ผู้เขียน หัวข้อ: พระธาตุนาดูน อ.นาดูน จ. มหาสารคาม  (อ่าน 14351 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด




พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่
13 -15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา



ประวัติความเป็นมาของพุทธมณฑลอีสาน พระธาตุนาดูน ..........ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร .ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็น ปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช 2525-2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7,580,000 บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมงกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์ เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้








ระบำจัมปาศรี  การแสดงประจำจังหวัดมหาสารคาม



เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2522 ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาในบริเวณที่นาของ นายทองดี ปะวะภูตา ราษฎร์บ้านนาดูน ได้พระพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ข่าวการขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาได้แพร่ กระจายออกไป ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมา ขุดค้นอย่างมากมาย และหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้เข้ามาทำการขุดแต่งโบราณสถานตรงที่ขุดพบพระพิมพ์เพื่อรักษาสภาพสถูปองค์เดิมไว้แต่กระทำไม่สำเร็จเพราะฝูงชนจำนวน มหาสาร ได้เข้ามาแย่งชิงค้นหาพระพิมพ์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ต้องยุติการขุดแต่งและปล่อยให้ประชาชนขุดค้นหาต่อไป จนกระทั่งวันที่ 8 มิถุนายน 2522 นายบุญจันทร์ เกศแสนศรี นักการภารโรงสำนักที่ดินอำเภอนาดูน ได้ขุดค้นพบสถูปพระบรมสารีริกธาตุ ตัวสถูปทำช่วยสำริต และได้นำสถูปดังกล่าวมามอบ ให้กับอำเภอนาดูนนอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพิมพ์บางองค์ยังมีจารึกเป็นภาษาขอมโบราณและมอญโบราณ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างพระพิมพ์ดินเผาดังกล่าว รัฐบาลได้เห็ฯความสำคัญของศิลปะโบราณวัตถุเล่านี้จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยบริเวณรอบๆ องค์พระธาตุนาดูนจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมอีกทั้งยังมีการสร้างส่วนรุกขชาติ และสวนสมุนไพรตกแต่งบริเวณโดยรอบให้งดงามเหมาะสมที่จะเป็สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาอันจะเป็น "พุทธมณฑลอีสาน " ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสืบต่อไป


ศิลาจารึกศาลานางขาว อักษรขอม ภาษาเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ทำจากหินทราย สูง 21 ซม. กว้าง 9 ซม. เลขทะเบียน 364/2516 พบจากการขุดแต่งโบราณสถานศาลานางขาว อ. นาดูน จ. มหาสารคาม


พระศิวะ หรือ ทวารบาล (นนทิเกศวร) ศิลปะลพบุรี แบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17 ทำจากหินทราย สูง 175 ซม. เลขทะเบียน 444/2516 พบจากการขุดแต่งกู่น้อย อ. นาดูน จ. มหาสารคาม




•การเดินทางสู่ พระธาตุนาดูน

จากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร





ขอขอบคุณที่มา...http://www.ezytrip.com/Thailand/th/NorthEast/MahaSarakham/NaDun/PhraThatNaDun/PhraThatNaDun.htm
...http://www.oknation.net/blog/mahasarakham/2008/06/30/entry-1

ออฟไลน์ อภิรัตน์

  • เห็นรอยเท้าพ่อก้มลงดู เห็นรอยเท้าครูก้มลงกราบ
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 692
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: พระธาตุนาดูน อ.นาดูน จ. มหาสารคาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 31 มี.ค. 2553, 08:55:52 »
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ  :016:

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
ตอบ: พระธาตุนาดูน อ.นาดูน จ. มหาสารคาม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 31 มี.ค. 2553, 10:07:19 »
ครั้งหนึ่งในชีวิตอยากไปมากมาย
เหอ เหอ เหอ

ออฟไลน์ toei_tain

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 37
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: พระธาตุนาดูน อ.นาดูน จ. มหาสารคาม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 31 มี.ค. 2553, 02:55:09 »
ขอบคูณครับสำหรับความรู้ดีๆ :054:

ออฟไลน์ หลังฝน..

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 310
  • เพศ: ชาย
  • ทุกอย่างมีเหตุและผลเสมอ
    • MSN Messenger - webmaster@lifesyt-it.net
    • ดูรายละเอียด
    • www.lifestyle-it.net
ตอบ: พระธาตุนาดูน อ.นาดูน จ. มหาสารคาม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 31 มี.ค. 2553, 09:52:37 »
แฮะๆ มาเรียน สารคาม คับ ไปแล้ว สวยมากๆ ครับ มาเที่ยวกันน้าๆๆ เป็นที่รวมจิตใจของนิสิต สารคาม อิอิ
ความพยายามนั้นมีอยู่จริงในตัวตนของเรา สุดแท้แต่ความพยายามนั้นจะถูกดึงออกมาใช้ได้มากน้อยแต่เพียงใด