กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ, กฎแห่งกรรม และ ประสบการณ์วิญญาณ => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ => ข้อความที่เริ่มโดย: รวี สัจจะ... ที่ 15 มิ.ย. 2552, 08:27:37

หัวข้อ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 15 มิ.ย. 2552, 08:27:37
 :059:มีคนมาถามเรื่อง"อานาปานุสติ"ว่าทำอย่างไร ข้าพเจ้าได้ตอบไปเท่าที่รู้และที่ได้ปฏิบัติมา มันอาจจะไม่เหมือนในตำราที่เขาเคยเรียนรู้
ได้ฟังได้อ่านมา เพราะว่าข้าพเจ้าบอกเล่าจากประสพการณ์ที่ปฏิบัติมา จะถูกหรือว่าผิดข้าพเจ้าไม่อาจจะยืนยันได้ มันเป็นความเข้าใจ ความรู้สึกของข้าพเจ้าที่ปฏิบัติแล้ว สบายกาย สบายใจ จิตสงบ
        เมื่อก่อนนั้นเคยกำหนดลมหายใจเข้าออกคือกำหนดให้ลมเข้าและลมออกตามความต้องการของเรา แต่เมื่อปฏิบัติไประยะหนึ่ง มันไม่
สงบ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ จิตฟุ้งซ่าน จึงค้นหาสาเหตุของอาการอย่างนั้น ทำให้ทราบว่าธาตุในกายของเราผิดปกติเพราะธาตุลมเป็นเหตุ
จึงเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติใหม่มาเป็นการ กำหนดระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกแทน คือปล่อยให้ลมมันเข้าออกตามปกติธรรมชาติของมัน ไม่ไปบังคับมัน ตั้งสติและสัมปชัญญะระลึกกำหนดรู้ให้ทันมัน เริ่มทำแรกๆการระลึกกำหนดรู้ก็ทันบ้างไม่ทันบ้าง แต่เมื่อได้ทำอยู่อย่างสม่ำเสมอแล้ว จนเกิดความชำนาญขึ้น สติและสัมปชัญญะมันตามรู้เท่าทันลมหายใจ จิตก็สงบ เกิดความสบายกาย สบายใจและเข้าใจในธรรมยิ่งขึ้น
      ลมหายใจ แม้ว่าเราจะไม่กำหนดรู้  มันก็เข้าออกของมันมาตั้งแต่เราเกิดมาแล้ว มันเข้าออกตามธรรมชาติของมัน เราเพียงดูมัน เพื่อผูกจิต
ให้นิ่ง ไม่ใช่ไปวุ่นวายกับมัน ถ้าเราไปวุ่นวายปรุงแต่งกับมัน มันก็จะก่อให้เกิดความทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะมันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ มันบังคับให้ตั้งอยู่ได้ไม่นาน มันย่อมกลับไปสู่ธรรมชาติของมัน  เพราะมันผิดปกติธรรมชาติของธาตุในกายที่เคยเป็นมา ระบบร่างกายมันจะผิดปกติ เมื่อธาตุในกายผิดปกติ มันจะทำให้เกิดการเจ็บไข้ ไม่สบาย ร่างกายไม่สมบูรณ์ โรคทางกายก็เกิดขึ้น และมีผลต่อสภาพทางจิต
     ควรศึกษาหาแนวทางของการปฏิบัติ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ แต่ขณะปฏิบัติให้ละวางความรู้นั้น อยู่กับปัจจุบันธรรมคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น ถ้าเราไม่ละวางความรู้นั้น จิตเราจะไปปรุงแต่งในอารมณ์ เกิดความสงสัยว่าอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นอะไร เป็นฌานไหน จิตจะปรุงแต่งเรื่อยไป เลยทำให้มันไม่สงบ เพราะเราไปติดในสัญญา(ความจำได้หมายรู้ในสิ่งที่เรียนมา) เราต้องปล่อยให้สภาวะธรรมนั้นเป็นไปตามสภาวะของมัน อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิด เรราเพียงตามดู ตามรู้ตามเห็นในความเป็นไปของมัน ให้รู้เท่าทันในสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นก็เพียงพอ
     และเมื่อเราออกจากการปฏิบัติแล้ว เราจึงมาคิดเทียบเคียงสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นกับหลักธรรม ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออารมณ์ สภาวะธรรมในหมวดไหน เป็นอาการของ วิตกวิจารณ์ ปิติ สุขหรือเอกตารมณ์  แต่สิ่งที่ควรจะจำไว้ก็คือ ถ้าเป็นสมาธิอารมณ์เหล่านั้นคืออารมณ์ของฌานเป็นสมถะกรรมฐาน อยู่ในสภาวะขององค์ฌาน  แต่ถ้าเป็นการตามดู ตามรู้ตามเห็น จิตไม่หยุดนิ่งต่ออารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด เกิดความรู้ความเข้าใจ
เห็นการเกิดดับของอารมณ์ทั้งหลายนั้นคือวิปัสสนาญาน เราต้องรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังปฏิบัตินั้นมันเป็นอะไรเสียก่อน เป็นสมถะหรือวิปัสสนา ต้องศึกษาให้ชัดเจนเสียก่อน ไม่งั้นเราจะหลงอารมณ์ เกิดความสับสนในสภาวะ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดวิปลาส เพี้ยนได้ จึงขอฝากไว้ให้คิดและพิจารณากัน ก่อนที่ท่านจะลงมือปฏิบัติธรรม
                 :059:ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิตแด่มวลมิตรผู้ใคร่ธรรม :059:
                                           รวี สัจจะ
                                   วจีพเนจร-คนรอนแรม
๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๘.๒๘ น. ณ ชายป่าห้วยขาแข้ง อุทัยธานี
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: อชิตะ ที่ 15 มิ.ย. 2552, 09:49:13
สาธุ อนุโมทนากับบทความที่มีสาระดีๆ เป็นประโยชน์แก่ผู้ตั้งใจอ่านและนำไปปฎิบัติ

ที่เคยฝักมา พระอาจารย์ให้ตามรู้ลมหายใจพอ  สติระลึกรู้ว่า หายใจเข้า หายใจออก  หน้าที่มีแีค่นั้น

พอใจรวมเป็นหนึ่งแค่ลมหายใจ ความละเอียดของใจ จะกลั่นตัวเป็นสมาธิ  ชัดเจนครับ   สมถกรรมฐาน
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 15 มิ.ย. 2552, 11:11:25
เข้ามาศึกษาครับ ขอบคุณครับ
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: ชลาพุชะ ที่ 15 มิ.ย. 2552, 12:02:46
ขอบคุณมากๆครับ ได้อ่านบทความดีๆ
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: Chotipat ที่ 15 มิ.ย. 2552, 12:36:20
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆผมกำลังฝึกปฏิบัติสมาธิอยู่พอดี จะนำวิธีนี้ไปลองใช้บ้าง   :053:
ปัญหาของผมคือ พอนั่งสมาธิไปได้ประมาณ 15-20 นาทีมือผมจะเริ่มชา และชาขึ้นไปที่
แขน ที่คอ และต่อไปเป็นเวียนศรีษะ ผมต้องบังคับให้ลมหายใจแรงๆจึงจะหาย พอมันหายชา
ผมก็กลับไปหายใจปกติ สักพักมันก็จะชาอีก ขอถามผู้รู้ว่าเกิดจากอะไร และแก้ใขอย่างไร ครับ  :008:
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 15 มิ.ย. 2552, 04:14:30
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆผมกำลังฝึกปฏิบัติสมาธิอยู่พอดี จะนำวิธีนี้ไปลองใช้บ้าง   :053:
ปัญหาของผมคือ พอนั่งสมาธิไปได้ประมาณ 15-20 นาทีมือผมจะเริ่มชา และชาขึ้นไปที่
แขน ที่คอ และต่อไปเป็นเวียนศรีษะ ผมต้องบังคับให้ลมหายใจแรงๆจึงจะหาย พอมันหายชา
ผมก็กลับไปหายใจปกติ สักพักมันก็จะชาอีก ขอถามผู้รู้ว่าเกิดจากอะไร และแก้ใขอย่างไร ครับ  :008:
:060:อาการที่เกิดขึ้นนั้นสืบเองมาจากเราตั้งใจมากเกินไป ภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่า"ตั้งจิตหนัก"คือเรามีความอยากที่จะให้มันสงบ อยากจะให้เกิดสมาธิ เราไปสะกดจิตตัวเองให้มันนิ่ง มันจะเกิดความรู้สึกร้อนที่หน้าท้องหรือทรวงอก ลมที่อัดไว้ในตัวมันจะขึ้นเบื้องบน ตามธรรมชาติของลมเมื่อถูกความร้อนในกายมันจะลอบขึ้นบน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเราหายใจออกไม่หมด หายใจออกไม่สุดลม ทำให้เกิดลมค้างอยู่ในกาย ลมมันจะกระจายไปทั่วตัว เหมือนลูกโป่งที่อัดลมเข้าไป ลมจะไปทุกส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดอาการชา เพราะลมมันเดินได้ไม่ปกติ และการที่เราหายใจแรงๆแล้วอาการชานั้นหายไปนั้น มันเกิดจากการคลายจิตที่จดจ้องอยู่ ภาษานักเลงจิตเรียกว่า"เคลื่อนไหวทางกาย สะลายทางจิต"
           แนวทางการแก้ไข้ก็คือ ทำใจให้สบายๆปรับกายให้มีความเคยชินกับการนั่ง หาท่านั่งที่มันสบายๆเหมาะกับตัวเรา แล้วปรับลมหายใจของเราเสียใหม่ โดยหายใจเข้าอย่างช้าๆจนสุดกำลัง แล้วหายใจออกช้าๆจนหมดลมในกระเพาะ ทำประมาณ ๑๐-๑๕ ครั้ง เพื่อปรับลมในกายให้ปกติ แล้วกลับมาดูลมหายใจใหม่ ดูไปเรื่อยๆแบบสบายๆอย่าไปตั้งใจหรือจดจ่อมากเกินไป มันจะเกิดอาการเกร็ง เพราะเราไปเคร่ง แล้วมันจะเครียด ที่เป็นอย่างนั้นเพราะอินทรีย์(ร่างกายและจิตใจ กำลังภายใน)ของเรายังไม่แกร่งกล้ามีกำลังเพียงพอ ทุกๆอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อนหวังผลในการปฏิบัติจนเกินไป ว่าต้องได้อย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้  ปล่อยให้มันเป็นไปตรมสภาวะของมัน
ป.ล.หากมีข้อสงสัยในการปฏิบัติ แนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านบทความที่ได้เขียนไว้แล้วเรื่อง"การปฏิบัติธรรมอย่างเรียบง่ายแบบสบายๆ "บทที่๑-บทที่๘ แล้วท่านจะเข้าใจในการปฏิบัติครับ
                    แนะนำมาด้วยปรารถนาดี
                            รวี สัจจะ
                   วจีพเนจร-คนรอนแรม
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: อชิตะ ที่ 15 มิ.ย. 2552, 04:32:33
สาธุ ขอบคุณมากครับ  ได้แนวทางดีๆ จะนำไปปฎิบัตเพิ่มเติมครับผม :054: :054: :054:
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞ ที่ 15 มิ.ย. 2552, 04:46:37
การปฏิบัติธรรม ก็เหมือนคนเราทำงาน 

แต่การปฏิบัติธรรม คืองานของจิตและเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติครับ

คนที่ปฏิบัติจนมีประสบการณ์มากมายมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้คนอื่นที่พึ่งปฏิบัติได้ศึกษา  บุคคลเหล่านี้ท่านผ่านประสบการณ์มาอย่างมากมาย

ล้มลุก คลุกคลาน  มาเยอะ กว่าจะถึงวันนี้ผมว่าประสบการณ์ในการปฏิบัติไม่ธรรมดาทีเดียวครับ

ยังไงผมก็ขอฝากเนื้อฝากตัวกับคุณ RaveeSajja ด้วยนะครับ

มีอะไรชี้แนะผมได้เสมอครับ





 
 
