ผู้เขียน หัวข้อ: เหวัชระ  (อ่าน 8570 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เด็กนอกวัด

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
เหวัชระ
« เมื่อ: 13 ก.พ. 2552, 08:20:31 »
เหวัชระ







เหวัชระ (Hevajra) เป็นยิดัมที่ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้นิยมพุทธตันตระ ถือเป็นภาคดุร้ายของพระอักโษภยะพุทธเจ้า ในงานพุทธศิลป พระองค์ทรงมีพระวรกายสีฟ้า มี 8 พระเศียร แต่ละเศียรมีพระเนตรสามดวง มีพระหัตถ์ 16 กร แต่ละพระกรทรงถือถ้วยหัวกะโหลกที่มีสิ่งต่างๆ บรรจุไว้ภายใน ในแปดพระกรขวา ประกอบด้วย ช้าง ม้า ลา มนุษย์ อูฐ โค สิงโต และแมว ส่วนแปดพระกรซ้าย ประกอบด้วย โลก น้ำ อากาศ ไฟ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ พระยม (เทพเจ้าแห่งความตาย) และพระเวสสุวรรณ (เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง) โดยที่สองฝ่าพระบาทหน้าเหยียบอยู่บนร่างมนุษย์หรือซากศพชายหญิงไว้อันหมายถึงอวิชชา บ้างก็กล่าวว่าฝ่าพระบาทของพระองค์เหวัชระมีเทพประจำรักษา ได้แก่ พระพรหม พระยักษา พระยม และพระอินทร์ ไม่ใช่ฝ่าเท้าของนางฑากิณีหรือโยคินี พระองค์ทรงอยู่ในท่าร่ายรำแบบอรรธปรยังก์หรือโอบรัดศักติมีพระนามว่า พระแม่วัชรนิรทย (Vajra Nairatmya) นอกจากนี้ พระองค์ทรงมีเทพสตรีหรือที่เรียกว่านางโยคินีแปดตนเป็นบริวาร นางโยคินีเหล่านี้มีหน้าที่ทำลายล้างอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้ายและรักษาทิศทั้งแปดของจักรวาล ถือกำเนิดขึ้นจากญาณของเหวัชระ

ฑากิณี (Dakini) บ้างก็กล่าวว่าคือพระแม่ผู้เดินหนในนภากาศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติธรรมแห่งตันตระ โดยมีรากฐานเดิมเป็นยักษ์จึงมีชื่อเรียกอีกนามหนึ่งว่า ?นางโยคินี? (Yogini) แม้ว่านางฑากิณีและนางโยคินีจะมีความหมายเดียวกัน แต่โดยนัยแล้วฑากิณีจะมีอาวุโสกว่านางโยคินี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ช่วยมหาสิทธาและดิยัม อีกทั้งยังเป็นผู้เก็บรักษาคำสอนและปกป้องช่วยเหลือผู้ปฏิบัติให้บรรลุผล แต่ในคติศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นบริวารของพระแม่กาลี ฑากิณีมีด้วยกัน 5 ตระกูลตามฌานิพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ ตระกูลปัทมา ตระกูลพุทธะ ตระกูลวัชระ ตระกูลอัญมณี และตระกูลกรรมา (กรรม) อย่างไรก็ตาม ฑากิณีในตระกูลวัชระทั้งแปดองค์ที่เป็นบริวารของดิยัมเหวัชระ ประกอบด้วย

