หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล > สนทนาภาษาผู้ประพฤติ

การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆภาค8

(1/3) > >>

รวี สัจจะ...:
"อย่าได้สร้างความกดดันให้กับตัวเองในขณะปฏิบัติ" การตั้งใจมากจนเกินไปในการปฏิบัติเป็นการสร้างความกดดันให้กับตัวเอง โดยที่เราไม่รู้ตัว มันจะทำให้เกิดความเครียด ความกังวล เพราะเราไปหวังผลที่จะเกิดขึ้นมากเกินไป เมื่อไม่ได้ดั่งที่หวังมันจะทำให้เกิดความกังวล ความสับสนวุ่นวายฟุ้งซ่านจะเกิดขึ้นในใจให้เราทำใจให้สบายๆทำได้เท่าที่จะทำ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ทำเหมือนกับเรากำลังฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มกำลังของเรา ให้เรามีความพร้อมที่จะลงแข่งขัน (คือการปฏิบัติอย่างจริงจัง) ร่างกายและจิตใจของเรานั้นมันต้องมีกำลัง(พละ)ซึ่งจะเกิดมีขึ้นได้ด้วยการฝึกซ้อมอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยการปฏิบัติตามหลักธรรมไตรสิกขา3คือ ทาน ศีล ภาวนา และพัฒนาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา  การที่ให้เราเริ่มจากทานนั้นก็เพราะว่า การให้ทานทำให้จิตใจเราอ่อนโยน มีเมตตา โอบอ้อมอารี ความเห็นแก่ตัว(อัตตา)จะลดน้อยลง การให้ทานนั้นทำให้ใจของเราไม่แข็งกระด้าง ใจของเราเดินเข้าสู่กระแสแห่ง พรหมวิหาร4 คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เมื่อเราให้ทานบ่อยๆใจของเราก็จะสบายและมีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้ทำเรียกว่ามีกำลังบุญส่วนการรักษาศีลนั้น เราอย่าไปยึดติดกับถ้อยคำและตัวอักษรให้มากเกินไป มันอยู่ที่ใจของเรา เพราะว่าการรักษาศีลนั้น คือการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกายและใจของเรา(ภาษาชาวบ้านเรียกว่าใจอยู่กับกับเนื้อกับตัว)รู้ว่าเรากำลังทำอะไรและสิ่งที่เราทำนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็ไม่ควรกระทำ ควรงดเว้นการที่เราหักห้ามใจในอกุศลได้นั้น ทำให้เกิดคุณธรรม คือหิริและโอตัปปะ (ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป)ศีลจะสมบูรณ์ได้นั้น ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป มีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ ฉะนั้น การรักษาศีลจึงเป็นการฝึกสติไปในตัว และศีลนั้นจะสมบูรณ์ด้วยการมีสติและเมื่อเรามีกำลังของสติที่สมบูรณ์แล้วการภาวนาก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะสติที่มีกำลังนั้นสามารถที่จะเข้าไปจับองค์ภาวนา(คำบริกรรมหรือนิมิตร)ได้อย่างมั่นคง ฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องทำตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้คือทำตามไตรสิกขา ทั้งของฆราวาสหรือของบรรพชิต แล้วแต่สถานะของเรา อย่าได้ลัดขั้นตอน(อย่าไปเก่งกว่าพระพุทธเจ้า) เพียงแต่เราอย่าไปติดยึดในรูปแบบของตัวอักษรจนมากเกินไปเพราะถ้าเราไปยึดติดในสิ่งนั้นแล้ว มันจะดูว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และทำได้ยาก เกินกำลังของตัวเรา เราจึงไม่พร้อมที่จะปฏิบัติ "ธรรมะเริ่มจากใจ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน" จึงขอให้เราท่านทั้งหลายมาทำความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำไปสู่การปฏิบัติ พัฒนาทางจิต เพื่อชีวิตที่ดีงามในโอกาศต่อไป
      ขอฝากไว้เป็นข้อคิดด้วยมิตรไมตรี อย่าเชื่อทันที โปรดนำไปคิดและพิจารนา
                      เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                                  รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
                             วจีพเนจร-คนรอนแรม-คนไร้ราก
              3 เมษายน 2552 เวลา 10.09น. ณ.ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย

~เสน่ห์ต้นน้ำ~:
มีกี่ภาคครับ......เหมือนหนังบ้านผีปอบเลยครับ...อิอิอิ...(แซวเล่นๆนะครับ)

derbyrock:
ขอบคุณมากครับ บทความของคุณช่วยแนะนำแนวทาง ความคิดที่ดีต่อการฝึกนั่งสมาธิของผมมากๆครับ เพราะก่อนที่จะอ่านบทความของคุณ ผมศึกษาการนั่งสมาธิและเป็นกังวลหลายอย่าง แต่บทความของคุณทำให้การนั่งสมาธิเป็นเรื่องใกล้ตัว ง่ายต่อการปฎิบัติครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ

รวี สัจจะ...:

--- อ้างจาก: น้องต้นน้ำ ที่ 03 เม.ย. 2552, 10:53:56 ---มีกี่ภาคครับ......เหมือนหนังบ้านผีปอบเลยครับ...อิอิอิ...(แซวเล่นๆนะครับ)

--- End quote ---
เรื่องนี้ไม่มีภาคจบครับ...ตราบใดยังไม่เข้าถึงนิพพาน...ครับ

รวี สัจจะ...:

--- อ้างจาก: derbyrock ที่ 03 เม.ย. 2552, 11:00:28 ---ขอบคุณมากครับ บทความของคุณช่วยแนะนำแนวทาง ความคิดที่ดีต่อการฝึกนั่งสมาธิของผมมากๆครับ เพราะก่อนที่จะอ่านบทความของคุณ ผมศึกษาการนั่งสมาธิและเป็นกังวลหลายอย่าง แต่บทความของคุณทำให้การนั่งสมาธิเป็นเรื่องใกล้ตัว ง่ายต่อการปฎิบัติครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ

--- End quote ---
เพราะเราไปคิดว่ามันเป็นเรื่องยาก มีขั้นตอนมากมาย เราไปสร้างภาพอลังการณ์เกินไป เราไม่มีวาสนาบารมี
มันเลยทำให้เรากังวลครับ บารมีนั้นมาจาก การฝึกฝนจนมีกำลังคือพละ จากกำลังที่เป็นพละสั่งสมเป็นอินทรีย์ คือ
บารมีที่ติดตามตัวเรามา  ฉะนั้นบารีเราสร้างได้แต่ต้องใช้กาลเวลาและความสม่ำเสมอในการประพฤติ ปฏิบัติครับ
ขอความเจริญในธรรมจงบังเกิดมีแก่ท่านยิ่งๆขึ้นไปนะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version