ผู้เขียน หัวข้อ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา  (อ่าน 10913 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« เมื่อ: 11 เม.ย. 2552, 12:28:23 »

เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
       ชื่อเมืองศรีเทพ ดูจะเป็นชื่อใหม่ของประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะมีการเอ่ยถึงไม่แพร่หลายนักเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆอย่างสุโขทัย ลพบุรี เพชรบุรี นครราชสีมา และ นครศรีธรรมราช ในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช มีบันทึกว่า ? ในปี พ.ศ. 2100 พระยาละแวก เจ้ากรุงกัมพูชา ยกทัพมาทางเมืองนครราชสีมา มาตีหัวเมืองชั้นใน ทางตะวันออก ขณะนั้นพระนเรศวรฯเสด็จลงมาเฝ้าสมเด็จพระปิตุราชอยู่ที่อยุธยา โปรดให้พระศรีถมอรัตน์ กับพระชัยบุรี คุมพลไปซุ่มในดงพญากลาง และพระนเรศวรเสด็จขึ้นไปยังเมืองชัยบาดาล ยกกองทัพตีเขมรแตกพ่าย ?

      ชื่อของ พระศรีถมอรัตน์ เป็นชื่อเดียวกับใน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งรวบรวมเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับเมืองเพชรบูรณ์ โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงชื่อเมืองศรีเทพ ว่ามีชื่อปรากฏในทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมืองต่างๆที่ทางราชการให้คนเชิญตราไปบอกข่าวสิ้นรัชกาลที่ 2 ยังเมือง สระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพ และเมืองเพชรบูรณ์ จึงเป็นการยืนยันว่าเมืองศรีเทพ เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก โดยในช่วงหนึ่งจะมีชาวบ้านเรียกชื่อเมืองนี้ว่า ? เมืองอภัยสาลี?? และตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดคือ พระศรีถมอรัตน์ เหมือนกับชื่อในสมัยพระนเรศวร และชื่อนี้ยังเป็นชื่อภูเขาเล็กๆลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณเมือง คือเขาถมอรัตน์ เช่นกัน






      เมืองศรีเทพ ที่ถูกซ่อนอยู่ในป่าทึบ เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีอาณาเขตมากกว่า 2 พันไร่ มีภูมิทำเลที่ตั้งที่ถูกเลือกอย่างชาญฉลาดจากผู้ปกครองเมืองในสมัยนั้น จะเห็นว่ารอบอาณาบริเวณที่ตั้งของเมืองซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของอำเภอศรีเทพ ในปัจจุบันเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักผืนใหญ่ มีเพียงเขาเล็กๆเพียงไม่กี่ลูกเท่านั้นในบริเวณนั้น พื้นที่เช่นนี้เหมาะสำหรับการเพาะปลูกสำหรับชาวเมือง โดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเล็กๆที่เป็นสาขาของแม่น้ำป่าสักในการยังชีพและขนส่งสินค้าไปต่างเมือง

      จากแผนที่ยุทธศาสตร์ ครั้งรัชการของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จะเห็นว่า ที่ตั้งของเมืองศรีเทพ ( เขียนว่า ? สีเทพ?) ตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศในสมัยนั้น เมืองนี้จึงเป็นศูนย์กลางการเดินทาง จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และจากทิศเหนือไปทิศใต้ เมืองนี้จึงน่าจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางมาค้าขายของชนชาติต่างๆ ดังจะเห็นจากประติมากรรมศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งเขมร และ อินเดีย

      เมืองศรีเทพต่างจากเมืองอื่นในลุ่มแม่น้ำภาคกลางตรงที่ไม่ได้ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ แต่อยู่ห่างจากแม่น้ำไปทางทิศตะวันออกพอประมาณ เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากผู้ตั้งเมืองรู้ถึงธรรมชาติของพื้นที่ดีว่า ในฤดูน้ำหลากทุกปี น้ำจะไหลบ่าลงมาจากทางเหนือและจะท่วมบ้านเมืองหากตั้งอยู่ติดแม่น้ำ จะเห็นว่าแม้ในปัจจุบัน ( ก่อนการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) แม่น้ำป่าสักก็ยังคงท่วมพื้นที่นี้ทุกปี แต่แม้จะท่วมหนักสักเพียงใด ก็มาไม่ถึงที่ตั้งของเมืองศรีเทพแห่งเก่านี้เลย