1) นางเคารี (Gauri) ประจำทิศตะวันออก ผิวสีดำ ถือถ้วยหัวกระโหลกในมือขวาและถือปลาในมือซ้าย
2) นางเฉารี (Chauri) ประจำทิศใต้ ผิวสีทองแดง ถือกลองในมือขวา และถือหมูป่าในมือซ้าย
3) นางเวตาลี (Vetali) ประจำทิศตะวันตก ผิวสีแดงส้ม ถือเต่าในมือขวา และถือถ้วยหัวกระโหลกในมือซ้าย
4) นางฆษมารี (Ghasmari) ประจำทิศทิศเหนือ ผิวสีเขียว ถืองูในมือขวา และถือถ้วยหัวกระโหลกในมือซ้าย
5) นางปุกกาสี (Pukkasi) ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผิวสีน้ำเงิน ถือสิงโตในมือขวา และถือขวานสั้นในมือซ้าย
6) นางชาพารี (Shabari) ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผิวสีขาวขุ่น ถือนักบวชในมือขวา และถือพัดในมือซ้าย
7) นางฉนฑลี (Chandali) ประจำทิศทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผิวสีเทา ถือกงล้อในมือขวา และถือคันไถในมือซ้าย
8.) นางโทมพี (Dombi) ประจำทิศทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผิวสีเหลืองทอง ถือวัชระในมือขวา และถือปลาในมือซ้าย

ในงานพุทธศิลป์ ดังภาพทังก้าซ้ายมือ ศิลปะแบบทิเบต คริตสศวรรษที่ 14 เป็นมณฑลของดิยัมองค์พระเหวัชระที่โอบกอดพระแม่ศักติท่ามกลางนางฑากิณีประจำทิศทั้ง 8 องค์ ส่วนภาพขวามือ คือ นางโยคินีมีนามว่า วัชรโยคินี (Vajrayogini) หรือวัชรวาราฮี (Vajravarahi) ในท่าร่ายรำอรรธปรยังก์ที่เริงร่าอยู่บนร่างศพ ซึ่งเป็นคู่พระบารมีของยิดัมจักรสัมวารา สวมมงกุฏที่ทำด้วยหัวกระโหลกห้าหัว มือขวาถือขวานสั้นชี้ลงพื้น ส่วนมือซ้ายถือถ้วยกระโหลก ที่ข้อศอกพับประคองคฑาสามง่ามที่ปลายยอดเสียบหัวกระโหลกสามหัวไว้ สวมสร้อยสังวาลประดับด้วยหัวกระโหลก และสวมข้อเท้าทั้งซ้ายขวา ภายใต้รัศมีของเพลิงไฟแห่งปัญญา

ดังนั้น จึงไม่เข้าใจว่าแปลมาจากแหล่งไหนครับ ถึงกลายเป็นว่านางโยคินีทั้งแปดประทับอยู่บนเทพเจ้าฮินดูที่เป็นอวิชชา

  เหวัชระยิดัมองค์สำคัญในการปฏิบัติพุทธตันตระ พระองค์มีรูปกายสีน้ำเงินเข้ม
มุมมองในผู้ศึกษาพุทธธรรมได้แบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าอนัตตาและอารมณ์ฝ่ายดีเป็นอริยะชนผู้มีคุณความดี เป็นผู้มีธรรมะผู้สัมพันธ์ด้วยจึงเป็นอริยะชนด้วย แต่ในด้านตรงข้าม อัตตาและอารมณ์ฝ่ายร้ายเป็นความชั่วร้ายเป็นทุรชนที่จะต้องทำลายทิ้งหรือเก็บกดคุมขัง เพื่อมิให้ผู้ที่สัมพันธ์ด้วยกลายเป็นผู้ชั่วร้าย ความขัดแย้ง การต่อสู้ จึงบังเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เจตนารมณ์ในพุทธรรมมุ่งเน้นในสันติวิธีมากกว่าการต่อสู้และความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นภายในตัวผู้ศึกษาธรรม ยิ่งไม่ควรบังเกิดขึ้น ด้วยว่าการต่อสู้กันนั้นในที่สุดตัวเราโดยองค์รวมจะเป็นผู้ถูกทำลายเอง ในมุมมองของพุทธตันตระ จึงมุ่งสู่ศูนยตาสภาวะ สภาวะที่ไม่ได้อยู่เองโดดๆเป็นสภาวะที่สัมพันธ์ แอบอิงกัน เป็นสภาวะแห่งการมองอัตตา อนัตตา อารมณ์ดี อารมณ์ร้ายตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ที่ต้องสัมพันธ์กัน เปิดโล่ง โปร่งใส เมื่อดวงตาแห่งธรรมเปิด มองเห็นศูนยตาสภาวะ พุทธภาวะก็บังเกิด ผู้เปิดดวงตาแห่งธรรมก็คือองค์ยิดัม แท้จริงแล้วองค์ยิดัมก็คือ รากฐานแห่งพลัง อัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง ดังนั้นเมื่อพลังแห่งอัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งมวล สัมพันธ์กันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา พุทธภาวะก็บังเกิด ยิดัมก็คือวัชรธรรมกาย หรือพุทธภาวะนั่นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ก.พ. 2552, 08:25:50 โดย เด็กนอกวัด »

