ผู้เขียน หัวข้อ: ศรัทธาแห่งพุทธะ(ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)ที่...ศรีลังกา  (อ่าน 1522 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด









ศรีลังกา เป็นประเทศเล็กๆตั้งอยู่บนเกาะซึ่งเหล่ากวีได้เปรียบเปรยว่าเป็น หยาดมรกตที่หยดลงบนมหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทยถึง ๘ เท่า และมีประชากรกว่า ๒๐ล้านคน ซึ่งมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนานมากกว่า ๒,๕๐๐ ปี


ควบคู่มากับพระพุทธศาสนาที่ชาวลังกากว่า ๗๙ % ถือเป็นหลักยึดมั่น วางรากฐานวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตจิตวิญญาณตลอดมา ดินแดนแห่งนี้คือต้นทางพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ที่เผยแผ่เข้ามาสู่ดินแดนอุษาคเนย์เมื่อกว่า ๘๐๐ ปีมาแล้ว แต่ก็เคยเกือบจะต้องสูญเสียพุทธศาสนาของตนให้กับการรุกรานของผู้ล่าอาณานิคม ทำให้ชาวพุทธลังกาซาบซึ้งถึงคุณค่าและหวงแหน ศาสนธรรมล้ำค่าที่ตัวเองมี

วัดมัลลิกา ดาลดา หรือ วัดพระเขี้ยวแก้วแห่งเมืองแคนดี้ เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระทันตธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเขี้ยวแก้วเพียงองค์เดียวที่ปรากฏบนโลกมนุษย์โดยมีหลักฐานรองรับความถูกต้องตรงตามพระคัมภีร์มหาวังศา ด้วยว่าพระทันตธาตุหลังจากการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ และ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๙ พระเขี้ยวแก้วได้ประดิษฐานอยู่บนแผ่นดินแห่งนี้มาโดยตลอด มิเคยถูกนำออกนอกดินแดนเลย ตั้งแต่ถูกอัญเชิญมาจากชมพูทวีปโดยเจ้าหญิงเหมมาลาแห่งแคว้นกาลิงคะเมื่อกว่า ๑,๗๐๐ ปีก่อนชาวศรีลังกาต่างถวายเคารพต่อพระทันตธาตุอย่างสูงสุด โดยเชื่อกันว่าหากเมื่อใดพระเขี้ยวแก้วถูกนำออกนอกเกาะลังกาแล้ว จะนำภัยพิบัติมาสู่ประเทศชาติ และยังเชื่อว่าหากเมื่อใดที่เกิดทุกข์ภัยขึ้น การเปิดอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วออกให้ผู้คนสักการบูชาจะสามารถขจัดเภทภัยต่างๆได้ โดยจะมีการจัดพิธีสมโภชเปิดอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วในช่วงราวทุก ๔-๕ ปี โดยในปีนี้จะจัดขึ้น ระหว่าง ๖-๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒

สายธารของกระแสฝูงชนนับแสนที่พร้อมใจกันเป็นสีหนึ่งเดียวด้วยชุดสีขาวทอดยาวจากวัดมัลลิกาวะที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว โค้งยาวอ้อมไปตามถนนรอบทะเลสาบกรุงแคนดี้ ไม่ต่ำกว่า ๓-๔ กิโลเมตร ผู้คนมาจากทั่วสารทิศ เพื่อต่อแถวยาว นานกว่าครึ่งค่อนวันเพียงเพื่อจะได้มีโอกาสสักครึ่งนาทีที่จะได้นมัสการพระทันตธาตุ ที่เปิดให้ประชาชนกราบสักการะครั้งแรกในรอบ ๕ ปี ถึงแม้แสงแดดจะร้อน อากาศจะอบอ้าว ผู้คนจะเบียดเสียดแค่ไหน แต่ใบหน้าที่ผุดเหงื่อเหล่านั้นก็ยังแย้มยิ้มรอโอกาสบุญที่ตนกำลังจะได้สัมผัส หลายคนมาเข้าแถวแต่เช้ามืดเพื่อที่จะได้เข้ามากราบตอนบ่ายๆ เสร็จแล้วก็เดินออกไปต่อแถวใหม่อีกครั้ง เพื่อหวังว่าจะได้มีโอกาสกลับมากราบอีกสักครั้งในช่วงค่ำๆ นี่คือภาพความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวศรีลังกา จากคำบอกเล่าของ นายฉัตตริน เพียรธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอ็นซี ทัวร์ แอนด์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้บุกเบิกทัวร์บุญและเส้นทางสังเวชนียสถาน มากว่า๓๐ ปี

พร้อมกันนี้นายฉัตตรินยังบอกด้วยว่า เจ้าหน้าที่วัดพระเขี้ยวแก้วประเมินว่า วันหนึ่งๆจะมีคนเข้ามากราบพระเขี้ยวแก้วประมาณ ๑๗๕,๐๐๐คน-ครั้ง โดยงานสมโภชนี้จัดขึ้นเป็นเวลาทั้งสิ้น ๑๑ วัน เมืองทั้งเมืองคลาคล่ำไปด้วยผู้แสวงบุญหลั่งไหลเข้ามา เที้ยรย่อมคนเสียดกันเมืองสุโขทัยนี้ มีดั่งจักแตก เทียบดังเช่นที่พ่อขุนรามคำแหงจารึกบอกเล่าสภาพวันนั้นของกรุงสุโขทัยเมื่อ ๗๐๐ ปีก่อน แต่วันนี้ยังหาดูได้ที่นี่

ในประเทศที่ผู้คนรักความสนุกสนานมีเทศกาลรื่นเริงมากมายอย่างในเมืองไทยซึ่งเราฉลองกันทั้งปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทงไปจนถึงคริสต์มาส แต่เชื่อหรือไม่ว่า งานเฉลิมฉลองที่คนลังกาเฝ้าคอยทั้งปีคือ เทศกาลวันวิสาขบูขา หรือวันไวสาข ที่ชาวลังกาจะได้หยุดยาวออกมาทำบุญฟังธรรม ที่จะมีการจัดเทศน์ประชันกันของพระนักเทศน์ชื่อดังทั่วประเทศ มีการถ่ายทอดสดออกโทรทัศน์ตัดภาพสลับกันระหว่างเวทีธรรมาสน์จากเมืองต่างๆ ราวกับถ่ายทอดสดเวทีเคาท์ดาวน์ช่วงปีใหม่ในบ้านเราก็ไม่ปาน

ตกเย็นผู้คนต่างจุดประทีปโคมไฟกระดาษที่ตบแต่งอย่างประณีตบรรจงแขวนไว้หน้าบ้านเรือนในเมืองมีการเฉลิมฉลอง มีการจัดประกวดประขันออกแบบโคมไฟงามไม่แพ้การประกวดกระทงที่บ้านเรา สองข้างถนนมีการประดับตบแต่งจัดทำป้ายคัตเอาท์ขนาดใหญ่วาดเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ติดไฟกระพริบ แสงสีประกอบเทคนิคต่างๆตามแต่ที่เจ้าภาพผู้สร้างจะคิดได้ บอกเล่าเรื่องราวประกอบคำบรรยายแสงสีและซาวน์เอฟเฟคต์ แม้จะไม่ได้ทันสมัยตระการตาเหมือนงานแสดงไลท์แอนด์ซาวน์ ไม่ได้มีเรื่องราวยั่วกิเลสอย่างหนังกลางแปลงร้อยจอของบ้านเรา แต่ก็เร้าใจพอที่จะเรียกให้ชาวบ้านชาวเมืองแต่งตัวกันออกมาเดินชมอย่างสนุกสนาน ซื้อขนมชิมพลางเดินแวะดูป้ายโน้นป้ายนี้ อิ่มท้อง อิ่มบุญไปพร้อมๆกัน สมกับที่ชาวศรีลังกาให้ความสำคัญสำหรับวันวิสาขบูชาเป็นอย่างยิ่งและเป็นหัวหอกสำคัญที่ผลักดันให้วันนี้ได้รับการประกาศให้เป็นวันสำคัญของโลกโดยองค์การสหประชาชาติ

นายฉัตตรินยังบอกดวยว่า การเดินทางมาที่วัดกัลยาณีหรือวัดเกลานียะที่ชานกรุงโคลอมโบในเช้าวันจันทร์วันหนึ่งที่น่าจะเป็นช่วงเวลาทำงานอันยุ่งวุ่นวายของเมืองศูนย์กลางธุรกิจของประเทศ แต่กลับเจอผู้คนนุ่งขาวห่มขาวมากมายมาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิภาวนา ทั้งคนหนุ่มสาว คนวัยทำงาน ครอบครัวที่มีเด็กๆวิ่งเล่นอยู่ใกล้ หรือแม้แต่คู่บ่าวสาวที่กำลังจะแต่งงานในชุดเต็มยศ ก็เข้ามาขอพรพระ ให้ครองคู่อยู่เย็นเป็นสุข พร้อมกับนัดช่างภาพจากสตูดิโอมาถ่ายรูปตามสมัยนิยมไปด้วยเลย โดยอาศัยฉากหลังจากความงดงามของวัดนั่นเอง คำตอบที่ได้รับก็คือวันจันทร์นี้ตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ค่ำ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันอาทิตย์ที่เป็นวันหยุดสากล โดยทั่วประเทศไม่ว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐหรือเอกชน ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ต่างก็พร้อมใจกันปิดทำการเพื่อให้ผู้คนได้มีเวลาใกล้ชิดกับพระศาสนา สถานบันเทิงเริงรมย์ก็พร้อมใจกันงดขายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แม้แต่ร้านขายเนื้อสัตว์ก็ยังงดเว้นการเบียดเบียนชีวิตในวันนี้เช่นกัน

การสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นงานสำคัญของพระภิกษุในประเทศนี้แม้มีพระสงฆ์เพียงประมาณ ๗๐,๐๐๐รูปอาจจะนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศไทย แต่ก็เป็นจำนวนพระที่มีคุณภาพ ผู้ที่จะบวชจะต้องมีการมาอยู่วัดเตรียมตัวและเตรียมใจเสียก่อนเป็นเวลานาน โดยในวันอุปสมบทเจ้านาคจะแต่งเครื่องทรงอย่างกษัตริย์ซึ่งกล่าวกันว่า ได้แบบแผนมาจากกรุงศรีอยุธยาที่เคยส่งสมณทูตมาฟื้นฟูพุทธศาสนาในยุคที่ลังกาเสื่อมถอยถึงที่สุดการบวชเป็นพระของชาวลังกานั้นโดยมากจะไม่สึกออกมาอีก โดยหากใครก็ตามบวชแล้วสึกออกมาเป็นฆราวาส มักจะถูกสังคมตำหนิว่าเป็นคนโลเล เชื่อถือไม่ได้ จิตใจไม่มั่นคง

"รัฐธรรมนูญของประเทศศรีลังกาได้รับรองให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและมีกระทรวงกิจการพระพุทธศาสนาคอยดูแลแต่นั่นก็ยังไม่ใช่หลักสำคัญที่ทำให้พุทธศาสนาหยั่งรากลึกฝังลงในจิตใจของผู้คนอย่างลึกซึ้ง การได้มีโอกาสสัมผัสพบเห็นงานสมโภชพระเขี้ยวแก้ว พระทันตธาตุของพระพุทธเจ้าอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธลังกา ที่ไม่เคยยินยอมให้ใครนำออกไปจากดินแดนเกาะมรกตแห่งนี้ตลอด ๑,๗๐๐ปี ที่ผ่านมา สามารถรับประกันความเข้มแข็งของพุทธศาสนาได้ดีกว่า ตัวอักษรที่ปรากฏในกฎหมายฉบับไหนๆ
  นายฉัตตรินกล่าวทิ้งท้าย
http://www.komchadluek.net/detail/20...่...ลังกา.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มี.ค. 2552, 11:12:30 โดย ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞ »
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
แบบนี้ซิ พุทธทั้งกายและใจ .. ของเราวันสำคัญทางศาสนา ต้องสั่งหยุดโรงฆ่าสัตว์ห้ามฆ่า  ห้ามเปิดสถานบันเทิง

ถ้าไม่ห้ามจะสมัครใจทำกันเองทั้งหมดไหมนะ ..พี่น้อง   :005: :005:


ออฟไลน์ แหวกบาดาล

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 369
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ  :015: :015:
[shake]โย่วๆๆๆๆ เวลาที่อยู่ในระบบ: ๑๐ วันแล้ว อยากเป็น ก้นบาตร จัง 555+[/shake]

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
อนุโมทนาสำหรับบทความดีๆด้วยนะครับผม เห็นแล้วปลื้มมากเลยครับ  :002:

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
 :054:ขอบคุณน้องต่ายมากมาย :054: สำหรับข้อมูลดีๆพร้อมภาพชัดเจน  :015: