ผู้เขียน หัวข้อ: พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา  (อ่าน 2895 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา 1/2



คมชัดลึก :ปลายเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้รับเชิญไปแสดง พูดธรรม-ฮัมเพลง (๒) (ผู้พูดเป็นฆราวาสจึงใช้คำว่า พูดธรรม แล้วสลับกับเล่นเพลงธรรมะจึงใช้คำว่า ฮัมเพลง) ที่จามจุรีสแควร์ โดยธรรมะภาคีระหว่างศูนย์หนังสือจุฬากับสำนักพิมพ์สุขภาพใจ ในหัวข้อ ๑๐๕ ปี พุทธทาสชาตกาล ผู้เขียนและคณะ ประกอบไปด้วย สุภาพบุรุษ ๒ คนที่มาพร้อมกับเครื่องดนตรีโฟล์กแบบวงเล็กๆ อันประกอบไปด้วย กีตาร์, ขลุ่ยไทย, ฮาโมนิกา (เม้าท์ออร์แกน) พวกเราเริ่มต้นด้วยการแสดงทัศนะเกี่ยวกับคำที่ท่านอาจารย์พุทธทาสฝากไว้ว่า ....


  พุทธทาส จักอยู่ไปไม่มีตายฯ
 คำว่า “พุทธทาส” จริงๆ น่ะ ท่านอาจารย์หมายถึงใคร?
หากมองกันอย่างผิวเผิน บางคนอาจคิดว่าเป็นปาฏิหาริย์ของท่านอาจารย์ หมายถึงท่านพุทธทาสที่ดับขันธ์ไปแล้ว เกือบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ตาย แต่หากพิจารณาใคร่ครวญให้ถี่ถ้วน ผมว่าท่านน่าจะฝากนัยเป็นปริศนาธรรมบางอย่างไว้ให้พวกเราทุกคนนั่นแหละ เพราะ แท้ที่จริง ท่านฝากให้เราทุกคน (ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสกและอุบาสิกา) ต่างหาก ที่ต้องทำหน้าที่เป็น “พุทธทาส” หรือ ทาสพระพุทธ “พุทธทาส” จึงจะไม่ตาย
เพราะฉะนั้น เราจะทำหน้าที่ “พุทธทาส” ให้ได้ดีนั้น สำคัญต้องเข้าถึงหัวใจ หรือแก่นของศาสนาของตัวเองก่อน ดังปณิธานข้อแรก ที่ท่านอาจารย์ฝากไว้

อะไรคือหัวใจของพุทธศาสนา?
 ก่อนจะตอบเรื่องนี้ ผมได้ค้นคว้างานอมตะชิ้นหนึ่งของท่านพุทธทาส ซึ่งผู้เขียนอ่านซ้ำเป็นสิบรอบ ก็ยังไม่เบื่อ... หนังสือ “คู่มือมนุษย์” ซึ่งท่านเขียนไว้อย่างใจกว้าง และไม่ยัดเยียดคำตอบให้ชาวพุทธ ผู้มีปัญญา ในทันทีทันใด ท่านเริ่มเรื่องด้วยกัน ชวนให้ฉุกคิดกันเชิงกว้างก่อนว่า ...

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110624/101253/พึ่งตนพึ่งธรรมอะไรคือหัวใจพุทธศาสนา.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 มิ.ย. 2554, 08:51:18 »
พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา 2/2

ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน?

   อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ พุทธบริษัทของเรา มักเข้าใจ หรือชอบใจ พุทธศาสนากันไปในมิติที่แตกต่างกัน หนำซ้ำ ยังไม่ชัดเจนในเป้าหมายสูงสุดของศาสนา เหมือนกับประดาศาสนิกชนอื่น ซึ่งหากลองไปถามเป้าหมายสูงสุดของพวกเขาเหล่านั้นดู ก็จะได้คำตอบที่ค่อนข้างจะชัดเจน และไม่แตกต่างกันไปมากนัก ส่วนพวกเราชาวพุทธ บางทีลองถาม ๑๐ คน อาจจะได้คำตอบถึง ๕ แบบด้วยกัน ... ในหนังสือ “คู่มือมนุษย์” จึงเปิดประเด็นไว้ในหลายๆ มิติ เช่น บางคนชอบพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นปรัชญาบ้าง, ในฐานะที่เป็นจิตวิทยาชั้นสูงบ้าง, ในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์บ้าง, ในฐานะที่เป็นหลักวัฒนธรรม หรือ ศิลปะบ้าง, ในฐานะที่เป็นสัจธรรมที่ลึกซึ้งเร้นลับบ้าง, หรือในฐานะที่เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นบ้าง เป็นต้น