      ความที่อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำ เมืองนี้จึงจำเป็นต้องขุดสระน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ให้ชาวเมืองได้ใช้ นี่คือเหตุผลที่เราพบเห็นสระน้ำมากกว่า 70 แห่งในเมืองโบราณที่ถูกค้นพบ สระน้ำเหล่านี้จึงน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยเริ่มตั้งเมือง






      จากการสำรวจ พบว่าเมืองนี้เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีคูน้ำรอบปราการเมือง 2 ชั้น ภายในเมืองนอกจากสระน้ำ ยังมีปรางค์ และ เทวสถาน ทั้งใน และรอบนอกเมือง เมื่อมีการเปรียบเทียบงานศิลปะที่พบ และพิสูจน์อายุของสิ่งก่อสร้างทางวิทยาศาสตร์ พบว่าอิฐ และไม้ที่คงอยู่มีอายุราว 800 ถึง 1000 ปี






      นับเป็นความโชคดีที่ เทวสถานส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยหินและศิลาแลง แม้จะถูกทำลายด้วยกาลเวลา แต่ก็ยังคงหลงเหลือบางส่วนให้เราได้รู้ว่า ครั้งหนึ่งปรากฏเมืองนี้อยู่ในประเทศไทย หากจะลองคิดเปรียบเทียบช่วงเวลากับอายุของเมืองนี้ จะเห็นว่า หากเมืองนี้มีอายุ 800 ปีขึ้นไป เมืองศรีเทพจะมีอายุมากกว่า กรุงศรีอยุธยา และสุโขทัย จึงน่าจะอยู่ในสมัยก่อนหรือเริ่มต้นประวัติศาสตร์ ซึ่งก็สัมพันธ์กับลักษณะของประติมากรรม ที่พบอันเป็นศิลปะในยุคของอารยะธรรมเขมร และบางส่วนเป็นศิลปกรรมของ อารยะธรรมทวาราวดี ที่พลัดกันเข้ามามีอิทธิพลเหนือเมืองนี้

      ดังนั้น เมื่อในพงศาวดารที่บันทึกในสมัยพระนเรศวร ที่กล่าวถึงพระศรีถมอรัตน์ กับพระชัยบุรี จึงน่าคิดได้ว่า พระศรีถมอรัตน์ ท่านนี้น่าจะเป็นเจ้าเมืองศรีเทพ ในยุคที่เมืองนี้ได้ตั้งมาแล้ว กว่า 400 ปี ( เพราะกรุงศรีอยุธยา มีอายุประมาณ 425ปี ) แต่อาจเป็นไปได้ว่า เมืองศรีเทพ ในยุคนั้นอาจจะไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ที่พบนี้ แต่อาจจะเคลื่อนย้ายไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เพราะดูจากซากเทวสถานที่พบในเมืองโบราณ ล้วนเป็นศิลปะคนละยุคสมัยกับอยุธยา






      นับเป็นความโชคดีที่เมืองโบราณนี้ได้ถูกค้นพบ แม้จะมีการลักลอบขุดสมบัติ และของมีค่า อันจะเป็นหลักฐานในการค้นหาประวิติศาสตร์ไปขาย แต่ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นหลักในการค้นหาคือสิ่งก่อสร้าง ที่สร้างด้วยอิฐ หิน เหล็ก หรือแม้แต่เศษไม้เพียงไม่กี่ชิ้น ที่ยังคงสภาพ ให้เห็น

      สันนิฐานว่า เมืองศรีเทพที่ยิ่งใหญ่นี้ เดิมนับถือลัทธิศาสนาฮินดู ซึ่งมาจากทางอินเดีย โดยจะเห็นการสร้างสถูปและปรางค์ ด้วยหินในบริเวณที่เป็นใจกลางเมือง (คล้ายกับศิลปะของเขมรที่นครวัด) ซึ่งถือเป็นเขตสำคัญทางศาสนา ( คล้ายส่วนที่เป็นที่ตั้งของ พระบรมหาราชวัง และวัดพระแก้ว ในปัจจุบัน) ส่วนรอบๆเมืองซึ่งเป็นทั้งตั้งของบ้านเรือนของประชาชน ที่อาศัยส่วนใหญ่ถูกสร้างด้วยไม้ ซึ่งถูกกักร่อนทำลายให้ผุพังไปตามกาลเวลาจนหมด เหลือให้เห็นเป็นเพียงที่ราบรอบเทวสถาน และสระน้ำ ของชุมชนเท่านั้น

      ความที่เมืองศรีเทพมีอายุยาวนาน ( ศรีเทพ 800 ปี กรุงศรีอยุธยา 420 ปี กรุงเทพฯ 250 ปี ) จึงมีการเปลี่ยนแปลงด้านการปกครอง ศาสนา และวัฒนธรรมขึ้นหลายครั้ง ดังจะเห็นว่า นอกจากเทวรูปในศาสนาฮินดูแล้ว ยังมีการพบหลักฐานทางพุทศาสนาลัทธิมหายานอีกด้วย ซึ่งคาดว่าคงเข้ามาในระยะหลังก่อนการล่มสลายของชุมชน






      จากการขุดค้นหลักฐาน พบว่าใต้สถูป และปรางค์ ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนา มีการฝังรูปสลักหินซึ่งเป็นรูปของพระศิวะ พระอาทิตย์ และรูปเคารพอื่นๆในศาสนาฮินดูไว้ โดยครั้งหนึ่งรูปเคารพเหล่านี้ได้ถูกประดิษฐานไว้ในพระปรางค์ และศาสนสถานเหล่านั้น แต่ภายหลังเมื่อพุทธศาสนาได้เข้าในในชุมชน จึงมีการนำพระพุทธรูปเข้ามาไว้แทนที่รูปเคารพเหล่านั้น หลักฐานที่มีค่าที่ค้นพบคือพระพุทธรูปที่ทำจากสัมฤทธิ์ที่มีรูปลักษณ์ต่างจากพระพุทธรูปในยุคอยุธยา และโบราณวัตถุที่ทุกคนจะต้องถ่ายรูปเมื่อมาเที่ยวชมคือ ? ธรรมจักร? ที่สลักด้วยหิน ที่มีลวดลายโบราณงดงามมาก






      จากสิ่งก่อสร้าง และอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่ของเมืองศรีเทพ ทำให้สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณกำลังคน และกำลังศรัทธาที่ใช้ในการก่อสร้าง อาคารและศาสนสถานเหล่านี้มั่นคงยากแก่การล่มสลาย ทำให้ไม่สามารถบอกได้เลยว่า เมืองนี้เสื่อมสลายไปด้วยเหตุใด






      จากการสำรวจไม่พบการถูกทำลายโดยสงคราม และเมื่อเปรียบเทียบการเสื่อมสลายของเมืองนี้ คล้ายกับเมืองขนาดใหญ่ของเขมรคือนครวัด นครธม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าได้รับความกระทบกระเทือนจากการเสื่อมสลายของอาณาจักรเขมร ที่ทำให้เส้นทางค้าขายกับเขมรที่เคยรุ่งเรือง เนื่องจากเป็นเมืองศูนย์กลางการเดินทางค้าขาย กลับซบเซาลง แต่ก็เป็นเหตุผลที่ไม่น่าทำให้เมืองนี้ต้องเสื่อมสลายไป เพราะแม้การค้าขายจะซบเซา แต่เมืองก็น่ายังสามารถอยู่ต่อไป และควรมีการพัฒนาต่อเนื่องไปในยุคหลัง จะไม่หยุดลงที่ยุคเดิมเหมือนเมืองถูกทิ้งร้างไปโดยฉับพลัน

      เหตุผลใหญ่ที่มีการคาดเดา จากสภาพสิ่งแวดล้อม ที่ไปสอดคล้องกับนิทานพื้นบ้านที่กล่าวถึงคือ โรคระบาดของชุมชน ซึ่งก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะเป็นไปได้สูง ว่าจะเกิดโรคระบาดร้ายแรงในเมืองนี้ เนื่องจากเมืองศรีเทพ เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ที่มีผู้เดินทางมาจากต่างแดน หรือต่างประเทศอยู่เสมอ จึงเป็นเหตุให้มีการแพร่ขยายของโรคภัยที่มากับคนต่างถิ่นได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง แม้เมืองศรีเทพจะอยู่ใกล้แม่น้ำป่าสัก แต่ก็ไม่ได้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่มีน้ำไหลผ่านโดยตรง การใช้น้ำในการบริโภคของชาวเมือง อาศัยน้ำจากคูและสระหรือบ่อน้ำภายในเมือง ซึ่งกลายเป็นแหล่งระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ อันเป็นเหตุแห่งการล้มตาย และเคลื่อนย้ายของผู้คนไปยังที่อื่นอย่างกะทันหัน เมืองศรีเทพจึงถูกทิ้งร้างให้หยุดประวัติศาสตร์ของตัวเองไว้ในป่ารกนับร้อยปี

      เมืองโบราณชื่อศรีเทพ ที่เรามาพบในวันนี้ น่าจะเป็นเมืองศรีเทพในยุคแรกก่อนประวัติศาสตร์ แต่เมืองศรีเทพที่เราเห็นชื่อในพงศาวดารประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา น่าจะเป็นบริเวณเมืองศรีเทพที่ตั้งขึ้นใหม่ในบริเวณใกล้เคียงที่เก่า ซึ่งเกิดขึ้นหลังการอพยพออกมาตั้งเมืองเล็กเมืองน้อยหลายแห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ในยุคสุโขทัยและอยุธยา

      เท่าที่เล่ามานี้นับเป็นเรื่องที่เล่าแบบย่อจากความเข้าใจของตัวเอง ด้วยภาษาที่ง่ายเพื่อให้คนยุคเดียวกันได้เข้าใจความเป็นมา โดยอาศัยความรู้จากหนังสือหลายเล่ม คิดว่าหากท่านที่อยากไปชม ? เมืองศรีเทพ? จะได้อ่านไว้บ้างก่อนไปสถานที่จริงก็จะได้ประโยชน์บ้าง สำหรับโบราณสถานภายในเมืองศรีเทพ ที่จะได้พบมีมากมาย ซึ่งขอสรุปให้ทราบย่อๆ ก่อนไปฟังจากวิทยากรผู้ดูแลดังนี้


โบราณสถานและสถานที่สำคัญในอุทยานฯ


       ศูนย์บริการข้อมูล เป็นอาคารจัดแสดงโบราณสถาน และนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณศรีเทพ ภายในประกอบด้วยห้องประชุม หรือบรรยายสรุปก่อนการเข้าชมนิทรรศการ
       ปรางค์สองพี่น้อง ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีประตูทางเข้าทางเดียว จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตีประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ โดยอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และมีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับบนกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น
       ปรางค์ศรีเทพ เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟักแบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่วไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้ พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยสันนิษฐานจากการค้นพบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย ระหว่างปรางค์สองพี่น้องและปรางค์ศรีเทพมีกำแพงล้อมรอบและมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผังในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย
       โบราณสถานเขาคลังใน ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังเมืองและศิลปะการก่อสร้างมีลักษณะคล้ายเมืองทวารวดีอื่น ๆ ได้แก่ นครปฐม และเมืองโบราณคูบัว มีการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคลและสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดี เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติจึงเรียกว่า "เขาคลัง"
       ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ อยู่บริเวณด้านในประตูแสนงอน (ประตูด้านทิศตะวันตก) ศาลเจ้าพ่อศรีเทพเป็นศาลที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ วันขึ้น 2-3 ค่ำ เดือน 3
นอกจากโบราณสถานดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทิศใต้ของเขาคลังในพบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง มีการพบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา แสดงให้เห็นว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดี และมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น
      นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังพบอาคารมณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ยังไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ นอกจากนี้ยังพบสระน้ำโบราณ เรียกว่า สระแก้ว อยู่นอกเมืองไปทางทิศเหนือ และยังมี สระขวัญ อยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอก ทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ และมีการนำไปประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

      หากต้องการเดินทางไปเที่ยว เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 130 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 21 เส้นสระบุรี-หล่มสัก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งหมอชิต กรุงเทพฯ มาลงที่ตลาดอำเภอศรีเทพ (บ้านกลาง) แล้วต่อรถรับจ้างเข้าสู่อุทยานฯ

      อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00?16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท รถยนต์นำเข้าอุทยาน คันละ 50 บาท สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการติดต่อวิทยากรบรรยาย ติดต่อโดยตรงได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67170 โทร. 0 5682 0122, 0 5682 0123

      หลังจากเขียนบทความนี้จบ ป้าก็บังเอิญลงมายืนอยู่ที่หน้าตึกที่ทำงาน มองขึ้นไปบนยอดตึก คิดถึงเวลาในอีก1 พันปีในอนาคต??? หากยังมีโลกนี้อยู่ คนในยุคนั้นอาจขุดพบตึกนี้ และอาจพบโบราณวัตถุที่สร้างด้วยไฟเบอร์ หรือพาสติก ที่เมื่อเปิดดูจะพบว่ามีหน้าจอสี่เหลี่ยมสีดำ มีอักษรภาษาไทยดึกดำบรรพ์เขียนไว้ที่ขอบจอ แสดงชื่อเจ้าของวัตถุนี้ และหากสามารถอ่านได้ ก็จะพบว่าชื่อที่เขียนไว้ เป็นชื่อของป้าLily นั่นเอง


