แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ธรรมะรักโข

หน้า: [1]
1
เคล็บลับการทำบุญสมัยพุทธกาล "ลงทุนน้อยกว่า ได้บุญมากกว่า"























                      .............

                         .......

                           ...

                            .

            หลัง จากนั้น ขอบ ฟ้าก็ได้เริ่มไตร่ตรอง
            หาคำตอบของการทำบุญที่แท้จริง





















      นอกจาก นี้หลวงพ่อก็ยังเล่าเรื่องราวสมัย
      พุทธกาล เกี่ยวกับการทำบุญ

      ที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสเอาไว้ให้ฟัง...












เขายัง ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆอีกมากมายจาก หลวงพ่อ...















   หนังสือเล่ม นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระนิพนธ์ใน
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังราช

    เพื่อให้สังคมไทยเข้าใจการทำบุญอย่างแท้จริง



2

                             

ประสบการณ์ส่วนหนึ่งของ หลวงปู่แหวน ขณะอยู่ที่ถ้ำเชียงดาว มีดังนี้ :

ในระหว่างพรรษา วันหนึ่งประมาณ ๕ โมงเย็น หลวงปู่แหวน กำลังเดินจงกรมอยู่ ก็มีเสียงดังโครมครามเหมือนกิ่งไม้ใหญ่หักลงมา จึงเหลียวไปดู กลายเป็นสัตว์ร่างใหญ่ร่างหนึ่ง เอาเท้าเกาะอยู่บนกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา มีผมยาวรุงรัง เสียงร้องโหยหวน

หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่ได้นึกกลัว และไม่ได้ให้ความสนใจ ยังคงเดินจงกรมต่อไป
เมื่อร่างนั้นเห็นว่า หลวงปู่ไม่สนใจ ก็หนีหายไป
สองสามวันต่อมา ก็มาปรากฏให้เห็นอีก แต่หลวงปู่ก็เดินจงกรมโดยไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงมาปรากฏตัวให้เห็นทุกเย็น แต่ไม่ได้เข้ามาใกล้หลวงปู่ คงแสดงอาการเหมือนเดิมทุกครั้ง

วันหนึ่ง หลวงปู่ได้กำหนดจิตถามไปว่า ที่มานั้นเขาต้องการอะไร ทีแรกเขาทำเฉยเหมือนไม่เข้าใจ หลวงปู่จึงกำหนดจิตถามอีก เขาจึงบอกว่า ต้องการมาขอส่วนบุญ

หลวงปู่ จึงกำหนดจิตถามต่อไปว่า เขาเคยทำกรรมอะไรมา จึงต้องมาทุกข์ทรมานอยู่ในสภาพเช่นนี้
ร่างนั้นได้เล่าถึงบุพกรรมของเขาว่า เขาเคยเป็นคนอยู่ที่เชียงดาวนี้ มีอาชีพลักขโมยและปล้นเขากิน ก่อนไปปล้น เขาจะเอาดอกไม้ธูปเทียน ไปขอพรและขอความคุ้มครองกับพระพุทธรูปองค์หนึ่งในถ้ำ

เขาทำอย่างนี้ทุกครั้ง และก็แคล้วคลาดตลอดมา.............................
อยู่มาวันหนึ่ง เขาไปขอพรพระพุทธรูป แล้วออกไปปล้นเช่นเคย บังเอิญเจ้าของบ้านรู้ตัวก่อน จึงเตรียมต่อสู้ เขาถูกเจ้าของบ้านฟันบาดเจ็บสาหัส จึงหนีตายเอาตัวรอดมาได้

ด้วยความโมโหว่า พระไม่คุ้มครอง เขาจึงกลับไปที่ถ้ำแล้วเอาขวานทุบเศียรพระพุทธรูป จนคอหัก ขณะเดียวกัน ก็ยังคงแค้นอยู่ ตั้งใจว่า บาดแผลหายแล้ว จะกลับไปแก้แค้นเจ้าของบ้านให้ได้

เผอิญบาดแผลที่ถูกฟันนั้นสาหัสมาก เขาจึงต้องตายในเวลาต่อมา วิญญาณเขาจึงต้องมาเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานอยู่ที่เชียงดาวแห่งนี้ จึงได้พยายามมาขอส่วนบุญ เพื่อให้พระท่านช่วยแผ่ให้ จะได้คลายความทุกข์ทรมานลงไปได้บ้าง

หลวงปู่แหวนท่านเล่าว่า บุพกรรมของเปรตตนนั้น หนักมากเหลือเกิน ท่านได้รวบรวมจิต อุทิศบุญกุศลไปให้ ตั้งแต่นั้นมา ร่างนั้นก็ไม่ปรากฏให้เห็นอีก แต่จะได้รับบุญกุศลเพียงใดขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง




ขอขอบพระคุณที่มา...เว็บพลังจิตดอทคอม

3



 
      หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน พระมหาเถราจารย์ 5 แผ่นดิน

ประวัติปฎิปทา " หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล "

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม” หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ " ดี " มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์  หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และหลวงพ่อผุยเป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น " จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป

ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น

ในช่วงปี 2475-2482 เมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็เก็บบริขารออกธุดงค์ป่าผ่านถิ่นทุรกันดารในชนบทโดยเท้าเปล่ามายังกรุงเทพ ฯ ในระยะแรกหลวงปู่เข้าพักที่ วัดเทพธิดาราม เป็นการชั่วคราว โดยมีครูทองอินทร์ เป็นครูสอนของวัดเทพธิดาราม เป็นผู้เอื้อเฟื้อจัดหาที่พำนักให้ ท่านได้ให้หลวงปู่อยู่ที่วัดวัดอรุณราชวราราม พำนักอยู่กับพระพิมลธรรม(นาค) ศิษย์สายสมเด็จพระสังฆราชแพ โอกาสนี้หลวงปู่ได้ร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณอันเก่าแก่ของคณะสงฆ์ไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นตำราที่ละเอียดลึกซึ้ง แตกฉานพระบาลีว่าด้วยคัมภีร์อรรถกถายากยิ่งที่จะมีผู้เรียนได้สำเร็จ ปัจจุบันวิชานี้ได้ยกเลิกไปแล้ว

หลวงปู่หมุนได้เข้าสอบวิชามูลกัจจายน์ นั้น ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งการสอบในสมัยนั้นมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธาน และสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ และพระเถราจารย์เป็นผู้ทดสอบด้วย โดยมีการถามตอบแบบมุขปาฐะ (ปากเปล่า) ถ้าถามตอบบาลีผิดเกิน 3 คำ ให้ปรับเป็นตกทันที ด้วยความรู้ความสามารถที่แตกฉานในคัมภีร์หลวงปู่สามารถสอบได้เปรียญธรรมถึง 5 ประโยคในคราวเดียวเท่านั้น

หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ใช้วิชาความรู้อย่าง คุ้มค่า โดยได้เป็นครูสอนมูลกัจจายน์อยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม (ฝั่งธนบุรี) เป็นเวลานานหลายปี มีลูกศิษย์มากมาย นอกจากนี้ในช่วงหนึ่งหลวงปู่มาพักกับสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่วัดสุทัศน์ฯ และได้ศึกษาวิชาบางอย่างกับสมเด็จพระสังฆราชแพอีกด้วย

จากนั้นก็เก็บ บริขารเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจาก อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ธุดงค์ ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นก็เดินเท้าเปล่าลงภาคใต้ไปพำนักกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เพื่อปฎิบัติกรรมฐานและแลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์กับพระอาจารย์ทิมอยู่ ประมาณปีกว่า ๆ ก่อนธุดงค์เข้าเขตประเทศมาเลเซีย เพื่อจะเรียนวิชากับพ่อท่านครน วัดบางแซะ ใช้เวลาธุดงค์อยู่ถึง 7 วัน แต่ไม่พบจึงตัดสินใจกลับวัดช้างให้

ต่อจากนั้นก็ได้เรียนวิชาจาก พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้ายคือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับสู่เขตอีสานอีกครั้งและได้พบกับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จังหวัดหนองคาย และได้ วิชาลบผงสีจากหลวงปู่สี ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม

ช่วงที่ท่าน ธุดงค์แถบอุบลราชธานีได้พบกับ หลวงปู่มั่น และขอเรียนข้อวัตรปฏิบัติในพระกรรมฐาน แต่ไม่ได้ร่วมคณะธุดงค์ เพราะท่านอยู่มหานิกาย

หลวงปู่เคยเล่าประวัติในช่วงธุดงค์ให้กับพระภิกษุที่เป็นหลานของท่านว่า เคยได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ต้องการเจริญสมณธรรม เป็นธรรมอันล้ำลึกยากยิ่งที่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงจะล่วงรู้ถึงอารมณ์ของ วิปัสสนานี้ได้ หลวงปู่หมุนได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็แสวงหา ความวิเวก เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหลวงปู่แตกฉาน เชี่ยวชาญ ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรมจนที่สห
ธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น

ในตอนที่หลวงปู่หมุนไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ท่ามกลางศิษย์สายกองทัพธรรม ในขณะสนทนาธรรมหลวงปู่มั่นได้ปรารภกับหลวงปู่หมุนว่า " ท่านหมุน ท่านเก่งพอตัวอยู่แล้ว หากไม่เจอกันหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติ ปฏิบัติ และปฎิเวธ ให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก "

หลวงปู่มั่นได้มอบของที่ระลึกให้หลวงปู่หมุน 2 อย่าง คือ แผ่นจารอักขระใบลาน ม้วนเป็นลูกอมกลมๆ เขียนเป็นภาษาขอมว่า เย ธมมา เหตุปภวา ฯลฯ เป็นต้น และธนบัตรรัชกาลที่ 8 พร้อมลายเซ็นหลวงปู่มั่น ภายหลังหลวงปู่ได้มอบให้โยมแม่ท่านไป ต่อมาหลวงปู่มีความกังขาสงสัยในกัมมัฏฐานในเรื่องของ จตุธาตุวัฏฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติในธาตุทั้ง 4 เป็นมูลฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จึงได้เดินทางไปกราบของความรู้เพิ่มเติมจาก หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ก็ได้รับความกระจ่าง จากนั้นก็ธุดงค์ต่อไป ท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

ต่อมาไม่นานก็ ได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจากหลวงพ่อขำและหลวงพ่อเงิน เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจให้วิชาอาคมและครอบครูให้กับหลวงปู่

หลวงปู่หมุน นับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุนแห่งนครจำปา ศักดิ์ราชอาณาจักรลาวที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยสมเด็จลุนเป็นที่เลื่องลือในคุณธรรมและอภิญญาอภินิหารอาทิ สามารถเดินบนน้ำได้ ย่นระยะทางได้ แปลงร่างได้ เดินทะลุภูเขาได้กล่าวกันว่าภิกษุสงฆ์ยุคก่อนโน้นต่างดั้นด้นสืบเสาะหา สมเด็จลุน (สำเร็จลุน) เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษามหาวิทยาคม ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่หมุนเองก็ดั้นด้นธุดงค์ผ่านอุบลราชธานีเข้าประเทศลาวเพื่อสืบเสาะสม เด็จลุน แต่ไม่พบ แล้วมาพักอยู่กับหลายพ่อมหาเพ็ง วัดลำดวน ในช่วงนั้นหลวงปู่ได้ใช้เวลาค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฏก ในเรื่องพระวินัยปิฏก และพระอภิธรรม ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงการ
เจริญกัมฏฐานล้วนๆ ประมาณ 2 เดือนกว่า แล้วก็ออกธุดงค์กลับสู่ประเทศไทยเข้ากรุงเทพฯ มาพักนักที่วัดหงส์รัตนาราม

ต่อมาธุดงค์ไปทางอีสานเข้าสู่ประเทศลาวอีก หลายครั้ง จนกระทั่งท่านมีอายุ 30 ปีกว่าแล้ว คราวนั้นหลวงปู่ได้พบกับฆราวาสชื่ออาจารย์ฉันท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของสมเด็จลุน ที่จังหวัดนครพนม โดยเรียนวิชาจากอาจารย์ฉันท์จนหมดภูมิแล้ว อาจารย์ท่านจึงได้แนะนำฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ดำเหลนของสมเด็จลุนปรมาจารย์ ใหญ่ที่สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุน

ในการฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ดำนั้น มีกฎเกณฑ์รายละเอียดมากทั้งยังต้องทดสอบภูมิปัญญา และอำนาจของกระแสจิตที่ต้องเข้มแข็งพอที่จะเรียนวิชาของท่านได้ ในรุ่นที่หลวงปู่ฝากตัวเป็นศิษย์นั้นมีมากกว่า 50 รูป แต่หลวงปู่ดำท่านทดสอบวิชา แล้วคัดออกจนเหลือแค่ 3 รูป มีหลวงปู่หมุน หลวงพ่อสงฆ์ (วัดม่วง ลพบุรี) และอีกรูปหลวงปู่ลืมชื่อไปแล้ว

สำหรับพิธีครอบครูของหลวงปู่ดำนั้นมีของยกครูที่หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำคือ 1.ผ้าไตรจีวร 2.บาตร 3.ทองคำหนัก 10 บาท (สำหรับทองคำ จะคืนให้เมื่อเรียนจบ) และมีข้อห้ามประการสำคัญอีกคือ ห้ามสึกตลอดชีวิต ถ้าสึกไปชีวิตก็จะหาไม่
ในการครอบวิชานี้ถือว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชา วิทยาคม ในสายของสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ซึ่งกว่าจะเรียนจบต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญเพียรอย่างมาก ได้จำวัดพักผ่อนวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น อาหารต้องฉันมื้อเดียว และขั้นตอนสุดท้ายที่จะสำเร็จวิชานี้จะมีการทดสอบอย่างพิสดาร

อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่หมุนท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ 4 มาจากสายสมเด็จลุน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนได้สำเร็จ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เพราะการควบคุมธาตุ 4 ได้นั้นผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟอีกด้วย

หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม หลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น

นอกจากนี้ท่านยังได้ช่วยเหลือ ลูกศิษย์และสหธรรมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง ,วัดซับลำใย, และคณะศิษย์วัดสุทัศน์ฯ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จนเป็นที่มาของ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นต่อมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังแทบทุกรุ่น ที่ท่านจัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมในหมู่ศิษยานุศิษย์ ด้วยเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของท่าน

ไม่เปียกฝน

เจ้าของโรงเลื่อยย่านวัฒนานครได้ประสบการณ์แปลกประหลาดเกี่ยวกับหลวงปู่คือ เมื่อช่วงกรกฏาคม 2542 เขาได้เข้าไปทำธุระยังประเทศลาว ขากลับได้อาศัยรถกระบะนั่งกลับในช่วงกลางคืน ระหว่างทางมีฝนตกฟ้าคะนองรุนแรง เขาได้นั่งอยู่ท้ายรถกระบะที่ไม่มีหลังคาคลุม ซึ่งนั่งรวมกับคนงานไทยประมาน 7-8 คน มีความกลัวมากจึงตั้งจิตอธิษฐานถึงหลวงปู่หมุนให้มาช่วยคุ้มครอง พอถึงที่หมายแถวกบินทร์บุรี ผลปรากฏว่าเจ้าของโรงเลื่อยผู้นั้นไม่เปียกฝนเลย ส่วนคนงานอื่นๆ ที่นั่งท้ายรถมาด้วยกันเปียกฝนทุกคน พอมีเวลาจึงเข้าไปกราบหลวงปู่ขอสร้างกุฏิถวาย เพราะช่วงนั้นท่านเพียงกลางกลดนอนในกระต๊อบเก่าๆ เท่านั้น

กล้องแตก

เมือประมานเดือนสิงหาคม 2542 มีชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งมาเที่ยวที่วัด เพราะเห็นมีธรรมชาติสมบูรณ์ ผ่านมาเห็นหลวงปู่หมุน จึงถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก หลวงปู่ยกมือห้ามไม่ให้ถ่ายแล้วพูดว่า “ถ่ายบ่ได้กล้องซิแตก” ฝรั่งเหล่านั้นฟังไม่เข้าใจ จึงกดชัตเตอร์ถ่ายภาพออกไป ผลปรากฏว่ากล้องราคาแพงนั้นเกิดเลนส์ร้าวขึ้นมาทันที ทำให้ฝรั่งกลุ่มนั้นเกิดแปลกประหลาดใจ และเกิดความเลื่อมใสจึงเข้ามากราบหลวงปู่และถวายเงินสดประมานสามหมืนกว่าบาท ท่านรับเงินนั้นแล้วก็โยนเงินปึกนั้นคืนให้แล้วบอกว่า “ข้าบ่ได้มาหากิน เอาเงินของเอ็งคืนไป”

ผีมาฉีดยากุฏิสั่นสะเทือน

เมื่อกลางพรรษานี้หลวงปู่ได้ปลุกเสกลูกอมชานหมาก และมวลสารต่างๆ เพื่อจะนำมาสร้างพระรุ่นแรกของท่าน ในกลางดึกสงัดปรากฏว่ามีเสียงสุนัขเห่าหอนกันอย่างโหยหวนอย่างที่ไม่เคยเป็น มาก่อน พอรุ่งเช้าพระอธิการจ่อยได้เข้ากราบนมัสการถามเรื่องนี้ หลวงปู่ตอบแบบเป็นปริศนาธรรมว่า “นายผีเขามา พาพวกผีป่าต่างๆ มาฉีดยา” นายผีที่ว่านี้อาจจะเป็นเจ้าแห่งภูติผีคือท่านท้าวเวสสุวรรณก็เป็น ไปได้ ส่วนพวกผีป่าที่มาฉีดยานั้น ก็พากันมาขอส่วนบุญส่วนกุศล พอดึกสงัดคืนที่ 2 ปรากฏว่ามีเสียงกุฏิท่านสั่นสะเทือนเหมือนเกิดแผ่นดินไหว พอรุ่งเช้าท่านบอกว่า “ครูบาอาจารย์มาช่วยกันปลุกเสกให้จนกุฏิสั่น” หลวงปู่จึงยกมือไหว้ครูบอกว่า “ขลังพอแล้ว เดี่ยวกุฏิจะพัง”

หนึ่งไม่มีสอง

คุณดารารัตน์ เจ้าของร้านสาวสวย ขายผลิตภัณฑ์พลาสติก ย่านสำเพ็ง ซึ่งเป็นคนที่ปฏิบัติธรรมจนได้มโนมยิทธิ จากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าหลังจากที่น้องชายได้เหรียญและลูกอมชานหมากมาก็ได้ อธิษฐานขอชมบารมี ปรากฏว่าวัตถุมงคลนั้นมีพลังมากเกินกว่าที่สัมผัสได้ เสมือนตัวเองยืนอยู่บนพื้นดินแล้วแหงนหน้าดูดวงอาทิตย์ฉันนั้น พอตกกลางคืนก็ฝันเห็นพระสูงอายุมายืนบนหัวนอนแล้วยืนชูนิ้วชี้ขึ้นมาพูดว่า “หนึ่งไม่มีสอง”

หลวงตามหาบัว บอกให้ไปหา

ช่วงที่พระอาจารย์ตั้ว ศิษย์เอกหลวงพ่อกวยตระเวนหาพระอาจารย์ที่เก่งๆ ได้เข้าไปกราบหลวงตามหาบัว และขอของดีจากท่าน ปรากฏว่าท่านบอกว่าไม่มี ถ้าชอบในวัตถุมงคลอิทธิปาฏิหาริย์ให้ไปหาหลวงตาหมุนโน่น ซึ่งกว่าพระอาจารย์ตั้วจะค้นหาหลวงปู่หมุนได้เป็นเวลาถึง 15 ปี กว่าจะได้เจอ โดยคำบอกเล่าของพระอาจารย์มงคล วัดสุทัศน์ จึงได้เดินทางไปกราบนมัสการด้วยกัน

คุ้นเคยกับพระคณาจารย์ยุคเก่า

ในช่วงหนึ่งพระคุณเจ้าทั้งสองได้เรียนถามหลวงปู่ว่า “รู้จักหลวงพ่อกวยไหม” ท่านตอบว่ารู้จักซิ องค์นี้เก่ง เคยพบกันในป่า ซึ่งคำตอบนี้ยังความปลื้มปีติแก่พระอาจารย์ตั้วเป็นอย่างมาก เพราะก่อนหน้านั้นหลวงพ่อกวยสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้บอกกับพระอาจารย์ตั้วว่า “มีพระที่เก่งมากอยู่รูปหนึ่งอยู่ในป่าแถบขอนแก่น ท่านสำเร็จแล้ว ต้องไปหาท่านให้พบ ชื่อหลวงพ่อหมุน” ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของหลวงพ่อกวยโดยตรง

ช่วงก่อนเข้าพรรษาปี 2543 หลวงปู่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ญาติโยมทะยอยมากราบนมัสการจนท่านรับแขกไม่ไหวโดยเฉพาะวัน เสาร์และอาทิตย์ ผู้คนหลายร้อยคนจะเดินทางมาจากทุกสารทิศ จนท่านปรารภบอกกับพระอาจารย์จ่อยว่า "ถ้าอยากให้ท่านอยู่นานๆอย่าให้ท่านอยู่ที่นี่ "ด้วยความรักเคารพสำนึกในบุญคุณของหลวงปู่พระอาจารย์จ่อยจึงนมัสการพาหลวงปู่กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านจาน จ.ศรีษะเกษตามเดิมพร้อมทั้งนำวัตถุมงคล " รุ่น ไตรมาศ รวยทันใจ " นำไปให้หลวงปู่ปลุกเสกตลอด ๓เดือนเต็ม ภายในกุฎิของท่าน เพื่อรอวันทำพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ครั้งสุดท้ายในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๓

ก่อนถึงวันทำพิธีใหญ่

หลวงปู่สรวง หลวงปู่ครูบาเที่ยงธรรม พระเหนือโลกผู้ไม่ติดในสมมุติบัญญัติก็ได้เมตตา มาอธิฐานเดี่ยว พร้อมสุดยอดเคล็ดลับวิชา เปิดโลกธาตุ ๑๖ ชั้นฟ้าให้
๑. หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
๒. หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
๓. หลวงปู่ทิมวัดพระขาว
๔. หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ
๕. หลวงปู่คีย์วัดศรีลำยอง
๖. หลวงพ่อรวย วัดตะโก
๗. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
๘.หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน
๙. หลวงปู่ประสาน วัดโนนผึ้ง (สหธรรมมิกผู้น้องของหลวงปู่หมุน )
๑๐. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อมอยุทธยา (แหวนไม่ไหม้ไฟ )
๑๑. หลวงพ่อสม วัดด่าน
๑๒.หลวงพ่อเจ้าคณะอำเภอวัฒนานครผู้เข้มขลังพลังฤทธิ์

ร่วมจิตอธิฐานเป็นเวลาประมาณ ๕ชั่วโมง ในขณะที่หลวงปู่หมุนท่านกำหนดจิตเข้าสู่ณานสมาบัติชั้นสูงจนเป็นอภิญญาอยู่นั้นผู้ที่อยู่ในพิธีเห็นหลวงปู่หมุนใช้ไม้ครูเขียนยันต์กลางอากาศ ( ทุกครั้งใช้มือ ) แล้วส่งพลังจิตสูงสุดผ่านปลายไม้เท้าสู่วัตถุมงคลสักครู่ท่านลืมตายกไม้เท้าขึ้นเหมือนสะกิดใคร พร้อมได้ยินท่านพูดและเห็นกิริยาเหมือนท่านนั่งสนธนากับใครอยู่ ( แต่ไม่มีใครเห็นคู่ สนธนาของท่าน )เมื่อเสร็จพิธีอาจารย์จ่อย ซึ่งเห็นเหตุการณ์โดยตลอดได้กราบเรียน ถามหลวงปู่ว่าก่อนเสร็จพิธีหลวงปู่พูดคุยกับใคร ท่านกล่าวตอบว่า " เมื่อตะกี้ ผมเห็นหลวงพ่อเอียวัดบ้านด่าน ท่านมายืนเสกของอยู่ข้างหน้าเลยใช้ ไม้เท้าสะกิดเรียกท่านและพูดคุยกันท่านเสกของให้เต็มที่เลย "
พระชุดนี้ของผมต่อไปจะหาไม่ได้อีกแล้วผมเสกให้สุดๆวิชาอะไร ก็ใส่ให้หมด เสกนานที่สุด ศักดิ์ที่สุดตั้งแต่สร้างพระมาวิหารที่ก่อสร้างจะได้เสร็จผมจะได้หมดห่วงเสียที

จากนั้นพระอาจารย์จ่อยได้กราบเรียนถามครูบาอาจารย์องค์สำคัญที่มาร่วมอธิฐานจิตอาทิ หลวงพ่อคีย์ วัดศรีลำยอง เจ้าตำหรับ น้ำมันเทพยดาท่านเล่าว่าตอนเข้าฌาณสมาบัติเห็นท้าวมหาพรหม ก็มา
พระอินทร์ก็มา เทวดานับไม่ถ้วนฤาษีก็มาหลายองค์
พระชุดนี้ดีเยี่ยมด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์
หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริบอกว่า ดาบเหล็กน้ำพี้นี้แรงจริงๆ
หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม บอกพิธีกรรมดีมากเทวดาร่วมอนุโมทนามากมาย
หลวงปู่ทิมวัดพระขาว บอกเสกให้เต็มที่เลย เมตตามหานิยม เป็นที่หนึ่ง

หลวงปู่ละมัยบอกเหล็กน้ำพี้ศักดิ์สิทธิ์ มีเทวดารักษา (ท่านบอกให้ลูกศิษย์ท่านสร้างรูปเหมือนของท่านด้วยเหล็กน้ำพี้)

หลวงพ่อเอียดบอกแคล้วคลาดก็มีครบ

หลวงพ่อรวย บอกชื่อเป็นมงคล " รวยทันใจ " แถมมีครูบาอาจารย์มาช่วยเยอะ ( รวย เพิ่ม พูน ) วัตถุมงคลชุดนี้ดีมากจริงๆหลวงปู่หมุนกำหนดจิตญาณสมาบัติชั้นสูงผ่านปลายไม้เท้าครูบรรจุพลังอันเป็นทิพย์อำนาจสู่วัตถุมงคล เล่นหากันราคาสูงครับรูปแบบหลวงปู่นั่งขัดสมาธิบนยันต์ นะมะพะทะ ด้านหลังเขียนคำว่า ที่ระฤก ร.ศ.218 หลวงปู่หมุนใช้คำว่า ระฤก แบบโบราณแทนคำว่า ระลึก และใช้ ร.ศ. 218 (รัตนโกสินทร์ศก 218) แทนคำว่า พ.ศ.2543

จนกระทั่งเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 มี.ค.2546 หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎี สิริอายุ 109 ปี 86 พรรษา




ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=37551

4

                     


พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

          ๑. สวากขาตธรรม เป็นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยา
กฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

          ๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำหน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

          ๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

          ๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

                    นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

          อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

          อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น



ขอขอบพระคุณที่มาจาก...หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

5
ธรรมะ / หลักแห่งพระพุทธศาสนา
« เมื่อ: 27 มี.ค. 2554, 09:10:49 »

พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล



ที่มา:ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์

6

   


การปฎิบัติธรรมทางด้านจิต

จงเป็นผู้มีสติปัญญารู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิตทุกลมหายใจเข้าออกและทุกอิริยบท
เว้นเสียแต่หลับ เมื่อรู้ทันจิตแล้ว ต้องรู้จักรักษาจิต คุ้มครองจิต
จงดูจิตเคลื่อนไหวเหมือนเราดูลิเกหรือละคร เราอย่าเข้าไปเล่นลิเกหรือละคร
ด้วย เราเป็นเพียงผู้นั่งดู อย่าหวั่นไหวไปตามจิต
จงดูจิตพฤติการณ์ของจิตเฉย ๆ ด้วยอุเบกขา จิตไม่มีตัวตน
แต่สามารถกลิ้งกลอกล้อหรือยั่วเย้าให้เราหวั่นไหวดีใจและเสียใจได้
ฉะนั้นต้องนึกเสมอว่าจิตไม่มีตัวตน อย่ากลัวจิต อย่ากลัวอารมณ์
เราหรือสติสัมปชัญญะต้องเก่งกว่าจิต

ความนึกคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต
แต่เราเข้าใจว่าเป็นตัวจิตธรรมชาติคือผู้รู้อารมณ์
คิดปรุงแต่งแยกแยะไปตามเรื่องของมัน แต่แล้วมันต้องดับไปเข้าหลักเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ ดับไป คือไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนทนได้ยากเป็นทุกข์
และสลายไปไม่ใช่ตัวตน มันจะเกิดดับ ๆ อยู่ตามธรรมชาติ
เมื่อเรารู้ความจริงของจิตเช่นนี้ เราก็จะสงบไม่วุ่นวาย
เราในที่นี้หมายถึงสติปัญญา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรม (สิ่งทั้งปวง )
เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน

นิมิตที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ ประการ คือ

๑ . เกิดขึ้นเพราะเทพบันดาล คือเทวดาหรือพรหมแสดงภาพนิมิตและเสียงให้รู้เห็น

๒. นิมิตเกิดขึ้นเพราะอำนาจสมาธิเอง

นิมิตจะเป็นประเภทใดก็ตาม
ขอให้ผู้เจริญกรรมฐานจงเป็นผู้ใช้สติปัญญาให้รู้เท่าทันนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นด้วยปัญญา
อย่าเพิ่งหลงเเชื่อทันทีจะเป็นความงมงาย
ให้ปล่อยวางนิมิตนั้นไปเสียอย่าไปสนใจให้เอาจิตทำความจดจ่ออยู่เฉพาะจิต

เมื่อจิตสงบรวมตัว จิตถอนตัวออกมารับรู้นิมิตนั้นอีก
หากปรากฎนิมิตอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ
หลายครั้งแสดงว่านิมิตนั้นเป็นของจริงเชื่อถือได้
แต่อย่างไรก็ตามนิมิตที่มาปรากฏนี้อยู่ในขั้นโลกียสมาธิ นิมิตต่าง ๆ
จึงเป็นความจริงน้อย แต่ไม่จริงเสียมาก
จงมุ่งหน้าทำจิตให้สงบเป็นอัปนาสมาธิ อย่าสนใจนิมิต หากทำได้อย่างนี้
จิตจะสงบตั้งมั่น เข้าถึงระดับฌานจะเกิดผลคือสมาบัติสูงขึ้นตามลำดับ
จิตจะมีพลังอำนาจอันมหาศาล ฤทธิ์เดชจะตามมาเองด้วยอำนาจของฌาน



ขอขอบพระคุณที่มา...http://onknow.blogspot.com/2010/01/blog-post_1324.html

7

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ ภิกษุสองรูป ซึ่งอยู่ร่วมรักกันสนิทเป็นสัทธิงวิหาริกของท่านพระมหากัสสปะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุสองรูปนั้น ใช้สอยสมณบริขารร่วมกันมีความคุ้นเคย สนิทกันอย่างยิ่ง แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาตก็ไปร่วมกัน ไม่สามารถที่จะพรากจากกันได้ ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญความคุ้นเคยกันของภิกษุทั้งสองรูปนั้นแหละในธรรมสภา
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้ คุ้นเคยกันในอัตภาพนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย ก็บัณฑิตทั้งหลายแต่ก่อนนั้น แม้ถึงจะท่องเที่ยวไประหว่างสามสี่ภพ ก็ไม่ละทิ้งความสนิทสนมกันฐานมิตรเลย เหมือนกันแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้าอวันตีมหาราช เสวยราชสมบัติในกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี ในกาลนั้น ด้านนอกกรุงอุชเชนีมีหมู่บ้านคนจัณฑาลตำบลหนึ่ง พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดในหมู่บ้านนั้น ต่อมา น้าหญิงของพระมหาสัตว์นั้นก็ให้กำเนิดบุตรขึ้นมาเหมือนกันคนหนึ่ง ในกุมารทั้งสองนั้น คนหนึ่งซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อจิตตกุมาร คนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรน้าสาวชื่อสัมภูตกุมาร กุมารแม้ทั้งสองเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว ก็ได้เรียนศิลปะศาสตร์ที่ชื่อว่า จัณฑาลวังสโธวนะ
วันหนึ่งทั้งสองก็ชักชวนกันไปแสดงศิลปศาสตร์ ที่ใกล้ประตูพระนครอุชเชนี โดยคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศใต้ ก็ในพระนครนั้น ได้มีนางทิฏฐมังคลิกา (นางผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นสิ่งที่ชั่ว ที่เป็นอวมงคล) สองคน คนหนึ่งเป็นธิดาของท่านเศรษฐี อีกคนหนึ่งเป็นธิดาของท่านปุโรหิตาจารย์ นางทั้งสองได้ให้บริวารชนถือเอาของขบเคี้ยว และของบริโภค ทั้งดอกไม้และของหอมเป็นต้นเป็นอันมากไป ด้วยคิดว่า จักเล่นในอุทยาน คนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศใต้
นางทิฏฐมังคลิกากุมารีทั้งสองนั้น เห็นบุตรของคนจัณฑาล สองพี่น้องแสดงศิลปะอยู่ จึงถามว่าคนเหล่านี้เป็นใคร ๆ ได้ฟังว่าเป็นบุตรของคนจัณฑาล จึงคิดว่า เราทั้งหลายได้เห็นบุคคลที่ไม่สมควรจะเห็นแล้วหนอ แล้วเอาน้ำหอมล้างตาพากันกลับ
มหาชนที่ไปด้วยพากันโกรธ กล่าวว่า เฮ้ย ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว เพราะอาศัยเจ้าทั้งสอง พวกเราจึงไม่ได้ดื่มสุราและกับแกล้มที่ไม่ต้องซื้อหา แล้วพากันโบยตีพี่น้องแม้ทั้งสองเหล่านั้น ให้ถึงความบอบช้ำย่อยยับ พี่น้องทั้งสองเหล่านั้นกลับได้สติฟื้นขึ้นมา จึงลุกขึ้นเดินไปยังสำนักของกันแลกันเมื่อมาพร้อมกัน ณ สถานที่แห่งหนึ่งแล้วบอกเล่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั่นสู่กันฟัง ต่างร้องไห้คร่ำครวญ ปรึกษากันว่า เราทั้งสองจักทำอย่างไรกันดี แล้วพูดกันว่า เพราะอาศัยชาติกำเนิด ความทุกข์นี้จึงเกิดแก่เราทั้งสอง พวกเราไม่สามารถจะกระทำงานของคนจัณฑาลได้จึงตกลงกันว่า เราทั้งสองปกปิดชาติกำเนิดแล้ว ปลอมแปลงเพศเป็นพราหมณ์มาณพ ไปสู่เมืองตักกศิลา เล่าเรียนศิลปวิทยากันเถิด ดังนี้แล้ว เดินทางไปในพระนครตักกศิลานั้น เริ่มเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เล่าลือกันไปทั่วชมพูทวีปว่า ได้ยินว่า คนจัณฑาลสองพี่น้องปกปิดชาติกำเนิดหนีไปเรียนศิลปศาสตร์.
ในพี่น้องทั้งสองคนนั้น จิตตบัณฑิตเล่าเรียนศิลปศาสตร์สำเร็จ แต่สัมภูตกุมารยังเรียนไม่สำเร็จ อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์ชาวบ้านผู้หนึ่ง มาเชิญอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า ข้าพเจ้าจักกระทำการสวดมนต์ (ในพิธีมงคล) ในคืน วันนั้นเอง ฝนตกเอ่อล้นซอกมุมเป็นต้นในหนทาง อาจารย์จึงเรียกจิตตบัณฑิต มาแต่เช้าตรู่ ส่งไปแทนตนโดยสั่งว่า พ่อมหาจำเริญ เราไม่สามารถจะไปได้ เธอจงไปสวดมงคลกถา พร้อมด้วยมาณพทั้งหลาย บริโภคอาหารส่วนที่พวกเธอได้รับ แล้วนำอาหารส่วนที่เราได้มาให้ด้วย จิตตบัณฑิตรับคำอาจารย์แล้วพามาณพทั้งหลายมาแล้ว คนทั้งหลายคดข้าวปายาสตั้งไว้ หมายว่า กว่ามาณพทั้งหลายจะอาบน้ำล้างหน้าเสร็จ ก็จะเย็นพอดี เมื่อข้าวปายาสยังไม่ทันเย็น มาณพทั้งหลายพากันมานั่งในเรือนแล้ว มนุษย์ทั้งหลายจึงให้น้ำทักษิโณทก ยกสำรับมาตั้งไว้ข้างหน้าของมาณพเหล่านั้น
สัมภูตมาณพ เป็นเหมือนคนมีนิสัยละโมบในอาหาร รีบตักก้อนข้าวปายาสใส่ปาก ด้วยสำคัญว่าเย็นดีแล้ว ก้อนข้าวปายาสซึ่งร้อนระอุเหมือนเหล็กแดงก็ลวกปากของเขา เขาสะบัดหน้า สั่นไปทั้งร่าง ตั้งสติไม่อยู่ มองดูจิตตบัณฑิตเผลอกล่าวเป็นภาษาจัณฑาลไปอย่างนี้ว่า "ขลุ ขลุ" ฝ่ายจิตตบัณฑิต ก็ตั้งสติไว้ไม่ได้เหมือนกัน ส่งภาษาจัณฑาลตอบไปอย่างนี้ว่า "นิคคละ นิคคละ" มาณพทั้งหลายต่างมองหน้าแล้วพูดกันว่า นี้ภาษาอะไรกัน ? จิตตบัณฑิตกล่าวมงคลกถาอนุโมทนาแล้ว มาณพทั้งหลายจึงออกไปภายนอก แล้วนั่งวิพากย์วิจารภาษากันอยู่ในที่นั้น ๆ เป็นพวก ๆ พอรู้ว่าเป็นภาษาจัณฑาลแล้วจึงด่าว่า เฮ้ย ! ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว พวกเจ้าหลอกลวงว่าเป็นพราหมณ์มาตลอดเวลาแล้วช่วยกัน โบยตีมาณพทั้งสอง.
ลำดับนั้น สัตบุรุษผู้หนึ่งจึงห้ามว่า ท่านทั้งหลายจงหลีกไป แล้วกันตัวสองมาณพออกมา แล้วส่งไปโดยพูดว่า นี้เป็นโทษแห่งชาติกำเนิดของท่าน ทั้งสองจงพากันไปบวชเลี้ยงชีพ ณ ประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งเถิด มาณพ ทั้งหลายกลับมาแจ้งเรื่องที่มาณพทั้งสองเป็นจัณฑาลให้อาจารย์ทราบทุกประการ แม้มาณพทั้งสองก็เข้าป่า บวชเป็นฤๅษี ต่อมาไม่นานนัก ก็จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในท้องของแม่เนื้อ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา นับแต่คลอดจากท้องแม่เนื้อแล้ว มฤคโปดกทั้งสองพี่น้องก็เที่ยวไปด้วยกัน ไม่อาจพรากจากกันได้
วันหนึ่ง นายพรานผู้หนึ่ง มาเห็นมฤคโปดกทั้งสองคาบเหยื่อกลับมา แล้วยืนเอาหัวต่อหัว เอาเขาต่อเขา เอาปากต่อปากจรดติดชิดกัน ยืนขนชัน ตั้งอยู่ ณ ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงพุ่งหอกไปที่สัตว์ทั้งสองให้สิ้นชีวิต ด้วยการ ประหารทีเดียวเท่านั้น
ครั้นมฤคโปดกทั้งคู่จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในกำเนิดนกเขา อยู่ที่ริมฝั่งน้ำรัมมทานที แม้ในอัตภาพนั้นก็มีนายพรานดักนกผู้หนึ่งมาเห็นลูกนกเขาทั้งสองเหล่านั้นซึ่งเจริญวัยแล้ว ไปเที่ยวคาบเหยื่อ แล้วมายืนเอาหัวซบหัว เอาจะงอยปากต่อจะงอยปากแนบสนิทชิดเรียงยืนเคียงกัน จึงเอาข่ายครอบฆ่าให้ตายด้วยการประหารทีเดียวเท่านั้น
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว จิตตบัณฑิตเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตในพระนครโกสัมพี สัมภูตบัณฑิตไปเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าอุตตรปัญจาลราช นับแต่กาลที่ถึงวันขนานนาม กุมารเหล่านั้นก็ระลึกชาติหนหลังของตน ๆ ได้ สัมภูตบัณฑิตราชกุมาร ไม่สามารถระลึกชาติในระหว่างชาติที่เกิดเป็นสัตว์ได้ คงระลึกได้เฉพาะชาติที่ ๔ ซึ่งเกิดเป็นคนจัณฑาลเท่านั้น ส่วนจิตตบัณฑิตกุมารระลึกได้ตลอด ๔ ชาติ โดยลำดับ
ในเวลาที่มีอายุได้ ๑๖ ปี จิตตบัณฑิตออกจากเรือนเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤๅษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ฌาน ฝ่ายสัมภูตราชกุมาร เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นเสวยราชสมบัติแทน ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ด้วยความเบิกบานพระราชหฤทัย กระทำให้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลองมงคล ท่ามกลางมหาชน ในวันเฉลิมฉัตรมงคลนั่นเอง
นางสนมกำนัลก็ดี นักฟ้อนรำทั้งหลายก็ดี ได้สดับคาถาเพลงขับนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า นี้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลองเนื่องในวันมงคลของพระราชาของเราทั้งหลาย จึงพากันขับร้องบทเพลง พระราชนิพนธ์นั้นทั่วกัน ประชาชนชาวพระนครทั้งหมดทราบว่า เพลงขับนี้เป็นที่โปรดปรานพอพระราชหฤทัยของพระราชา ก็พากันขับร้องบทพระราชนิพนธ์นั่นแหละ ต่อ ๆ กันไปโดยลำดับ
ฝ่ายพระจิตตบัณฑิตดาบส อยู่ในหิมวันตประเทศนั่นแล ใคร่ครวญพิจารณาดูว่า สัมภูตบัณฑิตผู้น้องชายของเรา ได้ครอบครองเศวตฉัตรแล้วหรือว่ายังไม่ได้ครอบครอง ทราบว่าได้ครอบครองแล้ว จึงคิดว่า บัดนี้เรายังไม่สามารถเพื่อจะไปสั่งสอนพระราชาซึ่งได้เสวยราชสมบัติใหม่ให้ทรงรู้แจ้งซึ่งธรรมวิเศษได้ก่อน เราจักเข้าไปหาท้าวเธอในเวลาที่ทรงพระชราภาพ กล่าวธรรมกถา แล้วชักนำให้บรรพชา ดังนี้แล้วจึงมิได้เสด็จไปตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี
ในเวลาที่พระราชาทรงเจริญด้วยพระโอรสและพระธิดาแล้ว จึงเหาะมาทางอากาศด้วยฤทธานุภาพ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งพักอยู่บนแท่นมงคลศิลาอาสน์ราวกับพระปฏิมาทองคำ ขณะนั้นมีเด็กคนหนึ่งขับเพลงบทพระราชนิพนธ์ เก็บฟืนอยู่ จิตตบัณฑิตดาบสเรียกเด็กนั้นมา เด็กก็มาไหว้พระดาบสแล้วยืนอยู่ ทีนั้นพระจิตตบัณฑิตดาบส จึงกล่าวกะเด็กนั้นว่า ตั้งแต่เช้ามา เจ้าขับเพลงขับบทเดียวนี้เท่านั้น ไม่รู้จักเพลงอย่างอื่นบ้างเลยหรือ ?
เด็กตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมรู้บทเพลงอย่างอื่นเป็นอันมาก แต่บทเพลงทั้งสองบทนี้ เป็นบทที่พระราชาทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัย เพราะฉะนั้น กระผมจึงขับร้องเฉพาะเพลงบทนี้เท่านั้น
พระดาบสถามต่อไปว่า ก็มีใคร ๆ ขับร้องเพลงขับตอบบทพระราชนิพนธ์บ้างหรือไม่ ?
เด็กตอบว่า ไม่มีเลยขอรับ
พระดาบสจึงกล่าวว่า ก็เจ้าเล่า จักสามารถเพื่อจะขับบทเพลงตอบอยู่หรือ ?
เด็กตอบว่า เมื่อกระผมรู้ ก็จักสามารถ
พระดาบสกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงขับบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสองแล้ว เจ้าจงจำเอาบทเพลงขับที่สามนี้ไปร้องขับตอบเถิด แล้วสอนเพลงขับนั้นให้เด็กส่งไป พร้อมกับสั่งว่า เจ้าไปขับร้องในสำนักของ พระราชา พระราชาทรงเลื่อมใสจักพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่เจ้า
เด็กนั้นรีบไปยังสำนักของมารดาให้ช่วยประดับตกแต่งตนแล้ว ไปยังประตูพระราชนิเวศน์ สั่งราชบุรุษให้กราบทูลพระราชาว่า ได้ยินว่า มีเด็กคนหนึ่งจักมาขับร้องบทเพลงตอบกับด้วยพระองค์ ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วเด็กนั้นจึงเข้าไปถวายบังคม ครั้นเมื่อพระราชาตรัสถามว่า พ่อเด็กน้อย เขาว่าเจ้าจักมาร้องเพลง ตอบกับเราหรือ ?
ก็กราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า เป็นความจริง พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลให้พระราชามีพระราชโองการให้ราชบริษัททั้งหลายมาประชุมกัน เมื่อราชบริษัทประชุมพร้อมกันแล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ขอพระองค์โปรดทรงขับร้องเพลงบทพระนิพนธ์ของพระองค์ก่อนเถิด ข้าพระ พุทธเจ้าจักขับบทเพลงถวายตอบทีหลัง พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผล
เสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผล
เป็นไม่มี เราได้เห็นตัวของเรา ผู้ชื่อว่า สัมภูตะ มี
อานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ เพราะกรรม
ของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อม
มีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้
ผลเป็นไม่มี มโนรถของเราสำเร็จแล้ว แม้ฉันใด
มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชษฐาของเรา ก็คง
สำเร็จแล้วฉันนั้น กระมังหนอ ดังนี้.

เมื่อพระเจ้าสัมภูตะขับเพลงคาถาสองบทจบลง กุมารเมื่อจะขับเพลง ตอบถวาย จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กรรมทุกอย่างที่
นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม
แม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของ
พระองค์สำเร็จแล้ว แม้ฉันใด ขอพระองค์โปรดทราบ
เถิดว่า มโนรถของจิตตบัณฑิต ก็สำเร็จแล้วฉันนั้น
เหมือนกัน.

พระราชาทรงสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสถามเด็กนั้นว่า เจ้าหรือคือจิตตบัณฑิต หรือเจ้าได้ฟังคำนี้มาจากคนอื่น หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้แก่เจ้า เพลงนี้เจ้าขับดีแล้ว เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วยร้อยตำบลแก่เจ้า.
ลำดับนั้น กุมารกราบทูลพระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าหาใช่จิตตะไม่ ข้าพระพุทธเจ้าฟังคำนี้มาจากคนอื่น ฤๅษีองค์หนึ่งนั่งอยู่ในพระอุทยานของพระองค์เป็นผู้ได้บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้า แล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถานี้ ตอบถวายพระราชา หากพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว จะพึงพระราชทานบ้านส่วยให้แก่เจ้าบ้างกระมัง.
พระเจ้าสัมภูตราชทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า ชะรอย พระดาบสนั้น จักเป็นจิตตบัณฑิตผู้เชษฐภาดาของเรา เราจักไปพบพระเชษฐ าดาของเรานั้น เมื่อจะตรัสใช้ให้ราชบุรุษเตรียมกระบวน จึงตรัสว่า
ราชบุรุษทั้งหลาย จงเทียมราชรถของเรา จัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้งดงามวิจิตร จงผูกรัดสายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์จงขึ้นประจำคอจงนำเอาเภรีตะโพนสังข์มาตระเตรียม เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมยานพาหนะโดยเร็ว วันนี้แลเราจักไปเยี่ยมเยียนพระฤๅษี ซึ่งนั่งอยู่ ณ อาศรมสถานให้ถึงที่ทีเดียว.
เมื่อกระบวนยาตราได้เตรียมพร้อมแล้ว พระเจ้าสัมภูตราช ก็เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง เสด็จไปโดยพลัน จอดราชรถไว้ที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเสด็จเข้าไปหาพระดาบสจิตตบัณฑิต นมัสการพระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระราชหฤทัยชื่นชมโสมนัส ตรัสว่า
คาถาที่ข้าพเจ้าขับกล่อมในท่ามกลาง บริษัทในวันฉัตรมงคลของข้าพเจ้านั้น เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้พบพระฤๅษีผู้เข้าถึงศีลและพรตแล้ว ถึงความปิติโสมนัสหาที่เปรียบมิได้ นับว่าข้าพเจ้าได้ลาภอันดียิ่งทีเดียว.
นับแต่ได้พบพระจิตตบัณฑิตดาบสแล้ว พระเจ้าสัมภูตราช ทรงชื่นชมโสมนัสยิ่ง เมื่อจะมีพระราชดำรัสตรัสสั่ง ซึ่งราชกิจมีอาทิว่า ท่านทั้งหลายจงลาดบัลลังก์เพื่อเชษฐภาดาของเรา จึงตรัสคาถาที่ ๙ ความว่า
ขอเชิญท่านผู้เจริญ โปรดรับอาสนะ น้ำ และรองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับท่านผู้เจริญ ในสิ่งของอันมีราคาคู่ควรแก่การต้อนรับขอท่านผู้เจริญ เชิญรับสักการะอันมีค่าของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด.
ครั้นพระเจ้าสัมภูตบัณฑิต ทรงทำการปฏิสันถาร ด้วยพระดำรัสอันอ่อนหวานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแบ่งราชสมบัติถวายกึ่งหนึ่ง จึงตรัสว่า
ขอเชิญพระเชษฐาทรงสร้างปรางค์ปราสาท อันเป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์สำหรับพระองค์เถิด จงทรงบำรุงบำเรอด้วยหมู่นารีทั้งหลาย โปรดให้โอกาสเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้เราทั้งสองก็จะครอบครองอิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน.
พระจิตตบัณฑิตดาบสฟังพระดำรัส ของพระเจ้าสัมภูตราชแล้ว เมื่อจะแสดงธรรมเทศนาถวาย จึงกราบทูลว่า
ดูก่อนมหาบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ทรงเห็นแต่ผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพ เห็นทั้งผลแห่งทุจริตและสุจริตทีเดียว ด้วยผลแห่งทุจริต เราทั้งสองได้บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล ในชาติที่ ๔ นับจากชาตินี้ และเมื่อพากันรักษาศีลอยู่ในชาตินั้นไม่นาน ด้วยผลแห่งศีลอันสุจริตนั้น พระองค์ก็ทรงบังเกิดในตระกูล กษัตริย์ อาตมาภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ เพราะอาตมาภาพเห็นผลแห่งทุจริตและสุจริตอันเคยสั่งสมดีแล้ว ว่าเป็นวิบากใหญ่อย่างนี้ จึงจักสำรวมตนเท่านั้น ด้วยความสำรวมคือศีล จะปรารถนาบุตร ปศุสัตว์ หรือธนสารสมบัติ ก็หามิได้.
ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ มีกำหนดสิบปีสิบหน คือร้อยปีเท่านั้น ด้วยสามารถแห่งหมวดสิบเหล่านี้ คือ มันททสกะ สิบปีแห่งความเป็นเด็กอ่อน ๑ ขิฑฑาทสกะ สิบปีแห่งการเล่นคึกคะนอง ๑ วัณณทสกะ สิบปีแห่งความสวยงาม ๑ พลทสกะ สิบปีแห่งความมีกำลังสมบูรณ์ ๑ ปัญญาทสกะ สิบปี แห่งความมีปัญญารอบรู้ ๑ หานิทสกะ สิบปีแห่งความเสื่อม ๑ ปัพภารทสกะ สิบปีแห่งความมีกายเงื้อมไปข้างหน้า ๑ วังกทสกะ สิบปีแห่งความมีกายคดโกง ๑ โมมูหทสกะ สิบปีแห่งความหลงเลอะเลือน ๑ สยนทสกะ สิบปีแห่งการ นอนอยู่กับที่ ๑
ชีวิตนี้ย่อมไม่ถึงขั้นลำดับทสกะเหล่านี้ครบทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ โดยที่แท้ยังไม่ทันถึงเขตที่กำหนดนั้นเลย ก็ซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ดังไม้อ้อที่ถูกตัดแล้วฉะนั้น ถึงแม้สัตว์เหล่าใดมีอายุอยู่ได้ครบ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์ รูปธรรมและอรูปธรรมของสัตว์แม้เหล่านั้น อันเป็นไปในมันททสกะถูกตัดแล้ว ย่อมผันแปรเหือดแห้งอันตรธานไป ในระยะมันททสกะนั่นเอง ดุจไม้อ้อที่เขาตัดแล้วตากไว้ที่แดดฉะนั้น ที่จะล่วงเลยกำหนดนั้น จนถึงขั้นขิฑฑาทสกะ หามิได้ วัณณทสกะเป็นต้น อันเป็นไปแล้วในขิฑฑาทสกะเป็นต้นก็อย่างเดียว กัน.
เมื่อชีวิตนั้นต้องซูบซีดเหี่ยวแห้งไปด้วยอาการอย่างนี้ ความเพลิดเพลินยินดีเพราะอาศัยเบญจกามคุณ จะมีประโยชน์อะไร ? การเล่นคึกคะนองด้วยสามารถแห่งการเล่นทางกายเป็นต้น จะมีประโยชน์อะไร ความยินดีด้วยสามารถแห่งความโสมนัส จะมีประโยชน์อะไร ? การแสวงหาธนสารสมบัติจะมีประโยชน์อะไร ? ประโยชน์อะไร ด้วยลูก ด้วยเมียของ อาตมาภาพ อาตมาภาพหลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูกคือบุตรและภรรยานั้น.
ดูก่อนมหาราชเจ้า เมื่อก่อน นับถอยหลังจากนี้ไป ๔ ชาติ เราทั้งสองได้เกิดเป็นคนจัณฑาลอยู่ในพระนครอุชเชนี แคว้นอวันตีรัฐ เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว เราทั้งสอง ได้เกิดเป็นมฤคโปดก อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานที มีนายพรานผู้หนึ่งฆ่าเราทั้งสอง ซึ่งยืนพิงกันอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น จนสิ้นชีวิต เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดเป็นนกเขา อยู่ร่วมกันที่ฝั่งน้ำรัมมทานที มีพรานนกผู้หนึ่งดักข่ายทำลายเราให้ถึงตายด้วยการประหารคราวเดียวเท่านั้น ครั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาในชาตินี้ เราทั้งสองเกิดเป็นพราหมณ์ และกษัตริย์ คือ อาตมาภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครโกสัมพี พระองค์เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครนี้
ครั้นพระโพธิสัตว์ประกาศชาติกำเนิดอันลามกต่ำต้อยที่ผ่านมาแล้ว แก่พระเจ้าสัมภูตราชนั้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล้วแสดงว่า อายุสังขาร แม้ในชาตินี้มีเวลาเล็กน้อย ให้พระเจ้าสัมภูตราชทรงเกิดอุตสาหะในบุญกุศลทั้งหลาย ได้กล่าวต่อไปว่า
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน
ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายมีทุกข์เป็นกำไรเลย อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีทุกข์เป็นผลเลย อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยกิเลสธุลี อย่าทรงทำกรรมที่ให้เข้าถึงนรกเลย.
เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ากล่าวอยู่อย่างนี้ พระเจ้าสัมภูตราชทรงรู้สึกพระองค์ แล้วตรัสว่า
ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ข้าแต่ภิกษุผู้เชษฐภาดา ท่านละกิเลส ทั้งหลาย สามารถดำรงตนอยู่ได้แล้ว ส่วนข้าพเจ้ายังจมอยู่ในเปลือกตม คือ กามกิเลส เพราะเหตุนั้น คนเช่นข้าพเจ้าละกามกิเลสเหล่านั้นได้ยากยิ่ง
ช้างจมอยู่ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้ด้วยตนเองฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือกามกิเลส ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ฉันนั้น ข้าพเจ้าไม่สามารถจะบรรพชาได้ ขอท่านจงโปรดให้โอวาทแก่ข้าพเจ้าผู้ดำรงอยู่ในฆรวาสวิสัยนี้ เท่านั้นเถิด
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะมีความสุขได้ด้วยวิธีใด มารดาบิดาพร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้นฉันใด ข้าพเจ้าละจากโลกนี้ไปแล้ว จะพึงเป็นผู้มีความสุขอื่นนานได้ด้วยวิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ด้วยวิธีนั้น ฉันนั้นเถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะพระเจ้าสัมภูตราชนั้นว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ผู้จอมนรชน ถ้ามหาบพิตร ไม่สามารถละกามของมนุษย์เหล่านี้ได้ไซร้ มหาบพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรมเถิด แต่การกระทำอันไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในรัฐสีมาของมหาบพิตรเลย
มหาบพิตรจงส่งทูตทั้งหลายไปยังทิศทั้ง ๔ นิมนต์สมณะพราหมณ์ทั้งหลายมา จงทรงบำรุงสมณะพราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ และคิลานปัจจัย จงเป็นผู้มีกมลจิตอันผ่องใสทรงอังคาสสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไม่ติเตียนเถิด
ดูก่อนมหาราชเจ้า ถ้าหากความมัวเมาจะพึงครอบงำพระองค์ คือ ถ้าหากความมานะถือตัว ปรารภกามคุณมีรูป เป็นต้น หรือปรารภความสุขเกิดแต่ราชสมบัติจะพึงบังเกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้ห้อมล้อมด้วยหมู่สนมนารีทั้งหลายไซร้ ทันทีนั้นพระองค์พึงทรงจินตนาการว่า ในชาติปางก่อนเราเกิดในกำเนิดจัณฑาล ได้หลับนอนในที่กลางแจ้ง เพราะไม่มีแม้เพียงกระท่อมมุงด้วยหญ้ามิดชิด ก็แลในกาลนั้น นางจัณฑาลีผู้เป็นมารดาของเรา เมื่อจะไปสู่ป่า เพื่อหาฟืนและผักเป็นต้น ให้เรานอนกลางแจ้งท่ามกลางหมู่ลูกสุนัข ให้เราดื่มนมของตนแล้วไป เรานั้นแวดล้อมไปด้วยลูกสุนัข ดื่มนมแห่งแม่สุนัข พร้อมด้วยลูกสุนัขเหล่านั้น จึงเจริญวัยเติบโต เราเป็นผู้มีเชื้อชาติต่ำช้ามาอย่างนี้ แต่วันนี้เกิดเป็นผู้ที่ประชาชนเรียกว่ากษัตริย์
ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะเหตุนี้แล เมื่อพระองค์จะทรงสอนตนเองด้วยเนื้อความนี้ พึงตรัสคาถานี้ในท่ามกลางหมู่ชนว่า ในชาติปางก่อนเราเป็นสัตว์นอนอยู่ใน อันโภกาสกลางแจ้ง เมื่อนางจัณฑาลีผู้มารดาไปสู่ป่า เที่ยวไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง เป็นผู้อันแม่สุนัขสงสาร ให้ดื่มนม คลุกคลีอยู่กับพวกลูก ๆ จึงเจริญ เติบโตมาได้ แต่วันนี้ เรานั้นอันใคร ๆ เขาเรียกกันว่าเป็นกษัตริย์ ดังนี้.
พระมหาสัตว์ครั้นให้โอวาทแก่พระเจ้าสัมภูตราชอย่างนี้แล้วจึงกล่าวว่า อาตมาภาพถวายโอวาทแก่พระองค์แล้ว บัดนี้พระองค์จงทรงผนวชเสียเถิด อย่าทรงเสวยวิบากแห่งกรรมของตนด้วยตนเลย แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศยังลอองธุลีพระบาทให้ตกเหนือเศียรเกล้าของพระราชา แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศทันที
ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรดูพระดาบสนั้นไปแล้ว เกิดความสังเวช สลดพระทัย ยกราชสมบัติให้แก่ราชโอรสองค์ใหญ่ ตรัสสั่งให้พลนิกายกลับไปแล้ว บ่ายพระพักตร์เสด็จไปยังหิมวันตประเทศเพียงองค์เดียว
พระมหาสัตว์เจ้า ทรงทราบการเสด็จมาของพระราชาแล้ว แวดล้อมด้วยหมู่ฤๅษี เป็นบริวารมาต้อนรับพระราชาให้ทรงผนวชแล้วสอนกสิณบริกรรม พระสัมภูตดาบส บำเพ็ญฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว พระดาบสทั้งสองแม้เหล่านั้น ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาครั้นนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในครั้งก่อน แม้จะท่องเที่ยวไป ๓ - ๔ ภพ ก็ยังเป็นผู้มีความคุ้นเคยรักใคร่สนิทสนม มั่นคงอย่างนี้โดยแท้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สัมภูตดาบสในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนจิตตบัณฑิตดาบส ได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.


ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.dharma-gateway.com/chadok-nibat-index-page.htm

8

      พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้สัตว์เกิดในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ?

พุทธดำรัส ตอบ “..... ดูก่อนอานนท์ เมื่อกรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ.... ในรูปธาตุ.... ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้ว กามภพ... รูปภพ.... อรูปภพ พึงปรากฏบ้างหรือหนอ (เมื่อพระอานนท์ทูลตอบว่า ไม่พึงปรากฏเลย ได้ตรัสต่อไปว่า) ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณ.... เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่างเลว... อย่างกลาง... อย่างประณีต... ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดใหม่ในภพต่อไปอีก.

นวสูตร ติ. อํ. (๕๑๖)
ตบ. ๒๐ : ๒๘๗-๒๘๘ ตท. ๒๐ : ๒๕๒-๒๕๓
ตอ. G.S. I : ๒๐๓-๒๐๔



9



ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา

ปริยัติ เป็นชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

ปฏิบัติ ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้

ปฏิเวธ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป

ทีนี้จะพูดถึงหลักความจริงแล้วมันจะกลับกันจากความเข้าใจของคนทั่วไป คือ ปริยัติเกิดมาจากปฏิเวธ ปฏิเวธจะเกิดได้เพราะปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ถึงปฏิเวธ ไม่มีปฏิเวธ เมื่อไม่มีปฏิเวธ คือไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็บัญญัติไม่ถูก (บัญญัติ ก็คือปริยัติ) บัญญัติไม่ถูกก็ไม่มีปริยัติ เมื่อพูดตามความเป็นจริงแล้วมันต้องเป็นอย่างนั้น

ที่ท่านตั้งเป็นแนวไว้ว่า ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ คือเรียนรู้เสียก่อน เมื่อรู้เรื่องแล้วจึงค่อยปฏิบัติ ปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยถึงปฏิเวธ อันนี้ก็จริงอยู่แต่ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปเรียนให้มากๆ จนได้นักธรรม ตรี โท เอก เป็นมหาเปรียญเสียก่อนแล้ว จึงค่อยปฏิบัติไม่ใช่อย่างนั้น

การเรียนนั้นไม่ต้องไปเรียนตามตำรับตำราอะไรมากมาย คือเราเข้าหาสำนักครูอาจารย์หรือผู้ที่ท่านจะอธิบายธรรมะข้อใดบทใดให้ฟังก็ตามเรียกว่า การฟัง นั่นแหละนับว่าเป็นการเรียนในที่นี้ เมื่อเรียนแล้วก็เกิดความเข้าใจและเห็นคุณประโยชน์ในการเรียนจึงตั้งใจปฏิบัติตาม เมื่อเราปฏิบัติด้วยตนเองแล้วจึงเกิดปฏิเวธในธรรมปริยัติข้อนั้นๆ ขึ้นมา ดังนั้น ปริยัติต้องออกมาจากปฏิเวธแน่นอน

คำว่า ศึกษาธรรมะ นั้นไม่ใช่การเรียนปริยัติ ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าศึกษาปริยัตินั้นอันหนึ่ง ศึกษาธรรมะก็อีกอันหนึ่งแตกต่างกัน โดยมากเข้าใจกันว่า ศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาตามตำรับตำรา บทบัญญัติ และพระธรรมคำสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้แล้วก็เป็นปฏิเวธ แต่การศึกษาอันที่จะนำให้เกิดปฏิเวธนั้นไม่ใช่ศึกษาแต่ปริยัติดังที่เข้าใจกันเช่นนั้น หากเป็นการศึกษาอุบายแยบคายโดยเฉพาะในการที่จะปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดปฏิเวธ

ในสมัยพุทธกาลเมื่อยังไม่ได้ทรงบัญญัติพระธรรมคำสอนเลย แต่สาวกได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าตรัส บางองค์เพียงบาทคาถาเดียวก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สามเณรลูกศิษย์พระสารีบุตรยังไม่ได้ฟังเทศน์ด้วยซ้ำ ขณะปลงผมจะบรรพชาเท่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว นี่แสดงว่าการศึกษาธรรมะที่แท้จริงกับการศึกษาปริยัติเป็นคนละเรื่องกัน ที่ศึกษาในปริยัติก็จริงอยู่แต่ยังไม่ถูกทีเดียว ต้องศึกษาแนวทางปฏิบัติด้วยถึงจะถูกโดยสมบูรณ์

ปฏิบัติ การศึกษาที่จะให้เกิดการปฏิบัตินั้น จะศึกษาบัญญัติแล้วนำมาปฏิบัติก็ได้ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปศึกษามากมายเพียงหยิบยกเอาอุบายอันใดอันหนึ่งขึ้นมาพิจารณาก็เรียกว่าศึกษา หรือไม่ได้ศึกษาบัญญัติแต่มันเกิดเองรู้เองก็เรียกว่าการศึกษาเหมือนกัน การที่จะรู้เองเช่นนั้นมีได้ในบางคน เช่นมองดูตัวของเรานี้เวลามันจะเกิดอุบายขึ้นมาก็ไม่รู้ตัว โดยที่เราไม่ได้คิดไม่ได้ตั้งใจที่จะให้มันเป็น แต่ว่ามันปรากฏขึ้นมาเองภายใน มันวิตกวูบขึ้นมา เอ๊ะ ! ตัวอันนี้มันเป็นตัวอะไรนี่ ที่เรียกว่าคน คนนั้นมันอยู่ตรงไหนกัน ส่วนที่เกิดขึ้นมาเองอันนี้มันเป็นอุบายที่ถูกใจของเรา ถูกนิสัยของเราแล้ว เมื่อสนใจเรื่องนั้นใจก็ปักมั่นแน่วแน่คิดค้นแต่ในเรื่องนั้นเรื่องเดียว จนกระทั่งมันรู้ชัดขึ้นมาตามความเป็นจริง อันนั้นแหละเรียกว่า แยบคาย

อุบาย คือที่เราจับได้ในเบื้องต้นและมีแยบคาย คือพิจารณาจนเกิดผลนั่นแหละ คือ การศึกษาธรรมะ เวลามันเกิดเฉพาะของใครของมัน ไม่มีใครสอนถูก มันรู้ชัดเห็นชัดเอาจริงๆ ทีเดียว แยบคายจึงเป็นของสำคัญยิ่งกว่าอุบาย คือด้วยปัญญาขั้นละเอียด
สำหรับผู้ที่ไม่เกิดเองเป็นเองก็ต้องอาศัยแนวทางปฏิบัติ คือยกเอาอุบายขึ้นมาพิจารณาจนให้เกิดแยบคาย อุบายในการภาวนาท่านกล่าวไว้มีมากมายเรียกว่ากัมมัฏฐาน ๔๐ เช่นพิจารณา อุสุภะ อานาปานสติ กายคตาสติ สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ เป็นต้น อุบาย เป็นเพียงสิ่งที่ใช้นำจิตให้มาอยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วจะมี แยบคาย เกิดขึ้น รู้ชัดเห็นชัดตามเป็นจริงด้วยตนเอง เรียกว่า ปฏิเวธ เกิดขึ้นแล้วในบุคคลนั้น

ปฏิเวธ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นมาเฉพาะตน เช่นพิจารณากายของเราจนกระทั่งเห็นกายนี้เป็นกองทุกข์ทั้งหมด ความรู้ชัดที่เกิดขึ้นเองนี้บางคนไม่ได้เรียนปริยัติเสียด้วยซ้ำ แต่เขาพิจารณาเห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะจริงๆ มองดูสิ่งใดๆ ในโลกนี้เห็นว่าเป็นทุกข์ภัยทั้งนั้นมีแต่ความเดือดร้อนตลอดเวลา แม้แต่ตัวของเราเองจะดูตรงไหนๆ ก็เป็นแต่ก้อนทุกข์มีแต่โรคภัยไข้เจ็บตลอดเวลา เกิดโรคได้ทุกส่วนที่ตา หู จมูก ลิ้น ฯลฯ แม้แต่เส้นผมแต่ละเส้นๆ ก็มีโรคประจำอยู่ ความรู้เห็นเช่นนี้ไม่ได้ไปศึกษาที่ไหน มันเกิดขึ้นโดยตนเอง เมื่อรู้เห็นเช่นนี้แล้วมีผลให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายเสียจากความยินดีพอใจในอัตภาพร่างกายของตน หายหลงกายอันนี้เห็นว่าของอันนี้ไม่จีรังถาวร ของอันนี้ไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ปล่อยวางลงได้ ใจเข้าถึงความสงบเป็นสมาธิแน่วแน่เต็มที่เรียกว่า ปฏิเวธ เกิดขึ้นแล้ว

ความเป็นจริงนั้นจิตมันอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วละอุปาทานที่มันเป็นทุกข์นั่นแหละ มันไม่ได้ส่งสายไปที่อื่นมันแน่วแน่อยู่แต่ในเรื่องทุกข์นั้น ขณะนั้นจิตสงบลงแล้วมันจึงค่อยเห็นชัดแจ้งขึ้นมา ถ้าจิตไม่สงบก็ไม่เห็นชัด อย่างเช่นเราเรียนรู้กันเรื่องอาการ ๓๒ สวดกันอยู่บ่อยๆ คล่องปากทีเดียว แต่จิตมันไม่อยู่มันส่งสายไม่แน่วแน่ลงเฉพาะในเรื่องเดียว ก็เลยเป็นสักแต่ว่าสวดไม่ทำให้เกิดความสลดสังเวช ไม่เป็นเหตุให้เบื่อหน่ายคลายความพอใจในรูปอัตภาพ เช่นนี้เรียกว่าปฏิเวธยังไม่เกิด เป็นเพียงเรียนตามปริยัติ ท่องจำปริยัติเป็นสัญญาไม่ใช่ปฏิเวธ

การที่จะเกิดปฏิเวธขึ้นนั้น จิตต้องมีสมาธิเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดสมาธิและปฏิเวธ ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นสมาธิเลย มันเข้าถึงสมาธิและเกิดปฏิเวธโดยไม่รู้ตัว เหตุนี้จึงเคยพูดเสมอว่า แยบคายของแต่ละบุคคลนั้นเป็นของสำคัญที่สุด คือมองดูของสิ่งเดียวกันเห็นเหมือนกันหมดทุกคนนั้นแหละ แต่ว่าบางคนไม่มีแยบคายที่จะประคองจิตให้มันแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว จนกระทั่งจิตเห็นชัดขึ้นมาตามความเป็นจริง

ปริยัติ พอปฏิเวธเกิดขึ้นมาแล้ว ทีนี้จะพูดอะไรบัญญัติอะไรก็ถูกต้องตามเป็นจริงทุกประการ แต่จะต้องบัญญัติใหม่เสียก่อน เพราะความรู้ตามเป็นจริงนั้นจะพูดให้คนที่ไม่รู้ตามเป็นจริงเข้าใจยาก ต้องมาเรียบเรียงคำพูดใหม่เสียก่อนจึงจะเข้าใจเป็นเรื่องเป็นราว ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ทั้งหมดที่เรียกว่า ปริยัติ เช่นคำว่า ขันธ์ห้า, อายตนะ ทีแรกเขาไม่ได้เรียกว่าขันธ์ห้า เขาเรียกว่าคน ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ความเป็นจริงว่ามันเป็นอย่างนี้ๆ ต่างหาก จึงได้ทรงแยก “คน“ ออกเป็นขันธ์ คือ ขันธ์ห้า บางทีทรงแยกเป็น ธาตุสี่ และบางทีเป็น อายตนะ เป็น อินทรีย์

ทำไมจึงทรงแยกอย่างนั้น นั่นคือความแยบคายของพระองค์ พระปัญญาเฉียบแหลมของพระองค์ คำว่าแหลมในที่นี้ทั้งแหลมทั้งลึกทั้งละเอียด เช่นทรงเห็นชัดแจ้งตลอดในสรีระร่างกายอันนี้ว่า แท้จริงไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ มันเป็นเพียงก้อนธาตุประชุมกัน พร้อมกับที่ทรงเห็นว่าเป็นก้อนธาตุประชุมกัน ก็ทรงเห็นการแตกสลายดับไปของก้อนธาตุอันนั้นร่วมไปด้วย จึงได้ทรงสมมติบัญญัติร่างกายอันนี้ว่า รูป รูปก็คือของสลายแตกดับ คำว่า รูป ในที่นี้เลยครอบไว้หมดทั้งเกิดและดับ หรือรูปก็คือลบนั่นเอง เป็นรูปขึ้นมาแล้วก็ลบหาย (สลาย) ไป นี่เป็นแยบคายของพระองค์ คำว่า ขันธ์ หมายถึงจับกันเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นหมู่

ดังนั้นที่พระองค์ทรงแยกคนออกเป็นขันธ์ ก็คือ สิ่งที่ข้นแข็งจับกันเป็นก้อนมองเห็นได้เรียกว่า รูป และส่วนที่ละเอียดมองไม่เห็น แต่ก็มีอยู่เรียกว่า นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อทั้งสองส่วนมาประชุมกันเข้าจึงเป็น ขันธ์ห้า หมายถึงห้ากองนี่เอง ทั้งห้ากองนี่ต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่คงทนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเหมือนๆ กัน รูปนั้นเกิดดับช้าหน่อย ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนั้นเกิดดับเร็วกว่ารูป

ถ้าพิจารณาตามจนเห็นชัดจริงๆ แล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงรอบรู้อย่างละเอียดละออและลึกซึ้งลงไปถึงที่สุด โดยที่ไม่ทรงศึกษามาจากสำนักไหนจากอาจารย์ใดเลย วิชชาของพระองค์จึงน่าสรรเสริญยิ่งนัก เมื่อตรัสรู้แล้วก็ทรงบัญญัติขึ้น บัญญัติของพระองค์สมจริงเป็นความจริงอยู่อย่างนั้นอยู่ตลอดกาล แม้ใครจะเกิดมาภายหลังอีกกี่ร้อยกี่พันปี กี่ภพกี่ชาติก็ตาม หากมาศึกษาพิจารณาค้นคว้าบัญญัติของพระองค์นี้แล้ว ไม่มีผิดแผกแตกต่างกันเลย ตรงทุกสิ่งทุกประการ แต่เรายังไม่ทันเห็นจริงด้วยตนเองเท่านั้นแหละ

คำสั่งสอนของพระองค์ที่เราศึกษากันอยู่ทุกวันนี้ ก็ยังไม่ลึกซึ้งเข้าไปถึงความรู้อันแท้จริงของพระองค์ ยกตัวอย่างอันเดิมคือ รูป นี่แหละ พระองค์ตรัสไว้ว่า รูป เป็นก้อนธาตุมาประชุมกัน เกิดขึ้นแล้วมีแตกสลายดับไป ลองนำมาพิจารณาดูเถิดบรรดารูปที่ปรากฏเห็นได้ด้วยสายตาของเราในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา ฯลฯ มันเหมือนกันหมด คือ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นก้อนธาตุ เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับสลายไป แม้แต่พื้นปฐพีกว้างใหญ่อันนี้ก็มีวันหนึ่งข้างหน้าที่มันจะสลาย (มีอธิบายไว้ถึงเรื่องการแตกสลายของโลกในหนังสือไตรโลกวิตถาร) มันตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ที่เขาศึกษากันในปัจจุบันนี้

พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนวิทยาศาสตร์อย่างพวกเรา ทำไมพระองค์จึงไปทรงทราบถึงเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด และตรงกับของเขาอย่างจริงจังด้วย สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ยังมีอีกมากที่วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาแพทย์ปัจจุบันนี้ก็ยังเข้าไปไม่ถึง จึงว่าพระปัญญาของพระองค์น่าสรรเสริญยิ่งนัก แทงตลอดถึงที่สุดในทุกสิ่ง

ทีนี้ บัญญัติ ทั้งหลายเหล่านี้พระพุทธองค์ก็ไม่ให้เอาเช่น ขันธ์ห้า นี่แหละ พระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้เอา ไม่เป็นของเอา ทรงสอนให้รู้จักต่างหาก ทรงสอนให้รู้จักเรื่องสรีระร่างกาย ให้รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของมัน หน้าที่ของมันเป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ รูปมันก็เกิด-ดับ นามก็เกิด-ดับ หน้าที่ของอายตนะก็เกิด-ดับเหมือนกัน

ตา สำหรับมองรูป เห็นรูปนี้แล้วพอเห็นรูปใหม่รูปอันเก่าก็ดับไปหมดไป หูได้ยินเสียงก็เช่นเดียวกัน ได้ยินแล้วก็ดับไปหมดไป จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัสต่างๆ ใจคิดถึงเรื่องต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ก็เกิด-ดับเหมือนกันทั้งนั้น เรื่องแรกเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นมาอีก วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา แล้วจะเอาอะไรมาเป็นเราเป็นของเรา มันไม่มีของเราสักอย่าง มันทำหน้าที่ของมันต่างหาก เมื่อเราเห็นเช่นนี้แล้วมันก็คลายเสียจากความยึดถือ ความยึดมั่นว่าตัวเราตัวเขา ของเราของเขา ก็จะมาเข้าใน สภาวะธรรม

ถ้าลงถึง สภาวะธรรม แล้วก็ถึงที่สุดไม่มีทางไป เพราะมันเป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติของมัน เมื่อเราไม่เอาขันธ์มาเป็นตัวเราของเราแล้ว การปฏิบัติก็ไม่มีอะไรอีก เพราะจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติก็คือให้ปล่อยวางจากความยึดมั่น สำคัญเอาขันธ์ว่าเป็นตัวเราของเรา อันการที่จะปล่อยวางได้นั่นซิมันยากนักหนา เพราะเราถือว่าเป็นตัวตนของเรามานานแสนนานแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พิจารณาหลายด้านหลายทาง ให้พิจารณาแยกแยะออกไปเสียอย่าให้เป็นตัวคน จึงได้บัญญัติให้เป็นชื่อไว้แต่ละอย่างๆ เป็นสัดเป็นส่วน ต่างก็ทำหน้าที่ของมันตามเรื่องของมัน เมื่อแยกอย่างนี้มันก็จะไม่เป็นคน ไม่เป็นตัวเป็นตน จิตมันก็จะปล่อยวาง

เมื่อเราปฏิบัติกันจริงๆ จังๆ พิจารณาจนเกิดปัญญาเห็นความจริงดังที่อธิบายมาแล้วมันต้องวาง เมื่อปล่อยวางแล้วก็เรียกว่าเห็นธรรม เข้าถึงธรรมได้ธรรม เลยกลายเป็นธรรมขึ้นมา นี่แหละที่เรียกว่าเรียนปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ที่ต้องแท้ ถึงเล่าเรียนปริยัติจากตำราต่างๆ แล้วอย่าไปถือเอาเป็นของจริง อันนั้นเป็นแนวทางที่จะให้ถึงของจริง เข้าถึงของจริงในที่นี้คือ รู้จักหน้าที่ของมัน มันเป็นจริงอยู่อย่างนั้น แล้วมันจะปล่อยวางเอง

ปล่อยวางแล้วทีนี้มันจะได้อะไร ?

เราจะทราบว่าอันคำว่า ปล่อยวาง นั้นแหละมันยังมีเหลืออยู่ มันยังมีคำว่าไม่มีอะไร ผู้รู้ อันนี้มันปรากฏขึ้นมาเมื่อจิตสงบเท่านั้น ถ้าจิตไม่สงบคือยังไม่ปล่อยวางอุปาทาน ผู้รู้ อันนี้จะไม่ปรากฏ เพราะมันไปยึดเอาบัญญัติตำราไว้หมด เมื่อเราวางบัญญัติได้ สำรอกบัญญัติออกหมดแล้ว จิตสงบจะปรากฏแต่ ‘ผู้รู้’ อยู่อันเดียว แล้วจึงค่อยมาชำระผู้รู้นั้นอีก มันจะมีอะไรสำคัญเกิดมาที่ตรงนั้น ต้องชำระกันตรงนั้น

สรุป การศึกษาธรรมมะ เบื้องต้นท่านตั้งเป็นแนวไว้คือ ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ หากมาพิจารณาดูมันจะย้อนกลับตรงกันข้าม คือ ปฏิเวธ แล้วจึงมาบัญญัติ ปริยัติ ที่ตั้งเป็นปริยัติไว้เพื่ออะไร เพื่อจะรู้ของจริงตามเป็นจริง เช่น ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ เป็นต้น แล้วจะไม่เข้าไปยึดถือ ถ้ายังยึดอยู่ยังใช้ไม่ได้ ยังรู้ไม่ถูก หากนำมาพิจารณาจนกระทั่งเห็นลงเป็น สภาวะธรรม มันเป็นจริงเช่นนั้นแล้วจะปล่อยวางไม่ยึด มันก็ว่าง นั่นแลเรียกว่า ปฏิบัติ

เมื่อรู้จักว่าว่างมันก็ยังมี ผู้รู้ ว่าว่างเหลืออยู่ ยังยึดผู้ว่างอยู่ก็ต้องชำระว่า ผู้ว่าง นั้นอีกทีหนึ่ง การปฏิบัติต้องให้มันมีหลักอย่างนี้ ไม่ใช่ปฏิบัติอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าผิดๆ ถูกๆ แล้วแต่มันจะเป็นไปอย่างไร แล้วแต่ว่ามันจะถึงอะไร แบบนั้นมันเป็นการเสียเวลาเปล่า ถึงแม้ว่าภาวนาเป็นหลักแล้วหากจับหลักไม่ถูกหรือไม่มีหลักการภาวนาก็สามารถที่จะเสื่อมเร็วไม่ค่อยจะเจริญก้าวหน้า ถ้าหากปฏิบัติเข้าถึงธรรมของจริงแล้ว ธรรมทั้งหลายมันไปรวมกันได้ไม่ว่าพิจารณาอะไร เช่นพูดถึง ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ก็เข้าถึงธรรมได้เหมือนกัน พูดถึงเรื่องกรรม กรรมดี กรรมชั่ว กรรมไม่ดีไม่ชั่ว ก็เข้าถึงธรรมได้ พิจารณาเกิด-ดับ ก็เข้าถึงธรรมได้ ฯลฯ

ตกลงสิ่งทั้งปวงก็เลยเป็นธรรมทั้งหมด เมื่อเป็นธรรมแล้วก็หมดเรื่อง เพราะไม่ใช่อะไรทั้งหมด เรียกว่า ธรรม คือของว่างเปล่า ไม่มีสาระ เมื่อไม่มีสาระใจก็ไม่เข้าไปยึด ใจว่างหมดทุกสิ่ง และไม่เข้าไปยึดอะไรอีก

อธิบายเรื่องปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ มาในวันนี้ก็ยุเพียงเท่านี้ เอวํฯ

ทุกๆ คนเมื่อได้อ่านธรรมบรรยายนี้
ขอให้จดจำนำเอาไปใช้ นำไปพิจารณา
ปรับปรุงตนให้เข้ากับธรรม จนให้บรรลุ
เห็นแจ้งในใจด้วยตนเองจึงจะเป็นของตัว

พระราชนิโรธรังสี

ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.watkhaophrakru.com/webboard/index.php?topic=126.0

10



ตัวหนังสือ และหน้าตาหลวงพ่อทวด ต้องคมชัดเจน
มุมซ้ายบน จะมีเส้นทะแยงลากผ่าน ต้องคม,ชัด ที่มาของบล็อคนิยม พื้นเหรียญด้านหน้ามีเส้นรัศมีกระจายทั่วเหรียญ ซึ่งเกิดจากแรงปั๊มจากบล็อค





พื้นเหรียญด้านหลังมีเส้นรัศมีกระจายทั่วเหรียญ ชัดเจนกว่าด้านหน้า ซึ่งเกิดจากแรงปั๊มจากบล็อค เรียกว่าพลิกหลังดูก็แท้แล้ว



 
ที่มาของการสร้างเหรียญกระโดดบาตร โดยคุณแล่ม จันท์พิศาโล นิตยสารพระเครื่อง “ลานโพธิ์” วันหนึ่งขณะเดินทางไปทำธุระ ระหว่างทางก็ได้เห็นคนกำลังมุงดูอะไรบางอย่างอยู่ จึงได้ชะลอรถเพื่อดู ภาพที่เห็นคือ มีมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ คันหนึ่งได้ล้มคว่ำอยู่ข้างทาง มีผู้หญิงและผู้ชายนอนตายอยู่ใกล้ ๆ กัน และมีเด็กอายุประมาณ 2-3 ขวบ กำลังร้องไห้เรียกหาพ่อแม่ซึ่งนอนตายอยู่ พร้อมทั้งกอดศพพ่อและแม่ ภาพที่เห็นนั้นรู้สึกสลดใจยิ่งนัก จึงเกิดความคิดสร้างพระแจกให้คนทั่ว ๆ ไปได้มีพระเอาไว้ติดตัวคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ เผื่อคนจนจะได้มีพระไว้บูชาด้วย

        เป็นพิมพ์หลวงปู่ทวดนั่งสมาธิอยู่ในกรอบ พระทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 1.5 ซม. สูง 2.0 ซม. เป็นเนื้อทองแดงรมน้ำตาลเพียงอย่างเดียวไม่มีเนื้ออื่น
จำนวนสร้าง 20,000 เหรียญ โดยคุณช้าง ราชดำเนิน เป็นผู้นำไปฝากไว้ที่วัดสะแกด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อนำเหรียญที่สร้างทั้งหมดมาให้หลวงปู่ดู่ท่านอธิษฐาน พร้อมทั้งบอกจุดประสงค์ในการสร้างว่ามีเจตนาเพื่ออะไร พอหลวงพ่อดู่ท่านทราบ ท่านก็พูดออกมาดัง ๆ ว่า “ข้าขออนุโมทนากับแกด้วย” จึงฝากเหรียญทั้งหมดไว้ให้หลวงปู่ปลุกเสกเป็นเวลาหนึ่งไตรมาสตลอดพรรษาปี 2530

        เมื่อครบกำหนดออกพรรษาแล้ว ทางผู้สร้างและคุณช้างจึงกลับไปที่วัดสะแกอีกครั้ง พร้อมกับขอรับเหรียญหลวงปู่ทวดที่ฝากไว้กลับคืน โดยได้ให้คำมั่นสัญญากับหลวงปู่ว่า “จะเอาเหรียญนี้ไปแจกแก่ผู้ซื้อหนังสือลานโพธิ์ และผู้ทำคุณประโยชน์แก่สาธารณกุศลเท่านั้น โดยจะไม่นำไปจำหน่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างเด็ดขาด”
       
        หลวงปู่ดู่ ได้กล่าวอนุโมทนาและได้เมตตานั่งปรกอธิษฐานจิตให้อีกครั้งหนึ่งนานประมาณ 30 นาที โดยท่านได้บอกกับลูกศิษย์ที่ไปนั่งปฏิบัติธรรมบนกุฏิว่า “ ขอให้ทุกคนนั่งสมาธิตั้งจิตอธิษฐานมาที่กล่องเหรียญหลวงปู่ทวดนี้ด้วย ” ซึ่งทุกคนก็ได้ปฏิบัติตามที่หลวงพ่อสั่งไว้ ( มีผู้ที่นั่งสมาธิในวันนั้นบอกว่า เห็นแสงสว่างสุกปลั่งไสว เป็นแสงสีนวลบนกล่องเหรียญ )
        หลังจากที่หลวงปู่นั่งสมาธิอธิษฐาน จิตเสร็จแล้ว ท่านได้ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วทุกกล่องพระ ทางผู้สร้างได้แบ่งเหรียญใส่พานถวายท่าน 2 ถุง (2,000 เหรียญ) กราบเรียนท่านว่า “ขอให้รับไว้เพื่อแจกแก่ผู้ที่มากราบหลวงพ่อ” หลวงพ่อรับเหรียญแล้วก็แกะถุงพลาสติก หยิบเหรียญออกมาแจกแก่ทุกคนที่อยู่บนกุฏิในวันนั้น
       
        ในเวลานั้นผู้ สร้างได้มีโอกาสคุยกับลูกศิษย์ที่มีความนับถือหลวงปู่ดู่ด้วยกันหลายคน หนึ่งในลูกศิษย์นั้นเล่าว่า มีคนนำเหรียญรูปหลวงปู่ทวดมาให้หลวงพ่อดู่ปลุกเสก เหรียญรุ่นนั้นหลวงพ่อดู่ท่านเมตตาปลุกเสกอย่างเต็มที่ ลูกศิษย์ผู้นั้นกล่าวต่อว่า เดิมที่เหรียญนั้นอยู่ในกล่องกระดาษ และได้มีลูกศิษย์มาพบ เห็นว่าเหรียญนั้นเป็นเหรียญรูปหลวงปู่ทวด จึงนำเหรียญเหล่านั้นมาใส่ไว้ในบาตรพระแทน

        ในการปลุกเสกคราวหนึ่ง คนที่ศรัทธาหลวงปู่กลับไปหมดแล้ว ท่านว่างจึงได้ทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกเหรียญหลวงปู่ทวดตอนนั้นเป็นเวลาเย็น มากแล้ว ซึ่งมีเพียงตาแกละที่คอยเก็บกาน้ำชา และคอยทำความสะอาดอยู่บริเวณนั้น ตาแกละได้เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อดู่ท่านได้ปลุกเสกเหรียญทั้งหมดจนเหรียญตั้งขึ้นได้ทุกองค์แล้ว เหรียญทุกองค์ก็ได้ลอยขึ้นมาจากบาตร เมื่อตาแกละเห็นดังนั้นจึงนั่งลงกราบ แล้วหลวงพ่อดู่ก็ลืมตาขึ้นมามองทางตาแกละ วันนั้นหลวงพ่อท่านอารมณ์ดีเป็นพิเศษ ตาแกละก็เลยกล่าวกับหลวงพ่อว่า “เหรียญรุ่นนี้หลวงพ่อปลุกเสกจนเหรียญลอยเลยนะครับ” หลวงพ่อท่านเมตตาตอบว่า “คนสร้างเหรียญรุ่นนี้เขามีเจตนาดี อยากให้ผู้อื่นแคล้วคลาดปลอดภัยทำมาหากินเจริญ คนแบบนี้หาได้ยาก ด้วยเจตนาอันเป็นกุศลนี้ข้าเลยอนุโมทนาให้เขาเต็มที่ เหรียญที่ปลุกเสกนี้เมื่อนำไปใช้ก็จะเจริญร่ำรวย มีโชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตา สมกับเจตนาที่ตั้งไว้ ข้าเสกเหรียญนี้ไว้ในบาตรพระ ก็เพราะบาตรพระเป็นภาชนะที่ญาติโยมนำข้าวปลาอาหาร กล้วยสุกลูกไม้ มาให้ด้วยความศรัทธา บาตรพระนี้แหละแกเอ๋ย ดีเป็นที่สุดเลย” หลวงพ่อยังพูดต่อว่า “เหรียญหลวงปู่ทวด ที่ข้าปลุกเสกนี้ อีกหน่อยจะหายากจนแทบพลิกแผ่นดินหากันแหละแก”
        เมื่อผู้สร้างได้ฟัง เรื่องต่าง ๆ ถึงกับขนลุกขึ้นถึงหัวเลยทีเดียว คนที่เล่าก็ไม่รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง นี้คือที่มาของเหรียญหลวงปู่ทวดกระโดดบาตร อีกหลายปีผ่านไปก็เป็นอย่างที่หลวงพ่อดู่ได้กล่าวไว้ว่า เหรียญนี้มีพุทธคุณต่างๆ นาๆ ผู้ที่ใช้มักมีปาฏิหาริย์มาเล่าให้ฟังกันต่าง ๆ




ขอขอบพระคุณที่มาจาก... http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=1398.0

11
ธรรมะ / เรื่องจิตนี้...
« เมื่อ: 20 ก.พ. 2554, 10:28:51 »

               


 การปฏิบัติเรื่องจิตนี้...ความจริงจิตนี้ไม่เป็นอะไร มันเป็นประภัสสรของมันอยู่อย่างนั้น มันสงบอยู่แล้ว ที่จิตไม่สงบทุกวันนี้ เพราะจิตมันหลงอารมณ์ตัวจิตแท้ๆ นั้นไม่มีอะไรเป็นธรรมชาติอยู่เฉยๆเท่านั้น ที่สงบ ไม่สงบ ก็เป็นเพราะอารมณ์มาหลอกลวง จิตที่ไม่ได้ฝึกก็ไม่มีความฉลาด มันก็โง่อารมณ์ก็มาหลอกลวงไปให้เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ จิตของคนตามธรรมชาตินั้นไม่มีความดีใจ เสียใจ ที่มีความดีใจเสียใจนั้นไม่ใช่จิต แต่เป็นอารมณ์ที่มาหลอกลวง จิตก็หลงไปตามอารมณ์โดยไม่รู้ตัว แล้วก็เป็นสุขเป็นทุกข์ไปตามอารมณ์ เพราะยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ฉลาด แล้วเราก็นึกว่าจิตเราเป็นทุกข์นึกว่าจิตเราสบาย ความจริงมันหลงอารมณ์

พูดถึงจิตของเราแล้วมันมีความสงบอยู่เฉยๆ มีความสงบยิ่งเหมือนกับใบไม้ที่ไม่มีลมมาพัดก็อยู่เฉยๆ ถ้ามีลมมาพัด ก็กวัดแกว่ง เป็นเพราะลมมาพัด และก็เป็นเพราะอารมณ์ มันหลงอารมณ์ ถ้าจิตไม่หลงอารมณ์แล้วจิตก็ไม่กวัดแกว่ง ถ้ารู้เท่าอารมณ์แล้วมันก็เฉย เรียกว่าปกติของจิตเป็นอย่างนั้น ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อใหเห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุข สร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบ เรื่องแค่นี้เองที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีอยู่ เป็นอยู่นั้น มันเป็นสักแต่ว่า "อาศัย" เท่านั้น ถ้ารู้ได้เช่นนี้ ท่านว่า รู้เท่าตามสังขาร ทีนี้แม้จะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี ได้ก็เหมือนเสีย เสียก็เหมือนได้.... 

 

 
ขอขอบพระคุณที่มา : http://www.watnongpahpong.org

12



หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสูรกายที่ป่าช้าแม่อาง

อันชื่อเสียงกิตติคุณของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง เมื่อครั้งที่ท่านยังไม่ละสังขารขันธ์ ขจรขจายเลื่องลือกว้างไกล ไปในหมู่พุทธบริษัท ณ ที่ท่านจำพรรษา มีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้สักการะด้วยความเคารพศรัทธาท่าน เนืองแน่นทุกวัน แม้จะไม่ได้พบตัวท่าน ก็ขอได้กราบนมัสการกุฏิหลังน้อยที่ท่านพักผ่อนอยู่ภายใน ก็เกิดปีติปราโมทย์แล้ว เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ ผู้ใกล้ชิดที่สุดได้มาจากบันทึกสั้นๆ เป็นคำบอกเล่าของ เจ้าประเวศ ณ ลำปาง ซึ่งเป็นหลานของท่าน มีความว่า....

เวลานั้นเจ้าประเวศบวชเป็น สามเณร คอยรับใช้อุปัฏฐากหลวงพ่อเกษม อยู่ที่ป่าช้าแม่อาง ปฏิปทาของหลวงพ่อเกษม ท่านพอใจจำพรรษาในป่าช้ามาโดยตลอด เสนาสนะของท่านคือกระต๊อบหลังเล็กๆ ที่ญาติโยมปลูกสร้างถวาย ขณะที่เกิดเหตุนี้ สามเณรประเวศนอนอยู่กับพระหวันอีกที่หนึ่ง (พระหวันบวชหน้าไฟเพียง ๗ วัน เนื่องจากบุพการีเสียชีวิต แล้วนำศพมาเผาที่ป่าช้าแม่อาง ในวันนั้นพระหวันบวชแล้ว ก็ขออยู่ในป่าช้ากับหลวงพ่อเกษม)

เช้าวัน รุ่งขึ้น....สามเณรประเวศมาหาหลวงพ่อเกษมที่กระต๊อบกุฏิเพื่อปรนนิบัติท่าน เมื่อพบหน้ากันหลวงพ่อเกษม ถามสามเณรหลานด้วยความสงสัย

“เมื่อคืนนี้ มาที่นี่หรือ ? ใครบุกเข้ามาเมื่อคืนนี้ มาจับมือเรา”

“ผมไม่ได้ขี้นไปครับ ผมอยู่ข้างล่าง....” สามเณรเจ้าประเวศตอบตามความเป็นจริง

“ถ้าอย่างนั้น อสูรกายก็มาจับมือเรา....”

จากนั้นหลวงพ่อเกษมได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ให้สามเณรเจ้าประเวศฟังว่า...

เมื่อ คืนนี้เวลาประมาณตีหนึ่ง ขณะหลวงพ่อเกษมนั่งภาวนาอยู่ในกระต๊อบกุฏิ ท่านรู้สึกว่ามีมือใครคนหนึ่งเอื้อมมาจับข้อมือท่าน ซึ่งกำลังประสานฝ่ามือไว้บนหน้าตัก จับข้อมือไว้แล้วบีบเสียแน่น แม้จะมีผู้ล่วงเกินท่านขณะกำลังเจริญภาวนา หลวงพ่อเกษมก็มิได้สะดุ้งหวั่นไหว ท่านคงเจริญภาวนาต่อไป โดยท่านเล่าว่า

“จับ มือเราก็ให้จับ ภาวนาติ๊กๆ....” หมายถึงหลวงพ่อเกษมภาวนาไปเรื่อยๆ ครู่หนึ่งมือลึกลับที่มาจับข้อมือของท่าน ก็ถอนออกไป แต่ยังไม่ยอมผละจากไปเลย กลับมาบีบนวดที่เอวของท่านแทน จนท่านอดรนทนไม่ไหวเอื้อมมือมาจับแขนนั้น เพื่อห้ามมิให้รบกวนท่านอีก สัมผัสที่หลวงพ่อเกษมรับรู้ ก็คือแขนข้างนั้นรุงรังไปด้วยขนหยาบๆ แล้วแขนข้างนั้นก็อันตรธานหายไป แต่มีเสียงกระซิบที่หูท่านว่า “อยู่ดีๆ เน้อพ่อเน้อ....”

ต่อจากนั้นก็ไม่มีอะไรมารบกวนท่านอีกตลอดคืน ตราบได้อรุณของวันใหม่

เจ้า ประเวศเล่าว่าตอนเช้าที่มาหาหลวงพ่อเกษม และถูกท่านซักถามดังกล่าวข้างต้น เจ้าประเวศยังจับข้อมือของหลวงพ่อเกษมมาดู เห็นรอยแดงเป็นจ้ำตรงข้อมือท่านชัดเจน

นี่คือประสบการณ์เกี่ยวกับ วิญญาณที่หลวงพ่อเกษม เขมโก เล่าไว้เพียงเรื่องเดียวในอัตประวัติของท่าน อาจจะมีวิญญาณที่ทุกข์ทรมาน มาขอความเมตตาจากพระอริยะสงฆ์เช่นท่านอีกก็ได้ เพียงแต่ไม่เป็นที่เปิดเผยเท่านั้น....




ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.sookjai.com/index.php?topic=2374.0

13



"พระครูประกาศิตธรรมคุณ" หรือ "หลวงพ่อเพชร อินทโชติ" อดีตเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเจ้าอาวาสรูปแรก ถือเป็นเพชรเม็ดงามแห่งวัดวชิรประ ดิษฐ์ บ้านเฉงอะ ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจน ดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า เพชร แซ่ตั้น (ภายหลังมีพระราชบัญญัตินามสกุล ท่านใช้นามสกุลว่า ยี่ขาว) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปี ฉลู พุทธศักราช 2395 (ในรัช กาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ณ บ้านประตูไชยเหนือ ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรม ราช โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายขาวและนางกิม ล้วน แซ่ตั้น

ครั้นอายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้นำท่านไปฝากศึกษาเล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของท่านพระครูการาม (จู) วัดมเหยงค์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จนอายุได้ 13 ปี จึงลาอาจารย์ออกจากวัดมเหยงค์ ไปอาศัยอยู่ที่บ้านพระศิริธรรมบริรักษ์ (ขั้น) เจ้าเมืองนคร ศรีธรรมราช

ในขณะที่อาศัยอยู่กับพระสิริธรรมบริรักษ์ ท่านได้ช่วยกิจการหลายอย่าง แต่ภารกิจที่สำคัญ คือ ครั้งหนึ่งเกิดจีนฮ่อยึดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองของไทยตอนใต้ ท่านเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ทราบข่าว จึงได้ส่งท่านพร้อมพรรคพวกจำนวนหนึ่งไปปราบจีนฮ่อที่มายึดเมืองไทรบุรี จนกระทั่งได้รับชัยชนะ จีนฮ่อแตกหนีไป

กระทั่งอายุได้ 30 ปี โยมบิดา-มารดา ถึงแก่กรรม หลังจากที่ท่านออกจากบ้านพระศิริธรรมบริรักษ์แล้ว ได้ประกอบอาชีพส่วนตัวอยู่ที่บ้านของตน ในระหว่างนี้เองท่านได้ถือโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนกับท่านอาจารย์ ในด้านการอยู่ยงคงกระพันและอื่นๆ

ครั้นเมื่ออายุท่านได้ 42 ปี เกิดความเบื่อหน่ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้าน ตัดสินใจออกเดินทางจากบ้าน เพื่อไปเยี่ยมน้องชาย ซึ่งประกอบอาชีพอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เดินทางมาได้เพียงแค่ถึงบ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ ธานี ก็เกิดเจ็บป่วยลงอย่างกะทันหัน ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ได้เข้าไปขอพักอาศัยและรักษาตัวอยู่กับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทรจนกระทั่งหายป่วยเป็นปกติดี

ท่านก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้เปลี่ยนใจขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่ วัดกลาง บ้านดอน โดยมี พระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าอาวาสวัดกลาง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกากล่อม วัดโพธิ์ไทรงาม (หรือวัดโพธาวาส ในปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร บ้านดอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อินทโชติ ซึ่งแปลว่า ผู้รุ่งเรืองดุจพระอินทร์

ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่กับพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร เป็นเวลาถึง 2 พรรษา

พ.ศ.2442 ชาวบ้านเฉงอะเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติ ได้พากันนิมนต์หลวงพ่อเพชรไปอยู่จำพรรษาที่วัดวชิรประดิษฐ์ (ขณะนั้นเรียกว่า วัดดอนตะเคียน) ท่านหลวงพ่อเพชรได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้วัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสและนิยมยกย่องของชาวบ้านเป็นอันมาก

พ.ศ.2448 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีฐานะเป็นวัดโดยถูกต้องตาม กฎหมาย โดยมีชื่อว่า "วัดวชิรประดิษฐ์ ซึ่งหมายความว่า วัดที่ท่านหลวงพ่อเพชรเป็นผู้สร้างขึ้น" ท่านได้ดำเนินการจัดการขอวิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา และท่านยังได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ และอุโบสถก็ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยในปีเดียวกันนี้

พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัช ฌาย์และเจ้าคณะแขวงกาญจนดิษฐ์

พ.ศ.2461 หลวงพ่อเพชรได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูประกาศิตธรรมคุณ

หลวงพ่อเพชร เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรและพรหมวิหารธรรม มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาชอบให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ท่านเป็นคนพูดจริงทำจริง พูดเช่นใดก็มักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ



 ด้านศาสนบุคคล
ในสมัยหลวงพ่อเพชร มีชีวิตอยู่ ท่านอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ให้ดำรงตนเป็นคนดีของสังคม ฝ่ายบรรพชิต เช่น พระครูดิตถารามคณาศัย (ชม คุณาราโม) อดีตเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์และเจ้าอาวาสวัดท่าไทร, พระอุปัชฌาย์พุ่ม ฉนโท อดีตเจ้าคณะตำบลกรูดและอดีตเจ้าอาวาสวัดปากคู พระครูกัลยาณานุวัต อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ (วัดบ้านเฉงอะ) พระครูพินิต เขมิเขต (สะอิ้ง จนทาโภ) เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ (กิตติมศักดิ์) และเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว (กิตติมศักดิ์) ฝ่ายคฤหัสถ์ เช่น คุณครูกล่ำ พัฑสุนทร, ครูน้อม แดงสุภา, นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตนักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ (รุ่น ๑ ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดสุราษฎร์ธานีหลายสมัย เป็นต้น โดยเฉพาะในการพัฒนาด้านการศึกษาของชุมชนตำบลเฉงอะ (ตะเคียนทองในปัจจุบัน)

  ด้านศาสนสถาน (วัตถุ)
เป็นที่ทราบกันดีกว่า หลวงพ่อเพชร เป็นพระมหาเถระที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ท่านได้รวบรวมจตุปัจจัยที่ญาติโยมผู้มีศรัทธาถวายท่าน จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญเงินจำนวน ๗๗ องค์ (รุ่น ๑ ) เพื่อให้ไว้เป็นที่ระลึกและการบูชาคุณของหลวงพ่อเพชรแก่คณะศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท ซึ่งในปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายากมากที่สุดเหรียญหนึ่งในวงการพระเครื่องของประเทศไทย เป็นที่รักและหวงแหนของผู้มีไว้ครอบครองเพื่อสักการะบูชา ซึ่งหลวงพ่อเพชรหัวใจพระคาถาที่แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม คือ น ฬ อ ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ในหลักล้านต้นๆ (เฉพาะรุ่น ๑ ) มีผู้ประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่เสมอ ซึ่งประสบเหตุถึงแก่ชีวิตแคล้วคลาดปลอดภัยอยู่เสมอมิได้ขาด เป็นที่กล่าวขวัญของมวลมหาชนในพลังอนุภาพแห่งพุทธคุณ หากใครมีไว้ครอบครอง นับว่าเป็นผู้มีบุญอย่างใหญ่หลวงยิ่งนัก
  ด้านศาสนพิธี
 หลวงพ่อเพชรได้วางรากฐานในเรื่องของศาสนพิธี ซึ่งเป็นพิธีกรรมของชาวพุทธ ได้ถือปฏิบัติสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้ ดังเช่น พิธีกรรมในเดือนสิบ รับ-ส่ง ตายาย เป็นต้น ที่สำคัญคือ ท่านเป็นพระมหาเถระที่รับเอาภาระธุรกิจการคณะสงฆ์ของวัด ในฐานะเจ้าอาวาสและกิจการคณะสงฆ์ ในฐานะองค์พระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะแขวงหรือเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นใน
  ด้านการปกครอง
 คือ การใช้หลักสามัคคีธรรม และบทบัญญัติแห่งองค์พระธรรมวินัยของศาสนา คือ การข่ม บุคคลที่ทำผิด ยกย่องในบุคคลที่บำเพ็ญคุณงามความดี
  ด้านการศึกษา
 การส่งเสริมให้บุคคลได้รับการศึกษาเล่าเรียน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ในระยะแรก หลวงพ่อเพชรได้ทำหน้าที่ครู ผู้อบรมสั่งสอนผู้ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ในเรื่องชนชั้น วรรณะ หรือสถานภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล
  ด้านการศึกษาสงเคราะห์
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ด้วยการส่งเสริมให้มีโรงเรียนประชาบาลบ้านเฉงอะ ซึ่งต่อมาคือ โรงเรียนวัดวชิรประดิษฐ์ในปัจจุบัน เกิดขึ้นในชุมชน โดยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบและในสมัยรัฐบาล นายพันเอกพหลพล พยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีและในปีเดียวกันนี้เอง รัฐบาลกลางของสยามประเทศประกาศให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นในส่วนกลาง โดยมีท่านศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ รัฐบุรุษอาวุโสคนแรกของสยามประเทศ
  ด้านเผยแผ่
 หลวงพ่อเพชรเป็นพระมหาเถระ ที่เน้นย้ำเอาจริงเอาจังในด้านเทศนาเผยแผ่ แนะนำ สั่งสอนประชาชนทั่วไปให้ตั้งมั่นในคุณงามความดี จนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไปทั้งใกล้ไกล
  ด้านสาธารณูปการ
หลวงพ่อเพชรเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนบ้านเฉงอะ และอำเภอกาญจนดิษฐ์ได้ชักนำชาวบ้านสร้างถาวรวัตถุเสนาสนะที่มั่นคงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป เช่น กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ อุโบสถ เป็นต้น
  ด้านสาธารณสงเคราะห์
ท่านเป็นผู้นำชาวบ้าน ในการสร้างถนนหนทาง ขุดลอกคูคลอง โดยท่านจะต้องไปนั่งเป็นประธาน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินงานร่วมกับราษฎรและราชการ จนเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งหลาย ทั้งยังเป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายในการช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หายไป เป็นหมอแผนโบราณ เป็นนักโหราศาสตร์ เป็นต้น เหล่านี้คือ ความเป็นที่พึ่งของจิตวิญญาณทั่วไปของประชาชน



ในช่วงบั้นปลายชีวิต ด้วยเหตุที่ท่านชราภาพลงและมีอาการอาพาธเป็นประจำ ต่อมา หลวงพ่อเพชร ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2480 สิริอายุได้ 85 พรรษา 42

คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดให้มีการบำเพ็ญ กุศลศพเป็นเวลา 3 วัน ก่อนเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลตามประเพณีและได้จัดให้มีการสวดพระพุทธมนต์ทุกวันธรรมสวนะ จากนั้นได้จัดให้มีการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2481 ณ วัดวชิรประ ดิษฐ์





ขอขอบพระคุณที่มา...ข่าวสดออนไลน์
                        ...http://www.teochewsurat.com/re_include/infor_view?infor_id=51


.

14
วัดเขาแก้วตั้งอยู่...บนเขาแก้ว อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฏร์ธานี

ชมภาพบรรยากาศ...ภายในวัด


ซุ้มประตูทางเข้าวัดเขาแก้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.2518


พระอุโบสถ



บันไดทางขึ้นลง...สู่ยอดเขาแก้ว


ผู้พิทักษ์บนยอดเขาแก้ว



พระวิหารบนเขาแก้ว




พระพุทธบาทจำลอง



วิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด


วิหารพระพุทธรูปเก่าแก่


หอระฆัง


------------------------------------------------------------------------------------------



15
กฎแห่งกรรม / วิบากกรรมของแม่ชี...
« เมื่อ: 27 ก.ย. 2553, 01:40:07 »
...เป็นเรื่องวิบากกรรมของแม่ชีสมบุญ รัฐถาวร อายุ ๖๓ ปี อยู่ที่ ๙๗/๒ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น


แม่ชีสมบุญเล่าเรื่องกฎแห่งกรรม หรือกรรมตามสนองตัวของแม่ชีเองให้ฟัง เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ และ อีกอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการสารภาพบาปต่อเจ้ากรรมนายเวร เป็นการไถ่บาปที่ตนเองได้หลงไปกระทำกรรม ด้วยคิดไม่ถึงว่า บาปกรรมจะหนักหนามาจนทุกวันนี้

ในสมัยที่ยังไม่ได้ออกมาบวชเป็นชีนั้น ยังครองคู่อยู่กินฉันสามีภรรยา สามีรับราชการทหาร บ้านพักก็อยู่บ้าน พักของทางราชการ

ตอนนั้นอายุประมาณ ๔๐ กว่าปี ได้เลี้ยงสุนัขพลัดหลงเอาไว้ตัวหนึ่ง เพราะความเมตตาและสงสารมัน เป็นสุนัขตัวเมีย พอมันโตเป็นสาวก็ได้ผสมพันธุ์ ปีแรกนั้นก็ออกลูกมา ๗ ตัว พอปีต่อมาก็ออกลูกมาอีก ๙ ตัว พอลูกๆของมันโตขึ้นมา ก็ได้แจกจ่ายให้ผู้คนเขาเอาไปช่วยเลี้ยง โดยแถมเงินเป็นค่าเลี้ยงดูให้เขาอีกด้วย

ปีต่อมาแม่ก็คิดว่า มันคงจะผสมพันธุ์และออกลูกเป็นภาระอีกเป็นแน่ เลยปรึกษากันว่า เราควรไปตามหมอ สัตว์มาทำหมัน ให้กับสุนัขของเราเสียที

ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย แม่ก็ได้ไปตามหมอสัตว์มาเพื่อทำหมัน พอคุณหมอมาถึง ก็ได้จัดการฉีดยาสลบให้ กับสุนัขตัวนั้น สลบไปได้สักพัก หมอก็ได้ทำการผ่าท้อง

ในขณะที่คุณหมอผ่าท้องให้กับสุนัขตัวนั้นอยู่ แม่ก็ได้ไปยืนดูด้วย หมอก็ได้อธิบายว่า
"ดูนะหมอจะตัดท่อรังไข่ของมันออก หากตัดท่อรังไข่นี้แล้ว สุนัขตัวนี้ก็จะไม่สามารถมีลูกได้อีกเลย"

ความคิดของแม่ก็คิดว่า มันคงจะไม่บาปหรอก เพราะเราไม่ได้ฆ่ามันนี่

หลังจากที่หมอได้ตัดท่อรังไข่ของสุนัขตัวนั้นแล้ว ก็เย็บแผลจนเสร็จ แล้วรับเงินค่าทำหมัน จากนั้นคุณหมอ ก็ลาจากไป

แม่ได้มายืนดูสุนัขตัวนั้น สักพักใหญ่ๆมันถึงได้ฟื้น กระดุกกระดิกตัว สังเกตดูมันคงอยากจะรีบลุกขึ้นยืน เดิน เหมือนอย่างที่มันเคยทำมา แต่เพราะฤทธิ์ยาสลบ มันจึงลุกไม่ขึ้น แต่กระนั้นขาหลังของมันทั้งสองข้าง ก็ยังแข็งแรงอยู่ มันจึงพยายามเอาขาหลังตะกุยตะกายพื้นดิน แล้วดันไปข้างหน้า

พอขาหลังของมันดันไปข้างหน้า หัวของมันก็ไถตามพื้นดินไปทั่ว ทีนี้แม่ก็ยืนดูมัน สาเหตุที่ดูเพราะเมื่อคืนนี้ ฝนตก มีน้ำขังพื้นดินอยู่แถวๆนั้น กลัวจมูกของมันจะสำลักน้ำ ดูอยู่ไม่นานมันก็ฟื้น ลุกขึ้นเดินได้ทั้งสี่ขา พอ เห็นว่ามันปลอดภัยดีแล้ว แม่ก็เลิกดูมัน

ในขณะที่แม่ครองคู่อยู่กับสามีนั้น ไปจำศีลที่วัดทุกวันพระไม่เคยขาดเลย ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๒ แม่เลยขอ พ่อบ้านออกไปบวชชี สาเหตุเพราะจิตมันเชื่อเรื่องของบาปบุญ และน้อมใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ไปบวชกับหลวงพ่อสมศรี สิริปัญโณ ที่วัดเขาถ้ำพระ บ้านห้วยหินฝน อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ บวชอยู่ ๙ วันก็สึกออกมา (ขอพ่อบ้านไปบวชได้ ๙ วัน) แล้วก็กลับมาทำหน้าที่เป็นแม่บ้านอยู่กับครอบครัว เพราะมี ลูก ๓ คนตอนนั้นเขายังเล็กอยู่

ปีพ.ศ. ๒๕๓๖ ขอสามีไปบวชอีกครั้ง เพราะติดใจในรสของพระธรรม พ่อบ้านก็ไม่ให้ไปเพราะเหตุผลว่า ลูก ยังเล็กอยู่ และแม่ก็ขาหักเพราะตกบันไดบ้าน(หมายถึงแม่ของแม่ชี) ต้องรับแม่มาเลี้ยงดูด้วย

คราวต่อมาก็ขอผู้เป็นพ่อบ้านเพื่อจะไปบวชอีก ขอทีไรพ่อบ้านก็ไม่ให้ไปสักที เลยรบเร้าขออยู่เรื่อยๆ ครั้งหลัง สุด...พ่อบ้านคงจะคิดว่า หักใจไปไม่ได้แน่ เพราะแม่ก็ขาหัก ช่วยตัวเองไม่ได้ ลูกๆก็ยังเล็กอยู่ พ่อบ้านเลยทำ เสียงอ่อน ตอนนั้นก็คิดไปเองว่า พ่อบ้านเขาอนุญาตเราแล้ว ถ้าไปต่อหน้าเขาคงจะไม่อนุญาตแน่ หากเรา หลบหนีไปคนเดียว ก็ห่วงแม่ของแม่ชีที่ขาหัก เลยคิดวางแผนว่า จะต้องเอาแม่ไปอยู่ด้วย

จากนั้นก็ได้แอบไปติดต่อรถ ให้มาขนของหนี ตอนที่พ่อบ้านออกไปซื้อกับข้าวที่ตลาด เหมารถให้ไปส่งที่วัด ซำถ้ำยาว บ้านดงเย็น อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น บวชเป็นชีครั้งที่ ๒ ที่วัดแห่งนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๖

จนมาถึงปี พ.ศ.๒๕๔๐ กรรมและวิบากที่เคยทำเอาไว้ในอดีตก็ตามมาทัน วันหนึ่งไปขุดดินเพื่อปลูกต้นไม้ งัดก้อนหินก็ไม่ได้งัดแรงอะไร แต่มันรู้สึกเสียวแปล๊บตรงท้องน้อยใกล้ขาหนีบข้างขวา พอวันสองวันก็เกิดขา ขวาแข็งเดินก้าวขาไม่ได้ จนต้องเดินลากขา ต่อมาก็เริ่มเป็นตกขาว เพื่อนๆแนะนำให้ไปหาหมอ หมอเลยขอ ตรวจดูภายใน ตอนนั้นรู้สึกอายหมอมากเลย หมดค่ายาไป ๓,๐๐๐ บาท พอได้ยามากิน อาการเลยค่อยดี ขึ้นบ้าง

เลยคิดอยากจะไปแสวงหาครูอาจารย์ที่วัดกำแพง ฝั่งธนบุรี ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับแม่ชีพิมพา อุ้มปรีชา ประมาณไม่ถึงอาทิตย์ก็เกิดแพ้กลิ่นยากันยุง รู้สึกเวียนศีรษะอย่างแรง

พอดีคุณวันเพ็ญและสามีชื่อนิรันดร์ ผลตระกูล ซึ่งเป็นญาติธรรมบ้านอยู่ใกล้วัด ได้เชิญชวนให้ไปพักอยู่ที่ บ้าน แม่ชีเลยตกลงไปพัก ภายในหนึ่งอาทิตย์ที่ได้ย้ายมาอยู่ ก็เกิดมีอาการเวียนศีรษะมากจนลุกไม่ขึ้น ได้ แต่นอนตะแคงอยู่ข้างเดียว จะพลิกตัวก็ไม่ได้ จะหันหน้าหันหลังก็ไม่ได้ มันรู้สึกวิงเวียนหัว บ้านนี้หมุนไป หมดเลย คงเหมือนสุนัขที่โดนยาสลบ แล้วฟื้นขึ้นมาใหม่ๆ อย่างไรก็อย่างนั้น

เพื่อนบ้านข้างเคียงคือ คุณถาดทิพย์ ผูกศรี และเพื่อนๆของเขาหลายคน ต่างก็พากันมาดูอาการป่วยของ แม่ชี เขามียาอะไรก็เอามาให้แม่ชีกัน แต่อาการป่วยของแม่ชีก็ไม่ดีขึ้นมาเลย พวกเขาเลยถามแม่ชีว่า "จะเอา อย่างไร จะไปโรงพยาบาลศิริราชไหม"

ตอนนั้นแม่ชีก็คิดถึงแต่บ้าน อยากจะกลับมาป่วยอยู่ที่บ้าน ไม่อยากให้คนอื่นเขาเป็นภาระ เลยบอกให้โทร.มาหาน้องสะใภ้ และพ่อบ้านที่ขอนแก่น พวกเขาก็เลยบอกว่า ให้เหมารถตู้กลับมาขอนแก่น

คุณวันเพ็ญเลยออกไปเหมารถตู้มาให้ พอแม่ชีรู้ว่ารถมาจอดรอแล้ว ตอนนั้นแม่ชีนอนอยู่บนบ้านชั้น ๒ ก็ เตรียมตัวจะลุกขึ้นเพื่อลงมาหารถ แต่ก็ลุกไม่ขึ้น พวกคุณวันเพ็ญและคุณถาดทิพย์ ตลอดจนคุณนิรันดร์ ต่างก็พากันมาห้อมล้อม พอเห็นแม่ชีลุกไม่ขึ้นต่างก็จะมาอุ้มเอาแม่ชีลงไปที่รถ แต่แม่ชีก็ส่ายหัว ใจหนึ่งก็ อยากจะให้เขาช่วยเหมือนกัน แต่ลึกๆมันก็เกรงใจเขา

ตอนนั้นเวียนหัวจนลืมตาไม่ขึ้น เลยไถตัวไปเอาขาตะกายออกมาจากห้อง มาตามพื้นบ้านเหมือนสุนัขตัวนั้น ตอนที่มันโดนยาสลบแล้วฟื้นมาใหม่ๆ เอาขาตะกายดินดันไปข้างหน้า

แม่ชีนอนตะแคงเอาขายันพื้นบ้าน ไถตัวจนมาถึงบันไดบ้าน พวกเขาคงจะแปลกใจในการกระทำของแม่ชี ในคราวนั้น แม่ชีนี้อายแสนอาย แต่พอถึงบันไดบ้านแล้ว กลับลุกขึ้นยืนและเดินได้ ราวกับว่าแม่ชีไม่เคยเป็น อะไรมาก่อนเลย

พอแม่ชีเดินมาถึงรถตู้ ก็ล้มตัวลงนอน แล้วก็รู้สึก วิงเวียนศีรษะเหมือนเดิม จากนั้นรถตู้พากลับมาถึงขอน แก่น พวกญาติๆของแม่ชีเลยพาไปหาหมอ ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น รักษาเยียวยาอยู่หนึ่งคืน อาการก็ ค่อยยังชั่วขึ้น

ปัจจุบันนี้แม่ชีจำพรรษาอยู่ที่วัดมรรคสำราญ บ้านดอนย่านาง ต้องเที่ยวเข้าออกระหว่างวัดกับบ้านอยู่เสมอ เพราะหาสมุนไพรมาปรุงยารักษา เพื่อชดใช้โรคกรรมและวิบากที่เคยทำมาแต่กาลก่อน....



ขอขอบพระคุณที่่มา...เทพบุตร

16
กฎแห่งกรรม / พบ...นายยมบาล
« เมื่อ: 27 ก.ย. 2553, 01:17:09 »
ในปีนั้นในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ป่ากรุงชิงจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระธุดงค์ ชื่อหลวงพ่อธรรมงาม เล่าเรื่องให้ฟังว่า……


“ พระพุทธศาสนา เป็นบ่อเกิดแห่งมหาสมบัติสารพัดอย่าง ในไตรภพ แดนมนุษย์ เป็นสถานที่สถิตย์แห่งศาสนธรรมอันล้ำค่า"

ผู้ประสงค์สมบัติจากศาสนธรรมจึงไม่ควรปล่อยโอกาสที่มีอยู่ให้ผ้านพ้นไป จะเสียใจในภายหลัง เพราะเกิดมาเป็นมนุษย์ที่บริสุทธิ์เต็มภูมิอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี้ มิได้เป็นของหาได้อย่างง่ายดาย

ในทางธรรมท่านกล่าวไว้ว่า “ ความเป็นมนุษย์เป็นของหายาก “


ผู้ไม่มีภูมิควรแก่ความเป็นมนุษย์ แต่จะโผล่มาผุดมาเกิดเป็นมนุษย์เอาเลยนั้น ย่อมผิดวิสัย เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน แม้ฝืนมาเกิดก็เป็นทำนองสัตว์นรกตนหนึ่ง ที่ยังไม่พ้นโทษ แต่ขโมยเกิดเป็นมนุษย์ และมาบวชเป็นสามเณรในพุทธศาสนา พำนักอาศัยอยู่ในวัด

ในปีพรรษาที่พระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามได้ธุดงค์มาจำพรรษาในทางภาคใต้ โดยเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราชนิมนต์ลงมาเปิดสำนักพระ
กรรมฐานที่ถ้ำเขาเหล็ก ตำบลนบพิตำ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช….


ในปีนั้น คืนวันหนึ่ง หลวงพ่อธรรมงาม ผู้ทรงธุดงควัตรและเป็นที่เคารพนับถือของชาวปักษ์ใต้ทุกชนชั้นเป็นอันมาก ได้นั่งสมาธินิมิตเห็นว่า มีนายยมบาลรูปร่างใหญ่และสูงเสมอกุฏิ ลักษณะท่าทางน่ากลัวมาก เข้ามาหาหลวงพ่อธรรมงามแล้วถามหาตัวโยมผู้ชายชื่อว่า นายสมาน ผู้มีกรรมเบาบางแล้วจวนจะพ้นโทษจากนรกภูมิ เธอได้รับความผ่อนผันจากการควบคุมเช่นเดียวกับนักโทษในเมืองมนุษย์ ที่จวนจะพ้นโทษได้รับการผ่อนผันพอประมาณฉะนั้น แต่พอได้โอกาสมีจังหวะดี ก็คิดเป็นขโมยสองชั้น กล่าวคือ เมื่อชาติก่อนเป็นมนุษย์เธอก็เคยขโมยเขาเก่งจนถึงต้องตกนรกเพราะกรรมที่ทำนั้น ครั้นพอไปอยู่ในนรก พอมีโอกาสจากการผ่อนผัน เธอก็ขโมยหนีจากนรกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ทราบว่าได้หลบมาบวชเป็นเณร อยู่ในเขตวัดถ้ำเขาเหล็กแห่งนี้ใช่ไหม และเณรสมานอยู่ที่นี่ มีหรือเปล่า ? …

ฝ่ายพระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามก็แปลกใจ และบอกด้วยความจริงว่า มีสามเณรชื่อดังกล่าวมาบวช และอยู่ในวัดแห่งนี้จริง แต่ท่านจะมาเที่ยวตามหาเธอไปทำไม เวลานี้สามเณรเธอกำลังบวชประพฤติศีลธรรมอยู่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ควรจะให้อภัยเธอบ้างมิได้หรือ

นายยมบาลบอกว่า “ไม่ได้ท่าน” จะต้องเอาตัวสามเณรกลับไปนรก เพราะยังไม่พ้นโทษ เธอต้องกลับไปเสวยกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่สามเณรสร้างไว้เสียก่อน เมื่อพ้นจากโทษนั้นแล้วจะมาบวชอีก หรือจะไปที่ไหนทางนรกมิได้สนใจเกี่ยวข้อง แต่เวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำตัวเธอกลับไปนรก

ทางฝ่ายพระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามก็พูดย้ำขอความผ่อนผันอีกว่า เวลานี้เณรก็กำลังบวชปฏิบัติบำเพ็ญด้วยความตั้งอกตั้งใจ ทั้งไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่า แต่ก่อนตนได้เคยทำอะไรไม่ดีไว้บ้างจึงน่าสงสารและเห็นใจอย่างยิ่ง ไม่อยากให้เธอต้องพลัดพรากจากเพศเณรอันเป็นเพศที่เย็นตาเย็นใจเลื่อมใสของมวลมนุษย์ผู้รู้จักบุญบาปอยู่บ้าง และเธอก็เป็นเด็กที่มีความเมตตาปรานี้เพราะก่อนหน้าที่เณรจะมาอยู่วัดนี้ เณรเคยอยู่ในวัดที่มีสมภารรูปหนึ่งอายุพรรษามากแล้ว ทราบว่าเป็นคนมาจากถิ่นอื่น เมื่อวัดนั้นว่างตำแหน่งเจ้าอาวาสลง ท่านสมภารรูปนั้นจึงมาอยู่รับตำแหน่งนั้น แล้วอยู่จำพรรษาในวัดนั้นเรื่อยมา แม้ว่าท่านจะไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมที่เข้าถึงธรรม และมิใช่ธรรมกถึกผู้ปราดเปรื่องในธรรมแต่ประการใดก็ตาม ก็ยังเป็นที่เคารถนับถือของผู้คนในถิ่นนั้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากว่าท่านเป็นคนพูดเก่ง สังคมเก่ง เข้ากันได้ดีกับคนทุกชั้น และประการสำคัญท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อรูปหนึ่งในถิ่นนครปฐมนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าตะกรุดและผ้ายันต์ของท่านมีชื่อเสียงในทางเมตตามหานิยม ! วัดของท่านน่าอยู่ มีกุฏิหลายหลังปลูกไว้เป็นระเบียบสวยงามทันสมัยลานวัดมีทรายขาวสะอาดตา กลางวันเย็นสบายด้วยร่มไม้ที่ปลูกไว้เป็นหย่อม ๆ ชวนนั่งเล่น

ในเช้าวันหนึ่ง วันนั้นไฟฟ้าดับ สามเณรสมานลูกศิษย์องค์น้อย อายุ ๑๒ ขวบ ของท่านต้องลงไปต้มน้ำที่โรงเตาข้างกุฏิ ขณะสมภารกำลังง่วนอยู่กับอะไรบนกุฏิชั้นสอง

“ อ้อ มาใหม่อีกตัวแล้ว ออกมาซิฉันจะต้มน้ำ “ เสียงใส ๆ ของสามเณรสมานนั้นฟังดูยังไร้เดียงสานัก ขณะเธอค่อย ๆ จับลูกแมวตัวหนึ่งออกมาจากเตา เพื่อจัดแจงก่อไฟต้มน้ำถวายพระอาจารย์

“แกยังไม่ได้กินข้าวละซิเช้านี้ แย่จังปลาทูหมดเสียแล้ว เพื่อนของแกตัวหนึ่งอยู่ข้างบนนั่นแน่ะ เดี๋ยวจะพาไปให้อยู่ด้วยกัน “ เธอพูดกับลูกแมวตัวนั้นราวกับว่ามันรู้เรื่อง ขณะมันคลอเคลียอยู่ใกล้ ๆ อย่างประจบ…

ในขณะที่สามเณรน้อยนั่งคอยน้ำเดือดอยู่หน้าเตา พลางลูบหัวลูบตัวมันเล่นด้วยความเมตตาปรานีนั้นเอง ได้มีก้อนดำ ๆ มากองอยู่กับพื้นซีเมนต์ใกล้ ๆ กับโรงเตา พร้อมกับเสียงหนึ่งที่จำได้ว่าเป็นเสียงของท่านสมภารดังไล่หลังลงมาด้วยว่า “ สัตว์ขี้ไม่เลือกที่ “

“ โธ่ อาจารย์ ลูกแมวผม “ สามเณรสมานร้องขึ้นอย่างตกใจในทันทีที่เหลือบไปเห็น พร้อมกับลุกถลาขึ้นไปยังลูกแมวตัวนั้น ดูเหมือนว่าเธอลืมกาน้ำร้อนบนเตาไฟ และลูกแมวตัวใหม่ไปชั่วขณะหนึ่ง เธอค่อย ๆอุ้มประคองมันขึ้นมาจากพื้นอย่างเบามือที่สุดด้วยเกรงว่ามือน้อย ๆ ของเธอจะทำให้มันเจ็บปวดมากไปกว่านั้น แมวมันชักกระตุกอยู่ในมือของเธอครู่เดียวก็แน่นิ่งไป

“ โธ่ “ เสียงของเณรเธอหลุดลอดออกมาเพียงคำเดียว แค่นั้น ขณะเธอหันไปมองหน้าต่างห้องของพระอาจารย์ด้วยสายตาที่งงงันและมีน้ำตาคลอเบ้า

ด้วยเหตุนี้รู้สึกว่ามันมีความหมายประจักษ์ชัดในวันนั้นเองว่า

“ อันความเมตตาปรานีนั้น มันมิได้เจริญงอกงามขึ้นตามวัยและสังขารของมนุษย์ที่นับวันยิ่งแก่หง่อม หากแต่มันจะกลับเหือดหายไปจากใจจนแทบไม่เหลือ เมื่อเรา ๆท่าน ๆ ไม่ใส่ใจในการเจริญเมตตาภาวนา “

ในเวลาต่อมา ณ วัดสำนักแห่งนี้ ซึ่งอยู่ตรงทางแยกเข้าป่าชัฎอันเป็นที่อยู่ของผีดิบและพวกเปรตที่หิวโหย เห็นผู้คนมากมายชุลมุนกันอยู่กับการเซ่นไหว้ “ เจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งจอมปลวก “ โดยมีเจ้าอาวาสวัดพระสงฆ์เป็นผู้นำพิธี แต่ทำตามนิ้วชี้ของชาวบ้านผู้ศรัทธา ขณะสมภารเจ้าอาวาสกล่าวคำอาราธนาพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ให้เสด็จมาประทับในพิธี สามเณรน้อยร้องตะโกนออกไปว่า

“พระพุทธเจ้าไม่มาหรอกโว้ย ในพิธีบ้าบอเช่นนี้ “ แล้วเณรน้อยก็ต้องรีบวิ่งจีวรปลิวว่อนออกจากสำนักวัดแห่งนั้นทันทีที่วัตถุหลายอย่างปลิวว่อนเข้าหาเณร จากมือที่ชูสลอนนับร้อยนับพัน

แต่น่าประหลาดเหลือที่วัตถุเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่ไร้น้ำหนักไปในฉับพลัน เมื่อล่องลอยมาถูกเณรน้อยชิ้นแล้วชิ้นเล่าประดุจดังปุยนุ่น แต่ทว่ามีอยู่ชิ้นหนึ่งที่ไม่ยอมกลายเป็นปุยนุ่นเหมือนอย่างของคนอื่น คือ เศษอิฐหินจากมือสมภารเจ้าสำนักมันลอยละลิ่วมาโดนเอาหัวเณรสมานเสียบวมเป่ง….

…..เณรน้อยวิ่งหนีออกมาจนอ่อนกำลังล้มหลับลงที่หน้าวัดถ้ำเขาเหล็กแห่งนี้ ขณะลืมตาขึ้นมาในความมืด เณรสมานเผลอเอามือลูบศรีษะตรงที่โดนเศษอิฐของสมภารผู้มาจากถิ่นนครปฐมนั้น ก่อนจะลุกเข้ามาอยู่ในวัดแห่งนี้ในคืนวันนั้น แล้วท่านไม่เห็นใจเณรที่จะต้องกลับไปเป็นเพศสัตว์นรกทรมานเช่นนั้นอีก อาตมาขอบิณฑบาตเณรไว้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป กรรมที่ยังเหลือเล็กน้อยนั้น ก็ขอได้เป็นอโหสิกรรมไปเสีย อย่าต้องมาทำลายเพศและความดีของเณรให้เสียไปเลย ขอท่านจงเห็นใจและอนุญาตให้เณรได้มีโอกาสทรงเพศนี้ต่อไปจนสุดความสามารถแห่งศรัทธาของเธอ จะพอผ่อนผันให้ได้หรือไม่อย่างไร

ฝ่ายนายยมบาลก็พูดยืนคำว่า “ไม่ได้ ท่านธรรมงาม ! “ ไม่ว่าท่าน ไม่ว่าผม และไม่ว่าใคร ๆ จะขอร้องไม่ได้ทั้งนั้นเพราะเป็นเรื่องสุดวิสัย ขึ้นชื่อว่ากรรมแล้ว ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมไม่ดี ล้วนเป็นสิ่งที่มีอำนาจมาก เหนือการขอร้อง การบังคับและการวิงวอนใด ๆ ทั้งนั้น ถ้าเป็นการผ่อนผันได้บ้าง ตัวผมเองก็ไม่มาตามหาเณรให้ลำบากและเสียเวลา ผมยอมให้การผ่อนผันไปแล้ว แต่นี่มิใช่เรื่องของผมซึ่งพอพูดกันได้ หากเป็นเรื่องของกรรมซึ่งมิใช่ฐานะจะพอเป็นไปตามคำขอร้องของใคร ๆ แม้ผมมานี้ก็มาในนามของกรรมเณรเอง มิใช่ตัวผมเองเป็นผู้มา แต่เป็นตัวกรรมต่างหากเป็นผู้มา จึงไม่มีอคติแก่ผู้ใด ต้องเป็นไปตามกรรมเท่านั้น

พระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามเกิดสงสัยถามว่า “ ไม่ใช่ตัวผมอย่างไร อาตมาไม่เข้าใจเลย เพราะก็เห็นท่านเดินเข้ามาหาอาตมา และถามหาเณรสมานอยู่เดี๋ยวนี้อย่างสด ๆ ร้อน ๆ ถ้าไม่เป็นท่านแล้วจะเป็นที่ไหนกันอีก “

นายยมบาลพูดกับหลวงพ่อธรรมงามว่า “ เป็นผมจริงในร่างยมบาล แต่มิใช่ผมในรูปแห่งกรรมและอำนาจแห่งกรรม ทั้งสองนั้นเป็นเรื่องกรรมของเณร ไม่ใช่เรื่องของผมพอจะพูดขอความผ่อนผันกันได้ แม้เณรเองถ้าทราบว่าถูกตามหาตัว เธอก็จะเสียใจเอาอย่างมาก และอาจสลบหรือตายไปในขณะนั้นก็ได้ เธอเองก็ไม่ปรารถนา แต่ก็ได้ทำกรรมนั้นมาเสียแล้ว จึงสุดวิสัยที่จะแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากต้องยอมให้เป็นไปตามหลักกรรมอันเป็นหลักตายตัวเท่านั้น ไม่มีทางหลบหลีกเอาเลยท่าน เพราะคำว่ากรรมชั่วนี้ใครจะเป็นผู้ทำขึ้นก็ตาม ต้องเป็นไปในทำนองนี้ทั้งนั้น “

เมื่อต่างฝ่ายต่างร้องขอต่องรองกันไม่เกิดผลแล้ว พระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามจึงถามยมบาลว่า “ เณรสมานนี้ขโมยหนีมาจากนรกนานเท่าไรถึงได้ตามมา “

เขาบอกว่า “ มาได้ครู่เดียวเท่านั้นก็ตามมา ทำไมถึงได้ทันมาเกิดเป็นมนุษย์มนาและบวชเป็นเณรได้เร็วหนักหนา เวลาของเมืองมนุษย์นี้นับว่าเร็วเสียจริง ๆ แล้วเวลานี้อายุเณรได้เท่าไรแล้วท่านธรรมงาม “

หลวงพ่อธรรมงามตอบว่า “ ได้ ๑๓ ปีแล้ว “

เขาอุทานว่า “ โอ้โฮ ! ตายจริงน่าสงสารเณร กรรมนี้เหลือประมาณไม่ยอมลดหย่อนผ่อนผัน พอให้เณรได้ประพฤติพรหมจรรย์สืบพระศาสนาต่อไปบ้างเลย “ เขาพูดอย่างอ่อนใจ ประหนึ่งเป็นเชิงเห็นใจเณรที่ไม่รู้อะไรกับเรื่องนี้เลย ในขณะนั้นมัวแต่นอนหลับฝันเพลินไปตามประสาคนไม่รู้ แม้สิ่งที่ตนทำแล้วกลับมาเป็นภัยแก่ตนที่เรียกว่า กรรมตามทัน เวลาเขามาหาหลวงพ่อธรรมงามเป็นยามดึกสงัด และพูดเป็นเชิงสงสารหลวงพ่อผู้เป็นอาจารย์ ซึ่งเณรเคารพเลื่อมใสมากและกำลังจะหลุดมือจากอ้อมอกอันอบอุ่นไปในวันรุ่งขึ้นอยู่แล้ว ตามคำที่ยมบาลบอกกับท่านว่าราว ๓ ทุ่ม ของวันรุ่งขึ้น จะมารับสามเณรไป….

พอนายยมบาลลาจากไปแล้ว ท่านก็เริ่มรู้สึกตัวถอนออกจากสมาธิ ตื่นขึ้น เกิดความสะดุ้งตกใจ และเสียใจเป็นกำลังแทบสลบไปในเวลานั้น เพราะท่านหลวงพ่อจำนิมิตฝันได้แม่นยำมากตลอดมา ทั้งท่านหลวงพ่อเองก็เป็นพระพุทธสาวก สิ้นสุดในสาวกภูมิชาตินี้ ท่านก็เคยปรารภความมุ่งมั่นต่ออรหัตภูมิของตนให้ใครฟังอย่างออกหน้าออกตา ไม่มีความสะทกสะท้านเลย

พอรุ่งขึ้นก็ให้เณรไปนิมนต์พระที่ท่านสนิทและไว้ใจมาหาและเล่ากระซิบเรื่องนิมิตให้ฟังพร้อมกับกำชับไม่ให้พูดให้เณรสมานรู้และไม่ให้ใคร ๆ รู้ด้วย แม้นิมิตนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตามเพราะกลัวจะเป็นภัยแก่เณรเอง และเป็นเรื่องอื้อฉาวไปในที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม หลวงพ่อธรรมงามกับพระที่ทราบเรื่องเณรแล้วต่างก็รู้กันเป็นการภายใน และรอดูเหตุการณ์ตามวันเวลาที่นายยมบาลบอกไว้…

นับแต่เช้าถึงเย็นวันนั้น หลวงพ่อมีความกังวลวุ่นวายอยู่กับนิมิต และเณรที่เป็นต้นเหตุตลอดเวลา จนไม่เป็นอันขบฉันและพักผ่อนร่างกายและจิตใจ ตลอดการงานและการปฏิสันถารต้อนรับประชาชน พระเณรที่มาพบปะเยี่ยมเยียนก็ระงับไปทั้งวันเก็บตัวอยู่ลำพังภายในห้องกุฏิ และพิจารณาใคร่ครวญเฉพาะเรื่องนิมิตอย่างเดียว ด้วยความประหลาดใจ และสงสารเณรเป็นล้นพ้นที่สุดวิสัยจะช่วยได้ เพราะนิมิตประเภทที่แปลกประหลาดดังที่ปรากฏคืนก่อนนี้ไม่เคยมีมาก่อน แม้ผู้ที่ปรากฏให้เป็นเรื่องในนิมิตก็เป็นบุคคลที่แปลกเหลือที่จะประมาณถูก ทั้งรูปร่างก็ใหญ่โตกว่ามนุษย์ธรรมดามาก ทั้งความสูงก็สูงเสมอกุฏิตึกสองชั้นที่หลวงพ่อพักอยู่ ซึ่งก็นับว่าเกินประมาณที่มนุษย์ในโลกจะเป็นได้ ลักษณะท่าทางก็น่ากลัวมาก คำพูดที่เขาพูดกับหลวงพ่อผู้ทรงศีลและธุดงควัตร มีอำนาจทางธรรมภายในใจก็เป็นคำพูดที่เฉียบขาดบาดใจ แม้จะเป็นคำพูดกันอย่างสามัญธรรมดา มิได้เป็นคำกระแทกแดกดัน ก็ยังเป็นคำพูดที่เต็มไปด้วยอำนาจราชศักดิ์อยู่นั่นเอง เป็นที่น่ากลัวและเกรงหาผู้เสมอมิได้ในแดนมนุษย์

ในวันนั้นทั้งวัน หลวงพ่อธรรมงามภาวนาและใคร่ครวญกับนิมิตอย่างไม่ยอมขยับเขยื้อนไปมาในทิศทางใด มีความสนใจและเศร้าใจในเหตุการณ์เป็นอย่างมาก ราวกับได้นั่งดูเปลวไฟนรกกำลังเผาผลาญสัตว์โลกอยู่ในขณะนั้นอย่างน่าใจหาย ทั้งรอเวลาที่เหตุการณ์นั้นจะมาถึงตามกำหนดเวลาที่ทราบไว้ในนิมิตฝันนั้น กรรมช่างรู้ซอกแซกไปจนกระทั่งเวลานาทีของนาฬิกาในเมืองมนุษย์ตีบอกเวลาอะไรเช่นนั้น

พอเวลา ๓ ทุ่มเศษนิดหน่อย ก็เห็นพระองค์ที่ทราบเหตุการณ์ด้วยกันวิ่งตะลีตะลานขึ้นมากุฏิที่ท่านหลวงพ่อธรรมงามพัก พร้อมกับเรียนขึ้นด้วยเสียงสั่นเครือแทบจะไม่เป็นเสียงมนุษย์ว่า “ เณรสมานเจ็บท้องถ่ายออกมาเป็นเลือดสด ๆ มีอุจจาระติดออกมาเล็กน้อย และเริ่มไปส้วมถ่ายได้สองครั้งแล้ว กระผมก็รีบมานี่อาการเป็นที่น่าวิตกมาก และการถ่ายนั้นห่างระยะกันเพียง ๔ - ๕ นาทีเท่านั้น จึงน่าวิตกมาก “

 
หลวงพ่อธรรมงามถามว่า “ เณรเริ่มเป็นเวลาเท่าไร “

“ เริ่มเวลรา ๓ ทุ่ม ตามเวลาที่นิมิตบอกไว้ไม่มีผิดเลย “ พระตอบหลวงพ่อให้ทราบ

พอจบประโยคคำพูดทั้งหลวงพ่อธรรมงามและพระที่มาตามก็รีบวิ่งลงไปที่กุฏิเณรสมานและถามอาการ เณรก็ได้เล่าถวายว่าเห็นจะไม่พ้นคืนนี้แน่ เพราะความรู้สึกที่เคยมีต่อโลกปรากฏว่า เริ่มขาดความสืบต่อกันหมดแล้ว ความหวังที่จะได้อยู่ในโลกอีกต่อไปไม่มีความรู้สึกเลย มีความจากไปเท่านั้นที่เต็มอยู่ในธาตุขันธ์และจิตใจ

ท่านหลวงพ่อก็เตือนเณรเพื่อมีสติในเวลาดับขันธ์ด้วยอุบายที่เข้าใจไว้ก่อนแล้วว่าจะไปไม่รอดดังนิมิตบอก อุบายที่หลวงพ่อธรรมงามสอนเณรก็พอเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปอยู่อย่างเร่งรีบ รวมประหนึ่งแทบจะหายใจไม่ทัน ต้องไปถ่ายส้วมบ่อยที่ไปด้วยเลือดสด ๆ ทั้งนั้น การเจ็บปั่นป่วนอยู่ภายในนั้นเหมือนมีเครื่องจักรเครื่องยนต์ตั้งโรงงาน และทำงานอยู่ภายในด้วยเครื่องจักรชนิดต่าง ๆ ที่หมุนไม่มีการหยุดยั้งราวกับว่าอวัยวะภายในจะขาดออกมาเป็นจุณมหาจุณต่อหน้าต่อตา

ฉะนั้น หลวงพ่อธรรมงามก็รีบให้โอวาทอย่างกะทัดรัดถือเอาเฉพาะใจความเท่าที่จะได้มีว่า…..โรคชนิดที่เณรเป็นนี้ หลวงพ่อเองก้ไม่เคยพบเห็นมาก่อน คงจะเป็นด้วยโรคกรรมตามทันเสียแล้วกระมัง ที่อยู่ ๆ ก็เป็นขึ้นมาอย่างปุปปัปกะทันหันอย่างนี้ การถ่ายก็กลายเป็นเลือดสด ๆ ไหลออกมาอย่างรีบร้อน ไม่มีหยูกยา อะไรหยุดยั้งได้เลย ซึ่งทำให้แปลกอกแปลกใจและน่าหวั่นวิตกมากเพื่อความไม่ประมาทและอย่าให้ได้พลาดท่าเสียที เมื่อถึงเวลาจำเป็นจริง ๆ เณรจงตั้งสติให้ดีและทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าองค์ผู้ประเสริฐสุดเข้ามาไว้ที่ดวงใจโดยบริกรรมว่า พุทโธ ๆ อย่าให้เผลอ เผื่อถึงเวลาจากไปก็ขอให้ได้ตายกับท่านที่เป็นองค์สรณะของใจ และยึดไว้จนสิ้นลมจะช่วยเณรได้ อย่างอื่นหลวงพ่อมองไม่เห็น นอกจากพระธรรมดวงเอกนี้เท่านั้น แม้จิตเณรจะหมดความหวัง จงพึ่ง “ พุทโธ “ และให้ตายกับ “ พุทโธ “ นี้เท่านั้น เณรอย่าได้เสียใจ เพราะการตายนี้โลกทั้งโลกจะต้องตายเหมือนเณรนี้ทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงก่อนหรือหลังเท่านั้น แม้หลวงพ่อเองผู้กำลังบอกทางแก่เณรอยู่ขณะนี้ ก็ต้องตายเช่นเดียวกับเณร และหลวงพ่อก็กำลังเตรียมตัวก่อนตายด้วยความไม่ประมาท ทั้งทำสมาธิภาวนาและความดีต่าง ๆ ที่สามารถทำได้อยู่แล้ว

เณรประนมมือรับโอวาทของท่านหลวงพ่อด้วยท่าทางอันสงบยิ้มแย้ม และบริกรรมภาวนาด้วยท่าทางองอาจกล้าหาญไม่สะทกสะท้านต่อโรคและมรณภัย ซึ่งเป็นที่น่าสงสารเหลือประมาณอย่างพูดไม่ออกบอกไม่ถูก ถึงกับน้ำตาหลวงพ่อธรรมงามและพระที่รู้เหตุการณ์ด้วยร่วงพรูลงในขณะนั้น ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับขณะที่เณรสิ้นลมด้วยท่าอันสงบตลอดมา นับแต่ขณะที่ได้รับโอวาทจากหลวงพ่อเป็นต้นมาในเวลาประมาณ ๔ ทุ่มพอดี ธรรมสังเวชได้เกิดแก่หลวงพ่อธรรมงามและพระเณร ตลอดประชาชนที่ไปเยี่ยมอาการของเณร สุดวิสัยที่จะอดกลั้นไว้ได้ในเวลานั้น เพราะความสงสารเณรสุดจะกล่าวออกมาได้

เฉพาะหลวงพ่อธรรมงาม เกิดความสลดใจต่อกรรมซึ่งเป็นสิ่งลึกลับเหลือวิสัยที่คนธรรมดาสามัญจะทราบได้ แม้จะเป็นทางนิมิตฝัน แต่ก็ช่างตรงตามคำบอกและเวลาอะไรเช่นนั้น ทั้งที่เคยเชื่อกรรมอย่างฝังใจมาก่อนอยู่แล้ว ยิ่งมาเห็นเรื่องเณรเป็นประจักษ์พยานก็ยิ่งทำให้ซึ้งต่อกรรมที่เกี่ยวพันต่อชีวิตจิตใจของมวลมนุษย์ว่า เป็นเหมือนผักปลาเครื่องสังเวยต่อกรรม ไม่มีทางหลีกเลี่ยงและไม่มีสิ่งใดในตัวมนุษย์ปุถุชนจะฉลาดรู้ และแผลงฤทธิ์ว่า ตัวมีอำนาจเหนือกรรมผู้ครองไตรภพแต่สิ่งเดียว

หลวงพ่อได้ยึดเหตุการณ์ที่ประสบนั้นเป็นเทวทูตหรือธรรมทูตเครื่องเตือนสติอันยอดเยี่ยมประจำใจตลอดมา ชีวิตร่างกายจิตใจทั้งมวลอันเป็นสมบัติประจำองค์ของหลวงพ่อธรรมงามได้อุทิศต่อความเชื่อกรรมโดยสิ้นเชิง ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้เพื่อการหลบหลีกปลีกตัวแต่อย่างใด แต่เป็นความเชื่อและมั่นใจอย่างมั่นคงว่า ถึงอย่างไรก็ขอให้ได้บำเพ็ญบุญกุศลความดีอย่างพอใจเสียก่อน ก่อนที่ยมบาลหรือพระยากรรมเจ้ากรรมนายเวรจะมาเอาตัวไป จะไม่ต้องเสียใจภายหลังว่าเรายังขาดอะไรบ้าง บรรดาความดีที่ควรทำในชีวิตที่ลมหายใจยังมีอยู่ เผื่อเวลาสิ้นลมจะได้สิ้นเรื่องหมดกังวลไปพร้อม ๆ กัน

เท่าที่ชีวิตได้รับความผ่อนผันจากเหตุการณ์ที่น่าสลดสังเวชใจเหลือประมาณมา และได้มีโอกาสบำเพ็ญหพรหมจรรย์ตามหน้าที่ของนักบวชมาถึงวันนี้ นับว่าเป็นผู้มีบุญวาสนาพอจะอวดตัวเองได้ว่า มิใช่ผู้ขโมยกรรมอันลามกที่ตนสร้างไว้มาเกิดโดยไม่ยอมรับโทษให้สิ้นกรรมก่อน แต่เป็นผู้มีกรรมพามา พาอยู่พาไป เหมือนโลกที่มีกรรมทั่ว ๆ ไป นี่เป็นคำรำพังรำพันของหลวงพ่อธรรมงามที่ได้รับจากเหตุการณ์ของเณร แล้วนำมาพร่ำสอนตน ซึ่งเป็นอุบายที่น่าจับใจไพเราะอย่างยิ่ง ยากจะได้พบบุคคล และอุบายทำนองนี้ แม้ผู้เล่าเองก็อดจะวาดภาพไปตามด้วยความสลดสังเวชมิได้ และยังรู้สึกประทับใจตลอดมาทั้ง ๆ ที่เชื่อกรรมอยู่แล้วตามศรัทธาที่มี.




ขอขอบพระคุณที่มา... http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=65

17
ธรรมะ / การเวียนว่ายตายเกิด...
« เมื่อ: 27 ก.ย. 2553, 12:39:19 »
หลักกรรมกับสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หลักกรรมจะดำรงอยู่ไม่ได้หรือถ้าได้ก็ไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่มีเรื่องสังสารวัฏ เพราะชีวิตเดียวสั้นเกินไป ไม่พอพิสูจน์กรรมให้หมดสิ้นได้ มีปัญหาหลายอย่างที่น่าสงสัย เช่น ทำไมคนดีบางคนจึงมีความเป็นอยู่อย่างต้อยต่ำลำบาก สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ ร่างกายอ่อนแอ ส่วนคนที่ใคร ๆ เห็นว่าชั่วบางคนกลับมีความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญ มีร่างกายแข็งแรง เราไม่อาจคลายความสงสัยได้ ถ้าพิจารณาชีวิตกันเพียงชาติเดียว หลักกรรมและการเกิดใหม่จะบอกเราว่า คนที่เราเห็นว่าชั่วนั้น เขาย่อมต้องเคยทำกรรมดีมาบ้างในอดีต และคนที่เราเห็นว่าดีอยู่ในเวลานี้ ย่อมต้องเคยทำกรรมชั่วมาบ้างเหมือนกัน กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว ตามอิทธิพลของมัน เที่ยงตรงที่สุดไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

อนึ่ง หลักทางพระพุทธศาสนา (ตามปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) มีอยู่ว่า ...ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่เขาย่อมต้องทำกรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง กรรมดีย่อมมีวิบาก (ผล) ดี กรรมชั่วมีวิบากชั่ว วิบากดีก่อให้เกิดสุข วิบากชั่วก่อให้เกิดทุกข์ สุขทุกข์เหล่านั้นย่อมมีชาติ คือความเกิดเป็นที่รองรับ ปราศจากความเกิดเสียแล้ว ที่รองรับสุขทุกข์ย่อมไม่มี กรรมก็เป็นหมันไม่มีผลอีกต่อไป พูดอย่างสั้นว่า ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่ เขาย่อมเกิดอีกตราบนั้น บุคคลที่ยังพอใจอยู่ในกาม คือยังไม่อิ่มในกาม ยังมีความกระหายในกาม ใจยังแส่หากาม ย่อมเกิดอีกในกามภพ เพื่อเสพกามตามความปรารถนาของดวงจิต ที่มีกามกิเลสห่อหุ้ม พัวพัน คลุกเคล้า อยู่ บุคคลที่หน่ายกามแล้ว เลิก ละ กามแล้ว แต่จิตยังเอิบอิ่มอยู่ในฌานสมาบัติเบื้องต้น ๔ ขั้น ที่ท่านเรียกว่ารูปฌาน เขาย่อมเกิดอีกในรูปภพ เพื่อเสพสุขอันเกี่ยวกับฌานในภพนั้น ท่านผู้พอใจในความสุขอันประณีตกว่านั้น ที่เรียกว่าความสุขในอรูปฌาน ย่อมเกิดอีกในอรูปภพ ผู้เบื่อหน่ายต่อความสุขอันยังเจืออยู่ด้วยกิเลสดังกล่าวมาแล้ว ละกิเลสได้หมด ไม่มีกิเลสเหลือ ก็เข้าถึงนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อีกต่อไป เป็นผู้พ้นจากสภาพที่จะเรียกได้ว่า เป็นอะไร เป็นอย่างไร พ้นจากสุขทุกข์ทั้งปวง ภพคือที่ถือกำเนิดของสัตว์จึงมี ๓ ภพ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ พ้นจากนี้แล้วไม่เรียกว่าภพ

ในภวสูตร พระอานนท์เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ... ภพมีได้เพราะเหตุใด? พระผู้มีพระภาคตรัสถามย้อนว่า ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับกามจักไม่มีแล้ว กามภพจักมีได้หรือไม่? ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับรูปธาตุ (รูปฌาน) หรือที่เกี่ยวกับอรูปธาตุ (อรูปฌาน) จักไม่มีแล้ว รูปภพ อรูปภพ จักมีหรือไม่? พระอานนท์ทูลตอบว่า มีไม่ได้เลย

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เพราะเหตุนี้แหละอานนท์ (ในการเกิดใหม่นั้น) กรรมจึงเป็นเสมือนเนื้อนา วิญญาณเสมือนพืช ตัณหาเป็นเสมือนยางเหนียวในพืช (กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺญานํ พีชํ ตณฺหา สิเนโห) ดูก่อนอานนท์ ความตั้งใจ ความจงใจ (เจตนา) ความปรารถนาของสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้ม มีตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดได้ตั้งลงแล้วในธาตุอันเลว (กามธาตุ) ธาตุปานกลาง (รูปธาตุ) และธาตุประณีต (อรูปธาตุ) เมื่อเป็นดังนี้ การเกิดในภพใหม่ก็มีขึ้นได้อีก.....(อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร)

                 

ตามพระพุทธภาษิตนี้ ชี้ชัดทีเดียวว่า การเกิดใหม่ของสัตว์ ย่อมต้องอาศัยกรรม กิเลส (ตัณหา) และวิญญาณ มีความสัมพันธ์กันเหมือนเนื้อนาหรือดิน พืช และยางเหนียวในพืช อันทำให้พืชมีคุณสมบัติในการเกิดขึ้นใหม่ได้อีก เมื่อมีสภาวะแวดล้อมเหมาะสม พืชที่ถูกคั่วให้แห้ง หรือเอาเหล็กแหลมเจาะทำลายเม็ดในเสียแล้ว ย่อมไม่อาจเพาะหรือปลูกให้ขึ้นได้อีก ไม่ว่าสภาวะแวดล้อม เช่นดิน น้ำ ปุ๋ย จะดีสักเพียงไร ฉันใด วิญญาณที่ไม่มียางเหนียวคือตัณหา หรือกิเลสห่อหุ้มผูกพันอยู่ ก็ย่อมไม่ต้องเกิดอีก ไม่ควรเพื่อการเกิดใหม่ ฉันนั้น ตามนัยนี้ แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงยืนยันเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณที่ยังมีกิเลสและกรรม ยังมีเจตนา มีความปรารถนาในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ สัตว์จะไปเกิดในภพใดก็สุดแล้วแต่กิเลสและกรรมของเขาที่เกี่ยวกับภพนั้น เหมือนบุคคลฝึกสิ่งใด พอใจกระทำสิ่งใด ย่อมได้รับผลของสิ่งนั้น

การเวียนว่ายตายเกิดจะสิ้นสุดลง ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นได้พัฒนาจิตจนถึงที่สุด ละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง สิ้นกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดอีก เรื่องกิเลส กรรม และการเวียนว่ายตายเกิด จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและอย่างจำเป็น คือแยกกันไม่ได้ หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสารวัฏ จัดเป็นหลักคำสอนสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ดังพรรณนามาดังนี้ ....




ขอขอบพระคุณที่มา...จากหนังสือหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด.....อาจารย์วศิน อินทสระ)

18
ธรรมะ / เราอย่าดูจิตคนอื่น...
« เมื่อ: 20 ก.ย. 2553, 09:07:59 »
เราอย่าดูจิตคนอื่น..................
ให้ดูจิตของเราที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ในความคิดความปรุงความสำคัญมั่นหมายนี้
มันเคยเบื่ออะไรบ้างมีใหม.....ไม่เคยมี
คิดปรุงวันยังค่ำ......เพลินคิดวันยังค่ำ
ไม่เคยเบื่อความคิดความปรุงของตนเลย
สำคัญมั่นหมายอันใดกับอารมณ์ใดก็ตาม
ขึ้นชื่อว่าเป็นกิเลสแล้ว
มันพออกพอใจหมุนติ้วกันอยู่ทั้งวันทั้งคืน
เพราะฉะนั้นการเกิดการตายจึงไม่มีคำว่า...แก่ คำว่า...ชรา...คร่ำคร่า
จะต้องมีเกิดมีตายไปเรื่อยอย่างนี้
เพราะธรรมชาติกิเลสอันนี้ไม่เคยมีคำว่า..ชรา..คร่ำคร่าลงไป
แม้กฏ อนิจฺจํ ของธรรมท่านว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงไม่แน่นอน ถือเป็นตัวของตัวไม่ได้
แต่เรื่องของกิเลสจะแปร...ก็แปรไปเพื่อกิเลส
เป็นทุกข์ก็เพราะ...กิเลสเป็นผู้บีบให้เป็นทุกข์
อนตฺตา ก็กิเลสเป็นผู้เสกสรรปั้นยอว่าเรา
ว่าของเราเอาเสียอย่างดื้อ ๆ ด้าน ๆ ที่ให้เราได้เชื่อได้เห็นอยู่
ทั้ง ๆ ที่ธรรมพระพุทธเจ้าประกาศกังวานอยู่นั้นแล
นี่ในเวลาที่จิตของเรายังไม่สามารถ...มันเป็นได้อย่างนี้ ดูหัวใจเราก็รู้


ขอขอบพระคุณที่มา....ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาองค์หลวงตาพระมหาบัว “จิตที่อยู่ในวงล้อมของกิเลส”
 เทศน์เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒


19


พ่อทิดพรหมมา เป็นคนหลวงพระบาง ได้อพยพพาลูกหลานมาตั้งหลักแหล่งอยู่แม่แตงแม่งัด ญาติพี่น้องอีกหมู่หนึ่งแยกไปอยู่ทางเชียงราย

เฒ่าทาเป็นญาติของพ่อทิดพรหมมานี้ล่ะ ที่มาเล่าเรื่องมังกรขึ้นมาอยู่จำศีล บนตระพังน้ำแม่ทาแล้วพวกชาวบ้าน พรานล่าเนื้อ ๑๖ คน ปืน ๑๖ กระบอก ยิงพร้อมกัน มังกรตัวนั้นก็ตายเมื่อตายแล้วก็เอาเนื้อมากิน

เฒ่าทาเล่าให้ฟังว่า อยู่บ้านแม่ทา น้ำแม่ทา อยู่ในช่วงเขตพรรษา น้ำมากน้ำหลาก พวกพรานเนื้อพรานปืนก็เป็นคนบ้านแม่ทา รวมทั้งหมดไปหาล่าเนื้อด้วยกัน ๑๖ คน ออกไปแต่เช้า แต่วันนั้นทั้งวัน สัตว์ป่าจะมาผ่านหน้าผ่านปลายกระบอกปืนก็ไม่มีสักตัว นกหนูปูปีกก็ไม่มีมา ให้ได้ยิงเลยตลอดวัน จนบ่ายแก่ใกล้ค่ำมืดก็ต่าวหน้ากลับคืนบ้าน พากันเลาะริมแม่น้ำ พอลงมาจนใกล้ปากแม่น้ำที่จะตกลงแม่โขง หวังว่าจะได้ดักยิงสัตว์ป่าลงมากินน้ำตอนค่ำ แต่ก็ไม่ได้เห็นสัตว์ป่าตัวน้อยใหญ่ใดๆ เลย ก็เป็นที่น่าแปลกใจ อัศจรรย์อยู่ เลาะริมน้ำลงมาเรื่อย มาเห็นสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง นอนขดพาดลำตัวไปตามตระฝั่งน้ำ ลำตัวยาวเหมือนงู แต่มีสันหลังเป็นทอยจนสุด เกล็ดเขียวงามดังจุดลายของนกยูง มี ๔ ขา เล็บเหมือนกับเล็บนกเล็บเหยี่ยว เขาออกเหมือนกวางผู้

“ตัวอะไรนั่น?”






“อะไรก็อะไรเต๊อะ คงเป็นปลาแม่น้ำของขึ้นมาผิงแดดอ่อนแลง เอ้า! ทุกคน ให้เตรียมปืน” พวกนายพราน ว่ากัน........

เมื่อทุกคนเตรียมปืนพร้อมแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าก็ให้สัญญาณว่ายิง  แล้วนับ หนึ่ง สอง สาม ลูกสมุนก็กดดีดนกปืน พร้อมกันเสียงปืนดังสนั่นหวั่นไหว ได้ยินไปถึงหมู่บ้าน สัตว์ประหลาดตัวนั้นก็ตายสนิท ไม่มีการขดการดิ้น ตายยาวเหยียด คนพราน ๑๖ คนนั้น ช่วยกันลาก สัตว์ประหลาดงูใหญ่ ปลาน้ำตัวนั้นไม่ยอมเคลื่อนตัวเลย ก็เลยตกลงกันทำครัวชำแหละ กันคาที่คาศพอย่างนั้น หาฟืนไม้แห้งมาเผาลนเกล็ด ขอดเกล็ดออกแล้วแล่เอาเนื้อ ตัดไม้ไผ่มาจักเป็นเส้นตอก แล้วร้อยเอาเนื้อเป็นชิ้นๆ ได้หลายพวงพูดเนื้อ คน ๑๖ คน ได้หาบเนื้อมังกรตัวนั้น คนละหาบหนักเต็มแรง แต่นั่นก็ยังเอาไม่หมด ข้างหางสุดก็เหลือ แต่ขาหน้าไปทางหัวก็ยังเหลืออยู่ เนื้อแดงงาม ไม่คาว เส้นเนื้อละเอียด เลือดสีแดงกับเขียวจางๆ เกล็ดถูกไฟเผาแล้วขาวเผือดคล้ายเกล็ดปลา


พวกผู้หญิงลูกเล็กเด็กน้อย ลูกบ้านพอได้ยินเสียงปืนก็เตรียมข้าวคั่ว เกลือ พริก เครื่องปรุงรสต่างๆ เพราะเป็นที่รู้อยู่แล้วว่า เมื่อได้ยินเสียงปืนแบบนี้ต้องได้เนื้อตัวใหญ่แน่นอน

คน ๑๖ คน แบกปืนหาบเนื้อเซซัดเซซ้ายกลับเข้าบ้าน คนในหมู่บ้านเรียกมาหมด ใครมีเหล้าไห เหล้าสาโทก็เอามากินแกล้มกับเนื้อปลาน้ำตัวยาวแปลก ทั้งปิ้ง ทั้งย่าง ทั้งต้ม ทั้งแกง ก่อไฟกองใหญ่กลางหมู่บ้านแล้วก็กินกัน สนุกสนาน แต่หัวค่ำจนดึกก็ไม่เลิก

เฒ่าทา นี้เคยบวชอยู่ด้วยกับพ่อทิดพรหมมาเป็นญาติพี่น้องกัน ลูกหลานลูกบ้านก็มาเรียกไปกินด้วย คนเฒ่าไปถามแล้วก็รู้ว่าความหายนะ จะมาถึงในวันนี้แน่นอน เพราะเมื่อถามถึงลักษณะแล้ว ก็รู้ว่าเป็นมังกรเจ้านายของนาคน้ำทั้งหลาย คงขึ้นมาจำศีลตลอดฤดูพรรษา เฒ่าทาไม่ยอมกิน กลับไปเรือน พิจารณาตามลำดับเรื่องราวในชาดกแล้วเทียบเคียงกับเรื่องเล่าในทำนองคล้ายกับเรื่องนี้

คนเฒ่าก็ไหว้พระสวดมนต์แล้ว เอาสะหนะที่นอนพับเข้าด้วยกัน เอาเชือกมัดไว้ มีของมีค่าอันใดก็เอาใส่ไว้ มัดปากให้แน่น แล้วมัดติดกับเอวไว้ คนพวกนั้นทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ลูกเล็กเด็กน้อย คนเฒ่าก็มี ที่กินเนื้อนั้นก็เมาทั้งเหล้า เมาทั้งเนื้อ นอนหลับก็มี ฟุบเมาแล้วก็มี คนกินน้อยก็ยังไม่เมา พูดคุยกัน เอะอะโหวกเหวกอยู่ สนุกสนานของเขาไป

ดึกเที่ยงคืนฟ้าฮ้องเสียงดังเสียงใหญ่ แต่ทางปลายน้ำ ท้องฟ้ามืดดับ ฝนฟ้าคะนองสนั่น พายุลมหัวกุดพัดมาแต่ปลายน้ำอึงคะนึงอยู่

ฝ่ายคนเฒ่าพ่อทา ก็เตรียมตัวอยู่แล้วว่าต้องมีเหตุมีลางแน่นอน สักพักฝนตกกระหน่ำ พร้อมลูกเห็บตกลงแต่ฟ้า น้ำหลากมากไหลทะลุลำห้วยลำน้ำลงมาถึดๆ คนเฒ่าก็ขึ้นนั่งสะหนะยัดงิ้วเตรียมตัวอยู่ คนเฒ่าว่าได้ยินแต่เสียงร้องครั้งสุดท้ายของพวกคนนายพราน ลูกเมีย ผู้หญิง ผู้ชายเหล่านั้น บ้านเรือน ข้าวของใดๆ สัตว์เลี้ยง ไหลไปตามน้ำหมด บ้านเรือนก็ไปทั้งหลัง หายนะไปภายในไม่ถึงชั่วโมง

คนเฒ่านั่งสะหนะที่นอน แล้วก็ลอยล่องอยู่เหนือน้ำได้ เหมือนกับมีสิ่งอันใดอันหนึ่งช่วยชูอยู่ น้ำก็พัดให้ไปติดต้นไม้สักขนาดลำขา คนเฒ่าก็เกาะกะพับขึ้นต้นไม้สักต้นนั้นแล้วขึ้นไปถึงคาคบไม้สักต้นใหญ่ นั่งตื่นตระหนกตกใจอาลัยลูกหลานอยู่ตลอดคืน จนฟ้าแจ้งแดงใสแล้วก็ลงมาสำรวจดูหมู่บ้าน หายนะ ฉิบหาย ไม่เหลืออะไรสักอัน ไม่เหลือคนสักคน เหย้าเรือน ยุ้งเย หายไปหมด เหลือแต่เสาครกมองตำข้าว กับผ้าผ่อนเสื้อซิ่นที่ติดตามกอไม้ไผ่ เดินไปทางปากน้ำตกลงน้ำของก็ไม่เห็นร่องรอยว่ามีน้ำป่าไหลหลากมากนองแต่อย่างใด หายไปไหนกันหมด น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก น้ำแม่ทานี้ใกล้ปากน้ำนั้นมีหินก้อนใหญ่กั้นตันไว้อยู่ เขาเรียกว่า หินปากเหว เลยหินปากเหวลงไปก็ตกลงแม่โขง เรื่องมังกรนี้ พ่อทิดพรหมมาเล่าให้ผู้ข้าฯ เพื่อให้ผู้ข้าพิจารณาว่าจะเป็นอย่างใด

พ่อทิดพรหมมาก็ฟังมาจากเฒ่าทาเล่าให้ฟัง แล้วยังพาไปดูถึงบ้านแม่ทานั้นด้วย พ่อทิดพรหมมาตั้งแต่สมัยเป็นคนหนุ่มอายุได้ ๓๐ ปี ก็ไปเสาะหาซื้อทองคำทางบ้าน ใกล้บ้านแม่ทานั้น เฒ่าทานั้นย้ายมาอยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งมีลูกหลานญาติพี่น้องอยู่มาก บ้านแม่ทานั้นเป็นหมู่บ้านย้ายไปอยู่ใหม่ ตั้งเหย้าตั้งเรือนตั้งบ้านกันได้ปีกว่า พวกเขามาขอให้เฒ่าทาไปอยู่เป็นคนเฒ่าคนแก่อุ่นบ้านอุ่นเมือง คนเฒ่าจึงได้ไปประสบกรรมกับพวกคนพรานเนื้อเหล่านั้น

พ่อทิดพรหมมาอายุ ๘๕ ปี ไปพบปะเหตุการณ์เรื่องเล่านี้ แต่อายุ ๓๐ ปี ก็นับได้ ๕๕ ปีผ่านมาจึงเอามาเล่าให้ผู้ข้าฯ ฟัง เรื่องราวเบื้องต้นแท้ๆ นั้น ชาวบ้านช่อแล เขาได้ยินเสียงฆ้องเสียงกลองปี่ พาทย์ ประโคมคนตรีดังขึ้นลงตามลำห้วยแม่งัด ขึ้นไปทางปลายห้วย แล้วก็ดังกลับลงมา เขาว่า แต่ก่อนเก่าหลายปี ผ่านมาก็ได้ยินอีกจะเป็นเหตุลางอันใด

พ่อทิดผู้เป็นเจ้าของที่ก็ว่าเห็นคนหนุ่มน้อย อายุ ๑๘ – ๑๙ ปี ประมาณได้ เดินขึ้นมาจากน้ำมากราบไหว้ ผู้ข้าฯ แล้วก็ลงไปในน้ำแล้วหายไป พ่อทิดก็ซอมดูทุกวันพระก็เห็นมาแล้ว ๓ ครั้ง จนมาถามผู้ข้าฯ ว่าเป็นอย่างใด ผู้ข้าฯ ก็ว่า พระยานาค เจ้านายนาคน้ำแม่งัด ๓ สหายเขาขึ้นมาหาทุกวันนั้นแหละ แต่พ่อทิดเห็นแต่วันพระ เพราะเขาทำให้เห็นหรอก พ่อทิดก็เอาไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านก็ตื่นเต้นกันบางคนก็กลัวเป็นเหตุเป็นลาง บ้านหลุบเมืองหล่มได้ ยกขบวนมาหาผู้ข้าฯ

ผู้ข้าฯ ก็ว่า รับรองได้ไม่เป็นเหตุลางอ้างร้ายแต่อย่างใด อาตมาอยู่นี้เขาดีใจจะได้กราบไหว้ฟังธรรม จึงมาประโคมดนตรีบูชาแค่นั้น อย่าตื่นตกใจกลัวไปเลย

เพราะเรื่องนาคน้ำแม่งัดนี้เอง พ่อทิดพรหมมาจึงเล่าเรื่องมังกรให้ฟังแล้วให้ผู้ข้าฯ พิจารณาว่าเป็นอย่างใด? จึงได้ถามพวกนาคแม่งัด เขาจึงบอกว่า เป็นเจ้านายของพวกนาคใหญ่อันดับ ๗ ของพิภพของนาคขึ้นมาจำศีล แต่มาถูกพวกมนุษย์ประหัตด้วยอาวุธ จึงตายจากนาคามังกร

แต่ผู้ข้าฯ พิจารณาได้ความว่า เป็นพระโพธิสัตว์ตนหนึ่ง กำลังบำเพ็ญอยู่ในฐานฐานะของพุทธภูมิ ต้องการอยากจะเป็นพระพุทธเจ้า องค์หนึ่ง

หากได้เป็นก็เป็นลำดับที่ ๔๐๐ นับแต่พระศรีอาริย์ไป เฒ่าทาคนนั้นจะได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาผู้ใหญ่ที่หนึ่ง”
“อยู่จำพรรษาบ้านช่อแล จะว่าอยู่โปรดพวกนาคก็ว่าได้ เพราะผู้ข้าฯ ก็เมตตาให้เขาอยู่ทุกวัน เจริญวิรูปักเขหิเมเมตตัง ให้เขาอยู่ตลอด เวลาเราเทศน์ธรรมเขาก็มาฟังก็มีอยู่ แต่เวลาว่าศีลข้อ ๕ พวกเขาจะไม่ว่าตามเลย ข้อ ๕ ไม่พูด แต่ไปพูดเอาข้อ ๖ – ๗ – ๘ บางคนก็ไม่มาถือศีล มากราบไหว้แล้วก็ไป แต่พวกมาฟังเทศน์ธรรมนั้นมากันมาก มาขอฟังรัตนสูตร เราก็เทศน์ธรรมะรัตนสูตรให้ฟังเป็นลำดับๆ ไป นี้ก็แปลก คนเขาก็เชื่อยากเพราะไม่ได้เกิดกับเขาเอง มีแต่ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) องค์เดียวเท่านั้นที่รู้จักได้ดี

แม้ท่านอาจารย์สิม (พุทฺธจาโร) ก็รู้จักอยู่บ้างแต่สู้ท่านอาจารย์ตื้อไม่ได้ แต่วันใดที่ท่านอาจารย์ตื้อมาหา พวกนาคหาย ไปหมด กลัวท่านอาจารย์ตื้อ ถามพวกนาคว่า กลัวอะไรเพิ่น ? เขาว่ากลัวสายตาของเพิ่น จึงได้กราบเรียนท่านอาจารย์ตื้อว่า “ท่านอาจารย์ ขอท่านอาจารย์อย่าเอาเตโช ออกมาทางแสงตา พวกนาคเขาย้านเขากลัว”




ขอขอบพระคุณที่มา...จากหนังสือ ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม  มหาปุญโญ   วัดป่าวิเวกวัฒนาราม  บ้านห้วยทราย
คำชะอี  จ.มุกดาหาร


20









ทีปภาวันธรรมสถาน
สร้างขึ้นมาจากการดำริของพระภาวนาโพธิคุณ หรืออาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาสสวนโมกขพลาราม ผู้ที่ต้องการจะนำความสงบเย็นคืนกลับมาสู่สมุย รวมไปถึงชาวไทย และชาวโลก โดยจัดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ดำเนินตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และแนวทางของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ทุกๆครั้งที่มีการอบรมท่านโพธิ์จะมาเป็นผู้สอนบรรยายธรรมและร่วมภาวนาเองแน่นอนว่าในการเข้าอบรมปฏิบัติธรรมผู้อบรมจะได้เรียนรู้ธรรมะอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาทั้งเรื่องทุกข์และการดับทุกข์อริยสัจจ์สี่ปฏิจจสมุปบาทและการปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

หากเราจะมองให้เห็นองค์รวมแห่งการภาวนาเราจะเข้าใจได้ว่าทำไมการปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนาถึงได้พูดถึงเรื่องกายศีลจิตและปัญญาเพราะกายกับศีลนั้นถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกันคือเมื่อเรามีศีลก็ควบคุมกายได้หรือเมื่อคุมกายได้ก็รักษาศีลได้

การที่จะฝึกจิตให้รู้จักสมถะภาวนาจะช่วยให้เราถอยห่างออกมาเรื่อยๆจากความฟุ้งซ่านความเครียดความทุกข์ความอยากได้อยากมีอยากเป็นซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกับการมีสติตระหนักรู้ได้เมื่อนั้นปัญญาก็เกิดเมื่อปัญญาเกิดมันก็ง่ายที่มนุษย์เราจะเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริงได้ดังนั้นสิ่งที่เราเคยคิดว่ามันเป็นปัญหาหรือเป็นทุกข์มันก็ไม่ทุกข์อย่างที่เราตีความหรือที่เราคิด
ทีปภาวันธรรมสถานมีโปรแกรมการปฏิบัติภาวนาสำหรับชาวบ้านเกาะสมุย เพื่อให้ไม่หลงติดกับโภคทรัพย์จากธุรกิจ และการหาทรัพย์ โปรแกรมดังกล่าวเรียกว่า “การภาวนาเพื่อหาอริยทรัพย์” จัดทุกวันเสาร์ต้นเดือน

จุดประสงค์การจัดอบรม
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ธรรมะระดับหัวใจของพระพุทธศาสนา คือเรื่องทุกข์และดับทุกข์, เรื่อง อริยสัจจ์สี่ และเรื่องปฏิจจสมุปบาท และปฏิบัติอานาปานสติ ภาวนา เป็นหลักสำคัญ

 รูปแบบการจัดอบรม : อานาปานสติภาวนา

 การปฏิบัติตน :
รับประทานอาหารวันละ 2 มื้อ (งดเว้นเนื้อสัตว์) วันที่ 6 ของการอบรมจัดให้ฝึกเข้าอยู่อุโบสถศีล โดยรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว ฝึกหัดการนอนด้วยหมอนไม้ พร้อมเครื่องนอนที่เรียบง่ายที่สุด ฝึกการใช้ชีวิตเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้า ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองโดยลำพัง เพื่อให้สามารถศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ ภาวะจิตใจของตัวเองได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา

 การเตรียมตัว :
ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมพร้อมเรื่องหน้าที่การงาน เพื่อไม่ต้องกังวลในระหว่าอบรม, ในระหว่างอบรมต้องงดการติดต่อกับบุคคลทั้งภายนอก และภายใน งดใช้โทรศัพท์มือถือ มุ่งฝึกสติสัมปชัญญะตลอดเวลา ตามหลักสูตรการอบรม, การแต่งตัวต้องสุภาพเรียบร้อย ไม่นุ่งกางเกงขาสั้น, ต้องเตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ไฟฉาย สบู่ ยาสีฟัน เสื้อแขนยาวสำหรับอากาศเย็นในช่วงเช้าๆ กระดาษชำระ ผ้าขาวม้า หรือผ้าถุงสำหรับเปลี่ยนเวลาอาบน้ำ, ต้องเข้าร่วมปฏิบัติทุกรายการ ตามตารางอบรม, ผู้ปฏิบัติต้องมีศีลห้า หรือศีลแปด เป็นพื้นฐานในการอบรม, อาหารที่นี่ใช้มังสะวิรัติ รับประทานเพียง ๒ มื้อ มื้อเช้า ๐๗.๓๐ น. มื้อเที่ยง ๑๑.๓๐ น. ตอนเย็นทานน้ำปานะ

ตารางปฏิบัติธรรม :
วันที่ 12-17 ของทุกเดือน สำหรับภาคภาษาไทย, วันที่ 21-27 ภาคภาษาอังกฤษ

 ระดับการอบรม :
เริ่มต้นถึงปานกลาง

 
 


การเดินทางไป "ทีปภาวัน" ไม่ยากเลย ขับรถไปทางละไม หากไปจากเฉวงก็จะผ่านทางเข้าหินตาหินยายก่อน และขับไปอีกเล็กน้อย ก็จะเห็นวัดศิลางู ฝั่งตรงข้ามจะเป็นทางขึ้นเขาไป "ทีปภาวัน" ใช้เกียร์ต่ำ ขับช้าๆ ขึ้นเขาไปประมาณ 700-800 เมตร ก็จะเห็นและสัมผัสกับบรรยากาศบนเขาที่เงียบสงบและยังมีสภาพความเป็นป่าอย่างสมบูรณ์ ภายในสถานปฎิบัติธรรม ก็จะมีไก่แจ้ นกหลากหลายชนิดส่งเสียงร้องตลอดเวลา ยิ่งตอนเช้าๆจะยังมีหมอก และอากาศเย็นๆ ตามทางเดินก็จะมีป้ายคำสอนของท่านพุทธทาสอยู่เป็นระยะๆ




มีโรงอาหารที่เลี้ยงอาหารมังสวิรัติ โรงปฎิบัติธรรม ลานเดินจงกลม และเรือนพักแยกชายและหญิง สำหรับผู้ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร 5 วัน






สำหรับหลักสูตรระยะสั้นทุกเสาร์ต้นเดือน เรียกว่า "สุดสัปดาห์ตามหาอริยทรัพย์"

เริ่มจาก 7.00 น. นัดเจอกันตรงทางขึ้นเขา สำหรับคนที่ไม่มีรถขึ้นไป จะมีรถลงมารับที่ปากทางขึ้นไปที่ทีปภาวัน รับประทานอาหารเช้ากัน

8.00 - 9.00 น. ทำวัตรเช้า (สวดมนต์ตอนเช้า)

พัก 30 นาที

9.30- 11.00 น. อาจารย์โพธิ์เทศน์สั่งสอนและแนะนำวิธีฝึกสมาธิ และร่วมกันปฎิบัติ

11.00-12.45 น. พักรับประทานอาหาร

13.00 - 15.00 น. ร่วมกันฝึกสมาธิภาคบ่ายต่อ

15.00 - 16.00 น. สวนมนต์ทำวัตรเย็น





ขอขอบพระคุณที่มา... http://www.bangkokbiznews.com

21
ธรรมะ / ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
« เมื่อ: 01 ก.ย. 2553, 10:51:56 »
   

  ธ ร ร ม ด า ที่ ไ ม่ ธ ร ร ม ด า
พระศรีรัชมงคลบัณฑิต
อาจารย์ประจำคณะศาสนาและปรัชญา มมร.


เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”
แล้วบางท่านอาจทำความเข้าใจไปว่า
เป็นการพูดเล่นสำนวนหรือเปล่า
บอกตามความเป็นจริงว่า
ไม่ได้มีความต้องการจะพูดเล่นสำนวนแต่อย่างใดทั้งสิ้น

แต่จะเอาเรื่องที่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ถึงแก่ชีวิต
ของสรรพสัตว์คือทั้งมนุษย์ทั่วไป
และสัตว์เหล่าอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ มาบอกกล่าวให้ได้ฟังกัน

ซึ่งเรื่องที่จะ บอกกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ทุกท่านรู้จักกันดีอยู่แล้ว
และเรื่องที่รู้จักกันดีอยู่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจ

คำว่าธรรมดานี้ท่านทั้งหลายอาจจะเคยได้ฟังมามากแล้ว
เช่นธรรมดาคนโง่ย่อมจะพูดจะคิดจะทำเรื่องอะไรก็
ความที่โง่ๆ เหมือนตัวเองธรรมดาคนที่เป็นบัณฑิต
คือคนฉลาดคนดีย่อมจะคิดจะพูดจะทำแต่ในสิ่งดีๆ

ธรรมดาคนที่ เป็นผู้นำต้องรู้จักหลักการเป็นผู้นำ
ธรรมดาคนจนต้องรู้จักเจียมตัว
ธรรมดาคนรวยก็ต้องทำตัวให้เหมาะสมกับที่ตนรวย
ธรรมดาคนแก่ต้องรู้จักความแก่ของตน
ธรรมดาชาวนาก็ต้องทำนา ชาวสวนชาวไร่ก็ต้องทำสวนทำไร่
ธรรมดาพ่อค้าก็ ต้องค้าขาย เป็นต้น

หรือธรรมดามนุษย์ปุถุชนย่อมจะมีความโกรธ
โมโห ความโลภ ความอยากได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ความหลง ยึด มั่นถือมั่น ราคะ
ความกำหนัดยินดีอย่างไร้ขอบเขต อคติ
ความลำเอียงด้วยความชอบพอ รักใคร่
โปรดปรานเป็นพิเศษหรือเป็นส่วนตัว
ลำเอียงด้วยความโกรธ ไม่ชอบหน้า ไม่ชอบนิสัย
ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว
หรือไม่ชอบอื่นๆ ลำเอียงด้วยความหลง

ยึดมั่นถือมั่นไม่รู้จักปล่อยวาง
จะเอาทุกอย่าง จะเอาให้ได้ดังใจทุกเรื่อง
ลำเอียงด้วยความกลัว เกรงใจ ขี้ขลาด
ทำอะไรเขาไม่ได้เพราะกลัวเขา
ไม่ว่าเขาจะผิดหรือยังไงก็ตาม
ย่อมจะปล่อยให้เป็นผู้ถูกต้องเสมออย่างนี้อันตราย

แต่ธรรมดาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงธรรมดาแบบที่ว่าของบนนี้
แต่จะหมายถึงเรื่องหรือสภาวะที่เป็นปกติ
ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์อะไร
เป็นเรื่องที่มีมาแต่เดิม ในปัจจุบันนี้ก็มีปรากฏให้เห็นกันอยู่
แม้ในอนาคตจะเป็นช่วงเวลาที่ยืดยาวไกลขนาดใดก็ตาม
ถ้ายังมีสรรพสัตว์อยู่ ธรรมดาเหล่านี้ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม

และข้อสำคัญก็คือธรรมดานี้มีแก่มนุษย์และอมนุษย์ทั้งมวล
โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่มีอคติโดยประการทั้งปวง

ท่านทั้ง ๓ นี้ หมดเชื้อที่ทำให้ต้องเกิดแล้ว
จึงไม่ต้องมาเกิดใหม่ เมื่อไม่เกิด
ธรรมดาที่ไม่ธรรมดาทั้ง ๓ นั้น จึงทำอะไรให้ท่านไม่ได้
เมื่อไม่เกิดแล้ว จะมีความแก่เป็นธรรมดามาแต่ที่ไหน
เมื่อไม่มีการเกิดแล้ว จะมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดามาแต่ที่ไหน
เมื่อไม่เกิดแล้ว จะมีความตายเป็นธรรมดามาแต่ที่ไหน

ดังนั้นท่านพระอริยบุคคลผู้ประเสริฐทั้ง ๓ นั้น
จึงสามารถข้ามพ้นจากสภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดาได้โดยสิ้นเชิง


ท่านทั้งหลายสภาพที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดานี้
ถึงแม้โดยธรรมชาติแล้วจะเป็นเรื่องไม่น่ากลัว
เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องมีอยู่โดยธรรมชาติกับชีวิต

แต่มนุษย์ปุถุชนทั้งมวลที่อยู่ในภาวะปกติจิต
ต่างก็พากันกลัวในธรรมดา ๓ อย่างนี้นัก
เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากแก่หาวิธีการป้องกันในรูปแบบต่างๆ
แต่ก็ต้องแก่ ที่ไม่อยากเจ็บป่วยหาอะไรต่อมิอะไรมากมาย
ช่วยแก้อาการเจ็บป่วยแต่ก็ต้องเจ็บป่วยจนได้

และในที่สุดท้ายปลายทางแห่งชีวิตแล้วแม้จะไม่อยากตายแท้ๆ
ก็ยังหนีความตายไม่ได้ เกิดเท่าไหร่ ตายเกลี้ยงไม่เหลือหลอ
ถึงผู้ดี เข็ญใจ ตายเกินพอ แม้แต่หมอก็ต้องตาย วายชีวัน

ธรรมดาที่ว่านี้มี ๓ ประการ คือ ชราธมฺโมมฺหิ
เรามีความแก่เฒ่าความชราความชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา
พฺยาธิธมฺโมมฺหิ เรามีความเจ็บไข้ ป่วยไข้ เป็นธรรมดา
มรณธมฺโมมฺหิ เรามีความตายเป็นธรรมดา

คำว่า เราในที่นี้ หมายถึงตัวเองของมนุษย์ทุกคน
และอมนุษย์คือสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์
เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน
เทวดา พระพรหม ทั้งหมด

ที่นี้ถ้ามีใครอยากจะถามว่า ใครเป็นคนบอกว่า
สภาพทั้ง ๓ นี้ เป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสัตว์
รวมทั้งมารโลก เทว โลก จนถึงพรหมโลก
ก็ตอบได้เลยว่า องค์สมเด็จพระบรมครูบรมศาสดาของชาวโลก
คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
เป็นผู้ตรัสไว้ใน ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
ชื่อพระสูตรชื่อ อภิณหปัจจเวกขณสูตร
ตั้งแต่สองพันกว่าปีที่ผ่านมา จนมาถึงแม้ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้

พระพุทธพจน์นั้นก็ยังคงเป็นอย่างนั้นมีผลสัมฤทธิ์อย่างนั้น
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังเป็นความจริงอยู่อย่างนั้นเสมอ
วัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าตรัสธรรมดาทั้ง ๓ ประการนี้ไว้
ก็เพื่อจะให้พุทธบริษัททั้งที่เป็นบรรพชิต
และคฤหัสถ์ทั้งที่เป็นสตรีและบุรุษหมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ
พิจารณาอยู่อย่างสม่ำเสมอ

เพื่อจะป้องกันไม่ให้คนประมาทแล้วไปทำเรื่องอื่นๆ
จนลืมธรรมดาซึ่งเป็นความจริงของชีวิต
ทำให้เกิดความหลงใหลไม่รู้จริง
หลงยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นเหตุแห่งทุกข์นานาประการ

ถ้ามนุษย์พุทธบริษัทหรือประชาชนทั่วไป
หมั่นพิจารณาธรรมดาทั้ง ๓ อย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ
เมื่อถึงวาระที่ต้องแก่ เมื่อถึงคราวป่วยไข้จะร้ายแรงเพียงใดก็ตาม
หรือแม้ถึงคราวต้องตายต้องละจากโลกนี้ไปในโลกอื่น
ก็ไม่เกิดความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ คร่ำครวญ
จะมีสติสัมปชัญญะพร้อมที่จะยอมรับความเป็นจริง
คือธรรมดาทั้ง ๓ อย่างนี้ได้

ทำไมจึงบอกว่า สภาพทั้ง ๓ คือ
ความแก่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความตาย เป็นเรื่องธรรมดา

จะขอกล่าวเฉพาะประเด็นที่เป็นมนุษย์เป็นหลัก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
สรรพสัตว์อย่างอื่นนอกจากมนุษย์แล้วจะสามารถล่วงพ้น
หรือข้ามธรรมดาทั้ง ๓ นี้
โดยไม่ต้องแก่ ไม่ต้องมีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ต้องตาย ไปได้
สรรพสัตว์ทั้งหมดทั้งในโลกนี้
และในโลกอื่นล้วนตกอยู่ในกฎธรรมดาทั้ง ๓ นี้ เช่นกัน

ขึ้นชื่อมนุษย์หรือจะเรียกว่าคนก็ตามสุดแล้วแต่จะเรียกกัน
ไม่เคยมีมนุษย์ปุถุชนในอดีตชาติแม้แต่คนเดียวจะหลบหลีก
หรือหลีกเลี่ยงธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

เพียงแต่บางคนอาจจะตายแต่ในท้องมารดา
หรือตายตอนเป็นหนุ่มสาวอาจไม่ต้องแก่
หรือเจ็บไข้ได้ป่วยมากมายอะไรนัก
แต่ก็ข้ามธรรมดาที่ ๓ คือความตายเป็นธรรมดาไม่ได้

ถึงในปัจจุบันชาตินี้ก็ตามขอให้ช่วยคอยดูกันสังเกตกันไปว่า
จะมีใครสักคนไหมที่จะข้ามธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

แต่ก็จะบอกแบบฟันธงล่วงหน้าได้เลยว่า
ไม่มีแน่นอนสำหรับมนุษย์ปุถุชน
และแม้ในอนาคตชาติ ถึงแม้ธรรมดาทั้ง ๓ นั้น
มันยังมาไม่ถึงหรือยังไม่เกิดขึ้นก็สามารถบอกล่างหน้าได้เช่นกันว่า
สำหรับมนุษย์ปุถุชนยังไงๆ ก็ไม่สามารถที่จะข้ามธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

ที่นี้จะขอกล่าวในประเด็นที่ว่าธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

ประเด็นนี้จะนำเอาเรื่องที่มีประจักษ์แก่ทุกคน
มาบอกเล่าให้ท่านทั้งหลายฟัง
ที่บอกว่าธรรมดาที่ไม่ธรรมดา จะขอยกตัวอย่างเช่น

คนที่มีวาสนาบารมี มีข้าวของเงินทองยศถาบรรดาศักดิ์แบบล้นฟ้า
สามารถที่จะเอาสมบัติที่ตนมีอยู่นั้นไปแลกไปทำอะไรก็ได้
แต่ทำไมจึงเอาไปแลกไม่ให้แก่ชราไม่ได้
ทำไมจึงเอาไปแลกกับความตายคือทำให้ตนเองไม่ต้องตายไม่ได้

ยิ่งคนที่เรียนรู้มาในทางการแพทย์มีความรู้เต็มเปี่ยมสามารถ
ที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้นานาชนิดแต่แล้วทำไม
คุณหมอทั้งหลายจึงไม่สามารถข้ามพ้นความตายไปได้
หมายความว่า ทำไมคนที่เป็นหมอแท้ๆ จึงยังต้องตาย
ทำไมไม่คิดหายาชนิดไดก็ได้เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะทำให้ไม่ต้องตาย
อย่างก็บอกได้เลยว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

เรื่องที่น่าจะเป็นก็คือคนจนยากไร้ขาดการศึกษา
ขาดทรัพย์สมบัติทั้งปวง อยู่ในถิ่นทุรกันดารทำมาหากินก็แสนจะลำบาก
ขาดโอกาสในสังคมโดยประการทั้งปวง คนพิการลักษณะต่างๆ เท่านั้น
น่าจะแก่ น่าจะเจ็บ และน่าจะตาย

ส่วนคนที่มีการศึกษา คนร่ำรวย คนมีโอกาสทางสังคม
คนที่บอกกับตนเองว่า เป็นผู้ดี เป็นต้น
ไม่น่าจะแก่ ไม่น่าจะเจ็บไข้ และไม่น่าจะต้องตายเลย

ความธรรมดาที่ไม่ธรรมดานี้
ทำสรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจของตนได้ทั้งหมด

ไม่เว้นแม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเหนือมนุษย์และเหล่าเทวดา
ก็ยังต้องทรงชรา ทรงอาพาธ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน
แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยบุคคลที่เป็นพระอรหันต์
ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บป่วย และต้องนิพพาน อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลย

เพราะเหตุไรเล่า ธรรมดาทั้ง ๓ นี้ จึงยุติธรรมดีแท้
เขาไม่แบ่งแยกมนุษย์เลย ไม่เห็นแก่หน้าใครทั้งสิ้น
ไม่มีการลำเอียงกับใคร ไม่ยอมให้ใครที่เกิดขึ้นมา
แล้วผ่านอำนาจของตนไปได้ ควบคุมได้ทั้งหมด
นี้สิจึงสมควรเรียกว่าธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

ถ้าจะพูดถึงมนุษย์ปุถุชนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นใคร
อยู่ในชาติใด นับถือศาสนาใดก็ตาม
เขามีการเหลื่อมล้ำกัน ไม่เสมอกันเกือบทุกเรื่อง
จะได้รับอภิสิทธิ์มากกว่ากัน ได้อะไรต่อมิอะไรมากน้อยกว่ากัน

จนกลายเป็นทิฏฐิมานะสำหรับคนบางคนหรือบางกลุ่มว่า
คนเช่นเราต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ต้องมีเกียรติ ต้องให้ความเคารพ ต้องเชื่อฟังเราเสมอไป
จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนๆ นั้น หรือกลุ่มนั้น

แต่ธรรมดาแบบที่ว่านี้มันเป็นเรื่องธรรมดา
จนกลายเป็นความเคยชินกันไปสำหรับคนั้นหรือกลุ่มนั้น
และทำให้คนในสังคมต้องแบ่งแยกกันโดยอัตโนมัติ
และธรรมดาแบบนี้เป็นธรรมดาที่ไม่ยุติธรรมแก่ทุกคน
คนที่มีส่วนได้จะบอกว่ายุติธรรมแต่คนที่ไม่ได้จะบอกว่าไม่ยุติธรรม

หากจะมีคำถามว่า แล้วจะมีใครบ้างไหมหละ
ที่จะสามารถก้าวล่วงข้ามพ้นจากสภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

ขอตอบว่า มี

คือ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตขีณาสพ
ท่านทั้ง ๓ นี้ หมดเชื้อคือกิเลสที่เป็นสิ่งต้องให้ทำกรรม
และเสวยผลแห่งกรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ท่านเปรียบอริยบุคคลทั้ง ๓ นี้ว่า
เหมือนเปลวไฟที่ไหม้เชื้อจนหมด ไม่มีเชื้อต่อไป
เมื่อดับไปก็ดับได้อย่างสนิท
ไม่กลับมาลุกเป็นไฟได้ใหม่เพราะหมดเชื้อเพลิงนั่นเอง
จะอย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันชาติท่านทั้ง ๓ นั้น
ก็ยังคงต้องแก่ ต้องเจ็บป่วย และต้องตาย อย่างหลีกหนีไม่ได้

ท้ายสุดแล้วก็ไม่มีใครก้าวล่วงธรรมดาที่ไม่ธรรมดานี้ได้

ขอขอบพระคุณที่มา...ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา โดย พระศรีรัชมงคลบัณฑิต
อาจารย์ประจำคณะศาสนาและปรัชญา มมร ใน www.mbu.ac.th.
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16812

22


ความลึกลับของภูลังกาหรือ(รังกา) อันเป็นดินแดนลี้ลับอย่างอาถรรพณ์ มีภูเขาห้าลูกเชื่อมโยงกันด้วยป่าไม้หนาแน่นสูงเฉียดฟ้าและหุบเหว มีเรื่องปรัมปราพื้นบ้านเล่าสืบทอดกันมาว่า

ภูลังกาในสมัยดึกดำบรรพ์ ยุคสร้างโลกเป็นที่สถิตอยู่ของ “รังกาเผือก” มีไข่ ๕ ฟอง วันหนึ่งขณะที่ กาเผือกสองผัวเมียออกไปหาอาหารได้เกิดลมพายุพัดเอารังกาพลิกไหว ไข่ทั้ง ๕ ฟอง ปลิวไปตามลมแรงกระจัดกระจายไปตกลงยังที่ต่างๆ

ไข่ฟองที่ ๑ ไปตกยังถิ่นของแม่ไก่ แม่ไก่นำไปเลี้ยงไว้ต่อมาก็คือพระกกุสันโธพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๒ ไปตกในเมืองพญานาค ท้าวพญานาคนำไปเลี้ยงไว้ ต่อมาได้เป็นพระโกนาคมพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๓ ไปตกในแดนของเต่า พญาเต่านำไปเลี้ยงไว้กลายเป็นพระกัสโปพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๔ ไปตกในแดนแม่โค แม่โคได้เลี้ยงไว้ ต่อมากลายเป็นพระสมณโคตมะพุทธเจ้า และ
ไข่ฟองที่ ๕ ไปตกที่แดนของพญาราชสีห์ พญาราชสีห์เอาไปเลี้ยงไว้กลายเป็นพระศรีอริยเมตไตรย รวมเป็นพระเจ้า ๕ พระองค์

เรื่องภูลังกาที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า ๕ พระองค์นี้ เป็นเรื่องพื้นถิ่นความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบันดาลใจให้ชาวบ้านเทิดทูนพระพุทธเจ้า ต้องการให้เห็นว่าพื้นถิ่นของตนนั้นมีความผูกพันเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้ง ๕พระองค์อยู่ตลอดไปก็เลยเป็นว่าภูลังกาเป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์



ภูลังกา...ดินแดนพิสูจน์คนกล้า พระแกร่ง



ยอดเขาด้านหลังคือภูลังกา จากพื้นถึงยอดประมาณ ๒ กิโลเมตร

ภูลังกา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระป่าอันสัปปายะวิเวก ที่ครูบาอาจารย์สมัยก่อนชอบแวะเวียนไปอยู่เสมอ ถึงแม้จะลำบากในเรื่องอาหาร ต้องอดแห้งอดแล้งท้องกิ่วเหมือนฤๅษีชีไพรและอาหารที่ไปบิณฑบาตมาได้จะเป็นเพียงข้าวเหนียว ๑ ก้อนเล็กๆ กับเกลือและพริกได้มาแค่ไหนก็ฉันกันแค่นั้น ไม่คิดมากไม่ถือว่าเรื่องอาหารเป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนา เพราะจิตมีความมุ่งหมายอยู่ที่การขูดเกลากิเลสตัณหาความทะยานอยากให้หมดไป เพื่อพ้นทุกข์ จิตสะอาดบริสุทธิ์ สว่าง สงบ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ดังนั้นพระป่าจึงไม่มีการบ่นว่า หิวเหลือเกิน อ่อนเพลียไม่มีแรงจะเป็นลม ต่างก็หุบปากเงียบ เฝ้าแต่เดินจงกรม กับนั่งสมาธิภาวนา กำหนดสติรู้คอยระมัดระวังกิเลสตัณหาในตัวเองอยู่ตลอดเวลา รู้เท่าทันกิเลส ใช้ขันติ ความอดทน อดกลั้น ในทุกสถานการณ์ ไม่ทำตามกิเลสทุกรูปแบบ บังคับตัวเองได้ เป็นนายตัวเองได้ ถ้าเจ็บไข้ อาพาธ ไม่ต้องไปหาหยูกยาใดๆ รักษาตัวเองด้วยการนั่งสมาธิภาวนา สลับกับเดินจงกรม ไม่ฉันอาหาร เพื่อให้กระเพาะลำไส้ได้หยุดพักผ่อน เรียกว่า รักษาด้วยธรรมโอสถ หายก็ดี ไม่หายก็ตาย ถ้าตายก็หายห่วง จะได้ดับให้สนิทไปเลย ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ความตายไม่ใช่สิ่งน่ากลัวอะไร !



ภูลังกา ธรรมสถานแห่งพระอริยะ
พระป่าในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ได้เคยไปอยู่จำพรรษา หรือไปเพื่อการวิเวก บนภูลังกาหลายองค์ เช่น พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นต้น

พระอาจารย์ชา สุภัทโธ ปรารถนาพบพระอาจารย์วัง
พระอาจารย์ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ อายุได้ ๓๑ พรรษาที่ ๑๑ ได้เดินธุดงค์ออกจากวัดป่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม บุกป่าฝ่าดงขึ้นสู่ภูลังกา ใกล้กับบึงโขงหลง เหตุที่พระอาจารย์ชาต้องบุกป่าฝ่าแดนอันตรายด้วยไข้ป่าและสัตว์ร้ายไปภูลังกา ก็เพราะว่าอยากจะพบปะสนทนากับ พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลืออยู่ในหมู่นักธรรมกรรมฐานว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ เชี่ยวชาญในเจโตสมาธิ ทั้งในด้านสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ปรารถนาพุทธภูมิ


ทางขึ้นสู่ยอดเขาสูงชัน บางตอนต้องใช้บันไดลิง

ตอนนั้นพระอาจารย์ชายังไม่เคยเห็นหน้าพระอาจารย์วังมาก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อเสียงอันบันลือของท่านเท่านั้น พระอาจารย์ชามีความปรารถนาอยากจะพบพระอาจารย์วังให้ได้ ระยะเวลานั้น พระอาจารย์ชามีความสับสนในธรรมปฏิบัติมาก ต้องการหาใครก็ได้ที่พอจะเป็นกัลยาณมิตร ช่วยชี้แนะแนวทางปฏิบัติธรรมให้ เหมือนกับว่าเดินไปถึงจุดๆ หนึ่งแล้วมีอันต้องสะดุดหยุดชะงักลง ไม่สามารถเดินต่อไปได้ มันมืดแปดด้าน ก็ระลึกถึงพระอาจารย์วังที่ขึ้นไปนั่งบำเพ็ญเพียรบนยอดภูลังกา แม้จะยังไม่เคยเห็นความแกร่งกล้าในการบำเพ็ญเพียรของพระอาจารย์วัง ว่าบรรลุถึงขั้นใดแล้วก็ตาม แต่พระอาจารย์ชาก็เชื่อมั่นอย่างหนึ่งว่า พระอาจารย์วังคงต้องมีดี อย่างใดอย่างหนึ่ง มิฉะนั้นคงไม่ขึ้นอยู่บนยอดเขา

เมื่อขึ้นไปถึงถ้ำชัยมงคลบนยอดภูลังกาแล้ว ก็ได้พบว่าครูบาวังอยู่กับสามเณรเพียง ๒ รูปเท่านั้น บรรยากาศบนภูลังกาเงียบสงบ อากาศดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรยิ่งนัก พระอาจารย์ชา ได้ปรารภถึงความสับสนของตนในการบำเพ็ญเพียรภาวนา จึงได้บุกบั่นมาเพื่อขอให้ครูบาวังช่วยชี้แนะนำทางที่ถูกที่ควรให้
ครูบาวังได้ถามฉันเมตตาจิตว่า ความสับสนนั้นเป็นประการใด

พระอาจารย์ชาได้กล่าวว่า การทำสมาธิภาวนาเหมือนสะดุดอยู่กับที่ ไม่มีที่ไป แม้ย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ เพื่อหาทางต่อไป แต่ก็ไม่อาจทำได้ ยังคงหยุดอยู่กับที่เช่นเดิม

ครูบาวังได้นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง หลับตากำหนดรู้ด้วยกระแสญาณ แล้วลืมตาขึ้น ได้ให้คำชี้แนะแก่พระอาจารย์ชาว่า ไม่ต้องกำหนดจิตไปไหน ให้หยุดอยู่ตรงนั้นแหล่ะ กำหนดรู้อยู่ตรงนั้น แล้วมันก็จะเปลี่ยนไปเอง เราไม่ต้องไปบังคับใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ให้กำหนดรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นเอง เดี๋ยวจิตมันก็เปลี่ยนไปเอง เราไม่ต้องไปวุ่นวายอะไร อย่าเข้าใจว่าหมดสิ้นแล้ว เดี๋ยวมันจะมีขึ้นอีก เพียงแต่กำหนดสติรู้แล้วปล่อยวาง มันจะไม่เป็นอันตราย ถ้าเราไม่วิ่งตามมัน

พระอาจารย์ชาได้สดับตรับฟังแล้ว มีความรู้สึกว่า ความสับสนวุ่นวายในจิตได้หายไปเป็นปลิดทิ้ง เกิดความเข้าใจในความละเอียดอ่อนลึกซึ้งในธรรมปฏิบัติมากขึ้น มีความสบายอก สบายใจ ไม่รุ่มร้อนดังแต่ก่อน ได้กำหนดในใจว่า จะอยู่บำเพ็ญเพียรบนภูลังกาสัก ๓ วัน ต่อจากนั้นจะออกจาริกธุดงค์ต่อไป ไม่ติดที่อยู่อาศัย ท่องเที่ยวไปตามลำพังแต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท เพียรพายามเผากิเลส เพื่อทำให้รู้แจ้งถึงที่สุดพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม อันเป็นสุดยอดปรารถนาของเหล่ากุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา
พระอาจารย์ชาได้พยามบำเพ็ญธรรมอย่างหนัก เร่งทำความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อให้ได้ผลเร็วขึ้น เมื่อมาอยู่ใกล้ครูบาวังผู้ล้ำลึกในธรรม ควรที่จะตักตวง มีอะไรสงสัยจะได้ถามท่านได้และก็ไม่ได้ผิดหวังเลย ครูบาวังได้ให้ความกระจ่างในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น ทำให้ พระอาจารย์ชาได้หลักการอย่างหนึ่งว่า นักปฏิบัติธรรมนั้นไม่สามารถจะไปเจริญภาวนาคนเดียวได้ แม้จะภาวนาได้ก็จริง แต่ชักช้าเนิ่นนานมาก แต่ถ้ามีกัลยาณมิตรคอยช่วยชี้แนะแนวทางให้ การปฏิบัติธรรมก็จะไปเร็วขึ้น ไปสู่ทางที่ปรารถนาเร็วขึ้น

อยู่ครบ ๓ วันแล้วพระอาจารย์ชาก็กราบลาครูบาวังลงมาจาก ภูลังกา ออกเดินธุดงค์แสวงหาโมกขธรรมต่อไป ดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอจักมีใจจดจ่ออยู่ในเสนาสนะป่าอยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย พึงเที่ยวไปคนเดียวดุจช้างม้าตังคะที่เที่ยวไปในป่าตัวเดียว เป็นสัตว์มักน้อยฉะนั้น


หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
หนังสือ ๑๐๐ ปีหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้กล่าวถึงการไปจำพรรษาของท่าน บนภูลังกาไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ อายุ ๔๕ ปี พรรษาที่ ๒๖ เดินทางกลับบ้านบัว เพื่อดูแลและเทศนาสั่งสอนอบรมสมาธิให้แก่โยมแม่เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเข้าพรรษา โยมแม่ก็เสียชีวิต ได้จัดการฌาปนกิจศพโยมแม่เสร็จแล้วจึงตั้งใจไปจำพรรษาที่ภูลังกา บ้านโพธิ์หมากแข้ง ตำบลบึงโขงหลง อำเภอเซกา (ในขณะนั้น) จังหวัดหนองคาย ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบัวประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ได้ไปแวะที่วัดศรีวิชัยก่อนขึ้นไปจำพรรษาที่ภูลังกา เดินทางร่วมกับพระอาจารย์สวน และตาผ้าขาว ได้เลือกชะโงกหินเหนือถ้ำชัยมงคล บนยอดภูลังกาของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร สหธรรมมิก ที่เคยร่วมกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่นเป็นที่จำพรรษา พระอาจารย์วังเคยจำพรรษาอยู่ก่อนถึง ๕- ๖ ปี ซึ่งต้องเดินขึ้นที่สูงเต็มไปด้วยโขดผาหิน ต้องไต่เขาและปีนป่ายขึ้นที่สูงชัน ใช้เวลาหลายชั่วโมง ในสมัยนั้นในป่าเขา เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด อีกทั้งเป็นฤดูฝน หนทางขึ้นลงก็ลำบาก ยากต่อการบิณฑบาต ความเป็นอยู่การขบฉันเป็นด้วยความลำบากยากแค้น มีชาวบ้านปวารณาตัว จึงนำเสบียงอาหารใส่เกวียน เดินทางจากหมู่บ้านศรีเวินชัยไปถึงภูลังกาใช้เวลา ๑ วัน ขึ้นไปส่งให้อาทิตย์ละครั้ง ต้องนอนพักค้างแรมอีก ๑ คืน อาหารหลักคือหน่อไม้ ลูกคอนแคน ยอดคอนแคนจิ้มน้ำพริก ตลอดจนหัวกลอย เป็นต้น แต่การภาวนาที่นี่เป็นที่พอใจมาก “ปรากฏธรรมอัศจรรย์” ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ปัจจุบันยังมีลายมือหลวงปู่ที่เขียนไว้ว่า “ถ้ำอยู่เย็นเป็นสุข ถ้ำอาจารย์สิม” ณ เงื้อมชะโงกผา ที่ท่านปักกลดจำพรรษาตลอดพรรษานั้นยังคงปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เคยมาจำพรรษาบนภูลังกา
จากประวัติหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ได้บันทึกการมาปฏิบัติธรรมของท่านบนภูลังกาเอาไว้ว่า ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านเจริญกัมมัฏฐานมาหลายปีทีเดียว แต่จะเป็นพรรษาที่เท่าไรนั้น ท่านก็มิได้บอกให้ทราบ ท่านเล่าแต่เพียงว่าเมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาที่ภูลังกา ท่านก็ได้ทำความเพียร ในขณะที่เร่งทำความเพียรอยู่ที่ภูลังกานั้น ถึงกับไม่ฉันข้าว ฉันน้ำ ท่านว่ามันจึงจะรู้จักโลก แจ้งโลก พอจิตบรรลุถึง “ โคตรภูญาณ ” จิตก็รู้ได้หมดได้ทั่วไปว่า วิญญาณพวกไหนที่อยู่ในโลก ก็สามารถรู้จักและเห็นหมดในโลกธาตุ ว่าเป็นอยู่อย่างไร

หลวงปู่สังข์ ออกธุดงค์ มาถึงภูลังกา
จากประวัติหลวงปู่สังข์ สังกิจโจ ได้บันทึกว่าพรรษาแรกที่บรรพชาเป็นสามเณรอยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า หลังจากออกพรรษาแล้ว เคยไปกราบครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิหลวงปู่สีลา อิสฺสโร หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม เป็นต้น จากนั้นได้ไปเที่ยวรุกขมูลกับพระอาจารย์บุญส่ง โสปโก ตามทางหลวงปู่ตื้อเคยไป เช่น บึงโขงหลง แล้วไปถึงภูลังกา ได้พบกับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ที่ถ้ำชัยมงคล

หลวงปู่คำพันธ์ ธุดงค์ผ่านภูลังกา
จากประวัติหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ บันทึกว่า ท่านได้เดินรุกขมูลขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง เข้าเขตุอำเภอบ้านแพง ขึ้นภูลังกา ยามเย็นได้ไปยืนอยู่ที่หน้าผาฝั่งตะวันตก ในเขตบึงโขงหลง มองลงมาข้างล่าง เห็นฝูงช้างจำนวนมาก บางตัวก็มีลูกอ่อน พากันหักต้นกล้วยป่ากินเป็นอาหารแบบสบายอารมณ์ ฝูงละ ๕ ตัว ๖ ตัวบ้าง

จากการค้นคว้าประวัติครูบาอาจารย์ ทำให้รู้ว่าอาณาบริเวณถ้ำชัยมงคลโดยรอบคือ แดนพระอริยสงฆ์แต่อดีตถึงปัจจุบันได้ขึ้นบำเพ็ญภาวนาไม่ได้ขาด น่าเสียดายที่ทุกวันนี้ดินแดนแห่งนี้ กลับกลายเป็นแหล่งหาผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มไปเสียแล้ว

พระอาจารย์โง่น โสรโย ระลึกถึงอาจารย์
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๖ เป็นเวลา ๙ ปี ที่พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคล ยอดภูลังกา มีพระภิกษุสามเณรเที่ยววิเวกแสวงธรรม แวะเวียนมาพักปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์วังตลอด มีช่วงหนึ่งที่พระอาจารย์โง่น โสรโย ได้แวะกลับมาเยี่ยมพระอาจารย์วัง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน หลังจากทราบข่าวว่าพระอาจารย์วังได้ขึ้นมาจำพรรษาบนภูลังกาแล้ว ท่านจึงได้ตามขึ้นไปเพื่ออยู่อุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์วังเป็นเวลา ๒๐ วัน ในครั้งนั้น พระอาจารย์โง่น ได้นำดอกจิก ดอกรัง มาผสมกับดิน ปั้นรูปเสือและลิงเอาไว้ที่ถ้ำ จนปรากฏมาถึงทุกวันนี้



ขอขอบพระคุณ...http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm

23

               

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกกันว่า วัดเจ๊สัวหง, วัดเจ้าสัวหง หรือวัดเจ้าขรัวหง ซึ่งเป็นการเรียกตามชื่อเศรษฐีชาวจีน ชื่อ นายหง

ในสมัยธนบุรี วัดเจ๊สัวหง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด ใน พ.ศ.2319 พระราชทานนามว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร

วัดหงษ์อาวาสวิหารเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยธนบุรี พระบรมวงศานุวงศ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จมาทรงศึกษาพระธรรมและบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่เสมอ เช่น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ ทรงผนวชและประทับที่วัดนี้ ด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต่อมาประชาชนจึงได้สร้างศาลของพระองค์ขึ้นเป็นที่เคารพสักการะ

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ขณะดำรงพระอิสริยยศกรมพระ ราชวังบวรสถานมงคลได้เสด็จประ ทับที่พระราชวังเดิม พระราชวังเดิมจึงมีฐานะเป็นพระบวรราชวังด้วย วัดหงษ์อาวาสวิหารจึงได้รับพระราช ทานนามใหม่ว่า วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร แต่ยังไม่แล้ว เสร็จก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับพระราชภาระแทนจนสำเร็จ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมจนสำเร็จเรียบร้อยแล้วพระราชทานนามว่า วัดหงส์รัตนาราม

ดินแดนลาวในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีฐานะเป็นประเทศราชของไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า "ถ้าฉันพอใจจะให้มีพระพุทธรูปสำคัญ มีชื่อที่คนนับถืออยู่ที่วัดหงส์ เป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ให้เป็นพระเกียรติยศแล้ว พระชื่อพระแสนอยู่เมืองเชียงแตงอีกพระองค์หนึ่ง งามหนักหนา ฉันจะมีตราไปอัญเชิญมา...."

พระแสน ได้ถูกอัญเชิญลงมาถึงพระนคร เมื่อปีมะเมีย นักษัตร เอกศก จุลศักราช 1221 พุทธศักราช 2402 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดหงส์รัตนาราม ตราบถึงทุกวันนี้

พระแสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยล้านช้าง หน้าตักกว้าง 25.5 นิ้ว สูงตั้งแต่หน้าตักถึงยอดพระรัศมี 39 นิ้ว ฐานบัวสูง 4 นิ้ว ฐานล่าง 3 นิ้ว

กล่าวได้ว่า พระแสนเมืองเชียงแตง มีพุทธลักษณะอย่างพระเชียงแสน มีตำนานการสร้างและประวัติยาวนานมาก เมื่อครั้งพระครูโพนเสม็ด ผู้เป็นปราชญ์แห่งเมืองศรีสัตนาคนหุต ได้อพยพหนีราชภัยไปซ่อนอยู่ในหลายเมืองทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ได้สร้างพระแสนขึ้นไว้ ณ เมืองเชียงแตง ในแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นพระนวโลหะกว่า 160 ชั่ง คำนวณได้กว่าแสนเฟื้อง กลายเป็นที่มาของชื่อพระแสน

พระแสน เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ผู้ประสงค์หวังความก้าวหน้ามียศมีลาภ มักจะไปกราบไหว้บนบานขอ เมื่อถึงเทศกาลวันสงกรานต์จะอัญเชิญพระแสนองค์จำลองออกไปให้ประชาชนได้สรงน้ำเป็นประจำทุกปี



ขอขอบคุณที่มา...ข่าวสด

24
วัดช่องสะเดา

ตั้งอยู่ที่บ้านดอนสันชัย หมู่ที่ ๖ ต.วังลึก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เดิมทีเป็นวัดร้างถูกพม่าเผาทำลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบันทางมหาเถรสมาคม ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบให้ยก วัดช่องสะเดา (ร้าง) ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ขึ้นเป็นวัดใหม่ และมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ที่ดินของวัดมีจำนวน ๑๘ ไร่ ๔๘ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๙๖๒๕

ปัจจุบันมีหลวงพ่อสาโรจน์ ฉนฺทโก เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นชาวอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ได้ทำการบูรณะวัดและใช้ชื่อว่า "วัดช่องสะเดา"
ปัจจุบันมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ๘ รูป


 

ภาพหลวงพ่อสาโรจน์ ฉนฺทโก เจ้าอาวาส


ศาลาการเปรียญ


บริเวณภายในศาลาการเปรียญ


พระประธานภายในศาลาการเปรียญ


พระธาตุภายในศาลาการเปรียญ


ศาลเทพประจำวัด


ศาลเจ้าที่ด้านหน้าวัดติดแม่น้ำ


องค์พระพรหมใกล้ศาลเจ้าที่และจอมปลวก


หน้าวัดติดแม่น้ำ


บรรยากาศภายในวัด


กุฏิสงฆ์






โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปปางต่างๆ รูปเหมือนสมเด็จโต และ องค์ปู่ฤาษีต่างๆ




คติธรรม...คำสอน





25



หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ท่านมรณภาพเมื่ออายุได้ ๑๐๘ ปี ชีวิตของท่านยืนยาวข้ามศตวรรษได้อย่างน่าขบคิด ปริศนาแห่งชีวิตเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในบั้นปลายของท่านน่าศึกษาอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่เป็นเกจิอาจารย์รูปหนึ่ง ของจังหวัดอุทัยธานี อดีตเจ้าอาวาสผู้สร้างวัดห้วยขานาง หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองยาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ท่านเป็นพระภิกษุ ที่ถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ ของเกจิอาจารย์หลายท่าน ด้วยความปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของหลวงพ่อพลอย ท่านจึงมีลูกศิษย์ที่สำคัญของจังหวัดอุทัยธานีหลายองค์


ตำนานชีวิต ๑๐๘ ปี
หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ


ท่านเกิดที่บ้านจาร้า อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๒ คน คือ
๑.หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ นามสกุลเดิม อ่ำสุพรรณ
๒.นางขำ อ่ำสุพรรณ
บิดามารดา ของท่าน มีอาชีพ ทำนา อยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัว ของหลวงปู่พลอยนั้นนับว่าเป็นครอบครัวที่อบอุ่นเรียบง่ายสงบ สมัยที่ท่านยังเป็นเด็กท่านได้ศึกษาหาความรู้จนจบโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๔ ในสมัยนั้นถือว่าดีแล้วที่ใครสามารถจบชั้นประถมปีศึกษาที่ ๔ได้ และเมื่อ ถึงฤดูทำนาถ้าท่านไม่ได้ไปโรงเรียน ท่านจะไปกับ บิดา มารดา เพื่อ คอยดูแลเลี้ยงน้อง เพราะเมื่อถึงหน้าน้ำๆจะหลากท่วมท้องทุ่ง เจิ่งนองไปหมด บิดาของท่านได้ปลูกห้างนาเล็ก ๆ ไว้บนจอมปลวกสูง และในวันหนึ่งเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดก็เกิดขึ้นเมื่อในขณะที่ มารดา กำลังยุ่งกับการทำนาอยู่นั้น นางขำ ซึ่งกำลังเริ่มหัดคลานซุกซนมากและได้พลัดตกลงไปในสระน้ำ เด็กชายพลอยเมื่อเห็นน้องตกน้ำจึงร้องเรียกบอกแม่ว่า “แม่น้องตกน้ำ”เมื่อแม่ได้ยินเสียงเรียกจึงรีบ กระโดดลงไปงมหาลูกสาว หลวงปู่เองก็ยังเป็นเด็ก ก็ได้แต่ยืนจ้องดูแม่ ด้วยความห่วงใย เมื่อแม่ของท่านโผล่ขึ้นมาเพื่อหายใจครั้งหนึ่งท่านก็รีบถามว่า “ได้ไหมแม่” แม่ไม่ทันตอบก็ต้องรีบดำกลับลงไปใหม่ แม่ ดำผุด ดำโผล่อยู่อย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง จึงได้ลูกสาวขึ้นมาเด็กหญิงขำ รอดตายอย่างไม่น่าเชื่อ จนกระทั้ง เด็กชายพลอย และ เด็กหญิงขำ อ่ำสุพรรณ ย่างเข้าสู่วัยรุ่น ด้วยความชราภาพ บวกกับการแพทย์ยังไม่เจริญ พ่อ แม่ ของท่านทั้งสองได้ล้มป่วยลงจากการทำงานหนักมาตลอดชีวิตของท่าน ๆ เพื่ออยากให้ลูกทุกคนมีความสุขสบาย แต่ความหวังของท่านทั้งสองยังไม่สมหวังดังที่ตั้งใจไว้ท่าน ก็เสียชีวิตลงทั้งคู่ ทิ้งให้นายพลอย และนางสาวขำอยู่ด้วยกันสองพี่น้อง นายพลอยจึงต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องสาว ซึ่งเป็นเหตุให้ทั้งสองพี่น้องมีความรักผูกพันกันมาก นายพลอยจึงยึดอาชีพที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อ แม่มา คือการทำนา นายพลอยเป็นคนที่ขยันในการทำงานหาเลี้ยงดูแลน้องสาวมาจนกระทั้ง เมื่อท่านมีอายุ ๒๑ ปี ท่านก็ได้เข้าเป็นทหารเกณฑ์
การที่ท่านได้เป็นทหารเกณฑ์นี้เอง ทำให้ท่านได้มีโอกาส เรียนหนังสือเพิ่มเติม ฝึกฝนการอ่าน และการเขียนหนังสือ จนสามารถอ่านออกเขียนได้ดีพอสมควร ในช่วงที่ท่านเป็นทหารอยู่นี้เอง ท่านเป็นคนที่รักและห่วงน้องสาวเมื่อท่านไปเป็นทหารเกณฑ์ไม่เท่าไร ด้วยความที่ท่านเป็นห่วงน้องสาว กลัวน้องจะลำบาก ท่านจึงตัดสินใจที่จะหนีทหาร แต่ด้วยท่านมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของชายไทย ท่านได้หนีออกมาหาน้องสาวของท่านถึง ๒ ครั้งและก็กลับเป็นทหารอีกและครั้งสุดท้าย ท่านก็ได้ตัดสินใจหนีทหารอย่างเด็ดขาด และได้ พาน้องสาวหนีจากสุพรรณบุรีมาอยู่กับญาติพี่น้องที่บ้านหนองโพ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดชัยนาท ท่านพาน้องสาวมาอยู่ได้ไม่กี่ปี ด้วยเกรงว่า ทางจังหวัดสุพรรณบุรี จะรู้ที่อยู่ แล้วจะมาตามจับกลับไปเป็นทหารอีก ท่านจึงพาน้องสาวหนีจาก ชัยนาท มาอยู่ที่ บ้านเขาเชือก จังหวัดอุทัยธานี จนกระทั้งนางสาวขำ อ่ำสุพรรณ ได้มีครอบครัวได้สมรสกับ นายกุล วะชู ซึ่งเป็นคนบ้านวังน้ำขาว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และ นายพลอย ซึ่งกำลังเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และนายพลอยเองก็ได้ผูกสมัครรักใคร่กับลูกสาวของหญิงหม้ายคนหนึ่ง (ไม่ทราบชื่อ) ในวันหนึ่งหญิงสาวคนรักได้นัดให้ นายพลอย ให้ไปขึ้นหาในตอนกลางคืน แต่แม่ของสาวคนรักนั้นซึ่งเป็นหญิงหม้าย ซึ่งแอบชอบนายพลอยอยู่ และคอยโอกาสอยู่ และวันที่รอคอยก็มาถึง เมื่อมารู้แผนการเรื่องที่ลูกสาว นัดให้ นายพลอยขึ้นหาในคืนนี้จึงเป็นโอกาสดีของหญิงหม้ายที่จะจับนายพลอยเป็นสามี จึงไล่ให้ ลูกสาว ซึ่งเป็นคนรักของนายพลอยไปนอนที่อื่น และหญิงหม้ายนั้นก็เริ่มแผนการนารีพิฆาต โดยเข้าไปนอนแทนที่ลูกสาว เพื่อจะเผด็จศึกนายพลอยในคืนวันนี้ ให้ได้ พอถึงเวลานัดหมายนายพลอยก็ขึ้นหาสาวคนรักตามสัญญา แต่กลับไม่เจอสาวคนรัก แต่เจอแม่ของสาวคนรักนอนรอการเผด็จศึกอยู่ ด้วยความมืดจึงไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ก่อนที่สงครามสร้างเผ่าพันธุ์จะเกิดขึ้นในความมืด นายพลอยรู้ตัวเสียก่อน เพราะว่า ผิดสัมผัส พอหญิงหม้ายรู้ว่านายพลอยรู้ตัว จึงโวยวายขึ้นมา เพื่อจะจับนายพลอยไว้เป็นทหารเอกของนางเอง เมื่อผิดแผนการที่วางเอาไว้กับสาวคนรัก จากการที่จะได้เป็นสามี แต่กลับจะได้เป็นพ่อเลี้ยงแทน นายพลอย จะกระโดดหนีแต่ไม่ทันเสียแล้ว จึงเสียใจมากที่ไม่สมหวังในความรัก นายพลอย จึงต้องตัดสินใจจากสาวคนรัก ด้วยความอาลัยในรักและจะไม่ยอมเป็นพ่อเลี้ยงของสาวคนรัก นายพลอยจึงหนีกลับไปสุพรรณบุรี นายพลอย เมื่อผิดหวังจากความรัก ก็เหมือนกับหนุ่มวัยรุ่นทั่วไป แต่ด้วยสวรรค์ยังเมตตา ท่านจึงตัดสินใจสละทางโลกออกบวช เป็นพระภิกษุ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เมื่อท่านบวชแล้วท่านได้ ทิ้งให้นางขำ วะชู ให้อยู่กับครอบครัว ที่ บ้านเขาเชือก นางขำ มีบุตรสาว ๑ คน คือนางพัน วะชู ต่อมาเกิดโรคห่าระบาดขึ้น “อหิวาตกโรค” ซึ่งการแพทย์ยังไม่เจริญ มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก นางขำ จึงพาครอบครัวอพยพไปอยู่ที่บ้านหนองมะสัง หรือหมู่บ้านทุ่งสาลีในปัจจุบัน และ นางพัน บุตรสาวได้ แต่งงาน กับนายมูล (ไม่ทราบนามสกุล) และ นาย กุล วะชู ผู้เป็นสามีนางขำได้เสียชีวิตลง นางขำจึงได้พาครอบครัวของบุตรสาวอพยพมาจับจองที่ทำกิน ที่บ้านห้วยขานาง ต่อมาสามีของนางพัน ได้เสียชีวิตลง และนางพันได้สมรสกับ นายเปล่ง ดวงหนองบัว ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยขานาง และ มีบุตรสาว ๑ คน คือ นางสะอาด ดวงหนองบัว นางขำใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านห้วยขานาง กับลูกหลาน ตลอดชีวิตของท่าน

ผลงานของหลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ

หลังจากที่หลวงปู่พลอยท่านได้อุปสมบทครั้งแรก ในราวปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ท่านได้ตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยได้เดินธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆแสวงหา ครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ เพื่อจะศึกษาวิชาอาคมต่างๆ ท่านเล่าว่า ได้เดินธุดงค์ไปถึงเขตประเทศพม่า ท่านได้พบกับคนมอญ ท่านก็พูดมอญด้วย คนพวกนั้นเกรงว่าหลวงปู่จะรู้เรื่องที่คุยกัน จึงเปลี่ยนไปพูดภาษาพม่าแทน ท่านได้เดินธุดงค์อยู่หลายปี เมื่อท่าน
มีความรู้พอสมควรแล้ว ท่านได้เดินทางกลับและท่านได้มาจำพรรษา อยู่ที่วัดเนินเพิ่มอยู่ในเขต ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี วัดเนินเพิ่ม มีเนื้อที่ ประมาณ ๗ ไร่เศษ แต่ในปัจจุบันได้ยกเป็นวัดร้าง ซึ่งที่ดินวัดในปัจจุบัน ไม่มีใครเข้าไปใช้ประโยชน์ จึงเป็นที่รกร้าง ไม่มีสิ่งก่อสร้างอื่นใดให้เห็นเป็นรูปวัด จะเหลือต้นโพธิ์ ให้เห็นว่าเป็นวัด และศาลพระภูมิเก่า ๆ ที่ชาวบ้านนำมาทิ้งไว้เท่านั้น แต่จะมีพระธุดงค์ แวะเวียนเข้ามาอาศัยพักค้างแรมเป็นประจำ ซึ่งในปัจจุบัน พื้นที่วัดถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน โดยมีถนนลาดยางตัดผ่านพื้นที่วัด แต่ยังคงความร่มรื่น สมกับคำว่าอาราม เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของพระภิกษุสงฆ์จากทิศทั้งสี่ที่แวะเวียนมาปักกรดปฏิบัติธรรม และเนื้อที่วัดทั้งสองฟากถนน จะมีสระน้ำ สระน้ำทางทิศเหนือ เมื่อครั้งในอดีตในราวปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ คุณโยมที่อาศัยอยู่ติดกับที่วัด ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อครั้งที่ท่านเป็นเด็ก แม่ของท่านเล่าให้ฟังว่าในสมัยที่หลวงปู่มาอยู่นั้นมีคนมาลักปลาในสระไปทำปลาร้ากิน เกิดเหตุที่จะคิดว่าไม่น่าจะ เกิดขึ้นได้คือ ไฟลุกอยู่ในไหปลาร้าเป็นคำบอกเล่า ผู้อ่าน ควรใช้วิจารญาณ เพราะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล หลังจากนั้นไม่นาน ชาวบ้านทุ่งกองโพธิ์ที่มีความศรัทธาในตัวหลวงปู่พลอย ได้ร่วมใจกันมาอาราธนา หลวงปู่ท่านให้ไปช่วยสร้างวัด ซึ่งในสมัยนั้น หนทางการสัญจรมีความลำบากมาก และ ในละแวกบ้านนั้นก็ไม่มีวัดให้ชาวบ้านได้ทำบุญกัน จะทำบุญกันแต่ละทีก็ต้องเดินทาง มาทำบุญที่วัดเนินเพิ่ม หรือไม่ก็จะไปทำบุญที่วัดหนองขุนชาติ หลวงปู่พลอยท่านเห็นความลำบากของชาวบ้านจึงรับอาราธนา และ ท่านได้เดินทางมาสร้างวัดทุ่งกองโพธิ์ ในปี พุทธศักราช ๒๔๕๒ บนเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๗๒ ตารางวา วัดทุ่งกองโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งกองโพธิ์ หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งโพ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ระยะทางห่างจากอำเภอหนองฉาง ๘ กิโลเมตร เมื่อ วัดทุ่งโพ เจริญมั่นคงดีแล้ว “แต่แล้วอนิจจาชีวิตคนไม่แน่นอน”หลวงปู่ก็เช่นเดียว ในช่วงที่ท่านอยู่ที่ วัด ทุ่งกองโพธิ์นั้น ท่านได้พบรัก อีกครั้ง กับหญิงหม้าย นางหนึ่ง “ผู้เขียนคิดว่า คงจะงามมากเลยละ” ที่สามารถผูกใจของหลวงปู่พลอย ได้และ ท่านลาสิกขาออกมา สร้างครอบครัว กับ หญิงหม้ายผู้โชคดี ที่ชื่อว่า “เทียน”(ไม่ทราบนามสกุล) ที่ว่าโชคดี นั้นเพราะว่าหลวงปู่ท่าน เป็นคนขยัน หมั่นเพียรในการทำงานประกอบอาชีพ สร้างฐานะด้วยความอดทนจนครอบครัวของ ท่านมีความมั่นคง ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ท่านไม่มีบุตร กับนางเทียน “อนิจจา ท่านต้องพบกับ ความพลัดพรากอีกครั้ง ” ชีวิตคู่ของหลวงปู่พลอย กำลังไปได้ดีมีความสุขกับครอบครัว ทั้งในด้านความรักและฐานะที่มั่นคง และแล้ว วันนั้นก็มาถึง เมื่อนางเทียน ได้ล้มป่วยลง จนหมอหมดทางรักษาและแล้ว นางเทียนก็ เสียชีวิตลงโดย ปัจจุบันทันด่วน หลวงปู่ท่านยังไม่ทันตั้งตัว ความเศร้าโศกเสียใจ ได้เกิดขึ้นกับท่าน เป็นครั้งที่สอง ดังคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” เมื่อท่านจัดงานศพนางเทียนเรียบร้อยแล้ว ท่านได้เดินทางกลับไปจังหวัดสุพรรณบุรีอีกครั้ง เพื่อทบทวนความเป็นมาเป็นไปของชีวิตของท่านและแล้วท่านก็สามารถเป็นผู้ชนะใจของท่านเองได้อย่างเด็ดขาดท่าน สละทุกสิ่งทุกอย่างอีกครั้งแล้วจึงออกบวช โดยไม่หันหลังกลับอีกต่อไป เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับหมู่ญาติและภรรยา และท่านได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดทุ่งกองโพธิ์ ตามเดิม ขณะนั้นญาติพี่น้องของท่าน อยู่ที่บ้านสะเดาซ้าย อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างวัดสะเดาซ้าย ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีเมตตาและยึดมั่นในสัจจะธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญตั้งมั่นและมีความเจริญบนผืนแผ่นดินไทย เพื่อเป็นมรดกของลูกหลาน ที่นับถือพระพุทธศาสนาให้มีสถานที่บำเพ็ญบุญกุศล ทำความดี ท่านจึงรับนิมนต์และไปได้สร้างวัดสะเดาซ้าย หลังจากท่านได้สร้างวัดสะเดาซ้าย จนมั่นคงแล้ว หลวงปู่พลอย ท่านก็ได้เดินทางกลับมาจำพรรษา และพัฒนาวัดทุ่งกองโพธิ์ ตามเดิม ในช่วงเวลานั้น นางขำ น้องสาวของท่าน ที่ตั้งครอบครัวอยู่ที่บ้านห้วยขานาง นางขำท่านเป็นคนที่มีน้ำใจ โอบอ้อมอารี ต่อผู้คนทั่วไป ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านห้วยขานางและหมู่บ้านใกล้เคียง ผู้คนจึงพากันเรียกท่านว่า “แม่แก่ขำ” แม่แก่ขำ ท่านมีจิตใจฝักใฝ่ในการทำบุญ ให้ทานด้วยความที่ท่านเป็นคนใจบุญ ท่านจะสั่งสอนและชักชวนลูกหลานให้ทำแต่ความดี และ แม่แก่ขำท่านจะพาลูกหลาน เดินทางไปทำบุญที่วัดทุ่งกองโพธิ์ทุกวันพระอยู่เสมอมิได้ขาด สาเหตุที่ท่านจะต้องเดินไปทำบุญที่วัดทุ่งกองโพธิ์ ก็เพราะว่าหมู่บ้านห้วยขานาง และหมู่บ้านใกล้เคียงโดยรอบยังไม่มีวัด และที่สำคัญคือ หลวงปู่พลอย ซึ่งเป็นพี่ชายคนเดียวของท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งกองโพธิ์ การที่จะเดินทางไปวัดทุ่งกองโพธิ์ในสมัยนั้นลำบากมากเพราะไม่มีรถยนต์ ใครมีเงินก็จะมีรถมอเตอร์ไซค์ หรือรถจักรยาน แต่ส่วนมากการเดินทางจะใช้เกวียนเป็นพาหนะในการเดินทาง ๆ ไปในตัวจังหวัดต้องใช้เวลาในการเดินทางเป็นวันๆคือจะต้องนอนค้างคืน กันเลยทีเดียว และระยะทางจาก บ้านห้วยขานาง กับวัดทุ่งกองโพธิ์ ไกลกันพอสมควร และเมื่อแม่แก่ขำ ชราภาพลง เห็นว่าการจะไปทำบุญแต่ละครั้ง ทั้งไกล และ ลำบาก ท่านจึงมีความคิดที่จะย้ายไปอยู่ที่วัดทุ่งกองโพธิ์กับหลวงปู่พลอย ท่านจึงได้เก็บข้าวของเพื่อจะเดินทางไปอยู่กับหลวงปู่ที่วัดทุ่งกองโพธิ์ แต่ไม่ทันที่จะเดินทางไป หลวงปู่พลอย ท่านได้ทราบเรื่องเสียก่อน ด้วยความสงสารและเป็นห่วงน้องสาวกลัวลำบากที่ต้องเดินทางไปกลับ ท่านจึงได้พูดกับน้องสาวว่า “มึงไม่ต้องมาหลอก อีกหน่อยกูจะไปอยู่กับมึงที่ห้วยขานางเอง” หลังจากนั้น ไม่นาน หลวงปู่ท่านก็ได้พาพระลูกวัดทุ่งกองโพธิ์ เดินทางมาที่หมู่บ้านห้วยขานาง เพื่อมาปรับปรุงที่บริเวณลำห้วยขานางซึ่งเป็นที่ป่ารกมาก เมื่อฉันเช้าแล้วท่านก็จะเดินทางมาและระยะทางระหว่าง วัดทุ่งกองโพธิ์ กับ บ้านห้วยขานาง ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ท่านจะเดินทางมา เป็นประจำทุกวัน ในราวปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ ท่านได้สร้างกุฏิสงฆ์ และศาลาการเปรียญ พอจะเป็นที่อาศัยและบำเพ็ญสมณะกิจได้และให้ชาวบ้านอาศัยทำบุญได้ หลวงปู่พลอย ท่านได้ย้ายจากวัดทุ่งกองโพธิ์ มาอยู่จำพรรษา อยู่ที่วัดห้วยขานางตลอดชีวิตท่าน

วัดห้วยขานาง
สร้างเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ มีเนื้อที่ดิน ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา โดยมีผู้ใหญ่เปล่ง ดวงหนองบัว ซึ่งเป็นหลานเขยของหลวงปู่พลอย ถวายที่ดินให้ หลวงปู่พลอย ให้สร้างวัดห้วยขานางในช่วงนั้น และในปีเดียวกัน ผู้ใหญ่เปล่ง ดวงหนองบัว ได้ขออนุญาตทางการเพื่อสร้างโรงเรียนให้บุตรหลานหมู่บ้านห้วยขานางและหมู่บ้านใกล้เคียงได้มีที่เรียนหนังสือกัน โดยมีหลวงปู่ท่านเป็นคนสนับสนุน โรงเรียนวัดห้วยขานาง จึงเกิดขึ้น และได้ไปขอร้องให้ ครูหว้า ภู่พงษ์
 
ย้ายมาจากโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งนาให้มาสอนที่โรงเรียนวัดห้วยขานาง และ ครูหว้า ภู่พงษ์ ก็ได้รู้จักกับหลวงปู่พลอย และขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่พลอย ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ซึ่ง ก่อนที่ จะสร้างโรงเรียนนั้น โรงเรียนวัดห้วยขานางยังไม่มีสถานที่ตั้งอาคารเป็นของตัวเอง ได้อาศัยศาลาพักร้อนในบริเวณ วัดห้วยขานางเป็นที่เรียนหนังสือของเด็ก ๆ ส่วนครูหว้า ท่านได้อาศัยอยู่ข้างกุฏิ โดยหลวงปู่พลอยท่านได้ปลูกพาไล ข้างกุฏิให้อยู่ต่างหาก หลวงปู่ท่านจะเรียกครูหว้าว่า “ไอ้ครู” ซึ่งในช่วงนั้นครูหว้า เองก็มีอายุ ราว 23 ปี และ หลวงปู่เองท่านก็มีอายุมากแล้ว ไม่สะดวกในการเดินทางไปไหนมาไหน ก็ได้อาศัยครูหว้า ช่วยถือบาตรออกไปรับอาหารบิณฑบาตจากชาวบ้านในละแวกบ้านห้วยขานาง และหมู่บ้านใกล้เคียงแทน หลวงปู่ พอตกกลางคืนหลวงปู่ท่านก็จะเล่าประวัติ และประสบการณ์ ของท่านให้ครูหว้า ฟังหลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ท่านมีปฏิปทาในการปฏิบัติมาก ทุกๆวันโกน วันพระท่านเดินทางไปที่ ถ้ำเขาปูนเพื่อปฏิบัติธรรมในถ้ำและในถ้ำนั้นจะมีสระน้ำอยู่ซึ่งมีปลาอาศัยอยู่มากมาย และมีช่องทางน้ำไหลออกไปได้ เคยมีคนเอาแกลบข้าวโรยลงไปในทางน้ำ แกลบ จะไหลไปตามทางน้ำ และไปโผล่ในกลางทุ่งนาของชาวบ้าน ในปัจจุบันยังมีอยู่ ซึ่งอยู่ไกลมากจากถ้ำเขาเตาปูน ในปัจจุบันมีการ ทำโรงโม่หิน จนเขาลูกที่หลวงปู่พลอยท่านเข้าไปปฏิบัติธรรมในถ้ำและเขาที่อยู่ในบริเวณนั้น โดนระเบิดเหลือครึ่งลูกเท่านั้น แต่ยังรักษาถ้ำไว้ แต่หินหล่นทับปากถ้ำไปครึ่งลูก พอลงไปในถ้ำได้ หลังจากนั้นมาชื่อเสียงของหลวงปู่พลอย ก็เป็นที่รู้จักทั่วไปของชาวอุทัยธานี และจังหวัดใกล้เคียง เรื่องวัตถุมงคลและวาจาสิทธิ์ ในสมัยนั้น วัดห้วยขานาง ถือว่าห่างไกลจากตัวจังหวัดมาก แ ละ อยู่ในถิ่นทุรกันดารหนทางที่จะไปวัดลำบากมาก แต่ก็มีประชาชนที่มีความเคารพศรัทธาเดินทางมาสักการะท่านและนิมนต์ท่านไปในงานพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานที่บ้านหรืองานวัดเป็นประจำ โดยเอาเกวียนมารับท่านไป เพราะถือว่าถ้ามีหลวงปู่ท่านอยู่ในงาน ๆ งานจะเรียบร้อยไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเพราะทุกคนกลัววาจาสิทธิ์ของท่านครูหว้า ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ตลอดเวลาที่ท่านได้อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่พลอย นับวันก็ยิ่งประทับใจในคุณธรรมของหลวงปู่ และมีความเลื่อมใสศรัทธาในคุณงามความดีที่หลวงปู่ท่านได้กระทำต่อบุคคลทั่วไป ท่านเป็นที่พึ่งของคนทุกคน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ จะมีผู้คนมาจากทุกสารทิศมาหาท่านแทบทุกวันมิได้ขาดบ้างก็มาขอพรจากท่าน มาขอเครื่องรางของขลังบ้าง มากราบไหว้เพื่อความเป็นมงคลบ้าง บ้างก็มาขอพังธรรมจากท่านบ้าง หรือมาถามข้อข้องใจในธรรมของพระพุทธเจ้าบ้าง บ้างก็มาขอฝากตัว เป็นศิษย์ มาให้หลวงปู่เคาะกระบาลด้วยตะบันหมากบ้าง มาขอกรากหมากบ้างเพื่อให้อยู่ยงคงกระพันบ้างตามความเชื่อของตน และในสมัยก่อนนั้น วิชาการแพทย์ไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนปัจจุบัน หนทางที่จะเดินทางไปหาหมอที่ตัวอำเภอก็ไกลและการเดินทางต้องไปด้วยเกวียน กว่าจะถึงคนไข้ตายก่อนบ้างก็มีเป็นประจำ ชาวบ้านจึงยึดหลวงปู่พลอยเป็นที่พึ่งเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็จะมาให้ท่านรักษาให้ หลวงปู่ท่านก็จะรักษาให้ โดยใช้ยาสมุนไพร บวกกับอำนาจพุทธคุณที่ท่านล่ำเรียนมารักษาให้ มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคนเป็นหน่อที่เท้าเป็นหนองจะเจ็บปวดทรมานมาก หลวงปู่ท่านก็จะใช้ ต้นไพรเผาจนร้อนแล้วให้คนช่วยกันจับคนป่วยกันดิ้น จี้ลงไปบนปากแผลที่เป็นหนอง คนป่วยจะดิ้นทุรนทุรายด้วยความเจ็บปวด ต่อมา ๒-๓ วันหน่อที่เป็นหนองก็หายนอกจากโรคในกายแล้ว ก็ยังมีคนเป็นโรคจิตประสาทมาให้ท่านรักษาท่านก็จะรักษาให้จนหาย บางคนมีกรณีพิพาทกันตัดสินกันไม่ได้ ก็มาสาบานต่อหน้าหลวงปู่เพื่อแสดงความจริงใจต่อกัน ถ้าคนผิดส่วนมากก็เป็นไปตามที่สาบานกับหลวงปู่ท่านจนเป็นที่เลื่องลือและเกรงขาม จนทุกวันนี้ก็จะมีคนมาสาบานในเรื่องต่างที่ทำผิดต่อกันต่อหน้ารูปหล่อของหลวงปู่พลอย

และท่านก็สอนให้ทำจิตใจให้สงบ โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็จะได้ไม่มาเบียดเบียนเนื่องจากสุขภาพใจ
เมื่อกล่าวถึงเรื่องวาจาสิทธิ์ และวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ของหลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ในสมัยท่านมาอยู่ที่วัดห้วยขานางใหม่ๆ ท่านเดินสำรวจบริเวณวัดได้มีกิ่งไม้หักตกลงมาโดนหัวท่านเข้า ท่านจึงพูดขึ้นว่า “ต้นไม้ต้นนี้เกิดมานานแล้ว สมควรที่จะตายได้แล้ว ด้วยวาจาของท่านต้นไม้ต้นนั้นก็ค่อยๆตายลง”
และใน สมัย ที่ท่านยังอยู่ที่วัดทุ่งโพเวลา จะไปไหนไกลๆ จะต้องอาศัยมอเตอร์ไซค์รับจ้าง พวกรถรับจ้างเมื่อเห็นหลวงปู่ท่านมาจะดีใจและแย่งกันขอไปส่งหลวงปู่ ๆท่านจะเลือกรถที่ท่านจะต้องไปด้วยท่านได้ลุงคนหนึ่งซึ่งลุงคนนี้ไม่มีที่ทางทำมาหากินแกได้อาศัยขับรถรับจ้างเลี้ยงครอบครัวเมื่อไปส่งหลวงปู่ถึงที่แล้ว หลวงปู่ท่านได้พูดกับลุงคนนั้นว่า “เออ เดี๋ยวมึงก็รวย” และต่อมาไม่นานลุงคนนั้นก็รวยตามวาจาของหลวงปู่ด้วยการขับรถรับจ้างนั้นเองใครๆก็ขึ้นแต่รถแก จนลุงคนนั้นเป็นคนรวยที่สุดในหมู่บ้านเกาะตาซ้ง ในสมัยนั้น และมีอยู่ครั้งหนึ่งมีงานเดือน สาม ที่วัดหนองขุนชาติ ได้มานิมนต์ท่านไปเป็นประธานในงาน และในคืนหนึ่งได้มีดนตรี ของ พรภิรมย์ และมีนักเลงคนหนึ่งไปยิง พรภิรมย์ แล้ววิ่งหนีไป มีคนนำเรื่องไปบอกหลวงปู่ ๆ ท่านได้พูดขึ้นว่า “มันหนีไปไหนไม่ได้หรอกเดี๋ยวมันก็มาหากู” และไม่นานนักเลงคนนั้นก็ขึ้นมาหาหลวงปู่ที่ศาลา ตอนหลังนักเลงคนนั้นได้เล่าให้หลวงปู่ฟังว่า “หาทางหนีออกจากวัดไม่เจอ และไม่รู้จะไปไหน เลยคิดว่ามาหาหลวงปู่ดีกว่า” ซึ่งในปัจจุบันนี้นักเลงผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่แต่ขอสงวนนามเพราะจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ ครูหว้าได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อทางราชการรู้ว่าชาวหมู่บ้านได้ร่วมใจกันจะสร้างโรงเรียนวัดห้วยขานางขึ้น จึงได้สนับสนุนมอบเงินทุนมาให้เพื่อดำเนินการสร้างโรงเรียน แต่งบประมาณที่ทางราชการให้มานั้นน้อยมากไม่พอที่จะสร้างอาคารเรียนได้ ครูหว้าจึงนำเรื่องมาปรึกษากับหลวงปู่พลอย เพื่อจะให้หลวงปู่ท่านร่วมเป็นประธานในการก่อสร้างอาคารเรียน ชาวบ้านจึงมีความเห็นร่วมกันว่าจะขออนุญาตหลวงปู่เพื่อสร้างวัตถุมงคล

สักรุ่นหนึ่ง เพื่อจะนำรายได้มาสร้างอาคารเรียน ในครั้งแรกหลวงปู่ท่านไม่เห็นด้วยและไม่อนุญาต ครูหว้าเลยต้องพูดอ้างเหตุผลและตัดพ้อหลวงปู่ ว่า “ตั้งแต่ที่ผมได้ร่วมสุขร่วมทุกข์กับหลวงปู่ ผมไม่เคยขออะไรหลวงปู่เลย ครั้งนี้ที่ขอไม่ได้ขอเพื่อตนเอง แต่จะสร้างอาคารเรียนเพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านห้วยขานาง จะได้มีอาคารเป็นที่ศึกษาหาความรู้กัน” หลวงปู่จึงพูดขึ้นว่า “ไม่ต้องลำเลิกหรอก ไปทำมา กูจะลงให้เอง” ครูหว้า และชาวบ้านห้วยขานาง ก็ได้ทำแหวนมาให้หลวงปู่ท่านลงให้ และนำออกจำหน่าย เมื่อได้เงินมาก็นำมาสร้างอาคารเรียนจนสำเร็จ และครูหว้า และชาวบ้านห้วยขานางก็ไปกราบขอบพระคุณหลวงปู่พลอย ซึ่งในขณะนั้นหลวงปู่ท่านชรามากแล้วอายุท่านประมาณ ๑๐๐ ปี ดวงตาของท่านมองไม่ค่อยเห็นแล้ว ครูหว้าและชาวบ้านช่วยกันนำหลวงปู่ท่านมาดูอาคารเรียน ที่ท่านมีส่วนร่วมในการสร้าง จนสำเร็จ โดยการพาท่านนั่งรถใสน้ำไปที่โรงเรียน แ ละครูหว้าได้อธิบายลักษณะของอาคารเรียนให้ท่านฟังและท่านก็ได้เอามือลูบคลำตัวอาคารเรียนและท่านก็พูดขึ้นว่า “ เออ ใหญ่ดี ” วัดห้วยขานางในสมัยที่หลวงปู่พลอย ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ถือว่าเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากวัดหนึ่ง จะมีผู้คนมาที่วันกันแทบทุกวัน ผู้ที่มีลูกชายอยากให้ลูกชายเจริญก้าวหน้าก็จะพามาฝากไว้เป็นศิษย์หลวงปู่พลอยและอาศัยอยู่ที่วัด ศึกษาเล่าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดห้วยขานาง ผู้ที่ได้เชื่อว่าเป็นศิษย์หลวงปู่ท่านก็จะมีความรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจของวงษ์ตระกูล ชื่อเสียงของหลวงปู่พลอยท่านเลื่องลือไปในหลายจังหวัด เช่น นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ก็จะเดินทางมาหกราบท่าน แม้แต่ทหารเมื่อจะไปออกรบ มีอยู่ครั้งหนึ่งมีนายทหารได้นำเครื่องเฮลิคอปเตอร์ มาลงที่วัดเพื่อมาขอชานหมากจากปากของหลวงปู่ด้วยตนเอง ก่อนที่จะเดินทางไปสงครามเวียดนาม เพื่อความมั่นใจว่าตนเองจะต้องปลอดภัยกลับมา แม้แต่น้ำหมากที่หลวงปู่ท่านบ้วนทิ้ง ก็จะแย่งกันดื่มกิน เพราะถือว่า ใครได้ดื่มกินจะไม่มีวันที่จะตายโหง ซึ่งเป็นความเชื่อของส่วนบุคคล
หลวงปู่พลอยท่าน ได้ดำเนินชีวิตใน สมณะเพศ อย่างเรียบง่าย เป็นที่พึ่งให้แก่ผู้คนทั่วไปท่านได้สร้างประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาไว้อย่างมากมาย ถึงท่านจะเก่งเพียงใดก็ตามท่านย่อมเป็นไปตามธรรมชาติคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ท่านสละสังขารลงเมื่อวันพุธที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๒ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ รวมสิริอายุท่านได้ ๑๐๘ ปีโดยประมาณ ท่านได้ทิ้งไว้แต่ความดีที่สร้างมาไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ระลึกถึงพระคุณของท่าน และนำคำสอนของท่านมาประพฤติปฏิบัติตามปฏิปทาของท่าน รุ่นแล้วรุ่นเล่า ในการพัฒนาวัดห้วยขานาง ให้เจริญรุ่งเรืองสืบมา

 
สรุป
ทุกวันนี้ผู้คนที่สัญจรไปมาบนถนนสายบ้านไร่-อุทัยธานี เมื่อมาถึงบริเวณหน้าวัดห้วยขานาง หรือ วัดทุ่งโพ จะต้องบีบแตร ๓ ครั้ง หรือ พนมมือไหว้ท่านอธิษฐานของพรให้เดินทางปลอดภัย มีโชคลาภ เป็นการแสดงความคารวะด้วยความเคารพนับถือ เพราะทุกคนมีความเชื่อว่าหลวงปู่พลอยท่านมีอำนาจดลบันดาลความสุขความสมหวังแก่ตนและครอบครัว ครูหว้า ท่านบอกว่า ท่านถือว่าหลวงปู่พลอยท่านเป็นบุคคลที่ควรบูชาท่านหนึ่ง เพราะว่าท่านมีคุณธรรมสูงหลายประการ ท่าน คือ
๑.ท่านเป็นพระที่เป็นที่พึ่ง เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนที่ทุกข์ยาก ในสมัยที่ท้องถิ่นอยู่ห่างไกลความเจริญ เป็นขวัญกำลังใจให้ต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิตด้วยความเชื่อที่ว่าหลวงปู่ท่านยังอยู่กับทุกคนและสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่คิดดีปฏิบัติดี เป็นสุขสมหวัง ปลอดภัยในชีวิต
๒.ท่านเป็นครูผู้อบรมสั่งสอนศิษย์โดยท่านนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาสั่งสอน ให้คิดดี ปฏิบัติดีไม่เบียดเบียน รังแกผู้อื่น นอกจากนี้ท่านยังสนับสนุนการศึกษาสร้างอาคารเรียน
๓.ท่านเป็นผู้พิพากษา เมื่อมีผู้คนมีกรณีพิพาทที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ก็จะมาพึ่งหลวงปู่ท่านให้เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ทั้งคู่แสดงความบริสุทธิ์จริงใจต่อกัน (คือการสาบานนั้นเอง)
๔.ท่านเป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ในสมัยนั้นถ้าทางวัดใดมีงานประจำปี ก็จะมานิมนต์ท่านไป เป็นประธานในงานรับรองได้เลยว่างานที่วัดนั้นจะสงบเรียบร้อย เพราะผู้คนเกรงวาจาสิทธิ์ของท่าน พวกนักเลงอันธพาล ไม่กล้าที่จะทำความชั่ว หรือก่อเรื่องทะเลาะวิวาทกันในบริเวณวัด เพราะกลัวคำสาปแช่ง
๕.ท่านยังเป็นหมอรักษาโรค ทั้งโรคทางใจ และทางจิต โดยท่านอาศัยสมุนไพรกับอำนาจพุทธคุณ สาสมารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้คนที่มาพึ่งท่านให้รักษา เพราะในสมัยนั้นการสาธารณสุขยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้
๖.ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในการปฏิบัติในกิจวัตรของสงฆ์มาก เช่นมีอยู่คราวหนึ่งช่วงที่หลวงปู่ท่านชราภาพมากแล้ว ท่านอาพาธดวง ตาของคนอายุร้อยกว่า ย่อมมองไม่ค่อยเห็นแล้วเป็นธรรมดา คนที่ดูแลท่านเพื่อจะให้ท่านฉันยา ได้นำอาหารป้อนท่าน ซึ่งเป็นเวลาเย็นมากแล้ว ท่านก็ฉัน ในขณะนั้นมีผู้ทักขึ้นว่า “หลวงปู่ฉันท่านอาหารตอนเย็นได้หรือ” เมื่อท่านได้ยิน ท่านก็ไม่ยอมเปิดปากรับอาหารอีกเลย โดยเฉพาะหลวงปู่ท่านมีปกตินิสัยประจำของท่าน
ทางกาย ท่านมีร่างกายที่แข็งแรง กระฉับกระเฉง ว่องไว สะอาด ปราศจากกลิ่นตัว มีอาพาธน้อย ท่านจะสรงน้ำเพียงวันละครั้งเท่านั้น
ทางวาจา ท่านเสียงใหญ่ แต่พูดเบา พูดน้อย พูดสั้น พูดจริง พูดตรงปราศจากมารยาทางคำพูดคือไม่พูดเทียบเคียง ไม่โอ้อวด ไม่พูดปลอบโยน ไม่พูดประชด ไม่พูดนินทาไม่พูดขอร้องขออภัย ไม่พูดขอโทษ ไม่พูดถึงความฝัน
ทางใจ ท่านมีสัจจะ ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วทำจนสำเร็จ มีเมตตากรุณาเป็นประจำ สงบเสงี่ยม เยือกเย็น อดทน ไม่กระวนกระวายวู่วาม ไม่แสดงอาการอึดอัดหงุดหงิดรำคาญ ไม่แสวงหาของหรือสั่งสม ไม่ประมาทมีสติสัมปชัญญะเบิกบานอยู่เสมอ คุณธรรมของหลวงปู่พลอย เท่าที่ผมรู้จักยังมีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งไม่สามารถนำมากล่าวได้อย่างครบถ้วน แต่อย่างน้อยข้อมูลประวัติของท่าน ที่ได้รวบรวมมานำเสนอไว้ ณ ที่นี้ คงจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ท่านเป็นบุคคลสำคัญรูปหนึ่ง ที่เป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีเกียรติคุณ งามความดี ควรค่าแก่อนุชนรุ่นหลังจะได้เจริญรอยตามปฏิปทาของท่าน และเคารพบูชาท่านได้อย่างสนิทใจ และท่านก็เป็นหนึ่งที่ชาวจังหวัดอุทัยธานีภาคภูมิใจ

พระเครื่องของหลวงปู่พลอย...บางส่วน


 เหรียญเนื้อเงินลงยาสีแดง...หลวงพ่อพลอย หายากมาก




ขอขอบพระคุณที่มา...http://sitluangporguay.com/forum/index.php?topic=2746.0
                        ...http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=51298

26
ปัญหา การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

พระอนุรุทธะตอบ “ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้พลังทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้... เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.... เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ.. เราย่อมรู้ฐานะที่เป็นไปได้ว่าเป็นไปได้และฐานะที่เป็นไปไม่ได้ว่าเป็นไปไม่ได้ ตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้วิบากของการกระทำกรรม ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง.... เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวงตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้โลกที่มีธาตุต่าง ๆ มากมาย ตามความเป็นจริง..เราย่อมรู้อุปนิสัยต่าง ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง...เราย่อมรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่น คนอื่น ตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ และการเข้าออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง...เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังอุบัติ.... เราย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้...เพราะได้เจริญ ได้พอกพูนซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้...."