เมื่อผู้ที่ชอบในมิติ ที่ต่างกันไป ก็เลยไปถึงการเข้าถึงหัวใจศาสนาที่แตกต่างกันไป เช่นกัน จึงมีคำตอบที่หลากหลายสำหรับ “หัวใจพุทธศาสนา” มีตั้งแต่ ทางสายกลาง, อริยสัจ ๔, อิทัปปัจยตา, โอวาทปาฏิโมกข์, ไตรสิกขา (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) หรือแม้กระทั่ง... นิพพาน เป็นต้น ผู้เขียนนึกสนุก ลองเช็คดูในเน็ต โดยเข้าไปคีย์คำว่า “หัวใจพุทธศาสนา” ที่ Google ก็พบว่า คำตอบยอดนิยมที่สุด คือ โอวาทปาฏิโมกข์ อันหลักๆ ได้กล่าวถึงหัวใจการปฏิบัติ ๓ ข้อ หมายถึง ละชั่ว-ทำดี-ทำจิตเกลี้ยง วิมุตติ ผ่องใส

 อย่างไรก็ดี ท่านอาจารย์พุทธทาส ฝากสรุปหัวใจธรรม ๓ ข้อแห่งโอวาทปาฏิโมกข์ ลงเป็นประโยคเดียว อันเป็นพุทธพจน์ที่สำคัญมากๆ และปราชญ์หลายท่านในแผ่นดินสยาม ถือเป็นคติดำเนินชีวิตเลยทีเดียว ดังเช่น อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และผมนับเป็นคาถาที่ต้องท่องประจำทุกวันเลย คาถานั้นคือ ...

สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
 (อ่านว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ)
 สรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


   ผมว่า พระคาถาที่รวบยอดอย่างนี้แหละ ทำให้เราไม่เผลอไปหลงงมงายอะไรลงไปมากมาย ตราบเท่าที่สิ่งๆ นั้น ยังเป็น “ของคู่” อยู่ คือ มีขั้วตรงข้าม เช่น ชั่ว-ดี, บุญ-บาป, กุศล-อกุศล, รวย-จน, สุข-ทุกข์ ฯลฯ เมื่อไม่หลงไปยึดมั่นอะไรมากมายแล้ว จิตจะปล่อยวาง ว่างเบา โดยธรรมชาติของมันเอง นอกจากการปฏิบัติอานาปานสติแล้ว การโยนิโสมนสิการสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติ มองเห็นทุกสรรพสิ่งอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ (อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา) ท่านพุทธทาสก็ยกให้เป็นวิปัสสนาลัดสั้น ประการหนึ่งเลยทีเดียว อย่างนี้กระมัง พวกเราทุกคน ทุกท่าน จึงสามารถทำนิพพานชิมลอง ได้ ที่นี่และเดี๋ยวนี้

 ณ ขณะที่เราไม่แบกอดีต ไม่แบกอนาคต อยู่กับปัจจุบันได้อย่างปล่อยวางในการยึดมั่นในความคิดปรุงแต่งเดิมๆ นี่เอง ที่บันดาลให้เข้าสู่หัวใจแห่งพุทธศาสนาที่แท้จริง นั่นคือสันติภาพที่ทุกคนสามารถทำให้เกิดมีได้

 นิพพาน เป็นของแปลก
 ยิ่งอยากได้ ยิ่งห่างไกล
 หยุดอยากเมื่อไหร่
 ถึงได้โดยไร้เจตนา

"พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110624/101253/พึ่งตนพึ่งธรรมอะไรคือหัวใจพุทธศาสนา.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิ.ย. 2554, 08:51:48 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 25 มิ.ย. 2554, 11:06:16 »
ขอบคุณพี่ทรงกลดด้วยนะครับที่นำหัวใจพระพุทธศาสนามาลงให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านศึกษากัน อนุโมทนาด้วยครับ สาธุ สาธุ

ธรรมที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนาภิกษุผู้บรรลุอรหัตผล ล้วนแล้วแต่เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา ทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ไว้ ณ พระเวฬุวัน ในวันมาฆปูรณมีบูชา ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" (หาอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือสวดมนต์ทั่วไป) นำมาขยายความไว้ดังนี้ครับ

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
แปลว่า - ความอดทน คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
แปลว่า - พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า พระนิพพานเป็นเยี่ยม

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
แปลว่า - ผู้ล้างผลาญผู้อื่น, ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
แปลว่า - ผู้เบียดเบียนผู้อื่น, ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ
แปลว่า - นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย




สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
แปลว่า - การไม่ทำบาปทั้งปวง หนึ่ง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา
แปลว่า - การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม หนึ่ง

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
แปลว่า - การกลั่นจิตของตนให้ผ่องแผ้ว หนึ่ง

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ
แปลว่า - นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย



อะนูปะวาโท
แปลว่า - การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน หนึ่ง

อะนูปะฆาโต
แปลว่า - การไม่เข้าไปล้างผลาญกัน หนึ่ง

ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร
แปลว่า ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ หนึ่ง

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง(อ่านว่า ตัด  - สะ - หมิง)
แปลว่า - ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร หนึ่ง

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
แปลว่า - การนอนการนั่งอันสงัด หนึ่ง

อะธิจิตเต จะ อาโยโค
แปลว่า - การประกอบความเพียรในอธิจิต หนึ่ง

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ
แปลว่า - นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

************************************

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 25 มิ.ย. 2554, 11:17:51 »
ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่นำคำสอนของพระพุทธองค์มาชี้แนะ
จักได้ศึกษาพิจารณาปฏิบัิติให้ลึกซึ้งต่อไปครับ :054:

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 09:37:09 »
หัวใจพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   
หน้า ๑

            หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร ว่ากันไปหลายอย่าง ถูกทั้งนั้น อันไหนก็ได้

            พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธศาสนา" เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่ายๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลี คือ "โอวาทปาฎิโมกข์" หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์" ภาษาพระหรือภาษาบาลีว่า.....

            " สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ "
            แปลให้เต็มเลยว่า "การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพรียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"


            คำลงท้ายว่า "นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ทำให้เราคิดว่านี่แหละเป็นคำสรุป แสดงว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ เราก็เลยเรียกว่า "หัวใจ" มาเป็นจุดเริ่มต้น แต่กระนั้นชาวพุทธผู้ได้ฟังพระสอนมามากๆ พระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่บางท่านพูดถึงหลักการอื่นว่า อันโน้นสิ อันนี้สิ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา บางทีโยมก็ชักงง จึงขอยกเอาเรื่องนี้มาพูดว่าอะไรกันแน่ที่เรียกว่าเป็น หัวใจพระพุทธศาสนา

            บางท่านบอกว่า "อริยสัจสี่" เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

            ….. พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ (จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้ หมายความว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ ๓ ด้าน คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า ๓ ปริวัฎ

            อธิบายว่า..... รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

            ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

            บางท่านไปจับเอาที่พระไตรปิฎกอีกตอนหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้กระทัดรัดมากว่า..... "ปุพฺเพจาหํ ภิกฺขเว เอตรหิ จ ทุกขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกขสฺส จ นิโรธํ " ภิกษุทั้งหลายทั้งในกาลก่อนแลบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ถ้าจับตรงนี้ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดนั้น หลักการของพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้ คือ ทุกข์และความดับทุกข์

            ท่านพุทธทาสกล่าวถึงหลักอีกข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือ..... "สพฺเพ ธฺมมา นาลํ อภินิเวสาย " แปลว่า "ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น" ..... คำว่า "นาลํ" แปลว่าไม่ควร หรือ ไม่อาจ ไม่สามารถ คำว่า "ไม่ควร " ในที่นี้หมายความว่า เราไม่อาจไปยึดมั่นมันได้ เพราะมันจะไม่เป็นไปตามใจเราแน่นอน เมื่อมันไม่อาจจะยึดมั่น เราก็ไม่ควรจะยึดมั่นมัน อันนี้ท่านถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เมื่อได้พังอย่างนี้ ก็ทำให้เราสงสัยกันว่าจะเอาหลักอันไหนดีเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็เลยขอให้ความเห็นว่าอันไหนก็ได้

ที่มา
http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/page01.php

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 28 มิ.ย. 2554, 03:44:12 »
พึ่งตนพึ่งธรรม - อะไรคือหัวใจพุทธศาสนา 36; 36;
                                     
ขอบคุณท่าน ทรงกลด และ ท่านปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ให้ความรู้ครับ :053: :053:
                                                                                                                                                                 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