ผู้เขียน หัวข้อ: วันพระ วันโกน สำคัญอย่างไร ?  (อ่าน 5804 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
วันพระ วันโกน สำคัญอย่างไร ?
« เมื่อ: 30 ม.ค. 2552, 09:50:43 »
วันโกนวันพระนั้น เป็นวันทีสำคัญมากสำหรับสมัยก่อน เพราะถือเป็นวันหยุด และ เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนเดินทางไปทำบุญที่วัด ฝ่ายทางพระก็จะมีการปลงผม ลงฟังพระปาติโมกข์ ทบทวนศีล 227 ข้อ

แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีติดต่อกับประเทศทางตะวันตกมากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ แทน จันทรคติ ซึ่งชาวไทยใช้แบบจันทรคติมาแต่โบราณกาล คือ

แบบสุริยคติ ถือเอา พระอาทิตย์เป็นหลัก มีการหยุด วันเสาร์ อาทิตย์ แบบชาวตะวันตก เพราะ อิทธิพลของศาสนาคริสต์ ซึ่งถือว่า วันสุดสัปดาห์เป็นวันพักผ่อน เพราะไบเบิลบันทึกว่า วันอาทิตย์ เป็นวันพักผ่อนของพระผู้เป็นเจ้าหลังจากที่ทรงสร้างโลกมา

แบบจันทรคติ ถือเอา พระจันทร์เป็นหลัก มีการดูข้างขึ้น ข้างแรม ดูความเว้าแหว่งของดวงจันทร์ แล้ว กำหนดว่า วันไหนเป็น วันเพ็ญ วันข้างขึ้น วันข้างแรม วันกี่ค่ำ

แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่เวทีโลก มีการเปิดประเทศ ติดต่อ ค้าขาย กับชาติตะวันตก ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักการ นับวัน นับคืน เป็นแบบยุโรปตามไปด้วย หรือ ก็คือ นำเอาปฎิทินแบบสุริยคติมาใช้นั่นเอง

ดังนั้นจะว่าไปปฎิทินแบบสุริยคติเลยกลายเป็นปฏิทินสากลที่ทั่วโลกยอมรับใช้กันอยู่ ในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขายในปัจจุบัน และ ปฎิทินแบบจันทรคติก็ค่อยๆ ลดบทบาทลง จนกระทั่งเป็นปฎิทินที่ใช้ในทางพระพุทธศาสนา ดูวันโกน วันพระ วันเพ็ญ และ ใช้ในทางโหราศาสตร์ ไปโดยปริยาย ไม่สามารถนำปฏิทินจันทรคติมาอ้างอิงในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขาย กับสากลโลกได้อีกต่อไป




พระพุทธเจ้า ประทับ ณ ภูเขาคิชกูฏ กรุงราชคฤห์ ในครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พอถึงวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ประชุมกันกล่าวธรรม ชาวบ้านต่างพากันไปฟังธรรมกันด้วยความเลื่อมใส พระเจ้าพิมพิสาร ทรงดำริว่า พวกเดียรถีย์นอกพุทธศาสนา ประชุมกันแสดงธรรม ในวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ เป็นที่นิยมเลื่อมใสของประชาชนถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายจะกระทำเช่นนั้นบ้าง ก็จะได้รับความเลื่อมใส จากเหล่าชาวบ้านเช่นเดียวกัน จึงทรงนำพระดำรินี้ ขึ้นทูลพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าจึงประชุมสงฆ์ แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า...

"ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาติให้ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์"
ในครั้งนั้น พวกภิกษุประชุมกันแล้วพากันนิ่งเฉยหมด ชาวบ้านเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น พากันตำหนิว่า ภิกษุเหล่านี้ ประชุมกันในวันพระแล้ว ทำไมจึงนั่งนิ่งเหมือนหมูอ้วนเล่า ธรรมเนียมของภิกษุประชุมกันควรผู้แสดงธรรมมิใช่หรือ
พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงอนุญาติให้มีการแสดงธรรมในวันพระ และต่อมาทรงเห็นว่า ควรจะนำเอาศีล ๒๒๗ ข้อของภิกษุ มาแสดงในวัน๑๔ หรือ ๑๕ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ที่เรียกว่าปาติโมกข์ด้วย จึงเป็นประเพณีนับตั้งแต่นั้นมา
อุโบสถขันธกะ วินัย ๔/๑๙๕

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันพระ วันโกน สำคัญอย่างไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 ม.ค. 2552, 10:22:52 »
 :001:  ขอบคุณครับ ท่านโจรสลัด  มีเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันกันอีกแล้วนะท่าน

เพิ่มเติมให้อีกซักเล็กน้อยครับ 

วันพระหรือวันธรรมสวนะ คือ วันฟังธรรมนั้น มีความถี่ห่างของวันแตกต่างกันไปในแต่ละสมัยของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์  โดนเฉพาะวันอุโบสถ

ซึ่งเป็นวันพระใหญ่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๑๔,๑๕ ค่ำ  สังเกตดูจะเห็นว่า วันพระโดยปกติจะประมาณ ๗ วัน หรือ ๖ วัน ก็จะถึงวันพระกันครั้งหนึ่ง

ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ วันพระอาจจะมีระยะห่างไปถึง ๓ เืดือน หรือเป็นปี จึงจะมีวันพระ วันอุโบสถกันครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ เพราะ ท่านบอกว่า คนเรานั้นพอฟังธรรมะดีๆ หรือรับศีล ๕ มารักษาแล้ว  พอผ่านไปหลายๆวัน ใจก็จะตกลงมาเรื่อยๆ

จากไปวัดบางพระ (อิอิ) รับศีลมาครบ  ๕ ข้อ พอกลับมาบ้าน เจอเพื่อนฝูง สังคม ศีลก็ค่อยๆ หายไปทีละข้อๆ

กำลังใจที่จะทำดี จากวันพระก็ลดลงๆ  ท่านจึงให้หลักว่า  ๗ วัน มาฟังเทศน์มารับศีล มาชาร์ทพลังความดีกันใหม่

วันพระเข้าวัดกันเถอะครับ  ถ้าไม่สะดวกกำหนดไว้ในใจเราว่า ถือวันอาทิตย์ที่สะดวกหรือวัดหยุดของเรา เป็นวันพระในใจเราก็ดีครับ

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: วันพระ วันโกน สำคัญอย่างไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 ม.ค. 2552, 12:05:33 »
สมกับ ตำแหน่งผู้ดูแลบอร์ด  :015:

ออฟไลน์ Chaiwat Prasurin

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 149
  • เพศ: ชาย
  • สับสนแต่ไม่หลงทาง
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: วันพระ วันโกน สำคัญอย่างไร ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 02 ก.พ. 2552, 08:21:04 »
 :090:เป็นจริงดังเช่นนั้นแลฯ...คนหนุ่มสาวยุคกลาง   และเด็กวัยรุ่นยุคนี้   มักจะไปแหล่งสถานบันเทิงกันมากกว่า   ส่วนน้อยจะเข้าวัดเข้าวา   ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความข้างต้น :090:
 :017:แต่ก็เข้าใจครับว่า   คนเรามีภาระมาก   ก็อาจหลงทางไปบ้าง   ก็แค่เสียเวลา   แต่อย่าหลงติดยา   ก็แล้วกัน :004: :002: