ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร  (อ่าน 14933 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด





หลวงพ่อภู แห่งวัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร ประวัติดั้งเดิม เป็นชาวอยุธยาเกิดเมื่อเดือน 6 ปีเถาะ พ.ศ. 2398 ที่บ้านผักไห่ เป็นบุตรของนายแฟง นางขำ มีน้องร่วมท้อง 5 คน เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดาได้ย้ายภูมิสำเนามาหากินที่ บ้านหาดมูลกระบือ ( หาดขี้ควาย ) ตำบลไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี บิดามารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือขอม และไทยกับพระอาจารย์แช่ม ใน สำนักของพระอุปัชฌาย์อิน และได้เรียนหนังสือกับ อาจารย์ ( นิ่ม ) เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นเณร ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี ก็สึกออกมาช่วยบิดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนรักวิชาสนใจด้าน ไสยศาสตร์ หรือ ไสยเวทย์ เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปสักเล็กน้อย ? ไสย ? มาจากคำว่า? เสยย ? แปลว่าประเสริฐ ? ศาสตร์ ? หมายถึง วิชาการต่าง ๆ มีอาทิเช่น ทางเวทมนต์คาถาและการภาวนาเสกเป่า ฯลฯ ? ไสยศาสตร์ ? หรือ ? ไสยเวทย์ ? จึงแปลว่า ความรู้อันประเสริฐทางเวทมนต์ คาถา ซึ่งผู้ที่ทรงคุณในวิชาการด้านนี้ จะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ คือเป็นผู้รักษาศีลเสมอด้วยชีวิตหรือเป็นผู้มีอภินิหาร หมายถึง

บุญญาธิการของแต่ละรูปนาม คำว่า ? อภินิหาร ? พจานุกรมฯ หมายถึง บุญบารมีที่สร้างสมแต่ในอดีตชาติ จึงพอสรุปใจความโดยย่อได้ว่าผู้ที่ทรงคุณทางพระเวทย์วิทยาคม อย่างสูงสุดก็ดี หรือผู้ที่มีอภินิหาร คือ บุญญาธิการที่สร้างสมแต่ในอดีตชาตินั่นเอง ถ้าขาดคุณสมบัติสองประการ ดังกล่าวก็ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผล หรือถ้าจะมีอยู่บ้าง ก็คงไม่ได้รับผลชั้นสูง จนกระทั่งหลวงพ่อภู อายุได้ 23 ปี บรรดาญาติโยมจึงได้พาไปเข้าอุปสมบท ณ วัดเขื่อน อ.เมือง จ.พิจิตร เมื่อปี 2422 โดยมี พระครูศิลธรารักษ์ ( จัน ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌายะ พระอธิการนิ่ม จาก วัดหาดมูลกระบือ กับ พระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อเป็นคู่สวด ได้ฉายาว่า ? ธมุนโชติ ? แปลว่า ผู้สว่างในทางธรรม และครั้นปี พ.ศ. 2437 ชาวบ้านท่าฬ่อก็ได้นิมนต์มาอยู่วัดท่าฬ่อ เพราะวัดท่าฬ่อสมัยก่อนชำรุดทรุดโทรมขาดการเหลียวแล

เมื่อท่านมาอยู่แล้วก็ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ จนครบครัน โดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี เดิมท่านตั้งใจจะบวชระยะสั้นแต่แล้วก็ไม่คิดสึก กลับมุ่งศึกษาธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ เคยติดตาม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ฝึกจิตจนกล้าแข็ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจาก หลวงพ่อเงินมาก รวมทั้งพระอาจารย์อื่น ๆ ที่พบกันกลางป่า ท่านจึงได้วิทยาคมชั้นเยี่ยมมามาก นอกจากนี้ยังมีความรุ้เรื่องสมุนไพร และแพทย์แผนโบราณ ตามแบบอย่างหลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็น อาจารย์ของท่าน และของขลังที่ท่าน หลวงพ่อภู ได้ทำไว้มีมากมายหลายอย่างจริง ๆ จากหลังฐานที่ ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ท่านมีความรู้ด้านภาษาขอมแตกฉานมาก ได้เขียนยันต์ต่าง ๆ เป็นหลักฐานไว้ บนกระดานชนวนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา สิ่งเหล่านี้ท่านทำไว้มากจริง ๆ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ในภาคเหนือ ก็จะมี หลวงพ่อภู เท่านั้น ที่มีครบทุกอย่าง ท่านสร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก กล่าวอย่างชาวบ้านก็ต้องว่า ? มีวิทยายุทธ ครบเครื่องเรื่อง อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดเมตามหานิยม ดีจริง ๆ

ท่านเป็นผู้มีสติปัญญารอบคอบ รู้เท่าทันการณ์และโอบอ้อมอารีทุกอย่าง ชอบทำการก่อสร้างเพื่อเป็นประโยชน์ในพระพุทธ - ศาสนาและมีวิชาความรู้ทางด้านวิปัสสนา ธรรมวินัย การช่างไม้ ช่างทอง การแสดง พระสัทธรรมเทศนาเทศมหาชาติชาดก 13 กัณฑ์ กับทั้งความรู้ทางเวชศาสตร์ และไสยศาสตร์ อีกด้วย จึงทำให้บรรดาสานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนรักใคร่นับถือท่านมาก หลวงพ่อภูมักจะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย หลังจากสำเร็จพระปาฎิโมกข์ แล้ว 5 พรรษาต่อมา พระอุปัชฌาย์เกษ์ จึงได้ให้เป็นพระคู่สวด และต่อจากนั้นมาอีก 5 พรรษาเศษ ทางวัดท่าฬ่อเกิดทรุดโทรม ลงมาก ทั้งโบสถ์และกุฏิหักพังลงเพราะขาดพระอธิการที่จะบำรุงรักษา ให้คงทนถาวรอยู่ได้ชาวบ้านท่าฬ่อและบรรดาสานุศิษย์ต่าง ๆ ก็นิมนต์ หลวงพ่อภู จากวัดเขื่อน มาประจำพรรษาอยู่ วัดท่าฬ่อ ท่านได้ทำการก่อสร้างโบสถ์ กุฎิ หอสวดมนต์ พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และ ธรรมาศน์ จนเป็นผมสำเร็จทุกอย่าง ตั้งแต่นั้นมาวัดท่าฬ่อก็มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับตลอดมา และมีพระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ พรรษาละมาก ๆ ทุกพรรษา และที่สำคัญพระธรรมวินัยเป็น

ที่น่าเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ผู้ที่จะมาบำเพ็ญทางการกุศลยิ่งนัก ครั้งพุทธศักราชที่ 2455 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจราชการ คณะสงฆ์ในมณฑล ภาคเหนือ ได้ทรงมาประทับแรมที่ วัดท่าฬ่อ 1 ราตรี และรับสั่งชมเชยชัยภูมิวัดท่าฬ่อยิ่งนัก ท่าน ก็ได้กระทำการปฎิสันถาร คารวะต้อนรับ และทูลปราศรัยโดยถูกต้องตามระเบียบราชการทุก ประการ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงพระราชทานที่ถานันดรสมณศักดิ์ให้รับ พระราชทาน สัญญาบัตรพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ เป็น พระครูพิเศษ และได้รับพระราชทานตราเสมาธรรมจักรให้นั่งที่ พระอุปัชฌาย์อุปสมบทกุลบุตรใน แขวงอำเภอท่าหลวงและทั่วจังหวัดพิจิตร ยังความปลาบปลื้มแก่คณะศิษย์ของท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้แสดงมุฑิตาจิตสร้างเหรียญหางแมลงป่องถวาย และได้พัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น แม้ฝรั่งที่ไปทำทางรถไฟสายเหนือ และไม่ได้นับถือพุทธศาสนายังสยบต่อท่าน ได้ความนับถือท่าน อย่างจริงใจ และในบริเวณวัดท่าฬ่อ ท่านได้เลี้ยงสัตว์ไว้มากสัตว์ป่าทุกตัวเชื่องแม้กระกวาง

และ ไก่ป่า , แพะ ข้าวสุกก็ดีหญ้าก็ดี ที่ท่านใช้เลี้ยงสัตว์ท่านจะเสกก่อนให้กินเสมอ ปรากฏว่าสัตว์ทุก ตัวเชื่องและคงกระพันยิงไม่ออก ถึงออกก็ไม่เข้า ของขลังหลวงพ่อภูที่สร้าง ได้แก่ พระเนื้อผงดำ พิมพ์สมาธิ ตรากระต่าย ฝังตะกรุด กระต่าย ก็คือปีเกิดของท่าน และเหรียญหางแมลงป่องตะกั่วชินเงิน ( ถ้ำชา ) พระรุ่นนีมีชื่อเสียงมากด้าน อยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกมีดถูกขวานจามไม่เคยเข้า และป้องกันภัยต่าง ๆ ดีแล ตะกรุดมหารุด และ แหวนพิรอด ตะกรุดสร้อยสังวาล ตะกรุดโทนยันต์ค้าขาย ผ้าประเจียด เหรียญใบมะยม เหรียญ แปดเหลี่ยม ฯลฯ ท่านก็ได้สร้างไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้ตะพด ท่านทำให้อย่างวิเศษจริง ๆ

นอกจาก หลวงพ่อเงิน แล้ว หลวงพ่อภู ยังไปศึกษาวิชาจาก หลวงพ่อโพธิ์ มาอีกด้วย หลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระมอญมาจากปทุมธานี สร้างกุฏิอยู่องค์เดียวที่วัดวังมหาเน่า ปัจจุบัน คือ ( วัดโพธิ์ศรี ) เป็นอาจารย์ที่เรืองเวทย์จริง ๆ ท่านจะเก่งด้าน ตะกรุด และยันต์อักขระ ขนาดเสาไม้กุฏิท่าน เวลาไฟไหม้หญ้าคามาใกล้กุฎิ และหลังคากุฎิของท่านก็ทำด้วยหญ้าคาก็ยังไม่ไหม้ ท่านก็นั่งอยู่ในนั้น ขณะไฟไหม้ ท่านไม่หนีก็แสดงว่ามีดีจึงอวดได้ บรรดาญาติกลับไปขนถึง 3 เที่ยว บรรทุกใส่เรือล่องลงมา ยังเมืองปทุม ถ้าไม่ขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ใครเล่าจะขึ้นไปขนแค่เสาตอม่อเรือนเตี้ย ๆ อย่างนั้น ทางญาติของ หลวงพ่อโพธิ์จึงเก็บกลับมาที่จังหวัดปทุมธานีหมด เหลือแต่ตำนานว่า ตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ นั้นศักดิ์สิทธิ์ ( ท่านมรณภาพก่อน พ.ศ. 2440 ) ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ ดอกที่สมบูรณ์มากที่สุด ดอกหนึ่ง ปัจจุบันนี้เป็นสมบัติของ หลวงพ่อเปรื่อง ท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลาน ( ปัจจุบัน ) ผู้สนใจขอท่านชมได้ ท่านคงจะไม่หวง แต่ขอบูชาต่อไม่ได้ท่านหวงแน่ หลวงพ่อเปรื่องเล่าว่า ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ดีทางคงกระพันเป็นเลิศ เขี้ยวเล็บของสัตว์ร้ายไม่เคย ได้กินเลือดของผู้ใช้ตะกรุดนี้อย่างแน่นอน คนถูกยิงมาก็มาก ไม่มีเข้า ตะกรุดของท่านมีประวัติดีมากด้านอยู่คง เจ้าของเดิมเป็นชาวบ้านแถบวัดวังหมาเน่านั่นแหละ พอถึงหน้าแล้ง น้ำในแม่น้ำตื้น พอเดินลุยข้ามได้ เจ้าของตะกรุดนี้ก็จูงควายข้ามแม่น้ำ ควายไม่ยอมลง แกก็ลงไปก่อน แล้วดึงเชือกสนตะพายให้ความเดินลงไปตาม พอดีมีจระเข้ขนาดใหญ่อยู่แถบนี้ เลยกัดตัวแกเข้าที่บั้นเอว แล้วคาบดำลงไปใต้น้ำ เจ้าของตะกรุดแกมีสติดี ชักมีดเหน็บที่เอว แล้วใช้มือคลำตาจระเข้ เอามีดแทงลูกตาของมัน มันจึงปล่อย

และหนีไป แกมีตะกรุดดอกนี้คาดอยู่ที่เอว จระเข้กัดยังไม่เข้า ปัจจุบัน ตะกรุดดอกนี้เป็นของหลวงพ่อเปรื่องท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลานในขณะนี้ ? บรรดาศิษย์เอกหลวงพ่อโพธิ์มีอยู่ คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อภู วัดท่าฬ่อ หลวงพ่อเทียบ ยังต้องไปเรียนจากท่านหลวงพ่อโพธิ์ ที่มีวิชาผู้เรืองเวทย์ ในอดีตโอกาสไปเรียนกันท่านหลวงพ่อโพธิ์ และได้รับวิชามามาก หลวงพ่อภูได้สร้างคุณความดีต่อศาสนามาก จึงได้การแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด และพระอุปัชฌายะ ตามลำดับ และได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าคณะแขวง เมื่อพูดถึงการสร้างเครื่องราง ก็ต้องพูดถึงศิษย์เอกของท่านองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อครุฑ ( พระครูศิล ธรารักษ์ ) ซึ่งหลายท่านบอกว่าเป็นหลานแท้ ๆ ของท่าน และต่อมาก็ได้ครอง วัดท่าฬ่อสืบต่อจากท่าน หลวงพ่อภู หลวงพ่อครุฑนี้เองที่ได้ช่วยเหลือท่านในการสร้างมงคลวัตถุใน ระยะหลังเมื่อท่านชราภาพแล้ว ผู้ที่ต้องการเช่าหาเครื่องรางของหลวงพ่อภูควรศึกษาอักขระลายมือ ของท่านให้แม่นยำ แต่ถึงแม้หลวงพ่อครุฑจะสร้างแทนแต่หลวงพ่อภูก็ปลุกเสกให้ใช้ได้ดีเช่นกัน หลวงพ่อภู ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเขื่อน และก็ได้นิมนต์มาประจำพรรษาอยู่ ณ วัดท่าฬ่อ ตลอดมาจนได้ 46 พรรษาเศษ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 10 พ.ศ. 2467 ตรงกับวันพุธ หลวงพ่อภู ท่าน ได้ลมเจ็บลงเพราะเป็นล้มอัมพาต พระสงฆ์ที่เป็นลัทธิวิหาริกและพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านท่าฬ่อ ก็ได้ตามแพทย์หลวงและแพทย์เชลยศักดิ์มาช่วยกันรักษาพยาบาล จนเต็มความสามารถ ก็มีแต่ ทรงกับทรุดลงจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2467 เวลา 04.00 น. เศษ ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพ ล่วงลับสู่ปรโลกก่อนที่ท่านจะมรณภาพลง รวมอายุได้ 69 ปี ท่านก็เรียกบรรดาสานุศิษย์ ญาติ มิตร ทั้งหลายมีอาจารย์ครุฑซึ่งเป็นหลายของท่านเข้ามาสั่งการที่จะยกช่อฟ้าศาลาที่ทำค้างอยู่ ให้เป็นผลสำเร็จอีกต่อไปจึงทำให้บรรดาสานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนรักใคร่นับถือท่านมาก และ เมื่อท่านจากไปทุกคนก็เสียใจกันอย่างมากโดยเฉพาะบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่หลวงพ่อภูที่เลี้ยงไว้ ต่างพากันเดินร้องไห้

น้ำตาไหลนำหน้าศพหลวงพ่อภู ซึ่งเป็นที่หน้าแปลกใจยิ่งนัก ของสานุศิษย์และ พุทธศาสนิกชนทั่วไปที่หลั่งไหลเข้ามาในงานปณกิจศพหลวงพ่อภู ในเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ชักศพ วันขึ้น 14 ค่ำ ซึ่งเป็นวันฌาปนกิจที่วัดท่าฬ่อ ฉลองอัฐิธาตุเพื่ออุทิศส่วนกาละปะนาผลหิตานุหัต ประโยชน์ไปให้กับท่าน พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ซึ่งเป็นที่เคารพนักถือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้ว่าหลวงพ่อภูจะสิ้นไล่หลังหลวงพ่อเงินเพียง 5 ปี แต่ทว่าท่านอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อเงินเกือบ 50 ปี เพราะหลวงพ่อเงินอายุยืนมากถึง 114 ปี ( หลวงพ่อเงินชาตะ 2348 ? มรณะ 2462 )




credit:เขียนโดย ฐกร...http://www.bkkamulet.com

ออฟไลน์ yout

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ประวัติ หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 08 มิ.ย. 2553, 09:02:25 »
ขอบคุณครับ............. :090: :090: :114: :090: :090:............