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 ก.พ. 2552, 09:27:57 »
เป็นบุญตาอีกแล้วครับ เพิ่งเคยเห็นครับ ได้ความรู้ด้วยนะเนี้ย ขอบคุณครับ
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13 ก.พ. 2552, 10:12:27 »
อ่านเพลินเลยครับ ได้ความรู้ดีจริงๆ  :005:  :005:

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 13 ก.พ. 2552, 12:07:30 »
เป็นความรู้มากเลยครับ

ออฟไลน์ nutagul

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 573
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 13 ก.พ. 2552, 05:14:03 »
อ่านเพลินเลยครับขอบคุณครับความรู้ดีๆประดับสมอง :054:
อิติสุคโตอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ฐิตคุโณอาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะณัง ภะวัณตุเม

ออฟไลน์ ตามพรลิงค์

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 314
  • เพศ: ชาย
  • ชาวนคร ก่อกรรมดี มีมานะภาคเพียร ไม่เบียดเบียนผู้ใด
    • MSN Messenger - minivet27@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 13 ก.พ. 2552, 05:18:18 »
เพิ่งจะเคยเห็น

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 13 ก.พ. 2552, 07:25:42 »
ขอบคุณครับผม บทความดีมากเลยครับ  :001:

ออฟไลน์ หอมเชียง

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 728
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 14 ก.พ. 2552, 12:26:58 »
รบกวนคุณเด็กนอกวัดครับ เทวรูปในเหรียญ ใช่องค์เดียวกับที่กล่าวถึงข้างต้นหรือไม่ครับ เผอิญผมมีเหรียญอันนี้มันคล้ายๆกันอะครับ

...
เป็นของลูกศิษย์สายหลวงปู่เจือวัดกลางบางแก้วสร้างถวายให้ท่านเสกให้ครับ แต่เขาเรียกว่า " เศรษฐีนวะโกฏิ " ครับจึงไม่แน่ใจว่าจะใช่องค์เดียวกีนหรือเปล่า
มีความโลภทรัพย์สินไม่สิ้นสุด จะยอมหยุดความอยากนั้นยากหลาย มีไร่ป่านาสวนล้วนมากมาย ใกล้ความตายได้พึ่งเพียงหนึ่งวา

ออฟไลน์ เด็กนอกวัด

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 14 ก.พ. 2552, 12:29:23 »
ไม่ใช่เศรษฐีนวะโกฏิครับเป็นเหวัชระครับ
พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ หรือ พระเก้าเศรษฐี

เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความร่ำรวย เงิน ทอง โภคสมบัติ และเป็นสัญลักษณ์

แห่งตัวแทนของท่านมหาเศรษฐีทั้งเก้าท่านในสมัยพุทธกา ล มหาเศรษฐีทั้งเก้าท่าน

ได้เป็นพุทธอุปัฎฐากขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ า และยังเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่อง

จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

"เป็นผู้เลิศในการทำบุญและเป็นยอดแห่งมหาเศรษฐีทั้งป วง"

ท่านมหาเศรษฐีทั้งเก้าท่าน มีรายนามดังนี้

1.ธนัญชัยมหาเศรษฐี

2.ยัสสะมหาเศรษฐี

3.สุมนะมหาเศรษฐี

4.ชฏิสัสสะมหาเศรษฐี

5.อนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐี

6.เมณฑกะมหาเศรษฐี

7.โชติกะมหาเศรษฐี

8.สุมังคละมหาเศรษฐี

9.มหาอุบาสิกาวิสาขา (พระนางวิสาขา)

ท่านมหาเศรษฐีทั้งเก้าท่าน ล้วนแต่เป็นพระอริยโสดาบันทั้งสิ้น กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม

ความดีงาม พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ มีตำนานเล่าขานในราชอาณาจักรล้านช้างโบราณว่า

ในยุคหนึ่งได้เกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง ฝนไม่ตกเจ็ดปี เกิดทุกข์เข็ญ ความเดือดร้อน

ตลอดทั้งเกิดโรคอหิวาตกโรค ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก ในเวลาต่อมา

ได้มีพระอรัญญวาสี (พระผู้อยู่ในป่า) ผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ได้มาบอกให้เจ้าพญาผู้ครองราชอาณาจักรว่า

"ให้พากันสร้างพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ หรือ พระเก้าเศรษฐีขึ้นมาทำการสักการบูชาเสียแล้วเหตุ

เภทภัยทั้งหลาย จะระงับดับไป"

พระอรัญญวาสี ยังได้บอกเคล็ดและวิธีการต่างๆ ตลอดถึงฤกษ์ยามอันเป็นมงคล

สำหรับใช้ในการจัดสร้างพระมหาเศรษฐีนวโกฏิเจ้าพญาผู้ ครองราชอาณาจักร

ได้ทำตามวิธีการนั้น ไม่นานปรากฏผล เรื่องเลวร้ายต่างๆ ได้เกิดระงับดับไปตามที่

พระอรัญญวาสีองค์นั้นได้บอกไว้ทุกประการ ตลอดทั้งเกิดความอุดมสมบูรณ์

ด้วยข้าวปลาอาหาร ร่มเย็นเป็นสุขด้วยเหตุนี้ ประชาชนแห่งราชอาณาจักรล้านช้างโบราณ
จึงนิยมจัดสร้างและบูชาสักการะองค์พระมหาเศรษฐีนวโกฏ ิ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ก.พ. 2552, 12:31:11 โดย เด็กนอกวัด »

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 14 ก.พ. 2552, 12:33:23 »
ท่านมิคาระเศรษฐี  เทียบขั้นไม่ติดเลย  :005:  :005:

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 14 ก.พ. 2552, 06:57:15 »
รบกวนคุณเด็กนอกวัดครับ เทวรูปในเหรียญ ใช่องค์เดียวกับที่กล่าวถึงข้างต้นหรือไม่ครับ เผอิญผมมีเหรียญอันนี้มันคล้ายๆกันอะครับ

...
เป็นของลูกศิษย์สายหลวงปู่เจือวัดกลางบางแก้วสร้างถวายให้ท่านเสกให้ครับ แต่เขาเรียกว่า " เศรษฐีนวะโกฏิ " ครับจึงไม่แน่ใจว่าจะใช่องค์เดียวกีนหรือเปล่า


ผมมีรูแบบเดียวกันนี้ เป็นเนื้อผง ด้านหลังปั๊มเป็นตัวหนังสือไทย ว่า เศรษฐีนวโกฏิ เป็นของ หลวงพ่อบัวเผื่อน วัดหลังเขา ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์  แต่ ณ บัดนี้ ท่านมรณะภาพหละสังขารแล้ว ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน / หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 14 ก.พ. 2552, 11:42:16 »
งามจัดชัดจริง  :016:

ออฟไลน์ yout

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 15 ก.พ. 2552, 09:00:25 »
ขอขอบคุณครับได้รับความรู้ เพิ่มอีกมากมายเลยครับ 31;

ออฟไลน์ porpar

  • ......... ขอคุณพระคุ้มครอง ........
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1274
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหวัชระ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 16 ก.พ. 2552, 07:52:13 »
ขอบคุรครับ