ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล  (อ่าน 28442 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 12:29:55 »

ประวัติ "อาจารย์เฮง ไพรยวัล" จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิริอายุ ๗๕ ปี"


พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน

เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนา คือ จ.พระนครศรีอยุธยา คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่โรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ

ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบมาก

หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน

หลวงปู่สี เล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๗๖) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง

ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่

สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ

โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียระเบิด ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ดังเดิม

*** ตอนสมัยที่ท่านเข้ามาพระนครนั้น เป็นสมัยยุคนักเลง และ อั้งยี่เฟื่องฟู... พวกที่คอยขย้ำกันอยู่ในเมืองกรุงก็มี เก้ายอด หลวงพ่อหรุ่น , พวกยันต์แดง อ.เฮง , สามล้อถีบวัดสามจีน และ พวกลูกศิษย์สาย หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พ่อแก้ว คำวิบูลย์

สมัยนั้น อ.เฮง จอดเรืออยู่หน้าวัด เชิงเลน (วัดบพิธภิมุข)... สักกันจนตำรวจต้องไปขอร้องให้เลิกสัก..เพราะลูกศิษย์ลูกหาไปเป็นโจรกันเยอะเหลือเกิน ปราบก็ยาก เนื่องจากคงกระพันนั้นเป็นเลิศทีเดียว...
อ.เฮง ท่านเป็นเลิศในหลายๆด้าน ทั้งไสย ทั้งศิลป์ และท่านยังเป็นเพื่อนซี๊ปึก กับ ครูเหม เวชกร... ครั้งนึง ครูเหม ออกปากว่า.. "..หน้าพรหม ไม่มีใครเขียนให้เห็นได้ทั้งสี่หน้า ที่ อ.เฮงคนเดียว ที่เขียนได้.."

ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้มากครับ แต่ขอยกตัวอย่างชิ้นนึงคือเหรียญพรหม4 หน้า อ.เฮง มีหลายรูปแบบ ทั้ง หน้าโล่ห์ ทรงกลม ข้าวหลามตัด... เป็นที่นิยมมานาน ของแท้นั้นหาดูไม่ง่ายนัก...แต่นับวันยิ่งจะสูญหาย และหาคนเป็นได้น้อยลง ...ที่จะว่ากันวันนี้ ก็จะเป็นเหรียญนิยมที่เรียกว่าเหรียญโล่ห์ และรูปนำมาให้ชมกันวันนี้ เป็น "เหรียญโล่ห์เงิน หน้าทอง" ... โดยองค์พรหมจะเป็นทองคำ ยึดติดกับพื้นเหรียญด้วยวิธีตอกตาไก่ และจะมีรอยจารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ที่สำคัญที่ด้านหลัง กึ่งกลางเหรียญจะลงไว้ด้วยยันต์ "จักรเพชร" หรือ "ยันต์ภา" นั่นเอง โดยการผูกยันต์ภาต่อกันเป็นรูปวงกลม โดยรอบจะมี ตารางตรนิสิงเห . เม อะ มะ อุ , นะ ทรงธรณี รวมทั้งยันต์ห้าด้วย...ลงจารไว้อย่างสวยงามทีเดียว

เหรียญพรหม ของท่าน อ.เฮงนั้น หลายท่านเคยตั้งข้อกังขาว่า พิธีจะครบหรือไม่...ยืนยันครับว่า ครบ ท่าน อาจารย์ผูกพิธีทั้งพุทธ และ พาร์ม อย่างครบถ้วน โดยทางพิธีพุทธนั้น มีหลวงปู่สี วัดสะแก เป็นประธานทุกครั้ง

เครื่องรางชุด "พระมหาพรหมธาดา" นี้ มีดีทุกอย่าง อาราธนาอธิษฐานเอาได้เลย ใช้ได้ทางเมตตา และป้องกันตังแบบครอบจักรวาล เป็นมหาอุด คงกระพัน มีเรื่องเหตุเพทภัย ให้อาราธนาดังนี้ "โอม จัตุรพักตรพรหมา นะมามิหัง" แล้วจะรอดปลอดภัยทุกประการ ด้วยจิตที่ยึดมั่น ใจมั่น

 replyanchalit wrote on Oct 3, '08
ดูพศ.ปีเกิดของท่านแล้ว เรียกได้ว่ายุคเดียวกับ อาจารย์จาบ สุวรรณ ฆราวาสผู้เป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานของวัดประดู่ทรงธรรม เลย

อ.เฮง 2428-2502 (ราว 75 ปี)
ก๋งจาบ 2426-2501 (ราว 75 ปี)

อาจารย์เฮง ในปัจจุบันชื่อเสียงโด่งดังกว่า เพราะท่านสร้างเครื่องรางของขลัง ตกทอดมาถึงทุกวันนี้
ส่วน ก๋งจาบ ท่านใช้ความรู้ความสามารถสงเคราะห์ไปตามเรื่องในสมัยนั้น คงมีแค่ว่าท่านเป็นอาจารย์กัมมัฏฐานวัดประดู่ฯ เป็นผู้รักษาหลวงพ่อปานตอนถูกบังฟัน เป็นเพื่อนกับหลวงพ่อปาน เป็นอาจารย์ของพระเกจิในยุคต่อมา เช่นหลวงพ่อเทียมวัดกษัตฯ หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ท่านคงจะไม่ได้สร้างเครื่องรางอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

เหมือนหลวงพ่อสมัยโบราณที่ท่านสร้างเครื่องรางของขลัง ก็จะดังเป็นตำนานมาถึงปัจจุบัน ส่วนท่านที่เก่งเป็นที่นับถือของชาวบ้านแต่ไม่ได้สร้างเครื่องรางอะไรออกมา ก็เงียบหายไปตามกาลเวลา

 replyanchalit wrote on Oct 3, '08
อีกบทความนึงครับ...............

ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์
จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิริอายุ๗๕ ปี พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนา คือ จ.พระนครศรีอยุธยา คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่โรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบมาก หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน หลวงปู่สี เล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๗๖) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่ สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ
โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียระเบิด ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕ การย้ายครอบครัวในครั้งนั้น ท่านซื้อเรือต่อ หรือเรือข้าวขนาดย่อมลำหนึ่ง ติดเครื่องยนต์แล่นขึ้นไปเป็นการสะดวกในการสัญจร ขณะนั้นที่ถนนหนทางอยู่ในสภาพกันดาร การคมนาคมทางน้ำดูจะมีความสำคัญมาก ภายในเรือของท่านใช้เป็นที่อาศัย ซึ่งพร้อมมูลไปด้วยปัจจัยในการดำรงชีวิต อย่างมีความสุขสบาย นึกจะโยกย้ายหรือท่องเที่ยวไป ณ ที่แห่งใด ก็ย่อมได้ตามความประสงค์ เขาว่าท่านเป็นคนร้อนวิชา อยู่ไม่เป็นที่ จึงชอบท่องเที่ยวไปในถิ่นที่ต่างๆ และจะวนเวียนมาจอดที่ต้นสะตือ วัดสะแก เป็นประจำ เป็นสถานที่ที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านจะไปพบหาท่านได้ที่นั่น อาจารย์เฮง อุปสมบท ๒ ครั้ง ครั้งแรกที่วัดสุวรรณคาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าใจว่าท่านคงจะอุปสมบทเมื่ออายุครบบวชตามประเพณี แต่ในครั้งหลังท่านมาบวชอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ท่านบวชที่ วัดพระญาติการาม โดยมี หลวงพ่อกลั่น ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาศิลปะวิทยายุทธมาจากหลวงพ่อกลั่นหลายแขนงเหมือนกัน เช่น วิชาฝังเข็ม สำหรับวิชา สักยันต์ ๙ เฮ ชาตรีนั้น ทราบมาว่าเมื่อท่านท่องเที่ยวอยู่ทางภาคใต้ เคยศึกษามากับแขกก่อนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็อาจจะมาเรียนเพิ่มเติมกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อีกก็เป็นได้ การอุปสมบทของท่านอาจารย์เฮงกับหลวงพ่อกลั่นนั้น เข้าใจว่า ท่านบวชเพื่อประสงค์จะศึกษาวิทยายุทธพุทธาคมกับหลวงพ่อกลั่น
วัดพระญาติการาม ในยุคนั้น หลวงพ่อกลั่นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก โดยปกติท่านปรมาจารย์ด้านพุทธาคมนั้นมักจะมีอุปนิสัยห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่โลเล จึงทำด้านอาคมขลัง สำหรับท่านอาจารย์เฮง นอกจากท่านจะมีอุปนิสัยดังกล่าวแล้วอย่างพร้อมมูล ท่านยังมีความเป็นอัจฉริยะ ในด้านการช่างอย่างอัศจรรย์หลายประการ อาทิ การวาดเขียนภาพต่างๆ การแกะสลัก การกลึง เป็นต้น ซึ่งท่านจะได้สัมผัสจากภาพ พระพรหม ซึ่งอัญเชิญมาปรากฏ ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นภาพฝีมือท่านอาจารย์เฮง และยังมีมงคลวัตถุในลักษณะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เหรียญพรหมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่อยู่ในแวดวงนักนิยมสะสมเหรียญคงจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ เพราะเหรียญพรหมเหรียญนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดี อีกทั้งในแวดวงพระเครื่องมีการจัดประกวดกันอยู่บ่อยๆ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 12:32:41 »
เหรียญพรหมสีหน้า

สิงห์งาแกะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มี.ค. 2552, 12:35:50 โดย น้องต้นน้ำ »

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 12:55:32 »
สุดยอดครับ ของๆท่านส่วนมากสร้างด้วยงา
เป็นอีกหนึ่งอาจารย์ที่เก่งมากๆของอยุธยาครับ  :095:
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ

ออฟไลน์ nutagul

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 573
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 10:21:56 »
คนสมัยก่อนทำอะไรดูขลังและศักศิษย์ไปหมดนะครับ
อิติสุคโตอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ฐิตคุโณอาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะณัง ภะวัณตุเม

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 11:04:17 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 05:04:11 »
สุดยอดเลยหวะเพื่อนต้น วันนี้ นายเท่มาก ไปห้องซ้อม  เล่นเพลงเจ๋วมากโดนใจเพื่อนเอ็มมากๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มี.ค. 2552, 05:04:55 โดย เอ็ม.... »

ออฟไลน์ porpar

  • ......... ขอคุณพระคุ้มครอง ........
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1274
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 06:28:18 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ คงจะหายากน่าดูนะครับท่าน...... :015: :002:

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 09:58:18 »
หนึ่งในอาจารย์สายฆราวาสจอมขมังเวทย์ครับ ตำนานที่เล่าขานไม่จบสิ้น

ขอบคุณมากครับ 

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรยวัล
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 22 มี.ค. 2552, 10:19:01 »
ขอบคุณครับผม เครื่องรางของท่านนิยมกันมากเลยนะครับ เยี่ยมครับ  :015: