หมวด บทสวดมนต์ และ คาถา > บทสวดมนต์

บทสวดมหาจักรพรรดิ มหาบุญ,มหาลาภ

(1/1)

นายธรรมะ:
บทสวดมหาจักรพรรดิ มหาบุญ,มหาลาภ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

(กราบ 3 ครั้ง)
(สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17
พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10 )

นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย
อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

อานิสงค์การสวดบทพระบรมมหาจักรพรรดิ

โดยย่อกล่าวคือ

บท นี้เป็นการสวดไหว้พระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพานตลอดจนถึงพระธรรมเจ้าและพระ โพธิสัตว์เจ้า พระอริยสงฆ์สาวกทั้งมวลไหว้พระพุทธเจ้าทั้ง5พระองค์รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพ พรหมพระอริยะเจ้าทั้งหลาย

การสวดครั้งหนึงเป็นการดึงกำลังของพระเจ้า จักรพรรดิทุกๆพระองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาร่วมถึงกำลังของพระมหา โพธิสัตว์เจ้ามารวมอารธนาเข้าที่กายและใจและรวมกำลังของพระโพธิญานโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน และอนาคต

การ สวดครั้งหนึงมีอานิสงค์แผ่ไปทั่วจักวาลสามแดนโลกธาตุสามารถแผ่บญไปทั่วทุก สรรพสัตว์ตลอดจนเทวดาประจำตัวเราญาติมิตรเพื่อนฝูงครอบครัวเจ้ากรรมนายเวร และหากนำบทสวดนี้ไปสวดในนรกหรือแผ่ไปไฟนรกจะดับชั่วขณะ

บทนี้เป็นการ สร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัวร่วมถึงการอารธนาบารมีครูบาอาจารย์พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์อัญเชิญเข้าตัวเพื่อป้องกันภัยและสร้างมหาโชคมหาลาภ

อานิสงค์ แก่ผู้สวดมีทั่งมหาบุญมหาลาภเนื่องจากมีการกล่าวถึงพระสีวลีร่วมถึงบทนี้มี พลังงานอย่างยิ่งในการเจริญพระกรรมฐานหากนำไปสวดบริกรรมก่อนหรือระหว่างนั่ง ภาวนากรรมฐาน...จะทำให้การภาวนามีพุทธานุภาพมาคลุมและคุมการปฎิบัติของเรา คลุมกายและจิตเราเป็นวิมานทิพย์(ครอบวิมานให้ตัวเองหรือสวดอธิษฐานครอบคน อื่นก็ได้)

หากสวดบทนี้สามารถอฐิษฐานเรื่องราวใดๆมี่ติดข้องใจได้ให้ ผ่านพ้นไปอย่างทะลุปรุโปร่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่าคาถาจักรพรรดินี้ จากการเรียบเรียงถ้อยคำโดยหลวงปู่ดู่ท่าน ก่อให้เกิด จักรพรรดิ กำลังจักรพรรดิขึ้นด้วยในบทสวด พระคาถาครอบจักรวาล

บทสวดมนต์นี่เป็นบทสวดที่ดีนะครับ ถ้าใครไม่สบายใจ หรือ เจอสิ่งต่างๆที่ไม่ดี ก็ให้นึกถึงหลวงปู่ดู่ แล้่วท่องบทสวดมนต์นี่นะครับ
นายธรรมะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก เว็บบอร์ดพลังจิตด้วยครับ

ทรงกลด:
ขอบคุณครับ
=====
ประวัติ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา

 ชาติภูมิ

          หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง นามสกุล หนูศรี มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 3 คน ตัวท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่อหลวงพ่อถือกำเนิดได้ไม่นาน มารดาของท่านก็เสียชีวิต และเมื่อท่านอายุได้ 4 ปี บิดาของหลวงพ่อก็เสียชีวิตอีก ทำให้หลวงพ่อกำพร้าตั้งแต่วัยเยาว์ ท่านจึงได้อาศัยอยู่กับยาย และ พี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ เมื่อท่านถึงวัยที่ต้องศึกษา ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนที่ วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศธรรมประวัติ ตามลำดับ

         เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นทารกมีเหตุอัศจรรย์ที่ทำให้เชื่อว่าท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามาเกิด คือในช่วงหน้าน้ำหลาก คืนหนึ่งขณะที่บิดาและมารดากำลังทำขนมอยู่นั้น มารดาท่านได้วางตัวท่านไว้บนเบาะนอกชานบ้าน แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปน้ำ แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ตัวท่านกลับไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขที่บ้านเลี้ยงไว้ มาเห็นเข้าจึงเห่าและวิ่งกลับไปกลับมา มารดาท่านจึงสงลัยว่าคงจะมีเหตุการณ์ผิดปกติ จึงได้ตามสุนัขออกมาดู ก็พบท่านลอยน้ำอยู่ติดกับข้างรั้ว

