ผู้เขียน หัวข้อ: ...อกุศลธรรม...  (อ่าน 4490 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
...อกุศลธรรม...
« เมื่อ: 19 ก.ย. 2552, 10:43:23 »
                  :059:อกุศลธรรม :059:
    อกุศลธรรมเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ที่เป็นเครื่องกีดขวางความเจริญของวิปัสนา
มีเครื่องวินิจฉัยอกุศลธรรมอยู่ ๓ ประการคือ
๑.อะกุสะลัง=ไม่เป็นกุศล
๒.สาวัชชะ=มีโทษ
๓.ทุกขวิปากะ=ให้ผลเป็นทุกข์
    องค์แห่งอกุศลธรรมได้แก่ อกุศลจิต ๑๒และเจตสิก ๒๗
อกุศลจิต ๑๒ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ,โทษมูลจิต ๒,โมหมูลจิต ๒,
เจตสิก ๒๗ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓และอกุศลเจตสิก ๑๔
อัญญสมานเจตสิก ๑๓ ได้แก่ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ และปภิณณะกะเจตสิก ๖
อกุศลเจตสิก ๑๔ ได้แก โมจตุกเจตสิก ๔,โลติกเจตสิก๓,โทจตุกเจตสิก๔,ถีทุกเจตสิก ๒และวิเอกเจตสิก๑
    อกุศลธรรมแบ่งออกเป็น ๙ กอง คือ
๑.อาสวะ ๔=สิ่งที่สั่งสมหมักดองไว้ในสันดานของสัตว์โลก
๒.โอฆะ ๔=เป็นธรรมชาติดุจห้วงน้ำที่ท่วมทับใจสรรพสัตว์ไว้
๓.โยคะ ๔=ธรรมชาติที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพภูมิต่างๆ
๔.คันธะ ๔=ธรรมชาติที่ผูกมัดรัดจิตไว้ให้ติดอยู่
๕.อุปาทาน ๔=ความยึดมั่นถือมั่นที่เหนียวแน่นอยู่ในจิต
๖.นิวรณ์ ๕=เป็นธรรมชาติที่กั้นไว้มิให้บรรลุความดี
๗.อนุสัย ๗=เป็นธรรมชาติที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน
๘.กิเลส ๑๐=เครื่องเศร้าหมองของจิต
๙.สัญโญชน์ ๑๐=เครื่องผูกมัดพันธนาการเอาไว้ในภพ
              :059:อาสวะ ๔ ประการ :059:
   อาสวะคือเครื่องมักดองอยู่ในสันดานเป็นเครื่องทำให้เสื่อม อันได้แก่
๑.กามาสวะ คือ กามอารมณ์อันได้แก่รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย
๒.ภวาสวะ คือ ความอยากได้ในภพที่เป็นอุปปัติภพและกัมมภพ
๓.ทิฏฐาสวะ คือ ความเห็นผืด เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๔.อวิชชาสวะ คือ ความไม่รู้ เผลอ หลง ลืม เมา อยู่เสมอ
    โอฆะ ๔และโยคะ ๔ คือตัวเดียวกันกับอาสวะ ๔ เพียงแต่เปลี่ยนตัวหลัง
แต่ความหมายและลักษณะอาการคล้ายกันอันได้แก่
    โอฆะ ๔=กาโมฆะ,ภโวฆะ,ทิฏโฐฆะ,อวิชโชฆะ
    โยคะ ๔=กามโยคะ,ภวโยคะ,ทิฏฐิโยฆะ,อวิชชาโยคะ
            :059:คันธะ ๔ ประการ :059:
  คันธะคือธรรมชาติที่ผูกมัดรัดจิตไว้ให้ติดอยู่ อันได้แก่
๑.สีลัพพปรามาสกายคันธะ=ผูกมัดด้วยการถือศีลพรตนอกพระพุทธศาสนาด้วยอำนาจของทิฏฐิเจตสิก
