หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล > สนทนาภาษาผู้ประพฤติ

ขั้นตอนก่อนเข้าสู่การภาวนา (ปรับกาย ปรับจิต ปรับความคิด สู่การกระทำ)

(1/2) > >>

รวี สัจจะ...:
ตถตาอาศรม ริมฝั่งโขง
 ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓
    ในยุคสมัยแห่งความสับสนวุ่นวาย ผู้คนขาดที่พึ่งทางใจเพราะหลงใหลติดอยู่กับวัตถุนิยม
ห่างเหินจากหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อชีวิตประสพกับปัญหา
ไม่เป็นไปอย่างที่มุ่งหวังตั่งใจไว้ ใจก็เกิดความทุกข์ความวุ่นวาย เพราะหาทางออกไม่ได้
จึงหันกลับมาสนใจคำสอนในพระบวรพุทธศาสนา หันเข้าศึกษาและปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันนี้มีความสะดวกสบายหาข้อมูลได้ง่าย เกี่ยวกับหลักธรรมและแนวทางปฏิบัติ
ซึ่งในการศึกษาหาข้อมูลสำหรับการปฏิบัตินั้น เราต้องใช้วิจารณญานเลือกเฟ้นให้เหมาะสม
กับจริตของเรา  " อย่าเชื่อทันที ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่าน เพราะอาจจะนำไปสู่ความงมงาย "
 " อย่าปฏิเสธทันที ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่าน เพราะอาจจะทำให้เราเสียโอกาศขาดประโยชน์ "
" ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบครอบ ควรจะทดลองพิสูจน์ฝึกฝนที่ใจตนให้เกิดความกระจ่างชัด
แล้วจึงเชื่อหรือปฏิเสธ " ขบวนการที่กล่าวมานั้นเรียกว่า " ปริยัติ " เพราะเราต้องมีความรู้พื้นฐาน
มีข้อมูล และมีแนวทางในการปฏิบัติ รู้ว่าการปฏิบัตินั้นเป็นกรรมฐานในกองใดในกรรมฐาน ๔๐
และการปฏิบัตินั้น เป็นสมถะภาวนา หรือเป็นวิปัสสนา เพื่อจะไม่ได้หลงทาง
      เมื่อเข้าสู่การปฏิบัติเจริญภาวนานั้น เราต้องปรับกาย ปรับจิต ปรับความคิดของเราเสียก่อน
เพื่อให้กายและใจของเรามีความพร้อมที่จะรองรับสภาวะธรรมที่จะเกิดขึ้้น  การปรับกายนั้นคือ
การสำรวจตรวจดูร่างกายของเรา ลมหายใจของเรา หายใจสะดวกหรือไม่  อุณหภูมิในร่างกาย
สูงเกินไปหรือไม่ กล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก มันตึง มันปวดหรือไม่ ปรับร่างกายของเราให้เข้าสู่สภาวะปกติ
จัดร่างกายของเราให้อยู่ในท่าที่สะดวกสบาย ปรับความร้อนในร่างกายของเราลงให้เป็นปกติ
ถ้ามันร้อนเกินไปก็ให้หายใจเข้าออกให้ลึกสุดกำลังลมอย่างช้าๆ ยืดกายของเราขึ้นให้ตรง
เพื่อให้เลือดลมเดินได้สะดวก ถ้ามีอาการปวดเมื่อย ก็ให้ขยับแขนขา บริหารร่างกายเพื่อคลายกล้ามเนื้อ
เมื่อเราปรับกายของเราให้เข้าสู่สภาวะปกติได้แล้ว จึงเข้าสู่ขบวนการปรับจิต ปรับความคิดของเรา
      การปรับจิตนั้นก็เพื่อที่จะลดความกังวล(ปลิโพธ) ปรับจิตของเราเข้ามาสู่ความเป็นกุศลจิต
คือคิดถึงสิ่งที่ดีงาม คิดถึงความดีทั้งหลาย เพื่อคลายความโกรธ ความอาฆาต ความพยาบาท
