าพระปาติโมกข์แข่งกัน"

ซึ่งเจ้าคณะจังหวัดได้แย้งว่า "การฟังพระปาติโมกข์นั้น ฟังจบแล้วก็ได้ฟังคำสั่งสอนอบรมของเจ้าอาวาสด้วย" หลวงพ่อแช่มจึงตอบกลับว่า "ผมสวดพระปาติโมกข์จบแล้วก็นั่งเจริญสมาธิภาวนา อบรมจิตของตนเป็นการบำเพ็ญภาวนา ดีเสียกว่านั่งฟังครูอาจารย์สั่งสอบอบรมเสียอีก คนเราลองถ้าได้สงบจิตเตือนใจของตนได้แล้ว ใครเล่าจะวิเศษไปกว่าตนของตนเตือนตน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามธรรมเนียมของพระภิกษุสงฆ์ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ที่ท่านให้ออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์นั้นก็เพื่อจะได้อาหารมาเลี้ยงชีพอย่างหนึ่ง กับเพื่อจะได้ออกไปเตือนอุบาสกสีกาให้บริจาคทานทำบุญ ก็เมื่อผมเองไม่ต้องออกไปบิณฑบาตก็มีอาหารเลี้ยงชีพ จะต้องออกบิณฑบาตอีกทำไม ถ้าจะว่าออกไปเตือนคนให้บริจาคทานทำบุญทำกุศลก็ผมเองนั่งอยู่ที่กุฏินี้ เขาก็คิดถึงนำอาหารมาถวาย ผมทำให้คนทั้งหลายบริจาคทานทำบุญได้อยู่แล้ว ไม่ต้องออกไปเตือนให้เขาทำบุญจนถึงบ้าน อย่างนี้จะว่าผิดธรรมเนียมสงฆ์อย่างไรอีก ถ้าผมออกบิณฑบาตกลับจะเป็นโทษ เพราะคนเขาจะพากันทำบุญตักบาตรผมเสียมาก พระภิกษุอื่นๆ จะขาดลาภไปเสีย อย่างนี้จะไม่ว่าผมมีเมตตาแก่ภิกษุบวชใหม่บ้างหรือ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวเอง เหมือนชาวบ้าน หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ก็เมื่อผมไม่ออกบิณฑบาตขอภิกขาจารอาหารเช้ากิน จึงต้องหุงข้าวกินเอง เพราะผมฉันอาหารแต่เช้า พอตะวันขึ้นชาวบ้านเขาเอาถวายไม่ทัน อีกประการหนึ่ง ผมมีลูกศิษย์หลายคน ทั้งพระทั้งฆราวาสจึงต้องตั้งครัวหุงต้มเลี้ยงกันเอง ชาวบ้านเขาเอาข้าวสาร กะปิ น้ำปลา ปลาแห้ง ปลาเค็ม มาถวาย ก็จัดการหุงต้มแกงกินกันเอง อย่างนี้จะผิดศีลวินัยข้อไหน"

เจ้าคณะจังหวัดว่า "ผิดที่สะสมอาหารไว้อย่างไรเล่า พระภิกษุเราไม่ควรจะต้องสะสมอาหาร ควรบิณฑบาตเลี้ยงชีพไปชั่วมื้อชั่ววันเท่านั้น"

หลวงพ่อแช่มได้ตอบกลับว่า "ผมไม่ได้สะสมอาหารสุกไว้กินในยามวิกาล ผมสะสมอาหารดิบอาหารแห้งไว้ประกอบกินในวันพรุ่งนี้ต่างหาก ผมไม่ได้สะสมไว้เพื่อตัวเอง สะสมไว้เพื่อศิษย์ต่างหาก การประกอบอาหารผมก็ไม่ลงมือทำเองศิษย์ทำถวายทั้งสิ้น"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "อาหารดิบนั้น มีปลาเป็นๆ ไข่ไก่อยู่หรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ปลาเป็นๆ ไม่มีอุบาสกสีกาคนใดอุตริเอามาถวายเลย ไข่สดไม่มีมีแต่ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาเป็นๆ นั้นไม่มีใครถวาย ถ้าประสงค์จะหามาแกง ปลาในสระวัดตลอดหน้าวัดก็มีแยะไป แต่ไม่มีใครไปจับเอามาทำอาหารเลย"

"ผักสด ผักเขียว ไม่มีเลยหรือ" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อ

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ยอดผักบุ้ง ยอดผักกะเฉด ผักแว่น สายบัว ผมฉันสดๆ เสมอ แต่ไม่เคยไปเด็ดเอง ท่านเจ้าคณะไม่เคยฉันผักสดเลยทีเดียวหรือ"

เจ้าคณะจังหวัดได้ตอบว่า "ผมไม่ชอบ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์เป็นหมอยารักษาไข้ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"รดน้ำมนต์ ผมรดจริง เพื่อสงเคราะห์คนที่เขามีทุกข์ พระอาจารย์ทั้งหลายก็รดกันอยู่ทั่วไป จะผิดศีลวินัยข้อไหน ก็คงผิดกันมาก อุปัชฌาย์อาจารย์ก็ไม่เคยบอกว่ารดน้ำมนต์ผิดวินัย หลวงพ่อของผมท่านก็รดน้ำมนต์ให้ใครๆ อยู่เรื่อยๆ"

"เรื่องให้หวยเล่า" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบไปว่า "หวยก็ให้ เมื่อมีคนเขามาถามว่าหวยงวดนี้ออกตัวอะไร ก็บอกให้เขาไปเล่นกัน รัฐบาลท่านอนุญาตให้เล่นหวยกัน พระสงฆ์ก็ต้องบอกหวยได้"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "เห็นตัวเลขจริงหรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "เข้าสมาธิภาวนา จิตเป็นหนึ่งก็เหมือนน้ำใส ไม่มีตะกอน ไม่มีละลอกคลื่นก็มองเห็นเงาในน้ำได้"

"เห็นอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มจึงตอบว่า "เห็นเป็นตัว ก. ตัว ข. เห็นเป็นตัวม้า ตัวเรือ" (สมัยนั้นเป็นหวย ก. ข.)

"เขาเอาไปเล่นกันถูกไหม" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มก็ตอบ "เขามาบอกว่าถูกก็มี ไม่ถูกก็มี"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "ทำไมจึงมีถูกบ้าง ผิดบ้าง"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "แล้วแต่โชคลาภของคนแทง เพราะเราไม่ได้บอกตรงๆ เราใบ้หวยให้เขาต่างหาก"

"ทำไมต้องใบ้ ทำไมจึงไม่บอกตรงๆ" เจ้าคระจังหวัดได้ถามต่อ

"ถ้าบอกตรงๆ ก็อวดอุตริมนุสธรรม" เป็นคำตอบจากหลวงพ่อแช่ม

จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เรื่องทำเสน่ห์ว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ไม่เคยทำเสน่ห์ยาแฝด ของลามก มีแต่คนมาขอเสน่ห์ ก็ให้สีผึ้งไปสีปาก"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ "ใช้สีผึ้งสีปาก แล้วมีเสน่ห์จริงๆ หรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "สุดแล้วแต่ศรัทธาของคน ขี้ผึ้งนี้ก็เสกด้วยคาถาเมตตาจิต ทำด้วยเมตตาจิต ถ้าใช้ด้วยเมตตาจิต ก็เกิดเมตตาจิต มีเสน่ห์"

"คาถาเมตตาจิตว่าอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "คาถาต้องเรียนด้วยความเชื่อมั่น มีครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ต้องยกครู กว่าผมจะเรียนได้มาก็ต้องอุตส่าห์พยายาม ไม่ใช่มาบอกคาถากันต่อหน้าธารกำนัลถึงจะบอกไปท่องได้ ถ้าไม่เชื่อถือก็ป่วยการเปล่า"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เป็นหมอรักษาไข้ จริงหรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยเป็นหมอรักษาไข้ใคร นอกจากมีคนป่วย ญาติเขามาหาถามอาการดู เห็นว่าพอรักษาได้ ก็ให้คนไปซื้อยามา ผมก็เอาลงหม้อ เสกให้เอาไปต้มกินเท่านั้น"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "แล้วหายไหมเล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ก็เห็นบอกว่าหายดี"

"เป็นหน้าที่ของสงฆ์หรือเปล่า พระพุทธเจ้าเคยเป็นหมอรักษาใครบ้างหรือเปล่า" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามหลวงพ่อแช่มต่อ

คำตอบจากหลวงพ่อแช่ม คือ "การเป็นหมอรักษาไข้ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ เป็นหน้าที่ของหมอ แต่ถ้าเขาหมดทางรักษา เรามียาอยู่ ควรจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้เขาพ้นทุกข์ ผมก็ต้องสงเคราะห์ไปจะผิดจะถูกอย่างไรผมก็ยอม ผมไม่ใช่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผมจะเป็นได้ก็พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีช่วยเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ถ้าผมเห็นว่าควรจะสละศีลเพื่อช่วยชีวิตเขา ผมก็จะสละ ถ้าผมคิดว่าจะสละวินัย เพื่อช่วยคนให้พ้นทุกข์ ผมก็จะสละ ถ้าผมพบผู้หญิงกำลังจะจมน้ำตาย ผมก็จะกระโดดน้ำลงช่วยอุ้มเขาขึ้นมาให้รอดตาย ถึงผมจะถูกปรับอาบัติว่าสังฆาทิเสส ผมก็จะยอม ผมจะไม่รักษาศีลบริสุทธิ์ยอมให้คนจมน้ำตายไปต่อหน้า ถ้าผมทำเช่นนั้น ผมก็ไม่รู้ว่าผมบวชเพื่ออะไร"

เจ้าคณะจังหวัดฟังคำตอบแล้วถามหลวงพ่อแช่มต่อว่า "เรื่องอวดอุตริมนุสธรรมต่างๆ จะว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยอวดอ้างความวิเศษอะไรที่ผมไม่มี ถึงความวิเศษที่ผมมีมากกว่าพระภิกษุอื่นๆ ผมก็ไม่เคยอวด นอกจากมีคนมาถาม ผมก็ตอบเขาไป ใครมีพยานหลักฐานว่า ผมอวดฤทธิปาฏิหาริย์อย่างไรบ้าง ก็ยืนยันมาเถิด"

เจ้าคณะจังหวัดว่าต่อ "เช่นเรื่องหนังเหนียว คงกะพันชาตรี ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก"

หลวงพ่อแช่มกล่าวตอบว่า "ผมไม่ได้อวด แต่ผมบอกว่าอานุภาพของคุณพระนั้น ช่วยป้องกันอันตรายได้จริง มีอานุภาพจริง เช่น ทำให้ผิวหนังเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก คลาดแคล้ว"

"ของดีที่แจกไป เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ จะกันมีดพร้าอาวุธได้จริงหรือ" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มได้ตอบไปว่า "ถ้าเขามีศรัทธาเชื่อมั่น แล้วใช้เป็นก็ป้องกันศัสตราวุธได้จริง"

เจ้าคณะจังหวัดถามอีก "ถ้าผมจะลองฟันคุณเดี๋ยวนี้จะได้หรือไม่"

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "ยังไม่เคยมีใครมากล้าผมเลย"

เจ้าคณะจังหวัดหัวเราะแล้วกล่าวว่า "ผมก็ไม่กล้าลองคุณเหมือนกัน"

ครั้นแล้วการสอบสวนก็เป็นอันเสร็จสิ้น เจ้าคณะจังหวัดได้บอกว่า "คุณไม่มีความผิดอะไร" จากนั้นก็ได้สนทนากับหลวงพ่อแช่มถึงการเดินธุดงค์ และคาถาอาคมต่างๆ

เทพ สุนทรศารทูล ได้กล่าวถึงตอนท้ายของการสอบสวนหลวงพ่อแช่ม โดยเจ้าคณะจังหวัดในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ว่า

"ในที่สุดเจ้าคณะจังหวัด ก็ถามว่า ไหนคุณว่าคุณมีดีกว่าพระภิกษุอื่น คุณมีดีกว่าอย่างไร

หลวงพ่อแช่ม ก็ว่าอิติปิโสแปดบทให้ฟัง แล้วก็ว่าอิติปิโสถอยหลังให้ฟัง จบแล้วก็บอกว่าพระองค์อื่นก็ว่าอิติปิโสเดินหน้าได้อย่างเดียว แต่ผมนั้นเชี่ยวชาญขนาดว่าทะแยงก็ได้ ว่าถอยหลังก็ได้ จะไม่ดีกว่าพระอื่นได้อย่างไร

เจ้าคณะจังหวัดก็เลยพาคณะกลับ"

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 01 เม.ย. 2551, 07:41:02 »
ครับ อ่านทีไรก็ได้ใจทุกทีครับ  :)

ออฟไลน์ tums16

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 24
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 11 ก.พ. 2552, 10:25:55 »
เอ...แล้วถ้าพระในประเทศไทยพากันไม่เคารพเจ้าอาวาส ไม่ไปบิณฑบาตร หุงข้าวฉันเอง และไม่ลงอุโบสถ ถามว่าองค์กรสงฆ์จะเป็นอย่างไร  อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าสอนให้พระผู้น้อยต้องเคารพพระผู้ใหญ่ และก็มีหลักของการอยู่ร่วมกันอีกด้วย
เชื่อในที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ

ออฟไลน์ Ogofmayas

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 337
    • MSN Messenger - gofmaruhi_as@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 11 ก.พ. 2552, 03:23:16 »
อู้ย ผมมีอยู่เหรียญ นึงอ่ะครับ
สีดำ มีมุม เยอะมากแต่ไม่ได้นับอ่ะครับ
น่าจะของแท้ เพราะ หลวงพ่อ นั่ง แล้วมือข้างซ้ายยกขึ้น
แต่ ราหูผมไม่ได้สังเกตุ ว่ามีหูเดียวหรือ สองหู  และพระที่ตรงจมูก
แต่น่าสวมขึ้นคอน่ะ
สุดยอด

ออฟไลน์ Noname

  • อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 166
  • เพศ: ชาย
  • อะไรอะไรก็พระไตรลักษณ์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 11 ก.พ. 2552, 04:31:07 »
อู้ย ผมมีอยู่เหรียญ นึงอ่ะครับ
สีดำ มีมุม เยอะมากแต่ไม่ได้นับอ่ะครับ
น่าจะของแท้ เพราะ หลวงพ่อ นั่ง แล้วมือข้างซ้ายยกขึ้น
แต่ ราหูผมไม่ได้สังเกตุ ว่ามีหูเดียวหรือ สองหู  และพระที่ตรงจมูก
แต่น่าสวมขึ้นคอน่ะ
สุดยอด

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มรุ่นแรก
ต้องดูดีดีครับเก๊ก็เยอะ
การเกิดนั่นแหล่ะเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
การบริหารขันธ์นั่นแหล่ะทุกข์
พระนิพพานนั่นแหล่ะคือทางดับทุกข์

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 11 ก.พ. 2552, 04:34:11 »
เหรียญกงจักร ของเก๊เพียบ ครับ แถมยังมี เสริม อีกหลายรุ่น นะครับ ...... ระวังด้วย ครับ


ออฟไลน์ Noname

  • อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 166
  • เพศ: ชาย
  • อะไรอะไรก็พระไตรลักษณ์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 11 ก.พ. 2552, 05:00:26 »
ปาฏิหาริย์  แห่งการย่นระยะทาง
หลวงพ่อแช่ม  อินฺทโชโต วัดตาก้อง
ต.ตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม

   การย่นระยะทางของการเดินทางของพระเกจิอาจารย์  นับว่าเป็นเรื่องมหัศจณรย์ยิ่งนัก 
ที่ระยะทางปกติต้องใช้เวลาในการเดินทางกว่า 1 ชั่วโมง
หากพระเกจิอาจารย์บางรูปใช้เวลาไม่นานนักก็บรรลุถึงเป้าหมายปลายทาง
   กล่าวกันว่า  พระเกจิอาจารย์รูปใดที่ใช้วิชาในการย่นระยะทาง 
ต้องชดใช้ด้วยการเดินจงกรมเท่ากับระยะทางที่ใช้ในการย่นระยะทาง   
   ดังเรื่องราวของหลวงพ่อแช่ม  แห่งวัดตาก้อง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม
พระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง
   ครั้งหนึ่งหลวงพ่อแช่มได้เดินทางไปยังวัดกลางบางแก้ว 
เพื่อเยี่ยมเยียนหลวงปู่บุญตามปกติ  ระหว่างเดินทางเข้ามายังวัดกลางบางแก้ว
พบพระภิกษุ,กวัดกลุ่มหนึ่งกำลังสนทนากันอยู่หน้ากุฏิหลวงปู่บุญ
หลวงพ่อแช่มก็เอ่ยกับภิกษุกลุ่มนั้นว่า
   เดินมาจากวัดตาก้องถึงวัดกลางบางแก้ว  ก็พอดีได้เหงื่อเปียกจีว  ยังไม่เหนื่อยเท่าไหร่
ถึงเสียแล้ว
   ระหว่างวัดตาก้องเดินทางมาถึงวัดกลางบางแก้วห่างกันถึง 30 กิโลเมตร  พระภิกษุรูปหนึ่งได้ถามหลวงพ่อว่าแช่มว่า 
ทำไมหลวงพ่อ  ไม่ขึ้นรถไฟมาเล่า  หลวงพ่อแช่มตอบกลับไปว่า  ไปถึงสถานีรถไฟนครปฐมแล้ว  แต่ไม่ทันรถไฟออกไปเสียก่อน
เลยเดินมาเรื่อยๆมาถึงสถานีรถไฟนครชัยศรีพักหนึ่งรถไฟถึงจะมาถึง
   พระภิกษุกลุ่มนั้นพากันแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง  และเข้าใจว่าหลวงพ่อแช่มใช้วิชาการย่นระยะทางในการเดินทาง
มาถึงวัดกลางบางแก้วเป็นแน่  จึงมาถึงก่อนรถไฟได้
   พอหลวงพ่อแช่มบอกเสร็จก็มีเสียงหนึ่งดังขึ้นว่า  ท่านแช่มที่ท่านว่าไว้รถไฟเพิ่งมาถึงนั้น  คงจะเป็นรถไฟคนละขบวนกันละมั่ง
   เมื่อหันไปทางต้นเสียงเป็นหลวงปู่บุญยืนอยู่ริมระเบียบงกุฏินั่นเอง
หรือเรื่องหนึ่ง  คราวหนึ่งหลวงพ่อแช่มมาเยี่ยมหลวงปู่บุญที่วัดกลางบางแก้ว
   พบพระภิกษุลูกวัด 4 รูป  กำลังช่วยกันเลื่อยไม้  และไสกบไม้กระดานกันอยู่ 
หลวงพ่อแช่มได้หยุดทักทายพระภิกษุเหล่านั้นด้วยความคุ้นเคย  แล้วพระภิกษุที่กำลังไสกบไม้กระดานอยู่ว่า 
ทำไมจะต้องไสไปให้เมื่อยมือเปล่าๆ
   พระหยุ่มที่กำลังไสไม้อยู่ได้ยินหลวงพ่อแช่มกลาวเช่นนั้น  ก็หยุดไสแล้วหันกลับไปตอบหลวงพ่อแช่มว่า
ถ้าไม่ใสแบบนี้แล้วจะเรียบได้อย่างไรหล่ะหลวงพ่อ
   หลวงพ่อแช่มจึงตรงปร่ไปที่พระหนุ่มนั่น  แล้วหยิบกบไสไม้มาถือในมือ
ภาวนาคาถาพึมพำแล้ววางกบไสไม้ลงบนแผ่นกระดานปลาย ทันใดกบไสไม้ก็เคลื่อนไสไม้เองโดยไม่มีใครออกแรงจับ
ไสไปข้างหน้าอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง  เมื่อกบไสไปถึงหัวกระดานหลวงพ่อแช่มก็ไปหยิบขึ้นมาวางที่ปลายไม้กระดาน
แล้วปล่อยให้กบไสไม้เคลื่อนที่ไปเอง  ท่ามกลางความตกตะลึงของพระภิกษุลูกวัดกลางบางแก้ว
   พระภิกษุเหล่าน้นต่างสนใจในวิชาคาถานี้เป็นอย่างยิ่ง  ถึงกับกล่าวกับหลวงพ่อแช่ม  หลวงพ่อสอนผมบ้างสิครับ
   แต่กลับมีเสียงตอบกลับมา  เป็นเสียงของหลวงปู่บุญว่า
   แบบนี้ไม่น่าเรียนเพราะต้องไปจับมาวางเสียเวลาเปล่าๆ
   หลวงพ่อแช่มได้ยิน  ก็หันไปทความเคารพหลวงปู่บุญในฐานะที่อาวุโสกว่า
แล้วจึงกล่าวกับหลวงปู่บุญ  ท่านเจ้าคุณลองดูบ้างเถอะครับ
   หลวงปู่บุญเดินเข้าไปหากบไสไม้พลางหยิบขึ้นมาภาวนาคาถาครู่หนึ่ง
แล้วจึงวางกบไสไม้ลงบนแผ่นไม้กระดาน  กบไสไม้ก็ไสไปเองเช่นเดียวกับ
ตอนที่หลวงพ่อแช่มทำ  ทว่าเมื่อกบไสไม้สไปถึงหัวไม้กระดาน  กบไสไม้ก็
ถอยกลับมาเองถึงปลายไม้แล้วไสไม้ต่อไปโดยม่ต้องเสียเวลาจบมาวางใหม่
   ซึ่งสร้างความตื่นเต้นแก่พระภิกษุลูกวัดที่ได้เห็นการแสดงหยอกล้อกันด้วยวิชาคาถาอาคม
ระหว่างหลวงปู่บุญ  และหลวงพ่อแช่ม  แห่งวัดตาก้อง