ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท  (อ่าน 3285 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 1/2
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:28:11 น.


http://www.matichonbook.com/index.php/newbooks/-855.html

บิณฑบาตเอาคนไม่เอาอาหาร

ระหว่างวันที่ ๕ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๐ พระอาจารย์ชา สุภัทโท เดินทางไปยังสหราชอาณาจักร

เป็นการเดินทางไปพร้อมกับพระสุเมโธ และพระเขมธัมโม

เป็นการเดินทางขณะที่พระอาจารย์ชา สุภัทโท มีอายุครบ ๕๙ ปี ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๒๐

เป็นการเดินทางขณะอยู่ในพรรษาที่ ๓๘ ของการอุปสมบท

นอกเหนือจากที่ได้เขียนเอาไว้ในหัวข้อ “บันทึกเรื่องการเดินทางไต่างประเทศ” แล้ว ครั้งหนึ่งระหว่างบรรยายแก่พุทธบริษัทที่วัดหนองป่าพง ภายใต้หัวข้อที่ตั้งขึ้นในภายหลังว่า “ธรรมที่หยั่งรู้ยาก”

พระอาจารย์ชา สุภัทโท ได้เล่าเรื่องบางเรื่องของการเดินทางไปยังสหราชอาณาจักรอย่างเปี่ยมด้วยความมีชีวิตชีวา
ดังได้สดับมา ดังนี้

อาตมาออกไปเมืองนอกซึ่งเขาไม่มีพระเหมือนบ้านเรา ก็เป็นเหตุให้มองเห็นพระพุทธเจ้าเสียแล้ว
พอเราออกไปบิณฑบาต เขามองไม่เห็นพระเลย เขามองเป็นตัวอะไรก็ไม่รู้

คนที่คิดจะใส่บาตรสักคนหนึ่งก็ไม่มี มีแต่เขาพากันมองว่าตัวอะไรน่ะมานั่น โอ้โฮ...นึกถึงพระพุทธองค์
อาตมากราบท่านเลย

มันแสนยาก แสนลำบาก ที่จะฝึกคน เพราะเขาไม่เคยทำ ผู้คนที่ไม่เคยทำไม่รู้จัก นี่มันลำบากมาก

พอมานี่ นึกถึงเมืองไทย เราออกจากป่าไปบิณฑบาตเท่านั้นแหละ ไม่อดแล้ว ไปที่ไหนมันก็สบายมาก แต่เมื่อเราไปเมืองนอกอย่างนั้น มองๆ ดูไม่มีใครตั้งใจมาตักบาตรพระ บาตรเขายังไม่รู้จักเลย

เราสะพายบาตรไป เขานึกว่าเป็นเครื่องดนตรีเสียอีก

ถึงอย่างนั้นอาตมาก็ยังดีใจในสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว โดยมากพระท่านไปเมืองนอกท่านไม่บิณฑบาตหรอก อาตมามองเห็นข้อนี้นึกถึงพระพุทธเจ้า

อาตมาต้องบิณฑบาต ใครจะห้ามก็จะบิณฑบาต

ไปทำกิจอันนี้ที่กรุงลอนดอนได้ ดีใจเหลือเกิน พวกพระไปด้วยกันก็ว่าบิณฑบาตทำไม มันไม่ได้อาหาร

“อย่าเอาอาหารสิ ไปบิณฑบาตเอาคน เอาคนเสียก่อน ขนมมันมากับคน”

ก็เหมือนท่านพระสารีบุตร ท่านไปบิณฑบาต อุ้มบาตรอยู่ในบ้านตั้งหลายครั้ง เขาก็ไม่ใส่บาตรสักขันเลย
เขามองดูแล้วเขาก็เดินหนี

มาถึงวันหนึ่งเขาก็ว่า “พระสมณะนี่มาอย่างไร ไป หนีไป”

พระสารีบุตรท่านก็ดีใจแล้ว ได้บิณฑบาตแล้ววันนี้ เพราะเขาสนใจเขาจึงไล่เรา ถ้าเขาไม่สนใจเขาไม่ไล่หรอก เขาไม่พูดกับเราหรอก

อาตมานึกถึงข้อนี้แล้วก็ไม่อาย เพราะพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสว่า
“ให้อายแต่สิ่งที่มันเป็นบาป ไม่เป็นบาปไม่ต้องอาย”

ก็เลยออกบิณฑบาตได้สัก ๗ วัน ตำรวจก็จ้องสะกดรอยตามมาห้ามให้หยุดเดินบิณฑบาต บอกว่าผิดกฎหมายในเมืองเขา

เราไม่รู้นี่ว่ามันผิด เราก็หยุด ที่ผิดเพราะเขาหาว่าเป็นขอทานบ้านเขาห้ามขอทาน

เราก็บอกว่า อันนั้นมันเป็นเรื่องของคน แต่นี่มันเรื่องของศาสนาพระพุทธศาสนาไม่ใช่ขอทาน ขอทานประการหนึ่ง การบิณฑบาตอีกอย่างหนึ่ง

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321955820&grpid=no&catid=&subcatid=
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07 ธ.ค. 2554, 09:33:10 »
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 1/2
วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 15:35:13 น.



เมื่อ “ไก่ป่า” เห็นธรรม

หนองป่าพงเมื่อปี ๒๔๙๗ ยังเป็นดงดิบหนาทึบ ชาวบ้านเรียกว่าดงหนองป่าพง อยู่ห่างจากบ้านก่ออันเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์ชา สุภัทโทประมาณ ๒-๓ กิโลเมตร

วันที่ ๘ มีนาคม ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง เวลาบ่าย คณะของพระอาจารย์เดินทางไปถึง เช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อคณะธุดงค์ออกสำรวจ ก็ทราบว่าเป็นสถานที่รกทึบแทบหาที่วางบริขารไม่ได้
รกทึบเพราะว่าเป็นป่าดงดิบ

เมื่อพระอาจารย์ชา สุภัทโท ตัดสินใจตั้งสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นและลงมือหักร้างถางพงในเช้าวันต่อมา นั่นหมายถึงบาทก้าวแรกของวัดหนองป่าพง

เวลาผ่านมาจากปี ๒๔๙๗ จนถึงปี ๒๕๑๙ เป็นเวลา ๒๒ ปี

กระนั้น ภาพของหนองป่าพงอันปรากฏผ่านการบรรยายโดยพระอาจารย์ชา สุภัทโท แก่ที่ประชุมสงฆ์หลังสวดปาฏิโมกข์ในระหว่างพรรษา ๒๕๑๙ ก็ยังเป็นภาพอันสัมพันธ์กับไก่ป่าอย่างจำหลักหนักแน่น
เป็นภาพอันสะท้อนถึงการเรียนรู้จากไก่ป่า เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระรูปหนึ่ง กับไก่ป่าตัวหนึ่ง ดังได้สดับผ่านธรรมบรรยาย “สองหน้าของสัจธรรม” เช่นนี้

เรารู้กันทุกคนว่าไก่ป่านั้นเป็นอย่างไร สัตว์ในโลกนี้ที่จะกลัวมนุษย์ยิ่งไปกว่าไก่ป่านั้นไม่มีแล้ว
เมื่อมาอยู่ในป่านี้ครั้งแรก ก็เคยสอนไก่ป่า เคยเฝ้าดูมัน แล้วก็ได้ความรู้จากไก่ป่าหลายอย่าง
ครั้งแรก มันมาเพียงตัวเดียว เดินผ่านมา

เราก็เดินจงกรมอยู่ในป่า มันจะเข้ามาใกล้ ก็ไม่มองมัน มันจะทำอะไร ก็ไม่มองมัน ไม่ทำกิริยาอันใดกระทบกระทั่งมันเลย

ต่อไปก็ลองหยุดมองดูมัน พอสายตาเราไปถูกมันเข้า มันวิ่งหนีเลย แต่พอเราไม่มอง มันก็คุ้ยเขี่ยอาหารกินตามเรื่องของมัน แต่พอมองเมื่อไร ก็วิ่งหนีเมื่อนั้น

นานเข้าสักหน่อย มันคงเห็นความสงบของเรา จิตใจของมันก็เลยว่าง แต่พอหว่านข้าวให้เท่านั้น ไก่มันก็หนีเลย
ก็ช่างมัน ก็หว่านทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ

เดี๋ยวมันก็กลับมาที่ตรงนั้นอีก แต่ยังไม่กล้ากินข้าวที่หว่านไว้ให้ มันไม่รู้จัก นึกว่าเราจะไปฆ่าไปแกงมัน
เราก็ไม่ว่าอะไร กินก็ช่าง ไม่กินก็ช่าง ไม่สนใจกับมัน

ไม่ช้ามันก็ไปคุ้ยเขี่ยหากินตรงนั้น มันคงเริ่มมีความรู้สึกของมันแล้ววันต่อมามันก็มาตรงนั้นอีก มันก็ได้กินข้าวอีก
พอข้าวหมดก็หว่านไว้ให้อีก มันก็วิ่งหนีอีก

แต่เมื่อทำซ้ำอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ตอนหลังมันก็เพียงแต่เดินหนีไปไม่ไกล  แล้วก็กลับมากินข้าวที่หว่านไว้นั้น
นี่ก็ได้เรื่องแล้ว

ตอนแรกไก่มันเห็นข้าวสารเป็นข้าศึกเพราะมันไม่รู้จัก เพราะมันดูไม่ชัด มันจึงวิ่งหนีเรื่อยไป ต่อมา มันเชื่องเข้า

จึงกลับมาดูตามความเป็นจริง ก็เห็นว่า นี่ข้าวสาร นี่ไม่ใช่ข้าศึกไม่มีอันตราย มันก็มากิน จนตลอดทุกวันนี้
นี่เรียกว่าเราก็ได้ความรู้จากมัน

เราออกมาอยู่ในป่า ก็นึกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ในบ้านเป็นข้าศึกต่อเราจริงอยู่ เมื่อเรายังไม่รู้ มันก็เป็นข้าศึกจริงๆ

แต่ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ก็เหมือนไก่รู้จักข้าวสารว่าเป็นข้าวสาร ไม่ใช่ข้าศึกข้าศึกก็หายไป

เรากับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เหมือนกันฉันนั้น มันไม่ใช่ข้าศึกของเราหรอก แต่เพราะเราคิดผิด เห็นผิด พิจารณาผิด จึงว่ามันเป็นข้าศึก ถ้าพิจารณาถูกแล้วก็ไม่ใช่ข้าศึก แต่กลับเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้วิชา ให้ความฉลาดแก่เราต่างหาก

แต่ถ้าไม่รู้ก็คิดว่าเป็นข้าศึก เหมือนกับไก่ที่เห็นข้าวสารเป็นข้าศึกมัน ถ้าเห็นข้าวสารเป็นข้าวสารแล้วข้าศึกมันก็หายไป พอเป็นอย่างนี้ก็เรียกว่าไก่มันเกิดวิปัสสนาแล้ว มันจึงเชื่อง ไม่กลัว ไม่ตื่นเต้น

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322123954&grpid=&catid=&subcatid=

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 07 ธ.ค. 2554, 09:34:39 »
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 2
วันที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:30:53 น.

ภิกขุ ภิกขาจาร

พจนานุกรมให้ความหมายโดยพื้นฐานของ ภิกขุ ว่า ผู้ขอ นี่ย่อมสัมพันธ์กับภิกขาและภิกขาจาร
เพราะว่า ภิกษา มีพื้นฐานมาจาก ภิกขา เหมือนกับ ศิกษา หรือ สิกขาเพียงแต่เมื่อภิกษาหมายถึงการขออาหาร อาหารที่ขอมา

ดังนั้น ภิกษาจาร จึงเท่ากับ การเที่ยวขอ การเที่ยวขออาหาร

เพราะว่าวัตรปฏิบัติ ภิกขาของพระภิกษุเริ่มขึ้นในสมัยพุทธกาลจึงเหมือนกับเมื่อพระอาจารย์ชา สุภัทโท จาริกไปพร้อมกับสุเมโธภิกขุยังมหานครลอนดอน

นั่นก็คือ เป็นสภาวะแปลกใหม่และแปลกแยกอย่างยิ่งกับสังคม

ดังได้สดับมาจากพระอาจารย์ชา สุภัทโท เช่นนี้

พระอานนท์กับพระพุทธเจ้าของเราในสมัยก่อนไปบิณฑบาตบ้านมิจฉาทิฐิ พอไปถึงหน้าบ้าน พระพุทธองค์ก็สะพายบาตรยืนเฉย

ท่านก็อาย

เพราะท่านเข้าใจว่า เรายืนอยู่เฉยๆ มันไม่บาปหรอก เขาจะให้ก็ไม่เป็นไร เขาจะไม่ให้ก็ไม่เป็นไร
ท่านยืนอยู่เฉยๆ

พระอานนท์เดินย่ำเท้าไปมา อายเขา คิดว่าพระพุทธองค์นี้อยู่ทำไม ถ้าเขาไล่ก็น่าจะหนีไป เขาไม่ให้ก็ยังทนอยู่ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย

พระพุทธองค์ก็เฉย

จนกว่าสุดวิสัยแล้วก็ไป บางทีเขาก็ให้ ให้ในฐานที่ไม่เคารพ พระพุทธเจ้าก็เอา เขาให้พระพุทธเจ้าก็เอา ท่านไม่หนีไปไหน

ไม่เหมือนพระอานนท์

พอกลับมาถึงอาราม พระอานนท์ก็กราบพระพุทธองค์แล้วถามว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงไหนที่เขาไม่ใส่บาตรให้เรา เราจะไปยืนอยู่ทำไม มันเป็นทุกข์ อายเขา เขาไม่ให้ก็รีบไปที่อื่นเสียดีกว่า”

พระพุทธองค์ตรัส

“อานนท์ ตรงนี้ถ้ายังไม่ชนะมัน ไปที่อื่นก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่ ไปที่อื่นเราก็ชนะ”

พระอานนท์ว่า “ชนะไม่ชนะไม่รู้เรื่องแหละ อายเขา”

“อายทำไม อานนท์ อย่างนี้มันผิดหรือเปล่า เป็นบาปไหม เรายืนอยู่ เขาไม่ให้ก็ไม่เป็นไร”

พระอานนท์บอกว่า “อาย”

“อายทำไม เรายืนอยู่เฉยๆ มันเป็นบาปที่ไหน อานนท์ เราจะต้องทำอยู่อย่างนี้ ถ้าเราชนะมันตรงนี้ ไปที่ไหนมันก็ชนะ แต่ถ้าเขาไม่ให้ เราก็ไปที่โน่น ถ้าไปที่โน่นแล้วเขาไม่ให้ เราจะไปไหน อานนท์”

“ไปอีก ไปบ้านโน้นอีก”

“ถ้าหากบ้านโน้นเขาไม่ให้ เราจะไปตรงไหน”

“ไปตรงโน้นอีก”

“เลยไม่มีที่หยุดเลย อานนท์ ถ้าเราไม่ชนะตรงนี้ ไปข้างหน้ามันก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่แห่งเดียว ไปที่อื่นมันก็ชนะทั้งนั้น อานนท์ เข้าใจผิดแล้ว ไม่ต้องอายสิ”

กระนั้น ในความเป็นจริง ความหมายของ “ภิกษุ” มิได้มีแต่เพียงว่าผู้ขอเท่านั้น

ตรงกันข้าม หากพลิกไปยังหน้า ๑๗๓ ของหนังสือ “พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์” ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ฉบับตีพิมพ์เล่มใหญ่ ๓๗๖ หน้า ก็จะประจักษ์ในความหลากหลายแห่งความหมายนอกเหนือไปจากผู้ขอ

นั่นก็คือ ๑ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร นั่นก็คือ ๑ ผู้ทำลายกิเลส

ดังที่พระอาจารย์ชา สุภัทโทเห็นว่า อย่างคำสอนที่ท่านสอนว่าภิกขุ ท่านแปลว่าผู้ขอ ถ้าแปลอย่างนี้การปฏิบัติมันก็ไปรูปหนึ่ง ถ้าใครเข้าใจอย่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ภิกษุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร นี่มันก็ลึกซึ้งกว่ากัน
ผู้เห็นภัยในสงสารก็คือ เห็นโทษของวัฏฏะ ในวัฏสงสารนี้มันมีภัยมากที่สุด แต่ว่าคนธรรมดาสามัญ ไม่เห็นภัยในสงสารนี้

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322800384&grpid=no&catid=&subcatid=

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 17 ธ.ค. 2554, 10:34:47 »
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท : ตอนที่ 3
วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:51:25 น.


  เงาสะท้อน “วัตถุ” กับ “จิต” 
 
มีความแตกต่างกันอย่างแน่นอนระหว่างไก่ป่า กับ แมงมุม
 
ไม่เพียงเพราะอย่างแรกอยู่บนพื้นดิน ไม่เพียงเพราะอย่างหลังอยู่บนต้นไม้ อยู่ตามอาคารบ้านเรือน
หากที่สำคัญ ๒ สัตว์นี้มีภาวะแห่งการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมือนกัน
 
อย่างหนึ่งจรไปในไพรกว้างและหาอาหาร อย่างหนึ่งสงบนิ่งอยู่ในที่ตั้ง รอคอยอย่างนิ่งเงียบ เยือกเย็น
จากไก่ป่า เมื่อสัมผัสเข้ากับแมงมุม ก็มองเห็นทวิลักษณะ
 
เพียงแต่เป็นทวิลักษณะแห่งการไหวเคลื่อน เสมือนกับว่าไก่ป่าเดินหน้าไปอย่างไม่พรั่นพรึง ขณะที่แมงมุมใช้ความสงบเข้าสยบการเคลื่อนไหว
 
กระนั้น ไม่ว่าจะเป็นไก่ป่าไม่ว่าจะเป็นแมงมุม ในที่สุดแล้วก็นำไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับจิต
ดังพระอาจารย์ชา สุภัทโท เล่า ณ ที่ประชุมสงฆ์วัดหนองป่าพงระหว่างพรรษาปี ๒๕๑๙ ดังนี้
 