อิทธิสูตร มหา. สํ. (๑๒๘๗-๑๒๙๙ )
ตบ. ๑๙ : ๓๘๘-๓๙๐ ตท. ๑๙ : ๓๕๖-๓๕๙
ตอ. K.S. ๕ : ๒๖๙-๒๗๑
ขอขอบคุณที่มา : http://84000.org/true/499.html

27
หอจดหมายเหตุพุทธทาส


สวนโมกข์ในกทม เปิด1สิงหาคมนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนธรรม

เตรียมจัดงานเปิดตัวหอจดหมายเหตุพุทธทาส วันที่ 1 ส.ค.นี้ หลังการก่อสร้างอาคารใกล้เสร็จสมบูรณ์ เหลือตกแต่งรายละเอียด เชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมดื่มด่ำธรรมะจากสวนโมกข์แห่งกรุงเทพฯ พร้อมให้บริการห้องสมุดหนังสือธรรมะ ผลงานท่านพุทธทาสไว้ศึกษาค้นคว้า

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างหอจดหมายเหตุพุทธทาส ว่า ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ 100% แล้ว เหลือเพียงการตกแต่งรายละเอียดเล็กน้อย เช่น ระบบไฟและการปรับปรุงภูมิทัศน์ คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นเราจะเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ให้พร้อมเปิดให้บริการ โดยมีกำหนดการจัดพิธีทำบุญเปิดหอจดหมายเหตุพุทธทาสในวันที่ 1 สิงหาคม และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการห้องสมุดและจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ ส่วนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการจะกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในภายหลัง

นพ.บัญชากล่าวว่า การก่อสร้างหอจดหมายเหตุพุทธทาส ณ สวนวชิรเบญจทัศน์ (สวนรถไฟ) เกิดความล่าช้าเล็กน้อย เพราะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ จึงต้องเลื่อนกำหนดการเปิดให้บริการออกไปจากเดิมในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

สำหรับในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ จะมีพิธีเปิดตั้งแต่เช้า เริ่มเวลา 08.00 น. ตักบาตรสาธิตและถวายภัตตาหารแบบพุทธกาล บริเวณลานหินโค้งแห่งใหม่ จากนั้นเปิดห้องหนังสือและสื่อธรรม ลานนิทรรศการ เวทีกิจกรรมมหรสพทางปัญญา การแสดงธรรมกถาสมโภชพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด และภาพปูนปั้นพุทธประวัติจากสวนโมกขพลาราม โดยพระไพศาล วิสาโล

ในช่วงบ่ายจะมีการนำปฏิบัติธรรม โดยพระอาจารย์โพธิ์ จันทสโร ต่อด้วยการเปิดนิทรรศการนิพพานชิมลอง ซึ่งเป็นการนำสื่อผสมมาจัดแสดงให้ผู้ใช้บริการได้ลิ้มรสสัมผัสภาวะนิพพานว่าเป็นอย่างไร การจัดแสดงภาพศิลปะบูชาพุทธทาสของบรรดาศิลปิน กิจกรรมมหรสพทางวิญญาณ เช่น ดนตรีจีวันแบนด์ ละครมะขามป้อม ดนตรีเพื่อปัญญา นำพาสุขสู่สังคม อ่านบทกวีโดยนายอังคาร กัลยาณพงศ์ และนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ

"การสร้างหอจดหมายเหตุพุทธทาสตั้งอยู่บนแนวความคิดที่ว่า เป็นการนำสวนโมกข์เข้าหาสาธารณชน เป็นศูนย์กลางธรรมะในกรุงเทพฯ ที่สมบูรณ์แบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนธรรม และเป็นโรงมหรสพทางวิญญาณที่เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าวิจัยผลงานท่านพุทธทาสทั้งหมด" นพ.บัญชา กล่าว

สำหรับแนวคิดในการออกแบบตัวอาคารหอจดหมายเหตุพุทธทาส เน้นความเรียบง่ายตามแนวคิดท่านพุทธทาส โดยใช้สีที่เป็นธรรมชาติของวัสดุและไม่มีสิ่งแปลกปลอมกับอาคาร ชั้นล่างจะมองเห็นสวนรถไฟอยู่ด้านหน้า ส่วนชั้นสองออกแบบให้ลมพัดเข้าออกได้ตลอดทั้งวัน บรรยากาศสงบเงียบและเย็นสบาย เหมาะแก่การนั่งสมาธิ ทั้งนี้ สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของหอจดหมายเหตุพุทธทาสก็คือ สระนาฬิเกร์ ซึ่งเป็นปริศนาธรรมของท่านพุทธทาส โดยมีที่มาจากเพลงกล่อมเด็กของภาคใต้ที่มีมาแต่โบราณ เป็นการสอนลูกหลานให้มุ่งสู่นิพพาน ส่วนสถาปัตยกรรมของหอจดหมายเหตุ ก็ยึดเอารูปแบบของโรงมหรสพทางวิญญาณที่สวนโมกข์มาสร้าง

นพ.บัญชา กล่าวอีกว่า ตัวอาคารหอจดหมายเหตุพุทธทาสมี 3 ชั้น ชั้นล่างสุดมีลักษณะโล่งกว้าง สำหรับนั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม มีลานหินโค้ง ภาพแกะสลักนูนต่ำ ส่วนหนึ่งยกจากสวนโมกข์มาติดตั้งที่นี่ ห้องสมุดหนังสือธรรมะให้บริการยืมและค้นคว้าทำสำเนาไปใช้ในงานศึกษาวิจัย หรือจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม ชั้นกลางของหอจดหมายเหตุมีการนำเสนอภาพปริศนาธรรม ศูนย์ปฏิบัติธรรม อบรม สัมมนา และโรงมหรสพทางวิญญาณเพื่อนิพพานชิมลอง มีภาพยนตร์จอโค้งฉายหนังให้คนดูขบคิด เพื่อปฏิบัติมุ่งสู่นิพพาน ภาพยนตร์เรื่องแรกที่จะนำมาฉายสร้างโดยนายเป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง

ชั้นที่สามถือเป็นหัวใจของหอจดหมายเหตุพุทธทาส เรียกว่าเป็นขุมปัญญาพุทธทาส เพราะเป็นห้องเก็บรวบรวมเอกสารต้นฉบับ ผลงานการศึกษาค้นคว้าและสื่อธรรมะของท่านพุทธทาสที่มีมากกว่า 20,000 รายการ โดยห้องนี้จะปรับอุณหภูมิไว้ไม่ให้หนังสือหรือเอกสารอื่นได้รับความเสียหาย

"หอจดหมายเหตุแห่งนี้ถือเป็นมิติใหม่ของการสร้างศาสนอาคาร โดยก้าวข้ามการสร้างโบสถ์ วิหาร และเจดีย์เหมือนอดีต แต่จะเป็นต้นแบบให้วัดอื่น ๆ ได้นำรูปแบบไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเผยแพร่ทางธรรมต่อไป" เลขานุการคณะกรรมการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวสรุป




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

28

ป้ายทางเข้าวัดหน้าศาลาการเปรียญทางทิศตะวันออก

ประวัติวัดโคกหิรัญ

วัดโคกหิรัญ  ตั้งอยู่ที่ 28 ต.บางชะนี  อ.บางบาล  จ.พระนครศรีอยุธยา  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย   มีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่  28 ไร่  2  งาน  80 ตารางวา
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา   ต้องประสบกับอุทกภัยเป็นประจำเกือบทุกปี   ประมาณปี 2533  พระครูประโชต  วรคุณ (หลวงพ่อเจือ) ได้ดำเนิน
การสร้างคันดินล้อมรอบวัดเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่สังฆาวาสและศาสนสถาน มาจนถึงทุกวันนี้

อาคารเสนาสนะต่างๆ ของวัดโคกหิรัญมีดังนี้  อุโบสถ ขนาด กว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร ก่ออิฐถือปูน,วิหาร ขนาด กว้าง  8 เมตร ยาว 13 เมตร,ศาลาการเปรียญ กว้าง  23 เมตร  ยาว 40 เมตร  สร้างด้วยไม้, กุฏิสงฆ์เป็นไม้ จำนวน 9 หลัง  เป็นตึกจำนวน 1 หลัง ,หอสวดมนต์เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น มณฑปประดิษฐานพระธรรมจักรและหลวงพ่อโบ ปูชนียวัตถุ มี  พระพุทธมงคลลาภ พระประธานในพระอุโบสถ  และหลวงพ่อโต  พระประธานในวิหาร  
  







                                      
ประวัติการสร้างวัด

วัดโคกหิรัญสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2305  สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ไม่มีประวัติการสร้างและผู้สร้างที่แน่นอน มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ปี 2400 เป็นต้นมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2347  โดยมีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 22 เมตร  ยาว  34 เมตร   และมีโรงเรียนประถมอยู่ในบริเวณ
พื้นที่วัด 1 โรงคือโรงเรียนวัดโคกภู่พิพัฒน์บำเพ็ญ

ลำดับเจ้าอาวาส

ไม่มีข้อมูลจำนวนที่แน่นอน  เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามมี  ดังนี้
 1. หลวงพ่อผื้ง             ปี พ.ศ.2400 - 2445  
 2. พระอธิการเชื่่อง        ปี พ.ศ.2445 - 2460
 3. พระอธิการเฟื่อง        ปี พ.ศ.2460 - 2470
 4. พระครูโบ  ฐิติญาโณ  ปี พ.ศ.2470 - 2519
 5. พระครูประโชต  วรคุณ (ทองเจือ  ติสฺสดโชโต)  ปี พ.ศ.2519 - 2550
ปี พ.ศ.2551  ถึงปัจจุบัน  มี พระมหาเฉลิมพล อชิโต (ปธ.4) เป็นเจ้าอาวาส


 พระครูโบ  ฐิติญาโณ อดีตเจ้าอาวาส ปี พ.ศ.2470 - 2519


พระครูประโชต  วรคุณ (ทองเจือ  ติสฺสดโชโต)  ปี พ.ศ.2519 - 2550
พระเกจิอาจารย์ที่ผู้คนนับถือกันนัก ว่าน้ำมนต์ท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เจ้าตำหรับน้ำมนต์เดือด ท่านละสังขารแล้ว เมื่อเย็นวันที่ 23 ต.ค. 2550
ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อเงิน วัดดอยยายหอม ด้วยครับ



วัตถุมงคลที่หลวงพ่อเจือสร้างบางส่วน









ขอขอบพระคุณที่มา.... http://www.arty1.net/watkok1/wepage/Prawat.html                                                                

29


หลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย(พระครูสถิตวีรธรรม)

ผู้สืบทอดพุทธาคม จากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ


ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นศิษย์สืบสายพุทธาคมจาก “หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ”ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น”เทพเจ้าแห่งปากน้ำโพ” ที่ยังดำรงชีพอยู่และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วนั่นก็คือ “พระครูสถิตวีรธรรม” หรือ “หลวงปู่รอด” และที่เรียกขานกันด้วยความเคารพว่า “หลวงพ่อเสือ”

ปัจจุบันอายุ 83 ปี พรรษา 63 ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม และเจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก “หลวงปู่รอด” ชื่อเดิมว่า”บุญรอด แจ่มจุ้ย” เป็นบุตรของ นาย เพชร และ นางบุญมา นามสกุล “แจ่มจุ้ย” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พงศ. 2464 ณ. บ้านโคน ต.พญาปั่นแดน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงปู่รอดได้ใช้ชีวิตเติบโตและร่ำเรียนวิชาความรู้ที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ครั้นอายุได้ 14 ปี ได้ย้ายบ้านไปอยู่ที่ บ้านป่ามะม่วง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย รวม ระยะเวลา 3 ปี จากนั้นจึงย้อนกลับไปอยู่ที่บ้านโคนซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด

กระทั่งอายุ 21 ปี จึงได้หันเหชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยการอุปสมบท เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่วัดเชิงหวาย ต.ตลุกเทียม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก โดยมี พระครูญาณปรีชา วัดดอกไม้ ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ เจ้าอธิการพวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้ฉายาว่า “ฐิตฺวิริโย” พักจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงหวายเป็นเวลา 2 พรรษา จากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่วัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ความรู้ทางธรรม
 
ปี พ.ศ. 2489 สามารถสอบไล่ได้นักธรรมโท สำนักวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณูโลก ซึ่งท่านมีความชำนาญทางด้านเทศนาธรรม
 การบรรยายธรรม การปาฐกถาธรรม วิปัสสากรรมฐาน และ การก่อสร้าง(นวกรรม) มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการเขียนและอ่านอักขระขอม

หน้าที่การงานที่ได้รับ

*พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวันสันติกาวาส

*พ.ศ. 2491 เป็นพระกรรรมวาจาจารย์

*พ.ศ. 2493 เป็นเจ้าคณะตำบลวงฆ้อง

*พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการสงฆ์ฝ่ายสาธารณูปการ อำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2489-2499 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2509 เป็นพระอุปัชฌาย์

*พ.ศ. 2510 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2520 เป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2544 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอต่อไปอีก 3 ปี

เรื่องราวชีวิต”พระดีศรีพรหมพิราม” พระครูสถิตวีรธรรม หรือหลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย เจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ท่านมีชีวิตที่น่าศึกษามิใช่น้อย

เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสท่านได้ชื่อว่าเป็น “ลูกผู้ชายตัวจริง” คนหนึ่งทีเดียว ท่านไม่ใช่นักเลง เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ แต่ก็อยู่ท่ามกลางหมู่นักเลงหลายก๊กหลายเหล่า เลยทำให้ชีวิตกล้าแกร่ง ค่อนข้างใจร้อน ใครพูดแสลงหูก็มีอารมณ์เหมือนกัน ถึงขนาดเคยมีเรื่องฟันแทงเกือบติดคุกทีเดียว แม้กระทั่งตอนจะบวชก็ยังมีมารมาผจญ

แต่ด้วยจิตใจที่หนักแน่น และไม่ยอมใครถ้าหากไม่มีเหตุผล ท่านจึงผ่านพ้นวิกฤตชีวิตที่น่าหวาดเสียวมาได้เสมอ

อำเภอพรหมพิรามสมัยก่อน เป็นศูนย์รวมของบรรดาโจรผู้ร้าย มีทั้งเสือที่เป็นสัตว์และไอ้เสือที่เป็นคนเยอะแยะไปหมด “เสือหลวย” เป็นเสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด นอกจากนี้ก็มี เสือเสงี่ยม,เสือดำ,เสือม้วน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น”เสือต่างถิ่น” เสียมากกว่า

หลวงปู่รอดเล่าให้ฟังว่า มีเสืออยู่คนหนึ่งเมื่อมันชอบลูกสาวบ้านใด มันก็จะถือเหล้าขวดเดียวเข้าไปสู่ขอเอาดื้อ ๆ เวลาขึ้นบ้านไหนมันก็จะพูดว่า “พ่อแม่มารับไหว้เดี๋ยวนี้ กินเหล้าแล้วผมขอลูกสาวไปเลยนะ”

โยมพ่อของหลวงปู่รอดเป็นคนที่มีวิชา แต่ท่านไม่ค่อยสนใจสักเท่าไร จนกระทั่งบวช เมื่อได้พบเจอเหตุการณ์ไอ้เสือปล้นต่าง ๆ ก็เลนขอรับการถ่ายทอดวิชาจากโยมพ่อเพื่อไว้ป้องกันตัว และช่วยเหลือคนอื่น

ลูกสาวชาวบ้านที่ถูกฉุดไป หลวงปู่รอดได้เมตตาตามไปช่วยกลับคืนมาได้เกือบหมด โดยไม่กลัวพวกเสือแต่อย่างใด เพราะสมัยนั้นพวกเสือต่าง ๆ ต้องมาพึ่งบารมีพ่อ ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณประจำตำบล

ตกคืนนั้นพวกเสือมันมาตามคืน ท่านกำลังท่องหนังสืออยู่ได้ยินเสียงลั่นไกปืน 2-3 ครั้ง พอรู้ว่าถูกลอบยิงก็รีบวิ่งเข้ากุฏิไปคว้าขวานออกมา พร้อมตะโกนท้าพวกมันให้ออกมาฟันกันซึ่ง ๆ หน้า แต่มันก็ไม่กล้าและล่าถอยไป ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ท่านยังมานั่งคิดว่า เป็นเรื่องแปลกดีที่ยิงไม่ออก

ช่วงหนึ่งหลวงปู่รอดเคยคิดจะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น เพราะพวกนักเลงเยอะ มีทั้งลักขโมย ปล้นสะดม และฆ่ากัน พระหลายรูปทนไม่ได้ต้องสึกออกไปเพราะความกลัว ตัวท่านเองตั้งใจจะเข้าไปเรียนบาลีที่กรุงเทพ ฯ แต่ญาติโยมไม่ยอมให้ไป ถึงขนาดนิมนต์เจ้าคณะตำบลและเจ้าคณะอำเภอมาช่วยอ้อนวอนไว้ จึงตัดสินใจอยู่ต่อมาจนถึงทุกวันนี้

เดิมทีหลวงปู่รอดท่านตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่ด้วยจิตยึดมั่นในทางธรรมก็ล่วงเลยไปถึงพรรษาที่ 9 และคิดจะลาสิขา แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะจิตใจอุทิศให้พระศาสนา อย่างเต็มเปี่ยม จนปัจจุบันย่างข้า 63 พรรษาแล้ว

ตลอด 62 พรรษาที่ผ่านมา แทบจะกล่าวได้ว่าท่านไม่เคยหยุดนิ่ง เริ่มการสร้างวัดสันติกาวาสจากสภาพวัดร้างให้พลิกฟื้นคืนความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการเรียกความศรัทธาชาวบ้านอย่างสูง แต่ด้วยความเป็นคนจริงบวกกับการประพฤติปฏิบัติตนที่ทำให้ผู้คนเกิดความเคารพเลื่อมใส เพียงไม่นานก็ทำให้วัดสันติกาวาส มีความสมบูรณ์ทั้งด้านเสนาสนะ และศาสนวัตถุต่าง ๆ

นอกจากนี้ หลวงปู่รอดยังได้ใช้วิชาความรู้มาช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ประสบทุกข์ร้อนทั้งร่างกาย และ จิตใจ อาทิ การเป่าหัว-เสกยารักษาโรค การดูดวง ซึ่งวิชาเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วท่านจะเรียนรู้ด้วยตนเองจากตำรับตำราเก่า ๆ

ในช่วงที่ท่านได้อยู่รับใช้หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพนั้น ก็ได้รับการถ่ายทอด “คาถารอบโลก” ซึ่งเป็นคาถาที่หลวงพ่อเดิมท่านใช้ประจำตัว ไม่ว่าจะการพรมน้ำมนต์ หรือการปลุกเสกวัตถุมงคล โดยหลวงปู่รอดได้นำมาใช้เป็นคาถาประจำตัวเช่นกัน ซึ่งพระคาถานี้มีด้วยกัน 7 บท อาทิ คาถาหายตัว,คาถามหานิยม,คาถาคงกระพันชาตรี ฯลฯ

ทุกวันนี้หลวงปู่รอดได้เป็นที่พึ่งของชาวพรหมพิรามและใกล้เคียง มาให้เจิมรถบ้าง พรมน้ำมนต์ดูดวงต่อชะตาราศีบ้าง นอกจากนั้นเป็นเพราะท่านมีวิชาอาคมขลังแล้ว ยังมาจากชื่ออันเป็นมงคลนามว่า “รอด” ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้รอดพ้นจากเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ จากร้ายกลายเป็นดี

แต่ท่านก็มักเตือนสติลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอว่า ใครที่มีวัตถุมงคลของท่านแล้วจะให้รอดเหมือนชื่อนั้นจะให้รอดทุกคนเป็นไปไม่ได้ เพราะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งคู่กับมนุษย์ทุกคนไม่มีทางหนีความตายไปได้ จะตายช้าตายเร็ว ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่างรวมกัน

ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่รอดอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นหลายแบบด้วยกัน อาทิ จัดสร้างขึ้นในโอกาสจัดงานฉลองอายุครบ 7 รอบ 84 ปี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548

แม้ว่าอายุท่านจะล่วงเลยเข้าสู่วัยชราแล้ว แต่กิจนิมนต์ของท่านแทบจะไม่มีวันเว้นว่าง

ต่อมา หลวงปู่รอด เข้าโรงพยาบาลพรหมพิราม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เนื่องจากมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ส่วนหนึ่งมาจากกิจนิมนต์ที่หลวงปู่ไม่เคยปฏิเสธ

ทุกวันท่านจะต้องเดินทางไกล เพื่อไปร่วมในพิธีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการอธิษฐานจิต ปลุกเสกวัตถุมงคล ด้วยท่านเป็นพระเกจิที่ได้รับความศรัทธา แต่ด้วยอายุที่มาก การพักผ่อนน้อย ทำให้ล้มป่วยอาพาธลง

แม้คณะศิษย์จะขอร้องให้ท่านงดรับกิจนิมนต์ แต่ท่านก็บอกว่า "เขามาเพราะเขาเชื่อมั่นศรัทธาจะปฏิเสธเขาได้อย่างไร"

หลังเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพรหมพิรามได้ 3 วัน อาการหลวงปู่รอดทรุดหนักลง จึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพุทธชินราช โดยคณะแพทย์ได้พยายามรักษาอาการอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้

ในที่สุด หลวงปู่รอด ได้ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 สิริอายุ 87 พรรษา 67

สร้างความอาลัยให้กับคณะศิษย์และชาวเมืองสองแควเป็นอย่างยิ่ง

พระเครื่องของหลวงปู่รอด บางส่วน






ถ้าเรื่องและเนื้อหาบางตอนซ้ำกับท่านโยคีและท่านโจรสลัด ที่เคยโพสเอาไว้ก่อนหน้านี้ต้องกราบขออภัย มา ณ.ที่นี้ด้วยครับ


ขอขอบคุณที่มา...http://www.pantown.com/board.php?id=10697&area=&name=board3&topic=15&action=view
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพพระเครื่องด้วยครับ

30




หลวงพ่ออิ่ม
วัดหัวเขา  ตำบลหัวเขา
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี



     ประวัติของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เลือนรางมาก ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีจอ เดือน ๗   ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ตรงกับวันที่ ๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๖

     อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๖ ท่านเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางมาปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณบ้านหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ ท่านเห็นว่าอาณาบริเวณนี้มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การสร้างเป็นวัด จึงได้สร้างเป็นวัดขึ้นมาชื่อว่า “วัดหัวเขา” และท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

     ในการอุปสมบทครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่นั้น หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระคู่สวดให้ และในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย หลวงพ่อมุ่ยท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ประวัติกล่าวว่าหลวงพ่อมุ่ยแวะเวียนไปมาหาสู่กับหลวงพ่ออิ่มเป็นประจำ อีกทั้งยังเคยไปจำพรรษาที่วัดหัวเขาเป็นเวลา ๑ พรรษา เพื่อเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากนั้นก็ยังไปมาหาสู่หลวงพ่ออิ่ม และหลวงพ่ออิ่มยังพาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย

     หลักฐานจากหนังสือพระราชทานเพลิงศพพระครูวรนาถรังษี หลวงพ่อปุย วัดเกาะ กล่าวด้วยว่า พ.ศ.๒๔๖๓ หลวงพ่อปุยก็เดินทางมาฝากตนเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม  และอาจารย์มนัส โอภากุล เขียนไว้ในหนังสือลานโพธิ์กล่าวว่า หลวงพ่ออิ่มยกย่องหลวงพ่อปุยว่า เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว สอนอะไรก็เข้าใจง่าย ศึกษาได้รวดเร็ว ไม่ต้องจ้ำจี้จำไชเท่าไรนัก หลวงพ่อปุยเองก็เคยเล่าให้ศิษย์ฟังเสมอๆว่า หลวงพ่ออิ่มท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยมาก ญาณสมาบัติสูงมาก


สมัยที่หลวงพ่ออิ่มท่านได้ปกครองวัดหัวเขา ท่านพัฒนาวัดหัวเขาจนเป็นวัดที่เจริญวัดหนึ่งในสมัยนั้น และมีพระภิกษุสงฆ์เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์มากมาย อาทิ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ , หลวงพ่อปุย วัดเกาะ , หลวงปู่แขก วัดหัวเขา และหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน เป็นต้น

หลวงพ่ออิ่มท่านมรณภาพเมื่อประมาณต้นปีพ.ศ.๒๔๘๐ สิริอายุ ๗๔ปี


    ในยุคที่หลวงพ่ออิ่ม ครองวัดหัวเขา มีการสร้างเครื่องรางของขลังโบราณหลายชนิด เช่น ตะกรุดแบบต่างๆ รวมทั้งผ้ายันต์ เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อโบราณ รูปหล่อโบราณ(นางกวัก) แหวนแบบต่างๆ พระผงใบลาน เป็นต้น

พระเครื่องของหลวงพ่ออิ่มบางส่วน






     อันเป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่ม เชื่อกันในหมู่ผู้บูชาตั้งแต่สมัยก่อนจวบจนปัจจุบันว่า ประสบการณ์ยอดเยี่ยม มีคุณวิเศษในด้านบันดาลความมั่งมีศรีสุข  เมตตามหานิยม ไปมาค้าขายดีมาก   ส่วนเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นก็เลิศ แบบแมลงวันไม่มีวันได้กินเลือด กล่าวขานกันอย่างนี้มาช้านาน ตั้งแต่สมัยเหล่าทหารเข้าร่วมรบสงครามโลกแล้ว




ขอขอบคุณที่มา...http://www.sittloungpormhui.com/board/index.php?topic=113.msg6149

31



หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย

พระอริยสงฆ์แห่งวัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ พระผู้มีปฏิปทาอันซ่อนเร้นดำรงตนอย่างช้างเผือกในหุบเขาอันห่างไกลความเจริญด้วยวัย ๗๕ ปี ๕๐ พรรษา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล พระผู้ร่วมธุดงค์พร้อมหลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อยท่านเป็นสหธรรมมิกองค์สำคัญของหลวงปู่บุญพิณ กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตและหลวงปู่หวัน จุลปัณฑิโต ด้วยปฏิปทาอย่างนี้อันเรียบง่าย สมถอย่างสวยงามขององค์หลวงปู่คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยรู้จักกันมาก
 
แม้กระทั่งองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าบ้านตาดยังออกปากชมท่านเสมอเพราะท่านเมตตาต่อองค์หลวงปู่อย่างลับๆมาโดยตลอดด้วยปฏิปทาของหลวงปู่ว่า " หลวงพ่อวิไลย์ ท่านสมเป็นช้างเผือกจริงๆ ศิษย์หลวงปู่ขาวน่ะอยู่อย่างช้างเผือก เป็นองค์ที่สำคัญมากอีกองค์หนึ่งของชัยภูมิ เป็นพระดี " องค์หลวงปู่ดำรงตนอย่างพระป่ามากท่านเน้นสอนในเรื่องของการปฏิบัติภาวนาเป็นสำคัญคนที่ไปหาท่านส่วนใหญ่ จึงเป็นนักปฏิบัติภาวนาที่ค่อนข้างเพรียบพร้อมทางด้านสมาธิภาวนา เพราะท่านขมักเขม้นเน้นหนักจริงๆต่อลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสในการอบรม
 
แต่เวลารับแขกองค์หลวงปู่เมตตาและอารมณ์ดีมากๆต่างกัน ท่านเคยบอกว่า หลวงตามหาบัวบอกให้ท่านหลวงปู่วิไลย์ว่า"ให้เอาอย่างหลวงตาเป็นแบบอย่างในการดำเนิน"หลวงปู่จึงมีลักษณะหลายประการที่คล้ายกับองค์หลวงตามหาบัวแต่ท่านก็พูดเสมอกับลูกศิษย์ว่า
"จะให้เป็นอย่างหลวงปู่วัดบ่านตาดนั้นทำไม่ได้หรอกนิสัยคนเราเกิดมาแตกต่างกันพระอรหันต์ก็มีนิสัยแตกต่างกัน"
 
ธรรมที่หลวงปู่สอนนั้นเป็นธรรมแบบป่าล้วนๆเข้าใจง่ายแล้วท่านก็มีเมตตามากๆทั้งต่อพระ, ญาติโยม และสัตว์ ท่านจึงเป็นพระที่พระทั้งจังหวัดชัยภูมิ,วัดถ้ำกลองเพลและต่างจังหวัดให้ความเคารพอย่างมาก เช่นหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต ,หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม ,หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะฯลฯ แม้กระทั่งเกศาหลวงปู่ก็กลายเป็นพระธาตุสำหรับผู้ที่นำไปบูชา
 
สภาพวัดของท่านเป็นภูเขาน่าอยู่ภายในถ้ำมีการตกแต่งที่สวยงามด้วยการบูรณะของหลวงปู่ซึ่งถ้ำนี้เป็นถ้ำที่หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านเคยอยู่มาก่อน หลวงปู่ออกจากวัดถ้ำกลองเพลจึงได้ธุดงค์มาพบถ้ำนี้ หลวงปู่บอกว่าที่นี้มีเทพเทวดาเยอะบางคืนจะมาฟังธรรมของท่านลูกศิษย์ของหลวงปู่เล่าว่ามีคนเคยเห็นแสงสว่างมากลอยมาจากถ้ำมาเข้ากุฏิหลวงปู่แสงนั้นสว่างจ้าทั่วบริเวณวัดชาวบ้านต่างๆก็เห็นกันเยอะ
 
เช้ามาหลวงปู่ท่านบอกว่า พวกเทพเทวดาเขามาฟังธรรมกันนะ จึงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากสำหรับบุคคลที่ได้ฟังและได้พบเห็น
 
และนอกจากนี้ท่านยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ด้วยครับ.   
 
 
 
 
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล...ลานธรรมเสวนา
                     credit ภาพ : http://aongar.multiply.com/journal/item/20


32




ในสมัยหนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  เชตวันมหาวิหาร
เมืองสาวัตถี  พระโมคคัลลานะเถระ  ผู้บรรลุซึ่งธรรม บารมี  6
มีปณิธานอันแรงกล้า  ปรารถนาจักทดแทนพระคุณบุพการีชน

ดั่งนี้แล้ว  จึ่งได้เพ่งมองโลกด้วยอภิญญาญาณ  และแจ้งว่า.......
บัดนี้ผู้เป็นมารดาแห่งตนได้ไปถืออุบัติอยู่ ณ ท่ามกลางดวงวิญญาณ
หิวกระหาย  ไม่มีทั้งน้ำ  และอาหาร  ทั่วสรรพพางค์กาย
ปรากฏเพียงหนังหุ้มกระดูก  ได้รับทุกขเวทนายื่งนัก
พระโมคคัลลานะ  จึงนำผลาหารบรรจุเต็มบาตรเพื่อนำไปโปรด
ดวงวิญญาณของมารดา  ทันทีที่นางรับบาตรไป  ก็ลูบคลำด้วย
มืออันอ่อนแรง  มือขวากอบคำข้าวเพื่อหวังจะบริโภค
แต่ในบัดดล  ยังมิทันที่อาหารจะล่วงเข้าสู่ปากของนาง  ก็กลับกลาย
เป็นถ่านเพลิงเผาไหม้ทุกคราไป  ยังความสลดสังเวชแก่พระโมคคัลลานะ
เป็นที่ยิ่ง  ด้วยเหตุนี้แล้ว  พระโมคคัลลานะจึงกลับไปสู่  ณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า  แล้วกราบทูลถึงการณ์ทั้งปวงให้พระพุทธองค์ทรงทราบ

สมเด็จพระศาสดาได้มีพุทธดำรัสว่า.....

"ดูกร  โมคคัลลานะ  โดยเหตุที่มารดาของท่านสั่งสมซึ่งอกุศลกรรม
เป็นเนืองนิจ  อาศัยกำลัง(บุญกุศล)แห่งตน(พระโมคคัลลานะ)
แต่เพียงลำพัง  มิอาจบรรเทาอกุศลกรรมนั้นได้  ถึงแม้ว่าอำนาจ
แห่งความกตัญญูต่อบุพพการีชนของท่านจะสะเทือนถึงสวรรค์
โลกมนุษย์  ปีศาจ  มารร้าย  หรือแม้แต่พรหมโลกและจตุโลกบาลก็ตาม

ยังมีแต่พลานุภาพแห่งที่ประชุมพระอริยสงฆ์สาวก  ผู้มาจากทิศทั้งสิบ 
จึงสามารถปลดเปลื้องทุกข์แห่งมารดาท่านได้  บัดนี้พระตถาคตจักแสดง
ธรรมอันเป็นเครื่องปลดเปลื้อง  ความขัดข้อง  ความทุกข์  และอกุศลมูลทั้งหลาย

ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงมีดำรัสต่อพระมหาโมคคัลลานะว่า

"ในวันเพ็ญ  กลางเดือนเจ็ด  อันเป็นวาระแห่งวันปวารณาของพระสงฆ์
ทั่วทั้งทศทิศ  เพื่ออานิสงค์อันพึงจักสำเร็จแก่บุพพการีชน ทั่วถึง  7  ชั่วอายุ
โมคคัลลานะ  !!  เธอจงจัดเตรียมภาชนะอันบริสุทธิ์อุดมด้วยผลาหาร
ภักษาหารทั้ง  100  อย่าง  ผลไม้ทั้ง  5  กับสิ่งสักการะบรรดามี
ประทีป  ธูปเทียน  ชวาลา  อันเป็นเลิศทั้งปวง  ถวายแด่หมู่สงฆ์
ผู้มาจากทิศทั้ง  10

หากสาธุชนใดพึงได้ถวายทานดั่งนี้แล้ว  แด่ที่ประชุมมหาปวารณาสงฆ์
อานิสงค์อันประมาณมิได้  ย่อมบังเกิดแด่บุพพการีชนทั้งในปัจจุบัน
ตลอดจนถึง  7  ชั่วอายุ  แม้กระทั่งผู้อยู่ในคติทั้ง  6 
(สวรรค์  มนุษย์  เปรต  อสุรกาย  เดรัจฉาน  สัตว์นรก)
ท่านเหล่านั้นจักพ้นจากทุคติภูมิ  ได้บังเกิด  ณ  สุคติภพ
โภชนาหารกับทั้งพัสตราภรณ์อันปราณีต  จักบังเกิดแด่ท่านเหล่านั้น
แม้ผู้ยังชนม์อยู่ย่อมจักเป็นผู้มั่งคั่ง  จักเป็นผู้มีอายุยืน"

แลบัดนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงมีพุทธบรรหารแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์
ทั้งหลายให้ดำรงจิตแห่งตน  มั่นคงอยู่ในสมาธิภาวะ  แล้วจึง
สังวัธยายมนตร์  อุทิศให้บุพพการีชนทั้งหลาย  ครั้นแล้วหมู่สงฆ์ทั้งนั้น
พึงรับ มตกภัตต่อเบื้องหน้าพุทธานุสติเจดีย์ในท่ามกลางหมู่สงฆ์

ทันใดนั้น  มารดาแห่งพระมหาโมคคัลลานะก็ได้พ้นจากกัลป์แห่งเปรตภูมิ
ด้วยกุศลนั้น  พระมหาโมคคัลลานะ  อีกทั้งพระมหาโพธิสัตว์เจ้า
ก็บังเกิดปิติในผลแห่งกุศลเป็นอันมาก

พระมหาโมคคัลลานะ  ได้ประคองหัตถ์อัญชุลีต่อเบื้องพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค  แล้วกราบทูลว่า.......

"บัดนี้  มารดาของข้าพระองค์  ได้รับอานิสงค์อันไม่มีประมาณ  ก็ด้วย
อาศัยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย  หากในกาลภายหน้า  บรรดา
พุทธสาวกทั้งหลายปรารถนาจักบำเพ็ญกุศลทานอุทิศให้แก่บุพพการีชน
ดั่งนี้บ้าง  บรรพชนทั้งหลายกับผู้ล่วงลับทั้ง  7  ชั่วอายุนั้น
จักได้รับอานิสงค์ดุจเช่นนี้หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า"

             

พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก  จึงมีพุทธดำรัสตอบว่า... 

"ประเสริฐแล้ว  สิ่งที่เธอกล่าวนั้นชอบแล้ว  หากในภายภาคเบื้องหน้า
สาธุชนทั้งหลายอันมีภิกษุ  ภิกษุณี  กษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์
ข้าราชบริพารทุกชนชั้นกับทั้งสามัญชนทั้งปวงปรารถนาที่จักบำเพ็ญ
กุศลทานอุทิศแด่บุพพการีชน  ผู้ให้กำเนิดแล้วไซร้

             
 
ในวันเพ็ญกลางเดือน  7  อันเป็นวันมหาปวารณาสงฆ์ 
เธอทั้งหลายพึงถวายโภชนาหาร 
กับทั้งของบริวารทั้งปวงแด่หมู่สงฆ์ผู้มาทิศทั้ง  10
แล้วตั้งใจอุทิศส่วนแห่งบุญนั้น  แด่บุพพการีชน 
ผู้ให้กำเนิดกับทั้งผู้ล่วงลับทั้ง  7  ชั่วอายุ  ให้ได้รับอานิสงส์เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมจักเป็นผู้พ้นจากทุคติภพ  ได้บังเกิดในท่ามกลางสุคติภูมิ
ได้เสวยผลบุญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

พุทธสาวกทั้งหลาย  ผู้มีมนสิการมั่นคงอยู่ในกตัญญุตธรรม 
ระลึกถึง  คุณแห่งบุพพการีชน  มีคุณบิดา  มารดา  เป็นต้น 
ในวันขึ้น  15  ค่ำของเดือน  7  ทุกปี  พึงประกอบกุศลกรรม
ถวาย  อุลลัมพนมตกภัต  แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้ง  10  ทิศ 
เพื่อแสดงซึ่งกตัญญุตาในผู้ให้กำเนิด  แลผู้มีพระคุณที่ได้บำรุงเลี้ยงดูมา"

เมื่อได้สดับฟังพระธรรมของพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว
พระมหาโมคัลลานะพร้อมด้วยพุทธบริษัท  4  ต่างปิติยินดีในธรรม
และน้อมรับไปปฏิบัติโดยทั่วกัน

พระสูตร  อันเป็นสัจจพจน์ที่ว่าด้วยธรรมอันเป็นกตัญญุตกตเวทิตธรรม
ต่อบุพพาการีชน  ก็ยุติลงด้วยประการฉะนี้

ขอกุศลผลทานที่ทุกท่านร่วมใจกันจะถวาย  อุลลัมพนมตกภัต  นี้
จงพึงบังเกิดแด่  บุรพชนต้นตระกูล  บรรพกษัตริย์  ผู้รักษาประเทศชาติ
บุพพการีชน  เหล่าญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วของทุก ๆ ท่าน
เป็นผู้พ้นจากทุคติภูมิ  ได้บังเกิดในสุขคติภูมิ 
ผู้ใดได้รับทุกข์  ก็จงพ้นจากความทุกข์
ผู้ใดมีสุข  ก็จงมีสุขยิ่ง ๆ  ขึ้นไป  เสวยผลบุญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญกุศลนี้จงพ้นจากความทุกข์  ความขัดข้องทั้งหลาย
จงมีความสุข  ความเจริญ  ไม่มีที่สิ้นสุด  เป็นผู้มั่งคั่ง  อายุยืน
ดุจดังอานิสงส์แห่ง  "พระพุทธวจนะอุลลัมพนสูตร"  ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ.
 
 
 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=5927.0

33



ธรรมเนียมแห่งการกำหนดเขตพัทธสีมาอุโบสถจะต้องหมายเขตด้วยวัตถุบางอย่าง   เรียกว่า
นิมิตๆ  แปลว่าเครื่องหมาย   วัตถุที่ใช้เป็นนิมิตนั้น   ระบุไว้ในบาลี 8 ชนิด ภูเขา 1 ศิลา 1 ป่าไม้ 1
ต้นไม้ 1 จอมปลวก 1 หนทาง 1 แม่น้ำ 1 น้ำ 1 ส่วนมากคณาจารย์ใช้ศิลาเป็นลูกนิมิต การปิดทอง
ลูกนิมิตด้วยจิตใจศรัทธาปสาทเลื่อมใส    ย่อมบังเกิดอานิสงส์มาก    เพราะลูกนิมิตเป็นสัญญา
ลักษณ์แทนองค์พระบรมศาสดากับพุทธสาวก ถึงแม้พระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว แต่รอย
พิมพ์พระคุณทั้งหลายของพระองค์ยังคงดำรงสถิตย์เสถียรปกป้องอวยสันติสุขแก่ผู้ที่ประพฤติ
ปฎิบัติตามพุทธศาสนิกมานมัสการปิดทองลูกนิมิตก็เสมือนปิดทองพระพุทธรูป ย่อมสำแดงออก
ซึ่งความนอบน้อมเคารพอย่างสูงยิ่ง ในพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลูกนิมิต 9 ลูก เป็นเครื่อง
หมายกำหนดเขตที่จะสร้างพระอุโบสถ อันเป็นธงชัยแห่งพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
อำนวยให้สังฆกรรมอุโบสถกรรมปวารณาสำเร็จได้ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ    สืบอายุพระบวร
ศาสนาให้ดำรงยั่งยืนตลอดกาล อนุชนรุ่นหลังได้ตีความ

ความหมายลูกนิมิตรในทิศทางต่างๆ อาทิ
ลูกที่ 1 อยู่ใจกลางอุโบสถ หมายถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ลูกที่ 2 ทิศบูรพาหมายถึงพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เลิศฝ่ายรู้จักกาลราตรีเป็นปฐมสาวก
ลูกที่ 3 ทิศอาคเนย์ หมายถึงพระมหากัสสป ผู้เลิสฝ่ายธุดงค์คุณ
ลูกที่ 4 ทิศทักษิณ หมายถึงพระสารีบุตรมหาอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศฝ่ายปัญญา
ลูกที่ 5 ทิศหรดี หมายถึงพระอุบาลีผู้เลิศฝ่ายวินัย
ลูกที่ 6 ทิศปัจฉิม หมายถึงพระอานนท์ผู้เลิศฝ่ายพหูสูต
ลูกที่ 7 ทิศพายัพ หมายถึงพระควัมปติ ผู้เลิศฝ่ายสูญญวิหารธรรม
ลูกที่ 8 ทิศอุดร หมายถึงพระโมคคัลลานะ มหาอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้เลิศฝ่ายอิทธิฤทธิ์
ลูกที่ 9 ทิศอีสาน หมายถึงพระราหุลพุทธบุตร ผู้เลิศฝ่ายความเพียร

อนึ่ง ในงานปิดทองลูกนิมิต ผู้มีจิตรศรัทธาแก่กล้าได้บริจาคสิ่งของอันมีค่า เช่น แก้ว แหวน เงิน
ทอง และร่วมกันบำเพ็ญกองการกุศลพร้อมด้วยตั้งจิตอธิษฐานขอผลแห่งทานสนองทดแทนคุณ
บิดามารดา ทั้งคณาญาติที่เลี้ยงดูอุปการะมา การมอบธนาทรัพย์ทั้งหลายเพื่อจักเป็นประโยชน์
แก่ทางวัดนำไปสร้างอุโบสถ หรือ หล่อหลอมพระพุทธปฎิมาประจำโบสถ์วิหารก็ดี ทรัพย์ที่ใส่ใน
หลุมนิมิต เช่น เข็ม โดยอธิษฐานให้มีปัญญารอบรู้แทงตลอดอริยสัจธรรม ใส่ด้ายสมุด ดินสอ ให้
ทรงไว้จำได้หมายรู้ไว้ทุกขณะ  ทรัพย์ทุกสิ่งทุกอันที่เจ้าภาพฝังไว้ในที่ผูกลูกนิมิตหลุมสีมาภาย
ใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา หรือสาธารณะกุศลก็ดี ชื่อว่าบุญญนิธี เป็นทรัพย์ที่ติดตามผู้สร้างดุจเงา
ตามตัว ส่งผลสำเร็จและปัจจัยแก่พระนิพพาน หมดกังวลห่วงใยไม่สูญหาย ใครๆ จะหยิบยกลัก
ฉกไปมิได้ และบุญญนิธีนี้สามารถอำนวยผลสนองตอบแทนแก่ผู้บำเพ็ญอย่างอเนกปริยาย

ผลานิสงส์ที่จะได้รับต่อไป คือ
เป็นที่รักใคร่สรรเสริญของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้มั่งคั่ง อุดมทรัพย์สมบัติ โภคสมบัติ
เป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่อง องอาจสง่างาม
เป็นผู้มีญาติมิตร สหายพวกพ้อง พี่น้อง บริวารมาก
เป็นผู้มีอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ น่าเลื่อมใส
เป็นผู้ที่เคารพนับถือของคนทุกชั้นทุกวัย
เป็นผู้ดำเนินไปสู่คติภพเบื้องหน้า
เป็นผู้มีปัญญาปรีชาญาณ รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งมวล
เป็นผู้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
เป็นผู้สำเร็จสาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ
อนุตรสัมโพธิญาณ

การปิดทองลูกนิมิตบำเพ็ญมหากุศลทานมีอานิสงส์ฉะนี้แล
 

 

ขอขอบคุณที่มา...http://allforblue.wordpress.com/

34

       


พระโมคคัลลานเถระ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม และความสามารถในอิทธิปาฏิหาริย์
เหนือกว่าพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ แต่ท่านก็เป็นผู้มีอัธยาศัย ใจกว้างไม่กีดกัน ไม่เบียดบังความดี
ความสามารถของคนอื่น ไม่ฉวยโอกาสชิงความดี ความชอบจากผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเรื่องต่อ
ไปนี้:

ในสมัยหนึ่ง มีเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ อยากจะเห็นพระอรหันต์ที่แท้จริงเพราะในเมือง
ราชคฤห์นั้นมีเจ้าลัทธิหลายสำนัก ซึ่งต่างก็โอ้อวดว่าตนเป็นพระอรหันต์ ทั้ง ๆ ที่การปฏิบัติและ
หลักคำสอนก็แตกต่างกันเป็นอย่างมาก และหาแก่นสารมิได้ จึงให้บริวาร กลึงไม้จันทน์แดง ทำ
เป็นบาตรแล้วผูกติดปลายไม้ไผ่ต่อกัน หลาย ๆ ลำตั้งไว้แล้วประกาศว่า “ใครเป็นพระอรหันต์ ก็
จงเหาะมาเอาบาตรใบนี้ไป”

เจ้าลัทธิทั้งหลายปรารถนาจะได้บาตร แต่ไม่สามารถเหาะมาเอาไปได้ จึงมาเกลี้ยกล่อม
เศรษฐีให้ยกบาตรให้ตน โดยไม่ต้องเหาะขึ้นไป แต่เศรษฐีก็ยังคงยืนยันว่าต้องเหาะขึ้นไปเอาเอง
เท่านั้นจึงจะได้

ขณะนั้น พระโมคคัลลานะเถระ กับพระปิณโฑลภารทวาชเถระ กำลังยืนห่มจีวรอยู่
บนก้อนหินใหญ่ เพื่อเตรียมตัวเข้าไปบิณฑบาตในเมือง ได้ยินพวกชาวบ้านพูดกันว่า “ในโลกนี้
คงจะไม่มีพระอรหันต์ เพราะวันนี้เป็นวันที่ ๗ แล้วท่านเศรษฐีประกาศให้พระอรหันต์เหาะมาเอาบาตร
แม้แต่ครูทั้ง ๖ ที่โอ้อวดนักหนาว่าเป็นพระอรหันต์ ก็ยังไม่สามารถเหาะขึ้นไปเอาบาตรได้เลย เราเพิ่ง
รู้วันนี้เองว่าพระอรหันต์ไม่มีในโลก”

พระเถระทั้งสอง ต้องการประกาศให้ประชาชนทั้งหลายรู้ว่าในพระพุทธศาสนามีพระ
อรหันต์อยู่จริง ดังนั้น พระโมคคัลลานะเถระ แม้จะมีฤทธิ์มีอานุภาพมากกว่า มีอายุพรรษา
มากกว่า แต่อาศัยความที่ท่านเป็นผู้มีใจกว้างมีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ต้องการให้คุณของพระเถระ
รูปอื่นปรากฏบ้าง จึงบอกให้ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เหาะขึ้นไปเอาบาตรนั้นลงมา จน
เศรษฐีและชาวเมืองพากันแตกตื่นมาดูกันอย่างโกลาหล

อีกเรื่องหนึ่ง คือ เมื่อพระบรมศาสดา ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จขึ้นไปจำ
พรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก มหาชนที่ประชุมกันอยู่ที่นั่นไม่ทราบว่าพระพุทธองค์หายไปไหน จึง
พากันเข้าไปถามพระโมคคัลลานะเถระ
 
แม้พระโมคคัลลานะเถระจะทราบเป็นอย่างดี แต่ท่านก็ไม่ตอบโดยตรง กลับบอกให้ไปถาม
พระอนุรุทธเถระ ทั้งนี้ ก็เพื่อยกย่องคุณความรู้ความสามารถของพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ ให้
ปรากฏบ้างนั่นเอง.




ขอขอบคุณที่มา...http://www.84000.org/

35


ในสมัยหนึ่ง  พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัย แห่งพระอรหัตของนักบวชนอกพระ
พุทธศาสนานามว่า “อัคคิทัต” จึงรับสั่งให้พระโมคคัลลานะเถระไปอบรมสั่งสอนให้ลดทิฏฐิ
มานะ ละการถือลัทธินั้นเสีย

พระโมคคัลลานะเถระรับพระพุทธบัญชาแล้ว ไปยังสำนักของอัคคิทัต นั้น  เมื่อไปถึง ได้กล่าวขอที่พัก
อาศัยสักราตรีหนึ่ง แต่อัคคิทัต ปฏิเสธว่าไม่มีสถานที่ให้พัก พระโมคคัลลานะเถระจึงกล่าวต่อไปว่า
“อัคคิทัต  ถ้าอย่างนั้น เราขอพักที่กองทรายนั่นก็แล้วกัน”

ก็ที่กองทรายนั้นมีพญานาคตัวใหญ่ มีพิษร้ายแรงอาศัยอยู่ อัคคิทัต เกรงว่าพระโมคคัลลานะเถระจะได้
รับอันตรายจึงไม่อนุญาต แต่เมื่อพระโมคคัลลานะเถระรบเร้าหนักขึ้นจนต้องยอมอนุญาต พระโมคคัลลา
นะเถระจึงเดินไปที่กองทรายนั้น
 
พญานาคเห็นพระโมคคัลลานะเถระเดินมาจึงรู้ว่าไม่ใช่พวกของตนจึงพ่นควันพิษเข้าใส่พระเถระฝ่าย
พระโมคคัลลานะเถระก็เข้าเตโชกสิณบังหวนควันไฟให้กลับไปทำอันตรายแก่พญานาคทั้งพระโมคคัลลานะ
เถระและพญานาคต่างก็พ่นควันพ่นไฟเข้าใส่กันจนเกิดแสงรุ่งโรจน์โชตนาการ พิษควันไฟไม่สามารถทำอัน
ตรายพระโมคคัลลานะเถระได้เลย แต่ทำอันตรายแก่พญานาคฝ่ายเดียว อัคคิทัต กับบริวารมองดูแล้วคิดตรง
กันว่า “พระเถระคงจะมอดไหม้ในกองเพลิงเสียแล้ว” พร้อมทั้งคิดว่า “สาสมแล้ว เพราะเราห้ามแล้วก็ไม่ยอมเชื่อฟัง”

รุ่งเช้า อัคคิทัตกับบริวารเดินมาดู ปรากฏว่าพระเถระนั่งอยู่บนกองทราย โดยมีพญานาค
ขดรอบกองทรายแล้วแผ่พังพานอยู่เหนือศีรษะ พระเถระจึงพากันคิดว่า “น่าอัศจรรย์ สมณะนี้มี
อานุภาพยิ่งนัก”

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระมหาโมคคัลลานเถระ จึงลงจากกองทรายแล้ว
เข้าไปกราบบังคมทูลอาราธนาให้เสด็จปะทับนั่งบนกองทรายแล้วกล่าวกับอัคคิทัตว่า “พระพุทธ
องค์ เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ๆ เป็นสาวกของพระพุทธองค์”

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้อัคคิทัต พร้อมทั้งบริวารเลิกละ
การเคารพบูชาภูเขา ป่า ต้นไม้ และจอมปลวก เป็นต้น ที่พวกตนพากันเคารพบูชาว่าเป็นที่พึ่ง
อันเกษมสูงสุด ให้หันมาระลึกถึงพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันเป็น
สิ่งประเสริฐสุดนำไปสู่การพ้นทุกข์ทั้งปวง
 
เมื่อจบพระธรรมเทศนา อัคคิทัต และบริวารได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด
แล้วกราบทูลขอบรรพชาในพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาได้ประทานให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุ
อุปสัมปทา

 
 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.84000.org/

36
วัดพุทธปิยวราราม สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน
สมาคมพุทธไทย-เยอรมนี ดีเซ่นบาค์เชอร์ 6
63303 ไดรย์อายซ์-เกิ๊ตเซ่นฮายน์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน





พุทธศักราช ๒๕๒๘ (คศ.๑๙๘๕) พระเดชพระคุณพระเทพสิทธาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาส/เจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่



ได้เดินทางมาประเทศเยอรมนีเป็นครั้งแรก วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาพระไตรปิฎกบางฉบับที่ตกค้างอยู่ในประเทศเยอรมนี และได้เดินทางไปค้นหาพระไตรปิฎกที่หอสมุด Köln และได้ปรารภว่า “ในเยอรมนียังไม่มีวัดไทยเลย น่าจะรวมตัวกันตั้งพุทธสมาคมขึ้น”



ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ (คศ.๑๙๘๗) พระเดชพระคุณพระเทพสิทธาจารย์ ได้รับการอาราธนาจาก Buddhist Zentrum Wald-Haus เพื่อสอนวิปัสสนากรรมฐานแก่สมาชิกในสมาคม และได้ดำเนินการรวมกลุ่มสมาชิกและศิษยานุศิษย์ เพื่อเตรียมการก่อตั้งสมาคมขึ้น โดยการรวบรวมรายชื่อสมาชิกไว้ ณ เบื้องต้น



พุทธศักราช ๒๕๓๖ (คศ.๑๙๙๓) พระเทพสิทธาจารย์ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่แปลจากพระไตรปิฎกฉบับอักษรภาษาล้านนา มามอบถวายไว้สำหรับเพื่อการศึกษา ณ วัดพุทธเบญจพล ที่ Langenselbold โดยคณะทูตเป็นผู้รับมอบจากพระเทพสิทธาจารย์ เพื่อนำไปไว้ ณ วัดดังกล่าวจำนวน ๑ ชุด เพื่อการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจสืบต่อไป





ถึงปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ (คศ.๑๙๙๔) สมาคมชาวพุทธไทย ที่ Buddhisthau,Edelhofdamn, Berlin ได้อาราธนาพระเทพสิทธาจารย์ ให้มาสอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่คณะศิษยานุศิษย์ และผู้สนใจ ณ สมาคมแห่งนี้ และในโอกาสครั้งนี้คณะศิษย์ได้จัดตั้งสมาคมขึ้น โดยใช้ชื่อสมาคมคือ “สมาคมชาวพุทธไทย-เยอรมัน เมืองแฟรงก์เฟิร์ต”



สำนักงานตั้งอยู่ที่ Unterster Zwerchweg 10,60599 Frankfurt โดยมี นายสัมพันธ์ จันทรบำรุง เป็นประธานสมาคม และต่อมาได้ย้ายสมาคมมาตั้ง ณ สถานที่แห่งใหม่ ซึ่งย้ายมาอยู่ที่เมือง Neu-lsenburg ซึ่งเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสะดวกต่อการปฏิบัติศาสนกิจของคณะสงฆ์ที่ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา





ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ (คศ.๑๙๙๗) สมาคมมีโอกาสซื้อสถานที่จัดตั้งวัดพุทธปิยวราราม ขึ้น ณ เมือง Dreieich-Götzenhain ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัด และได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน


ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดตั้งสมาคม และวัดดังกล่าวเพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทย พร้อมกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อันเป็นที่พึงและเป็นที่ระลึกยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย และผู้สนใจศึกษา



ดังนั้นในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเฉพาะปัจจุบันวัดเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ธรรม และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และเผยแพร่วัฒนธรรมไทย แก่ผู้สนใจในทุกรูปแบบ และเป็นกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ กระทั่งมีนักเรียนเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา และวิถีวัฒนธรรมของไทย และได้อาราธนาพระสงฆ์เข้าไปบรรยายเรื่องต่างๆอันเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อันเป็นวิถีและวัฒนธรรมของชาวไทยในโรงเรียนต่างๆ ตามโอกาส และปัจจุบัน มี




พระเทพสิทธาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธปิยวราราม
เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่



· พระครูสังฆรักษ์ชเนศร์ ชุตินฺธโร (ลิขิต) เป็นประธานสงฆ์วัดพุทธปิยวราราม วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
และพระสงฆ์จำพรรษาอีก ๓ รูป รวมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติศาสนกิจในปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ จำนวน ๔ รูป

· คุณมิซาเอล ยุงเคอร์ เป็นประธานสมาคม


ที่ประเทศเยอรมัน ก็มีชาวต่างชาติสนใจมาปฏิบัติธรรมมากพอสมควร







 
ประวัติพระธรรมมังคลาจารย์ ทอง สิริมังคโล
http://dhamma-free.blogspot.com/2010/02/blog-post_04.html



ขอขอบพระคุณที่มา...เว็บพลังจิตดอทคอม

37


ประวัติ
 “หลวงพ่ออ๋อย” มีนามเดิมว่า “อ๋อย ถาวรวยัคฆ์” เป็นชาว อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยกำเนิดโดยเกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2413 บิดา-มารดาชื่อ “นายเสือ-นางสำริด” ในวัยเด็กได้เข้าเรียนหนังสือไทยที่ “วัดนางสาว” โดยเรียนรู้อักษรไทยสมัยเก่าแค่อ่านออกเขียนได้คล่อง จึงกลับไปช่วยงานทางบ้านกระทั่งอายุย่างสู่ปีที่ 26 จึงอุปสมบท ณ วัดนางสาว เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2439 โดยมี “หลวงพ่อเกิด วัดนกกระจอก” เป็นอุปัชฌาย์ได้รับฉายาว่า “ยโส” โดยสมัยนั้นมีพระที่บวชวัดเดียวกันซึ่งต่อมาได้เป็นสหายทางธรรมที่สนิทสนม กันคือ “หลวงพ่อคง” หลังจากจำพรรษาอยู่ที่วัดนางสาวได้ 1 พรรษา จึงย้ายไปจำพรรษาที่ “วัดไทร บางขุนเทียน” เพื่อทำการ ศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัยอันเป็นข้อปฏิบัติของสงฆ์

พร้อมทั้งร่ำเรียนอักษรขอมแล้วจึงหันมาสนใจ การศึกษาด้านพุทธาคมเวทมนต์คาถา กระทั่งเชี่ยวชาญและต่อมาได้เป็นสหายทางธรรมกับ “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ” และมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากจึงไปมาหาสู่กันเป็นประจำโดย “หลวงพ่อรุ่ง” จะเดินทางมาหา “หลวงพ่ออ๋อย” ที่ “วัดไทร” เป็นประจำพร้อมค้างแรมครั้งละหลายคืนเสมอเพราะ “พระคณาจารย์” ผู้เป็นสหายทางธรรมมักจะมีการแลกเปลี่ยนวิชากันนั่นเองเนื่องจาก “หลวงพ่ออ๋อย” เองเป็นชาวกระทุ่มแบนอันเป็นเขตที่ “วัดท่ากระบือ” ของ “หลวงพ่อรุ่ง” พระคณาจารย์ทั้งสองจึงชอบพอกันเป็นพิเศษ

ประกอบกับ “หลวงพ่ออ๋อย” โด่งดังด้าน “ยาสัก” โดยใช้ “สมุนไพร” สักลงบนผิวหนังเพื่อ “รักษาโรคภัยไข้เจ็บ” ให้ชาวบ้านหายขาดอยู่เสมอจึงมีชื่อเสียงโด่งดังมาก นอกจากนี้ยังได้เป็น เจ้าอาวาสวัดไทร พร้อมได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูถาวรสมณวงศ์” และมรณภาพโดยความสงบขณะมีอายุ 89ปี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2501 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1320

ในย่านบางขุนเทียน นอกจากชื่อเสียงอันเกริกไกรของหลวงปู่เอี่ยม (พระภาวนาโกศลเถระ) หรือ “เจ้าคุณเฒ่า” วัดหนังแล้ว “หลวงปู่อ๋อย วัดไทร”นับเป็นเกจิอาจารย์ดังอีกองค์หนึ่งที่มีวิทยาคมไม่เป็นสองรองใคร
ท่านเชี่ยวชาญด้านยาสัก และการเล่นแร่แปรธาตุจนสำเร็จเป็นทองคำ นาก เพชร พลอย รวมทั้งสร้างพระด้วยเนื้อผงผสมว่านต่างๆแจกลูกศิษย์ ซึ่งมีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางเหนียว แคล้วคลาด เมตตามหานิยม สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ เลื่อมใสมาก เวลาสร้างพระกริ่งและปลุกเสกคราวใดจะต้องนิมนต์ท่านมาด้วยทุกครั้ง

พลังจิตของท่านกล้าแข็งมาก สามารถเสกใบมะขามเป็นตัวต่อแตนได้ และเสกสิ่งของวัตถุมงคลอย่างใด ก็ล้วนแต่ขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

หน้าที่การงานและสมณศักดิ์
พ.ศ.2452 เป็นเจ้าอาวาสวัดไทร และเจ้าคณะหมวดบางประทุน พ.ศ.2457 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูถาวรสมณวงศ์” พระครูพิเศษชั้นตรี ผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงล่าง
พ.ศ.2472 เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ในตำแหน่งได้ 29 ปี พ.ศ.2487 เลื่อนเป็นพระครูพิเศษชั้นโท ในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบางขุนเทียน
พ.ศ.2490 เลื่อนเป็นพระครูชั้นเอก ในตำแหน่่งผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอ

หลวงปู่อ๋อยท่านชอบธุดงค์เป็นชีวิตจิตใจ โดยระหว่างนั้นได้หาแร่ธาตุต่างๆที่เห็นว่าแปลกและต้องกับตำราว่ามีกฤตยานุภาพ ตลอดจนที่มีกล่าวไว้ในตำราเล่นแร่แปรธาตุ สะสมรวบรวมเอาไว้นอกจากนี้ ยังสะสมว่านต่างๆไว้มากมาย ทั้งว่านยา ว่านมหามงคล และว่านที่มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี โดยท่านจะนำบางอย่างมาใช้ทำเป็น “ยาสัก”อันเลื่องชื่อของท่าน

ด้วยความเป็นผู้ชอบศึกษาค้นคว้าและเป็นนักทดลอง สมัยที่ยังมีชีวิตจะเห็นตำรับตำรา เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆมากมาย และในยามว่างจากรักษาคนไข้แล้ว ท่านจะทดลองถลุงแร่ แปรธาตุต่างๆ เมื่อปฏิบัติเห็นผลแล้ว ท่านก็เลิกทำ เพราะเป็นเครื่องชักจูงให้ติดอยู่ในทางให้เกิดความโลภของลูกศิษย์

แพทย์แผนโบราณก็เป็นวิชาที่ท่านสนใจมากเช่นกัน วิชาที่รักษาโรคใดที่ยังไม่ได้เรียน ก็จะมุ่งมั่นค้นคว้าจากตำราจนสำเร็จ ทั้งนี้ การรักษาโรคด้วยยาสักมีเคล็ดอยู่ว่า “ถ้าใครไม่ขอร้องให้รักษา จงอย่าขันอาสารักษาให้”

น้ำมันมนต์ของท่านช่วยชีวิตคนที่เป็นโรคห่า (อหิวาตกโรค)ไว้มากมาย ข้าวสารเสกเลื่องลือมาก หากใครได้กินจะร่ำเรียนปัญญาดี คนบางขุนเทียนสมัยนั้นนิยมกันมาก แม้แต่คนกรุงเทพฯยังเอาไปให้ท่านเสกกันเป็นจำนวนมาก ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเสกทรายใส่ถุงเล็กๆแจกจ่ายทหารและชาวบ้านให้ไปพกติดตัว ปรากฏว่าไม่เป็นอันตรายเลย เป็นเรื่องเล่าขานกันมาจนทุกวันนี้

สมัยนั้นตลาดน้ำวัดไทรเป็นที่ชุมนุมเรือขายของต่างๆมากมาย บางคนขึ้นมาถ่ายเบา-ถ่ายหนักท่านก็จะออกไปว่ากล่าวตักเตือนจนไม่มีใครกล้าทำ อีกเลย พระ-เณรในวัด ถ้าไม่ท่องหนังสือจะมาเดินเล่นหน้าวัดหรือบริเวณวัดไม่ได้ บางองค์ฟังวิทยุท่านก็จะบอกว่าการบันเทิงไม่ใช่กิจของสงฆ์
ท่านพูดเสียง ดังฟังชัด ชอบพูดตรงๆไม่อ้อมค้อม และชอบคนที่พูดตรงๆเช่นกัน ใบหน้าท่านเอิบอิ่ม ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ดวงตาของท่านกล้า แข็งเป็นที่เกรงกลัวกันมาก ทว่าใครก็ตามที่ได้สัมผัสใกล้ชิดแล้ว ต่างกล่าวขานถึงความเมตตาอันมากล้น โดยเฉพาะผู้ที่รอดพ้นจากความตายด้วย “ยาสัก”ของท่าน ต่างเชื่อมั่นในบารมีแห่งตัวท่านไม่เสื่อมคลาย เช่นเดียวกับผู้ที่ม ี“พระว่าน”หรือ” เหรียญรูปเหมือน” ของท่านติดตัวบูชา ต่างรู้ซึ่งถึงคุณค่าและพุทธคุณที่ล้ำเลิศจนน่าอัศจรรย์ใจ!!!






ขอขอบคุณที่มา...http://www.zone-it.com/forum/index.php?topic=119668.0;wap2

38


๏ อัตโนประวัติ

“พระครูสุภัทรธรรมโสภณ” หรือ “หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี” มีนามเดิมว่า ทรง วารีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2466 ตรงกับวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน ณ บ้านม่วงเตี้ย ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกอง และนางจัน วารีรักษ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

๏ การศึกษาเบื้องต้นและการอุปสมบท

ช่วงวัยเยาว์ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ในด้านต่างๆ เสมอมา ช่วยเหลือครอบครัวทำมาหากินมาตลอด และมีจิตใจฝักใฝ่ในทางศาสนา ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดยางมณี (ชวนประชาสรรค์) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6) ซึ่งในสมัยนั้นคนส่วนใหญ่จะจบแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4) จึงเป็นการเรียนจบที่สูงสามารถเป็นครูสอนตามโรงเรียนได้ ต่อมาท่านได้เข้ารับราชการเพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยยังคงช่วยเหลือครอบครัวหาเลี้ยงชีพประกอบกิจการค้าขาย

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2486 ณ พัทธสีมาวัดยางมณี ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โดยมีพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อชวน) วัดยางมณี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการสุวรรณ วัดไร่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดตูม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและสรรพวิชาอาคม

หลังอุปสมบท ท่านได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อชวนระยะหนึ่ง จากนั้นได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดไร่และวัดศาลาดิน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย สามารถสวดพระปาติโมกข์ได้อย่างคล่องแคล่ว

ขณะเดียวกัน ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมจากหลวงพ่อชวน วัดยางมณี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์, หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ ศึกษาโหราศาสตร์กับหลวงพ่อเข็ม วัดข่อย พระเกจิดังแห่งยุค ซึ่งได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชาให้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ท่านได้เรียนวิทยาคมจากตำราโบราณที่รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ จนเชี่ยวชาญสามารถเขียนอ่านอักษรขอมได้

หลวงพ่อทรง เคร่งครัดปฏิบัติและชอบการปลีกวิเวก หมั่นฝึกฝนปฏิบัติวิชาอาคมต่างๆ ตามที่ได้ร่ำเรียนและได้รับการถ่ายทอดมา จนมีความชำนาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีพลังสมาธิญาณอย่างน่าอัศจรรย์

มีเรื่องเล่าขานกันว่า เมื่อปี พ.ศ.2513 หลวงพ่อทรงท่านได้จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตพระอุโบสถ แล้วจัดสร้างเหรียญเสมาเป็นรูปท่านครึ่งองค์ เพื่อมอบให้สาธุชนเป็นที่ระลึก โดยนิมนต์พระธรรมมุนี (หลวงพ่อแพ เขมังกโร) วัดพิกุลทอง ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต วัดดอนไร่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี และพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมรูปอื่นๆ มาร่วมนั่งปลุกเสก

หลังจากพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมคลายพลังสมาธิญาณ และผ่อนคลายอิริยาบถ หลวงพ่อทรงยังคงนั่งนิ่งส่งพลังสมาธิญาณ กระทั่งเหรียญเสมาที่อยู่ในบาตรบินลอยวนไปมา ส่งเสียงกระทบฝาบาตรอย่างน่าอัศจรรย์

จนหลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต วัดดอนไร่ เปรยว่า “พอแล้วท่านทรง จะปลุกเสกไปถึงไหน เดี๋ยวเหรียญก็ได้แตกป่นกันหมดพอดี” หลวงพ่อทรงจึงผ่อนคลายพลังสมาธิญาณ ต่อมาคณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งสมญานามเหรียญเสมารุ่นนี้ว่า “รุ่นเหรียญบิน” ตราบจนปัจจุบัน



หลวงพ่อทรง “รุ่นเหรียญบิน”   ปี 2513


หลวงพ่อทรง ได้รับการยอมรับและศรัทธาของศิษย์ทุกระดับชั้น เชื่อถือกันว่าท่านมีคาถาอาคมทรงพุทธคุณครอบจักรวาล โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม ความเจริญรุ่งเรือง และด้านมหาอำนาจปกป้องผองภัยสารพัด สิ่งมหัศจรรย์ที่บังเกิดทั้งปวง ศิษยานุศิษย์ต่างประจักษ์ สามารถให้คำตอบได้เป็นอย่างดี

๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ.2513 ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศาลาดิน (วัดมอญ) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

พ.ศ.2525 ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ และเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2547 ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ

๏ ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ “พระครูสุภัทรธรรมโสภณ”

๏ ผลงานด้านการพัฒนา

หลวงพ่อทรงได้ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ เมรุ ห้องน้ำ ห้องสุขา บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิม ให้เกิดความมั่นคงถาวร ทั้งหมดล้วนเกิดจากบารมีของหลวงพ่อทรงอย่างแท้จริง

ด้วยเป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสของจังหวัดอ่างทอง ท่านจึงมักได้รับกิจนิมนต์จากวัดวาอารามทั่วประเทศ ให้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆ ซึ่งท่านมิเคยขัดข้องหากไม่ติดธุระด้านศาสนาหรือกิจธุระส่วนตัวเสียก่อน

๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย

วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีพุทธคุณครอบจักรวาล โดดเด่นในหลากหลายด้าน ที่เสาะหากันอยู่ขณะนี้ ได้แก่ เหรียญใบเสมา รุ่นเหรียญบิน ปี 2513, เหรียญบาตรน้ำมนต์, พระกริ่งบาเก็ง, สมเด็จยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ เป็นต้น วัตถุมงคลของหลวงพ่อทรง มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี บังเกิดแก่บรรดาสาธุชน จนท่านได้รับสมญานามจากคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย”

ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มแข็งด้วยอำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ”

รวมทั้ง ท่านจะกล่าวสอนอยู่เสมอว่า “การ ทำจิตใจให้สงบ รู้จักปล่อยวางในสิ่งต่างๆ อย่าไปยึดติดกับสิ่งต่างๆ มากเกินไป หมั่นสวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิระลึกถึงปฏิบัติในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคำสั่งสอนของท่านเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด หาคำสอนใดมาเปรียบเทียบมิได้เลยทีเดียว และการที่เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นอะไรที่ประเสริฐที่สุดแล้วในชาตินี้”

หลวงพ่อทรง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศาลาดิน (วัดมอญ) ได้รับการยกย่องว่าเป็นเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า เป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคกลาง แต่การเข้ากราบไหว้ขอพรจากท่าน มิใช่เรื่องยากเย็น ทุกคนมีโอกาสเสมอเหมือนกันหมด ไม่มีผู้ใดกีดกัน เพราะท่านเมตตาต่อทุกคน ไม่เคยเลือกที่รักมักที่ชัง

ท่านมักจะนำวิชาความรู้ด้านวิทยาคมเป็นกุศโลบายในการอบรมสั่งสอนศีลธรรม แก่ประชาชนทั่วไป ให้ยึดหลักธรรมคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นวิถีสำคัญในการประพฤติปฏิบัติตน ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถ้ามีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ไหน จะต้องเห็นหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน นั่งปรกปลุกเสกกับพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัย ความเป็นเอกอุด้านไสยเวทวิทยาคมไม่แตกต่างกัน

๏ การมรณภาพ

อย่างไรก็ดี ด้วยสังขาร คือ อนิจจัง เป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ครั้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 เวลาประมาณ 21.00 น. หลวงพ่อทรงมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ หายใจขัด เนื่องจากมีกิจนิมนต์มาก เมื่อลูกศิษย์เห็นว่าอาการไม่ดี จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง คณะแพทย์ได้ทำการรักษา แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ ในที่สุด เมื่อเวลา 22.50 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 ท่านได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ หลังจากเข้ารับการรักษาอาการท่อปัสสาวะอักเสบ มาก่อนหน้านี้ สิริอายุรวมได้ 83 ปี 8 เดือน พรรษา 64 ท่ามกลางความเศร้าสลดและความอาลัยเป็นยิ่งนักของบรรดาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป

หลวงพ่อทรง ท่านเป็นพระสงฆ์สุปฏิปันโนอย่างแท้จริง แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ ท่านได้ละสังขารตามกฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ถือว่าวงการสงฆ์ต้องสูญเสียพระเถระรูปสำคัญ ผู้บำเพ็ญคุณูปการต่อชาวเมืองอ่างทอง ด้วยความอุตสาหวิริยะมาอย่างยาวนาน เหลือทิ้งไว้แต่ผลงานอันทรงคุณค่าที่อุทิศให้แด่พระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำไว้เบื้องหลัง ทั้งนี้ ทางคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ได้จัดงานบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม และตั้งศพให้คณะสงฆ์ คณะศรัทธาญาติโยม และพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบไหว้ เป็นเวลา 7 วัน ณ วัดศาลาดิน (วัดมอญ) จนกว่าจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป

๏ กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพของพระครูสุภัทรธรรมโสภณ (หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี) อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย และอดีตเจ้าอาวาสวัดศาลาดิน (วัดมอญ) จ.อ่างทอง ตรงกับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2552





ขอขอบคุณที่มา : http://www.dhammajak.net

39


ด้านหน้าและทางเข้าวัดถ้ำเขาอีโต้


หลวงพ่อเคน

หลวงพ่อเคน วัดถ้ำเขาอีโต้ เกจิผู้โด่งดังอีกรูปหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี ผู้มีอภินิหารมากมาย เช่น
หายตัวได้ ย่นระยะทางได้ ต่างๆนานา อยู่ในถ้ำเขาอีโต้ จนมรณะภาพ


หลวงพ่อเคน (หรือหลวงปู่เคน) เป็นพระเกจิอาจารย์ ยุคเก่า ที่พรรษาน่าจะมากกว่าหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จึงไม่ค่อยมีประวัติ
ของหลวงพ่อมากนัก  ด้วยปี พ.ศ.2513 อันเป็นปีที่หลวงพ่อเคนมรณะภาพ

ปีนั้นหลวงพ่อก็มีอายุถึง 111 ปีแล้ว วัตถุมงคลของหลวงพ่อ จะเน้นไปทางเมตตา มหานิยม การค้าขายดี เป็นต้น ท่านมีชื่อเสียงเรื่องการสร้าง ไซดักเงิน และนก
(ที่ทำจากไม้กาหลง)    วัตถุมงคลที่เราพบมากที่สุด เป็นงานสร้างด้วยมือล้วนๆ  ส่วนมากชุดนี้จะพบอยู่หลังภาพถ่ายของหลวงพ่อ มีด้วยกันหลายขนาด ขนาดสูง
เกิน 1 นิ้ว จะเป็นของผู้ชาย หากขนาดกลาง หรือเล็ก ตลอดจนจิ๋ว จะเป็นของผู้หญิง มีทั้งภาพถ่ายสี่เหลี่ยม ภาพกลม และรูปหัวใจเป็นต้น
 
วัตถุมงคลที่โด่งดัง ของหลวงพ่อเคน คือไซดักปลาเสก ที่เด่นทางเมตตา มหานิยมเเละค้าขายดี

พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อเคนบางส่วน





















ขอขอบพระคุณ....ท่านเจ้าของภาพพระเครื่องหลวงพ่อเคนด้วยครับ

40


วัดบัวงาม จ.ราชบุรี 
พระอารามหลวง ชั้นตรี





วัดบัวงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองโพหักด้านทิศตะวันตก ที่หมู่บ้านบัวงาม ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เริ่มตั้งเป็นวัดขึ้นโดยการนำของผู้ใหญ่สี จันทสมา ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้เหตุผลกับนายกลีบ เจริญภักดี กับ นางทองดี พวงสุข ให้ร่วมกันสละที่ดิน จำนวน ๑๔ ไร่ ๗๐ วา ไว้เป็นที่ธรณีสงฆ์แล้วร่วมกันจัดสร้างวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ โดยอาราธนาพระอาจารย์หน่าย เขมวโร จากวัดดอนคลัง มาเป็นประธานดำเนินการจัดสร้างวัดโดยมีพระอาจารย์หน่าย เขมวโรเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และพร้อมใจกันให้ชื่อวัดในครั้งนั้นว่า วัดบัวลอย อาศัยนามตามท้องที่เหตุเป็นที่ราบลุ่มน้ำ ฤดูน้ำท่วมมีบัวลอยเกิดขึ้นมาก ทั้งออกดอกสะพรั่งสวยงาม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ นายกองเนียม ไกรสรราช สละทรัพย์จัดสร้างโรงอุโบสถ ๑ หลัง เป็นเรือนไม้ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ได้ทำพิธีผูกพัทสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕





ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๙ สมัยเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ พระอธิการเสาร์ สมโณ เป็นเจ้าอาวาส ขุนขจิตบัวงาม ( ย้อย แสงอากาศ ) กำนันตำบลบัวงามพร้อมด้วยชาวบ้าน ได้ร้องเรียนให้ทางราชการโอนที่ดิน ที่ตั้งวัดบัวลอยนี้ มาขึ้นอยู่ในเขต ตำบลบัวงาม เมื่อทางราชการอนุญาตแล้ว จึงพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ ให้ชื่อวัดว่า วัดบัวงาม ตั้งแต่นั้นมาจนถึงบัดนี้









เจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสรูปที่ ๙ พระครูสุนทรปริยัติคุณ (โพธิ์ จนฺทสาโร-หวิงปัด)

๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


วัดบัวงาม
ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านบัวงาม หมู่ที่ ๑ ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

41


พระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ


" วัดเทพธิดารามวรวิหาร" หรือวัดเทพธิดาราม พระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ภายในกำแพงพระนคร ริมถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ อยู่ใกล้วัดราชนัดดา หันหน้าออกสู่คลองรอบกรุง หรือ กำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกในสมัยก่อน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพธิดาราม พ.ศ.2379 และสร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ.2382

คำว่า เทพธิดา หมายถึง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงาม ทรงได้รับใช้เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของพระราชบิดา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อร่วมในการก่อสร้างวัดเทพธิดารามด้วย

พระอารามนี้มีสิ่งก่อสร้างซึ่งประดับด้วยลวดลาย เครื่องกระเบื้องเคลือบและตุ๊กตาจีนมากอันเป็นเหตุสืบเนื่องจากความ รุ่งเรืองทางการค้าระหว่างจีนและไทย โดยในวัดจะแบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส เขตพุทธาวาสจะอยู่ด้านหน้าของวัด หันหน้าออกสู่คลองและถนนมหาชัย ส่วนเขตสังฆาวาสจะอยู่ทางหลังวัดด้านตะวันตก

จึงมิใช่เรื่องน่าแปลกแต่อย่างใด ที่ภายในวัดเทพธิดาราม จะมีสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีน มีตุ๊กตาจีนจำหลักทั้งรูปสัตว์และรูปคน ที่น่าสนใจ คือ บางตัวสลักเป็นรูปหญิงไทยไว้ผมปีกแบบโบราณนั่งอุ้มลูก ทั้งนี้ สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยมาจำพรรษาที่นี่ และได้เขียนบทกลอนเรื่องรำพันพิลาปขึ้น มีบทพรรณนาลักษณะปูชนียสถานปูชนียวัตถุของวัดอย่างละเอียด บรรยายถึงความงามของพระอารามไว้ และเรียกว่า "กุฏิสุนทรภู่"

พระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเทพธิดาราม ทั้งนี้ ไม่ปรากฏประวัติการสร้างหรือที่มา ปรากฏประวัติเพียงว่า พระพุทธเทววิลาสองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาบดินทร์ รัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามจำนวนมาก พุทธศักราช 2379 โปรดให้กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชาย ลดาวัลย์ ต้นราชสกุลลดาวัลย์) อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอมน้อย เป็นแม่กองสร้างวัดเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ผู้เป็นพระปิยราชธิดาอันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบาง ทรงพระปรีชาสามารถรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด เป็นที่ไว้วางพระราชฤหทัย

แต่เดิมชื่อว่าวัดพระยาไกรสวนหลวง สร้างเสร็จเมื่อพุทธศักราช 2382 พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดเทพธิดาราม" ซึ่งหมายถึงกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีผูกพัทธสีมา ในวันที่ 22 ธันวาคม 2382 โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจำหลักด้วยศิลาขาว จากพระบรมมหาราชวังมาเป็นพระปฏิมากรประธาน

พระพุทธปฏิมากรองค์นี้ เดิมเรียกกันแต่เพียงว่า "หลวงพ่อขาว" พ.ศ.2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายพระกฐิน ทรงเฉลิมพระนามว่า "พระพุทธเทววิลาส ตามหนังสือราชเลขาธิการที่ รล.0002/2522 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2514

พระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนผสมสุโขทัย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร จำหลักด้วยศิลายวงสีขาวบริสุทธิ์ มีความงดงาม

พระเพลากว้าง 14 นิ้ว สูง 19 นิ้ว หนา 8 นิ้ว พระอังสา (ไหล่) 9 นิ้ว รอบพระอุระ (อก) 18 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในเวชยันต์บุษบกไม้จำหลักลาย หรือบุศบกท้ายเกริน ปิดทองประดับกระจกเกรียบ ลายประณีตบรรจงมาก รอบๆ แวดล้อมด้วยดีบุกปั้นเป็นรูปเทพนมและครุฑปิดทอง ด้านซ้ายขวาตั้งแต่งฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด 5 ชั้น 2 ดั้ง เหนือพระพุทธรูป กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน 5 ชั้น 1 ดั้ง

ด้านมุมซ้ายขวา ฐานบุษบก ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร ประดับขัตติยะภูษิตาภรณ์ เรียกกันว่าพระทอง ดุจเดียวกันกับพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) เบื้องบนพระทองสององค์ กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน 5 ชั้น 2 ดั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเดิมทั้งสิ้น

หากมีโอกาสเดินทางไปที่วัดเทพธิดาราม เข้าไปกราบนมัสการพระพุทธเทววิลาส ชมศิลปะฝีมือของบรรพบุรุษชาวไทย นมัสการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลทำให้เราอิ่มเอิบใจในกุศลผลบุญและความโชคดีแก่ตัวเองตลอดไป





ขอขอบคุณที่มา...   http://www.tumsrivichai.com

42


ประวัติ พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ


" พระสัมพุทธพรรณี" เป็นพระประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาสวิหาร ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ

ประวัติ พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 20 นิ้ว วัสดุโลหะกะไหล่ทอง

จำลองจากพระสัมพุทธพรรณี องค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในการหล่อพระสัมพุทธพรรณี ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภจะทรงสถาปนาวัดราชาธิวาสวิหารที่รกร้างชำรุดทรุดโทรม ให้เป็นพระอารามที่งามยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน มีพระราชประสงค์ที่จะหาพระพุทธรูปมาประดิษฐานในพระอุโบสถ

พระราชดำริว่า พระอารามแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับเมื่อครั้งทรงพระผนวชและได้สถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้น เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ในพระอารามแห่งนี้ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง โปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปในพุทธลักษณะที่ทรงเห็นควรจะเป็น คือ ไม่มีพระเกตุมาลา แล้วทรงบรรจุดวงพระชะตาพระสุพรรณบัฏเดิมและพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระ พระราชทานนามว่า "พระสัมพุทธพรรณี" ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่พระตำหนัก ภายหลังเมื่อทรงย้ายไปประทับวัดบวรนิเวศฯ ก็โปรดให้เชิญไปด้วย

ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญไปประดิษฐานไว้บนฐานชุกชีด้านหน้า ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม

ดังนั้นเพื่อทรงนมัสการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้ช่างปั้นหุ่นถ่ายแบบอย่างพระสัมพุทธพรรณีองค์นี้ขึ้นใหม่

พระสัมพุทธพรรณีหล่อใหม่สำหรับวัดราชาธิวาส มีแบบอย่างพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระสัมพุทธพรรณีองค์เดิม ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอบสวนได้ คือ ไม่มีพระเกตุมาลา พระจีวรเป็นริ้วเช่นเดียวกับครองผ้าของพระภิกษุ

พระเกตุมาลาซึ่ง ไม่ปรากฏนี้ ในรัชกาลที่ 5 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประ ดิษฐวรการ ได้ทรงแก้ไขแบบให้มีพระรัศมีเป็นเปลว เปลี่ยนพระรัศมีได้ตามฤดูกาล

พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสจึงมีพุทธลักษณะตามแบบอย่างที่ได้แก้ไขแบบพระพุทธรูปแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อหล่อสำเร็จ ทรงประกอบพิธีกะไหล่ทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและสมโภชแล้ว แต่ยังไม่ทันได้เชิญประดิษฐานยังวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเสียก่อน สิบปีให้หลังพระบาทสม เด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้เชิญไปประดิษฐานตามพระราชจำนง นับแต่พุทธศักราช 2462 สืบมาจนทุกวันนี้

ภายใต้พุทธบัลลังก์พระสัมพุทธพรรณี เป็นที่บรรจุพระราชสรีรางคารใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท และเป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุต สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1820 และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2310 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร มีเนื้อที่ตั้งวัด 34 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา

วัดราชาธิวาส เป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาจากวัดสมอราย ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชาธิวาสวิหาร" มีความหมายว่า "วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา" เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย

กาลล่วงมายังแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสืบสานพระราชประเพณีการทำนุบำรุงวัดต่อจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ดังนั้น พระองค์จึงโปรดให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาสครั้งใหญ่ การบูรณะวัดในครานี้ปรับโฉมหน้าวัดไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากวัดราชาธิวาสหลังปรับปรุงนี้ ไม่มีโบสถ์ วิหาร หรือสิ่งก่อสร้างเดิมใดๆ เหลืออยู่เลย

ดังนั้น วัดหลวงแห่งนี้ จึงดูเหมือนวัดใหม่ที่สร้างขึ้นเพียงร้อยปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทุกปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ และทรงถวายปัจจัยอยู่เสมอ

วัดราชาธิวาส มีลักษณะพื้นที่ดินตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยาตรงกับท่าวาสุกรี ภายในบริเวณวัดได้แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตจัดประโยชน์ และเขตสาธารณสงเคราะห์





ขอขอบคุณที่มา...   http://www.tumsrivichai.com

43



วัดสารนารถธรรมาราม
เจ้าคุณพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นราว พ.ศ. 2488 ก่อนที่ท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ สัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ จึงได้นำแบบอย่างของโบสถ์วัดเกาะมาสร้างที่นี่บ้าง ระหว่างการก่อสร้าง คุณแม่บุณเรือน โตงบุญเติม ได้เป็นกำลังสำคัญในการหาวัสดุและปัจจัยมาร่วมสร้างจนแล้วเสร็จ







วัดสารนารถธรรมาราม ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 265 ถนนสุขุมวิท ตำบลทางเกวียน ปากทางเข้าอำเภอแกลง แยกซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร  มีมหาอุโบสถปูชนียสถานที่สวยงาม เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป องค์พระประธานจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก บริเวณมุมกำแพงแก้วรอบอุโบสถทั้ง 4 ได้จำลองเอาพระพุทธเจดีย์ที่สำคัญของแต่ละภาคไว้ คือ พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง และพระบรมธาตุไชยา













ขอขอบคุณที่มา...http://www.teawtourthai.com/rayong/?id=1920
                   ...http://www.tongteawthai.com/
                   ...http://www.moohin.com/060/060k007.shtml

44
   

   
            สร้างโดย หลวงพ่อกัสสปมุนี เถราจารย์



หลวงพ่อกัสสปมุนี

ที่มาของวัด 

หลวงพ่อกัสสปมุนี เป็นคนกรุงเทพฯ ท่านบวชเมื่ออายุ ๕๒ ปี เมื่อบวชแล้วท่านได้ไปฝากตัวอยู่กับพระอุปัชฌาย์ของท่าน คือ สมเด็จพระวันรัต (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช) อยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) เมื่อบวชได้พรรษาเดียว ท่านได้ออกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียรภาวนาบนยอดเขาภูกระดึงในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๗ หลวงพ่อออกเดินทางจากที่พัก ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยตั้งใจว่าจะเดินทางเข้าจันทบุรี แล้วเข้าอำเภอไพลิน เลยเข้าเขมร

วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๐๗ นายเชาว์ ชาญกล และนายเยื้อน กับเพื่อนอีกสองคน ได้นิมนต์หลวงพ่อให้ไปพักอยู่ที่ไร่อ้อยของเขาที่ในป่า อำเภอบ้านค่าย เพื่อเป็นศิริมงคล หลวงพ่อได้บันทึกไว้ว่า “ความจริงอาตมาไม่เคยรู้จักอำเภอบ้านค่ายและป่าในท้องถิ่นนี้ และไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าในท้องถิ่นป่านี้เขาปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลังกัน เมื่อเขานิมนต์ขอร้องด้วยความศรัทธา ให้ไปพักอยู่ในไร่ของเขาเพื่อเป็นศิริมงคล และเราก็เป็นพระจาริกธุดงค์อยู่แล้ว ก็เห็นเป็นการสมควรที่จะรับคำนิมนต์ของเขา จึงตัดสินใจให้เขาพาเข้าไร่อ้อยในป่าบ้านค่าย โดยปราศจากการลังเล”
ขณะนั้นบริเวณไร่ยังเป็นป่าทึบ เต็มไปด้วยไข้มาเลเรีย เส้นทางทุรกันดาร ชาวบ้านปลูกอ้อยเป็นดงสูงท่วมหัว

หลวงพ่อพักในกุฏิไม้ระกำที่คนงานช่วยกันปลูกให้ชั่วคราว เช้าวันที่ ๔ ของการพักอาศัย หลวงพ่อได้รับนิมนต์ฉันเช้าจากคุณไพโรจน์ ติยะวานิช (เสี่ยไซ) เจ้าของโรงงานน้ำตาลและผู้สร้างโรงเรียนคลองขนุน เสร็จแล้วจะลากลับ แต่คุณไพโรจน์ได้ยั้งเอาไว้และกล่าวว่า
“ผมใคร่ขอความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อบางอย่าง คือ ในป่านี้ไม่มีวัดเลยครับ คนงานจะทำบุญใส่บาตรก็ไม่มีโอกาสจะทำ เอาข้าวของแกงกับออกไปทำที่วัดนอกป่า ข้าวแกงก็พอดีบูดเสีย ขอหลวงพ่อได้ช่วยชี้เอาในป่านี้ที่ใดที่หนึ่ง ผมจะสร้างวัดให้หลวงพ่อได้อยู่บำเพ็ญ หลวงพ่อโปรดมองพิจารณาดู ถ้าชอบใจป่าแห่งใดตรงหน้าออกไปนี่
ชี้เอาเลยครับ ผมจะสร้างให้”
หลวงพ่อชี้เลือกที่ป่าที่เป็นมงคล ลักษณะเหมือนช้างหมอบซึ่งอยู่ข้างหลังบ้านคุณศิริ ทองประจักษ์ นายช่างใหญ่โรงไฟฟ้า

หลวงพ่อพักอยู่ที่ไร่อ้อยของนายเชาว์และนายเยื้อนจนครบ ๗ วัน จึงเดินทางกลับวัดโพธิ์ และหลังจากออกพรรษา ท่านได้เดินทางจาริกไปประเทศอินเดีย
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ หลวงพ่อพำนักที่เมืองฤาษีเกษ ประเทศอินเดีย
เดือนเมษายน ๒๕๐๘ หลวงพ่อได้รับโทรเลขจากคุณไพโรจน์ว่าได้เริ่มดำเนินการแผ้วถางที่เพื่อสร้างวัดแล้ว
กลางเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๘ หลวงพ่อเดินทางกลับเมืองไทยและเข้าไปที่ป่าโรงงานน้ำตาลบ้านค่าย คุณไพโรจน์ได้สร้างกุฏิมุงจากเล็กๆ ๒ หลัง โรงครัว ๑ หลัง ทำเป็นโรงฉันภัตตาหารไปในตัว ศาลาสวดมนต์กำลังสร้าง
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๐๘ หลวงพ่อได้กราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระอุปัชฌาย์ เข้ามาอยู่ประจำที่บ้านค่าย หลวงพ่อบันทึกไว้ว่า
“กุฏิยังไม่เสร็จดี ประตูยังต้องใช้พิงปิดไว้ ยังไม่ได้ใส่บานพับ เพราะเหตุที่ประตูกุฏิยังไม่เสร็จ ตอนคืนวันหนึ่งจำวัดถึงตี ๒ ได้ยินเสียงลมหายใจฟืดฟาด ผงกศีรษะขึ้นดูก็เห็นหมีตัวเขื่องตัวหนึ่ง กำลังเอาจมูกแหย่มาที่ช่องประตู ครู่หนึ่งก็ลงจากกุฏิไป”



กุฏิ ฉฬภิญญา

ต่อมาคุณไพโรจน์สร้างกุฏิตึกให้หลวงพ่อ ๑ หลัง หลวงพ่อให้ชื่อว่า “ฉฬภิญญา”
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ก่อนถึงเดือนเมษายน หลวงพ่อได้คำนึงถึงการทดแทนการอุปการคุณของคุณไพโรจน์และคุณนายประไพ ติยะวานิช จึงเข้า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ” (แปลว่าความดับเวทนาและความจำ ผู้ที่บรรลุมรรคผลตั้งแต่ชั้นอนาคามีเป็นต้นไปจึงสามารถเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้) ปิดกุฏิในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๑๐ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน 

 
ไฟไหม้ศาลาสวดมนต์
 
พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อนเข้าพรรษา คณะเจ้าหน้าที่ของโรงน้ำตาล นำเทียนพรรษาต้นใหญ่ขนาดกลางมาถวายเนื่องในวันเข้าพรรษา โยมสำเภาเข้าใจว่าเทียนพรรษาต้องจุดทิ้งไว้ทั้งกลางวันกลางคืน หลวงพ่อก็ไม่ทราบเพราะกำลังอยู่ในระหว่างเข้าเจโตสมาธิ เริ่มตั้งแต่คืนวันเข้าพรรษาเป็นเวลา ๕ คืน ๕ วัน ในวันที่ ๔ ของการเข้าเจโตสมาธิ เทียนพรรษาล้ม ทำให้ไฟไหม้ศาลาสวดมนต์ โต๊ะหมู่บูชาและพระพุทธรูปสามองค์ไฟไหม้หมด พระประธานคงเหลือบางส่วน พวกศิษย์ชาวบ้านให้ฉายาว่า “หลวงพ่อเฉย” หลวงพ่อนำไปไว้ที่โคนต้นโพธิ์ พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งไม่เป็นอะไรเลย คงครบบริบูรณ์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่หน้าพระประธานในหอสวดมนต์ (องค์ดำ)
 
 
สร้างศาลาสวดมนต์หลังใหม่
 
หลวงพ่อตั้งปณิธานไว้แน่วแน่ว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่สุดท้ายแห่งชีวิตสมณะ และจะทิ้งร่างไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ จึงตั้งใจจะสร้างศาลาสวดมนต์ใหม่ หลังจากออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๑ แต่ไม่รู้จะไปหาปัจจัยจากที่ไหนมาก่อสร้าง ในคืนวันที่ ๔ หลังจากศาลาถูกไฟไหม้ หลวงพ่อกำลังนั่งเข้าสมาธิภายในกุฏิ จนถึงเกือบตี ๒ ได้ยินเสียงใสเป็นเสียงผู้หญิงบอกว่า “ท่านสร้างก็แล้วกัน โยมจะหาให้” ท่านมองออกไปนอกกลด..... “เห็นผู้หญิงคนหนึ่ง นุ่งห่มสีชมพู นั่งพับเข่าราบ ทั้งๆในกุฏิมืดสนิท แต่ก็เห็นท่านผู้นี้อย่างกระจ่างชัดเหมือนมีรัศมี สายตาอันดำขลับดูเหมือนจะมองทะลุเข้ามาภายในกลด ลักษณะรูปร่างขนาดสาวอายุ ๑๘ ทรงเครื่องสีชมพูดูแพรวพราวไปทั้งร่าง การทรงตัวนั่งตรง คุกเข่าราบ สองมือวางไว้บนตัก แววตาใบหน้าอิ่มละไม ดูงามไปทุกส่วนไม่มีที่ติ” ... หลวงพ่อกล่าวคำอนุโมทนา ท่านก็ค่อยๆเลือนหายไป

หลวงพ่อได้ปัจจัยประเดิมเพื่อสร้างศาลาจากคุณโยมแม่ของหลวงพ่อ หนึ่งหมื่นบาท จากนั้นหลวงพ่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา ได้เงิน ๘๐,๐๐๐ บาท ช่างก่อสร้างประมาณว่าค่าก่อสร้าง ๑๒๐,๐๐๐ บาท ใช้เวลาก่อสร้างประมาณสองเดือน รูปทรงของศาลามีช่อฟ้า ๓ ตัว ๓ มุข หลวงพ่อทำพิธียกช่อฟ้าเอง ภายใต้ที่นั่งสวดมนต์ทำเป็นถังน้ำคอนกรีตผูกเหล็ก จุน้ำได้ประมาณ ๕ พันปีบ หน้าต่างทำเป็นบานเกล็ดกระจก หลวงพ่อสร้างเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑

ในหอสวดมนต์ที่สร้างเสร็จ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานพระนามว่า พระพุทธโคดมเทวะปฏิมา ส่วนพระประธานองค์นอกบนอาสนะสงฆ์พระนามว่า พระตถาคตเทพนิมิต หลวงพ่อเล่าว่า.... “นึกถึงพระประธานสององค์ให้นึกขัน คือตอนนั้นพระประธานหลวงพ่อพุทธโคดมเทวะปฏิมา อยู่ที่บ้านช่างหล่อฝั่งธนบุรี ส่วนพระประธานองค์นอก หลวงพ่อตถาคตเทพนิมิต อยู่ที่วัดธาตุทอง ถนนสุขุมวิท เวลาที่จะนิมนต์เชิญมาอยู่ที่วัด อาตมามัวยุ่งเป็นธุระกับพระตถาคตเทพนิมิต ที่ศาลาวัดธาตุทอง ส่วนหลวงพ่อพุทธโคดมเทวะปฏิมาได้มอบให้ศิษย์ ๒ คนเป็นธุระ ให้ขึ้นรถโฟล์คตู้ ขณะที่อาตมากำลังจะยกหลวงพ่อตถาคตเทพนิมิตอยู่นั้น พระผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของวัดธาตุทอง ก็เข้ามาบอกว่า มีโทรศัพท์มาจากบ้านช่างหล่อธนบุรี อาตมาก็ไปรับสาย เสียงบอกมาว่า “หลวงพ่อครับ พระประธานไม่ยอมขึ้นรถครับ นิมนต์หลวงพ่อมาช่วยกำกับที”

อาตมา (หลวงพ่อกัสสปมุนี) วางหูโทรศัพท์แล้ว กลับมามอบหมายให้ศิษย์สองคน และคนของวัดธาตุทอง ให้ช่วยกันนำพระปฏิมาขึ้นรถบรรทุกปิกอั๊พ แล้วให้คอยอยู่ก่อน จนกว่าจะนำพระทางฝั่งธนบุรีมาพร้อมกันที่วัดธาตุทอง อาตมาไปถึงบ้านช่างหล่อเกือบ ๑๑.๐๐ น. นายช่างหล่อรีบรายงานว่า “ศักดิ์สิทธิ์จริงครับหลวงพ่อ คนช่วยกันตั้ง ๔ – ๕ คน ท่านก็ไม่ยอมเขยื้อน หลวงพ่อช่วยอนุเคราะห์หน่อย”

อาตมาได้ฟังดังนั้น ก็ขอน้ำเย็นสะอาด ๑ ขัน จากนายช่างหล่อ ยกขึ้นจบหัวอธิษฐานว่า “ขอเดชะพุทธานุภาพแห่งศรัทธาของข้าพเจ้า ตลอดทั้งอานุภาพแห่งทวยเทพทั้งหลายที่แวดล้อมรักษาพระพุทธปฏิมากรนี้ ถ้าข้าพเจ้าจะเจริญในพระศาสนาต่อไป ณ เบื้องหน้าแล้วไซร้ ขอให้การอัญเชิญเคลื่อนพระปฏิมาองค์นี้ ไปสู่สถานสำนักสงฆ์ฯ ที่บ้านค่ายเป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดอุปสรรคทุกประการเทอญ” ว่าแล้วอาตมาก็นำขันน้ำมนต์ หลั่งชะโลมลูบพระพักตร์ และองค์พระปฏิมา นายช่างหล่อ (ลืมชื่อเสียงแล้วจำไม่ได้) ก็พลอยมีศรัทธาเลื่อมใส ทั้งน้องสาวของแกด้วย ขอขันน้ำมนต์ ไปสรงองค์พระปฏิมาด้วย แกบอกว่า แกไม่เคยสรงน้ำพระปฏิมาที่แกรับจ้างหล่อเลย เพิ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตของแก อาตมาฟังแล้วก็อนุโมทนา และให้พรแก ทั้งน้องสาวแกด้วย แล้วการยกเคลื่อนองค์พระปฏิมา เข้ารถโฟลค์ตู้ เพียงใช้คน ๓ คน ก็ยกเคลื่อนได้สะดวก

ตอนค่ำคืนนั้น หลังจากยกพระประธานแล้ว อาตมาปิดกุฏิ นั่งเข้าสมาธิในกลด จนถึงเวลาสองยามเศษ น้อมจิตนึกถึงคุณโยมเจ้าแม่อยู่ในใจว่า “คุณโยมเจ้าแม่! อาตมาขอเจริญพร ขอบพระคุณคุณโยม ที่ได้มีจิตเมตตาอนุเคราะห์ ให้กิจของอาตมา ตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ได้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ กุศลกรรมและบุญบารมีใด ที่อาตมาได้ปฏิบัติบำเพ็ญมา แต่อดีตกาล ตราบจนทุกวันนี้ อาตมาขออุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่คุณโยม ขอคุณโยมเจ้าแม่ จงมีจิตชื่นชม ขออนุโมทนารับส่วนกุศลที่อาตมาได้อุทิศให้นี้ด้วยเทอญ”

“สาธุ! สาธุ! สาธุ! ดีแล้วเจ้าข้า โยมขออนุโมทนาในคำอุทิศของท่าน” เสียงใสแจ๋ว แผ่วเบาแต่ชัดเจน ดังอยู่ด้านหลังเบื้องขวาของอาตมา เหลียวไปดู เห็นโยมเจ้าแม่องค์เดิมที่เห็นคราวแรก คงนั่งพับเข่าในอิริยาบถเดิม เครื่องทรงสีชมพู งามระยับ ความงาม ความสง่า ทรงอำนาจ ต่างกับคุณโยมวิสาขาที่ภูกระดึง คุณโยมวิสาขานั้นรูปเรือนร่างของท่าน ที่อาตมาเห็นอยู่กลางแจ้งนั้น เหมือนหญิงสาวในวัย ๒ู๔ – ๒๕ ส่วนคุณโยมเจ้าแม่องค์นี้ เหมือนสาวอยู่ในวัย ๑๘ – ๑๙ แต่ดวงตาเท่านั้น ที่มีประกายความแจ่มใสเหมือนกัน อาตมายังมีความรู้สึกในตนเองว่า มีกระแสความคุ้นเคยหนักแน่นขึ้น ดีใจที่ท่านเอ่ยรับอนุโมทนาในส่วนกุศลที่อาตมาได้อุทิศให้ ต่างนั่งนิ่งพิศดูกันอยู่ครู่หนึ่ง ก็นึกขึ้นได้ จึงเอ่ยถามท่านขึ้นว่า

“อาตมาขอโอกาส อาตมาจะเรียกคุณโยมว่าอย่างไร”
ท่านตอบว่า “เรียกโยมว่า จำปากะสุนทรี เจ้าค่ะ” แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า
“ขอให้ท่านจงสถิตย์อยู่ ณ เขาสุนทรีบรรพตนี้ จนตลอดชนมายุของท่าน”
อาตมาก็ถามต่อไปว่า “แล้วอาตมา ควรจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป”
“ท่านก็สร้างสำนักสงฆ์แห่งนี้ ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป” คุณโยมเจ้าแม่ ตอบอย่างหนักแน่น
“อาตมาไม่มีเงิน ไม่มีปัจจัย จะสามารถสร้างวัดในป่า บนเขาได้อย่างไร...”
“ท่านคอยดูไป แล้วจะเห็นเอง” คุณโยมก็พูดทันควันแล้วก็หายวับไป คืนนั้นกว่าจะหลับ เวลาล่วงเข้าตีสองเศษพกความวิตกไปจนหลับว่า “จะสร้างได้อย่างไร”
ในเวลาต่อมา เจ้าแม่จำปากะสุนทรี ได้มาพบหลวงพ่ออีก และชี้กำหนดจุดสถานที่จะก่อสร้าง จุดนี้ๆจะสร้างอะไรก่อนหลัง ตั้งแต่เชิงเขาเรื่อยขึ้นมาจนถึงหลังเขา หลวงพ่อได้ปฏิบัติตามแนวของท่านทุกประการ ทำให้การก่อสร้างทั้งหมดเป็นไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ

 

 
สมเด็จพระวันรัตตั้งชื่อวัดปิปผลิวนาราม

๑๙ มีนาคม ๒๕๑๒ เจ้าประคุณสมเด็จพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระวันรัตแห่งวัดโพธิ์ ท่าเตียน (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช) ได้ประทานนามวัดจากเดิมที่หลวงพ่อตั้งไว้ว่า “สำนักสงฆ์มหากัสสปภพพนาวันอรัญญิกกาวาส” เป็น “วัดปิปผลิวนาราม” เพื่อเป็นการรักษาประวัติเดิมไว้ (ปิปผลิ เป็นชื่อก่อนบวชของพระมหากัสสปเถระในสมัยพุทธกาล)
 
ศาลาหงษ์ยนต์

สร้างโดย คุณสอาด หงษ์ยนต์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ รวบรวมปัจจัยได้ ๒ แสนบาทเศษ ใช้เพื่อต้อนรับผู้ที่มาทำบุญ หลวงพ่อได้สร้างตามคำแนะนำของเจ้าแม่จำปากะสุนทรี
 
สาเหตุที่ได้มาอยู่บำเพ็ญที่วัดปิปผลิ
 
ช่วงเที่ยงคืน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงพ่อได้ถามเจ้าแม่จำปากะสุนทรีว่าเพราะเหตุใดหรือกรรมแห่งชีวิตส่วนใดที่ทำให้ท่านต้องมาอยู่ ณ ป่านี้ และพอใจสภาพของป่านี้
เจ้าแม่ฯตอบว่า “ก็ท่านพี่วิสาขา บนภูกระดึงอย่างไรเล่าท่าน เป็นผู้ส่งท่านให้กลับมาอยู่ ณ สถานที่เก่าดั้งเดิมของท่านแต่ปางก่อน และได้มอบหน้าที่ให้โยม ผู้เป็นน้องสาวของท่าน รับภาระดูแลพิทักษ์ท่านต่อไป”
เมื่อหลวงพ่อถามถึงอายุของเจ้าแม่จำปากะสุนทรี ท่านตอบว่า “อายุของโยม นับด้วยปีของมนุษย์ได้ ๙๖๔๐ ปี โยมเป็นน้องของเจ้าพี่วิสาขา อายุอ่อนกว่าท่าน ๓๖๐ ปีมนุษย์” แล้วเจ้าแม่ฯได้กำชับเตือนหลวงพ่อ อย่านึกท้อถอยเหนื่อยระอา ขอให้ปฏิบัติธรรมและดำเนินการก่อสร้างสำนักสงฆ์ฯ ให้รุ่งเรืองแทนสถานที่เก่าดั้งเดิมต่อไป
 
สร้างบันไดลงตีนเขา

หลวงพ่อลงบิณฑบาตทุกวัน ทางลงก็แสนจะลำบาก ต้องระวังกลัวจะออกหัวออกก้อย เพราะเป็นทางน้ำตกจากเขา เต็มไปด้วยก้อนหินใหญ่น้อย กองก่ายซ้อนไม่เสมอกัน เป็นตะปุ่มตะป่ำ ทั้งลื่น และระยะทางลงยาวถึง ๗๘ เมตร หลวงพ่อนึกอยู่ในใจทุกวันที่ลงบิณฑบาตว่า จะต้องทำบันไดให้ได้
เมื่อการสร้างศาลาสวดมนต์เสร็จเรียบร้อย เจ้าแม่จำปากะสุนทรีได้แนะนำให้หลวงพ่อสร้างบันไดลงตีนเขา เพื่อจะได้ลงบิณฑบาตสะดวก ทั้งหลวงพ่อและผู้ติดตาม 
 
ศาลาหอฉัน
 
ในปี ๒๕๑๖ คุณสงวน พานิชกุล ได้สร้างศาลาหอฉัน ๑ หลัง มูลค่า ๕ หมื่น ๕ พันบาท เป็นโรงครัวและห้องคลัง เก็บสิ่งของชนิดเบา
 



 
บันไดขึ้นยอดเขาและพระอุโบสถ

การสร้างบันไดขึ้นยอดเขาและพระอุโบสถ เป็นการก่อสร้างที่ค่อนข้างหนักและเหน็ดเหนื่อย ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ หลวงพ่อสร้างบันไดยาว ๙๘ เมตร กว้าง ๒ เมตร รวมขั้นบันได ๓๓๘ ขั้น แบ่งเป็น ๔ ช่วง ใช้เวลาสร้าง ๑ ปีเต็ม
 
การสร้างอุโบสถ

หลวงพ่อเคยได้ปีนเขาขึ้นไปสำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง เพราะท่านต้องการสร้างอุโบสถไว้บนยอดเขา เนื่องด้วยเป็นที่มงคล มีต้นไม้ใหญ่นานาชนิด จนไปประจันหน้ากับจ่าฝูงหมูป่า หลวงพ่อต้องยืนนิ่งท่ามกลางความร้อนและฝูงแมลงที่คอยสูบเลือด เป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมง กว่าหมูป่าจะหันหลังวิ่งกลับเข้าป่าไป แต่ก็คุ้มค่าเพราะได้พบพื้นที่ที่เหมาะสำหรับสร้างอุโบสถและบันไดทางขึ้น
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลาสองยามเศษ หลวงพ่ออยู่ในเจโตสมาธิ ใจก็ครุ่นคิดถึงอุโบสถที่จะสร้าง ว่าควรเป็นแบบไหนดี และแล้วมีภาพนิมิตปรากฏเป็นรูปเรือนปราสาทรางๆ เหมือนหมอกจางๆ ดูไม่ถนัด ในคืนถัดมา หลวงพ่อเข้าสมาธิอีก น้อมใจระลึกถึงภาพปราสาท ตั้งใจจะขอดูให้รู้ชัด ได้ยินเสียงเจ้าแม่จำปากะสุนทรีอยู่นอกกลดว่า “ขอนิมนต์ท่านเพ่งจับให้หนักแน่น มั่นคง อย่าสงสัย เพ่งให้ดี มองดูให้ชัด โยมจะช่วย อย่าลังเล”
หลวงพ่อเพ่งระลึกเรียกรูปนิมิตของเรือนปราสาท จนเห็นชัดเหมือนเรือนปราสาทจริงๆมาตั้งอยู่ข้างหน้า มี ๓ มุข ๕ ยอด สูงตระหง่าน มีความรู้สึกคล้ายๆกับเคยได้อยู่อาศัย นานมาแล้ว เสียงเจ้าแม่จำปากะสุนทรีพูดเบาๆแต่แจ่มใสชัดเจนว่า
“ท่านจงพิจารณาให้ถี่ถ้วน นี่คือมหาปราสาทอันสูงศักดิ์แต่เบื้องบรรพกาล มีนามว่า รัตนดุสิตมหาปราสาท เป็นเรือนแก้ว ที่ท่านได้สถิตอยู่ครองของท่าน ในกัปที่เก้าสิบสอง นับแต่ภัทรกัปนี้ย้อนขึ้นไป มหาปราสาทนี้มีสามมุข เจ็ดประตู ห้ายอด ขอท่านจงดูตามที่โยมบอกนี้ให้ดี ยอดมุขมีสามยอด กลางหลังคามหาปราสาทหนึ่งยอด เป็นยอดที่สูงเสียดฟ้า และยอดท้ายปราสาทอีกหนึ่งยอด มีความยาวตลอดองค์ปราสาทยี่สิบห้าเส้น ความกว้าง สิบห้าเส้น ตรงกลางมุขภายในเป็นที่เสด็จออกว่าราชการและเข้าเฝ้า ตรงกลางปราสาทเป็นท้องพระโรง มีห้องตำหนักนางพระสนมกำนัล จุได้แปดพันคน ตอนท้ายมหาปราสาทเป็นห้องพระบรรทมและที่รโหฐาน มีบานพระแกลสำหรับดูทิวทัศน์อุทยานภายนอก ภายในห้องพระบรรทมและห้องส่วนพระองค์ มีพระวิสูตรกั้นเป็นชั้นๆ ทอด้วยเส้นไหมทองรูปต่างๆ ขอท่านจงดูลานเฉลียงต่อท้ายมหาปราสาท ท่านจะเห็นสถานที่โล่ง ปูด้วยพื้นแก้วเป็นเงาวับ นั่นเป็นที่เสด็จนั่งเล่นส่วนพระองค์ มีแท่นทิพย์ตั้งอยู่กลางแจ้ง พื้นแท่นเป็นมรกต ผนึกด้วยกรอบทอง ฝังด้วยเม็ดทับทิมแดง ยอดปราสาทมุขมีสามยอด และยอดท้ายปลายยอดเป็นฉัตรเจ็ดชั้น ยอดกลางปลายยอดเป็นนพสูรย์ ขอท่านจงพินิจดูให้ชัด เพ่งดูให้ดี ท่านก็จะจำได้ ท่านจากมหาปราสาทองค์นี้ ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏนี้ ถึงแสนล้านปีมนุษย์ ขอท่านจงระลึกและเพ่งดูให้ชัด”
หลวงพ่อพยายามจดจำรายละเอียดของปราสาท ร่างเป็นภาพคร่าวๆ แล้วได้มอบให้คุณพล จุลเสวก นายช่างสถาปนิกชั้นพิเศษ กรมกรมโยธาเทศบาล กทม เป็นผู้เขียนแบบแปลน ใช้เวลาสองปี เขียนเสร็จในพ.ศ. ๒๕๒๒ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
การก่อสร้างเริ่มเดือน ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๒๓ นายช่างคือ คุณสวัสดี ศรีรัตโนภาส ต้องเริ่มโดยหาเส้นทางให้รถแทรกเตอร์ขึ้นบนยอดเขา และสร้างรางรถสาลี่บรรทุกของขึ้นเขา ใช้เครื่องดึงรถขนาด ๒ ตัน พระอุโบสถยาว ๒๕ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร ประตูหน้าต่างและหลังคา เป็นสเตนเลสทั้งหมด คนงานประมาณ ๒๖ คน การก่อสร้างไม่ต้องลงเสาเข็ม ใช้ผูกเหล็กเส้นทีเดียว ตัวองค์พระอุโบสถเสร็จเป็นรูป ใช้เวลา ๗ เดือน
วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ตัวอุโบสถเสร็จทาสีรองพื้น ภายในติดดาวเพดาน ไฟช่อ หลวงพ่อหาช่างปั้นภาพผนังนอกพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติด้านละ ๕ ช่อง สองด้านรวม ๑๐ ช่อง เป็นภาพพุทธประวัติ ๑๐ ภาพ จ้างนายสกนธ์ นพนุกูลวิเศษ ให้เขียนภาพผนังโบสถ์ภายใน ๘ ภาพ ภาพใต้ท้องสมุทร (ภาพที่ ๑) ใต้บาดาล (ภาพที่ ๒) ภาพเขาพระสุเมรุ (ภาพที่ ๓) ภาพป่านารีผล (ภาพที่ ๔) ภาพป่าฉิมพลี (ภาพที่ ๕) ภาพสระอโนดาษ (ภาพที่ ๖) ภาพสระโบกขรณี (ภาพที่ ๗) ภาพป่าหิมพานต์ (ภาพที่ ๘) หลวงพ่อบันทึกว่า “ขณะนี้ได้เขียนเสร็จเพียงสองภาพ อีกหกภาพยังคาราคาซัง ไม่ทราบว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เพราะผู้เขียนใจไม่ตรง จึงจำเป็นต้องหาช่างต่อไป ภาพทั้ง ๘ ภาพนี้ เป็นภาพที่อาตมาได้พบเห็นด้วยตาตนเอง ซึ่งท่านผู้อ่านจะได้ทราบความจริงกันเสียที” หลวงพ่อมรณภาพก่อนที่ผู้เขียนภาพจะได้เริ่มเขียนภาพที่ ๓
พระประธานองค์ใหญ่ภายในพระอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอกคืบ ปางสมาธิราบ หลวงพ่อถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวาติเทวะศากยะมหามุนี” คุณหญิงอุไรลักษณ์ ชาญกล เป็นผู้สร้าง
พระสาวก ๓ องค์ในพระอุโบสถ ขนาดเท่ากับตัวคน องค์ขวามือพระประธาน นามว่า พระอุบาลี องค์กลาง พระมหากัสสป องค์ซ้าย พระอานนท์ ผู้สร้างคือคุณชวนศรี วีระรัตน์ และคณะโรงพยาบาลวังวโรทัย โดยหลวงพ่อให้คำอธิบายว่า “ถ้าผู้ดูหันหน้าเข้าหาพระประธาน พระสาวกที่นั่งทางขวามือพระประธาน คือท่านพระอุบาลี ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งพระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นผู้ชำนาญทางพระวินัย เรียกว่า เอตทัคคะฝ่ายพระวินัย และองค์ทางด้านซ้ายพระประธานคือ ท่านพระอานนท์ ผู้เป็นพุทธอนุชา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงยกย่อง แต่งตั้งท่านไว้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางทรงจำพระพุทธวจนะได้เป็นเยี่ยม เรียกว่า เอตะทัคคะฝ่ายพระสูตร ส่วนองค์กลางคือ ท่านพระมหากัสสป ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ในระยะที่พระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านเป็นผู้ที่พระบรมศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นผู้มีคุณธรรมเสมอพระองค์ ทรงเปลี่ยนสังฆาฏิกับท่านพระมหากัสสป คือทรงประทานสังฆาฏิของพระองค์ให้ท่านพระมหากัสสปครอง แล้วทรงรับสังฆาฏิของท่านพระมหากัสสปมาทรงครอง ท่านพระมหากัสสปได้เป็นประธานในงานพิธีสังคายนาครั้งที่ ๑ พร้อมด้วยหมู่พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ดังนี้ก็เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า ท่านต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญ แม่นยำทั้งฝ่ายพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ถ้าไม่เป็นเช่นนี้แล้ว การทำสังคายนา ก็จะกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไม่ได้ ดังที่เราได้เห็นแล้วได้ศึกษาอยู่จนทุกวันนี้ ... เพราะฉะนั้นเพื่อตอบสนองในคุณของท่านทั้งสาม อาตมาจึงได้สร้างปฏิมาของท่าน ไว้เป็นอนุสรณ์”
เพดานอุโบสถเป็นเพดานโค้งคล้ายโดม และทำเป็นสองชั้น พื้นเพดานทาสีต่างกัน ๓ ตอน คือ ตอนเบื้องหน้าพระประธาน ทาเป็นสีแดงอ่อน หมายถึงรุ่งอรุณ หรืออดีตกาล สีเหลืองตอนกลาง หมายถึงเที่ยงวัน หรือปัจจุบันกาล สีเขียวแก่มืดในตอนท้าย หมายถึงราตรี หรืออนาคตกาล หลวงพ่อบอกว่า “ขอให้ทุกท่านที่แหงนดูเพดานพระอุโบสถ จงใช้ปัญญาพิจารณาและตีความ” ส่วนด้านหลังพระอุโบสถ เป็นลายปูนปั้น แสดงเรื่องชาดกของหลวงพ่อแต่ปางก่อน
เมื่อโบสถ์ใช้บวชได้ หลวงพ่อตั้งใจไว้ว่านาคประเดิมโบสถ์ต้องเป็นนาคที่บวชไม่มีกำหนดสึก ซึ่งก็ได้ใช้ในการบวชพระให้กับเณรซึ่งเปรียบเสมือนลูกของท่าน คือ มหาชาญชัย อภิชาโต ท่านเป็นเณรเปรียญด้วย


พระเครื่องของหลวงพ่อกัสสปมุนี...บางส่วน

เหรียญนิโรธสมาบัติ รุ่นแรก ปี 18 หลวงพ่อกัสสปมุนี




ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.vimokkhadhamma.com/watpipplaliwanaram.html
                        ...http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic18.html

45
     
       


พระครูสังฆกิจบูรพา หรือ พระอาจารย์บัว อายุ 82 ปี เดิมนั้นท่านชื่อ บัว มารศวารี เกิดวันเสาร์เดือน 5 ปีขาล ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ.

2469 เป็นบุตรของ นายเชี๋ยและนางเตี่ยน ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 3 หมู่ 3 ต.วังกะแจะ อ.เมือง จ.ตราด ตั้งแต่วัยหนุ่มท่านชอบศึกษาความรู้เกี่ยว

กับยาสมุนไพรและเชี่ยวชาญด้านช่างไม้ ช่างปูน ช่างปั้น จวบจนอายุครบ 23 ปี ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบุบผาราม ต.วังกะแจะ โดยมีพระครู

คุณวุฒิพิเศษ วัดบุบผารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวัตรรัตนวงษ์สิทธิ์ วัดหนองบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเรื่อย

มา จนใน พ.ศ. 2505 ก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะตะเคียน พ.ศ. 2508 สอบได้ชั้นนักธรรมเอก และ พ.ศ. 2513 เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครู

สังฆกิจบูรพา ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลวังกะแจะ


วัดศรีบูรพาราม หรือ วัดเกาะตะเคียน หมู่ 1 ต.วังกะแจะ อ.เมือง จ.ตราด มีเจ้าอาวาสรูปแรกและปัจจุบันคือ พระครูสังฆกิจบูรพา หรือ พระอาจารย์

บัว เป็นอีกหนึ่งสถานที่น่าเลื่อมใสในดินแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย หากเอ่ยชื่อวัดในภาคอื่น ๆ น้อยคนนักที่จะเคยได้ยินชื่อหรือรู้จัก แต่

หากเป็นคนพื้นเพใกล้เคียง แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านล้วนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ใน “ของดี” ของวัดแห่งนี้เลื่อง

ลือไปทั่วแดนตะวันออก


เดิมวัดศรีบูรพารามเป็นสำนักสงฆ์เล็ก ๆ มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 มีญาติโยมและชาวบ้านที่ศรัทธา

บริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างเป็นวัดขึ้นมาใช้ชื่อว่า “วัดเกาะตะเคียน” ทำการฝังลูกนิมิตเมื่อปี พ.ศ. 2524 และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนเปลี่ยนชื่อ

เป็น “วัดศรีบูรพาราม” จวบจนปัจจุบัน





ขอขอบคุณที่มา...http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=173522


46
                       

หลวงปู่นาค โชติโก เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ร.ศ.35) ตรงกับปีกุน จ.ศ. 1177 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 อุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี ณ พัทธสีมา วัดพระปฐมเจดีย์ ตรงกับปี พ.ศ. 2379 พระอุปัชฌาจารย์ไม่ปรากฏนาม ทราบแต่พระกรรมวาจาจารย์คือ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระปฐมเจติยานุรักษ์ (หลวงปู่กล่ำ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ได้รับฉายาว่า "โชติโก"

อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจำพรรษาอยู่วัดพระปฐมเจดีย์กับหลวงปู่กล่ำ เจ้าอาวาสทั้งสองเป็นสหธรรมิก มีความสนิทสนมกันดี หลวงปู่กล่ำเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาหลวงปู่นาคเป็นรองเจ้าอาวาส ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยดีตลอดมา ต่อมาปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดฯแต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ 1.พระครูปริมานุรักษ์ (นวม พรหมโชติ) วัดสรรเพชร รักษาด้านทิศตะวันออก 2.พระครูทักษิณานุกิจ (แจ้ง ธมมสโร) วัดศิลามูล รักษาด้านทิศใต้ 3. พระครูปัจฉิมทิศบริหาร (นาค โชติโก) วัดห้วยจระเข้ รักษาด้านทิศตะวันตก 4. พระครูอุตตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก รักษาด้านทิศเหนือ   หลวงปู่นาค ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ทำหน้าที่รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศตะวันตก และยังดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี ถ้าเปรียบสมัยนี้เท่ากับรองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม

  

                       


  
หลวงปู่นาค สร้างพระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด เมื่อ พ.ศ. 2432 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่หลวงปู่นาคได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ หลวงปู่นาคท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเนื้อเมฆพัดมาก การผสมเนื้อแร่ต่างๆ การปั้นพิมพ์ และการเทหล่อองค์พระท่านทำด้วยตัวท่านเอง องค์พระที่ท่านหล่อออกมาสวยงาม ไม่มีรอยตะเข็บ ไม่เป็นฟองอากาศ เนื้อพระเป็นสีดำอมเขียว สีดำเงาคล้ายปีกแมลงทับ สวยงามพิสดาร เนื้อพระผิวตึง สมบูรณ์แบบด้านรูปทรง ว่ากันว่า "หลวงปู่นาค" กับ"หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว" มีความสนิทสนมกัน เป็นสหธรรมิกรุ่นน้อง(หลวงปู่นาค มีอายุมากกว่าหลวงปู่บุญ 35 ปี) และมีการแลกเปลี่ยนวิชาซึ่งกันและกันด้วย โดยหลวงปู่บุญขอเรียนวิชาการสร้างเนื้อเมฆพัดไปจากหลวงปู่นาคส่วนหลวงปู่นาคก็ได้ขอเรียนวิชาอื่นจากหลวงปู่บุญไปเป็นการแลกเปลี่ยน สำหรับหลวงปู่บุญท่านได้ก็สร้างพระเนื้อเมฆพัดขึ้นจำนวนหนึ่ง

ซึ่งพระเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่บุญที่ท่านสร้างเองลักษณะเนื้อหาจะเหมือนๆ ของหลวงปู่นาคมากผิดกับเนื้อเมฆพัดพิมพ์กลีบบัว และพิมพ์ปิดตาที่วางตามสนามทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพระที่สั่งทำจากโรงงานมาปลุกเสกทีหลังในการสร้างพระปิดตาของหลวงปู่นาคท่านสร้างหลายครั้งด้วยกัน สร้างไปเรื่อยๆตามแต่จะมีโอกาส พระปิดตาของท่านจึงมีประมาณ 4-5 พิมพ์ นับแล้วพระปิดตาห้วยจระเข้ก็มีอายุร่วมๆ หนึ่งร้อยปีเห็นจะได้เอกลักษณ์ของพระปิดตาห้วยจระเข้นอกจากจะดูพิมพ์เป็นหลักแล้ว พระปิดตาห้วยจระเข้จะต้องมีการลงเหล็กจารทุกองค์ด้วย ในการลงเหล็กจารนั้นมีเรื่องเล่ากันว่าหลวงปู่นาคท่านนำเอาพระปิดตาที่สร้างเสร็จแล้วไปลงเหล็กจารที่ท่าน้ำข้างๆ วัด โดยท่านจะดำลงไปจารอักขระใต้น้ำ เมื่อจารเสร็จแล้วก็จะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเหนือน้ำเองโดยมีลูกศิษย์ที่อยู่บนฝั่งคอยเก็บ ถ้าพระปิดตาองค์ไหนลงจารแล้วไม่ลอยน้ำขึ้นมา แสดงว่าพระปิดตาองค์นั้นไม่มีพลังพุทธคุณ อันอาจจะเกิดอักขระวิบัติจากการจารอักขระก็ได้การที่พระเกจิอาจารย์ท่านใดสามารถดำลงไปทำวัตถุมงคลใต้น้ำได้นานๆ แบบนี้ ก็แสดงว่าพระเกจิอาจารย์ท่านนั้น

สำเร็จวิชากสิณที่สามารถแปลงธาตุน้ำให้เป็นช่องว่างมีอากาศหายใจได้ นอกจากการจารอักขระพระปิดตาใต้น้ำแล้ว หลวงปู่นาคท่านก็มีวิธีการจารอักขระอีกวิธีหนึ่งคือ ท่านจะไปจารที่กลางทุ่งนา หรือในป่าริมคลองที่มีปูอาศัยอยู่มากๆ เมื่อไปถึง และหารูปูเจอแล้ว ท่านก็จะยืนโดยเอาหัวแม่เท้าขวาอุดที่ปากรูปู จากนั้นก็จะกำหนดจิตบริกรรมคาถา และลงเหล็กจารไปพร้อมๆ กัน ขณะนั้นทั่วทั้งทุ่ง และป่าริมคลองนั้นจะเงียบสงัดทันที เสียงนก หรือแมลงร้องจะไม่มีได้ยิน สัตว์ทุกตัวที่อยู่บริเวณนั้นจะหยุดนิ่งชะงักเป็นจังงังกันหมด เมื่อท่านผ่อนคลายกำหนดจิตจากการลงอักขระเสร็จแล้วนั่นแหละ ทุกอย่างจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ก่อนที่จะกลับหลวงปู่นาคท่านจะทำน้ำมนต์รดที่รูปูนั้นเพื่อเป็นการคลายอาคม หากมิเช่นนั้นปูที่อยู่ในรูจะออกมาไม่ได้ หรือถ้าปูอยู่ข้างนอกก็จะกลับลงรูไม่ได้เหมือนกันอักขระที่ท่านใช้คือ "นะคงคา" เป็นตัวหลัก เพราะหลวงปู่นาคสำเร็จ อาโปกสิน วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกจึงหนักไปทางพลังเย็น เข้มขลังอย่างเอกอุ จากพิธีกรรมการสร้างอันเข้มขลังนี้เอง จึงทำให้พระปิดตาห้วยจระเข้เป็นจักรพรรดิของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดทั้งปวง แต่พระปิดตาห้วยจระเข้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเนื้อเมฆพัดชนิดเดียว แต่ได้มีชนิดที่สร้างด้วย "เนื้อชิน" อีกด้วย ซึ่งพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินเป็นแบบ "ชินตะกั่ว" โดย

หลวงปู่นาคท่านนำเอาแผ่นตะกั่วมาลงอักขระแล้วหลอมเทเป็นพระปิดตา และลงเหล็กจารด้วยกรรมวิธีการเช่นเดียวกับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด กล่าวถึงพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินตะกั่วนี้ก็มีการสร้างในยุคแรกๆ เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่นาคท่านสร้างขึ้นก่อนที่ท่านจะสร้างเนื้อเมฆพัดได้สำเร็จ แต่ในการเล่นหาพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินตะกั่วจะถูกกว่าเนื้อเมฆพัด

เมื่อ พ.ศ. 2441 หลวงปู่นาค โชติโก ได้ย้ายจากวัดพระปฐมเจดีย์ มาสร้างวัดห้วยจระเข้ เพื่อให้เป็นวัดบริวารขององค์พระปฐมเจดีย์ ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นเป็นป่ารก มีสัตว์ป่าชุกชุม ลำห้วยมีจระเข้มาก ริมคลองเจดีย์บูชา อันเป็นคลองประวัติศาสตร์ที่ทรงโปรดฯให้ขุดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2407 เพื่อเชื่อมต่อกับแม่น้ำนครชัยศรี ให้เป็นเส้นทางเสด็จมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ทางชลมารค หลวงปู่นาคใช้เวลา 3 ปี จึงสร้างวัดสำเร็จ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดย สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 โดยให้ชื่อว่า "วัดห้วยจระเข้"หลวงปู่นาค จัดเป็นพระปรมาจารย์เมืองนครปฐมในสมัยแรก เป็นต้นตำรับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จประพาสพักแรม ณ พระราชวังสนามจันทร์ จะต้องเสด็จแวะกราบนมัสการหลวงปู่นาคเป็นประจำ และหลวงปู่นาคได้มอบพระปิดตาให้ทั้งสองพระองค์

ไว้บูชาคู่พระวรกายด้วย หลวงปู่นาค โชติโกได้เป็นผู้สร้างวัดห้วยจระเข้ร่วมกับประชาชน ปกครองวัดมานาน 11 ปี ถึงกาลละสังขารเมื่อปี พ.ศ. 2453 ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 95 ปี 74 พรรษา ก่อนที่หลวงปู่นาคท่านจะมรณภาพ ก็ได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างพระปิดตาให้กับ "หลวงปู่ศุข" ลูกศิษย์ซึ่งต่อมาหลวงปู่ศุขท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ต่อจากหลวงปู่นาค หลวงปู่ศุขท่านนี้ก็เป็นพระเกจิอาจารย์ของเมืองนครปฐมที่มีชื่อเสียงรุ่นราวคราวเดียวกับ "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" และ "หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา" ที่มีคนนับถือมากเช่นกัน หลวงปู่ศุขท่านสร้างพระปิดตาเนื้อเมฆพัดพิมพ์แบบเดียวกับหลวงปู่นาคทุกอย่าง เพียงแต่ท่านไม่ได้ลงเหล็กจารเพื่อให้มีความแตกต่างไม่เป็นการวัดรอยเท้าอาจารย์

แต่ก็มีบ้างอยู่เหมือนกันที่มีการเอาพระปิดตาหลวงปู่ศุขมาลงเหล็กจารแล้วหลอกขายเป็นของหลวงปู่นาคเพื่อให้ได้ราคาสูง จึงควรพิจารณารอยเหล็กจารว่าต้องมีความเก่า ถ้าเป็นรอยจารใหม่แต่เป็นพิมพ์เดียวกันก็แสดงว่าเป็นของลูกศิษย์แน่ครับปัจจุบันพระปิดตาห้วยจระเข้กลายเป็นพระปิดตาที่หายากอีกสำนักหนึ่งของวงการ ราคาก็มีการเล่นหาสูงตั้งแต่หลักหมื่นอ่อนๆ ถึงหลักหมื่นกลางๆ จนเลยถึงหลักแสนไปแล้วก็มี แต่ของเก๊ก็เพียบเหมือนกัน  การ์ดไม่สูงโดนเหมือนกันหมด  




ขอขอบคุณที่มา...http://www.praboonporn.com/index.php?option=com_content&task=view&id=110&Itemid=48

47


ประวัติและปฏิปทา
พระอาจารย์ วิรพล ฉัตติโก (หลวงปุ่เณรคำ)
วัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ


อัตตโนประวัติ

“พระอาจารย์วิรพล ฉัตติโก” หรือ “หลวงปู่เณรคำ”ประธานสงฆ์แห่งวัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เป็นพระนักปฏิบัติจิตบำเพ็ญภาวนากัมมัฏฐานรุ่นใหม่ พระนักพัฒนา และพระนักเทศน์ชื่อดัง ที่มีความตั้งใจจะเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองศรีสะเกษ สร้างแรงศรัทธาเลื่อมใสให้กับชาวบ้านศรัทธาญาติโยม ให้ประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธองค์

พระอาจารย์วิรพล มีนามเดิมว่า วิรพล สุขผล เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2522 ตรงกับวันอังคาร แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม ณ บ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ คุณพ่อรัตน์ และคุณแม่สุดใจ สุขผล มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 5 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรคนที่ 4


การศึกษาเบื้องต้น

อายุ 7 ขวบ ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ก็มีศรัทธาในการปฏิบัติจิต บำเพ็ญภาวนากรรมฐานมาโดยตลอด ซึ่งทุกวันพระจะหยุดเรียนและนุ่งขาวห่มขาว เข้าไปถือศีลบำเพ็ญภาวนาในวัด ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ จะมีอิริยาบถแห่งการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด ไม่มีด่างพร้อย ไม่มีการพลั้งเผลอแม้แต่น้อย ทั้งวันจะเดินจงกรมสลับกับการนั่งภาวนาใต้ร่มไทร


ช่วงกลางวันจะไปนอนในป่าช้า ตรงที่เป็นโบกปูนใช้สำหรับเผาผี โดยไม่เคยมีความกลัวหรือหวั่นวิตกอะไร จิตนั้นนิ่งโดยตลอด ทั้งๆ ที่ไม่เคยบำเพ็ญมาก่อนเลยในชาตินี้ ในปัจจุบันชาติเพิ่งจะเริ่มต้น แต่ผลของการปฏิบัติมันก็เกิดขึ้นทันที นี่เป็นสัญญาณบ่งบอก เป็นหมายเหตุบอกถึงความจริงในการบำเพ็ญบารมีของแต่ละคนว่า “แม้เราบำเพ็ญในชาตินี้หรือว่าชาติไหนๆ ผลของการปฏิบัติบำเพ็ญนั้นมันยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่เสื่อมไปไหน” วันธรรมดาก็ไปโรงเรียน พอพักเที่ยงจะไปนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ เลิกเรียนจะเข้าไปไหว้พระก่อนกลับจากโรงเรียน และเดินจงกรมกลับบ้านทุกวันเป็นกิจภายในที่ไม่มีใครรู้ได้นอกจากตัวเอง

เมื่ออายุ 12 ปี ได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งใจบวชเป็นสามเณร แต่โยมบิดาได้ขอร้องไว้โดยขอให้เรียนต่อมัธยมศึกษาตอนต้นเสียก่อน พอเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา คิดอยู่เสมอว่า “ถ้าเสร็จจากภารกิจทางโลกแล้ว เราจะไม่กลับมาทางโลกอีก เราคงเคยเกิดมาหลายชาติแล้ว เราคงพอแก่การเกิดได้แล้วในชาตินี้ เห็นอะไรก็เกิดความสลดสังเวชไปหมด จึงเป็นแนวทางทำให้รู้สึกเหมือนกับว่า เรารู้มาก่อน เห็นมาก่อน ตั้งแต่อดีตชาติ เหมือนกับเราจะได้ต่อเติมเส้นทางแห่งการปฏิบัติธรรมการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้หลุดพ้น”

หลังเลิกเรียน จึงไปปักกลดนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่กระท่อมกลางน้ำที่ปลายนาของโยมบิดามารดาทุกวัน บางครั้งก็นั่งบำเพ็ญภาวนาทั้งคืนจนสว่าง ส่วนในวันพระจะถือกลดไปโรงเรียนด้วย พอเลิกเรียนจะเข้าไปปักกลดบำเพ็ญภาวนาที่วัด ปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตรสม่ำเสมอ


การบรรพชาและอุปสมบท

จากการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาตลอด ครั้นอายุย่าง 15 ปี ท่านได้ตัดสินใจที่จะออกบวชและได้บวชผ้าขาวที่วัดป่าดอนธาตุ บ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมีหลวงปู่สมบูรณ์ ขันติโก เป็นผู้บวชผ้าขาวให้ ต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาแก้ว ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมีพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงปู่โชติ อาภัคโค) เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมา ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญัตติธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดภูเขาแก้ว โดยมีพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงปู่โชติ อาภัคโค) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ฉตฺติโก”

หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าดอนธาตุ จ.อุบลราชธานี ระยะหนึ่ง จากนั้นเดินทางจาริกธุดงค์ ปักกลดอยู่ถ้ำภูตึก บ้านคุ้มปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ขณะนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำภูตึกนั้น มีงูเหลือมตัวหนึ่งเลื้อยมาพาดขาบ้าง พาดตักบ้าง บางคืนนอนอยู่งูเหลือมจะเลื้อยมาขดอยู่บนหน้าอก หนักมาก แต่จิตไม่มีการวิตกกังวล หรือกลัวอันใดเลย เพราะชีวิตนี้บูชาคุณพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ที่สุด พระธรรมเป็นใหญ่ที่สุด พระอริยสงฆ์เป็นใหญ่ที่สุด ตอนนั้นท่านคิดแต่ว่า เราต้องทำหน้าที่ให้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้า ให้ถึงซึ่งพระธรรม ให้ถึงซึ่งความเป็นพระอริยสงฆ์ ความกลัวทั้งหลายจึงไม่มี และได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำภูตึกนั้นคนเดียว เป็นเวลานานถึง 3 เดือน

ต่อจากนั้นก็ลงจากถ้ำภูตึกไป และจาริกธุดงค์ไปเรื่อยๆ ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏว่าเริ่มเห็นสิ่งอัศจรรย์เยอะแยะมากมายเกิดขึ้น เช่น สิ่งลี้ลับต่างๆ ที่คนทั่วไปมองไม่เห็น มองเห็นมุมโลกสองมุม คือ มุมมืดและมุมสว่างแห่งการเวียนวายตายเกิด มองเห็นสวรรค์ มองเห็นอบายภูมิ ประกอบด้วยนรก เปรต และอสุรกาย และเริ่มออกทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน


การสร้างวัดป่าขันติธรรม

ต่อมาได้รับนิมนต์จากชาวบ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ให้ไปพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านยาง ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 โดยมีเพียงกุฏิและศาลาเล็กๆ พออยู่อาศัยได้ ก่อนขยับขยายวัดไปอยู่ที่แห่งใหม่ ทั้งนี้ ได้ก่อสร้างวัดป่าขึ้นใหม่ชื่อว่า “วัดป่าขันติธรรม” โดยมีคุณป้าทองมี วุฒิยาสาร (แม่เหนาะ) อุบาสิกาแห่งพระพุทธศาสนาผู้มีจิตใจอันประเสริฐยิ่ง เกิดมาเพื่อสร้างสมบารมีอันยิ่งใหญ่ ได้สร้างมหากุศลโดยบริจาคที่ดินจำนวน 9 ไร่ ถวายแด่ หลวงปู่เณรคำ เพื่อสร้างวัดป่าขันติธรรมไว้เป็นสถานที่ให้บุคคลกระทำความเพียร บำเพ็ญภาวนา เพื่อระงับกิเลสตัณหาให้น้อยลงจนถึงความหลุดพ้นจากกองกิเลส ตามพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินเพิ่มอีกจำนวน 2-1-00 ไร่ รวมที่ดินที่บริจาคทั้งสิ้น 11-1-00 ไร่

พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลสวงปู่สมบูรณ์ ขันติโกวัด ป่าดอนธาตุ จ.อุบลราชธานี ได้มองเห็นถึงความอดทน ความอดกลั้น อันเป็นตบะเดชะสูงสุดเด่นชัดที่สุดของหลวงปู่เณรคำ ที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งอายุยังน้อยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งองค์หลวงปู่เณรคำ เองท่านได้ผ่านพญามารมาเยอะแยะมากมาย มารทั้งหลายปรากฏเกิดขึ้นที่ใด ท่านก็ดับมารไว้ที่ใจดับไว้ตรงนั้นเลย ดับที่ใจด้วยขันติ พระเดชพระคุณหลวงปู่สมบูรณ์จึงได้ตั้งชื่อให้นามว่า “วัดป่าขันติธรรม”

“ผู้มีขันติอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่แคบ ที่โล่ง ที่กว้าง ป่าดงรกชัฎ ผู้ที่ได้ศึกษาในเส้นทางของเรา (หลวงปู่เณรคำ) ขอให้มีขันติธรรมในใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวเหมือนกับเราได้บำเพ็ญในครั้งนี้ ทุกคนต้องทำได้เราเคยทำมาแล้ว ทุกคนต้องทำได้อย่างนั้น”

วัดป่าขันติธรรม ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวศรีสะเกษและทั่วประเทศที่ได้เข้ามาร่วมในการพัฒนาวัดอย่างเต็มที่


ที่มาของชื่อ หลวงปู่เณรคำ

เมื่อครั้งพระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ท่านไปจาริกเดินธุดงค์อยู่แถวจังหวัดกาฬสินธุ์ ศรัทธาญาติโยมชาวบ้านแถวนั้นได้พากันไปกราบนมัสการ และได้มองเห็นองค์หลวงปู่ซึ่งท่านนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในกลดบางๆ เป็นพระแก่ชรา แต่พอท่านเปิดกลดออกมา ก็กลับกลายเป็นสามเณรน้อยออกไปบิณฑบาต ขากลับจากบิณฑบาต ศรัทธาญาติโยมบางคนได้มองเห็นองค์หลวงปู่ท่านเป็นพระแก่ชรา อายุราว 80 ถึง 90 ปี ผมหงอก หลังค่อม เหี่ยวย่น หนังยาน บางคนฝันเห็น หลวงปู่เณรคำไปยืนอยู่บนหัวเตียง เดี๋ยวเป็นสามเณรอายุน้อยๆ เดี๋ยวก็กลายเป็นพระ ที่เเก่ชรามากบ้าง ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมาก็เริ่มมีคนเรียกขานชื่อของท่านตามที่เขาเห็นว่า

“หลวงปู่” หรือ “หลวงปู่เณรคำ” ฉายาของท่านคือ “ฉตฺติโก” อ่านว่า ฉัตติโก


สร้างพระแก้วมรกตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 4 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาตี 2 ท้าวสักกเทวราช มหาราชองค์อินทร์ จอมเทวดาผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย ได้มาอาราธนาให้พระอาจารย์วิรพล ฉัตติโก (หลวงปู่เณรคำ) นำพาสาธุชนชาวพุทธได้ร่วมกันสร้างองค์พระแก้วมรกตจำลอง ปูนปั้นหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร โดยมหาราชองค์อินทร์จะเป็นผู้ช่วยอำนวยการสร้างให้ราบรื่น ให้แล้วเสร็จลงด้วยพลังใจ ด้วยพลังจิตอันยิ่งใหญ่ ของทั้งเทวดาและมนุษย์มิตรทั้งหลาย

“ได้ถึงกาลอันสมควรแล้ว ที่พระคุณเจ้าจะต้องทำการสร้างสิ่งที่เคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งอันควรในการสักการบูชาของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย เนื่องจากปัจจุบันในโลกมนุษย์ ชนทั้งหลายได้มีใจห่างเหินจากธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก พระคุณเจ้าผู้เจริญ บารมีพระคุณเจ้ามีพอแก่การสร้างมาแล้ว พอแก่การทำให้อายุพระศาสนาวัฒนาถาวรแล้ว แม้อายุยังน้อย แต่ได้บำเพ็ญสมณธรรมมามากต่อมากชาติจนนับไม่ถ้วน จนถึงชาติปัจจุบัน การสร้างบารมีของพระคุณเจ้ามีมามากแต่ชาติปางก่อน จึงไม่เป็นอุปสรรคใดๆ ขอพระคุณเจ้าจงตริตรองด้วยปัญญาอันยิ่งใหญ่เองเถิด



เมื่อถึงกาลนี้ ข้าพเจ้าจึงได้เสด็จลงมาด้วยปรารถนาจะขออาราธนาพระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้นำพามวลมนุษย์ชนทั้งหลาย สร้างองค์พระแก้วมรกตรัตนปฏิมากรจำลองคล้ายองค์จริง เพื่อเป็นพุทธบูชา ถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐในไตรโลกทั้งหลาย และเพื่อยังอายุพระศาสนาให้วัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาให้ครบ 5,000 ปี เพื่อเป็นที่อันควรสักการบูชาของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย”

ขณะนี้ หลวงปู่เณรคำ กำลังดำเนินการก่อสร้างพระแก้วมรกตจำลองขนาดใหญ่และสวยงามมากที่สุดในโลก ณ วัดป่าขันติธรรม ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ปูนปั้นหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร โดยองค์พระแก้วมรกตจำลองที่จะสร้างขึ้นจะมี 5 ชั้น มีลิฟต์ขึ้นลง ชั้นล่างสุดจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ชั้นบนสุดคือส่วนพระเศียรมีบุษบก เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ส่วนหัวใจของพระแก้วมรกตจำลอง จะเป็นพิพิธภัณฑ์เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ส่วนยอดชฎาบนเศียรพระแก้วมรกตทำด้วยทองคำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม สูง 7 เมตร เครื่องทรงสามารถถอดเปลี่ยนได้ ทำด้วยทองเหลือง เมื่อแล้วเสร็จจะทำการเปลี่ยนเครื่องทรง 3 ฤดู ตามหลังพระแก้วมรกตองค์จริง 1 วัน มูลค่าการก่อสร้างจนกว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา แด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550

บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ได้ให้การยอมรับและเคารพนับถือ หลวงปู่เณรคำ เป็นอย่างยิ่งว่า เป็นพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จนบรรลุถึงความสิ้นไปแห่งกองทุกข์ ตามแนวทางคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

พระธรรมเทศนา

หลวงปู่เณรคำ ท่านมีเมตตาธรรมต่อสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทุกท่าน อยากให้ทุกคนได้เข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ ท่านจึงได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติ ที่ท่านเคยบำเพ็ญมาตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงปัจจุบัน มาสอนให้เราท่านทั้งหลายออกจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจ สอนให้เป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งตามหลักการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นตามธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

ธรรมะและแนวทางการปฏิบัติ ที่หลวงปู่ได้เมตตานำมาสอนนั้น เป็นแนวทางลัดในการปฏิบัติ ให้บรรลุธรรมกันได้ง่ายขึ้น สามารถเข้ากับจริตของทุกๆ คน ทุกๆ จิตใจ ถ้ามีความเพียร ถ้ามีความศรัทธาในองค์พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ความเพียรและความศรัทธาที่เด็ดเดี่ยวมั่นคงนั้น จะเป็นกำลังผลักดันให้เรามีตบะเดชะในใจ สามารถบำเพ็ญจนสำเร็จเป็นมรรคเป็นผลได้ในที่สุด นี่แหละ คือ เมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ที่หลวงปู่ท่านได้หยิบยื่นให้แก่เราท่านทั้งหลาย


ต่อไปนี้คือหลักคำสอน ของ หลวงปู่เณรคำ

- พระอริยเจ้าละสังขาร ไม่มีแดนเกิดแห่งกายนี้อีก ไม่ว่าจะเป็นกายสัตว์ กายอะไรก็ช่าง กายละเอียดกายหยาบไม่มีอีกต่อไป

- นักปฏิบัติต้องกำหนดรู้อยู่ในกายให้มาก ให้เห็นแจ้งรู้จริงในกาย เมื่อกำหนดรู้ในกายเด่นชัดแล้ว ก็จะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า จิตเป็นยังไง กายเป็นยังไง ไม่ต้องไปถามใคร

- นักปฏิบัติต้องทบทวนดูพฤติจิตของตนเองให้ดี ให้เด่นชัด ให้ละเอียด เพราะกลเกมกลลวงของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันเฉียบคม

- ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว อย่าเลือกที่ปฏิบัติ ที่ไหนๆ ก็ปฏิบัติได้ทั้งนั้น ปฏิบัติให้ตื่นรู้อยู่ในกายทุกอากัปกิริยา

- ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว ไม่พึงแสวงหาวัตถุอย่างอื่นอันนอกเหนือจากความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

- การปฏิบัติธรรมนั้น แม้เกิดก็เกิดคนเดียว การจะเข้าถึงมรรคผลก็เข้าถึงคนเดียว ธาตุขันธ์จะแตกดับก็แตกดับคนเดียว

- การธุดงค์ป่านอกไม่มีผลสำเร็จดีเท่ากับเดินจาริกอยู่ในป่ามหานครกายและป่าใจของตัวเอง

- จงดำเนินองค์สติให้ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ควบคุมความคะนองทางใจ สำรวมระวังความคิด เจริญกองบุญกุศลให้ถึงพร้อม และให้ละบาปอกุศลให้สิ้น

- ไม่ยึดถือเอาสัญญาเป็นเจ้าของ หลุดพ้นออกจากสัญญาแล้วความขุ่นข้องหมองใจ ความพยาบาทปองร้ายก็ดับไป

- พอใจในสิ่งที่เรามี พอใจในสิ่งที่ตนได้ ถ้าดิ้นรนมาก ก็จะกลายเป็นกิเลส ตัณหา

- ท่านทั้งหลายที่เป็นสาธุชนนั้น ต้องอาศัยการให้ทาน ต้องอาศัยวัตถุทาน เป็นตัวนำจิตให้เข้าถึงบุญกุศล เป็นสิ่งที่ทำง่ายสำหรับท่านทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจของท่านทั้งหลายยิ่งใหญ่ขึ้นในภายภาคหน้า

- การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารภพน้อยภพใหญ่นี้ มันทุกข์ร้อนมากๆ ผู้ไม่ปรารถนาที่จะมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ต้องปฏิบัติตนรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา ตั้งศรัทธาให้มั่นคง ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งปวง ถอดถอนความยึดถือในโลกทั้งปวง ในธรรมทั้งปวง ความเป็นตัวเป็นตน ความแบกหาม เอาสมมุติทั้งหลายทิ้งไปให้หมด สละไปให้หมด จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

- ท่านผู้มีปัญญาย่อมมีธรรมปรากฏอยู่ในจิตใจเสมอ ปัญญาธรรมคือสิ่งที่เลิศที่สุดในชาติปัจจุบัน

- ธรรมทั้งปวงนั้นคือ เครื่องเตือนให้ท่านทั้งหลายตื่นจากการหลับใหลในความยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ให้รู้จักส่งคืนสิ่งยึดติดทั้งปวง ด้วยธรรมอันจิตไม่ยึดมั่น เห็นเด่นชัดนั่นเป็นสักแต่ว่า

- นักปฏิบัติต้องใช้สติปัญญาที่เฉียบคม ทบทวนดูผลของการปฏิบัติที่ผ่านมาให้ละเอียดมากลงไปเรื่อยๆ ว่ากิเลส ตัณหา อุปาทานที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจนั้น มันหมดไปมากน้อยแค่ไหน และทบทวนดูสภาพจิตของตัวเองให้ลุ่มลึกลงไปให้มาก ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้ว ทุกอย่างต้องดับไป

- นักปฏิบัติต้องทบทวนดูสิ่งที่ตนเห็นให้ดี เพราะสิ่งที่เห็น คือ อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น เมื่อเห็นแล้วเดินจิตปลงลงสู่ความไม่ยึดถือ เดินกระแสจิตเข้าสู่ความดับ พอมันหลุดไปหมดแล้ว จะเห็นอะไรมันก็เห็นเป็นปกติ

- นักปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูรูป เวทนา ให้เด่นชัด เมื่อเด่นชัดแล้ว จิตก็จะถอดถอนออกโดยอัตโนมัติ เห็นเป็นเพียงสมมุติเท่านั้น

- สาธุชนทั้งหลายอย่าเห็นเรื่องฤทธิ์เดชเหล่านั้น สำคัญกว่าการละกิเลสให้ได้เด็ดขาดอย่างแท้จริง

- ท่านทั้งหลาย เราอย่าเข้าใจว่าพระพุทธเจ้านั้นสอนให้เราสร้างแต่บุญเพื่อไปเกิดในสวรรค์อย่างเดียว แต่หัวใจของพระพุทธเจ้าที่เน้นหนักลงมา คือ ให้เราได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดตามพระองค์

- อุเบกขานั้นไม่ใช่การวางเฉยไปเลย แต่เป็นการเฝ้าดูโดยความสงบนิ่งของจิต ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง ท่านทั้งหลายจงมีอุเบกขาแบบอุเบกขาผู้มีปัญญา อุเบกขาแบบผู้มีปัญญาคือ การเฝ้าดูอยู่ไม่ให้ตนเองพลาดพลั้ง ไม่มีสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศล

- เนื้อแท้ของธรรมชาติในโลกวัฏฏทุกข์นั้น ล้วนแล้วไม่ยั่งยืน แปรปรวนอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย จึงให้ทุกท่านเข้าไปรู้ความจริงของธรรมชาติแห่งวัฏฏทุกข์นั้น ด้วยสติปัญญาอันสุขุมละเอียด และด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ความจริงแจ้งชัดหายสงสัยปรากฏอย่างที่สุด หลุดพ้นทันที

- ความโง่ในโลกที่เราโดนหลอกเอย คนนั้นหลอก คนนี้หลอก มันไม่ใช่ความโง่ที่เรียกว่าหนักหนาอะไร แต่ที่หนักคือ เราโง่ให้กิเลสมาสับรางจิตใจของเราให้ไปผิดทาง

- ยุคนี้ คือ ยุคที่เราจะทำให้เป็นดั่งสมัยพุทธกาล คือ ให้มีผู้บรรลุสำเร็จเป็นอรหันต์มากที่สุด ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

- จิตที่หลงยึดติดว่าเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราบรรลุแล้วจบสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว จิตที่หลงนี้ต้องกลับมาเกิดใหม่ และนำเอาจริตเดิม สันดานเดิมที่หลงติดไปด้วย


- ถ้าเรารักษาศีลไม่ดีก็เท่ากับว่าเรายังไม่แจ้งในศีล ถ้าเราบำเพ็ญภาวนาไม่ดีก็เท่ากับว่าเราไม่แจ้งในสติ ถ้าเราไม่มีความตั้งมั่นเพียงพอเท่ากับเราไม่ตั้งมั่นในสมาธิ ถ้าเราไม่มีความรู้เท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทานเท่ากับเราไม่รู้แจ้งในปัญญา

- ถ้าเราได้จาบจ้วงพระอริยเจ้าองค์หนึ่ง ก็เหมือนเราได้จาบจ้วงทั้งหมด ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบันกาลนี้ ผลกรรมนั้นมันหนักหนาสากรรจ์มาก

- ให้เฝ้าดูอาการของจิตจนรู้จิตเด่นชัด การบรรลุธรรมจะปรากฏ รู้จิตเห็นธรรม

- จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง

- ทุกคนจงมาทำให้แจ้งในปัจจุบันนี้เลย อย่าทำเพื่อชาติหน้า อย่าทำเพื่ออนาคตอันยืดเยื้อยาวไกลไปมาก ทำปัจจุบันให้มันแจ้ง แจ้งทั้งกาย ให้มันแจ้งทั้งจิตใจ อย่าให้มีข้อลังเลสงสัย อย่าให้มันเกิดการพวักพวง ให้มันแจ้งไปหมด

- การขับเคลื่อนของสติปัญญานั้น ต้องเดินอย่างต่อเนื่อง

- เมื่ออำนาจสติมีกำลังพอเพียง จะสามารถเห็นความเป็นจริงได้ว่า สภาพจิตและกายไม่ได้เป็นเนื้ออันเดียวกัน มันแยกกันอยู่

- สัญญานั้นเหมือนเพลิงที่มาเผาจิตของเวไนยสัตว์ไม่ให้หลุดพ้น ออกจากกองทุกข์

- คำว่าขณะที่ปฏิบัตินี่ ไม่ใช่เฉพาะชั่วโมงนั้นชั่วโมงนี้นะ มันทุกอากัปกิริยา ทุกสภาวะในปัจจุบันนั้นๆ แต่ละลมหายใจเข้า-ออก แต่ละเวลา แต่ละชั่วโมง แต่ละนาที สภาพปัจจุบันด้วย

- ยศถาบรรดาศักดิ์ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณทั้งหมด เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เราก็ไม่ได้เอาไปด้วย เป็นสักแต่ว่าสมมุติในโลกนี้แค่นั้น ท่านจะเป็นมนุษย์ผู้มีสมบัติใหญ่โต มีชื่อแปลกๆ มีรถยนต์ นั่นคือเครื่องสมมุติ ผู้ที่บำเพ็ญตนให้พ้นจากกิเลสตัณหา เห็นสมมุติเหล่านั้นให้เด่นชัด เห็นทุกอย่างเป็นสมมุติ รู้สมมุติเหล่านั้นแล้วทิ้งสมมุติเป็นแดนเกิด ภพชาติจึงดับไป

- หัวใจแก่นแท้ของนักปฏิบัติธรรมตามธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ความไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของในสิ่งทั้งปวง

- คำว่าปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง คือ ไม่ให้เผลอ ไม่ให้หลงลืม ไม่ให้ด่างพร้อยไปตามอารมณ์

- การบำเพ็ญต้องบำเพ็ญด้วยสติล้วนๆ ปัญญาล้วนๆ ไม่ไปหลงกับอำนาจสมาธิ อำนาจความสุข ความปิติบางอย่าง ต้องตั้งสติให้มั่นคงเด็ดเดี่ยวขึ้นกว่าเดิม ตั้งกำลังปัญญาให้มันแกร่งขึ้นมากกว่าเดิม พิจารณาให้มันแตกฉานไปเสียหมดเลย จึงจะหลุดพ้น

- การบำเพ็ญนั้น ต้องบำเพ็ญด้วยความเด็ดเดี่ยว คำว่าเด็ดเดี่ยวหลักสำคัญ คือ ไม่ต้องไปลังเลสงสัยกับคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องอื่น ให้นั่งทำใจของตนให้สงบระงับ ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่างๆ

- การบำเพ็ญต้องหลีกเว้นออกจากสิ่งที่เคยยึดถือยึดมั่นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หนัง เอ็น กระดูก เป็นตัวเริ่มต้นเลยในการถอน เมื่อเราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น เป็นเนื้อ หนัง เอ็น กระดูกแล้ว อย่างอื่นมันไม่ยึดถือกันอัตโนมัติ

- สภาพสติปัญญาที่จะน้อมนำธรรมคำสอนเข้าฝังในหัวใจ จะเข้าไปในจิตใจมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังสติปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ เพราะว่าการบำเพ็ญบารมี ไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ของแต่ละคน แต่ละท่านนั้น สะสมกำลังบารมีส่วนนี้มาแตกต่างกัน

- ยิ่งรู้แจ้งในกายมากเท่าไหร่ สติปัญญายิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น

- ยอดที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจของสาธุชนทั้งหลายนั้น ต้องให้ถึงที่สุดแห่งองค์พุทธะ ให้ถึงที่สุดแห่งองค์ธรรมะ และให้ถึงที่สุดแห่งองค์พระสังฆอริยเจ้า ด้วยเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตนี้รวมเป็นหนึ่งหมุนเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้านั้น นั่นแหละคือว่าเราได้ทำให้ถึงยอดของพระพุทธศาสนา

- นิพพานนั้นไม่มีแดนเกิด นิพพานนั้นดับได้หมดเลย นิพพานเหนือโลกทั้งมวล เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดทั้งหมด

- สาธุชนท่านใดปรารถนาให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายในการเกิด ต้องทำให้แจ้งในมหานครกายและมหานครใจ แจ้งจนหายสงสัย เมื่อหายสงสัยแล้ว ส่งคืนไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ

- แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น

- ถ้าจะหลุดพ้นแท้ๆ คือ ไม่เป็นในสิ่งที่เป็น ไม่มีสิ่งที่เป็นยึดถือในหัวใจ

- หลุดพ้นออกจากความหลุดพ้น นี่คือ ที่สุดของการปฏิบัติ

- การบรรลุมรรคผล จิตนั้นจะไม่มีอะไรแทรกแซงในจิตเลย แม้แต่ความเห็นว่าจิตของตนนั้นใสดั่งแก้ว ก็ไม่มีเลย

- การเดินย่ำไปในโลกธรรม ถ้าจิตเหนื่อยล้าก็จงพักเอากำลังแห่งสติปัญญาอันกล้าหาญ ไม่หวั่นไหวในสภาพทั้งปวง โลกธรรมมันยาวไกลไม่สิ้นสุด จิตหลุดพ้นแล้ว แม้โลกธรรมจะแสนไกลไร้ความหมาย เจริญธรรมอันเลิศแด่ท่านผู้ประเสริฐ

- ความเชื่อในทางโลกนั้นมีกำลังมากกว่าความเชื่อในทางธรรม เพราะว่าทางโลกนั้นมีรูปธรรมสัมผัสได้จับต้องได้ แต่ทางธรรมนั้นต้องใช้สติปัญญา มันจับต้องไม่ได้ด้วยมือเปล่า แต่กำหนดรู้เข้าไปที่จิตสำนึกได้เท่านั้น ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมได้ ต้องเป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตั้งมั่นศรัทธาในศาสนาจนแก่กล้าจึงจะเข้าถึงรากได้

- เราก็ขอทุ่มเทให้กับพระพุทธศาสนาในปัจจุบันชาติ แม้ว่าเราจะอาศัยเป็นบ้านเกิดหลังสุดท้าย แต่เราก็ขอทำคุณงามความดีให้แก่บ้านเกิดหลังสุดท้ายอย่างเต็มภาคภูมิ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายได้พึ่งพาต่อไปภายภาคหน้า ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคตต่อไป คุณงามความดีจักประจักษ์เด่นชัดในใจของเรานี่เอง ถ้าเราทำดี ความดีก็มีในใจของเรา ไม่ต้องไปโอ้อวดใครทั้งสิ้น

- นับเป็นชาติสุดท้ายที่เรานำท่านทั้งหลายสร้างบุญบารมีที่ยิ่งใหญ่ จะไม่มีชาติอื่นปรากฏแก่เราอีกต่อไป ทำไปเถิด เมื่อมีโอกาสได้ทำ

- ท่านทั้งหลายอย่ายึดติดในอารมณ์ทั้งปวงเลย ทั้งร้อนและเย็นมันเป็นทุกข์ทั้งนั้น อารมณ์เปรียบดั่งทะเลเพลิง ถ้าจิตเหนืออารมณ์ ก็พ้นจากทะเลเพลิง ได้ถึงความหลุดพ้นในที่สุด

- ชีวิตทั้งหลายโดยมากลุ่มหลงในตน ยึดถือตนเป็นแก่นสาร เอาความเป็นตัวเป็นตนครอบงำจิต ชีวิตเหล่านั้นจึงเป็นทุกข์โดยไม่รู้ตัว จงดับความยึดถือในตน ทุกข์โดยไม่รู้ตัวจักดับไป

- ธรรมอันบริสุทธิ์คือ เครื่องตื่น ผู้รู้แจ้งในธรรมทั้งปวง เปรียบดั่งว่าเป็นผู้ตื่นแล้วจากโลกมืด อันเป็นบาปอกุศล อุปาทาน กิเลส ตัณหาทั้งปวง เมื่อตื่นแล้วหลุดพ้นถึงซึ่งความเกษมบันเทิงใจในธรรม จนดับขันธ์นิพพานไป ไม่หวนกลับมาเวียนตายเวียนเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป

- ให้ตัดความกังวล ให้ตัดความยึดถือทั้งปวง เพื่อจะได้หลุดพ้นต่อไปในภายภาคหน้า

- ให้มีพรหมวิหารธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ด้วยใจที่บริสุทธิ์ ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว เมตตาก็เมตตาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว กรุณาก็กรุณาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว มุทิตาก็มุทิตาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว อุเบกขาก็อุเบกขาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยวด้วย

- อุเบกขาที่มีปัญญาจะช่วยเราไปตลอดชีวิต นักปฏิบัติทุกวันนี้ รู้แต่ว่าการปล่อยวาง ปล่อยวาง นั่นสักแต่ว่าก็แค่นั้นเอง แต่ไม่รู้ว่าสักแต่ว่าแบบมีปัญญาเป็นยังไง

- เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา มีในหัวใจแล้ว เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีในหัวใจแล้ว อุเบกขามีหน้าที่ซุ่มดู เฝ้าระวังไม่ให้จิตใจตนเองเกิดอะไรขึ้นมาอีกเหมือนเดิม แล้วคอยประคองรักษาสภาพจิตนั้น ให้มันสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ

- นักบุญทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า ให้ทำกุศลฝ่ายในและกุศลฝ่ายนอกให้บริบูรณ์ เมื่อบริบูรณ์คราใด บารมีจักเกิดครานั้น จงพิจารณาธรรมเหล่านี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเถิด

- ชนทั้งหลายผู้จักได้เกิดในสวรรค์ชั้นต่างๆ นั้น ต้องหนักแน่นในศีลแลให้ทานพร้อมทั้งภาวนา ผลคือดวงจิตดวงนี้เกิดมีความปิติสุขโล่งเบาโดยตลอด ไม่ด่างพร้อย เมื่อถึงวันธาตุขันธ์ดับแล้ว จิตวิญญาณเหล่านั้นหมุนเข้าสู่สุขคติสวรรค์ทันที อย่างไม่ลังเลสงสัย

- จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง

- สติปัญญาของท่านผู้ปฏิบัตินั้น แจ้งกำหนดรู้ไปยังที่ใจ ย่อมรู้แจ้งแจ่มชัดในที่นั้นอย่างหายสงสัย เพราะอำนาจสติปัญญามีกำลังเพียงพอ อันเกิดจากความเพียรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ท่านทั้งหลายจงแสวงหาและสร้างสติปัญญาของตนให้เด่นชัดในหัวใจ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างเต็มตัว หายสงสัยในสิ่งทั้งปวง

- ผู้มีปัญญาแก่กล้านั้น เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งใดแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากสิ่งนั้นด้วย โดยไม่ยึดไม่ถือเอาเป็นเจ้าของ ส่งคืนไปตามสภาพสมมุติหมด

- การบำเพ็ญเพียรเพื่อให้หลุดพ้น ต้องทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ทำด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ด้วยใจที่เต็มความภาคภูมิ เต็มไปด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ให้ด่างพร้อย ไม่ให้พลั้งเผลอเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าผลของการปฏิบัตินั้นจะมีมากเพียงใดก็ตาม

- บุญในอดีตชาติรวมเป็นหนึ่งกับบุญในปัจจุบันชาติ จักเกิดบารมีอันยิ่งใหญ่ สำเร็จประโยชน์ดังตั้งใจ

- สติ สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน รวมลงที่ใจโดยฝ่ายเดียว แต่ไม่ให้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ส่งคืนตามสภาพความเป็นจริงนั้นให้หมด

- ถ้าศีลไม่สะอาด มันจะรวมสติ สมาธิ ปัญญา ลงไปที่ใจไม่ได้ รวมไม่ได้เลย

- ปฏิบัติตนให้รู้แจ้งเห็นจริง รู้แจ้งในศีล รู้แจ้งในสติ สมาธิ ปัญญา

- แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น

- โลกยังคงหมุนไปตามธรรมชาติ สรรพสิ่งในโลกยังคงหมุนไปตามกรรม เรามาดับกิเลสตัณหาอุปาทานเพื่อระงับกรรมเหล่านั้น เหตุที่ทำให้กรรมยุติเบาบางลง คือ การดับกิเลส ตัณหา อุปาทานทั้งปวง

- การออกจากทุกข์ก็คือ เราอย่าไปมองแค่สวรรค์ เป็นนักปฏิบัติต้องมองถึงพระนิพพาน อย่าไปยุติไว้แค่สวรรค์ แม้ว่าไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะสูงส่งมากแค่ไหน เมื่อบุญหมด บารมีหมด ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่อีกไม่จบสิ้น แต่ที่มันจบก็คือความหลุดพ้น หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิเหล่านี้

- ให้เข้าใจถึงธาตุขันธ์ร่างกายโดยรวมคือ ธรรม จิตที่อาศัยร่างกายอยู่ก็คือธรรม ผู้ที่จะเข้าถึงความหลุดพ้นสิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดถึงพระนิพพานนั้น ต้องมีความแจ่มแจ้งหายสงสัยในธรรมเหล่านี้ ธรรมเหล่านี้ก็คือร่างกายและจิตใจ เพราะเหตุเหล่านี้แหละ เพราะความยึดถือในร่างกายและจิตใจนี้แหละ สัตว์โลกทั้งหลายจึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น

- รีบทำในวันนี้ อย่ารอวันพรุ่งนี้

- คำว่า “ขันติธรรม” นี้ ยิ่งใหญ่มาก เป็นคุณธรรมชั้นสูง

- การตั้งจิตอยู่ ปัญญาอยู่ ให้ถึงพร้อมทั่วทั้งกายดีที่สุด ทำให้ได้

- ฝึกจิตให้แก่กล้า ชนะอารมณ์ เป็นคนดีของสังคม

- สิ่งที่ดีที่สุดคือ ปัญญาของเรา ทำให้แจ้งทั้งหมดเลย ไม่แจ้งเฉพาะที่ตรงใดตรงหนึ่ง เอาจิตเข้าไปตามรู้ทันให้หมด

- แก่นแท้ของจิตนั้น เป็นอาการที่คิดปรุงแต่ง รับรู้อารมณ์ทั้งปวงที่ปรากฏ

- อำนาจจิตที่แก่กล้ามีพลังนั้น เกิดจากความเพียรในปัจจุบันกาล เรียกว่า สภาวะปัจจุบันนั้นมีองค์มหาสติครอบคลุมอยู่ตลอด อย่างไม่ด่างพร้อย จึงไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง ไม่จำกัดกาล เวลา และสมัย เมื่อสติปรากฏแจ่มชัด ชื่อว่าท่านเป็นผู้มีความเพียร จิตจะแก่กล้าขึ้นโดยอัตโนมัติ

- พระอริยเจ้าเป็นผู้มีจิตที่เป็นกลาง ไม่แบกหามเอาสมมุติใดๆ ทั้งสิ้น มาหนักจิต แม้จิตนั้นดับไป ไม่มีเหลือ ไม่ได้ยึดถือจิตนั้นเป็นตัวเป็นตน วิญญาณนั้นก็ไม่มี ดับสิ้นไม่มีเหลือ สมมุติทั้งหลายสิ้นไปหมด ไม่มีอีกแล้ว หยุดลงแค่นั้น พรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังเป็นสมมุติแห่งพรหมจรรย์ เมื่อพรหมจรรย์จบสิ้นแล้ว สมมุตินั้นก็จบสิ้นไปด้วย ความยึดถือในพรหมจรรย์ทั้งหลาย แดนเกิดแห่งพรหมจรรย์จึงไม่มีอีกแล้ว เพราะพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ฉะนั้น เราต้องเข้าใจความเป็นจริงของสมมุตินั้น

- ยุคนี้พระอริยเจ้ายังไม่สิ้นนะ พระอริยเจ้ายังคงอยู่ยังคงมี ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ยังไม่สิ้นพระอริยเจ้า ปฏิบัติจริงก็ได้ของจริง เห็นของจริง

- เกลี้ยงทั้งใจ ใสทั้งกระดูก ชื่อว่าพระอริยเจ้าที่แท้จริง

- จะไปปฏิบัติยังไงก็ตาม เราอย่าไปเลือกที่ปฏิบัติ ที่ไหนที่ลมหายใจมันหมุนเข้าออกอยู่นั่นแหละ ปฏิบัติได้ตลอดไป ปฏิบัติได้ตลอดไม่จำเป็นต้องรอเวลาที่จะนั่งบำเพ็ญภาวนา รอเวลาที่จะต้องเดินจงกรม จะนั่งอยู่ที่ไหน จะเดินอยู่ที่ไหน ก็ต้องทำความเพียรได้ทั้งนั้นแหละ มันเป็นสากลไปเลยความเพียรอันนั้น

- บุคคลใดยังความทุกข์ ความลำบากให้แก่ผู้อื่น ความทุกข์ ความลำบากก็ย้อนกลับมาเป็นผลแก่ผู้นั้น แต่หากบุคคลใดยังความสุข ความสะดวกให้แก่ผู้อื่น ความสุข ความสะดวกก็จะย้อนกลับมาเป็นผลแก่ผู้นั้นเช่นกัน






ท่านใดสนใจและต้องการ CD พระธรรมเทศนาของ หลวงปู่เณรคำ วัดป่าขันติธรรม

สามารถเข้าไปโพสต์ชื่อที่อยู่ได้ ฟรี

ตามลิงค์นี้ครับ

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=140960

หรือ

http://larndham.net/index.php?showtopic=32550&st=0

48


หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิโต วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์ทั้งตลอดชีวิตที่ประพฤติปฏิบัติในทางกรรมฐาน โดยเคร่งครัดเฉพาะเวลาวิกาลแล้วมักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และมีอายุยืนถึง๑๐๘ ปี หลวงพ่อเขียน เมื่อครั้งครองเพศฆราวาสท่านมีชื่อว่า เสถียร

ชาติกำเนิด
       เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็น สามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัด ทุ่งเรไรในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขระสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่าน สมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

       เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำ พรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัด ธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจจะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทาง ไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดิน ทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น

อ้ายยักษ์เขียวกัดหลวงพ่อ
       หลวงพ่อเขียน มาอยู่วัดวังตะกูได้ไม่กี่ปี ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเวียงใต้ ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวงพ่อตัวหนึ่ง และต่อมานายทอง บ้านเขาอีแร้ง ก็ได้นำม้าตัวผู้สีเขียว ค่อนข้างดุ ชื่อ อ้ายเขียวยักษ์ มาถวายหลวงพ่ออีก วันหนึ่ง หลวงพ่อเขียน จูงอ้ายเขียวยักษ์ ไปกินน้ำที่สระข้างวัด อ้ายเขียวยักษ์ เห็นสระน้ำอยู่เบื้องหน้าก็ออกวิ่งไปด้วยความคึกคะนอง แล้วนึกอย่างไรไม่ทราบ มันกลับวิ่งหวนเข้า มาหาหลวงพ่อ ตรงเข้าโขก และกัดท่านที่หน้าผาก ไหล่ขวา และหน้าอก จนหลวงพ่อล้มกลิ้งไป แต่จะหารอยแผลสักน้อยก็ไม่มี มีแต่รอยเขียวช้ำเท่านั้น ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ พากันคว้าไม้จะเข้าไป ไล่ตี เจ้าเขียวยักษ์ แต่หลวงพ่อรีบลุกขึ้นและร้องห้ามไม่ให้ตีมัน ท่านบอกว่า “อ้ายเขียว มันลอง หลวงพ่อน่อ” วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อได้นำหญ้าอ่อนไปกำมือหนึ่ง แล้วเป่าคาถา อึดใจเดียวก็ยื่นให้ เจ้าเขียวยักษ์กิน แล้วท่านยังยกข้าวเปลือกที่แช่ในถังน้ำ มาให้มันเป็นของแถมเสียอีก หลังจากเจ้าเขียวยักษ์ กินหญ้า อ่อน และข้าวเปลือกแล้ว มันก็ยืนนิ่งเฉย ปล่อยให้หลวงพ่อ ลงอักขระ ที่กีบเท้าทั้งสี่ข้าง อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเขียวยักษ์เกิดหลุดเชือก ไปกินข้าวในนา ของมรรคทายกนวม มรรคทายกเกิด โมโห คว้าปืนลูกซองยาว ยิงเจ้าเขียวยักษ์ด้วยลูกเก้า (ลูกแบบแตกปลาย) ลูกปืนถูกเจ้าเขียวยักษ์ อย่างจัง แต่ไม่ระคายผิวเจ้าเขียวยักษ์เลย นางมาเมียมรรคทายกนวม เห็นดังนั้น ก็เกิดความ โมโหหนักขึ้น ถึงกับไปยืนด่าว่า หลวงพ่อด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่างๆ นานา หาว่าหลวงพ่อเลี้ยงม้า ไม่ดี ปล่อยให้ไปรบกวนชาวบ้าน ให้เดือดร้อนเสียข้าวเสียของ

หลวงพ่อท่านนิ่งฟังพักใหญ่ ก็บอกว่า “เอ็งทำเป็นด่าข้าดีไปเถอะ ระวังปากเอ็งจะเน่า” ต่อมาอีกไม่ กี่วัน นางมาได้เกิดป่วยเป็นโรคปากเปื่อย ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จมขี้จมเยี่ยว เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ ที่พบเห็น แต่เมื่อมีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาสงสาร ได้ใช้ให้คนไปบอกนางมา ให้หาดอกไม้ธูป เทียน มาขอขมาท่านเสีย นางมาทราบแล้ว ก็รีบปฏิบัติตามทันที มิช้าก็หายป่วย ม้าของหลวงพ่อเขียน ที่เดิมมีเพียงตัวเมีย กับตัวผู้ คือเจ้าเขียวยักษ์นั้น ต่อมาก็ได้ผสมพันธุ์กัน จนถึง ปี ๒๔๗๗ ม้าก็เพิ่มจำนวนถึง ๗๐ ตัว ในจำนวนนี้ มันได้แบ่งพวกออกเป็น ๓ ฝูงๆ ละเกือบ เท่าๆ กัน ในฤดูแล้งม้า จะถูกปล่อยให้ไปหากินตามชายป่า หัวหน้าฝูงจะเป็นผู้นำ แต่ละฝูงจะอยู่ห่างกันไม่ เกิน ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พอตกเวลาเย็น มันก็จะทยอยกันกลับวัด เข้าคอกเองโดยไม่ต้องมีคนไป ไล่ต้อน ถ้าเป็นฤดูฝน หรือฤดูหนาว หลวงพ่อจะเอาข้าวเปลือกแช่น้ำ มากองหลายๆ กองให้ม้ากิน บางทีท่านก็เอาน้ำตาลปี๊บ ไปป้อนลูกม้า ท่านทำเช่นนี้เกือบจะเป็นประจำ ด้วยความเมตตา

มรรคทายกยักยอกเงินก่อสร้าง
      ขณะที่หลวงพ่อเขียน จำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น หลวงพ่อพร้อมด้วยพุทธบริษัท ได้ชวนกันสละทุนทรัพย์ ตามกำลัง และศรัทธา และได้ช่วยกันหาปัจจัย สร้างโบสถ์ กำแพงแก้ว ซุ้ม ประตู และเจดีย์ ตัวพระอุโบสถนั้นเพียงแต่ก่ออิฐ แต่ยังมิได้ฉาบปูน แต่ในระหว่างการก่อสร้าง มรรคทายกผู้หนึ่งเป็นผู้รักษาเงิน และบัญชี ได้ยักยอกเอาเงินก่อสร้าง อุโบสถไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยนำเงินไปซื้อไร่นา และปลูกบ้านเรือนใหญ่โต ทั้งได้ทำลายหลักฐานบัญชีเดิม แล้วทำบัญชีใหม่ปลอมแปลงแทน ครั้นถึงวันจ่ายค่าแรงงานก่อสร้างแก่นายช่าง หลวงพ่อ ก็เรียกปัจจัยจากมรรคทายกผู้นั้น แต่กลับได้รับคำปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉย ว่าเงินที่ตนเก็บไว้ได้ถูก เบิกจ่ายไปหมดแล้ว เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น การก่อสร้างอุโบสถจึงได้หยุดชะงักลงทันที ชาวบ้านที่รู้เรื่องก็พากันมาถาม หลวงพ่อ ท่านบอกแก่พวกเขาเหล่านั้นว่า “ใครโกงปัจจัยสร้างโบสถ์ ไม่ว่า

รายไหนก็รายนั้น เป็น ต้องคลานขี้คลานเยี่ยว มันจะต้องฉิบหายวายวอด ถือกะลาขอทานเขากิน ไม่จำเริญสักคนน่อ” อยู่ต่อมาไม่นาน ความวิบัติก็บังเกิดขึ้นแก่มรรคทายกผู้นั้น กับภรรยา ตลอดจนลูกสาว ลูกชาย ด้วย เกิดการเจ็บป่วยได้ไข้ ขึ้นมาพร้อมกันในวาระเดียว เริ่มด้วยเกิดคันลูกนัยน์ตา รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนในที่สุด ตาบอดหมดทุกคน แม้หลานของมรรคทายกผู้นั้น ก็เกิดมาเสียลูกนัยน์ตาไปคนละข้าง ต้องทนทุกข์ทรมาน คลานขี้คลานเยี่ยว ดังหลวงพ่อท่านว่าไว้ไม่มีผิด ทองที่มีอยู่ ก็ถูกนำมาใช้จ่าย ในการรักษาจนหมดตัว ถึงกับขายไร่นา เพื่อนำเงินมาบำบัดรักษา และพลอยหมดสิ้นลงอีก ถึงกับต้อง จูงกันไปเที่ยวขอทานเขากิน ในที่สุด ก็ล้มหายตายจากกันไป ที่มีชีวิตอยู่ ก็ร่อนเร่ระเหระหน ไปคนละทิศละทาง จนสิ้นวงศ์วานหว่านเครือ ไม่มีเชื้อสายเหลือในตำบลวังตะกู แม้แต่คนเดียว !

       สมัยหนึ่ง มหาบุญเหลือ เจ้าอาวาส วัดชัยมงคล กับ มหาชั้น เจ้าอาวาส วัดท่าฬ่อ เดินทางไปเทศน์ ที่บ้านห้วยพุก เมื่อเทศน์จบ ก็ได้เวลาประมาณ ๔ โมงเย็นเศษๆ เข้าไปแล้ว จึงรีบออกเดินทางจาก บ้านห้วยพุก ฝ่าป่าฝ่าดงเรื่อยมา เพราะสมัยนั้นการสัญจรไปมา ต้องอาศัยการเดินเท้าเป็นพื้น ท่านเจ้าอาวาสทั้งสอง ไม่คุ้นกับเส้นทาง จึงเดินวกวนอยู่ในดงช้านาน บ้านช่องผู้คนก็ไม่ค่อยจะมี นานๆ จึงจะพบสักหลังหนึ่ง เมื่อชาวบ้านป่าช่วยชี้หนทางให้ ก็เดินกันจนเท้าระบมแทบจะไปไม่ไหว จนถึงเวลากลางคืน ก็ไปถึงตำบลวังตะกู ท่านมหาบุญเหลือ จึงบอกท่านมหาชั้นว่า คงจะต้องนอนพัก ค้างคืนกับหลวงพ่อเขียนก่อน เพราะจะเดินทางต่อไปจนถึงบางมูลนากไม่ไหว ท่านมหาบุญเหลือรู้จัก กับ หลวงพ่อเขียนดี เมื่อไปถึงวัด ได้พากันตรงไปกุฏิหลวงพ่อ ก็เห็นประตูหน้าต่างปิดหมด แลเห็น แสงไฟทางช่องลมสลัวๆ ท่านมหาทั้งสองจึงกระซิบกระซาบกันว่า “อย่าไปเรียกท่านเลย จะเป็นการ รบกวนท่านเปล่าๆ เรานอนข้างนอกหน้ากุฏิท่านนี่แหละ” ท่านมหาชั้นจึงเอนกายลงนอน ด้วยความ อ่อนเพลีย แต่ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียง หลวงพ่อเขียน ร้องทักมาจากในห้องว่า “โธ่เอ๋ย มหา ! เดิน หลงทางกันมาซิน่อ แย่เลยหนอ พักนอนกันเสียที่นี่ ไม่ต้องเกรงใจน่อ” พลางท่านก็เปิดประตูออกมาต้อนรับ

      เมื่อครั้งหลวงพ่ออยู่วัดวังตะกูนั้น ได้มีผู้นำสัตว์ป่าทั้งหลาย มาถวายอยู่เนืองๆ อาทิเช่น ลิง ชะนี เก้ง กวาง วัวแดง จระเข้ เป็นต้น โดยเฉพาะลูกกวางนั้น หลวงพ่อได้เอาเศษจีวรผูกคอไว้ เพื่อ ให้คนทั้งหลายได้รู้ ว่าเป็นกวางของวัด เจ้ากวางตัวนี้เติบโตขึ้นมา และเชื่องมาก มันมักจะติดตาม หลวงพ่อไปไหนๆ อยู่เสมอ บางคราวมันก็จะหนีท่านไปกินข้าว หรือเหยียบย่ำข้าวในนา ของชาวบ้าน เสียหายบ่อยๆ หลวงพ่อจึงนำไปให้ ท่านอาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณร เลี้ยงดูแทนท่าน ท่านได้บอก กับมันว่า “เอ็งไปอยู่กับ อาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณรน่อ แล้วไม่ต้องกลับมาหาข้าอีกน่อ” เมื่อหลวง พ่อให้ลูกศิษย์นำกวางไปให้ท่านอาจารย์เทินแล้ว ปรากฏว่าเจ้ากวางไม่เคยกลับมาที่วัดวังตะกูอีกเลย ทั้งๆ ที่วัดทั้งสองไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเท่าใดนัก เมื่อกวางไปอยู่กับท่านอาจารย์เทินแล้ว ไม่ว่าท่านจะรับนิมนต์ไปที่บ้านใคร มันจะออกไปตามหาท่าน ถูกทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้ง ท่านจะออกไปจากวัด ขณะที่มันไม่ได้อยู่ในวัด แต่เมื่อมันกลับมา ก็จะออก ตามหาท่านอาจารย์ได้ถูกต้องทุกครั้ง อยู่มาวันหนึ่ง กวางออกไปหากินไกลวัด ในหมู่บ้านที่มันเคยไป ชาวบ้านไม่รู้ว่าเป็นกวางวัด นึกว่า เป็นกวางป่า จึงเอาปืนมาไล่ยิง แต่ไม่ถูกสักนัดเดียว เผอิญพวกนั้นเหลือบไปเห็นเศษจีวร ที่หลวงพ่อ เขียนผูกคอมันไว้ จึงรู้ว่าเป็นกวางวัด ก็ร้องบอกห้ามปรามกัน แต่กวางตกใจเสียงปืน มันก็วิ่งเตลิด ผ่านหน้าบ้านของชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นไม่รู้เรื่องราว ก็คว้าปืนลูกซองยิงสกัดออกไป ลูกปืนไปถูกลูก นัยน์ตาขวาของกวาง ถึงแก่ตาบอด แต่ต่อมาไม่ช้านาน เขาผู้นั้นไปตัดฟืนในป่า ถูกกิ่งไม้วัดเข้าที่ตา ข้างขวา ถึงกับตาแตก และบอดในเวลาต่อมา เป็นที่น่าอัศจรรย์... (ที่กรรมตามทันอย่างรวดเร็ว)
   
หลวงพ่อไปๆมาๆ
       หลวงพ่อได้อยู่วัดวังตะกู เป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีอาจารย์รูปหนึ่ง เดินทาง มาจากจังหวัดนครราชสีมา ได้มาขอพักอยู่ที่วัดวังตะกู ครั้นอยู่นานเข้าก็มีประชาชนนับถือมาก เลยถือโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าอาวาส โดยมีทายกบางคนให้การสนับสนุน จึงได้รื้อกุฏิปลูกใหม่ ให้เรียงเป็น แถว เป็นระเบียบ ดูจะเป็นการขับไล่หลวงพ่อเขียนทางอ้อม โดยเว้นกุฏิของหลวงพ่อ ทิ้งไว้ให้โดด เดี่ยวอยู่องค์เดียว นอกจากนั้นยังได้สร้างเชิงตะกอนเผาศพ ไว้ด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กับกุฏิของ หลวงพ่อ เวลาเผาศพ กระแสลมก็จะพัดควัน และกลิ่นเข้าหากุฏิหลวงพ่อ จนตลบอบอวลไปหมด ทำ ให้ท่านได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะการเผาศพในสมัยนั้น กว่าจะไหม้หมดก็กินเวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้หลวงพ่อจะได้รับความทุกข์ทรมานเพียงใด ท่านก็ทนอยู่ได้โดยใช้ขันติธรรมไม่ยอมไปไหน อีกทั้ง ในขณะนั้น ทายกเก่าๆ ก็ตายเกือบหมดแล้ว ท่านจึงขาดที่พึ่ง ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ บ้านสำนักขุนเณร ขณะนั้นยังเป็น กำนันตำบลวังงิ้ว เป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล ทั้งมีความเคารพนับถือหลวงพ่อมาก จึงพร้อมกับ คณะทายก อุบาสก อุบาสิกา ได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อ ขอให้ไปจำพรรษาที่วัดสำนักขุนเณร ซึ่งอยู่ห่างไกลจากวัดวังตะกู ประมาณ ๕ กิโลเมตร คณะที่ไปนิมนต์หลวงพ่อได้รับปากกับท่านว่า จะช่วยสร้างกุฏิให้พอเพียงกับพระ ภิกษุสงฆ์ ที่ติดตามท่านไปด้วย ทั้งจะสร้างคอกม้าให้กว้างขวาง พอที่จะบรรจุม้าทั้ง ๗๐ ตัวของหลวง พ่อ ได้อย่างสบาย หลวงพ่อได้มองเห็นเจตนาดี และเสียอ้อนวอนมิได้ ก็รับนิมนต์ไปอยู่วัดสำนักขุนเณร  ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงพ่อจึงตัดสินใจที่จะไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร แต่ก่อนท่านจะจากไป หลวงพ่อได้ไปยืนทำสมาธิ ที่ใต้ต้นไม้ทุกต้น ภายในบริเวณวัดวังตะกู เสมือนหนึ่งท่านจะอำลา เทพยดา ที่ต้นไม้เหล่านั้น เพราะท่านอยู่ที่นี้มาถึง ๓๐ พรรษา เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย



หลวงพ่อไม่เปียกฝน
      เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย ก็พากันมานิมนต์หลวงพ่อให้กลับไปจำพรรษา ที่วัดวังตะกู ตามเดิม ด้วยความเมตตา ท่านก็กลับไปอยู่วัดวังตะกูอีก ๑ สัปดาห์ แล้วท่านก็ขอตัวกลับมาอยู่ วัด สำนักขุนเณร แต่นั้นมา สมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์ประทุม สุนทรเกล้า เจ้าอาวาสวัดวังตะกูสมัยหนึ่ง ได้ไปกราบนมัสการหลวง พ่อเขียน ที่สำนักวัดขุนเณร ได้ขออนุญาตท่านหล่อรูป และสร้างเหรียญหลวงพ่อ โดยจะจัดพิธีพุทธาภิเษก ให้ประชาชนบูชา เพื่อหารายได้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดวังตะกู หลวงพ่อก็อนุญาต ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น ทางคณะกรรมการได้นิมนต์ พระอาจารย์สำคัญๆ หลายรูปมาร่วมพิธีปลุกเสก เป็นอันมาก ในขณะประกอบพิธีอยู่นั้น ทั้งๆ ที่ท้องฟ้าแจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก ก็ปรากฏว่า... สายฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พระอาจารย์ต่างๆ ที่กำลังทำพิธีต้องหนีขึ้นกุฏิหมด เหลือแต่หลวงพ่อองค์เดียว กรรมการก็รีบเข้าไปนิมนต์ท่าน ขึ้นกุฏิหลบฝน แต่ท่านกลับบอกว่า ถ้าท่านลุกจากที่นี้อีกองค์หนึ่ง พิธีก็ เสียหมด ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า “ฝนมันตกไม่นานหรอกน่อ เพียง ๕ นาทีเท่านั้นก็หาย เทวดาเขาให้ ฤกษ์ดีน่อ” บรรดากรรมการทั้งหลาย ได้ฟังหลวงพ่อบอกเช่นนั้น ก็คอยจับเวลาดู ครั้นได้เวลาครบ ๕ นาที ฝนก็หยุดตก ขาดเม็ดทันที ! ท่านอาจารย์ประทุมคิดว่า สายฝนกระหน่ำอย่างนี้ หลวงพ่อคงจะเปียกฝน โชกไปทั้งตัว จึงนำเอาผ้า ไตรไปถวายหลวงพ่อ เพื่อให้ครองใหม่แทนผืนเก่า แต่หลวงพ่อบอกว่า “ไม่ เปลี่ยนน่อ” ปรากฏว่า ผ้าไตรที่หลวงพ่อครองอยู่นั้น ไม่เปียกฝนแม้แต่น้อย และบริเวณที่ท่านนั่งอยู่ ไม่มีแม้แต่ละอองฝน ประดุจมีคนมากางกลดเฉพาะตัวท่านฉะนั้น ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ฝนตกแต่ในบริเวณวัดเท่า นั้น นอกเขตวัดออกไป ไม่มีฝนตกเลย แม้แต่เม็ดเดียว

หลวงพ่อถูกร้องเรียน
      เนื่องจากสัตว์ป่า ที่ชาวบ้านเขานำมาถวายหลวงพ่อ มีจำนวนมากขึ้นทุกที และสัตว์เหล่านั้นมักจะไป เหยียบย่ำพืชผลของชาวบ้าน ได้มีบุคคลบางคนเขียนบัตรสนเท่ห์ ร้องเรียนไปยังนายอำเภอ บางมูลนาก ทางอำเภอจึงส่งเรื่องให้เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรพิจารณา ทางเจ้าคณะจังหวัด ได้รับหนังสือจากนายอำเภอแล้ว จึงได้ตั้งคณะกรรมการไปสอบสวนหลวงพ่อ เขียน ประกอบด้วยผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และมีปลัดอำเภอบางมูลนากร่วมด้วย ทาง คณะสงฆ์ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ไปสอบสวนให้ได้ตัวเจ้าทุกข์ ว่าเป็นความจริงตามคำร้อง เรียนหรือไม่ และให้สอบถามชาวบ้าน หากจะปลดหลวงพ่อเขียน จากตำแหน่งเจ้าอาวาส แล้วให้ พระที่อาวุโสรองลงมาเป็นเจ้าอาวาสแทน จะขัดข้องหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการเดินทางไปถึงวัด ได้เรียกประชุมชาวบ้าน ในเบื้องต้น ปลัดอำเภอฯได้สอบถาม หลวงพ่อเขียนว่า “หลวงพ่อเลี้ยงสัตว์ และผสมพันธุ์ จนมีเป็นจำนวนมาก ใช่หรือไม่ ? ” หลวงพ่อตอบว่า “อาตมาไม่ได้เลี้ยง ชาวบ้านเขาพากันนำมาถวาย ขัดศรัทธาไม่ได้ก็รับไว้น่อ ทั้ง อาตมาก็ไม่ได้ผสมมัน พวกมันผสมกันเองน่อ” จากนั้น คณะกรรมการได้สอบถามหาตัวเจ้าทุกข์ผู้ร้องเรียน แต่ไม่มีผู้ใดแสดงตัวออกมา ครั้นคณะกรรมการสอบถามชาวบ้าน ถึงเรื่องจะเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาส ว่าเห็นสมควรให้พระอาวุโสองค์ใด เป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อเขียน ก็ไม่มีผู้ใดเสนอ เมื่อสอบถามต่อไปว่า ผู้ใดเห็นควรให้หลวงพ่อ เขียนเป็นเจ้าอาวาสต่อไป ปรากฏว่าชาวบ้านสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ในที่สุดคณะกรรมการก็เอาผิด หลวงพ่อเขียนไม่ได้ และจำต้องให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อไป

สร้างโรงเรียน
      หลวงพ่อเขียน พร้อมด้วยกำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ได้ ช่วยกันก่อสร้าง ถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา ณ วัดสำนักขุนเณร หลายอย่าง ดังนี้ ๑. กุฏิหอสวดมนต์ ๒. หอประชุมสงฆ์ ๓. สร้างสะพานข้ามคลอง เชื่อมวัดกับหมู่บ้าน ๔. สร้างพระประธาน ๑ องค์ ๕. สร้างศาลาหลังใหญ่ กว้าง ๑๒ วา ยาว ๑๕ วา ๖. สร้างพระอุโบสถ ๑ หลัง เนื่องจาก กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ ได้ยกที่ดินให้ เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน หลวงพ่อเขียน ท่านได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มอบปัจจัยจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทแก่ทางราชการ เพื่อสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนแห่งนี้ เมื่อโรงเรียนสร้างเสร็จ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดสำนักขุนเณร (หลวงพ่อเขียนอุทิศ) เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งคุณความดีของหลวงพ่อ โรงเรียนแห่งนี้ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้น ประถมปีที่ ๑ ถึง ประถมปีที่ ๗ (ปัจจุบันเหลือแค่ ประถม ปีที่๖) นับว่าหลวงพ่อได้ช่วยสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนของชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ด้วยเมตตา ธรรมของท่านเป็นอย่างยิ่ง การเจริญกรรมฐานของหลวงพ่อนั้น ท่านมักจะปฏิบัติในเวลาดึกสงัด ปราศจากสรรพสำเนียงรบกวน ชาวบ้านจำนวนมาก ไม่มีผู้ใดทราบ ว่าหลวงพ่อใช้เวลาเจริญกรรมฐานตอนไหน เพราะในยามค่ำคืน จะมีแสงไฟสลัวๆ ในกุฏิของหลวงพ่อเสมอๆ และมักจะดับเอาตอนรุ่งสางแล้ว ตามปกติในเวลากลางวัน ท่านก็ต้องออกมานั่งปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ชาวบ้าน ที่พากันหลั่งไหลมา นมัสการไม่ขาดสาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นประจำ

ท่านถึงแก่การมรณภาพ
 แม้กระทั่ง เมื่อสังขารของท่าน ทรุดโทรมมาก แล้วก็มิได้เว้น หลวงพ่อเขียน มีโรคประจำตัวท่านอยู่โรคหนึ่ง นั่นก็คือ โรคหืด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานท่านเป็นอย่าง มาก เมื่อเวลาโรคกำเริบ แต่หลวงพ่อจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา เพราะท่านระงับด้วยขันติธรรม ต่อมา เมื่อท่านชราภาพมากขึ้นทุกขณะ ท่านฉันภัตตาหารไม่ค่อยจะได้ ทำให้เรี่ยวแรงหมดไปทุกที คณะกรรมการวัด และศิษยานุศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อไปรักษา ที่สถานพยาบาลในตลาดบางมูลนาก แต่ เนื่องจากความชรา และโรคกำเริบ สุดความสามารถของแพทย์จะรักษาท่านได้ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพ ด้วยอาการสงบ ในคืนวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เวลา ๒๓.๕๐ น. สิริรวมอายุได้ ๑๐๘ ปี

หนีไม่พ้น
       หลวงพ่อเขียนท่านศักดิ์สิทธิ์ แม้เมื่อท่าน มรณภาพไปแล้ว ดังเช่นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ได้มีคนร้าย ไม่ทราบจำนวนนำรถยนต์มาขน พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ที่หลวงพ่อเขียนได้หล่อไว้ ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดวังตะกู ประมาณ ๔๐ กว่าปี มาแล้ว ต่อมา พระอุโบสถพัง ทางวัดจึงย้ายไปประดิษฐานไว้ ในพระวิหารวัดวังตะกู พร้อมด้วยพระ ประธาน และรูปหล่อของหลวงพ่อ คนร้ายจำนวนดังกล่าว ได้ลอบไขกุญแจเข้าไปหามเอาพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ออกมาได้แล้ว แต่ยังไม่พ้นเขตวัด คนร้ายอีกจำนวนหนึ่ง เตรียมติดเครื่อง ยนต์คอยอยู่นอกวัด แต่กลุ่มที่อยู่ในวัด หาทางออกนอกวัดไม่ได้ รถที่อยู่นอกวัดก็เกิดขัดข้อง แก้ไข เท่าใดก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ คนร้ายที่ช่วยกันหามพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงจำเป็น ต้องนำพระทั้งสององค์ไปซุ่มไว้ ข้างที่บรรจุอัฐิ นายมานพ จันทร์พวง เหล่าคนร้ายทั้งหมด ได้กลับมา ที่รถ และ ช่วยกันแก้ไขรถ อยู่นานหลายชั่วโมง จนฟ้าเริ่มสาง เป็นเวลาที่ชาวบ้านจำนวนมาก มาตักน้ำในสระของวัด พอชาวบ้านมากันมากเข้า รถก็ติดพอดี คนร้ายไม่กล้าวกกลับไปขนเอาพระที่ซ่อน ไว้ จึงจำต้องขับรถหนีไป เมื่อคนร้ายไปแล้ว ชาวบ้านเห็นประตูวิหารเปิดอยู่ และไม่เห็นพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงนำ ความไปแจ้งแก่เจ้าอาวาส และช่วยกันหาอยู่นานก็ไม่พบ ในที่สุดเจ้าอาวาสวัดวังตะกู ได้จุดธูปเทียน บอกกล่าวแก่หลวงพ่อเขียน จึงได้พบพระ ถูกซ่อนไว้ในที่บรรจุอัฐิ... อำนาจจิตอันมหัศจรรย์ของหลวงพ่อเขียน ยังมีอีกมากมาย และเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันไป ควบคู่ กับคุณงามความดีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านบางมูลนาก จนตราบเท่าทุกวันนี้ 


 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.luangporthob.com/forum/index.php?topic=437.0

49


พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์
สวัสดีครับ...เราขอนำท่านมาเที่ยวชมและสักการะ พระพุทธรูปแกะ
สลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ เราจะนำเรื่องราวและประวัติของสถานที่แห่งนี้มาให้ชมกัน
เขาชีจรรย์เริ่มมีการกล่าวขานมากขึ้น เมื่อได้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉาย
ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 น้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาส
ทรงครองสิริราชสมบัติปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระพุทธรูปแบบ
ประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ความสูง 109 เมตร
 

 
ประวัติการสร้าง
จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมี
ความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหิน
ฟิลไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอา
วาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่อ
อยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถาน
สำคัญทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดย
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปาง
มารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความ
สูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ "

ขั้นตอนการสร้าง
 การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้าง
พระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา
เขาชีจรรย์ การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชน
ที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์
ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ
และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นของ
องค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะ
ที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์
เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อ
การมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสง
เลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็
ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่
31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร
และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป 


ก่อนการก่อสร้าง


ระเบิดหิน


ทรงคุมงานก่อสร้าง


ยิงแสงเลเซอร์


ทรงบรรจุพระบรมธาตุ


ส่งขึ้นไปที่พระอุระ


ตำแหน่งพระอุระ
 

พระเนตรพระพุทธรูป
 

นำพระเนตรมาติดตั้ง


ทำพิธีเปิด

คำแนะนำการเที่ยวชม
การเยี่ยมชมสามารถเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น. การเยี่ยมชมควรแต่งกายด้วยความสุภาพ และปฎิบัติตาม
ป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด และงดเสียงดัง และควรระวังไม่เข้าใกล้องค์พระเกินกว่าที่กำหนดเพราะอาจเกิดอันตรายจากหินที่อาจล่วงหล่นลงมาได้ สถานที่แห่งนี้จะอยู่
ใกล้กับ อเนกกุศลศาลา และวัดญาณสังวราราม ซึ่งสามารถเดินทางระหว่างสถานที่ได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ แห่งนี้มี
ผู้เข้ามาเยี่ยมชมและแวะมาสักการะทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งเราควรช่วยกันดูแลรักษาให้อยู่สืบไป และการเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ เรือเอก สัมพันธ์ เสียงสืบชาติ ผู้ที่ให้ข้อมูลและภาพถ่ายในครั้งนี้ให้เรานำมาเผยแพร่ให้ได้รับชมกัน และหากท่านใดต้องการติดต่อเข้ามาเยี่ยมชมเป็น
พิเศษหรือต้องการใช้พื้นที่ในการนั่งกรรมฐานหรือประกอบกิจกรรมทางศาสนาซึ่งทางผู้ดูแลจะคอยอำนวยความสะดวกแก่ท่านในการใช้สถานที่ ก็ให้ติดต่อมาที่
คณะทำงานดูแลบำรุงรักษาพระพุทธมหาวิชรอุตตโมภาสศาสดา ฯ
หมู่ที่ 7 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20250


หมู่คณะมาทัศนศึกษา





ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูลและภาพ...
จาก...http://www.sattahipbeach.com/sheettoursattahippage13.html

50
ธรรมะ / คำสอน...ของพระอริยะ
« เมื่อ: 12 ก.ค. 2553, 12:20:47 »



     






credit : เว็บพลังจิต

51


พระครูสิทธิยาภิรัตน์ มีนามเดิมว่า เอียด ทองโอ่ เกิดที่บ้านดอนนูด ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2425 เป็นบุตรของนายรอด นางพัด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อแก้ว เริ่มการศึกษาหลังจากบิดาได้ถึงแก่กรรมแล้ว โดยมารดาได้นำไปฝากพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ร่ำเรียนจนรู้หนังสือขอมไทย เมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ มีพระอาจารย์ทองเฒ่า เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปทุมสโร ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ต่อมาทางวัดดอนศาลา ว่างเจ้าอาวาสลง คณะพุทธบริษัทของวัดดอนศาลา ได้พร้อมในกันนิมนต์อาจารย์เอียดมาเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาไม่นานท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับในปี 2473 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี 2480 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสิทธิยาภิรัตน์ แต่ชาวบ้านยังนิยมเรียกท่านว่า " พ่อท่านเอียด " หรือ " พ่อท่านดอนศาลา " บางทีก็เรียกว่า " พระครูสิทธิ์ "

     พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอภาค ใครมีความทุกข์ร้อนไปหาท่าน ถ้าท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที เป็นคนที่เคารพในเหตุผล จึงต้องเป็นตุลาการให้คนในหมู่บ้านอยู่เสมอ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้นำชาวบ้านดอนศาลาและบริเวณใกล้เคียงพัฒนาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัด และจัดสร้างอาคารเรียนถาวรให้โรงเรียนวัดดอนศาลาเป็นผลสำเร็จ ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนมาจนทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นผู้นำในการขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน ตัดถนนจากวัดเชื่อต่อกับถนนสายควนขนุน-ปากคลอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อกับตัวอำเภอได้สะดวกยิ่งขึ้น

     เมื่อ พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจีน ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารไปร่วมรบในสงครามครั้งนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารอาสาสมัคร และพลเรือนในยามสงคราม พระครูสิทธิยาภิรัตน์ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายชนิด เช่น พระเครื่อง ลูกอม ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ผ้ารองหมวก ตะกรุด ปลอกแขน โดยทำพิธีปลุกเสกที่วัดเขาอ้อ วัตถุมงคลเหล่านี้ได้แจกจ่ายให้แก่ ทหารอาสาสมัคร พลเรือน พระเครื่องที่สำคัญที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คือ พระมหายันต์ และพระมหาว่าน ขาว-ดำ การสร้างเครื่องรางของขลังในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างสนองคุณแก่ประเทศชาติ เยี่ยงพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ที่เคยช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมาแล้วในอดีต

     พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นพระเถระที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติเป็นอันมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2491 รวมอายุได้ 66 ปี





ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ " วัดดอนศาลา " โดย ธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น จำเริญ เขมานุวงศ์ พ.ศ.2532

52


ประวัติ

พ่อท่านสังข์ เดิมชื่อสังข์ ซ้ายคล้าย เป็นชาว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช เกิดที่บ้านดอนตรอ ในรัชกาลที่ 5 ที่บ้านประดู่โพรง
เมื่อวันศุกร์ที่ 16 เดือน กันยายน 2449 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม บิดาชื่อ คล้าย ซ้ายคล้าย มารดาชื่อ พูน ซ้ายคล้าย

บรรพชาเป็นสามเณรเมือ่อายุ 15 ปี เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบท ได้รับฉายาว่า "เรวโต" มีพรรษารวม 78 พรรษา
มรณภาพลงเมื่อ อายุ 98 ปี เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2547 โดยแพทย์ระบุว่าเส้นเลือดในสมองแตก ที่โรงพยาบาลมหาราช จ.นครศรีธรรมราช 

พ่อท่านสังข์เป็นพระอริยสงฆ์แดนใต้ สุดยอดเกจิแห่งดินแดนเชียรใหญ่ ที่เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ   ท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่พระครูเรวัตรศิลคุณ กิตติคุณของท่านก็เป็นที่กล่าวขวัญกันทางภาคใต้มานานนับเป็นหลายสิบปี  นอกจากนี้พ่อท่านสังข์ยังได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลครั้งสำคัญของภาคใต้หลายพิธีด้วยกัน เช่น จตุคามปี30   และยังเป็นพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ร่วมปลุกเสกเหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง รุ่น 2 ซึ่งนอกจากจะเป็นเหรียญตายแล้ว ก็ยังเป็นเหรียญย้อน พ.ศ. อีกด้วย แต่กลับมีราคาเล่นหาอยู่หลักหมื่น ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากมีประสบการณ์สูงมาก เป็นพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกย่องจากพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ว่ามีวิทยาคมสูงเป็นเลิศ




                              พ่อท่านสังข์ออกเหรียญรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของท่าน เมื่อ พ.ศ. 2514 ท่านปลุกเสกอยู่เป็นเวลานานถึงนำออกแจก ตอนเหรียญออกใหม่ๆไม่นานนัก มีชาวบ้านนำไปทดลองยิงปรากฏว่ากระสุนด้าน แต่พ่อนำลูกปืนลูกนั้นมายิงอีกครั้งโดยหันปากกระบอกปืนไปทางด้านอื่น ปรากฏว่ากระสุนระเบิดยิงออกทุกนัด พอข่าวแพร่ออกไปจึงมีชาวบ้านมาขอเหรียญกันมาก จนทำให้เหรียญหมดจากวัดไปในเวลาเพียงไม่กี่เดือน เป็นเหรียญประสบการณ์ สั่งสมเรื่องราว คำบอกกล่าว จากปากต่อปาก

เหรียญของท่านเป็นเหรียญที่มาในแรงก็ด้วยประสบการณ์ที่ชัดเจน จึงทำให้มีการเสาะหากันมากมาจนทุกวันนี้โดยเฉพาะพื้นที่แล้วสู้กันสุดๆ ด้านราคาก็อยู่ที่หลักพันปลายๆถึงหมื่นสวยจริงก็หมื่นกว่าตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ครั้นพอท่านมรณภาพไปแล้วก็ยิ่งมีคนเสาะหากันมากขึ้นไปอีก จึงทำให้ค่านิยมของเหรียญขณะนี้พุ่งขึ้นสู่หลักหมื่นกลางๆ แต่ก็ยังหาคนปล่อยยากครับ พ่อท่านสังข์นอกจากจะมีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของคนภาคใต้แล้ว ท่านยังมีอายุยืนยาวเฉียดๆ ร้อยปีเลยทีเดียวโดยวันที่ท่านมรณะภาพที่นครศรีฯไฟดับโดยไม่มีสาเหตุ และเป็นเกจิอีกรูปหนึ่งที่เผาไม่กินไฟเช่นเดียวกับเกจิก่อนหน้านี้ คือ พ่อท่านเขียว และพ่อท่านมุ่ย แถมสังขารท่านไม่เน่าเปื่อยครับ เหมือนพ่อท่านเขียว วัดหรงบล ซึ่งท่านทั้ง2 อยู่จ.นครศรีธรรมราชเช่นเดียวกัน          วัตถุมงคลที่ท่านสร้างนั้นมีประสบการณ์เข้มขลังมากด้านคุ้มครองแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน   คนในพื้นทื่รู้กันดีเพราะ ท่านเป็นเกจิที่ปฏิบัติดี มาตลอด คนเมืองคอนเคยบอกไว้ว่ายิ่งถ้าเป็นพระของท่าน ศักดิ์สิทธิ์ขนาดอธิษฐานให้ตัดรุ้งขาดได้เลยครับ




ขอขอบคุณที่มา...http://www.kreungrarngclub.com/forum/index.php?topic=587.0

53


ประวัติ

พระธรรมิสรานุวัตร หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก

ชาติภูมิ
กล่าวกันว่าหลวงพ่อแดง นามเดิมชื่อ แดง นามสกุล ต่างศรี นามฉายาอิสสโร
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่15 ตุลาคม 2430 ตรงกับขึ้น1ค่ำ เดือน1(อ้าย) ปีชวด ณ บ้านเหลียงเล้า
ตำบลน้ำดำ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ นามบิดา นายบุญช่วย นามมารดา นางพุ่ม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6คน

ชีวประวัติของท่าน
เมื่อยามเยาว์วัย เด็กชายแดงได้ย้ายตามครอบครัวของบิดามารดา มาสู่บ้านโคกมัน ตำบลท่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเด็กเงียบขรึม แต่มีนิสัยช่างทำแม้ทำงานหนักบางสิ่งก็ไม่ปรกปากบ่น แต่ไม่ยอมคนง่ายๆตามนิสัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นท่านได้ออกจากบ้านเพื่อแสงหาโชคความก้าวหน้าในชีวิต ท่านได้เข้าทำงานเป็นที่ ชะมายเป็นผู้ดูแลสร้างทางรถไฟอยู่ประมาณปีกว่าๆ เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (หลวงพ่อแดง)จึงได้เข้าไปอยู่วัดหาดสูง

ยามบวชเรียน
หลวงพ่อแดง บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธ ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2446 ตรงกับ แรม 10 ค่ำ เดือน10 ปีเถาะ อายุ16ปี ณ วัดหาดสูง ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช มีพระอธิการกลาย (หลวงปู่กลาย)เป็นพระอุปัชฌาย์ ชีวิตการศึกษา ท่านเล่าว่า เริ่มต้นตั้งแต่โสตนอโม อันเป็นอักษรโบราณทั้งภาษาขอม ไทย และบาลีเขียนกันที่กระดานชนวน ลบไปเขียนไป จนเข้าใจ ท่านได้เล่าเรียนคาถาพุทธาคม (ไสยศาสตร์ เลข ยันต์ตลอดถึงหมอโบราณ)จนมีความชำนิชำนาญ ท่านมีความสามารถในด้านความจำดีเยี่ยม (นี้เป็นคำพูดของหลวงพ่อท่านคล้ายได้เล่าให้ผู้เขียนฟัง ครั้งไปกราบท่านที่วัดพระธาตุน้อย ในครั้งหนึ่ง) ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่นานถึง 3ปีกว่า จน(หลวงพ่อแดง)มีอายุพรรษาครบอุปสมบทได้

อุปสมบท
สามเณรแดงได้อุปสมบทเมื่อ วันพุธ ที่20 สิงหาคม พ.ศ.2450 ขึ้น 11ค่ำ เดือน 7ปีมะแม ณ วัดหาดสูง โดยมีพระอธิการกลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอะการสังข์ วัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ชีวิตเป็นสมณะ เมื่ออุปสมบท แล้ว พระแดง อิสสโร(หลวงพ่อแดง) ก็ได้จำพรรษาที่วัดหาดสูง 1พรรษา
พ.ศ.2452 ออกจากวัดหาดสูงได้ไปจำพรรษษที่วัดท่ายาง
พ.ศ.2453 เดินทางไปอยู่ที่วัดอรัญคามวาสี (วัดกะชุม) ต.พ่วงพรหมคร อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ท่านอยู่ที่นี่จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตำแหน่งฐานานุกรม ที่พระใบฎีกาแดง อิสสโร เป็นเวลานานถึง 29พรรษา

   (หลวงพ่อแดง)ท่านได้ปฏิบัติภารกิจทั้งงานปกครอง งานการศึกษา และงานด้านสาธารณูปการ ได้อบรมกุลบุตรกุลธิดา ให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี ให้มีการเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม ได้อุปการะและส่งไปเล่าเรียนในสำนักต่างๆ ด้านการก่อสร้างท่านได้ สร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ ที่วัดกระชุมจนเป็นวัดโดยสมบูรณ์ทุกประการ พ.ศ.2480 หลวงพ่อแดงท่านจึงเดินทางทางกลับมารักษาการเจ้าอาวสาวัดภูเขาหลัก แทนพระครูนนทสิกกิจ ที่ได้มรณภาพลง

งานปกครอง
พ.ศ. 2480 รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2481 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2483 เป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2490 หลวงพ่อแดง เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสัง
พ.ศ. 2491 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2491 เป็นเจ้าคณะกิ่งอำเภอท่ายาง
พ.ศ. 2500 เป็นเจ้าคณะอำเภอทุ่งใหญ่

งานศึกษา
พ.ศ. 2481 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการและผู้อุปการะโรงเรียนวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2480-2515 หลวงพ่อแดงท่านจัดการศึกษาแผนกธรรม ให้พระภิกษุสามเณร เรียนธรรมศึกษาทั้งแม่ชีและฆารวาส จนได้ชั้น ตรี โท เอก นศ. ตรี โท เอก มีจำนวนดังนี้ พระภิกษุ 1059รูป สามเณร 350รูป ธรรมศึกษา 140 รูป

งานเผยแพร่พระศาสนา
พ.ศ.2480 -พ.ศ.2515 หลวงพ่อแดงท่านได้อบรมพระภิกษุและสามเณรแนะนำการศึกษา ให้มีสมณะสัญญา รู้จักการปฏิบัติ เป็นอยู่ตามกฏระเบียบพระวินัย อบรมศีลธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกา

งานสาธารณูปการ
ตั้งแต่"หลวงพ่อแดง"ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก ได้จัดสร้างศาลาโรงธรรม กุฏิ หอสวดมนต์ และท้ายสุดในปลายชีวิตของท่านได้ก่อสร้างอุโบสถ และท่านยังเป็นประธานในการสร้างวัดต่างๆ ใว้หลายแห่งเช่น วัดควนสระบัว สร้างโรงเรียนวัดควนสระบัวให้ 1หลัง วัดธรรมิการาม ที่บ้านวังหิน เป็นต้น

สมณศักดิ์ "พระครูธรรมิสรานุวัตร"
พ.ศ.2485 ได้รับฐานานุกรม ที่ พระปลัดแดง ของพระครูถาวรบุญรัตน์
พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในราชทินนามว่า "พระครูธรรมิสรานุวัตร"
พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในราชทินนามเดิมว่า "พระครูธรรมิสรานุวัตร"

เหรียญหลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก รุ่นแรก สร้างที่ วัดมกุฏิฯ เมื่อปี 2502 จำนวน 4,000 เหรียญ แล้วนำมาปลุกเสกที่วัดภูเขาหลัก พิธีใหญ่มาก มีท่านเขิม ซึ่งบวชที่วัดใหม่ ในตอนนั้น เป็นผู้ตะเตรียมงานพิธี หลวงพ่อแดง พ่อท่านคล้าย และอีกหลายท่าน จำไม่ค่ายได้แล้ว ร่วมกันปลุกเสกในโบสถ์ พอปลุกเสกเสร็จ ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก พ่อท่านแดงเก็บไว้ที่วัด เอาไว้แจกชาวบ้านที่มาทำบุญ และแจกคนผ่านไปผ่านมา จำนวน 2,000 เหรียญ และมีจำนวนหนึ่งที่หลวงพ่อแดง ได้ตัดหูเหรียญเองเพื่อเข้ากรอบ(หลวงพ่อแดง ตัดด้วยตัวเอง) .... อีกส่วนผู้ใหญ่ส้าน คนบ้านส้อง แบ่งไปแจกจ่ายให้กับวัดต่าง ๆ จำนวน 2,000 เหรียญ และในปี2502 ได้ปลุกเสกเนื้อว่านกัน โดยเนื้อว่านหลวงพ่อแดง จัดทำไว้เสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี 2501 แต่เอามาร่วมปลุกเสกในปี 2502" แล้วต่อมาในปี2504 ก็ได้จัดสร้างอีก 2,000 เหรียญ

รูปหล่อหลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก รุ่นแรก สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 จำนวนการสร้าง 8,000 องค์ สร้างที่ข้างวัดคอกหมู ที่กรุงเทพ แล้วนำกลับมาปลุกเสกที่วัดภูเขาหลัก ซึ่งข้างในที่เป็นกริ่งดัง ถ้าใครบอกว่าเป็นเหล็กไหล อย่าไปเชื่อ เพราะฉานจำได้ ฉานเป็นคนนำไปทำเองกับมือเลย กริ่งนั้นทำจากตะปูตัวเล็ก เพราะเหล็กสมัยก่อนจะเป็นเหล็กดี เหล็กกล้า กริ่งเลยดังดี ไม่ใช่ดังดีเพราะเป็นเหล็กไหล อย่าไปเชื่อ" หลวงพ่อผดุงยืนยัน




หลวงพ่อผดุง เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อแดง


ซุ้มประตูทางเข้าวัดภูเขาหลัก



พระเจดีย์เก่าแก่ประจำวัด ศิลปะศรีวิชัย


รูปเหมือน"หลวงพ่อแดง ที่วัดภูเขาหลัก"


หลวงพ่อแดง ปกครองวัดตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2481 - 2515



ขอขอบพระคุณ
การจัดทำประวัติพระธรรมิสรานุวัตร หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก โดย...พระครูอดุลธรรมาภรณ์

54


พระอาจารย์นำ ชินวโร เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนเก้า (สิงหาคม) พ.ศ.2434 ที่บ้านดอนนูด ตำบลปันแต (บ้านดอนนูดมีอาณาเขาติดต่อกับ 3 ตำบล คือ ตำบลปันแต ตำบลควนขนุน ตำบลมะกอกเหนือ) เป็นบุตรของนายเกลี้ยง นางเอียด แก้วจันทร์ มารดาได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเล็กอยู่ (หลังจากคลอดบุตรหญิงคนสุดท้อง) บิดาเป็นอาจารย์ที่เก่งกล้าทางไสยศาสตร์ ดังนั้นพระอาจารย์นำ จึงได้มีโอกาสศึกษาวิชาทางไสยศาสตร์เบื้องต้นแต่เยาว์วัย นอกจากนั้น บิดายังได้นำไปฝากให้ศึกษาวิชาเวทมนตร์คาถากับพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากสมัยนั้น จนอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 6 พรรษา จึงลาสิกขา แล้วได้สมรสกับนางสาวพุ่ม มีบุตรชาย หญิง ด้วยกัน 4 คน
     จนกระทั่ง พ.ศ.2506 พระอาจารย์นำ ได้ป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ได้มีลูกศิษย์ของท่านประทับทรางหลวงพ่อที่วัดเขาอ้อ (บ้างก็ว่าท่านฝันเห็นพระอาจารย์ทองเฒ่า) บอกว่าหากจะให้หายป่วยจะต้องบวช ซึ่งท่านก็รับว่าถ้าหายป่วยแล้วจะบวชทันที ปรากฏว่าอาการป่วยของท่านก็หายเป็นปกติ ดังนั้นพระอาจารย์นำจึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และได้อยู่ในเพศบรรพชิตตลอดมาจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2519 รวมอายุได้ 85 ปี ต่อมาในปี 2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2520



พระอาจารย์นำ ชินวโร ได้ทำคุณประโยชน์หลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่

     1.การช่วยเหลือราชการปราบปรามโจรผู้ร้าย
     ในสมัยที่พระอาจารย์นำ ยังเป็นฆราวาส พ.ศ.2466 ทางมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ส่งพระยาวิชัยประชาบาล ผู้บังคับการตำรวจมณฑลนครศรีธรรมราช ไปปราบโจรผู้ร้ายในจังหวัดพัทลุง ไปตั้งกองปราบที่วัดสุวรรณวิชัย ปรากฏว่าพระอาจารย์นำ ได้เป็นกำลังสำคัญในการนำสืบจับโจรผู้ร้าย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามครั้งนั้นมาก จนสามารถปราบปรามโจรผู้ร้ายได้สงบราบคาบ
    2.การสร้างวัตถุมงคล
     พระอาจารย์นำ ได้สร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก ทั้งที่สร้างด้วยตัวท่านเองและสร้างร่วมกับคณาจารย์ผู้อื่นเช่น พ.ศ.2483 ร่วมมือกับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ (เอียด) สร้างพระมหาว่าน ขาว-ดำ และพระมหายันต์ แจกให้ทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน พ.ศ.2512 ได้สร้างพระเนื้อผงผสมว่าน จำนวน 4 พิมพ์ พ.ศ.2513 สร้างพระปิดตาเนื้อชิน ตะกั่ว พ.ศ.2519 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณะพันธุ์ยุคล ได้สร้างเหรียญรูปเหมือนพระอาจารย์นำ และพระกริ่งทักษิณ ชินวโร ซึ่งเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้ายของท่าน นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างตะกรุดและผ้ายันต์ไว้มากมาย วัตถุมงคลเหล่านี้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา ของประชาชนทั่วไป ในวงการพระเครื่องแสวงหากันมาก จนปัจจุบันกลายเป็นวัตถุมงคลที่หาได้ยากยิ่งอย่างหนึ่ง



    3.การสร้างอุโบสถ
     ท่านได้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อยในปี 2519 ซึ่งเป็นปีที่ท่านถึงแก่มรณภาพ พระอาจารย์นำ เป็นผู้มีจิตเมตตา กรุณา มีอุเบกขา ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่พบเห็น ท่านได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อสังคมโดยส่วนรวมมากมาย และยังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ปัจจุบัน ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ดังจะเห็นได้จาก เมื่อพระอาจารย์นำยังมีชีวิตอยู่ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จและทรงเยี่ยมอาการป่วยของท่าน โปรดประทับอยู่ในกุฏินานถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระอาจารย์นำเป็นอย่างยิ่ง





อ้างอิง : หนังสือ " วัดดอนศาลา " โดย ธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น จำเริญ เขมานุวงศ์ พ.ศ.2532

ขอขอบพระคุณที่มา...http://prakrueng.muanglung.com/gajinum.htm


55


ประวัติ


พระครูวิบูลย์ธรรมกิจ สถานะเดิม ชื่อบัวเกตุ นามสกุล กิจสุภาพศิริกุล เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๗ บิดาชื่อนายตงหริ่น แซ่สิ มารดาชื่อ เปีย แสงศรี เกิด ณ บ้านสวน ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี บรรพชาอุปสมบท ณ วัดช่องลม ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อวันจันทร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะมเย ตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เวลา๑๑.๐๕ น. โดยมีพระเทพกวี (จั่น วิจญฺจโล) ท่านเป็นพระที่ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัด ตามหลักพระธรรมวินัย ไม่ยอมก้าวล่วงแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เป็นพระสงฆ์ที่กราบไหว้ได้สนิทใจ ท่านพระอาจารย์บัวเกตุ หรือพระครูวิบูลธรรมกิจ ท่านเป็นพระสายวัดเทพศิรินทราวาส และเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฎิบัติชอบ ตามรอยท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ) ซึ่งเป็นพระบูรพาจารย์ของท่าน ซึ่งประชาชนในภาคตะวันออก และทางภาคเหนือ เคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก บรรดาศิษยานุศิษย์ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้สร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ หลายอย่างให้ท่านได้อธิฐานจิตปลุกเสกเพื่อ แจกจ่ายให้บรรดาศิษยานุศิษย์ทั่วไป

พระเครื่องของหลวงพ่อ...บางส่วน

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อบัวเกตุ ปทุมสิโร วัดช่องลม นาเกลือ บางละมุง ชลบุรี








ขอขอบคุณที่มา...http://www.csn-advance.com/chon/index.php?c=showitem&item=907
                   ...http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=361105&storeNo=4280

56


วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์
พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร



วัดญาณสังวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ๒๐๒๖๐

   สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๑๙ นายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธิวดี อันตระการ พร้อมด้วยบุตรธิดา มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินจำนวน ๑๐๐ ไร่ ๑ งาน ๙๒ ตารางวา แด่ สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน) เพื่อสร้างวัดในพระพุทธศาสนา และปรารถนาให้มีนามตามทินนามสมณศักดิ์ของสมเด็จฯ วัดนี้จึงมีชื่อว่า "วัดญาณสังวราราม"

   ในระยะแรกวัดนี้มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ และได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓ และรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาภูมิพลมหาราช ทรงพระมหากรุณารับไว้เป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดญาณสังวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ปัจจุบันอาณาเขตของวัดมีพื้นที่ ๓๖๖ ไร่ ๒ งาน ๑๑ ตารางวา นอกจากนี้ยังมีเนื้อที่ในเขตโครงการพระราชดำริประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่เศษที่ติดต่อกับอาณาเขตวัด

   เนื่องจากบริเวณพื้นที่สร้างวัดเป็นที่ราบเชิงเขาห่างจากถนนสุขุมวิทช่วงระหว่างบางละมุง-สัตหีบ โดยแยกเข้ามาจากถนนทางหลวงประมาณ ๕ กิโลเมตร ทางการจึงได้ทำการตัดถนนเข้ามาจนถึงวัดทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น จึงได้มีการก่อสร้างปูชนียวัตถุสถานขึ้นตามลำดับ เช่น พระอุโบสถ, พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์, พระมหามณฑป พระพุทธบาท ภปร. สก., ศาลาอเนกกุศลขนาดใหญ่สองหลัง สว.กว. (ศรีสังวาลย์กัลยาณิวัฒนา) และ มวก.สธ. (มหาวชิราลงกรณ์ สิรินธร)

   วัดญาณสังวรารามอาจถือเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากคณะผู้สร้างวัดได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ

   วัดนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระกรุณานานัปการจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ทรงอุปถัมภ์ในการก่อสร้างตลอดมา และทรงรับเป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นวัดในพระองค์อีกด้วย














วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี



ขอขอบคุณที่มา... http://www.dhammathai.org/watthai/east/watyanasangwararam.php
                   ...http://www.relicsofbuddha.com/page10-3.htm

57


พระมงคลศีลาจารย์ หรือหลวงปู่คร่ำ ยโสธโร

ชาววังหว้าและหมู่บ้านใกล้เคียงเรียกนามท่านว่า”ท่านพ่อคร่ำ”ท่านมีอายุ๑๐๐ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
ี่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา๘๐นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทย
รูปหนึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศ
หลวงปู่คร่ำเป็นพระภิกษุที่มีบุญญาบารมีเป็นที่ปรากฏแก่ประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว
ท่านมีคุณูปการแก่สังคมหลายวงการอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายศาสนจักรและ
อาณาจักรทั้งในจังหวัดระยองและจังหวัดอื่นๆและเป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับการเคารพและ
คารวะศรัทธาเป็นอย่างสูงจากชาวพุทธทั่วประเทศ
เห็นได้จากงานพุทธาภิเษกที่สำคัญที่จัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง หลวงปู่จะได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีเกือบทุกครั้ง

เนื่องจากมีผู้ให้ความเคารพศรัทธาหลวงปู่คร่ำจำนวนมากต่างพากันยึดหลวงปู่เป็นสรณะในยามที่ต้องเผชิญกับภาวะ
คับขัน ทั้งยังขอพรบารมีจากท่านช่วยบันดาลใช้ประสบโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนา
มีความสุขสมหวังในชีวิตจึงมีผู้ให้สมญานามท่านว่า”เทพเจ้าของชาวระยอง”บ้าง”ท่านพ่อแห่งฝั่งทะเลตะวันออก”
บ้าง”เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก”ฯลฯรวมความว่าหลวงปู่คร่ำเป็นพระที่อยู่ในใจของทุกคน

กำเนิดหลวงปู่คร่ำมีนามเดิมว่า คร่ำ อรัญวงศ์ ท่านเกิด วันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา
ตรงกับวันที่๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โยมบิดาชื่อ
นายครวญ อรัญวงศ์ โยมมารดาชื่อ นางต้อย อรัญวงศ์
หลวงปู่เป็นบุตรคนโต มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน๓คนเป็นชายสองหญิงหนึ่งคือ
๑. นางเลื่อม อรัญวงศ์
๒. นายเกิด อรัญวงศ์
๓. นายทองสุข อรัญวงศ์

ต้นตระกุลของหลวงปู่
ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านวังหว้ามาช้านานหลายชั่วอายุคนมีญาติพี่น้องมากมายหลายสาย
หลายตระกุลครอบครัวของท่านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ในย่านนั้น เฉพาะอย่างยิ่ง
อาชีพทำสวนพริกไทย ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อของอำเภอแกลงในสมัยนั้นเช่นเดียวกับจังหวัดจันทบุรี
ที่มีเขตแดนติดกัน(เดิมอำเภอแกลงขึ้นอยู่กับจันทบุรี)

เล่ากันว่าเมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๕ ปี หลังจากไปเรียนหนังสือที่วัดระยะหนึ่งแล้ว
ก็กลับมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพสวนพริกไทย ดังที่บรรพบุรุษทำกันมา แต่ครั้งนั้นได้เกิดฝนแล้งไปทั่ว
บรรดาสวนพริกไทยในละแวกนั้นทั้งหมดได้พากันเหี่ยวแห้งเฉาตายชาวบ้านแถบหมดตัวไปตามๆกันทุกครัวเรือนครอบครัว
หลวงปู่คร่ำจึงได้เลิกทำสวนพริกไทยและหันไปประกอบอาชีพอื่นตั้งแต่นั้นมา
การศึกษา เมื่อเยาว์วัย หลวงปู่คร่ำเป็นเด็กฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณดี
เมื่ออายุได้ประมาณ๑๑ปีโยมบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ตรีเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ตำบลวังหว้า
ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน โดยจัดพานดอกไม้ธูปเทียน

เครื่องสักการะนำไปถวายในวันพฤหัสบดี(วันครู)ตามประเพณีการเล่าเรียนและการบวชเรียนของสังคมไทยเราแต่โบราณมา
ในสมัยนั้นต้องเรียนกันตามวัด อาศัยวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอน
การเรียนไม่มีหลักสูตรกำหนดไว้ชัดเจนเช่นปัจจุบันแต่พระก็สอนจนลูกศิษย์สามารถอ่านออกและเขียนได้เป็นอย่าง
ดีทั้งอักษรไทยและอักษรขอมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากตำราต่างๆสมัยก่อนเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์ทาง
พุทธศาสนาจะเขียนด้วยอักศรขอมทั้งสิ้น ไม่มีหนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยเช่นทุกวันนี้
ผู้ที่เรียนหนังสือจะต้องเรียนภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาขอมด้วยเสมอ

การเรียนของหลวงปู่คร่ำนั้นมิได้เรียนเฉพาะที่วัดวังหว้าเท่านั้นท่านยังไปเรียนต่อกับสมภาร
หลำ ที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งอยู่ใกล้กับตำบลวังหว้าอีกด้วยเรียนอยู่จนอายุได้๑๕ปี
มีความรู้หนังสือดีแล้วจึงได้กลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม เพื่อช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพต่อไป
สมณเพศ เมื่ออายุครบ๒๐ปีหลวงปู่ได้อุปสมบทที่วัดวังหว้าเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง
ตรงกับวันที่๑๑มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับฉายาว่า”ยโสธโร”แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งยศหรือผู้ดำรงยศ
พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูสังฆการบูรพทิศ (ปั้น อินทสโร) เจ้าคณะแขวงแกลงวัดราชบัลลังก์
พระกรรมวาจารย์ คือพระใบฎีกาหลำ ปัญญายิ่ง รองเจ้าคณะแขวงแกลง วัดพลงช้างเผือก
พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดวังหว้า

หลวงปู่คร่ำมุ่งศึกษาด้านพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของพุทธศาสนาและหลักธรรมของ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นวัดวังหว้ายังไม่มีสำนักสอนธรรม
หลวงปู่ต้องไปเรียนที่วัดพลงช้างเผือก และสอบได้นักธรรมตรีและโทเป็นลำดับ
นอกจากเรียนรู้พระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานแล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ
และตำรับยาสมุนไพรจนมีความรู้ความสามารถนำไปใช้บำบัดรักษาช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ในสมันที่ยังไม่มีสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลดังเช่นทุกวันนี้ วิชาที่หลวงปู่ชำนาญเป็นพิเศษ คือ
กรรมวิธีต่อและประสานกระดูกอันเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ

มีผู้มารับการรักษาที่วัดวังหว้าเป็นประจำและหายกลับไปทุกคน จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว
การศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม หลวงปู่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ
พระครูนิวาสธรรมสาร(หลวงพ่อโต) วัดเขากะโดนและวัดเขาบ่อทอง
ซึ่งหลวงพ่อโตเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานชำนาญการธุดงควัตร เป็นผู้มีพลังจิตรแก่กล้า
และวิทยาคมขลังเป็นเลิศ
หลวงปู่คร่ำได้ร่ำเรียนด้วยอุตสาหะพากเพียรจนมีความรู้ความชำนาญในวิชาอาคมหลายด้านเมื่อกลับมาที่วัดวังหว้า
ก็ได้ฝึกฝนพลังจิตเจริญสมาธิภาวนาโดยตลอดมิได้ขาด
ในกาลต่อมาหลวงปู่ได้ใช้วิทยาคมที่ได้ฝึกฝนร่ำเรียนมานั้นให้เป็นประโยชน์
ต่อญาติโยมและบุคคลทั่วไปนานัปการจนชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกลไปทั่วเมืองไทยและต่างประเทศ
สิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ยึดมั่นโดยตลอดคือ กตัญญุตาการรำลึกถึงคุณของบูรพาจารย์
ทุกปีของหลวงปู่จะประกอบพิธีไหว้ครู ตามหลักปฏิบัติสืบเนื่องมาไม่เคยขาด
จึงส่งผลให้หลวงปู่คร่ำเจริญยิ่ง ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณตลอดมา
การปกครองและอบรมสานุศิษย์หลังจากหลวงปู่อบรมได้ ๔ พรรษา

พระอธิการเผื่อนเจ้าอาวาสวัดวังหว้าได้มรณภาพลงหลวงปู่คร่ำได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสสืบแทน
หลวงปู่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆดังนี้
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔เป็นเจ้าอาวาสวัดวังหว้า
ปี พ.ศ. ๒๔๗๔เป็นเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๗๙เป็นเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อหลวงปู่สูงอายุขึ้น สุขภาพพลานามัยไม่สมบูรณ์ จึงลาออกจากเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
มุ่งสร้างเสนาสนะและปฎิสังขรณ์วัดวังหว้าจนเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงปู่คร่ำได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร ท่านได้กำหนดระเบียบการปกครองของวัดวังหว้า
ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติและระเบียบคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม รวมทั้งระเบียบต่างๆของทางราชการทุกประการ
กฎระเบียบของวัด ภิกษุสามเณรทุกรูปในวัด ต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดต้องตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัย
ต้องทำวัตรทุกเช้าเย็น ภายในบริเวณวัดงดเว้นอบายมุขทุกชนิด

ของดีหลวงปู่
วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังของหลวงปู่คร่ำ มีมากมายหลายอย่าง ทั้งตะกรุดโทน
สีผึ้งเมตรตา ผ้ายันต์ น้ำมันงา และเหรียญแบบต่างๆสิ่งที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของหลวงปู่คร่ำ คือ
ผ้ายันต์พัดโบก ชื่อเต็มว่า”ผ้ายันต์พัดโบกมหาลาภหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง”แบ่งเป็นสองท่อน
ท่อนบนสีแดงท่อนล่างสีขาวประกอบด้วยรูปหลวงปู่และยันต์หลายชนิด
ผ้ายันต์พัดโบกนี้หลวงปู่ทำขึ้นเพื่อป้องกันวาตภัย ทั้งลมและฝนในยามที่มรสุมรุนแรง
จะพัดทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนผ้ายันต์พัดโบกจะโบกให้ลมเปลี่ยนทิศทาง
รวมทั้งโบกเอาความชั่วร้ายอื่นๆมิให้กล้ำกรายมาถึงบ้านเรือนของผู้ที่ครอบครองผ้ายันต์นี้ได้



ผ้ายันต์พัดโบก
เป็นยันต์พัดโบกให้ร้านค้าต่างๆโบกนำลาภผลเข้าสู่อาคารร้านค้าอีกด้วยบรรดาบ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก
เกือบทุกบ้านจะมีผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำไว้คุ้มภัยและเป็นมงคลแก่บ้านเรือน
รวมไปถึงกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศไทยก็ปรากฏยันต์พัดโบกของหลวงปู่คร่ำอยู่ทั่วไปแม้แต่ในประเทศ
ลาว ผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำยังโบกสะบัดไปถึงเวียงจันทน์
ในประเทศเขมรซึ่งเป็นดินแดนแห่งไสยศาสตร์
ผ้ายันต์พัดโบกของหลวงปู่ก็โบกไปทั่วจากคนไทยที่ไปทำมาค้าขายที่นั่น

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
ตลอดระยะเวลาที่อยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์หลวงปู่ปฏิบัติตนสำรวมในศีลอย่างเคร่งครัดได้รับความเคารพนับถือ
และศรัทธาจากสานุศิษย์และมหาชนทั่วประเทศที่เดินทางมานมัสการทุกวัน
หลวงปู่จะนั่งพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้พูดคุยด้วยถ้าพอมีเวลา
ใครขอให้ช่วยทำอะไรถ้าไม่ขัดต่อศีลธรรมและเป็นเรื่องที่ดีงามแล้ว
หลวงปู่ไม่เคยขัดช่วยทุกเรื่องตั้งแต่เริ่มเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ไม่เคยอยู่นิ่งเฉยสร้างวัด
สร้างโรงเรียนหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลวังหว้าทุกโรงเรียน
หลวงปู่ได้มีส่วนช่วยก่อสร้างและทะนุบำรุงตลอดเวลา
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูประทวน
พ.ศ. ๒๔๘๑
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท

พ.ศ. ๒๕๓๗
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก

พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่พระมงคลศีลาจารย์

อาพาธ
เนื่องจากหลวงปู่อายุมาก แต่หลวงปู่ยังปฏิบัติกิจนิมนต์ต่างๆตลอดมา
ต้อนรับสาธุชนจากสารทิศทุกวัน แม้บางวันจะเหน็ดเหนื่อยจนลุกแทบไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้คนมาคอยพบมากมาย
หลวงปู่จะพยายามลุกขึ้นลำให้ศิษย์ประคองออกมาประพรมน้ำมนต์แก่ผู้มากราบไหว้บูชา
จนร่างกายเสื่อมโทรมแพทย์ประจำตัวต้องคอยปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดกรรมการวัดและศิษย์ผู้ใกล้ชิด
มีความเห็นร่วมกันว่าควรให้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำไปบำบัดโรคพยาธิในโรงพยาบาล เพื่อพักฟื้นหลายครั้ง
แต่หลวงปู่จะพักในโรงพยาบาลไม่นาน รบเร้าต่อแพทย์และผู้ใกล้ชิดให้ส่งกลับวัดตลอดเวลา
จึงไปๆมาๆระหว่างวัดและโรงพยาบาลโดยตลอด ในที่สุดแพทย์จากดโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
ตรวจพบว่าหลวงปู่มีเนื้อร้ายที่ลำคอจึงได้นิมนต์ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
โดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ตลอดระยะเวลาหลายเดือน

มรณภาพในที่สุดแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หลวงปู่ได้ละสังขารถึงแก่มรณภาพ
ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของสานุศิษย์และสาธุชนทั่วประเทศนับล้านคนที่ได้ทราบข่าว
ต่างหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพศพที่วัดวังหว้าตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่บำเพ็ญกุศล
นับเป็นบุญญาบารมีของหลวงปู่โดยแท้


ขอขอบคุณจากหนังสือ
อนุสรณ์พระมงคลศีลาจารย์(หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร
)

58


วัดบุปผาราม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดปลายคลอง



ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2198) ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุในวัด จวบจนปัจจุบันท่านพระครูสุวรรณสารวิบูล พร้อมทั้งชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบวัดให้สะอาดเรียบร้อย วัดนี้จึงเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจ




พิพิธภัณฑ์
เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าไว้มากมายโดยเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดคู่บ้านเมือง และพระพุทธรูปต่างๆ รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป  กลองมโหระทึก แสดงให้เห็นถึงการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกกับเมืองท่าโพ้นทะเลในแถบเอเชียอาคเนย์ข้ามไปไกลถึงซีกโลกตะวันตก



    ภาพจิตรกรรม  ฝาผนังโบสถ์ และวิหารพระพุทธไสยาสน์เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นฝีมือช่างท้องถิ่นแต่ล้วนแล้วผสมกลมกลืนด้วยศิลปจีน และวรรณคดีจีน แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชาวจีนที่มาค้าขายแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก นอกจากนี้ภายในวัดยังมี หมู่
กุฎิเล็กทรงไทย  ที่สร้างได้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติมีขนาดพอแค่ภิกษุอยู่ได้รูปเดียวเท่านั้น หอสวดมนต์ เจดีย์ ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย




การเดินทาง 
จากตัวเมืองตราดไปตามทางหลวงหมายเลข 3 ( ถนนสุขุมวิท)  ตรงข้ามโรงพยาบาลตราด เลี้ยวแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร


59


ประวัติหลวงพ่อหอม จนฺทโชโต (พระครูภาวนานุโยค)

ในปัจจุบันแม้ระยะเวลาจะห่างออกมาจากพุทธกาลกว่า ๒๕๐๐ปีกว่าๆสัจจธรรม
จากการตรัสรู้แท้ของพระบรมศาสดาก็ยังมีอยู่ไม่หนีหายไปไหน

แต่หากว่าได้อยู่กับสาวกผู้มีความเพียรต่อการศึกษา จดจำและปฏิบัติอย่างถูกต้องแท้จริงเท่านั้น
แม้สาวกผู้มีความเพียรดังกล่าวนี้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีสืบทอดต่อๆกันมามิได้ขาดสาย
ดังจะเห็นได้จากกรรมานุภาพของพระภิกษุบางรูป มีผลให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์
ยากที่พระภิกษุธรรมดาอื่นๆ อีกจำนวนมากจะทำเช่นนั้นได้

หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทอด หลวงพ่อท่านคล้าย หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อโอภาสี
หลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงพ่อทิม หลวงพ่อครูบาอินโต หลวงพ่อถิร หลวงพ่อเต๋ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อชี่นพระอาจารย์ฝั้นและอื่นๆ ฯลฯ

เป็นตัวอย่างของพระภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษในยุคใหม่นี้
และในยุคดังกล่าวนี้มีที่จะต้องกล่าวถึงอย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นพระภิกษุที่เปรียบเสมือนเป็น
“ช้างเผือก” ในพุทธอาจักร นั่นคือ หลวงพ่อหอมแห่งวัดซากหมาก
ซึ่งเป็นวัดเล็กๆทางจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศไทย
แต่กลับมีชื่อเสียงโดงดังในทางคุณวิเศษระบือลือลั่น
ไม่น้อยไปกว่าบรรดาท่านผู้ทรงคุณวิเศษที่ได้กล่าวนามมาแล้วนั้นเลย
ในมณฑลพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ทั้งที่เป็นพระราชพิธีและพิธีสามัญ
ที่จัดให้มีขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในประเทศไทย เว้นเสียแต่หลวงพ่อหอม
วัดซากหมากจะอาพาธหรือติดศาสนกิจอย่างอื่นอยู่ก่อนเท่านั้น

จึงไม่มีรายชื่อของท่านรวมอยู่ในมณฑลพิธีนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะในหมู่ผู้นิยมวัตถุมงคลทุกระดับ
น้อยคนนักที่คงไม่ได้ยินกิติศัพท์ความเป็นเป็นผู้ทรงพุทธเวทย์อย่างยอดเยี่ยมของท่าน
จากวัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น สิงห์งาช้าง สีผึ้ง นางกวักงาช้าง ไซมงคล
พระกริ่งรูปเหมือน แหนบรูปเหมือน เหรียญรูปเหมือน แหวนทองแดงรูปเหมือน ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลอกเกต
หรือตะกรุด ที่ล้วนแต่ให้คุณวิเศษแก่ผู้ที่มีไว้บูชาทั้งสิ้น

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
ได้จัดให้มีงานฉลอง๒๕ พุทธศตวรรษขึ้นเป็นพิธีใหญ่ที่สุดในพุทธอาจักรของโลก โดยมีการจัดทำพระเครื่อง
พระบูชาและวัตถุมงคลต่างๆขึ้นไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมาก หลวงพ่อหอมแห่งวัดซากหมาก
ก็เป็น๑ในจำนวนพระเวทยาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ ๑๐๘ รูป ที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาราธนาไปเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ในมณฑลพิธี ณ.ท้องสนามหลวง

ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก
เพื่ออนุโมทนาในการประกอบพิธีอันเป็นมหามงคลครั้งนั้นอย่างมืดฟ้ามัวดินและด้วยเกียรติคุณอันสูงยิ่งของท่าน เมื่อท่านสำเร็จกิจกรรมในพระราชพิธีนั้นออกไปพักเป็นการชั่วคราว ที่วัดสุทัศน์เทพวนาราม
ก็ยังปรากฏว้าได้มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์หลั่งไหลติดตามไปขอพร และวัตถุมงคลจากท่านมิได้ขาดสาย
จนศิษย์ผู้ทำหน้าที่อุปัฏฐากต้องขอร้องให้หลวงพ่อได้มีเวลาจำวัดพักผ่อนบ้างแต่ก็ไม่เป็นผล
เพราะตัวหลวงพ่อกลับพูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างยิ่งว่า”ช่างเขาเถอะลูก”และคำพูดคำนี้ภายหลังหลวงพ่อก็ได้ใช้เรื่อยมากับทุกๆคนจนตลอดอายุขัยของท่าน
เมื่อท่านเจ้าคุณพระอมรสุธี อดีตเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แห่งคณะ น.๑๘
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์ท่าเตียน)กรุงเทพฯ ดำริจะหาทุนสร้างศาลาการเปรียญที่วัดชะอำคีรี
อำเภอชะอำ เพชรบุรี และสร้างกุฏิเจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
กับสร้างอุโบสถวัดดอนตัน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จึงได้ร่วมกับพลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ
ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบก จัดทำพระแก้วมรกตจำลองฝังเพชรรุ่นวิสาขบูชา ผ้ายันต์ธงชัย
เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน จ. น่าน

โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีใหญ่ที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดซากหมากฯซึ่งเป้นพระภิกษุบ้านนอกจากชายฝั่งทะเลตะวันออกก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่คณะกรรมการผู้ดำเนินงานอาราธนาไปร่วมเป็นพระเวทยาจารย์ด้วย เมื่อวันที่๒๔พฤษภาคม
๒๕๑๘โดยครั้งนั้นพระอาจารย์กัสสปมุนีแห่งสำนักปิปผลิวนาราม อำเภอบ้านค่าย ก็ได้อาราธนาไปร่วมพิธีด้วยการได้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญๆของหลวงพ่อหอมนี้
หากจะนำมากล่าวทั้งหมดทุกๆครั้งก็ดูจะเป็นการลำบากเหลือเกินเพราะมิได้มีศิษย์ใกล้ชิดท่นใดจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเลย
ในสมัยที่หลวงพ่อหอมกำลังก่อสร้างวัดซากหมากฯอยู่นั้น ท่านได้เดินธุดงค์มาจากวัดมาบข่า
เมื่อปี๒๔๗๑มีพรรษาเพียงสองพรรษาเท่านั้นสันนิฐานว่าท่านคงประสงค์จะมาเยี่ยมบ้านเกิดของท่านที่บ้านสำนักท้อนแต่เมื่อผ่านบ้านซากหมาก ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าคงดิบซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิดเช่น ช้าง เสือ หมูป่า ลิงค่าง และงูพิษอาศัยอยู่มากมาย มีบ้านเรือนอยู่เพียงไม่กี่หลัง คือครอบครัวนายแผน นายมาน นายแหว นายจิ๊ด  นางนก และนายไพร หลวงพ่อได้พบกับบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่สองหลังทรุดโทรมจนเกือบใช้การไม่ได้แล้วสอบถามชาวบ้านก็ทราบว่าเป็นสำนักสงฆ์ ซึ่งพระอาจารย์ล้าเคยอยู่มาก่อน
แต่ได้ปล่อยให้เป็นสำนักล้างมาประมาณ๑๐ปีเศษ

หลวงพ่อจึงตกลงใจที่จะฟื้นฟูสำนักสงฆ์แห่งนี้ให้เป็นวัดขึ้นมาให้ได้
จึงได้เข้าป่าไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเขานางหย่องเพื่อแสวงหาไม้ที่จะนำไปปลูกสร้างถาวรวัตถุของวัดที่ตั้งใจไว้ และในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ในถ้ำนั้นก็ปรากฏว่ามี ช้าง เสือ และสัตว์ร้ายอื่นๆ มาวนเวียนอยู่ใกล้ท่านตลอดเวลาแต่ก็เป็นที่น่ามหัศจรรย์ที่สัตว์ร้ายเหล่านั้นหาได้เข้าทำร้ายท่านไม่
ตรงกันข้ามเมื่อนานๆเข้ากลับปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นเชื่องได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสามารถพูดกับช้างป่ารู้เรื่องกันเป็นอย่างดี ถึงขนาดทำอะไรๆตามคำสั่งท่านได้
เมื่อท่านคัดเลือกไม้ที่ต้องการได้แล้วจึงได้นำชาวบ้านขึ้นไปตัดโค่นจนได้จำนวนพอแก่ความต้องการ
แต่ก็เกิดมีปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะชักลากไม้เหล่านั้นลงมาแปรรูปข้างล่างได้ เพราะเป็นระยะทางไกลถึง ๗กิโลเมตร จึงได้ชักชวนชาวบ้านที่ขึ้นมาช่วยตัดโค่นต้นไม้กลับลงมาที่สำนักสงฆ์ชากหมากก่อน

เพื่อที่จะหาวิธีขึ้นไปชักลากไม้ลงมาจากเขานางหย่องให้ได้
แต่เมื่อได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านเป็นเวลาหลายวันก็ยังไม่พบวิธีที่ต้องการ
หลวงพ่อจึงย้อนขึ้นไปบนเขาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสำรวจดูเส้นทางให้ละเอียดเสียก่อนอีกครั้งหนึ่ง
พอหลวงพ่อไปถึงเชิงเขาก็ต้องประหลาดใจอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่าที่เชิงเขานั้นมีไม้ที่ตัดไว้บนเขา
ได้ลงมากองอยู่จนครบทุกท่อน กับได้เห็นรอยเท้าช้างป่าขนาดใหญ่รอบๆบริเวณกองไม้และทางขึ้นเขาเปรอะไปหมดซึ่งต่อมาหลวงพ่อก็ทราบว่าเป็นฝีมือช้างป่าที่คุ้นเคยกับท่านจำนวน ๗ เชือก ช่วยกันชักลากมาไว้นั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ชาวบ้านได้ประสบกับความมหัศจรรย์ในอภินิหาริย์ของหลวงพ่อและเริ่มบังเกิดความศรัทธาอย่างสูงมาตั้งแต่นั้น

เมื่อหลวงพ่อสร้างอุโบสถได้มีชาวบ้านใกล้ๆวัดเข้ามาหาหลวงพ่อบอกว่าช้างป่าเข้าไปในไร่เก็บกินพืชผลที่เขาปลูกเอาไว้จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก เขาจะยิงก็เกรงใจหลวงพ่อขอให้หลวงพ่อช่วยเขาด้วยเถิด
เมื่อหลวงพ่อได้ทราบเช่นนั้นก็รับปากว่าจะช่วย และลุกเดินไปยืนบริกรรมอยู่สักครู่หนึ่งหน้าโบสถ์
แล้วร้องตะโกนขึ้นว่า” ลูกหลานพญาฉัททันต์ อย่าไปเหยียบย่ำไร่ของเขาเลย เจ้าของเขาจะยิงเอา
ของเรามีอยู่แล้วในแปลงขวามือไปกินได้”ซึ่งภายหลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีช้างเข้าไปรบกวนชาวบ้านอีกต่อไปเลย แต่ตรงกันข้ามกับของหลวงพ่อที่มีอยู่ใกล้ๆ วัดกลับไม่มีพืชผลเหลืออยู่เลย เพราะฝีมือช้างป่านั้นเอง
อีกครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อสร้างความมหัศจรรย์แก่ชาวบ้านเอาไว้คือเมื่อประมาณปี ๒๔๘๑
ตอนนั้นหลวงพ่อบวชได้๑๒พรรษาแล้ว
วันหนึ่งได้มีนายพรานช้างมาขอพักที่วัดและตอบคำถามของหลวงพ่อว่าจะมาล่าช้างในป่าแถบๆนี้แต่เวลาใกล้คร่ำจึงขอพักเอาแรงที่วัดสักคืนก่อน หลวงพ่อก็อนุญาตให้พรานเหล่านั้นพักตามประสงค์
แล้วหลวงพ่อเดินไปยืนบริกรรมที่หน้าโบสถ์สักครู่ก็ตะโกนขึ้นว่า”ลูกหลานพญาฉัททันต์ทั้งหลายวันนี้อย่าออกไปหากินไกลวัดมีคนเขาจะมายิง
ให้หากินอยู่ในบริเวณวัดนี้”เมื่อนายพรานออกป่าเพื่อล่าช้างก็ปรากฏว่าไม่พบช้างเลยแม้แต่ตัวเดียว
เพราะช้างป่าเหล่านั้นได้ชวนกันมาหากินอยู่ภายในบริเวณวัดหมด นายพรานจึงต้องคว้าน้ำเหลวกลับไป
ต่อมาหลวงพ่อพร้อมด้วยพระภิกษุอีก ๔ รูป ได้ชวนกันไปหากระเพรา ๗ อ้อม ด้วยการเดินธุดงค์
เมื่อเดินทางไปถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งหลวงพ่อบอกว่า

สงสัยจะเป็นเขตจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นท้องที่เดิมบางนางบวชในปัจจุบัน
ได้พบศาลายกพื้นสูงมากหลังหนึ่งอยู่ในป่าทึบ มีหนังสือเขียนไว้มีข้อความว่า”ใครผ่านมาทางนี้
เมื่อมืดแล้วให้ขึ้นไปอยู่ข้างบนเพราะมีสัตว์ชุกชุมมาก”แต่หลวงพ่อกลับบอกพระที่ไปด้วยกันว่าเราปักกลดกัน
อยู่ข้างล่างนี้แหละไม่ต้องขึ้นไปหลอกทั้งหมดก็ปักกลดอยู่ข้างล่างนั้นเองเมื่อปักกลดเสร็จหมดทุกองค์แล้ว
หลวงพ่อก็ได้เสกทรายซัดล้อมกลดไว้โดยรอบ และสั่งพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดว่าอย่าได้ออกไปนอกกลดเป็นอันขาดไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แล้วก็ชวนกันนั่งสมาธิเจริญภาวนาแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์โดยทั่วกัน
ซึ่งในคืนวันนั้นปรากฏว่ามีสัตว์ร้ายหลายชนิดมาวนเวียนอยู่แถวรอบๆกลดเหมือนกัน
แต่ไม่มีตัวใดเข้ามาทำร้ายจนรุ่งเช้าสัตว์เหล่านั้นก็หายไปในป่าหมด
หลวงพ่อจึงได้ชวนพระที่มาด้วยกันเดินทางต่อไป
ในการเดินทางต่อไปในช่วงนี้ หลวงพ่อเล่าว่าเป็นป่าเขาโดยตลอด
ขนาดเดินทางมาสามวันแล้วยังไม่พบบ้านเรือนคนเลยแม้แต่หลังเดียวต้องอดอาหารกันทั้งสามวัน
จนกระทั่งวันที่สี่จึงได้สวนทางกับชาวบ้านคนหนึ่งหาบขนมจีนผ่านมา
แล้วเอาขนมจีนนั้นถวายทุกองค์ได้ฉันกันจนอิ่ม
หลวงพ่อได้ถามชายคนนั้นว่า”ต่อจากที่นี่ไปอีกไกลไหมจึงจะถึงบ้านคน”ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า”พอพลบค่ำก็จะเห็นแสงไฟบ้านคน”แล้วเดินหายไปในป่านั้น หลวงพ่อจึงชวนพระที่ไปด้วยออกเดินทางต่อไป
ซึ่งตลอดทางที่เดินผ่านไปนั้นไม่พบบ้านคนเลยจึงหน้าสงสัยว่าคนที่ถวายขนมจีนนั้นเป็นใครกันแน่
เพราะถ้าเป็นคนธรรมดาจะอยู่แถวนั้นได้อย่างไรกันจนกระทั่งเวลาพลบค่ำจึงได้พบบ้านคนจริงตามที่ชายคนนั้นบอกไว้จึงชวนพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดปักกลดพักที่บริเวณใกล้ๆกับหมู่บ้านนั้นและต่อมาก็เดินทางกลับวัดซากหมากฯโดยไม่ได้กระเพรา๗อ้อมมาตามต้องการเพาะไม่พบว่ามีอยู่ี่ที่ใดเลย ส่วนเรื่องที่พบคนเอาขนมจีนมาถวายกลางป่าทั้งๆบริเวณใกล้ๆนั้นไม่มีบ้านคนเลยก็คงเป็นปริศนาให้แปลกใจอยู่ตลอดมา
สมัยอู่ตะเภามีฐานทัพอเมริกันตั้งอยู่ ได้มีฝรั่งชาตินิโกร ซึ่งเป็นทหารนักบินคนหนึ่ง
มีเมียเช่าเป็นคนไทยภาคอีสานได้พากันไปหาหลวงพ่อที่วัดแล้วเช่าพระกริ่งรูปเหมือนของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวเป็นประจำ และมีอยู่ครั้งหนึ่งทหารฝรั่งนิโกรคนนี้ได้ถูกคำสั่งให้ขับเครื่องบินไปนครพนม
แต่บังเอิญไปเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกระหว่างทาง เครื่องบินนั้นได้รับความเสียหายจนใช้การไม่ได้
ทหารที่ไปด้วยกันก็เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสกันทุกคน แต่ฝรั่งนิโกร
ซึ่งเป็นนักบินคนนี้ไม่ได้รับบาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย จึงบังเกิดความเลื่อมใสหลวงพ่อเป็นอย่างมาก
เมื่อมีโอกาสจะต้องมาหาหลวงพ่อที่วัดเป็นประจำ
เมื่อวัดหลวงพ่อมีงานก็จะมาช่วยงานอย่างแข็งขันทุกครั้งไป
เมื่อถูกส่งกลับไปอเมริกาแล้วก็ยังส่งเงินมาถวายหลวงพ่ออยู่เนืองๆ
มีอยู่ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าวัยรุ่นย่านบางรัก
กรุงเทพฯยกพวกต่อยตีกันเป็นมวยหมู่ มีการบาดเจ็บกันเป็นระนาว
แต่ก็มีอยู่หลายคนที่ไม่เป็นอะไรเลยทั้งๆที่ได้เข้าไปประจัญบานกับเขาด้วยอย่างเมามัน
ซึ่งภายหลังปรากฏว่าพวกที่ไม่ได้รับบาดเจ็บนั้นล้วนแต่มี”สิงห์งาช้าง”ของหลวงพ่อติดตัวอยู่ทั้งนั้น
สอบถามได้ความว่าเคยร่วมคณะกฐินจากกรุงเทพฯซึ่งไปถอดวัดซากหมากฯแล้วเช่า
“สิงห์งาช้าง”ของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวกันคนละตัว ซึ่งครั้งแรกก็ยังไม่ได้คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้
จนได้ประสบเหตุเข้ากับตัวเองจึงเชื่อและพาพรรคพวกเพื่อนฝูงเดินทางไปขอเช่าที่วัดกันอีกหลายคนด้วยกัน
แต่หลวงพ่อก็เตือนว่า”ถ้ารังแกข่มเหงเขาสิงห์ของพ่อไม่ช่วยนะ”
ตามธรรมดาทุกๆปี ที่วัดซากหมากฯจะต้องมีงานประจำปี
และมีอยู่ปีหนึ่งหลวงพ่อได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือนองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นรุ่นแรก
ได้มีทหารจำนวนหนึ่งไปเที่ยวงานและเช่าพระกริ่งนี้คนละองค์
แล้วชวนกันไปหลังโรงเรียนวัดซากหมากซึ่งอยู่ใกล้วัดนั้นเอง เพื่อจะทดลองความศักดิ์สิทธิ์ดูให้แน่ใจ
จึงได้นำเอาพระกริ่งของหลวงพ่อออกมาวางรวมกันแล้วยิงด้วยปืน .๓๘ ก็ปรากฏว่ายิงกี่ครั้งๆก็ไม่ออก
แต่เมื่อเบนปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออกทุกนัด ทหารเรือกลุ่มนั้นจึงกลับเข้ามาในวัด
และขอเช่าเพิ่มกันอีกจนเงินหมดกระเป๋า
เมื่อกลับไปแล้วยังได้บอกกล่าวให้บรรดาเพื่อนฝูงพากันมาเช่ากันไปไว้ประจำตัวอีกมากมาย
และตั้งแต่นั้นมาเมื่อหลวงพ่อมีงานอะไรขึ้น
บรรดาทหารเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบจะมาช่วยกันอย่างมากมายทุกครั้งไป
เมื่อนายสงั่น ไตร่ตรอง ได้เป็นกำนันตำบลสำนักท้อนใหม่ๆ
เคยขับรถยนต์ไปธุระที่สมุทรปราการพร้อมกับลูกบ้านอีก ๘ คน
แต่พอรถไปถึงโค้งบางปิ้งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโค้งผีสิง จะด้วยเหตุอันใดก็ไม่อาจทราบได้
รถเกิดเสียหลักพลิกคว่ำไปหลายตลบ เผอิญมีตำรวจอยู่ใกล้ๆกับบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์เข้า
คิดว่าจะต้องมีคนในรถได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตายแน่ๆ
จึงรีบวิ่งเข้าไปเพื่อจะช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลโดยรีบด่วน
แต่เมื่อเข้าไปถึงก็ต้องประหลาดใจอย่างมากเพระไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดที่อยู่ในรถคันนั้นได้รับบาดเจ็บกันเลย
ซึ่งต่อมาเมื่อมีการสอบถามกันขึ้นด้วยความสงสัย จึงทราบว่าทุกคนที่ไปกันในรถคันนั้นต่างก็มี
“สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อหอมติดตัวกันทั้งนั้น


สิงห์แกะหลวงพ่อหอม

วิทยาเวทย์ที่เป็นคุณวิเศษของหลวงพ่อหอมวัดซากหมาก

อีกประการหนึ่งที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยได้เรียนรู้มาก่อนคือ”การต่อชะตาดิน”ซึ่งคุณวิเศษนี้ก็เป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างมากทีเดียว
คือหากที่ดินของผู้ใดที่เคยอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการใดๆมาก่อน
เกิดอาการเสื่อมโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ดีเหมือนเดิม
หรือกิจการบนดินนั้นเสื่อมโทรมลงหลวงพ่อก็จะไปทำพิธี”ฝังหิน”
ให้แล้วกิจการบนที่ดินแห่งนั้นก็จะกลับคืนเป็นคุณแก่เจ้าของดั่งเดิมอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ซึ่งวิชาต่อชะตาดินนี้ได้เคยมีบรรดาศิษย์อยากจะเรียนจากหลวงพ่อ
แต่หลวงพ่อก็บอกว่าผู้ที่จะเรียนได้จะต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น
และเมื่อเรียนแล้วก็จะต้องตั้งมโนปนิธาณด้วยว่า
“จะบวชจนตายในผ้ากาสาวพัตร์”คือจะสึกออกไปครองเพศฆราวาสไม่ได้อย่างเด็ดขาด
ถ้าผิดไปจากนี้แล้วจะต้องถูก”ฟ้าผ่า”ทันที จึงไม่มีใครกล้าพอที่จะเรียนต่อจากท่าน
เพราะการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ใช่เป็นของง่ายนักที่จะประกาศตนว่าจะไม่สึกไว้ล่วงหน้า

นอกจากหลวงพ่อหอมวัดซากหมากจะเป็นผู้มีวิทยาคุณในทางเครื่องรางของขลังแล้วท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดอีกด้วย
ทั้งนี้เพราะท่านได้เคยศึกษาเล่าเรียนมาจากบิดาของท่านซึ่งเป็นแพทย์ประจำตำบล
ในสมัยเมื่อท่านยังเป็นฆราวาสอยู่ตามธรรมดาทุกๆวัน
จะมีคนป่วยด้วยโรคต่างๆมาหาท่านที่วัดเพื่อขอให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าโรคร้ายเหล่านั้นให้หาย
วันหนึ่งๆถึง
๔๐-๕๐ คน หลวงพ่อจึงเป็นพระภิกษุผู้ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง ทั้งที่เป็นคนไทย จีน แขกซิกส์
และฝรั่ง ดังจะเห็นได้จากเมื่อหลวงพ่อมรณภาพได้มีผู้หลั่งไหลกันไปเคารพศพของท่านอย่างล้นหลาม
โดยเฉพาะในวันถวายน้ำสรงศพของท่าน
เจ้าหน้าที่ได้จัดให้เรียงแถวกันเข้าไปต้องใช้เวลาถึงสามชั่วโมงเศษจึงหมดคนที่ไปถวายน้ำสรงท่าน
หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือ พระครูภาวนานุโยค อดีตเจ้าอาวาสวัดซากหมาก หมู่ที่ ๒ ตำบล
สำนักท้อน กิ่งอำเภอบ้านฉาง(ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง) จังหวัดระยอง เดิมชื่อ หอม ทองสัมฤทธิ์
เกิดวันจันทร์ เดือน๑๐ ปีขาล พุทธศักราช๒๔๓๓ เป็นบุตรของนายสัมฤทธิ์ กับนางพุ่ม ทองสัมฤทธิ์
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสามคน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้องพี่ทั้งสองคนเป็นหญิงคนโตชื่อ นางวอน
คนรองชื่อนางเชื่อม
เมื่อเยาว์วัยอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่บ้านเกิดของท่านเอง ส่วนในการศึกษาเบื้องต้นนั้น
เป็นน่าเสียดายที่ไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านได้ศึกษากับใครที่ไหนเพราะในสมัยนั้นโรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญเช่นบ้านเกิดหลวงพ่อคงยังไม่มีตั้งขึ้นแน่นอน

การดำรงชีพของหลวงพ่อในสมัยนั้น

ก็เป็นการช่วยบิดามารดาทำสวนทำไร่และเก็บของป่าขายในตัวตลาด
ซึ่งการเดินทางไปตลาดบ้านฉางหรือตลาดสัตหีบในสมัยนั้นลำบากมาก เพราะยังไม่มีถนนอย่างเช่นในปัจจุบัน
ต้องอาศัยทางเกวียน ซึ่งผ่านป่าดงดิบแวดล้อมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด
ถ้าเป็นฤดูฝนด้วยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความลำบากเป็นทวีคูณ
และคงจะเป็นเพราะว่าหลวงพ่อเคยมีชีวิตจำเจอยู่แต่ในป่าดงดิบนี่เอง
จึงทำให้ท่านพยายามพัฒนาป่าให้กลับกลายเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญขึ้นในทุกๆด้าน
โดยท่านเห็นว่าหากมีถนนตัดจากจากที่เจริญเข้าสู่หมู่บ้านได้เมื่อใด
ความเจริญนั้นก็ต้องขยายตัวของมันเองตามถนนไปด้วยอย่างแน่นอน จึงได้ร่วมกับ นายหยอย สุวรรณสวัสดิ์
กำนันตำบลสำนักท้อนคนก่อนชักนำชาวบ้านช่วยกันตัดถนนจากบ้านฉาง เข้าไปจนถึงบ้านซากหมากระยะทาง ๑๒
กิโลเมตรจนสำเร็จ และถนนสายนี้ในปัจจุบันได้กลายเป็นถนนสายอเนกประสงค์แล้วอย่างสมบูรณ์
เมื่อหลวงพ่ออายุครบ๒๑ปี ก็โอกาสทำหน้าที่ของลูกชายไทยอย่างเต็มภาคภูมิ
ด้วยการได้รับคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในกองทัพเรือ ในสมัยที่ฐานทัพเรือยังตั้งอยู่ที่บางพระ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าสังกัดอยู่หน่วยไหน
และใครบ้างที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่าน ทราบแต่เพียงว่าในขณะที่ท่านรับราชการอยู่นั้น
ไม่เคยถูกลงโทษฐานกระทำผิดวินัยเลยทั้งไม่เคยมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับบรรดาเพื่อนๆด้วย
ตรงกันข้ามกับเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูงทุกคน เพราะปกติท่านเป็นคนมีนิสัยเยือกเย็น สุขุม
และโอบอ้อมอารีต่อทุกคนอยู่แล้ว
เมื่อรับราชการทหารครบ ๒ปี
ทางราชการก็ปลดออกจากประจำการจึงกลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพที่บ้านสำนักท้อนตามเดิม
และในช่วงนี้เองก็ได้แต่งงานกับ นางเจียม ซึ่งเป็นหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกันนั้น
และมีบุตรด้วยกัน๓คนคือ
นายพิน ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่ง ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่น ทองสัมฤทธิ์
การครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนของหลวงพ่อ ได้เป็นไปอย่างธรรมดาเรื่อยๆมา
โดยพร้อมกันนั้นก็ได้พยายามถ่ายทอดวิชารักษาโรคต่างๆจากบิดาไปด้วย
จนมีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปจากบิดาของท่านแต่อย่างใด แล้วก็ได้ใช้วิชาความรู้นี้
ช่วยเหลือเพื่อนบ้านตลอดมา
หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙
อายุ๓๖ ณ พัทธสีมาวัดทับมา ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีหลวงพ่อขาว
วัดทับมาเป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อจี๊ด วัดเขาตาแขก เป็นพระกรรมวาจาจารย์และหลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นอนุสาวนาจารย์
เมื่อหลวงพ่อหอมอุปสมบทใหม่ๆ
ยังเป็นนวกภิกษุผู้น้อยด้วยคุณวุฒิไม่อาจจะปกครองตนเองและผู้อื่นได้
จึงยังจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้นในฐานะอันเตวาสิกของหลวงพ่อชื่น อยู่ที่วัดมาบข่า
แต่เพียงชั่วระยะ ๒ พรรษาเท่านั้น
หลวงพ่อหอมก็เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างน่าอัศจรรย์เนื่องจากเป็นผู้มีความเพียรเป็นเลศ
ยากที่จะหาพระภิกษุรูปใดในรุ่นเดียวกันเสมอเหมือนได้ แม้
หลวงพ่อชื่นเองก็ยังเคยปรารภให้พระภิกษุรูปอื่นๆฟังว่า”อีกหน่อยคุณหอมเขาจะหอมทวนลมนะ”
และต่อมาหลวงพ่อหอมก็ได้กลายเป็นหลวงพ่อผู้มีชื่อเสียงหอมทวนลมจริงดั่งคำของหลวงพ่อชื่นนั้น

เมื่อหลวงพ่อหอมได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อชื่นซึ่งเป็นพระอาจารย์เบื้องต้นไปอยู่ที่วัดซากหมากใกล้ๆ
บ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ได้พยายามค้นคว้าศึกษาพุทธเวทย์เพิ่มเต็มอย่างจริงจัง
จนบังเกิดผลดังที่ได้ประจักษ์แก่บรรดาศิษยานุศิษย์อย่างถ้วนหน้าแล้วนั้น
นอกจากท่านจะได้สร้างวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธ์ เพื่อให้ผู้มีไว้บูชาบังเกิดที่พึ่งทางใจอย่างได้ผลแล้ว
ก็ยังได้สร้างถาวรวัตถุขึ้นไว้ในวัดอีกหลายประการด้วยกัน เช่น อาคาร ศาลา หอระฆัง หอไตรกลางสระน้ำ
และอีกหลายๆอย่างที่ท่านได้สร้างไว้

ด้วยความที่หลวงพ่อหอมเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีให้ปรากฏในศาสนจักรและราชอาณาจักรมากมายนี่เอง
จึงได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่๙แห่งราชวงศ์จักรีพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีเป็นพระครูภาวนานุโยค
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗
นับเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งแก่หลวงพ่อและบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วหน้ากัน
และในโอกาสนี้เองทีหลวงพ่อหอมได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือน
แหนบบูชารูปเหมือน(ชนิดสั้น)รูปปั้นเหมือนองค์จริงแบบบูชาเป็นรุ่นแรกขึ้น
กับได้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นสอง
แบบหน้านูนครึ่งองค์ด้านหลังเหมือนกับเหรียญรุ่นแรกพร้อมกับแหวนทองแดงรูปเหมือนและแบบเดียวกับที่สร้างเมื้อปีพุทธศักราช๒๔๙๘
หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือพระครูภาวนานุโยค ได้อาพาธด้วยโรคชราและมรณภาพด้วยอาการสงบ
เมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐น.ของวันที่๑๓ เมษายน พุทธศักราช๒๕๒๐(นับวันเวลาสากล)ณ
โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์
ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมอายุได้๘๗ปี๕๑พรรษาและได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน
พุทธศักราช๒๕๒๑ ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว๓๗๕ วัน ณ. วัดซากหมากฯ หมู่ที่ ๒ ตำบล สำนักท้อน
กิ่งอำเภอบ้านฉาง(ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง)จังหวัดระยอง
ซึ่งเป็นวัดที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาโดยตลอดนั้นเอง


ขอขอบคุณที่มา
จากหนังสืออนุสรณ์
งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูภาวนานุโยค(หอม จนฺทโชโต)



60


วัดมหาวัน  จ.ลำพูน



      วัดมหาวัน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย  เมื่อประมาณปี   พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ   และได้อัญเชิญ พระพุทธรูปนาคปรก หรือ พระดิลกดำ จากเมืองละโว้ มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกกันว่า พระรอดหลวง หรือ พระรอดลำพูน ซึ่งต่อมาได้เป็น แบบพิมพ์จำลอง พระเครื่อง ที่ลือชื่อกรุหนึ่ง ชื่อ พระรอดมหาวัน


    ซึ่งพระอารามนี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกห่างจากประตู มหาวัน อันเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก  ประมาณ ๕๐ เมตร  หน้าพระอารามหันไปทางทิศตะวันออก  ตรงกันข้ามกับคูเมือง  ที่ตั้งวัดนี้เดิมเป็นมหาวนาราม พระอารามหลวง  ซึ่งพระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ

 


 

     ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร  ได้มีการปฏิสังขรณ์์องค์เจดีย์ในวัดมหาวันขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘  ซึ่งแต่เดิมองค์เจดีย์ยอดปรักหักพังลงไป  พระรอดซึ่งถูกบรรจุไว้ได้กระจัดกระจายไปพร้อมกับยอดเจดีย์ซึ่งหักพังลงไปทางทิศตะวันตก  เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ซึ่งเป็นศิลาแลงทางทิศนั้น  อนึ่งปรากฏว่า มีผู้ค้นพบพระรอดได้เป็นจำนวนมากมายทางทิศนี้ด้วย ซึ่งมีมากกว่าทิศอื่นๆ จนกระทั่งสถานที่ขุดได้กลายเป็นบ่อน้ำ (บ่อน้ำปัจจุบัน) ในการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในครั้งนี้ได้พบพระรอดจำนวนมากในซากกรุเจดีย์วัดมหาวัน  พระรอดส่วนหนึ่ง ได้รับการบรรจุเข้าไปไว้ในพระเจดีย์ใหม่ และบางส่วนได้มีผู้นำไปสักการบูชา  แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ปะปนกับเศษซากกรุเก่า กระจายไปทั่วบริเวณวัด

 

     ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ  ทรงได้พิจารณาเห็นว่ามีต้นโพธิ์ แทรกตรงบริเวณฐานเจดีย์มหาวันและมีรากลึกลงไปภายในองค์พระเจดีย์ทำให้มีรอยร้าวชำรุดหลายแห่ง  จึงได้ทำการฏิสังขรณ์ฐานรอบนอกองค์พระเจดีย์ใหม่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในการนี้ ได้พบพระรอดจำนวนมาก ประมาณหนึ่งกระเช้าบาตร (ตระกร้าบรรจุกับข้าวตักบาตร)  และได้นำมาแจกจ่ายบรรดาญาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้

 

     ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์  บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆสร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว

 

     ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด  มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้ว



พระรอด พิมพ์เล็ก วัดมหาวัน ลำพูน
กรุเก่า เนื้อจัด  พระใช้


พระรอดแขนติ่ง เนื้อผ่านดำ
เนื้อจัด พระใช้ เห็นตาและจมูกรางๆ
 


     สุกกทันตฤษี  วาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดงสีดอกพิกุล  เป็นต้น  นอกจากนี