ความโลภ ความกำหนัดในกามทั้งหลาย ความวุ่นวายฟุ้งซ่าน ปลุกใจให้ตื่นจาดกความซึมเซา
หอหู่ อ่อนล้า เพื่อให้มีศรัทธาในการทำความดีทั้งหลาย โยการนั่่งระลึกคิดถึงความดีที่เราได้เคยทำมา
มองย้อนกลับไปว่าในชีวิตของเราที่ผ่านมานั้น เราได้เคยทำความดีอะไรที่มันประทับใจของเรา
จำได้เสมอไม่เคยลืม มองย้อนคิดกลับไปถึงความดีที่เราเคยกระทำมา จนรู้สึกว่าจิตมันมีความเพลิดเพลิน
และมีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้กระทำลงไป  การระลึกนึกถึงความดีที่เราได้เคยกระทำมานั้น
มันจะทำให้ใจของเราเป็นสุข เกิดปิติยินดีในกุศลกรรมที่เคยทำมา จิตของเราก็จะเป็นกุศลจิต
เพราะว่าคิดถึงแต่สิ่งที่ดีงาม ที่เป็นบุญเป็นกุศล มันจะรู้สึกสดชื่นเบิกบานในจิต อิ่มอยู่ภายในจิต
     เมื่อความรู้สึกอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว เราจึงน้อมจิตเข้าสู่การภาวนาตามกรรมฐานที่เราศรัทธา
ศึกษาและมีแนวทางแล้ว ให้เริ่มภาวนาจากจิตที่โปร่ง โล่ง เบา สบาย คลายความกังวลทั้งหลาย
ทำแบบสบายๆ อย่าไปตั้งใจมุ่งหวังจนเกินไป ซึ่งมันจะกลายเป็นการกดจิตและกดดันตัวเองจนเกินไป
 " อย่าเกร็ง อย่าเคร่ง เพราะมันจะทำให้เครียด " เพราะถ้าเกร็งและเคร่งเกินไปมันจะทำให้เครียด
ปฏิบัติภาวนาไปไม่นานมันจะเกิดอาการอึดอัด ปวดเมื่อย และมึนงง และนำไปสู่ความฟุ้งซ่าน
ปฏิบัติไม่ได้นาน เกิดความรำคาญ เบื่อหน่าย และเลิกปฏิบัติไปในที่สุด
      คำวา่ " ภาวนา "นั้น คือการทำให้ดีขึ้น เจริญขึ้น พัฒนาขึ้น ถ้าจิตเริ่มต้นของเราเป็นกุศลจิต
เมื่อเราเจริญภาวนา ความเป็นกุศลจิตนั้นก็จะเพิ่มขึ้น พัฒนายิ่งขึ้น ความสุขในธรรมก็จะเพิ่มขึ้น
จะเกิดความโปร่ง โล่ง เบา สบาย สงบ จิตจะเกิดความปิติในธรรมมีความเอิบอิ่ม เบิกบานในจิต
เราจึงควรมาปรับกาย ปรับจิต ปรับความคิด ของเราเสียก่อนที่จะเข้าสู่การภาวนา อย่าไปกดจิต
ในสภาวะที่ร่างกายและจิตของเรายังไม่พร้อม เพราะว่าเรามีกำลังที่จะข่มอารมณ์นั้นมิได้นาน
พอหมดกำลังที่จะข่ม จิตมันก็จะฟุ้งซ่านระเบิดออกมา ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาทางจิตเพิ่มขึ้น
เพราะว่าเราขากพื้นฐานที่ดีและถูกต้องในการปฏิบัติ
      จึงขอฝากไว้ให้เป็นข้อคิด ให้ท่านนำไปพิจารณา สำรวจตรวจสอบดูว่า การภาวนาของเรานั้น
มีความเจริญก้าวหน้าในธรรมหรือไม่ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความเจริญก้าวหน้าในธรรมไม่เกิดขึ้น
การปฏิบัติธรรมนั้น ต้องทำโดยมีสติ แล้วความเป็นสมาธิจะเกิดขึ้นเอง
         ขอความสุข ความเจริญในธรรมจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายผู้ใฝ่ธรรม
                        รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๕๖ น. ณ ตถตาอาศรม ริมฝั่งโขง ชายขอบประเทศไทย

     

~เสน่ห์ack01~:
" อย่าเชื่อทันที ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่าน เพราะอาจจะนำไปสู่ความงมงาย "
 " อย่าปฏิเสธทันที ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่าน เพราะอาจจะทำให้เราเสียโอกาศขาดประโยชน์ "
" ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบครอบ ควรจะทดลองพิสูจน์ฝึกฝนที่ใจตนให้เกิดความกระจ่างชัดแล้วจึงเชื่อหรือปฏิเสธ "


กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ขอบพระคุณที่เมตตาสอนในเรื่องการปรับจิต ก่อนเริ่มต้นกรรมฐาน

~@เสน่ห์เอ็ม@~:
กราบมนัสการพระอาจารย์มากครับ
ขอบพระคุณสำหรับความรู้  ความรู้นี้ช่วยผมได้เยอะเลยครับ  ขออนุโมธนา
ทุกกระทู้ ช่วยผม ได้เยอะเลยครับ กับสถาวะที่เป็นอยู่ แล้วได้เข้าใจ

สาธุอนุโมธนา  กราบมนัสการด้วยความเคารพ

~@เสน่ห์เอ็ม@~:
กราบมนัสการพระอาจารย์ที่เคารพ
กระผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกรรมฐานครับ

วิธีที่1
ถ้าผมนั่งสมาธิ ไปจนถึงเกิดปิติ เช่นมีความสุขอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เมื่อสติรู้ว่า ตอนนี้เรากำลังมีความสุขอยู่ในอารมณ์
แล้วพิจณาตามหลักขันธ์ 5 แยกออกไป อารมณ์ความสุขเป็นเวทนาขันธ์ เมื่อเรารู้แล้ว ใช้หลักพระไตรลักษณ์
พิจณาความสุขนี้ คือมองดูอารมณ์ของความสุขว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่สามารถยื้อใว้ได้ จนอารมณ์นั้นหายไปเอง
เมื่อจิตเกิดความสงบ ก็ตามดูอารมณ์นั้นหรือสิ่งที่มากระทบจิตของขันธ์ 5 แล้วพิจณาไปเลื่อยๆ
อันนี้ผิดวิธีหรือป่าวครับ  

วิธีที่2
หรือว่าให้เราตามดูอารมณ์หรือสิ่งที่มากระทบจิตนั้นเฉยๆ จนหายไปเอง โดยไม่ต้องพิจณา ให้จิตเกาะจับอยู่กับอารมณ์นั้นๆแล้วมองดูเฉยๆให้สติรู้ถึงอารมณ์ในขณะนั้น ว่าเป็นอย่างไร


ขอบพระคุณพระอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ ผมสังสยมานานแล้วครับ ขอพระอาจารย์เมตตาชี้แนะแนวทางด้วยครับ
เพื่อเป็นความรู้และวิธีการที่ถูกต้องต่อไป สาธุอนุโมธามิ

 :054:  :054:  :054:  :054:

รวี สัจจะ...:
เราต้องรู้ว่าเรากำลังปฏิบัติแนวใด สมถะกรรมฐานหรือวิปัสนากรรมฐาน ต้องแยกอารมณ์ให้ถูก
สมถะกรรมฐานนั้นคือการปฏิบัติเพื่อให้จิตสงบ เข้าสู่อารมณ์สมาธิ สภาวะธรรมทั้งหลายอยู่ใน
องค์ของฌาน ๔  คือ วิตกวิจาร ปิติ สุข เอตคตารมณ์ (วิตกวิจารคือการยกข้อธรรมมาพิจารณา)
แต่ทุกอารมณ์นั้นมีสติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา จิตอยู่กับองค์ภาวนาไม่ให้ขาดตอน รู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้น
แต่จิตไม่เข้าไปปรุงแต่ง ไม่สนใจในอารมณ์เหล่านั้น จิตจดจ่ออยู่กับองค์ภาวนาตลอดเวลา ภาวนาไปจนจิตสงบ
เข้าสู่เอตคตารมณ์คือความสงบนิ่ง แล้วจึงถอนจิตขึ้นสู่วิปัสสนา(ยกจิตขึ้นสู่การพิจารณา)ตามแนวของสติปัฏฐาน ๔
คือพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นการเกิดดับของธรรมทั้งหลายนั้น ปฏิบัติไปตามขั้นตอน ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป
(ให้ไปอ่านกระทู้...ที่พระอาจารย์ตอบในวันนี้ ...น้องใหม่ มีคำถาม.. ซึ่งจะมีคำตอบอยู่ในกระทู้นั้นแล้ว)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version