ผู้เขียน หัวข้อ: พระแผงตัดเก้า กรุพระธาตุนาดูน  (อ่าน 9031 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ กวงเจา

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 369
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงพ่อเปิ่นองค์เดียวกัน
    • ดูรายละเอียด
กรุพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

......แผ่นดินอีสาน มีลักษณะสูงขึ้นไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของภาค มีแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางทิศตะวักตก และมีเทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรักอยู่ทางทิศใต้ของภาคจึงเป็นเหตุให้พื้นที่ของภาคอีสานจึง ค่อยๆ ลาดลงสู่ตอนกลางของภาค ซึ่งจะสังเกตุการไหลลงของแม่น้ำต่างๆ จะไหลลงไปทางทิศตะวันออกเพื่อไปสู่ลุ่มแม่น้ำโขง

......วัฒนธรรม “ทวาราวดี” ที่มีรากฐานมาจากพุทธศาสนาจาก อินเดีย ได้ส่งอิทธิพลเข้ามาสู่ภาคอีสานในราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยได้เข้ามาทาง ลุ่มแม่น้ำมูล และ แม่น้ำชี ในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างอย่างแพร่หลาย จนกระทั้งถึงปลายพุทธศตวรรษที่15

......จังหวัดมหาสารคามได้พบร่อง รอยหลักฐานของ วัฒนธรรมทวาราวดี สมัยประวัติศาสตร์ระยะแรกเริ่มกระจายอยู่ตาม บริเวณชุมชนสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมหลายแห่งด้วยกัน เช่น อำเภอกันทรวิชัย และ อำเภอนาดูน

......อำเภอนาดูน คือ นครจำปาศรี ในอดีต ตัวเมืองเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 600 เมตร และมีเชิงเทินดิน สูงประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร และมีคูอยู่กลาง กว้างประมาณ 20 เมตร เพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ในการบริโภค และเพื่อใช้ป้องกันข้าศึกศัตรู ภายในตัวเมือง นครจำปาศรี ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุโดยกรมศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2522 ที่สำคัญ คือสถูปสัมฤทธิ์ 3 ชั้น ซึ่งมีความสูงรวมจากฐานถึงยอด 24.4 เซนติเมตร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปชั้นนอกทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ชั้นกลางทำด้วยเงิน และชั้นในทำด้วยทองคำ ภายในสถูปมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น ขนาดเท่าปลายเม็ดข้าวสารหัก หล่อเลี้ยงไว้ด้วย น้ำมันจันทน์ เมื่อเปิดออกจะได้กลิ่นหอมอบอวล ซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก และต่อมาในปี พ.ศ.2525 – 2529 จึงมีการสร้างพระสถูปเจดีย์จำลอง ซึ่งมีลักษณะแบบ ทาวราวดี ดำเนินการสร้างโดย กรมศิลปากร สูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 35.70 เมตร เพื่อเป็นปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาค และเพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และศิลปะวัฒนธรรมอีสาน หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีว่านี่คือ พุทธมณฑลอีสาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ ชาวจังหวัดมหาสารคาม

...... โบราณวัตถุอีกประเภทหนึ่ง คือ พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งจัดว่าเป็น พระกรุที่เก่าแก่ที่สุด อีกกรุหนึ่งของประเทศไทย ประมาณ 1,500 ปี เป็นพระกรุที่มีจำนวนมากที่สุด และมีจำนวนพิมพ์มากกว่า 40 พิมพ์ และพระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนก็ขึ้นอยูกับความแตกต่างในรายละเอียดของพระแต่ละ องค์ และความแตกต่างก็บ่งบอกถึงความหมายอยู่ในตัวอีกทั้งยังบอกถึงคติความเชื่อ ลัทธิศาสนา รวมถึงแสดง พุทธิปรัชญาที่แฝงอยู่ด้วย

......ค่านิยม พระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ พิมพ์เล็กห้อยคอ และ พิมพ์พระบูชา สำหรับพิมพ์เล็กขนาดขึ้นคอที่จัดว่ามีราคาสูงที่สุด ก็คือ ปางลีลา หรือ ปางตริภังค์ สาเหตุเนื่องจากเป็นพิมพ์ที่ขุดพบน้อยมาก หายาก และมีความอ่อนซ้อย สวยงาม เหมาะสำหรับขึ้นคอ รองลงมาคือ พิมพ์นาคปรกคู่ ส่วน พระพิมพ์บูชา เรียงความนิยมตามลำดับ คือ ปางนั่งเมือง ปางประทานพร ปางปาฏิหารย์ ปางเสด็จดาวดึงส์ ปางปรกโพธิ์ และ พระแผง ชนิดต่างๆ และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ อาจารย์ทรงเดช แสงนิล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาหาสารคาม ที่ได้เอื้อเฟื้อข้อมูล เกี่ยวกับเมืองนครจำปาศรี เพื่อเป็นวิทยาทานตามแนวทางแห่งบรรพชนไว้ ณ ที่นี้

        ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็น ซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร
        ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็น ปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช 2525-2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7,580,000 บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมงกุฏราชกุมารเสด็จพรัราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรม สารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์ เจดีย์พระธาตุนาดูน


ที่มา http://www.sittloungpormhui.com/board/index.php?topic=398.0


พระแผงที่ผมมีอยู่ ถ่ายกล้องNotebookภาพอาจไม่ชัดนะครับ


ออฟไลน์ บินหลาดง

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 96
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: พระแผงตัดเก้า กรุพระธาตุนาดูน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 ก.ย. 2552, 07:22:16 »
สำหรับพระกรุนาดูรกรุนี้ผมศึกษามาพอสมควรนะคับขอแนะนำอะไรบ้างอย่างในการดูพระกรุนี้คับ
ไห้ท่านสังเกตพระกรุนี้จะมีรอยแกลบข้าวหรือทีเรียกว่าข้าวเปลือกทุกองค์ๆๆขอเน้นๆๆว่าทุกองค์นะคับ
เพราะผมไปมาหลายครั้งมากส่วนผมเองก้อมีหลายแบบ 9 10 16 19 ก้อมีคับและทีสำคัญระวังของต่างกรุ
คือกรุเดียวกันแต่คนระทีนะคับ
       ศิษย์ หลวงโด่ง

ออฟไลน์ nok2009

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1672
  • เพศ: ชาย
  • แท้เทียมอาจคล้ายกันจงเชื่อมั่นในตนเอง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระแผงตัดเก้า กรุพระธาตุนาดูน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13 ก.ย. 2552, 07:37:37 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เพิ่งจะเคยเห็นครั้งแรกครับ ...สวัสดี... :001:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระแผงตัดเก้า กรุพระธาตุนาดูน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 13 ก.ย. 2552, 09:49:08 »
เคยอ่านประวัติผ่านๆมาบ้างแล้วครับจากหนังสือย้อนรอยกรรม ขอบคุณสำหรับข้ออมูลครับ