ผู้เขียน หัวข้อ: ฮือฮาพระพุทธรูปปางพิลึก - อุ้มพระภิกษุป่วย กระหึ่มกรุงเก่าด้านปัดเป่าโรค....  (อ่าน 3518 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suwatchai

  • การนิ่งเงียบต่อคนโง่คนสามหาว เป็นทางยาวสู่เกียรติที่ใฝ่ฝัน ทั้งรักษาในศักดิ์ศรีเป็นเกราะกัน ไม่หุนหันฉันท์หมาวัดที่จัญไร เราจงดูราชสีห์น่าเกรงขาม ทุกผู้นามเกรงกลัวได้ไฉน ไม่เคยเห่าเคยหอนไล่ผู้ใด แล้วไซร้ใยมีเกียรติเป็นราชันต์...
  • สมาชิกที่ถูกแบน
  • **
  • กระทู้: 241
  • เพศ: ชาย
  • Death Is Beautiful & Sweet ....
    • MSN Messenger - suwatchai.com@windowslive.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล


ปางใหม่- วัดขนอนเหนือ บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีพระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธเป็นที่ฮือฮาแก่ผู้พบเห็น แต่ชาวบ้านย่านนั้นกราบไหว้ขอพรให้หายเจ็บป่วยมานานนับ 50 ปีแล้ว

ชาวกรุงเก่าฮือฮาพระพุทธรูปปางประหลาด 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นปางพยาบาลภิกษุอาพาธ อีกองค์เป็นปางรับโชค ประดิษฐานอยู่ที่บางปะอินทั้งสององค์ เป็นที่นับถือศรัทธาจากชาวบ้านในด้านช่วยปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ

ช่างผู้ปั้นพระเผยอดีตเจ้าอาวาสเป็นคนดำริจัดทำขึ้นตามภาพถ่ายที่ได้มา พอปั้นเสร็จก็ได้รับศรัทธาอย่างเนืองแน่นจากชาวบ้าน ทางด้านผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคมชี้เป็นปางที่มีอยู่ในพุทธประวัติอยู่แล้ว เพียงแต่คนไม่ค่อยรู้จักเท่าไร

สืบเนื่องจากผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนักท่องเที่ยวว่าที่วัดขนอนเหนือ ริมถนนสายเอเซีย ต.บ้านกรด อ บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีพระพุทธรูปลักษณะพิสดาร ไม่เหมือนกับพระพุทธรูปตามวัดต่าง ๆ สร้างความประหลาดใจต่อผู้พบเห็น จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าพระพุทธรูปดังกล่าว ตั้งอยู่ด้านข้างอุโบสถของวัด ประดิษฐานอยู่บนซุ้มปูนปั้นทรงไทย ยกฐานสูงจากพื้นดินประมาณ 180 ซ.ม. ลักษณะของพระพุทธรูปสูงประมาณ 2 เมตร อยู่ในท่านั่งเข่าขวาตั้งชัน ไว้ผมมวย มีใบหน้าอ่อนหวานคล้ายเจ้าแม่กวนอิม ในวงแขนมีรูปปั้นพระสงฆ์นอนคล้ายกับอาพาธอยู่ ที่ฐานพระพุทธรูปเขียนเป็นปูนปั้นว่า "พระพุทธรูปจริยาปางพยาบาลภิกษุอาพาธ"

พระปลัดเนตร โกสโล อายุ 40 ปี เจ้าอาวาสวัดขนอนเหนือ เปิดเผยว่าตั้งแต่มาเป็นเจ้าอาวาสก็เห็นพระพุทธรูปดังกล่าวแล้ว ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของผู้สร้างเหมือนกันว่าสร้างแบบดังกล่าวทำไม ทราบแต่เพียงว่าอดีตเจ้าอาวาสรูปเดิม ได้สั่งให้ช่างสิริ บ้านอยู่ที่หมู่ 4 ต.บ้านหว้า อ.บางปะอิน ปั้นพระพุทธรูปปางดังกล่าว ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมวัด ต่างสงสัยเข้ามาสอบถามกันบ่อยครั้ง ทางวัดจึงกำลังรวบรวมประวัติพระพุทธรูปดังกล่าวรวมกับประวัติของวัดด้วย เนื่องจากวัดขนอนมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยา นอกจากนี้ ภายในอุโบสถยังมีจิตรกรรมฝาผนัง เล่าเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้เป็นหลักฐานด้วย

จากการสอบถามนายสิริ ภาคาหาญ อายุ 75 ปี อยู่บ้านเลขที่ 40 ม.4. ต.บ้านหว้า อ.บางปะอิน ช่างปั้นพระพุทธรูปดังกล่าว เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาว่า เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีอาชีพเป็นช่างไม้ประจำหมู่บ้าน ชอบงานด้านช่าง แล้วพัฒนาฝีมือจนมาเป็นช่างปูน รับสร้างพระอุโบสถตามวัดต่างๆ และสร้างศาลาทรงไทย ก่อนจะมาเป็นพระพุทธรูปดังกล่าว พระครูพิศาลวิมลกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดขนอนเหนือที่มรณภาพไปแล้วได้นำภาพถ่ายพระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธ อุ้มพระอยู่ ซึ่งเห็นว่าแปลกดี แล้วให้ตนเป็นคนปั้น เพื่อให้ชาวบ้านสักการบูชาและขอพรให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ

ช่างสิริกล่าวว่า ในการปั้นครั้งนั้น ตนไม่เคยปั้นพระพุทธรูปมาก่อน รับทำแต่ลวดลายปูนปั้นประดับศาลาและโบสถ์เท่านั้น การปั้นจึงเป็นไปอย่างทุลักทุเล ใช้เวลาปั้นนานประมาณ 1 เดือนจึงเสร็จ พระพุทธรูปออกมาสวยงามดี ชาวบ้านเห็นแล้วเกิดศรัทธาเข้ามากราบไหว้บูชาขอบารมีรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จนเป็นที่เลื่องลือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าผู้มีเมตตามารักษาโรคให้ ระหว่างปั้นยังมีชาวบ้านนำพระเครื่องหลายองค์มาบรรจุไว้ที่เศียรและหน้าอกด้วย แต่ไม่ทราบจำนวน

ช่างปั้นพระกล่าวต่อว่า หลังจากปั้นพระพุทธรูปปางพยาบาลเสร็จ ได้มีพระช่วง อาจินตโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านหว้า มาให้ตนปั้นพระพุทธรูปอีก 1 องค์ โดยเศียรพระพุทธรูปเป็นเนื้อหินทะเลที่ชาวประมงลากติดอวนได้มา ให้ปั้นต่อเป็นองค์พระท่ายืน นำไปตั้งประดิษฐานไว้ที่ปากทางเข้าวัดบ้านหว้า ริมถนนสายเอเซียก.ม. 11-12 หมู่ 3 ต.บ้านหว้า อ.บางปะอิน โดยปั้นพระพุทธรูปให้มือขวาอยู่ในลักษณะกวักเขาหาตัว มือซ้ายปั้นในลักษณะแบมือรับโชค หรืออุ้มโชคไว้ ตอนนั้นแปลกใจในรูปแบบ คิดอยู่นานว่าจะปั้นออกมาอย่างไร พยายามอยู่หลายครั้งจนปั้นเสร็จสมบูรณ์ พบว่าชาวบ้านให้ความสนใจเข้ามากราบไหว้เป็นจำนวนมากเพื่อขอบารมีโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น จนมีชาว จ.กำแพงเพชร มากราบไหว้แล้วถูกหวยรางวัลที่ 1 จึงมาติดต่อว่าจ้างให้ตนไปปั้นพระพุทธรูปลักษณะเดียวกันที่ จ.กำแพงเพชรด้วย แต่ตนไม่ได้ไปสร้างให้ หลังจากสร้างพระพุทธรูปปางรับโชคเสร็จได้ไม่นาน ทางวัดได้ก่อสร้างอุโบสถหลังใหญ่มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท แต่ประชาชนบริจาคเงินช่วยสร้าง แล้วเสร็จภายในเวลา 1 ปีเท่านั้น

นางยุพา ชองขันปอน อายุ 40 ปี ชาวบ้าน อ.บางปะอิน ที่อยู่ห่างจากวัดประมาณ 2 ก.ม. เปิดเผยว่าเคยเดินทางไปกราบไหว้พระพุทธรูปทั้งสององค์อยู่บ่อยครั้ง เมื่อยามรู้สึกว่าไม่ค่อยสบาย จะนึกถึงพระพุทธรูปองค์นี้ประจำ เมื่อไปสักการะขอพรพระพุทธจริยา ปางพยาบาลภิกษุอาพาธ อาการที่เคยไม่ค่อยสบายจะรู้สึกหายไป เชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้ช่วยให้จิตใจปลอดโปร่ง แล้วเกิดความสบายใจขึ้น

ทางด้านนายอำนาจ บัวศิริ ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีพระพุทธรูปปางพิสดารที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้ง 2 องค์ว่าจากการที่วัดขนอนเหนือ อ.บาง
ปะอิน ปั้นพระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธจนเป็นที่ฮือฮาของนักท่องเที่ยวนั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทย นิยมที่จะสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ตามพุทธประวัติ ซึ่งพระพุทธจริยาปางพยาบาลภิกษุอาพาธ น่าจะสร้างมาจากพุทธประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งสมัยพุทธกาล ที่พระองค์เสด็จเยี่ยมพระภิกษุที่อาพาธ ทั้งนี้ ปางพระพุทธรูปดังกล่าวอาจจะไม่ค่อยมีใครสร้างขึ้น จึงทำให้รู้สึกแปลกตา ทั้งที่จริงแล้ว สร้างมาจากพุทธประวัติทั้งสิ้น ส่วนรูปแบบการสร้างปางพระพุทธรูปนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการของผู้สร้างและกำลังศรัทธาของประชาชน เช่น พระพุทธรูปยืนบางองค์ก็สูงชะลูดไม่ได้สัดส่วน เป็นต้น ซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใด ด้วยสร้างจากศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

"หากมองแล้วว่าพระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธ ไม่มีลักษณะที่น่าเกลียดและเป็นที่ศรัทธาของประชา ชนก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ถ้ามีพุทธลักษณะที่ไม่เหมาะสมออกไปในแนวอุบาทว์ ก็จะต้องให้ทางเจ้าคณะจังหวัดเข้าไปดูแล อย่างไรก็ตาม มหาเถรสมาคมได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดสร้างพระพุทธรูปไว้ว่าการจะสร้างพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะแปลกๆ ต้องขออนุญาตจากมหาเถรสมาคม หรือเจ้าคณะจังหวัดผู้ปกครองถึงความเหมาะสมก่อน หากวัดไหนสร้างพระพุทธรูปปางพิสดาร โดยไม่ขออนุญาต ก็จะต้องให้ทางเจ้าคณะผู้ปกครองดำเนินการตักเตือน" ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรฯ กล่าว

ส่วนนายแก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีพระพุทธรูปปางพิสดารที่ จ.พระนครศรีอยุธยาว่าพระพุทธรูปแต่ละปางเปรียบเป็นรูปสมมติของพระพุทธเจ้าในอิริยาบถต่างๆ ซึ่งมีการสร้างขึ้นตามความเชื่อในพุทธประวัติ ตามตำนานพุทธประวัติกล่าวว่าในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล ให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทน์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปครั้งแรก แต่เดิมพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพ เพราะในสมัยอินเดีย มีข้อห้ามในการสร้างรูปเคารพ แต่เนื่องจากชาวอารยันที่มีเชื้อสายกรีก ซึ่งมาตั้งรกรากอยู่ทางอินเดียตอนเหนือ เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา จึงได้จำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นเคารพแทน ต่อมาวัฒนธรรมและศิลปะดังกล่าวได้แพร่หลายมาถึงอินเดียใต้และลังกา ก่อนแพร่หลายเข้าสู่เมืองไทย ทั้งนี้ ตามคติพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

นายแก้วกล่าวว่า การสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ จะต้องเป็นปางที่มีความเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติโดยตรง คือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามพุทธประวัติ เช่น ปางไสยาสน์ ปางมารวิชัย ปางลีลา เป็นต้น ซึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ให้การยอมรับปางพระพุทธรูปทั้งหมด 70 กว่าปางเท่านั้น แต่สำหรับในฝ่ายมหา ยาน อาจจะมีการสร้างปางพระพุทธรูปที่แตกต่างออกไปบ้าง ตามคติความเชื่อของแต่ละนิกาย นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา กล่าวต่อว่า เท่าที่ทราบ ก่อนหน้านี้ในประเทศไทยเคยมีการสร้างพระพุทธรูปปางพิสดารออกมามากมาย บ้างก็ทำได้สวยงาม บ้างก็สร้างออกมาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้พุทธศาสนิกชนที่ได้แลเห็นเกิดความไม่สบายใจ หากมีการสร้างออกมาแล้ว ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นเกิดความไม่สบายใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือฝ่ายปกครอง ต้องสั่งให้ทางวัดหรือเจ้าของสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าว ต้องนำผ้ามาคลุมและเก็บไว้อย่างมิดชิด มิให้นำออกมาสู่ภายนอกอีกต่อไป แต่มีบางกรณีที่มีศิลปินบางท่าน อาจสร้างพระพุทธรูปปางที่แตกต่างออกไปจากแบบที่เป็นทางการ เพื่อความสวยงามทางศิลปะ ตรงนี้ก็สามารถทำได้ แต่ต้องให้มีความเหมาะสมต่อสมณสารูปแห่งพระพุทธรูป คือ มีความสำรวมและงดงามตามหลักทางพระพุทธศาสนา

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
วันหน้าวันหลังโปรดแจ้งที่มาของข้อมูลก็ดีนะครับ.. :058: