ผู้เขียน หัวข้อ: จตุคามรามเทพ? เทวดารักษาเมือง  (อ่าน 1539 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
?จตุคามรามเทพ? เทวดารักษาเมือง
พลตำรวจโทสรรเพชญ  ธรรมาธิกุล  ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบสวน   อธิบายว่าเทวดารักษาเมืองหรือเทพประจำหลักเมือง หรือเจ้าพ่อหลักเมืองนครศรีธรรมราชคือ ?จตุคามรามเทพ? หรือ ?จันทรภาณุ? ผู้ซึ่ง?ตั้งฟ้าตั้งดิน?สถาปนา?กรุงศรีธรรมโศก? ศูนย์กลางแห่งศรีวิชัย
      ตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายานสาขาหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนามต้องเวียนว่ายตายเกิดท่ามกลางกองทุกข์  การจะข้ามวัฏสงสารก็ด้วยยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธองค์ หากผู้ใดตั้งปณิธานแน่วแน่ อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือขจัดความทุกข์ยากของมนุษย์ มุ่งบำเพ็ญบารมี 6 ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี  วิริยบารมี  ธยานบารมี(ฌานบารมี) และปัญญาบารมี  ครบถ้วนแล้วผู้นั้นจะบรรลุความเป็นมนุษย์โพธิสัตว์ หรือคฤหโพธิสัตว์  หากพากเพียรสร้างบารมีขั้นสูงอีก 4 ประการ คือ อุปายบารมี   ปณิธานบารมี  พลบารมี  และชญานบารมี ผู้นั้นจะสำเร็จเป็นเทวโพธิสัตว์ทรงฤทธานุภาพยิ่งใหญ่ สามารถบังคับฟ้าดิน สำแดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นเป็นร่างแปลงธรรมอันจักช่วยเหลือเกื้อกูลมวลมนุษย์ให้พ้นทุกข์และภัยพิบัติ ก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข 
องค์จตุคามรามเทพ ถึงแล้วซึ่งความแกล้วกล้าสามารถ เจนจบสรรพศาสตร์ทั้งปวง บำเพ็ญบารมีถึงพรหมโพธิสัตว์ จึงทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ จนได้รับนามาภิไธยราชฐานันดรว่า?จันทรภาณุ? ผู้มีอำนาจดั่งพระอาทิตย์และพระจันทร์ ถืออาญาสิทธิ์รูปตราราหูอมจันทร์ และวัฏจักร 12 นักษัตร เป็นสัญลักษณ์  อันเป็นตราประจำเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
องค์จตุคามรามเทพ มีบริวารเป็นทหารกล้าสี่คน ได้แก่พญาชิงชัย พญาหลวงเมือง พญาสุขุม และพญาโหรา  เป็นกำลังหลักในการปราบพวกพราหมณ์ที่ปกครองเมืองตามพรลิงค์อยู่ก่อน         เมื่อได้บ้านเมืองแล้วก็ได้สร้างพระบรมธาตุ  สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตร  หรือกรุงศรีธรรมโศก   ฝังรากฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวร จนได้รับเทิดพระเกียรติว่า ?พญาศรีธรรมาโศกราช?      ภายหลังท่านเป็นเทวดารักษาเมือง สิงสถิตอยู่ ณ รูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสองที่ทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนั่นเอง


                ส่วนบริวารทั้งสี่ก็เป็นเทวดารักษาเมืองประจำทิศของเมืองเช่นเดียวกัน  เมื่อสร้างหลักเมืองแล้วก็ได้อัญเชิญท่านมาสถิต ณ เสาหลักเมืองอันงดงามที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้      องค์จตุคามรามเทพและบริวารนี่เองที่ได้มาแสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฏด้วยการประทับทรงหรือ?ผ่านร่าง?มาบอกกล่าวให้สร้างหลักเมือง แก้อาถรรพณ์ดวงเมืองที่พวกพราหมณ์ได้ฝังไว้ทำให้บ้านเมืองไม่ปกติสุข ผู้คนแตกแยกแก่งแย่งชิงดีกันหาความสงบสุขไม่ได้


          ส่วนเทวดารักษาเมืองโดยรอบศาลหลักเมืองนั้นพลตำรวจโทสรรเพชญ  ธรรมาธิกุล อธิบายไว้เป็นสามระดับหรือสามแนว  ได้แก่ แนวแรก  (ระดับล่าง)เป็นเทวดารักษาทิศคือเทวดารักษาทิศเหนือชื่อท้าวกุเวร   


       เทวดารักษาทิศตะวันออกชื่อท้าวธตรฐ  เทวดารักษาทิศใต้ชื่อท้าววิรุฬหก  เทวดารักษาทิศตะวันตกได้แก่ท้าววิรูปักษ์  แนวที่สอง (ระดับกลาง)เป็นจตุโลกเทพ คือพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระพรหมเมือง และพระบันดาลเมือง     แนวที่สาม (ระดับสูง) เป็นไปตามคติพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในจักรวาลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือพระไวโรจนพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง    พระอักโษภยพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันออก      พระอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันตก  พระรัตนสมภพพุทธเจ้าอยู่ด้านทิศใต้ และพระอโมฆะสิทธิพุทธเจ้าอยู่ด้านเหนือ

             การสักการะเทวดารักษาเมืองนครศรีธรรมราชแบบครบสูตร ใช้เครื่องบูชาอันประกอบด้วย ดอกไม้ 9 สี (หรือ 9 ชนิด หรือ 9 ดอก)   ธูป 9 ดอก    เทียน 9 เล่ม    หมากพลู 9 คำ   ยาเส้น 1 หยิบมือ   และน้ำจืด  1 แก้ว
(หรือ 1 ขวด)   รำลึกถึงเทวดารักษาเมืองดังที่กล่าวนามข้างต้น  ตั้งจิตอธิษฐานตามใจปรารถนา

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]