ผู้เขียน หัวข้อ: ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา จ.นครศรีธรรมราช  (อ่าน 6409 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา

 เป็นวัดมหานิกาย
       เลขที่  ๑๙๓   ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง   ต.ในเมือง  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช
      มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับวัดโคกธาตุ  ทิศใต้จรดซอยมงคล  ทิศตะวันออกจรดถนนพัฒนาการทุ่งปรัง     ทิศตะวันตกจรดคลองสวนหลวง    มีเนื้อที่  ๑๒ ไร่  ๕๕ ตารางวา  



       วัดชายนาเป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา   โดยพิจารณาจากถาวรวัตถุอันสำคัญคือ โบสถ์  ซึ่งมีลักษณะเป็นโบสถ์ยุคแรกทางพระพุทธศาสนาที่นิยมทำขนาดความยาวไม่เกิน ๗ ก้าว กว้างพอจุพระครบองค์สังฆกรรมตามบัญญัติในพุทธศาสนาได้เท่านั้น   มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว  ไม่มีหน้าต่างแต่มีช่องหรือ    รูระบายอากาศที่ฝาผนัง   ผนังด้านหลังพระพุทธรูป เสาติดผนังและผนังด้านข้างมีร่องรอยภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก  จากหลักฐานดังกล่าวนี้พร้อมด้วยกระเบื้องหลังคาเก่าที่ฝังจมดิน   ทรงหลังคา  ภาพเขียนสี  พระประธาน  และปราณีตศิลป์ที่ปรากฎบนบัวหัวเสาและฐานชุกชีนั้นเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา     กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘   ตอนที่ ๑๒๗ง. วันที่  ๒๑  ธันวาคม  ๒๕๔๔ เป็นโบราณสถานวัดชายนามีพื้นที่ประมาณ ๙๐ ตารางวา

       มีหลักฐานทางราชการปี ๒๔๗๓   ซึ่งมีการจัดทำบัญชีสำรวจที่ดินวัดร้างในแผนกสรรพากรจังหวัดนครศรีธรรมราช อันดับที่ ๒๓ ว่าวัดชายนา(ร้าง) ตั้งอยู่ใน ต.นา  อ.เมืองนครศรีธรรมราช  ไม่มีผู้เช่า   ต่อมามีการแจ้งสิทธิ์ครอบครองรับเอกสาร ส.ค.๑ เลขที่ ๑๐๐ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๘
       จากการเป็นพื้นที่ว่างเปล่ามีโบสถ์เป็นจุดสำคัญและอยู่ไม่ไกลจากวัดพระมหาธาตุ  สภาพจึงเป็นดังสำนักสงฆ์มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาบ้างและบางขณะถูกปล่อยร้างสลับกันไป   หลักฐานที่ชัดเจนในการใช้อาณาบริเวณนี้เป็นที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา คือ  พ.ศ.๒๔๗๗  พุทธธรรมสมาคม สาขานครศรีธรรมราช  พยายามจัดหาสถานที่วิเวกสำหรับพระภิกษุสามเณรเพื่อปฏิบัติธรรมขั้นสูงโดยสะดวก และได้เลือกวัดชายนาซึ่งเป็นวัดร้างเปิดเป็นสถานที่วิปัสสนาธุระในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๗      โดยนิมนต์พระมหาเงื่อม (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้ทำพิธีเปิด ท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาและได้ตั้งชื่อเรียกสถานที่วัดชายนานั้นว่า “สวนพุทธธรรมปันตาราม” แปลว่า สวนหรือป่าสงัดอันเป็นปัจจัยแห่ง    การบรรลุพุทธธรรม  จากนั้นสมาคมฯ ก็ได้นิมนต์พระมหาจุนท์ จากสวนโมกข์พลารามมาจำพรรษาเป็นองค์แรกสอนตามระบบ “อาณาปานสติ” อยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วก็จาริกไปสอนที่อื่นต่อไป

       ต่อมาพระอาจารย์ศรีนวล  จากสำนักนครพนม สอนแบบ “พุทโธ” อยู่ระยะหนึ่งแล้วจาริกไปสอนที่อื่นอีก
พระอาจารย์นุ่ม  จากสำนักภาคกลาง  สอนแบบ “อรหันต์” แล้วจาริกไปที่อื่น
พระอาจารย์สำคัญ  จากสำนักปากน้ำภาษีเจริญ จังหวัดนนทบุรี  สอนแบบ “สัมมาอรหันต์”  มีผู้สมัครเป็นศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก  แล้วก็จากไปที่อื่น
       พระอาจารย์เลื่อน  จากสำนักสงขลา  สอนแบบ “ยุบหนอพองหนอ”  อยู่ระยะหนึ่งแล้วจากไป
ดังนี้วัดชายนาจึงมีสภาพเป็นสำนักสงฆ์ที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและบางขณะถูกปล่อยร้างสลับกันไป   จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๐๕   พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร  (พระครูภาวนานุศาสก์, ๒๕๓๒)  มาจากสำนักสุพรรณบุรี   ได้เข้าบุกเบิกงานสอนการเจริญมหาสติปัฏฐานสี่อย่างจริงจัง  จนเป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชน  และได้ใช้ชื่อว่า “สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเดิมว่า “สวนพุทธธรรมปันตาราม” และ “วัดชายนา”    

ที่มา
http://www.watchaina.com/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ธ.ค. 2554, 08:50:53 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด

ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา

การเผยแผ่เจริญภาวนาตามหลักมหาสติปัฏฐาน สี่ ในบทสัมปชัญญะบรรพของพระอาจารย์แป้น ต้องอาศัยอธิษฐานบารมีและขันติบารมีเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านอาศัยหลักในมหาสติปัฏฐานสูตรที่ว่า “สมฺมิญฺชิเต  ปสาริเต  สัมฺปชานการี  โหติ”  ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก จึงได้กำหนดสอนดังภาพ


   
และการอธิบายข้อธรรมว่า  “อิติ  อชฺฌตฺตํ  วา  กาเย  กายานุปสฺสี  วิหรติ”  “อาตาปี  สมฺปชาโน สติมา  วิเนยฺย  โลเก  อภิชฌาโทมนสฺสํ”   เป็นต้นนี้แตกต่างจากคำอธิบายของพระอาจารย์ท่านอื่น  ได้มีการจัดการประชุมสัมมนาพระวิปัสสนาจารย์ขึ้นเพื่อสัมมนาระหว่างพระวิปัสสนาจารย์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชปุ่น ปุณสิริ  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระวันรัต ประทานเมตตามาเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาพระวิปัสสนาจารย์ ครั้งที่ ๑ ปีพ.ศ.๒๕๑๒    มีพระวิปัสสนาจารย์มาจากจังหวัดต่างๆ นับเป็นหลายร้อยรูป     ด้วยการยืนหยัดในการเผยแผ่ธรรมของพระอาจารย์แป้น ธมฺมธโร  ได้พิสูจน์ให้ผู้ปฏิบัติตามสามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์จนเป็นที่ยอมรับของพระเถระคณะสงฆ์รวมถึงพุทธศาสนิกชน  มีศิษยานุศิษย์มากมายที่เป็นชาวต่างประเทศดังเช่น พระมหานาคเสน พระภิกษุชาวอินเดีย   พระมหาโฆษนันทะ พระสังฆราชชาวเขมร (มรณภาพเมื่อปี ๒๕๕๐)  ชาวตะวันตกอีกหลายรูป  หลายคน   และศิษยานุศิษย์ที่ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ต่อมาได้แก่
       พระอาจารย์จำเนียร   สีลเสฏโฐ     แห่งศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน   วัดถ้ำเสือ    จ.กระบี่
       พระครูญาณวิวัฒน์   ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดไร่ดอน (เขากิ่ว)  ต.ไร่ส้ม  อ.เมือง   จ.เพชรบุรี
       พระอาจารย์สุทัศน์    โกสโล   ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน  วัดกระโจมทอง   อ.บางกรวย  จ.นนทบุรี
       พระครูเกษมวรกิจ     ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐานวัดถ้ำผาจม   ต.เวียงพางคำ  อ.แม่สาย  จ.เชียงราย
       พระอาจารย์วิเรนทร์   วิโรจโน  ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน  เกษตรใหม่  ต.หนองหาน  อ.สันทราย  จ.เชียงใหม่
       พระครูอุดมภาวนานุสิฐ     ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน   วัดป่าคูเมือง  อ.คูเมือง  จ.บุรีรัมย์
                      เป็นต้น
       ต่อมาพ.ศ.๒๕๑๗  พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร  ได้รับอาราธนาเป็นประธานสงฆ์ ณ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดไทรงามธรรมธราราม  จ.สุพรรณบุรี  จึงแต่งตั้งพระแจ้ง  จนฺทวณฺโณ  (พระครูภาวนาจันทคุณ, ๒๕๔๔) ผู้เป็นศิษยานุศิษย์ให้เป็นประธานสงฆ์วัดชายนา  สืบทอดการสอนการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานในมหาสติปัฏฐาน สี่   กระทั่งคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนปรารภที่จะยกวัดชายนา (ร้าง) ให้เป็นวัดที่มี คณะสงฆ์อยู่ปกครองและจำพรรษาที่สมบูรณ์แบบต่อไป


ที่มา
http://www.watchaina.com/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา

วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙   ทางกรมการศาสนาโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม  ได้ประกาศยกวัดชายนาร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา       และในวันที่  ๑๕  พฤษภาคม  พ.ศ.๒๕๓๙   พระราชปฎิภาณโสภณ เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราชได้แต่งตั้งให้พระครูสมุห์แจ้ง  จนฺทวณฺโณ   ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดชายนา
       ด้วยผลงานการเผยแผ่การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับเยาวชน  ประชาชน  ตลอดมา  จึงได้รับประทานปสาทนียบัตร เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์อบรมสั่งสอนนิสิตฯ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ในปีพ.ศ.๒๕๓๓ และ ๒๕๓๔ 
ในปีพ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการทางวิปัสสนาธุระ ของศูนย์ส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติธรรม จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก และพระธรรมธีรราชมหามุนี 
       วันที่  ๕  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔   รับพระราชทานสมณศักดิ์-พัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตร  เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท   ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  ที่ พระครูภาวนาจันทคุณ
       และเมื่อวันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๐  ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์-พัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตร  เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวงชั้นเอก  ฝ่ายวิปัสสนาธุระ 

       
               พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร หรือพระครูภาวนานุศาสก์ กับศิษยานุศิษย์ชาวต่างประเทศที่มาศึกษาธรรม ณ วัดชายนา

       
                      พระอาจารย์แป้น  ธมฺมธโร หรือพระครูภาวนานุศาสก์ ท่ามกลางศิษยานุศิษย์พระภิกษุและคฤหัสถ์


ที่มา
http://www.watchaina.com/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด


ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา


เลขที่ ๑๙๓ ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง
ต.ในเมือง
อ.เมือง
จ.นครศรีธรรมราช
80000

    watchaina@msn.com