ได้เห็นแมงมุมเป็นตัวอย่าง แมงมุมทำรังของมันเหมือนข่ายมันสานข่ายไปขึงไว้ตามช่องต่างๆ
เราไปนั่งพิจารณาดู มันทำข่ายขึงไว้เหมือนจอหนัง เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันเองเงียบอยู่ตรงกลางข่าย
ไม่วิ่งไปไหน
 
พอมีแมลงวันหรือแมลงอื่นๆ บินผ่านข่ายของมัน พอถูกข่ายเท่านั้นข่ายก็จะสะเทือน พอข่ายสะเทือนปุ๊บ มันก็วิ่งออกจากรังทันทีไปจับตัวแมลงไว้เป็นอาหาร
 
เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันไว้ที่กลางข่ายตามเดิม
 
ไม่ว่าจะมีผึ้งหรือแมลงอื่นใดมาถูกข่ายของมัน พอข่ายสะเทือนมันก็วิ่งออกมาจับแมลงนั้นแล้วก็กลับไปเกาะนิ่งอยู่ที่ตรงกลางข่าย
 
ไม่ให้ใครเห็นทุกทีไป
 
อายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ ใจอยู่ตรงกลาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แผ่พังพานออกไป
อารมณ์นั้นเหมือนแมลงต่างๆ
 
พอรูปมาก็มาถึงตาเสียงมาก็มาถึงหู กลิ่นมาก็มาถึงจมูก รสมาก็มาถึงลิ้น โผฏฐัพพะมาก็มาถึงกาย
ใจเป็นผู้รู้จัก มันก็สะเทือนถึงใจ
 
เราจะอยู่ด้วยการเก็บตัวไว้เหมือนแมงมุม ที่เก็บตัวไว้ในข่ายของมัน ไม่ต้องไปไหน พอแมลงต่างๆ มันผ่านข่ายก็ทำให้สะเทือนถึงตัว รู้สึกได้ก็ออกไปจับแมลงไว้ แล้วก็กลับไปอยู่ที่เดิม
 
ไม่แตกต่างอะไรกับใจของเราเลย
 
อยู่ตรงนี้ ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวังอยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความคิดถูกต้อง
เราอยู่ตรงนี้ เมื่อไม่มีอะไรเราก็อยู่เฉยๆ แต่ไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาท
 
ดูแมงมุม แล้วก็น้อมเข้ามาหาจิตของเรา มันก็เหมือนกันนั่นแหละ ถ้าจิตเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็วาง
ไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์ อีกแล้ว
 
ระหว่างแมงมุมกับแมลง  จึงเห็นได้ว่ามีตาข่ายเป็นตัวกลาง
 
เหมือนกับตัวเรากับปัจจัยภายนอก เหมือนใจของเรากับธรรมารมณ์ อันก่อให้เกิดขึ้นหลังจากอายตนะทั้ง ๖ ได้ประสบ
 
อยู่ๆ จิตจะผุดพร่างเผยแสดงตัวตนได้ละหรือ
 
ที่สำคัญ ต้องมีปัจจัยจากภายนอกเข้ามาสัมผัส เข้ามาสัมพันธ์กับอายตนะ ๖ อย่างที่ปรากฏ นั่นก็คือ พอรูปมาก็มาถึงตา เสียงมาก็มาถึงหู กลิ่นมาก็มาถึงจมูก รสมาก็มาถึงลิ้น โผฏฐัพพะมาก็มาถึงกาย
 
ขณะที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหมือนกับปัจจัยภายนอกอันมามีผัสสะกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตาข่ายแห่งแมงมุมจึงเท่ากับเป็นเงาสะท้อนระหว่างวัตถุกับจิตด้วยประการฉะนี้

ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323421341&grpid=no&catid=&subcatid=

ออฟไลน์ arada

  • เรียนๆ รักๆ ปากกาถูกลัก ไม่พักเรียน
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1111
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - nuk_b@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 17 ธ.ค. 2554, 06:08:11 »
ขอบคุณมากครับ
ธรณีนี่นี้             เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์    หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร     เราชอบ

เรา บ่ ผิดท่านมล้าง    ดาบนั้นคืนสนอง

ออฟไลน์ siamnet16

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 7
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 20 ธ.ค. 2554, 02:51:36 »
ขอบคุณครับ
ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท

ออฟไลน์ Ketrool

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ธรรมวิจยะ พระอาจารย์ชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 11 พ.ย. 2562, 11:57:22 »
ได้บทเรียนมากขึ้นเลยครับ