 อุปสมบท

          เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ก็ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ตรงกับวันอาทิตย์แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ณ อุโบสถวัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า “ พรหมปัญโญ ”

 ศึกษาธรรม

         ในพรรษาแรกๆ นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัด ประดู่ทรงธรรม (ในสมัยนั้นเรียกว่าวัด ประดู่โรงธรรม) โดยศึกษากับ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

         ในด้านการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ ศึกษา กับ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ผู้เป้นพระอุปัชฌาย์ และ หลวงพ่อเภา ซึ่งเป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น และ มีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ. 2469 หลวงพ่อกลั่นก็ได้มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษากับหลวงพ่อเภาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจาก พระอาจารย์อีกหลายท่าน ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี ฯลฯ

เมื่อพ.ศ. 2486 ครั้นออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อก็ออกเดินธุดงค์ จากวัดสะแก มุ่งหน้า สู่ป่าเขาแถบจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างทาง ก็แวะนมัสการสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา

 นิมิตธรรม

          ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ.2500 เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง

“ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา

 เมตตาธรรม

         หลวงปู่ดู่ ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้งยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงพ่อมีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

 หลวงปู่ทวด

          ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลก ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ

 สร้างพระ

          หลวงพ่อดู่ ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยงทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล” แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”

 ปัจฉิมวาร

          นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาสุขภาพหลวงพ่อเริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงพ่อ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป

         ประมาณปลายปี พ.ศ.2532 หลวงปู่ดู่พูดบ่อยครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงปู่ดู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่างหนัก

         วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2533 ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงพ่อท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงพ่อยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ” หลังจากคืนนั้นหลวงพ่อก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ของ วันพุธที่ 17 มกราคมพ.ศ. 2533 รวมสิริอายุได้ 85 ปี 8 เดือน 65 พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไป

จึงขอยกธรรมคำสอนของหลวงพ่อที่สอนให้ศิษย์ เข้าถึงธรรมด้วยการสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นที่ตนเองดังนี้

 “ตราบใดก็ตาม ที่แกยังไม่เห็นความดีในตัวเอง

ก็ยังไม่นับว่า แกรู้จักข้า

แต่ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว

เมื่อนั้นข้าว่า แกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้วล่ะ”

 

ทรงกลด:
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา    
 
                             
          คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว คือ สวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติภาวนาคือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของชั่วคราว มีแต่ปัญหามีแต่ทุกข์ แล้วก็เสื่อม พังสลายไปในที่สุด
ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด) ทั้งหลาย ถ้าท่านต้องการพ้นภัยจากการเกิดแก่เจ็บตาย ท่านควรมีคุณธรรม 6 ประการนี้ไว้เป็นประจำจิตประจำใจ ทุกท่านย่อมจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงความสุขใจอย่างยอดเยี่ยม
คุณ 6 ประการนั้นคือ

1. ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม
2. ประคับประคองจิตในยามที่ควรประคับประคอง
3. ทำจิตให้ร่าเริงในยามที่ควรร่าเริง
4. ทำจิตวางเฉยในยามที่ควรวางเฉย
5. มีจิตน้อมไปในอริยมรรค อริยผลอันประณีตสูงสุด
6. มีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตผู้ปฏิบัติที่มีความสามารถฉลาด
ย่อมจะต้องศึกษาจิตใจและอารมณ์ของตนให้เข้าใจ และรู้จักวิธีกำหนดปล่อยวางหรือควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ได้ เปรียบเสมือนเวลาที่เราขับรถยนต์ จะต้องศึกษาให้เข้าถึงวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัย บางครั้งควรเร่ง บางคราวควรผ่อน บางทีก็ต้องหยุดเร่งในเวลาที่ควรเร่ง ผ่อนในเวลาที่ควรผ่อน หยุดในเวลาที่ควรหยุด ก็จะสามารถถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย
ข้อสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือ ต้องไม่ประมาท ต้องปฏิบัติให้เต็มที่ตั้งแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็นเสียแต่วันนี้ เวลาใกล้จะตายมันก็ไม่เป็นเหมือนกัน เหมือนคนที่เพิ่งคิดหัดว่ายน้ำ เวลาใกล้จะจมน้ำตาย นั่นแหละก็จมตายไปเปล่า ๆ ถ้าใน 1 วันนี้ไม่ปฏิบัติภาวนาวันนั้นขาดทุนเสียหายหลายล้านบาท
จงมองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่า คนสัตว์สิ่งของ เงิน ทอง ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ เป็นของโกหกของสมมุติ ภาพมายาทั้งนั้น ทุกอย่างไม่ใช่ของจริงเป็นของหลอกลวงที่คนไม่ฉลาดต่างพากันหลงใหลกับสิ่งของสมมุติของโกหก ไม่ว่าอารมณ์ดี อารมณ์ร้าย ก็ไม่ใช่ของเราจริงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากเหตุ(คือ ความไม่รู้ ความอยากได้) ถ้าต้องการดับทุกข์ ต้องดับเหตุก่อน คือ ให้รู้ว่าทั้ง 3 โลก เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงเป็นโทษเป็นทุกข์เป็นปัญหา และสูญสลายตายกันในที่สุด ถ้าเรามีญาณก็จะรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดในชีวิตเราไม่มีการบังเอิญเลย
ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมพิจารณาร่างกายคนสัตว์ในโลกว่าน่าเกลียดน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภาระต้องดูแลอย่างหนัก เน่าเหม็นแตกสลายตายไปกันหมด ผู้ที่มีศรัทธาแท้คือผู้ที่เชื่อและยอมรับ พระพุทะ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแทนที่จะเอาความโลภ ความโกรธ ความหลงมาเป็นที่พึ่ง ผู้ปฏิบัติตามพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คือ ให้ขยันภาวนา แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงจะน้อยลงและหมดไป
ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต ผู้ฝึกจิตถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่างจะสงบไม่ได้ และ ไม่สภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว โดยเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างแตกสลายตายหมดสิ้นแล้ว จิตก็มีกำลังเปล่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริง ได้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรควรรักษา อะไรควรละทิ้งออกจากจิต ไม่ควรใส่ใจสนใจเรื่องของผู้อื่น ควรตั้งใจตรวจสำรวจดูจิตของเราเองว่ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง คิดว่าร่างกายนี้ยังเป็นของจิตหรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตกับกายไม่ใช่อันเดียวกัน เพียงแต่มาอาศัยกันชั่วคราวเท่านั้น
อารมณ์วางเฉยมี 3 อย่าง
1. วางเฉยแบบหยาบ คือ อารมณ์ปุถุชนที่เฉย ๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น
2. วางเฉยแบบกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนา มีความรู้ตัว มีความสงบของจิต วางอารมณ์จากความดี ความชั่ว สุข ๆ ทุกข์ ๆ ใด ๆ ในโลกีย์วิสัย เฉยบ่อยมากขึ้น
3. วางเฉยแบบละเอียด คือ อารมณ์ของพระอริยเจ้า พระอรหันต์ ซึ่งไม่มีอารมณ์สุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว ดีใจปนเสียใจ วิตกกังวลฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่มี ไม่คิดปรุงแต่งไปในอดีต ปัจจุบัน อนาคต มีความวางเฉยในร่างกายของท่านเอง จะเจ็บปวดทรมาน จิตท่านนิ่งเฉยอยู่ในจิตของท่านว่าจิตส่วนจิต กายเป็นเพียงของสมมุติของชั่วคราว ตายเมื่อไร ท่านก็พร้อมที่จะทิ้งรูปนามขันธ์ เสวยวิมุติสุขแดนอมตะทิพย์นิพพานติดตามองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของดีนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน ของดีนั้นอยู่ที่จิตของท่านทุกท่าน ของไม่ดีอยู่ที่ร่างกาย
จิตมี 3 ขั้น ตรี โท เอก
ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย ยังวุ่นวายเป็นทุกข์กับเรื่องของโลก
ขั้นโท ก็มีศีลครบ มีเมตตา ทำบุญทำทาน
ขั้นเอกนี่ ดีมาก จิตก็มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ สัตว์ นรก เป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วก็ตายสลายผุพังไปกันหมดสิ้น ตัวอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับเอาไว้ให้คงที่ก็ไม่ได้ ตัวนี้แหละเป็นตัวเอก ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นร่างกายคนเรา ตานแน่ ๆ คนเราหนีตายไม่พ้น แม้เพียงวันเดียว
1. ตายน้อย ก็คือ นอนหลับทุกคืน หลับชั่วคราว คือ ตายทุกคืน ตื่นตอนเช้า
2. ตายใหญ่ ก็คือ นอนหลับตลอดกาล แต่จิตไปตื่นตรงที่มีกายใหม่ มีกายใหม่ที่อื่นเป็นกายผี กายสัตว์ กายเทวดา กายพรหม แล้วแต่ผลบุญหรือผลบาปที่ทำไว้ตอนเป็นคน

http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/tampratanporn%20luangpoo%20doo.html

arada:
ขอบคุณมากครับสำหรับรูปภาพแล้วข้อมูล อีกมากมายครับผม

.......จะลองนำคำสอนของหลวงปู่ไปประยุกต์ครับผม.........

ทรงกลด:
ประวัติหลวงปู่ดู่ ตอนที่ 2
[youtube=425,350]TEmgBQtrSd4[/youtube]

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version