๒.อิทังสัจจาภิทิเวสกายคันธะ=ผูกใจไว้ด้วยการถือมั่นมติความเห็นของตน ของผู้อื่นผิดหมด
๓.พยาปาทกายคันธะ=ผูกมัดใจด้วยความพยาบาทปองร้าย ด้วยอำนาจโทสจริต
๔.อภิชฌากายคันธะ=ผูกมัดใจให้เพ่งเล็งอยู่ด้วยอำนาจโลภเจตสิก
           :059:อุปาทาน ๔ ประการ :059:
  อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นที่เหนียวแน่นอยู่ในจิตใจ อันได้แก่
๑.กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นในกาม ด้วยอำนาจโลภเจตสิก
๒.ทิฏฐปาทาน คือ ยึดมั่นในความเห็นผิดจากความเป็นจริง
๓.สีลพัตตุปาทาน คือยึดมั่นในศีลและพรตนอกพระพุทธศาสนา
๔.อัตตวาทุปาทาน คือ ยึดมั่นในวาทะของตนจนปฏิเสธเหตุผลของพระพุทธองค์
   ทั้งที่วาทะของตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แม้จะทำฌานได้ก็มักจะเกิดเป็นอสัญญสัตตา
หรือเป็นอรูปพรหมตามวาทะของตนไปนิพพานไม่ได้
           :059:นิวรณ์ ๕ ประการ :059:
   นิวรณ์คือธรรมชาติที่กั้นจิตไว้มิให้บรรลุความดี อันได้แก่
๑.กามฉันทนิวรณ์ คือ ความพอใจในกามคุณทั้งหลาย
๒.พยาบาทนิวรณ์ คือ ความพยาบาทปองร้าย ความไม่พอใจ
๓.ถีนมิทธนิวรณ์ คือ ความหดหู่ท้อถอยและง่วงเหงาหาวนอน
๔.อุทธัจจะ กุกกุจจะนิวรณ์ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
๕.วิจิกิจฉานิวรณ์ คือความสงสัยลังเลไม่มั่นใจ
    นิวรณ์ย่อมระงับโดยอำนาจแห่งสมาธิองค์ฌานข่มไว้คือ
๑.วิตกข่มถีนมิทธนิวรณ์
๒.วิจารข่มวิจิกิจฉานิวรณ์
๓.ปิติข่มพยาบาทนิวรณ์
๔.สุขข่มอุทธัจจะ กุกกุจจะนิวรณ์
๕.เอกัคคตาข่มกามะฉันทะนิวรณ์
            :059:อนุสัย ๗ ประการ :059:
   อนุสัยคือสิ่งที่เป็นธรรมชาตินอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน อันได้แก่
๑.กามราคานุสัย คือ ความอยากได้ในกามารมณ์ กำหนัดรักใคร่
๒.ภวราคานุสัย คือความรักใคร่พอใจในภพภูมิ
๓.ปฏิฆานุสัย คือ ความขุ่นมัวด้วยอำนาจโทสะเป็นอนุสัย
๔.มานานุสัย คือ ความถือตัวถือตน
๕.ทิฏฐานุสัย คือ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
๖.วิจิกิจฉานุสัย คือ ความสงสัยลังเลไม่แน่ใจ
๗.อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้สัจจะธรรมที่แท้จริง
    การประหารอนุสัยนั้นต้องใช้ปัญญาเจตสิก การรู้แจ้งแทงตลอด
ในสภาวะธรรมทั้งปวง แล้วอนุสัยจะหายไปเอง
            :059:กิเลส ๑๐ ประการ :059:
      กิเลสคือเครื่องเศร้าหมองของจิต อันได้แก่
๑.ทิฏฐิกิเลส คือ ทิฏฐิเจตสิกความเห็นผิดเป็นเครื่องเศร้าหมอง
๒.วิจิกิจฉากิเลส คือ ความสงสัยที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง
๓.โทสะกิเลส คือ ความโกรธ ความขุ่นมัวใจที่ทำให้เศร้าหมอง
๔.โลภะกิเลส คือ ความอยากได้ที่ทำให้ใจเศร้าหมอง
๕.โมหะกิเลส คือ ความหลงลืมไม่รู้ความจริงเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ
๖.ถีนะกิเลส คือ ความหดหู่ ท้อถอยเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ
๗.อุทธัจจะกิเลส คือความฟุ้งซ่านรำคาญเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ
๘.อหิริกะกิเลส คือ ความไม่ละอายต่อบาปทำให้ใจเศร้าหมอง
๙.มานะกิเลส คือ การถือตัว ถือตนทำให้ใจเศร้าหมอง
๑๐.อโนตตัปปะกิเลส คือ ความไม่เกรงกลัวต่อบาปทำให้ใจเศร้าหมอง
    กิเลส ๑๐ ประการนี้ เป็นอกุศลเจตสิก ประกอบให้จิตเศร้าหมองขุ้นมัว
เป็นนามธรรม ควรที่จะประหารเสีย ทำลายให้สิ้นไป จึงจะถึงความสุขสงบเสวยวิมุตติ
            :059:สัญโญชน์ ๑๐ ประการ :059:
   สัญโญชน์คือเครื่องผูกมัดพันธนาการให้ติดอยู่ในภพ  อันได้แก่
๑.ทิฏฐิสัญโญชน์ คือ ความเห็นผิดอันประกอบการผูกใจให้ไหลไปสู่อบายภูมิ
๒.วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือ ความสงสัยเป็นเครื่องผูกใจไว้ให้ไหลไปสู่อบายภูมิ
๓.สีลพัตตปรามาสสัญโญชน์ คือ ความเห็นผิดถือมั่นศีลพรตนอกพระพุทธศาสนา
๔.กามราคะสัญโญชน์ คือ ความอยากได้ กำหนัดในกามารมณ์ผูกใจไว้
๕.ปฏิฆะสัญโญชน์ คือ โทสะเจตสิก ความทุกข์ที่กระทบใจให้ขุ่นมัวเป็นทุกข์
๖.รูปราคะสัญโญชน์ คือ อยากได้ชอบใจในรูปกรรมฐานต่างๆ
๗.อรูปราคะสัญโญชน์ คือ ความยินดีในอรูปกรรมฐานต่างๆ
๘.มานะสัญโญชน์ คือ การถือตัวถือตนเปรียบเทียบผู้อื่น
๙.อุทธัจจะสัญโญชน์ คือ ความฟุ้งซ่านกังวลใจในเรื่องต่างๆ
๑๐.อวิชชาสัญโญชน์ คือ ความไม่รู้ หลงลืม เผลอสติ....
(ยังมี อกุศลธรรม อีก ๙ ประการ ซึ่งจะนำมาอธิบายในคร้งต่อไป)
 :054:เรียบเรียงหัวข้อธรรมเรื่องอกุศลธรรมเพื่อที่จะทบทวน ทำความรู้ความเข้าใจให้แจ่มแจ้งและชัดเจน
เพื่อใช้ในการบรรยายธรรมต่อผู้ที่สนใจในการปฏิบัติที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว เพราะหลังออกพรรษาจะมีงานบรรยายธรรม
ที่เขานิมนต์ไว้หลายที่ จึงต้องเตรียมตัว ทบทวน สภาวะธรรม และปริยัติธรรม เพื่อใช้ในการบรรยาย...
                        รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-กลุ่มยุทธธรรมสัญจร
๑๙ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๒๒.๔๓ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย


ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ...อกุศลธรรม...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 ก.ย. 2552, 08:40:56 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ กราบขอบพระคุณครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ MM

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...อกุศลธรรม...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 ก.ย. 2552, 12:16:46 »
กราบนมัสการถามพระอาจารย์สักเรื่องครับ

ขณะปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สวมพระเครื่องหรือคาดวัตถุมงคลได้หรือไม่ครับ
หรือควรจะปล่อยวางทุกอย่างให้กายว่างใจว่างปราศจากเครื่องร้อยรัดใดๆ
คือ ผมกำลังจะไปวิปัสสนากรรมฐาน (ที่วัดดอน) ต่อเนื่อง ๙ วันช่วงต้นเดือนตุลาคมครับ
คิดอยู่ว่าควรจะพกพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใดๆ ไปด้วยไหม
เพราะช่วงนี้ (ช่วงอุ่นเครื่องกรรมฐานที่บ้าน) รู้สึกว่าเวลาคาดตะกรุดแล้วจับยุบหนอ-พองหนอได้ไม่ชัดเลยครับ

กราบขอบพระคุณครับ :054: :054: :054:

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตอบ: ...อกุศลธรรม...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 ก.ย. 2552, 12:57:32 »
กราบนมัสการถามพระอาจารย์สักเรื่องครับ

ขณะปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สวมพระเครื่องหรือคาดวัตถุมงคลได้หรือไม่ครับ
หรือควรจะปล่อยวางทุกอย่างให้กายว่างใจว่างปราศจากเครื่องร้อยรัดใดๆ
คือ ผมกำลังจะไปวิปัสสนากรรมฐาน (ที่วัดดอน) ต่อเนื่อง ๙ วันช่วงต้นเดือนตุลาคมครับ
คิดอยู่ว่าควรจะพกพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใดๆ ไปด้วยไหม
เพราะช่วงนี้ (ช่วงอุ่นเครื่องกรรมฐานที่บ้าน) รู้สึกว่าเวลาคาดตะกรุดแล้วจับยุบหนอ-พองหนอได้ไม่ชัดเลยครับ

กราบขอบพระคุณครับ :054: :054: :054:
พกไปได้ครับเพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจก่อนที่เราจะเข้าสู่การปฏิบัติ อาราธนาขอบารมีครูบาอาจารย์
ให้ท่านช่วยคุ้มครองรักษา อย่าให้เราเกิดอาการวิปลาสในการปฏิบัติธรรม แต่เมื่อเข้าสู่การปฏิบัติเราต้องปล่อยจิตจากวัตถุมงคลที่พกพาไป
ให้อยู่กับปัจจุบันธรรม คืออาการของกายที่เคลื่อนไหวและจิตใจที่แปรเปลี่ยน โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมคุ้มครองกายและจิต
ตะกรุดนั้นเราอย่าคาดรัดแน่นที่หน้าท้อง ให้ผ่อนลงมาไว้ที่สะเอวแทน เพราะถ้าคาดที่หน้าท้องจิตเราจะไปจดจ่อจับจ้องที่ตะกรุด
ทำให้เห็นอาการพองยุบไม่ชัดเจนเพราะหน้าทองอาจจะพองยุบได้ไม่เต็มที่หรือตามธรรมชาติของมันถ้าเรารัดแน่นจนเกินไป
พกไปแขวนไปได้ครับ...ดีเสียด้วยเพราะจะทำให้เรามีกำลังใจและอุ่นใจว่ามีครูบาอาจารย์คุ้มครองเราอยู่ สิ่งไม่ดีจะเข้ามาแทรกเราไม่ได้
ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติ....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.ย. 2552, 03:35:12 โดย RaveeSajja »

ออฟไลน์ MM

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 39
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...อกุศลธรรม...
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 20 ก.ย. 2552, 01:36:15 »
กราบขอบพระคุณพระอาจารย์อีกครั้งครับ :054: :054: :054:
ผมว่าผมคงคาดตะกรุดแน่นไปจริงๆ ครับ จิตจดจ่ออยู่กับตะกรุดก็จริง หน้าท้องพองยุบไม่เป็นธรรมชาติก็จริงครับ
พระอาจารย์แจกแจงได้เห็นจริงทุกอย่างจริงๆ ครับ
ผมขอน้อมรับไปปรับแก้ เพื่อมรรคผลนิพพานในกาลอันควรครับ
 :054: :054: :054:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...อกุศลธรรม...
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 21 ก.ย. 2552, 08:47:22 »
กราบนมัสการถามพระอาจารย์สักเรื่องครับ

ขณะปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สวมพระเครื่องหรือคาดวัตถุมงคลได้หรือไม่ครับ
หรือควรจะปล่อยวางทุกอย่างให้กายว่างใจว่างปราศจากเครื่องร้อยรัดใดๆ
คือ ผมกำลังจะไปวิปัสสนากรรมฐาน (ที่วัดดอน) ต่อเนื่อง ๙ วันช่วงต้นเดือนตุลาคมครับ
คิดอยู่ว่าควรจะพกพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใดๆ ไปด้วยไหม
เพราะช่วงนี้ (ช่วงอุ่นเครื่องกรรมฐานที่บ้าน) รู้สึกว่าเวลาคาดตะกรุดแล้วจับยุบหนอ-พองหนอได้ไม่ชัดเลยครับ

กราบขอบพระคุณครับ :054: :054: :054:
พกไปได้ครับเพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจก่อนที่เราจะเข้าสู่การปฏิบัติ อาราธนาขอบารมีครูบาอาจารย์
ให้ท่านช่วยคุ้มครองรักษา อย่าให้เราเกิดอาการวิปลาสในการปฏิบัติธรรม แต่เมื่อเข้าสู่การปฏิบัติเราต้องปล่อยจิตจากวัตถุมงคลที่พกพาไป
ให้อยู่กับปัจจุบันธรรม คืออาการของกายที่เคลื่อนไหวและจิตใจที่แปรเปลี่ยน โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมคุ้มครองกายและจิต
ตะกรุดนั้นเราอย่าคาดรัดแน่นที่หน้าท้อง ให้ผ่อนลงมาไว้ที่สะเอวแทน เพราะถ้าคาดที่หน้าท้องจิตเราจะไปจดจ่อจับจ้องที่ตะกรุด
ทำให้เห็นอาการพองยุบไม่ชัดเจนเพราะหน้าทองอาจจะพองยุบได้ไม่เต็มที่หรือตามธรรมชาติของมันถ้าเรารัดแน่นจนเกินไป
พกไปแขวนไปได้ครับ...ดีเสียด้วยเพราะจะทำให้เรามีกำลังใจและอุ่นใจว่ามีครูบาอาจารย์คุ้มครองเราอยู่ สิ่งไม่ดีจะเข้ามาแทรกเราไม่ได้
ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติ....

...กราบนมัสการขอบพระคุณที่เมตตาสอนครับ....

...ในช่วงที่นั่งผมนั่งกรรมฐาน ผมวางตะกรุดไผ่รวกของหลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรมไว้ในมือ

   เพื่อขอบารมีท่าน ที่เคยเมตตาสั่งสอนในเรื่องอสุภกรรมฐานครับครับ...

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตอบ: ...อกุศลธรรม...
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 21 ก.ย. 2552, 12:30:13 »
    ถึง...ack01...
มีขุนแผนของหลวงพ่อสังวาลย์รุ่นบูชาครู
ซึ่งได้สร้างถวายหลวงพ่อสังวาลย์เหลืออยู่ประมาณ ๕ องค์
หลังจากถวายหลวงพ่อและแจกจ่ายแบ่งให้ลูกศิษย์ใช้แล้ว
เหลือพิมพ์พิเศษปั๊มซ้อนปั๊มซ้ำกับเนื้อว่านอย่างละ ๕ องค์

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...อกุศลธรรม...
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 22 ก.ย. 2552, 03:35:34 »
กราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ที่เมตตาครับ 15;