       ข้อมูลอ้างอิงจาก
       หนังสือ ? เมืองศรีเทพ? ของกรมศิลปากร
       www.tat.or.th
ที่มาwww.suanlukchan.com

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 11 เม.ย. 2552, 06:36:48 »
ข้อมูลดีนะครับ

ออฟไลน์ cho presley

  • ------> I'm Cho Presley
  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 2049
  • เพศ: หญิง
  • สุดท้ายก็กาหลง!
    • MSN Messenger - cho.khalong@hotmail.com
    • AOL Instant Messenger - เมืองเสน่ห์กาหลง
    • Yahoo Instant Messenger - มหาเสน่ห์+เมตตา+มหานิยม
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.khalong.com
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 11 เม.ย. 2552, 08:16:17 »
สวยค่ะ สวย เมืองศรีเทพ เมืองมะขามโน๊ะ... ต้นโน๊ะ..

อาทิตย์หน้าพี่โชวไปแถบอยุธยาค่ะ... ไว้ถ่ายรูปมาฝากดีปะคะ.....:048:

เอ๊ะ เอ๊ะ... เป็นสีจมปูแล้วหนิ... ก้นบาตรบางพระ...เท่ ใจ มากมายค่ะ...ไม่น่านคงเป็นน้องชลาพุชะชะช่า... น้องชายแสนอึดอีกคน...หนึ่งแห่งบ้านบางพระนะคะ555



cho presley       

ออฟไลน์ ขุนส่อง

  • คนเหนือ เหนือคน
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 199
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 11 เม.ย. 2552, 09:06:45 »
ได้ความรู้ใหม่อีกแล้วครับท่าน

 :002:  :002:  :002:  :002:  :002:  :002:
นะโมพุทธายะ  ยะนะมะ  พะทะจะ  ภะกะสะ  นะมะอะอุ
สุวิอะ  นะสะมะ  อะสังวิสุโล  ปุละพุภะ
สุวะอัง  อาภะนิมุ  ปัสสะ


ออฟไลน์ porpar

  • ......... ขอคุณพระคุ้มครอง ........
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1274
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 11 เม.ย. 2552, 12:07:01 »
ข้อมูลเยี่ยมเลยครับ... :015: :002:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 11 เม.ย. 2552, 08:33:31 »
ขอบคุณข้อมูลเมืองศรีเทพครับผม  :015:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 12 เม.ย. 2552, 08:32:56 »
สวยค่ะ สวย เมืองศรีเทพ เมืองมะขามโน๊ะ... ต้นโน๊ะ..

อาทิตย์หน้าพี่โชวไปแถบอยุธยาค่ะ... ไว้ถ่ายรูปมาฝากดีปะคะ.....:048:

เอ๊ะ เอ๊ะ... เป็นสีจมปูแล้วหนิ... ก้นบาตรบางพระ...เท่ ใจ มากมายค่ะ...ไม่น่านคงเป็นน้องชลาพุชะชะช่า... น้องชายแสนอึดอีกคน...หนึ่งแห่งบ้านบางพระนะคะ555[/colo


ถ้าไปแล้วไม่ซื้อหนมมาฝากหนูงอนด้วย :009:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 เม.ย. 2552, 08:33:22 โดย น้องต้นน้ำ »

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 12 เม.ย. 2552, 09:26:24 »
คนสมัยก่อนช่างสังเกตธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การตั้งเมืองก็วางแผนผังเป็นอย่างดี  ไม่เหมือนปัจจุบันที่ประเทศไทยมีการวางผังผิดจำนวนมาก  ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา  เพราะต่างคนต่างทำ  ใครอยากจะสร้างอะไรตรงไหนก็สร้างได้   ไม่เหมือนต่างประเทศ เช่นอเมริกา อังกฤษ เป็นต้น จะอนุรักษ์ตึกรามบ้านช่องเก่าๆไว้  และเวลาจะสร้างตึกใหม่ ต้องได้รับอนุญาตจากเทศมนตรีเสียก่อน 

ทำให้เมืองของเขามีแผนผังที่ดี  มีระบบระเบียบ  เมื่อไหร่ประเทศไทยจะกลับมาเจริญรอยตามบรรพบุรุษของเรา

น่าเสียใจครับ
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เมืองศรีเทพ.....หลงไปในกาลเวลา
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 12 เม.ย. 2552, 02:31:49 »
ข้อมูลดี นะเพื่อน ต้น ... พรุ่งนี้เจอกัน ทำบุญกันสักหน่อย ปีใหม่ไทยแล้ว