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์โจรสลัด~ ที่ 15 มิ.ย. 2552, 05:08:04
การฝึกสมาธิ เป็นสิ่งดีเสมอไม่ว่าเราจะทำอะไร เราต้องมีสติ สมาธิติดตัวตลอด ...  :016:
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 15 มิ.ย. 2552, 07:54:01
ขอบคุณมากครับ ไว้จะนำไปลองปฏิบัติดูบ้างนะครับ ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามธรรมชาติไม่ยึดติด  :054:
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ต้นน้ำ~ ที่ 15 มิ.ย. 2552, 09:42:03
ขอบคุณนะครับได้แนวทางแล้วจะลองนำไปปภิบัตินะครับ :054:
หัวข้อ: ตอบ: อานาปานุสติ...
เริ่มหัวข้อโดย: Chotipat ที่ 16 มิ.ย. 2552, 12:22:38
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆผมกำลังฝึกปฏิบัติสมาธิอยู่พอดี จะนำวิธีนี้ไปลองใช้บ้าง   :053:
ปัญหาของผมคือ พอนั่งสมาธิไปได้ประมาณ 15-20 นาทีมือผมจะเริ่มชา และชาขึ้นไปที่
แขน ที่คอ และต่อไปเป็นเวียนศรีษะ ผมต้องบังคับให้ลมหายใจแรงๆจึงจะหาย พอมันหายชา
ผมก็กลับไปหายใจปกติ สักพักมันก็จะชาอีก ขอถามผู้รู้ว่าเกิดจากอะไร และแก้ใขอย่างไร ครับ  :008:
:060:อาการที่เกิดขึ้นนั้นสืบเองมาจากเราตั้งใจมากเกินไป ภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่า"ตั้งจิตหนัก"คือเรามีความอยากที่จะให้มันสงบ อยากจะให้เกิดสมาธิ เราไปสะกดจิตตัวเองให้มันนิ่ง มันจะเกิดความรู้สึกร้อนที่หน้าท้องหรือทรวงอก ลมที่อัดไว้ในตัวมันจะขึ้นเบื้องบน ตามธรรมชาติของลมเมื่อถูกความร้อนในกายมันจะลอบขึ้นบน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเราหายใจออกไม่หมด หายใจออกไม่สุดลม ทำให้เกิดลมค้างอยู่ในกาย ลมมันจะกระจายไปทั่วตัว เหมือนลูกโป่งที่อัดลมเข้าไป ลมจะไปทุกส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดอาการชา เพราะลมมันเดินได้ไม่ปกติ และการที่เราหายใจแรงๆแล้วอาการชานั้นหายไปนั้น มันเกิดจากการคลายจิตที่จดจ้องอยู่ ภาษานักเลงจิตเรียกว่า"เคลื่อนไหวทางกาย สะลายทางจิต"
           แนวทางการแก้ไข้ก็คือ ทำใจให้สบายๆปรับกายให้มีความเคยชินกับการนั่ง หาท่านั่งที่มันสบายๆเหมาะกับตัวเรา แล้วปรับลมหายใจของเราเสียใหม่ โดยหายใจเข้าอย่างช้าๆจนสุดกำลัง แล้วหายใจออกช้าๆจนหมดลมในกระเพาะ ทำประมาณ ๑๐-๑๕ ครั้ง เพื่อปรับลมในกายให้ปกติ แล้วกลับมาดูลมหายใจใหม่ ดูไปเรื่อยๆแบบสบายๆอย่าไปตั้งใจหรือจดจ่อมากเกินไป มันจะเกิดอาการเกร็ง เพราะเราไปเคร่ง แล้วมันจะเครียด ที่เป็นอย่างนั้นเพราะอินทรีย์(ร่างกายและจิตใจ กำลังภายใน)ของเรายังไม่แกร่งกล้ามีกำลังเพียงพอ ทุกๆอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อนหวังผลในการปฏิบัติจนเกินไป ว่าต้องได้อย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้  ปล่อยให้มันเป็นไปตรมสภาวะของมัน
ป.ล.หากมีข้อสงสัยในการปฏิบัติ แนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านบทความที่ได้เขียนไว้แล้วเรื่อง"การปฏิบัติธรรมอย่างเรียบง่ายแบบสบายๆ "บทที่๑-บทที่๘ แล้วท่านจะเข้าใจในการปฏิบัติครับ
                    แนะนำมาด้วยปรารถนาดี
                            รวี สัจจะ
                   วจีพเนจร-คนรอนแรม

ขอบคุณมากครับ ชัดเจนครับ เดี๋ยวผมจะนำไปปฏิบัติ :054: :054: