แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ~@เสน่ห์เอ็ม@~

หน้า: [1]
1






ตะกรุดดอกนี้พี่สาวใจดีให้ผมมา ขอบคุณพี่สาวด้วยนะครับ

ดอกนี้หลวงลุงติ่งท่านจาร หลวงปู่เปิ่นปลุกเสก ...ด้านในมีลอยจารเมจิกที่หนังเสือ และมีตะกรุดจารมืออีก1ดอกสอดอยู่ตรงกลางด้วย


2


พระสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง พ.ศ.2513แจกกรรมการลงรักสีแดง ..สภาพเดิมๆครับ
พระสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง พ.ศ.2514 พิมกลางค์ ...สภาพเดิมๆครับ

 :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:

3



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++







องค์นี้หน้าสึกไปนิดแต่โดยรวมแล้วก็ยังดูง่ายครับ




(ขอบคุณพี่เก่งบ้านดอนอีกครั้งครับ)

4



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ผงว่านสบู่เลือดครับ.....


(ขอบคุณพี่เก่งบ้านดอนด้วยครับ ที่เป็นธุระให้ ...)

5




(ขอบคุณพี่เก่งบ้านดอนด้วยนะครับที่เป็นธุระให้)

6
วันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิด ~เสน่ห์ต้นน้ำ~  มาร่วมอวยพรกันครับ

ขอให้เพื่อนมีความสุขมากๆ คิดอะไรสมดั่งใจนึก ...ได้งานดีๆๆ มีตังใช้ตลอดไป

มีความสุขมากๆนะเพื่อน ......


 :047:

7


ด้วยความอนุเคราะห์จากพี่ผู้หลักผู้ใหญ่ท่านนึง

8


เด่นทางด้าน เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ครับ แรงเลยทีเดียว ... !

9


ขออนุญาตินำรูปมาให้ชมกันอีกสักครั้ง ขออนุญาติทางผู้ดูแลด้วยครับ.... เครดิตโดยรูปภาพจาก tong_lomsak  ขออนุญาตินำรูปมาลงนะครับ
สุดยอดมวลสาร+การปลุกเสก


พี่ชายผมเล่าให้ฟังว่า เหมือนมีคนมาขย่มเบาะรถเลยครับ เหมือนคอยตามไปไหนมาไหนด้วยตลอด (ประสบการณ์การส่วนบุคคล แล้วแต่คนนะครับ)  

ใครอยากร่วมทำบุญที่วัดยังมีให้บูชานะครับ ....  ใครอยากบูชาทำบุญได้โดยตรงที่วัด

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณเสน่ห์เอ เสน่ห์ต้นน้ำ และ เสน่ห์ที ครับ

อนุโมทนาด้วย....

10


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



หลวงปู่เปิ่น วัดบางพระ เสกด้วยครับ รุ่นนี้ ........

ขอบพระคุณพี่เสน่ห์เอ ด้วยนะครับที่เมตตา

11
ธรรมะ / อริยสัจสี่โดยสังเขป...
« เมื่อ: 13 ต.ค. 2553, 05:04:51 »
อริยสัจสี่โดยสังเขป

ความจริงอันประเสริฐ  คือทุกข์,  ความจริงอันประเสริฐ  คือเหตุให้เกิดทุกข์,  ความจริงอันประเสริฐ  คือความดับไม่เหลือของทุกข์,  และความจริงอันประเสริฐ  คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.
ทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ? คำตอบคือ  ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง.  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ
เหตุให้เกิดทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหา  อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน  มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ  ได้แก่  ตัณหาในกาม,ตัณหาในความมีความเป็น,  ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น,
ความดับไม่เหลือของทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ?  คือความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหา    ความปล่อยวางซึ่งตัณหานั่นเอง
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง  คือ  ความเห็นชอบ  ความดำริชอบ;  การพูดจาชอบ   การทำการงานชอบ   การเลี้ยงชีวิตชอบ ;  ความพากเพียรชอบ  ความระลึกชอบ  ความตั้งใจมั่นชอบ.    พวกเธอพึง ทำความเพียร  เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง   ว่า “นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,  นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด
.

ที่มาจากเวป วัดหนองป่าพง http://www.watnongpahpong.org/buddha.php  :054:
หากมีท่านใดเคยนำใว้แล้ว กระผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูงด้วยครับ  :054:

12
ธรรมะ / อกุศลเจตสิก / กุศลเจตสิก
« เมื่อ: 24 ก.ย. 2553, 09:53:30 »
เจตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ

เจตสิก หมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต
อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ

            1. เกิดพร้อมกับจิต   2. ดับพร้อมกับจิต    3. มีอารมณ์เดียวกับจิต    4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น  สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

 

1.  ลักษณะของเจตสิกคือ                   มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
2.  กิจการงานของเจตสิกคือ              เกิดร่วมกับจิต
3.  ผลงานของเจตสิกคือ                     รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต 
4.  เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ  การเกิดขึ้นของจิต 
 
อกุศลเจตสิก 14 1.โลภะ ความต้องการในสิ่งยั่วยุไม่รู้จักเต็ม 2.อิสสา ความริษยาในใจอยากได้เหมือนของผู้อื่น 3. มัจฉริยะ ตระหนี่หวงแหนยึดไว้แต่ผู้เดียวจนไม่เกิดคุณ 4. โทสะ ความหงุดหงิดโมโหร้ายพยาบาทหรืออาฆาต 5. อหิริกะ ความหน้าด้าน ไม่ละอายต่อการทำชั่ว 6. อโนตตัปปะ การกระทำความชั่วโดยไม่หวั่นกลัวต่อบาปกรรม 7. อุทธัจจะ ความคิดมากฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ 8. กุกกุจจะ ความกลุ้มใจ กังวลใจ กระวนกระวายใจ ร้อนใจ 9. ถีนะ ความหดหู่ เศร้าซึม ง่วงซึม จิตตก หมดกำลังทำงาน 10. มิทธะ ความท้อแท้ ถอดใจ หมดกำลังใจ 11. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในคำสอนที่จะปฏิบัติตาม 12. โมหะ ความโง่เขลา ความเข้าใจผิด เชื่อตามข้อมูลที่ผิดๆ 13. ทิฏฐิ ความเห็นที่ทำให้ตนหลงยึดติดอย่างเหนียวแน่น 14. มานะ ความหยิ่งทะนงตนจนไม่ยอมรับคำแนะนำจากใคร

กุศลเจตสิก 25 1. สัทธา มีความมั่นใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคง 2. สติ มีสติสัมปชัญญะอยู่อย่างไม่ประมาททั้งในเวลาจุติ 3. หิริ ละอายต่อการทำชั่ว ไม่หน้าด้าน 4. โอตัปปะ เกรงกลัวต่อบาปที่จะตามมาจากการกระทำของดัว 5. อโลภะ ความโลภลดลง ไม่ต้องการตามสิ่งยั่วยุ 6. อโทสะ ความโกรธลดลง ไม่หงุดหงิดโมโหร้าย 7. ตัตรมัชณัตตตา จิตนิ่งเฝ้าสังเกตอยู่กับสิ่งที่ทำโดยไม่วอกแวก 8. กายปัสสัทธิ ผิวพรรณผ่องใส มีราศีดี ร่างกายไม่เกร็งตัว 9. จิตตปัสสัทธิ จิตใจผ่องใส สุขภาพจิตดี สบายใจ 10. กายลหุตา ตัวเบา กายเบา ร่างกายผ่อนคลายทุกสัดส่วน 11. จิตตลหุตา สบายใจ มีจิตร่าเริงเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดในใจ 12. กายมุทุตา ร่างกายอากัปกิริยานุ่มนวลอ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง 13. จิตตมุทุตา จิตใจดีนุ่มนวลมีอัธยาสัยดี มีเมตตาจิต 14. กายกัมมัญญตา ร่างกายเหมาะกับงานทุกอย่าง 15. จิตตกัมมัญญตา จิตใจเหมาะกับการใช้งานทางสมอง 16. กายปาคุญญตา ร่างกายทำงานได้คล่องแคล่วว่องไว 17. จิตตปาคุญญตา มีความคิดรวดเร็วลึกซึ้งละเอียดในทุกเรื่อง 18. กายุซุกตา คล่องแคล่ว มั่นคงอยู่กับการฝึกนั้นๆได้ 19. จิตตุซุกตา จิตมุ่งตรงไปกับสิ่งที่คิดอย่างมุ่งมั่น ไม่เสียสมาธิ 20. สัมมาวาจา การพูดมีความสุภาพนุ่มนวล ไม่ไร้สาระ 21.สัมมากัมมันตะ พฤติกรรมดี ไม่ก่อโทษให้ใครๆ 22. สัมมาอาชีวะ มีการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ทุจริตฉ้อโกง 23. กรุณา มีความสงสารและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลำบาก 24. มุฑิตา พลอยมีใจยินดีด้วยกับผู้อื่นที่ได้ดี ไม่ริษยา 25. ปัญญา ปัญญาที่รู้ความจริงของชีวิตได้อย่างถูกต้อง

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.abhidhamonline.org/thesis/cetasika/cetasika.htm
และเวปพลังจิต ขอบคุณครับ
หากมีคนเคยนำมาลงแล้ว ต้องขออภัยด้วย

13
ธรรมะ / สมถกรรมฐาน ระงับนิวรณ์ ๕
« เมื่อ: 23 ก.ย. 2553, 07:59:47 »
ภาวนาพุทโธไปจนกว่าจิตจะสงบ มีความสว่าง มีปีติ มีความสุข อันเป็นสมาธิขั้นสมถกรรมฐาน มีจุดมุ่งหมายที่จะระงับนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทะ ความใคร่ในกามหรือความสุขสบาย พยาปาทะ ความพยาบาทเคียดแค้น ถีนะมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมโดยเอาชีวิตเข้าแลก นี่คือจุดมุ่งหมายของการเจริญกรรมฐานขั้นสมถะ

กรรมฐานอันใดที่เนื่องด้วยบริกรรมภาวนาพุทโธ สัมมาอรหัง ยุบหนอพองหนอ เป็นวิธีการปฏิบัติสมถกรรมฐาน ใครปฏิบัติบริกรรมภาวนาอะไรก็ได้ จุดมุ่งหมายเพื่อระงับนิวรณ์ ๕ ให้สงบระงับไปจากจิตในขณะที่ภาวนาอยู่

กรรมฐานอันใดสามารถทำจิตให้สงบ สว่าง มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง จิตรู้ ตื่น เบิกบาน นิวรณ์ ๕ หายไปหมดสิ้น กรรมฐานอันนั้นเป็นกรรมฐานที่ถูกต้องใครจะภาวนาแบบไหนอย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิ ขจัดนิวรณ์ ๕ ได้ เป็นการใช้ได้ทั้งนั้น ดังนั้น ณ โอกาสต่อไปนี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายจงบริกรรมภาวนา ใครคล่องตัวในการบริกรรมภาวนา พุทโธ ก็ว่า สัมมาอรหัง ก็เอา ยุบหนอพองหนอ ก็ใช้ได้ หลักสำคัญ ให้ขจัดนิวรณ์ ๕ ได้ เป็นจุดมุ่งหมายของการเจริญสมาธิขั้นสมถะ อันนี้สำหรับผู้ที่เริ่มต้นสำหรับผู้ที่ภาวนาเก่งแล้ว จิตมีภูมิจิต ภูมิใจ มีภูมิธรรมเกิดขึ้น เมื่อภาวนาไป จิตเกิดมีความคิด ให้มีสติกำหนดตามรู้ความคิดเรื่อยไปสำหรับผู้ใหม่ ภาวนาพุทโธ พุทโธ เป็นต้น เมื่อจิตทิ้งพุทโธไปคิดอย่างอื่น ให้กลับมานึกพุทโธๆๆ ถ้าจิตสงบลงไปแล้ว หยุดว่าพุทโธ แต่มีปีติ มีความสุข นิ่ง ว่าง อยู่เฉยๆ ก็ปล่อยให้นิ่งว่างอยู่อย่างนั้น ถ้าหากเกิดความคิดขึ้นมา ปล่อยให้คิดไป แต่มีสติตามรู้ไปทุกขณะจิต นี่คือจุดเริ่มต้นของการภาวนา

อย่ากลัวติดสมถะ
สมาธิขั้นสมถะนี่ต้องเอาให้ได้ ต้องพยายามบริกรรมภาวนาเอาให้ได้ ให้จิตสงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน มีปีติ มีความสุข กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ นิวรณ์ ๕ หายไป ความฟุ้งซ่านรำคาญหายไป มีแต่ปีติและความสุขบังเกิดขึ้นในจิต

จิตมีปีติและความสุขเป็นภักษาหาร ผู้ภาวนาย่อมอยู่อย่างสงบเยือกเย็น หาความสุขอันใดจะเทียมเท่าความสงบจิตที่ประกอบด้วยปีติและความสุขไม่มีแล้วดังนั้น อย่ามองข้ามความสงบ อย่ามองข้ามสมาธิ ต้องให้เอาสมาธิให้ได้อย่าไปกลัวจิตจะติดสมาธิ ถ้าจิตไปติดความสงบ ติดสมาธิ ดี ดีกว่าไปติดอย่างอื่น ให้มันติดสมาธิ ติดความสงบเอาไว้ก่อน อย่าไปกลัว บางทีบางท่านภาวนาพุทโธแล้วกลัวจิตจะติดสมถะ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ยังไม่เคยเป็นสมถะ จิตยังไม่สงบเป็นสมถะ ยังไม่สงบเป็นสมาธิ แต่ไปกลัวจิตจะติดเสียก่อนแล้ว ในเมื่อเกิดกลัวขึ้นมา จิตก็ไม่เป็นสมาธิ เมื่อไม่เป็นสมาธิ วิปัสสนาก็ไม่มี ต้องเอาจิตให้เป็นสมาธิก่อน อันนี้สำหรับผู้ปฏิบัติเบื้องต้น ต้องยึดอันนี้เป็นหลัก

หากมีผู้เคยนำมาลงแล้ว ต้องขออภัยด้วยครับ
ที่มาจากเวป  http://www.thaniyo.com/index.php/2009-05-03-02-45-43

14


หนุมาน พบ 7 ยอดมนุษย์  13;

ตามลิ้งด้านล่างเลยครับ

http://www.clipmass.com/movie/หนุมานพบ-7-ยอดมนุษย์-1---202017394238965

http://www.clipmass.com/movie/หนุมานพบ-7-ยอดมนุษย์-2---1580111596238977

http://www.clipmass.com/movie/หนุมานพบ-7-ยอดมนุษย์-3---1336014009238981

 :109: :039: 09;



15
ศิษย์คือใคร?
๑. ความหมายของศิษย์
ศิษย์ คือ ผู้ศึกษา, ผู้เชื่อฟัง, ผู้ที่ยอมรับให้ครูอาจารย์สอน
ศิษย์ที่ดี คือ ผู้ที่ครูอาจารย์สามารถนำไปสู่จุดหมายปลายทางได้
๒. ประเภทของศิษย์

ศิษย์แบ่งได้ ๒ ประเภทคือ
๑ ศิษย์กตัญญู คือศิษย์ที่ดีสำนึกในพระคุณของครูแล้วตอบแทน
๒ ศิษย์อกตัญญู คือศิษย์เนรคุณ ไม่สำนึกในพระคุณของครู คิดล้างผลาญครู

๒.. ศิษย์เกิดจากอะไร?เกิดจาก การที่ต้องการสติ – ปัญญา ความรู้จึงยินยอมมอบกายและจิตใจให้ครูอาจารย์ทำการอบรมสั่งสอน

๓ เป็นศิษย์เพื่ออะไร? เพื่อ ยกระดับจิตวิญญาณของตนให้สูงขึ้น

๔.เป็นศิษย์โดยวิธีใด?

โดย การเป็นศิษย์ที่ดี และทำหน้าที่ของศิษย์ที่ดีได้ถูกต้องดังนี้

๑. ศิษย์ที่ดี
๑. ฟังดี – ฟังถูกต้อง
๒. คิดดี – คิดถูกต้อง
๓. เชื่อดี – เชื่อถูกต้อง
๔. ทำตามอย่างดี – ทำตามอย่างถูกต้อง
๕. ทำการสืบต่อไปอย่างดี – อย่างถูกต้อง

นักเรียน (ศิษย์) ที่ดี
๑. ไม่โยกเก้าอี้ ๒. ไม่หนีโรงเรียน ๓. ไม่เขียนข้างฝา
๔. ไม่ด่าครูสอน ๕. ไม่นอนตื่นสาย ๖. ไม่หน่ายการเรียน
๗. ไม่เพียรทำผิด ๘. ไม่คิดมุ่งร้าย ๙. ไม่อายการงาน
๑๐. ไม่ผลาญเงินตรา ๑๑. ไม่ซ่าหาเรื่อง ๑๒. ไม่เคืองโกรธกัน
๑๓. ไม่หันหาอบายมุข ๑๔. ไม่คลุกกับเกมส์
๑๕. เกษมแน่ ๆ พ่อแม่ก็ชื่นใจ ครูก็ชื่นใจ

หน้าที่ของศิษย์ที่ดี
๑. ลุกขึ้นยืนต้อนรับ เป็นการแสดงความเคารพ
๒. เข้าไปยืนคอยรับใช้ เมื่อท่านมีกิจธุระ
๓. เชื่อฟังคำสั่งสอนและปฏิบัติตาม
๔. อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด
๕. ตั้งใจเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
หน้าที่ของศิษย์ที่ดีอีกนัยหนึ่ง
๑. ต้องมีความเคารพ
๒. คบการศึกษา
๓. กล้ารับความผิด
๔. คิดช่วยเหลือครู
๕. กตัญญูต่อสถาบัน

อุดมการณ์ของนักเรียน (ศิษย์) ที่ดี
๑. แสวงหาความรู้ ๒. เคารพครูอาจารย์
๓. รักการศึกษา ๔. มีจรรยาเรียบร้อย
๕. มักน้อยตามฐานะ ๖. เสียสละเพื่อสถาบัน
๗. มุ่งมั่นประพฤติดี ๘. หลีกหนีสิ่งชั่ว
๙. ไม่มั่วสิ่งเสพติด ๑๐. รู้จักคิดใช้ปัญญา

อุดมการณ์ของนักเรียน (ศิษย์) ที่ดีอีกนัยหนึ่ง
๑. เคารพ ๒. เชื่อฟัง ๓. ตั้งใจเรียน
๔. เพียรขยัน ๕. ไม่ดื้อรั้น ๖. มารยาทดี
๗. มีระเบียบวินัย ๘. น้ำใจเอื้อเฟื้อ ๙. เชื่อมั่นตนเอง
๑๐. เกรงกลัวความชั่ว ๑๑. ทำตัวกล้าหาญ ๑๒. การงานซื่อตรง
๑๓. ตรงต่อเวลา ๑๔. วาจาน่ารัก ๑๕. รู้จักพอดี
๑๖. มีความอดทน ๑๗. เป็นคนกตัญญู ๑๘. รู้จักคิดใช้ปัญญา

หน้าที่ ของชาวประมงคือหาปลา
หน้าที่ ของพ่อค้าคือหาผลกำไรจากการทำมาหากิน
หน้าที่ ของศิลปินคือสร้างศิลปะ
หน้าที่ ของพระคือสอนมนุษย์
หน้าที่ ของชาวพุทธคือทำดี
หน้าที่ ของศิษย์ที่ดี คือ กตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์


ผลดี ของการทำหน้าที่ศิษย์ที่ดี
๑. ทำให้เป็นคนมีปัญญาดี
๒. ทำให้ครูอาจารย์ชื่นใจสุขใจ สบายใจ เย็นใจ
๓. ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบัณฑิต
๔. เป็นที่รักของคนทั่วไป
๕. ใคร ๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย
๖. เป็นผู้มีความเจริญสุขในชีวิต
๗. สังคมสงบสุข
๘. ประเทศชาติได้คนดี

โทษ ที่ไม่สามารถเป็นศิษย์ที่ดีได้
๑. ทำให้เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
๒. ทำให้ครูอาจารย์เดือดร้อนใจ
๓. ถูกติเตียนจากบัณฑิต
๔. เป็นที่เกลียดชังของคนทั่วไป
๕. ใคร ๆ ไม่อยากคบเป็นเพื่อนด้วย
๖. ไม่เป็นผู้เจริญสุขในชีวิต
๗. สังคมวุ่นวาย
๘. ประเทศชาติได้คนไม่ดี

หน้าที่ของศิษย์พึงมีต่อครูอาจารย์
๑. ให้การต้อนรับ
๒. เสนอตัวรับใช้
๓. เชื่อฟัง
๔. คอยปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

" ศิษย์ที่ดี พึงจดจำ "
ถึงสูงเยี่ยม เทียมฟ้า อย่าดูถูก
ครูซึ่งปลูก วิชา มาแต่หลัง
ศิษย์ไร้ครู อยู่ได้ ไม่จีรัง
อย่าโอหัง บังอาจ ประมาทครู
สักวันหนึ่ง คงจะรู้ ว่าครูรัก
สักวันหนึ่ง คงประจักษ์ เป็นสักขี
สักวันหนึ่ง คงจะรู้ ว่าครูดี
สักวันหนึ่ง คงได้ดี เพราะเชื่อครู


ขอบคุณบทความจากเวปธรรมจักรครับ

16


ชุดนี้ผมแกะออกมา ถักใหม่นะครับ เนื่องจากปลอกเดิมแตก เปลี่ยนปลอกใหม่
เป็นลอยจารมือด้วยครับ  :015:
รบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยนะครับ เพื่อเป็นความรู้เกี่ยวกับตะกรุดชุดนี้  พระอาจารย์ท่านใดจาร

ขอบคุณสำหรับท่านผู้สุดหล่อด้วยนะครับที่มอบให้มา   :054:

17
ธรรมะ / ชนะตนนั่นแลดีกว่า
« เมื่อ: 21 ส.ค. 2553, 04:07:43 »
ชนะตนนั่นแลดีกว่า

ชัยชนะเป็นความปรารถนาของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงเพราะเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู่เพื่อแสวงหาอาหารของสัตว์ป่า การทำสงครามเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้มีอำนาจ การต่อสู่เพื่อครอบครองดินแดน เป็นชัยชนะที่ทำให้เกิดศัตรูหรือเป็นคู่ปรปักษ์กัน ไม่ได้นำมาเพื่อสันติภาพ เพราะเป็นชัยชนะที่สร้างความเกลียดชัง ความอาฆาต จอวเวรกันมากขึ้นและจะเกิดการต่อสู่ไม่มีที่สิ้นสุด มีการแพ้และชนะกันไปมา และรุนแรงยิ่งขึ้นไป ดังนั้นการชนะศัตรูไม่ได้นำมาซึ่งสันติภาพ การชนะตนเองเท่านั้นจะนำมาซึ่งความสุขตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
          การชนะตน คือ ความสามารถในการควบคุมตนเองให้ประพฤติในสิ่งที่ดีงาม ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การควบคุมตนเองหมายถึงการควบคุมทั้งทางกาย วาจา ใจ หรือ กล่าวได้ว่า เป็นหลักธรรม ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงพุทธวจนะไว้ ในวันมาฆบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ หรือ โอวาท 3 คือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส
         การชนะตนเอง หมายถึง การเอาชนะกิเลสของตนเองให้ได้ การชนะแบบนี้เท่านั้นนำมาซึ่งสันติภาพ เมื่อชนะใจตนเองแล้วการชนะใจผู้อื่นจะยิ่งนำมาซึ่งสันติภาพของโลก เหมือนกับที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ พระองค์ทรงชนะตนเองแล้วจึงชนะใจผู้อื่น ด้วยการอบรมสั่งสอนสาวกให้เลื่อมใสในพระธรรม เมื่อปวงชนได้นำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติย่อมเกิดความสงบสุขทำให้เกิดสันติภาพบนโลก

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/buddha_supasit/chanaton.html

18
กทิงวันปีนี้ .....ตรงกับ ปีเสือ เดือนสิง  ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙
ในวันพฤหัสบดี ที่  19 สิงหาคม พ.ศ. 2553



19


พระนางพญาองค์นี้ผมได้จากคุณอาของผมครับ  ใครรู้ว่าของทีไหนบอกด้วยนะครับ

ประสบการณ์องค์นี้ก็คือ ประมาณปี 2548 สมัยผมเรียนอยู่ปวช ปี 2
กำลังนั่งรถกลับบ้านเป็นรถประจำทางสาย 402 มหาชัย-นครปฐม  ช่วงเย็นๆหลังเลิกเรียน
พอถึงใกล้ๆประมาณพุทธมณฑลสาย 8  ตรงบริเวณเลยศาลาแคแถวมาหน่อย
มีคนร้ายขี่รถจักรยานยนต์ใส่หมวกกันน็อค ทั้ง 2  จอดรถประกบยิงตรงบริเวณประตูตรงที่ผมนั่งอยู่พอดี
ปรากฏว่าไม่ออก คนร้ายก็ไม่ละความพยายาม ขี่ตามมาอีกจากที่ไหนไม่รู้อีก 1-2 คันประกบไล่ยิงตั้งแต่พุทธมณฑลสาย 8 ถึงประมาณหน้าสวนสามพรานได้ประมาณ 5-6 ครั้ง
ปรากฏว่าทุกครั้งที่ยิง ยิงไม่ออกเลยสักนัด ทั้งที่มีปืนทั้ง 2 คน ที่ขี่ตามประกบมา  
วันนั้นผมรอดตายมาได้ เพราะพระองค์นี้ที่คอองค์เดียว กับ ตะกรุดโทนวัดบางพระดอกเงินๆเชือกสีเหลือง เพียงดอกเดียว
แต่น่าเสียดายครับ ตะกรุดดอกนั้นดันโดนเพื่อนเอาไปแล้วเลยไม่มีรูปมาลงให้ชมกัน ผมตามหายังไงก็ไม่เจอ บูชาจากวัด 100 เดียว
ถ้าวันนั้นกระสุนออก ผมคงโดนยิงเต็มๆ เพราะปากกระบอกปืนหันมาที่ผม สงสัยบุญเก่ารักษาบารมีคุณพระและหลวงปู่ช่วยกระมังเลยรอดมาได้

ที่พิมมาไม่ได้มีเจตนาโอ้อวดครับแต่เป็นการแบ่งปันประสบการณ์กัน  ใครมีประสบการณ์การก็แบ่งปันกันได้
ของแบบนี้ต้องพูดได้คำเดียวว่า ใครไม่เคยเจอกับตัวเองย่อมไม่รู้หลอกครับ ขอบคุณครับ  :054:

20
ธรรมะ / +++ กิเลส +++
« เมื่อ: 01 ส.ค. 2553, 01:52:16 »


เมื่อกิเลสยึดครองโลก

เมื่อกิเลส ไหลนอง ยึดครองโลก
  
มันสุดแสน โสโครก ที่โกรกไหล

เมื่อกระแส ไฟตัณหา ไหม้พาไป

ทิ้งซากไว้ ระเกะระกะ อนิจจัง


กลับยกย่อง ว่านั่นสิ่ง ศิวิไลซ์

ยั่วความใคร่ เพิ่มเหยื่อ แก่เนื้อหนัง

เป็นเครื่องล่อ กามา บ้าติดตัง

ทั่วโลกคลั่ง ก็ยิ่งคล้าย อบายภพ


ทั้งแก่เฒ่า สาวหนุ่ม ล้วนจมกาม

เกลียดศีลธรรมเห็นเป็นหนามระคายขบ

อาชญากรรม ลุกลาม สงครามครบ

ร้อนตลบ โลกกิเลส สังเวชจริงฯ  


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กิเลส
คำว่า กิเลส แปลว่า สิ่งที่เศร้าหมอง หรือ เครื่องทำให้เกิดความเศร้าหมอง
มีความหมาย ๓ อย่าง คือ


ให้เกิดความสกปรก หรือ เศร้าหมองอย่างหนึ่ง
ให้เกิดความมืดมิดไม่สว่างไสวอย่างหนึ่ง
ให้เกิดความกระวนกระวายไม่มีความสงบอีกอย่างหนึ่ง



เพื่อให้เข้าใจง่าย ท่านแบ่งชั้นกิเลสเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นละเอียดหรือชั้นใน
อย่างหนึ่ง, ชั้นกลางอย่างหนึ่ง, ชั้นหยาบหรือชั้นนอก อย่างหนึ่ง

ที่เป็นชั้นใน หมายถึงชั้นที่นอนนิ่งอยู่ในสันดานอย่างเงียบๆ จนกว่าจะมีอารมณ์มา
กระทบ จึงจะปรุงขึ้นเป็นกิเลสชั้นกลางที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต หรือเป็นกิเลสชั้นหยาบ
ที่ทะลุออกมาปรากฏเป็นกิริยาต่างๆ ที่ชั่วร้ายภายนอก ตัวอย่างกิเลสชั้นละเอียดที่
เป็นภายในมีชื่อเรียกว่า อกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ โลภะ-ความโลภ, โทสะ-ความ
โกรธ ประทุษร้าย, โมหะ-ความหลง หรือ ที่มีชื่อเป็นอย่างอื่นอีกมากชื่อ  แต่โดย
ใจความแล้ว ได้แก่ กิเลสที่ยังสงบอยู่ภายใน จนกว่า ได้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องจน
เกิดความรู้สึกอยากได้รุนแรง รบกวนอยู่ในใจ พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความอยาก หรือ
พลุ่งพล่าน อยู่ด้วยความโกรธแค้นเกลียดชัง หรือ พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความโง่สงสัย
กระวนกระวายอยู่ในใจ เป็นกิเลสชั้นกลางเรียกชื่อว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา. ถ้าความปรุงแต่งไม่หยุด
อยู่แต่เพียงเท่านั้น ก็จะทะลุออกมา ทางกาย ทางวาจา เป็นการกระทำด้วยเจตนา
เช่น การล่วงละเมิดในทางกาม การฆ่าเขา เบียดเบียนเขา การพูดเท็จ ตลอดจน
การดื่มน้ำเมา เป็นต้น
ซึ่งเรียกว่า กิเลสหยาบ ถ้าพิจารณากันอีกทางหนึ่ง จะเห็นได้
ว่า ตัวกิเลสที่แท้นั้น คือ กิเลสชั้นใน หรือ ชั้นละเอียดนั่นเอง ส่วนอีก ๒ ชั้นที่เหลือ
เป็นเพียงกิริยาอาการของกิเลสชั้นในที่แสดงออกมา มากกว่าที่จะเป็นตัวกิเลสเอง
แต่โดยเหตุที่ท่านเพี่งเล็งถึงตัวความเศร้าหมองมืดมัวและไม่สงบ ท่านจึงจัดกิริยา
อาการของกิเลสอย่างนั้นทั้ง ๒ ชั้น ว่าเป็นตัวกิเลสโดยตรงอีกด้วย เช่นกิริยาอาการ
ที่เรียกว่า กามฉันทะ หรือ พยาบาทนั้น ทำให้มโนทวาร หรือ ใจเศร้าหมอง และ
กิเลสในการล่วงละเมิดในกาม และการพูดเท็จ เป็นต้นนั้น ทำให้กายและวาจาเศร้า
หมอง ในทำนองเดียวกันกับที่กิเลสชั้นละเอียดได้ทำให้สันดานพื้นฐานส่วนลึกของ
ใจเศร้าหมอง ในที่สุดเราก็จะได้เป็นคู่ๆ กันดังนี้

๑. กิเลสชั้นละเอียด ทำให้สันดานเศร้าหมอง
๒. กิเลสชั้นกลาง ทำให้มโนทวารเศร้าหมอง
๓. กิเลสชั้นหยาบ ทำให้วจีทวารและกายทวารเศร้าหมอง


กิเลสชั้นละเอียด ซึ่งได้กล่าวแล้วเรียกว่า อกุศลมูล ในที่นี้ มีเพียง ๓ อย่าง แต่ใน
ที่อื่นมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น และจำแนกออกไปมากกว่า ๓ อย่าง ตัวอย่างเช่น
แทนที่จะจำแนกเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ก็จำแนกเป็น กามราคะ ปฏิฆะ ทิฎฐิ
วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา รวมเป็น ๗ อย่าง และเรียกว่า อนุสัย แต่ในที่สุด
เราก็เห็นได้ว่า กามราคะ ความกำหนัดในกาม และ ภวราคะ ความกำหนัด ใน
ความมีความเป็น ในที่นี้ ได้แก่ โลภะ หรือ ราคะ นั่นเอง ปฏิฆะ ในที่นี้ ก็คือ โทสะ
นั่นเอง ส่วน ทิฎฐิ วิจิกิจฉา มานะ อวิชชา ทั้ง ๔ อย่างนี้ สรุปลงรวมได้ในโมหะ
จึงยังคงเหลือเพียง โลภะ โทสะ โมหะ อยู่นั่นเอง แม้จะจำแนกให้มากออกไปกว่า
นี้ เช่น เป็น สังโยชน์ ๑๐ ก็ทำนองเดียวกัน คือ อาจจะย่นให้เหลือ เพียง ๓ ได้
ดังกล่าว หากแต่ว่า เป็นเรื่องละเอียดเกินภูมิ ของผู้เริ่มศึกษา จะงด ไม่กล่าวถึง



คัดจาก หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ  
คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐  
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
ความรู้จากเวป http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/kires.html
กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ  :054:

21
ธรรมะ / บุญ กับ กุศล
« เมื่อ: 30 ก.ค. 2553, 01:51:04 »


เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง
สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับ สิ่งที่เรียกว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อย
แล้วแต่ความสามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่า โดยเนื้อแท้แล้ว
บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม
ตามความหมาย ของรูปศัพท์ แห่งคำสองคำ นี้ทีเดียว

คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,
ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมาย
เช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง


บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจพอใจชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม
แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก
ในกรณีที่
ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกัน แม้จะ
เป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เพื่อเอาบุญกันจริงๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่า ตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์
มีความปรารถนาอย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่
การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออก
ไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ
อย่างไรก็ตาม ฉะนั้น ความหมายของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจ
และ เวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้

ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง
ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่ง
สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพัน อยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้ว
เกิดอีก
และมีจุดมุ่งหมาย กวาดล้างสิ่งเหล่านั้นออกไปจากตัว ในเมื่อบุญต้องการ
โอบรัด เข้ามาหาตัว ให้มีเป็น ของของตัว มากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญยึดถือ
อะไรเอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น  ฝ่ายที่ถือข้างกุศล ก็เห็นว่า การทำอย่างนั้น
เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไป กอดรัดงูเห่า ทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า
ฉลาด นั้น ต้องการจะ ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่น ให้ปล่อยวาง หรือ
ผ่านพ้นไปด้วยกัน ฝ่ายข้างกุศล จึงถือว่า ฝ่ายข้างบุญนั้น ยังเป็นความมืดบอดอยู่

แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำ
ทางภายนอกอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหลในคำสองนี้อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้
เข้าใจกันง่ายๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่างต่างๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริงๆ คือ
ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะเอาหน้าเอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทน เป็นกำไร
หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่ เพื่อให้บังเกิดในสวรรค์ อย่างนี้
เรียกว่า ให้ทานเอาบุญหรือได้บุญ แต่ถ้าให้ทาน อย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ
เพื่อขูดความขี้เหนียว ของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือให้เพื่อค้ำจุนศาสนา เอาไว้
เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ ของโลก หรือ ให้เพราะ เมตตาล้วนๆ
โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญญาเป็นผู้ชี้ขาดว่า
ให้ไปเสีย มีประโยชน์มากกว่าเอาไว้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทานเอากุศล หรือได้กุศล
ซึ่งมันแตกต่างๆ ไปคนละทิศ ละทางกับการให้ทานเอาบุญ เราจะเห็นได้กันสืบไป
อีกว่า การให้ทานเอาบุญนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการฟุ่มเฟือยขึ้นในสังคม ฝ่ายผู้รับทาน
จนกลายเป็นผลร้ายขึ้น ในวงพระศาสนาเอง หรือในวงสังคมรูปอื่นๆ เช่น มีคน
ขอทานในประเทศมากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน ถูกนักคิดพากันวิพากษ์วิจารณ์
ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญนี้เอง ส่วนการให้ทานเอากุศลนั้นอยู่สูง
พ้นการที่ถูกเหยียดอย่างนี้ เพราะว่ามีปัญญาหรือเหตุผลเข้าควบคุม แม้ว่าอยากจะ
ให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผลว่า
ควรให้ ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ไปในรูปละโมบบุญหรือเมาบุญ เพราะว่ากุศล
ไม่ได้เป็นสิ่งที่หวานเหมือนกับบุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้เกิดการเหลือเฟือ
ผิดความสมดุลขึ้นในวงสังคมได้เลย นี่เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ
ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร

ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือรักษาไปทั้งที่ไม่รู้จัก
ความมุ่งหมายของศีล เป็นแต่ยึดถือในรูปร่างของการรักษาศีล แล้วรักษาเพื่ออวด
เพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่ นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนากันไว้
หรือ ทำอย่างละเมอไปตามความนิยมของคนที่มีอายุล่วงมาถึงวัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น
ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้น เท่านั้น
ยิ่งมีความ
ยุ่งยากในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ เพราะ ความเคร่งครัด
ในศีลของบุคคลประเภทนี้อย่างนี้ เรียกว่ารักษาศีลเอาบุญ ส่วนบุคคลอีกประเภท
หนึ่ง รักษาศีลเพียงเพื่อให้เกิดการบังคับตัวเอง สำหรับจะเป็นทางให้เกิดความ
บริสุทธิ์ และความสงบสุขแก่ตัวเองและเพื่อนมนุษย์เพื่อใจสงบ สำหรับเกิดปัญญา
ชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล รักษามีจำนวน เท่ากัน ลักษณะเดียวกัน ในวัด
เดียวกัน แต่กลับเดินไป คนละทิศละทาง อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะ แห่ง
ความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล คำว่า กุศลนั้น ทำอย่างไรเสีย ก็
ไม่มีทางตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ และกินเข้าไป มากเท่าไร
ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ ในขณะที่ คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น คำว่า
กุศล แปลว่า ความฉลาดหรือ เครื่องทำให้ฉลาด และ ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์

ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญ ก็ได้ เอากุศลก็ได้
สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ ที่โลกอื่น ตามที่ ตนกระหาย จะทำให้
 เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิ เพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า
สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมัน
นั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้อง รับการรักษา
เป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หาย จนตลอดชีวิต ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้
มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน
แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุดก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสาร
ตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิ ที่มีความมุ่งหมาย
เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิตให้
ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมา ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็น
ทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล
ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึง
ตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ

ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัว
ปัญญานั้น เป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์
อย่างเดียว แม้ยังจะต้อง เกิดในโลกอีก เพราะยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความ
รู้สึกตัว เดินออกนอกวัฎสงสาร มีทิศทางดิ่งไปยังนิพพานเสมอ ไม่วนเวียน
จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า
ปัญญาในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทาง
อาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น

ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริง ที่เกี่ยวกับ การกระทำ ของพวกเราเอง
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอ หรือ ถึงกับหลงเอา
บุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสนอลเวง
เพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัวสิ่งที่เราต้องการ จนเกิดความยุ่งยากสับสน
อลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัทเองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำสุ่มสี่สุ่มห้า เอา
ของสองอย่างนี้ เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า
"บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับ
การทำบุญกุศล นี้  ให้ลุล่วงไป ด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสาน ก็ได้

ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้งอกงาม หรือ
ปรากฏ หมดอำนาจบุญเมื่อใด บาปก็จะโผล่ออกมา และงอกงามสืบไปอีก


ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัด รากเหง้าของบาป อยู่เรื่อยไป จนมันเหี่ยวแห้ง
สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความต่างกัน อย่างยิ่ง ย่อมมีอยู่ ดังกล่าวนี้


คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล
และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น
และจะสมัครใจ จะปรารถนาอย่างไร ได้เช่นนี้ เมื่อใดจึงจะชื่อว่า
พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทางแห่งการก้าวหน้า และ
ทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็นของที่ไม่อาจจะเอามาเป็นอันเดียวกัน
ได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่าย

คัดจาก หนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระ พุทธทาสภิกขุ  
พิมพ์ ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
ขอบคุณที่มากจากเวป http://www.buddhadasa.com/freethinkbook/boonkusol.html


กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุด้วยครับ สาธุ   :054:

22
ในวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2553 ครบรอบวันเกิดท่าน เสน่ห์กวาง


เอ็ม ก็ขออวยพรให้กวางล่วงหน้านะ ขอให้มีความสุขมากๆ รวยๆๆ โชคดีมีความสุข ไม่เจ็บไม่จน

สุขสันต์วันเกิดนะครับ H B D  ... แล้ววันที่ 12 สิงหาพบกัน
 


23
ธรรมะ / พรหมวิหาร 4
« เมื่อ: 29 ก.ค. 2553, 04:34:33 »
ความหมายของพรหมวิหาร 4- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย


คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์


3. มุทิตา :
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html

24
ธรรมะ / มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )
« เมื่อ: 29 ก.ค. 2553, 04:31:12 »
มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว


..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา)
.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
 สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์  
 .สัมมาวาจา (ศีล)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมากัมมันตะ (ศีล)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาอาชีวะ (ศีล)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาวายามะ (สมาธิ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
 .สัมมาสติ (สมาธิ)
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
 .สัมมาสมาธิ (สมาธิ)
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้
.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ


องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
.....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
.....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
.....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า

ขอบคุณที่มาขากเวป http://www.learntripitaka.com/scruple/muck8.html#muck

25


อนุโมทนากับทุกท่าน ล่วงหน้าเลยนะครับ  :054:

26
ธรรมะ / +++ ตัณหา ๓ +++
« เมื่อ: 21 ก.ค. 2553, 05:16:32 »
ตัณหา ๓

ขอให้รู้จักความอยาก โดยความหมาย มีสองชนิด ในภาษาไทย
อย่างนี้ ในภาษาบาลี ถ้าจะเรียกว่า กิเลสตัณหา หรือ ความโลภ
แล้ว ต้องเป็น เรื่องที่มาจากอวิชชา ถ้ามาจากวิชชา ก็เรียกเป็น
อย่างอื่น เรียกว่าเป็น ความปรารถนา หรือ ความต้องการ หรือ
ความขยัน ขันแข็ง ในหน้าที่การงาน ไปเสียทางโน้น ไม่ได้เป็น
เหตุ ให้เกิดความทุกข์ แต่ว่ากลับเป็น สิ่งที่จะทำลายความทุกข์
ความต้องการที่มันมีถูกต้อง แทนที่จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
กลายเป็นเรื่องจะดับความทุกข์ ความอยาก ในภาษาไทย
ภาษากำกวม เพราะว่า เราไม่มี ความหมาย รัดกุม เหมือน
ภาษาบาลี ให้รู้กันไว้อย่างนี้

กามตัณหา

นี้อย่างที่หนึ่ง อยากในกาม กามตัณหา ก็ด้วยความโง่ ความหลง
ความยึดมั่น ถือมั่น ด้วยอวิชชา จึงอยากในกาม มันก็เร่าร้อน
ตั้งแต่เริ่มอยาก แล้วก็เริ่มประพฤติ ปฏิบัติ กระทำลงไป แต่ข้อนี้
สำหรับ ฆราวาสทั่วไป เขาก็มิได้หมายความว่า จะไม่ต้องเกี่ยว
ข้องกับกาม เพราะคำว่า กาม มีความหมาย หลายอย่าง, กาม
เรื่องเกี่ยวกับเพศ เพศหญิง เพศชาย นี้ก็กาม นี้ส่วนที่มันเนื่อง
กัน ไม่ถึงขนาดนั้น ก็ยังเรียกว่า กาม เช่น ชอบอาหารเอร็ดอร่อย
ชอบเสียงไพเราะ แม้ยังไม่เกี่ยวกับเพศ ก็ยังเรียกว่า กาม
เหมือนกัน เพราะมันเนื่องกัน โดยส่วนลึก

ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วย คือ ไปอยากด้วยความโง่ ความหลงอะไร
มันก็เกิดสิ่งเร่าร้อน หรือเป็นทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าต้องไปเกี่ยวข้อง
ด้วย สติสัมปชัญญะ ก็มีความเป็นกามน้อยลง แม้เรื่องเพศ ที่จะ
ประกอบกิจกรรมทางเพศ ด้วยความรู้สึก ที่เป็นหน้าที่ของฆราวาส
แล้วก็ทำไปด้วย สติสัมปชัญญะ อย่างนี้ ความที่เรียกว่า เป็นกาม
มันก็น้อยลง มันก็มีความเป็น กามตัณหา น้อยลง ถ้าสมมติว่า
บริสุทธิ์ใจจริงๆ ในการที่จะทำเพียง หน้าที่ เพื่อการสืบพันธุ์ ล้วนๆ
ถ้ามันเป็นสิ่งที่ ปฏิบัติได้ มันก็ไม่ถึงกับจัดว่า เป็นกาม มันกลาย
เป็นหน้าที่ ไปก็ได้ แต่ตามปกติ ไม่มีใครทำได้ เพราะว่าธรรมชาติ
มันลึกกว่า มันลึกซึ้งกว่า มันใส่กาม ไว้กับการสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่ค่อยมีใคร ชอบทำกันนัก แต่โดยเหตุ มันเอากาม มาจ้าง เอา
ความรู้สึก ทางกามนี้ มาจ้างให้ สัตว์ทั้งหลาย ทำหน้าที่สืบพันธุ์
มันยุ่งยาก ลำบาก เท่าไร มันก็ยอมทน

นี้ถ้าเราไปโง่ ไปหลงกินเหยื่อ ของธรรมชาติ อันนี้เข้า มันก็เกิด
ความทุกข์ จากสิ่งที่เรียกว่า กามตัณหา เมื่อคนยังมี อวิชชา อยู่
มันก็ต้องโง่ ก็ต้องตกเป็นเหยื่อ ของสิ่งนี้  เป็นทาสของอวิชชา
เป็นทาสของตัณหา แล้วคนยอมลำบาก ให้สิ่งที่เรียกว่า ตัณหา
โดยเฉพาะกามตัณหานี้ เคี้ยวกิน ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า เคี้ยวกิน
คือ คนมันเป็นทาส ของกามตัณหา ยอมทนลำบาก นานาประการ
เพื่อจะให้ได้มา นี้คือสิ่งที่เรียกว่า กามตัณหา หมายถึง เรื่องเพศ
โดยตรง

สิ่งที่เป็นอุปกรณ์ทางเพศ ความไพเราะ สนุกสนาน เอร็ดอร่อย
แม้ไม่เกี่ยวกับเพศ โดยตรง มันก็เป็นกาม นี้ไปเกี่ยวกับเพศ
โดยตรง แล้วยิ่งเป็นกาม อย่างยิ่ง นี้อย่างที่หนึ่ง เรียกว่า
กามตัณหา

ภวตัณหา

อย่างที่สอง ก็คือว่า อยากเป็น ความเป็นอย่างไรที่น่าเป็น
เรียกว่า ภ.สำเภา ว.แหวน ภวตัณหา คือภพ แปลว่า เป็น
ภวตัณหา แปลว่า อยากเป็น นี่ก็อยาก ด้วยอวิชชา อีกเหมือนกัน
อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ที่มันยั่วกิเลส ยั่วความอยาก บางทีมันก็ปนเป
กับกามตัณหา เช่น อยากเป็นหญิง อยากเป็นชาย อยากเป็นนั่น
เป็นนี่ ที่มันไปเกี่ยวกับทางเพศ ก็มี อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยาก
มีหน้ามีตา อยากเป็นผู้มีชื่อเสียง อยากเป็นผู้มีอำนาจวาสนา

ถ้าทำไปด้วยความโง่ ของอวิชชา มันก็รุนแรง แล้วเป็นภวตัณหา
แล้วก็เกิดทุกข์ แต่ถ้าเรามี ความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี มีวิชชา เช่นว่า
เป็นนักศึกษา อย่างที่นั่งอยู่นี้ ก็อยากจะเป็น นักศึกษาที่ดี ที่ถูกต้อง
ตรงตามความหมาย อย่างนี้ก็ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่ภวตัณหา เพราะ
มันไม่ได้ทำไป ด้วยอวิชชา ทำไปด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยปัญญา
อยากเป็นนักเรียนที่ดี อยากเป็นนักศึกษาที่ดี แม้ที่สุด แต่ว่าอยาก
จะเป็น พ่อบ้าน แม่เรือน ที่ดี ถ้ามันไม่ได้ทำไป ด้วยความโง่ ด้วย
อวิชชา ด้วยความไม่รู้เท่า ในสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็ไม่ถูกจัดเป็นตัณหา
แต่เป็นความปรารถนา ความต้องการ ที่ควรจะปรารถนา ฉะนั้น
ขอให้มัน แน่ลงไปทีว่า มันอยากด้วยวิชชา หรือ อยากด้วยอวิชชา

แล้วก็อย่าลืม อย่างเดียวกันอีก เชื่อว่า คนบางพวก อาจารย์บาง
หมู่ เขาสอนกันลงไปตรงๆเลย ขึ้นชื่อว่า ความอยากแล้ว เป็น
กิเลสตัณหา ไปหมด นี้ผมไม่ถืออย่างนั้น ไม่เข้าใจอย่างนั้น
หลังจากที่ได้ศึกษา มาถึงป่านนี้แล้ว ไม่ทำให้เข้าใจอย่างนั้น
ถ้าเผื่ออยากเป็นอะไร ให้มันดีขึ้นไป ให้มันถูกต้อง ให้มันสำเร็จ
ประโยชน์ ด้วยการรู้สึกตัวนี้ ไม่เรียกว่า ตัณหา

ยกตัวอย่าง เช่นว่า อยากเป็นเทวดานี้ มันก็อยากด้วยอวิชชา
ถ้าไปพิจารณาดูให้ดี แล้วเทวดานี้ มันไม่น่าเป็นดอก แล้วมัน
ก็ไม่อยาก เองแหละ ก็มันมีอะไรที่น่าเป็น ที่ควรจะเป็น มีความ
รู้สึกผิดชอบชั่วดี พิจารณาดูแล้ว มันควรจะเป็น หรือควรจะรับ
หน้าที่ อันนั้น มันก็เป็นได้ โดยไม่ต้องเป็นตัณหา อย่างจะเป็น
อาจารย์อย่างนี้ เป็นตัณหาก็ได้ ไม่เป็นตัณหาก็ได้ มันแล้วแต่
ความอยากนั้น มีมูลมาจากอะไร จากความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ถูกต้องสมบูรณ์นี้ มันก็ไม่ต้องเป็นตัณหา หรือถ้ายิ่งไปกว่านั้น
อยากจะเป็น ผู้ครองบ้าน ครองเมือง ก็ต้องรู้โดย หลักเกณฑ์
อันเดียวกัน ถ้าทำไปด้วยความโลภ ด้วยความโง่ ด้วยความหลง
ด้วยความยึดมั่น มันแล้ว มันก็เป็น ตัณหาทั้งนั้น แล้วก็เป็น
ความทุกข์ แต่ถ้าเป็นความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี มีเหตุผล มีความ
ลืมหูลืมตา มีสติสัมปชัญญะอยู่ รู้ว่าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องช่วยเหลือ
เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่างนี้ ไม่เป็นตัณหา ไม่เป็นกิเลสตัณหา

แต่แล้ว มันก็หายากนะ หาโอกาสยากนะ หรือว่า เขาสมมติว่า
พระพุทธเจ้า ท่านตั้งความปรารถนา ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า นี้
ด้วยเหตุผลอย่างนั้นๆ ตามที่มีอยู่ในพระคัมภีร์ อย่างนี้จะเรียก
ว่า เป็นตัณหาไม่ได้ มันเป็นความปรารถนา แม้จะทำรุนแรง
เป็นการอธิษฐานจิต ตั้งสัจจาทิฎฐาน อะไรนี้ ก็ไม่เป็นตัณหา
ได้ เพราะทำได้ ด้วยความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี ของวิชา ของสติ
สัมปชัญญะ การที่อยากเป็นอะไร ด้วยความลุ่มหลง ในผลของ
การที่จะได้เป็นแล้ว มันก็เป็นตัณหา

วิภวตัณหา

นี้มาถึง อันที่สาม ก็เป็น วิภวตัณหา อยากไม่เป็น อยากไม่เป็น
อย่างนั้น อยากไม่เป็นอย่างนี้ กระทั่ง อยากไม่เป็น เสียเลย ไม่
เป็นอยู่เลย เช่น อยากตาย เป็นต้น พวกอยากเป็นนั่น เป็นนี่ มัน
อาศัย สัสสตทิฎฐิ ยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นอยู่ อย่างเที่ยงแท้
ถาวร พอมาถึงตอนนี้ มันเกิด อุจเฉททิฎฐิ เชื่อว่าต้องขาดสูญ
หรือไม่ได้เป็นอยู่ อย่างถาวร อุจเฉททิฎฐิ นี้ มันชักจูงตัณหา
ให้เกิด ภวตัณหา ไม่อยากเป็น ไม่อยากเป็นนั่น ไม่อยากเป็นนี่
ก็ด้วยความโง่ ไม่ใช่ไม่อยากเป็น ด้วยความรู้ที่ถูกต้อง มันไม่
อยากเป็น ด้วยความโง่ ความเอือมระอา ความอะไรที่เป็นความ
โง่ จนกระทั่ง อยากตาย แล้วก็ฆ่าตัวตาย เป็นต้น นี้ผู้ที่จะ
ปราศจากตัณหาแล้ว ก็จะไม่มี ความอยากอย่างนี้ ความอยาก
ไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ นี้ก็เร่าร้อน เหมือนกันแหละ

คุณลองสังเกตดู เมื่อรู้สึกว่า เราไม่ได้อะไร อย่างอก อย่างใจ
มันก็เดือดร้อน แล้วก็เป็นทุกข์ ฉะนั้นอย่าได้มี ตัณหาสามอย่าง
นี้ แล้วก็ไม่มีทุกข์ ชนิดที่ระบุไปว่า ตัณหาสามอย่างนี้ เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์

ทีนี้ ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป พระพุทธเจ้าท่านตรัส ระบุตัณหาไว้ว่า
โปโนพฺภวิกา นนฺทิราค สหคตา ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี นี่ นันทิราคะ
สะหะคะตา นี้คือ กามตัณหาโดยตรง แล้วก็ปัญหานอกนั้น โดย
อ้อมก็ได้ ตัตตร ตัตตราภินันทิ นันทินี นี้มันหลงใหล เคลิบเคลิ้ม
อยู่ในสิ่งนั้นๆ แล้วก็มีคำว่า โปโนพฺภวิกา เป็นไปเพื่อให้เกิดภพ
ใหม่ เกิดชาติใหม่นี่ พอเราอยาก มีตัณหาขึ้นมาแล้ว เราจะ
รู้สึกว่า เราอยาก เราผู้อยาก ฉันอยาก กูอยาก อะไรก็เดือด
พล่านอยู่นี้ นี่เรียกว่า เกิดตัวกูตัวใหม่ขึ้นมา หลังจากเกิดความ
อยากอย่างนี้ก็เรียก่า โปโนพฺภวิกา ได้ เมื่อเราอยู่เฉยๆ เรา
ไม่รู้สึกว่า มีตัวเรา หรือ เราตัองการอะไร แต่พอมีการกระทำ
ให้เกิดความอยากแล้ว หลังจากความอยากแล้ว ต้องเกิดความ
ยึดถือ เป็นอุปาทานแล้ว ตัวกูนี้ จะเอาให้ได้ คือตัวกูมันอยาก
มันจึงเห็นได้ชัดว่า ตัณหานี้ มันเป็นเหตุ ให้เกิดตัวกู คือ ชาติ
แห่งตัวกู อันใหม่ขึ้นมา เกิดอย่างนี้บ่อยๆ บ่อยๆ ก็คือ ใหม่
เรื่อยไปทุกที อันนี้จะเห็นชัดในเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาท

นี้ผมพูดโดยอริยสัจจ์เล็ก ว่า เหตุให้เกิดทุกข์นั้น คือ ตัณหา
สามประการ สรุปโดยย่อว่า ความอยากที่มาจากอวิชชา ไม่รู้
ตามที่เป็นจริง มันก็อยาก ไปในรูปของกาม เรื่องเพศบ้าง ถ้า
อยาก ไปในเรื่องของภพ คือ เป็นนั่นเป็นนี่ แม้ไม่เกี่ยวกับ
กามบ้าง แล้วเป็นวิภพ คือ ไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่.

กราบมนัสการ หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ
ที่มาจากเวปhttp://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tanha62.html

27
ธรรมะ / วิธีแก้ไข นิวรณ์ 5 ........
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2553, 01:31:40 »
นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน
ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป  ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ  อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที   ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

๏ วิธีแก้ไขนิวรณ์ 5
เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้

พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง) ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน

พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น

เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใด

เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย

เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้

มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น

คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ

พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย

คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี

คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น

พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้

แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย

3.) ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย

พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น

คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ

หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ

ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้

ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายง่วงได้

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ

ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือให้พูดออกเสียงด้วย

ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย
ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย) โดยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เริ่มจากการหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุด โดยทำเหมือนถอนหายใจแรงๆ สัก 3 รอบ  จากนั้นทำสิ่งต่อไปนี้พร้อมกันคือ  ใช้ลิ้นดุนเพดานปากอย่างแรง  หลับตาปี๋  เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้มากที่สุด   กลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับทำสมาธิ โดยกำหนดจิตไว้ที่การกลั้นลมหายใจนั้น เพิ่มความหนักแน่น หรือความถี่ของสิ่งที่ใช้ยึดจิตขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถประคองจิตได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือลดโอกาสในการฟุ้งให้น้อยลง เช่น ถ้าตอนแรกใช้กำหนดลมหายใจเข้า/ออก โดยบริกรรมว่าพุทธ/โธ หรือ เข้า/ออก ซ้ำไปซ้ำมา ก็เปลี่ยนเป็นนับลมหายใจแทน โดยหายใจเข้านับ 1 ออกนับ 1 เข้า-2 ออก-2 ... จนถึง เข้า-10 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ การนับนี้ให้ลากเสียง(ในใจ) ให้ยาวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าหรือออก จนกระทั่งสุดลมหายใจ เพื่อให้จิตเกาะติดกับเสียงนั้นไปตลอด

ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนเป็น เข้า-1 ออก-2 เข้า-3 ออก-4 ...... เข้า-9 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นรอบแรกนับจาก 1จนถึง 10 (เหมือนครั้งที่แล้ว) รอบที่สองนับจาก 1 - 9 ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือนับ 1 - 5 แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 1 - 6 ...... จนถึง 1 - 10 แล้วลดลงใหม่จนเหลือ 1 - 5 แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 1 - 10 กลับไปกลับมาเรื่อยๆ เพื่อให้ต้องเพิ่มความตั้งใจขึ้นอีก

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นนับเลขอย่างเร็ว คือขณะหายใจเข้าแต่ละครั้งก็นับเลข 1,2,3,... อย่างรวดเร็วจนกว่าจะสุดลมหายใจ พอเริ่มหายใจออกก็เริ่มนับ 1,2,3,... ใหม่จนสุดลมหายใจเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปกำหนดว่าตอนหายใจเข้า/ออกแต่ละครั้งจะต้องนับได้ถึงเลขอะไร เช่น หายใจเข้าครั้งแรกอาจจะนับได้ถึง 12 พอหายใจออกอาจจะได้แค่ 10 หายใจเข้าครั้งต่อไปอาจจะได้แค่ 9 ก็ได้

*** ในการหายใจนั้นที่สำคัญคือให้หายใจให้เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่าไปบังคับลมหายใจให้ยาวหรือสั้น บางขณะอาจหายใจยาว บางขณะอาจสั้นก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรามีหน้าที่เพียงแค่สังเกตดูเท่านั้น

*** ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่าตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่

*** ถ้านับเลขผิดให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ แล้วดูว่าวันนี้จะนับได้มากที่สุดถึงแค่ไหน

*** เมื่อนับถี่ที่สุดถึงขั้นไหนแล้วเอาจิตให้อยู่ได้ก็หยุดอยู่แค่ขั้นนั้น พอฝึกจิตได้นิ่งพอสมควรแล้ว ก็ลองลดการนับไปใช้ขั้นที่เบาลงเรื่อยๆ จิตจะได้ประณีตขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย
พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น
ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้

5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด
ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณาหาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป

ขอบคุณข้อมูลจากเวป http://www.dhammathai.org/treatment/concentration/concentrate01.php


28
อิทธิบาท ๔
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม
เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้อง
ทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น


ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้
ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึงการการะทำที่ติดต่อไม่ขาดตอนเป็นระยะยาว
จนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้น ไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น
วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ
อยู่ด้วยอย่างเต็มที่


วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่าปัญญาไว้อย่างเต็มที่

บุคคลเมื่อประกอบด้วย คุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่
ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึงความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียก
ว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่น นอกนั้นไป ถือว่าเป็น เรื่องพิเศษ และ ไม่มี ขอบขีดจำกัด
เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องนอกเหนือ วิสัยธรรมดา อยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่า คนเรา
อาจมีอายุยืน ถึงกัลป์ ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้มิได้มีความหมาย
ขัดกัน ในข้อที่ว่า อิทธิบาท ๔ นี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่
มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถ เจริญอิทธบาทให้มากถึงเท่านั้นได้หรือไม่ ต่าง
หาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่า หลักเกี่ยวกับอิทธิบาท นี้ คงมีความหมาย ไปตาม
ตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆว่าวิสัยของใคร
ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลังของอิทธิบาทนั้น
แม้ในสิ่งที่บางคน ถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพาน

ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปเตยย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย
วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น
ซึ่งที่แท้ ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมาย ที่
เห็นได้ชัด ยิ่งขึ้นว่า ในการทำกิจใดๆ ก็ดี ย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่
หรือเป็นประธานในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท
นี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิต ยืนยัน อยู่ในที่ หลายแห่ง ว่า การตรัสรู้ อนุตรสัมมา
สัมโพธิญาณ ของพระองค์เอง สำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธาน แห่ง
การกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็น อุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความ
สำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การ
ประกอบ ประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดย
เท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้
บรรลุผลได้ตามที่ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็น หลักธรรม ที่สำคัญหมวด
หนึ่ง ในบรรดา โพธิปักขิยธรรม ทั้งหลาย

นี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็น เครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้ โดย
ปราศจากอุปสรรค ตั้งแต่ต้น จนถึง จุดหมายปลายทาง

กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ คัดลอกมาจากเวป http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/itibath4.html

29
ธรรมะ / +++ ความกลัว ++++
« เมื่อ: 19 ก.ค. 2553, 05:13:57 »
ความกลัว
ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง
ในบรรดา สิ่งที่ทำลาย ความสุข สำราญ
หรือ รบกวนประสาท ของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยกัน

ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะ และพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ
ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต

เด็กๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่
หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบๆ กันมา
แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป

ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด
แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราวที่ตนรับ
เข้าไว้ในสมอง

วัตถุอันเป็น ที่ตั้งของความกลัว ที่กลัวกันเป็นส่วนมากนั้น
โดยมากหาใช่วัตถุ ที่มีตัวตน จริงจัง อะไรไม่ มันเป็นเพียงสิ่งที่ใจสร้างขึ้น
สำหรับกลัวเท่านั้น ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรากลัวนาน
หรือ มากเท่าสิ่งที่ใจสร้างขึ้นเอง มันมักเป็น เรื่องเป็นราวลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก

บางที เราไม่ทันนึก กลัว ด้วยซ้ำไป
เรื่องนั้นก็ได้มาถึงเรา เป็นไปตามเรื่องของมัน
และผ่านพ้นไปแล้ว มันจึงมิได้ทรมานจิตของมนุษย์
มากเท่าเรื่องหลอกๆ ที่ใจสร้างขึ้นเอง

เด็กๆ หรือคนธรรมดา เดินผ่านร้านขายโลง ซึ่งยังไม่เคย ใส่ศพเลย
ก็รู้สึกว่า เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่ อวมงคล เสียจริงๆ
เศษกระดาษ ชนิดที่เขา ใช้ปิดโลง ขาดตก อยู่ในที่ใด
ที่นั้น ก็มี ผี สำหรับเด็กๆ

เมื่อเอาสีดำ กับกระดาษ เขียนกันเข้า เป็น รูปหัวกระโหลก ตากลวง
ความรู้สึกว่าผี ก็มาสิง อยู่ใน กระดาษ นั้นทันที

เอากระดาษฟาง กับกาวและสี มาประกอบกัน เข้าเป็น หัวคนป่า ที่น่ากลัว
มีสายยนต์ ชักให้แลบลิ้น เหลือกตา ได้ มันก็พอที่ทำให้ใคร ตกใจเป็นไข้ได้
ในเมื่อนำไปแอบ คอยที่ชักหลอกอยู่ในป่า หรือที่ขมุกขมัว
และแม้ที่สุด แต่ผู้ที่เป็นนายช่าง ทำมันขึ้นนั่นเอง ก็รู้สึกไปว่า
มันมิใช่กระดาษฟาง กับกาวและสี เหมือนเมื่อก่อน เสียแล้ว
ถ้าปรากฏว่า มันทำให้ใคร เป็นไข้ ได้สักคนหนึ่ง

เราจะเห็นได้ ในอุทาหรณ์ เหล่านี้ ว่า
ความกลัวนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยสัญญาในอดีตของเราเอง ทั้งนั้น
เพราะปรากฏว่า สิ่งนั้นๆ ยังมิได้เนื่องกับผีที่แท้จริง แม้แต่นิดเดียว และ

สิ่งที่เรียกว่า ผี ผี , มันก็ เกิดมาจากกระแส ที่เต็มไปด้วย อานุภาพอันหนึ่ง
อันเกิดมาจาก กำลังความเชื่อแห่งจิต
ของคนเกือบทั้งประเทศ หรือ ทั้งโลก เชื่อกันเช่นนั้น
อำนาจนั้นๆ มัน แผ่ซ่าน ไปครอบงำจิตของคนทุกคน
ให้สร้าง ผีในมโนคติ ตรงกันหมด
และทำให้เชื่อ ในเรื่องผี ยิ่งขึ้น และผีก็มีชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้

จนกว่าเมื่อใด เราจะหยุดเชื่อเรื่องผี หรือ เรื่องหลอก นี้กันเสียที ให้หมดทุกๆ คน
ผีก็จะตายหมดสิ้นไปจากโลกเอง จึงกล่าวได้ว่า
ความกลัวที่เรากลัวกันนั้น เป็นเรื่องหลอก ที่ใจสร้างขึ้นเอง
ด้วยเหตุผล อันผิดๆ เสียหลายสิบเปอร์เซ็นต์

ความกลัว เป็นภัยต่อความสำราญ เท่ากับความรัก โกรธ เกลียด หลงใหล และอื่นๆ
หรือบางที จะมากกว่าด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่า
ธรรมชาติ ได้สร้างสัญชาตญาณ อันนี้ให้แก่สัตว์ ตั้งแต่ เริ่มออกจากครรภ์ ทีเดียว,
ลูกนก หรือ ลูกแมว พอลืมตา ก็กลัวเป็นแล้ว แสดงอาการหนี
หรือป้องกันภัย ในเมื่อเราเข้าไปใกล้

เด็กๆ จะกลัวที่มืด หรือการถูกทิ้ง ไว้ผู้เดียว
ทั้งที่ เขายังไม่เคย มีเรื่องผูกเวร กับใครไว้
อันจะนำให้กลัวไปว่า จะมีผู้ลอบทำร้าย
เพียงแต่ผู้ใหญ่ ชี้ไปตรงที่มืด แล้วทำท่ากลัว ให้ดูสักครั้งเท่านั้น
เด็กก็จะกลัว ติดอยู่ในใจไปได้นาน
คนโตแล้วบางคน นั่งฟังเพื่อนกันเล่าเรื่องผีเวลากลางคืน
มักจะค่อยๆ ขยับๆ จนเข้าไป นั่งอยู่กลางวง โดยไม่รู้สึกตัว
และยังไปนอนกลัว ในที่นอนอีกมาก กว่าจะหลับไปได้

เดินผ่านป่าช้าโดยไม่รู้ เพิ่งมารู้และกลัวเอาที่บ้านก็มี
สำหรับบางคน ทั้งหมดนี้ เป็น เครื่องแสดงว่า
ความกลัว เป็นเรื่องของจิต มากกว่า วัตถุ
ผู้ใด ไม่มี ความรู้ ในการควบคุม จิตของตน ในเรื่องนี้
เขาจะถูกความกลัวกลุ้มรุมทำลายกำลังประสาท
และความสดชื่นของใจเสียอย่างน่าสงสาร

ในทำนอง ตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่มีอุบายข่มขี่ความกลัว
ย่อม จะได้รับ ความผาสุก มากกว่า มีกำลังใจ เข้มแข็งกว่า
เหมาะที่จะเป็น หัวหน้าหมู่ หรือ ครอบครัว

เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว
บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร สืบไป
เพราะเหตุว่า การที่ทราบแต่เพียงว่า
ความกลัว เป็นภัย ของความผาสุกนั้น
เรายังได้รับผลดีจากความรู้นั้น น้อยเกินไป
เราอาจปัดเป่า ความกลัวออกไปเสียจากจิต โดยววิธีต่างๆ กัน

แต่เมื่อจะสรุปความ ขึ้นเป็นหลักสำคัญๆ แล้ว อย่างน้อย เราจะได้สามประการ คือ

๑. สร้างความเชื่ออย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่ง
๒. ส่งใจไปเสียในที่อื่น ผูกมัดไว้กับสิ่งอื่น
๓. ตัดต้นเหตุ ของความกลัวนั้นๆ เสีย

ในประการต้น อันเราอาจเห็นได้ทั่วไป คือ วิธีของ เด็กๆ ที่เชื่อตะกรุด หรือ
เครื่องราง ฯลฯ ตลอดจน พระเครื่ององค์เล็ก ที่แขวนคอ
และเป็นวิธีของผู้ใหญ่บางคน ที่มีความรู้สึกอยู่ในระดับเดียวกับเด็กด้วย

คนในสมัยอนารยะ ถือภูเขาไฟ ต้นไม้ ฟ้า หรือ สิ่งที่ตนเห็นว่า มีอำนาจน่ากลัว
ควรถือเอา เป็นที่มอบกายถวายตัว ได้อย่างหนึ่ง นี่ก็อยู่ในประเภทเดียวกัน
ที่ยังเหลือมาจนทุกวันนี้ เช่น พวกที่บนบานต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น
เพื่อความเบาใจของตน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
วิธีนี้ เป็นผลดีที่สุด ได้ตลอดเวลา ที่ตน ยังมีความเชื่อมั่นคงอยู่
ความเชื่อที่เป็นไปแรงกล้า อาจหลอกตัวเอง
ให้เห็นสิ่งที่ควรกลัวกลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกลัวไปก็ได้
ถ้าหากจะมีอุบายสร้างความเชื่อชนิดนั้น ให้เกิดขึ้นได้มากๆ

เมื่อใดความเชื่อหมดไป หรือมีน้อย ไม่มีกำลังพอที่จะหลอกตัวเองให้กล้าหาญแล้ว
วิธีนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ กลายเป็นของน่าหัวเราะเท่านั้น

เล่ากันมาว่า เคยมีคนๆ หนึ่ง อมพระเครื่อง เข้าตะลุมบอน ฆ่าฟันกัน
เชื่อว่า ทำให้อยู่คง ฟันไม่เข้า เป็นต้น ดูเหมือนได้ผล เป็นที่น่าพอใจ เขาจริงๆ
ขณะหนึ่ง พระตกจากปากลงพื้นดิน ในท้องนา
ตะลีตะลานคว้าใส่ปากทั้งที่เห็นไม่ถนัด
แทนที่ จะได้พระ กลับเป็นเขียดตัวหนึ่ง เข้าไปดิ้นอยู่ในปาก
ก็รบ เรื่อยไป โดยยิ่งเชื่อมั่นขึ้นอีกว่า พระในปาก แสดงปาฏิหาริย์
ดิ้นไปดิ้นมา เมื่อเลิกรบ รีบคายออกดู เห็นเป็นเขียดตาย
ก็เลยหมดความเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา
ไม่ปรากฏว่า พระเครื่ององค์ใด ทำความพอใจ ให้เขาได้อีก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า วิธีนี้ ไม่ใช่ ที่พึ่ง อันเกษม คือ
ทำความปลอดภัยให้ได้อย่างแท้จริง
ไม่ใช่ วิธีสูงสุด, เนตํ สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ

ประการที่สอง สูงขึ้นมาสักหน่อย พอที่จะเรียกได้ว่า
อยู่ในชั้นที่จัดว่า เป็นกุศโลบาย
หลักสำคัญอยู่ที่ส่งความคิดนึก ของใจไปเสียที่อื่น

ซึ่งจะเป็นความรักใครที่ไหน โกรธใครที่ไหน เกลียดใครที่ไหน ก็ตาม
หรือหยุดใจเสียจากความคิดนึก ทุกอย่าง (สมาธิ) ก็ตาม เรียกว่า
ส่งใจไปเสียในที่อื่น คือจากสิ่งที่เรากลัวนั้นก็แล้วกัน
ที่เราเห็นกันได้ทั่วไป เช่น กำลังเมารัก บ้าเลือด เหล่านี้เป็นต้น
จะไม่มีความกลัวผี กลัวเสือ กลัวเจ็บ
แม้เรื่องราวในหนังสือข่าวรายวัน ก็เป็นพยาน ในเรื่องนี้ได้มาก
แต่เรื่องชนิดนี้ เป็นได้โดย ไม่ต้องเจตนา ทำความรู้สึก เพื่อส่งใจไปที่อื่น
เพราะมันส่งไปเองแล้ว ถึงกระนั้น
ทุกๆ เรื่อง เราอาจปลูกอาการเช่นนี้ขึ้นได้ในเมื่อต้องการ
และมันไม่เป็นขึ้นมาเอง การคิดนึกถึงผลดีที่จะได้รับ คิดถึงสิ่งที่เรารักมาก
จนใฝ่ฝัน คิดถึง ชาติประเทศ คิดถึงหัวหน้าที่กล้าหาญ ดูสิ่งที่ยั่วใจให้กล้า เช่น
ระเบียบให้มองดู ธงของผู้นำทัพ ในเมื่อตนรู้สึกขลาด
อันปรากฏอยู่ในนิยาย เทวาสุรสงคราม ในพระคัมภีร์ เป็นต้น
เหล่านี้ ล้วน แต่ช่วยให้ใจแล่นไปในที่อื่น จนลืมความกลัว ได้ทั้งนั้น ในชั้นนี้
พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ระลึกถึงพระองค์
หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในเมื่อภิกษุใดเกิดความกลัวขึ้นมา ในขณะที่ตนอยู่ในที่เงียบสงัด
เช่นในป่าหรือถ้ำ เป็นต้น
อาการเช่นนี้ทำนองค่อนไปข้างสมาธิ แต่ยังมิใช่สมาธิแท้ทีเดียว
แต่ถ้าหากว่า ผู้ใดแม้ระลึกถึง พระพุทธองค์ก็จริง แต่ระลึกไปในทำนองเชื่อมั่น
มันก็ไปตรงกันเข้ากับประการต้น คือความเชื่อ เช่น
เชื่อพระเครื่อง หรือคนป่าเชื่อปู่เจ้าเขาเขียว
ต่อเมื่อระลึก ในอาการเลื่อมใสปิติในพระพุทธคุณ เป็นต้น
จึงจะเข้ากับประการที่สองนี้

ส่วนอาการที่สงบใจไว้ด้วยสมาธินั้น เป็นอุบายข่มความกลัว ได้สนิทแท้
เพราะว่า ในขณะแห่งสมาธิ ใจไม่มีการคิดนึก อันใดเลย
นอกจากจับอยู่ที่สิ่งซึ่งผู้นั้น ถือเอาเป็นอารมณ์ หรือนิมิต
ที่เกาะของจิตอยู่ในภายในเท่านั้น

แต่ว่าใจที่ เต็มไป ด้วยความกลัว ยากที่จะเป็นสมาธิ
เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสมาธิ ที่ชำนาญ อย่างยิ่งจริงๆ
จนเกือบกลายเป็นความจำอันหนึ่งไป พอระลึกเมื่อใด
นิมิตนั้นมาปรากฏเด่นอยู่ที่ "ดวงตาภายใน" ได้ทันที
นั่นแหละ จึงจะเป็นผล แม้ข้อที่ พระองค์สอนให้ระลึกถึงพระองค์
หรือพระธรรม พระสงฆ์ ตามนัยแห่งบาลี ธชัคคสูตรนั้น ก็หมายถึง
พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อยู่แล้ว
แม้ว่าจะเป็นเพียง อุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงขึดฌาณก็ตาม
ล้วนแต่ต้องการความชำนาญ
จึงอาจเปลี่ยนอารมณ์ที่กลัวให้เป็นพุทธานุสสติ เป็นต้นได้

ส่วนสมาธิ ที่เป็นได้ถึงฌาณ เช่น พรหมวิหาร เป็นต้น
เมื่อชำนาญแล้ว สามารถที่จะข่มความกลัว ได้เด็ดขาดจริงๆ
ยิ่งโดยเฉพาะ เมตตา พรหมวิหาร ยิ่งเป็นไปได้ง่ายที่สุด

แต่พึงทราบว่า ทั้งนี้เป็นเพียงข่มไว้เท่านั้น เชื้อของความกลัว ยังไม่ถูกรื้อถอนออก
เมื่อใดหยุดข่ม มันก็เกิดขึ้นตามเดิม อีกประการหนึ่ง ไม่ใช่วิธีที่ง่ายสำหรับคนทั่วไป
สำหรับการข่มด้วยสมาธิ
คนธรรมดาเหมาะสำหรับเพียงแต่เปลี่ยนเรื่องคิดนึกของใจเท่านั้น 
หาอาจทำ การหยุด พฤติการของจิต ให้ชะงักลงได้ง่ายๆ เหมือน นักสมาธิไม่
และค่อนข้าง จะเป็นการแนะให้เอา ลูกพรวน เข้าไปแขวนผูกคอแมวไป
ในเมื่อสอนให้ คนธรรมดาใช้วิธ๊นี้

และน่าประหลาดใจอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีที่สาม ที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า
ฃึ่งเป็นวิธีที่สูงนั้น กลับจะเหมาะสำหรับคนทั่วไป และได้ผลดีกว่าเสียอีก
วิธีนั้น คือ ตัดต้นเหตุ แห่งความกลัวเสีย ตามแต่ที่กำลังปัญญาความรู้ของผู้นั้น
จะตัดได้มากน้อยเพียงไร ดังจะได้พิจารณากันอย่างละเอียด กว่าวิธีอื่น ดังต่อไปนี้

เมื่อมาถึงประการ ที่สามนี้ ขอให้เราเริ่มต้นด้วย อุทาหรณ์ง่ายๆ
ของท่านภิกขุ อานันท เกาศัลยายนะ
[เขียนไว้ในเรื่อง คนเราเอาชนะความกลัวได้อย่างไร ในหนังสือพิมพ์มหาโพธิ
และบริติชพุทธิสต์ แต่เขียนสั้นๆ เพียงสองหน้ากระดาษเท่านั้น และกล่าวเฉพาะ
การประพฤติ กายวาจาใจ ให้สุจริตอย่างเดียว ว่า เป็นการตัดต้นเหตุแห่งความกลัว]
เขียนไว้เรื่องหนึ่งเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายในข้อที่ว่า
การสะสางที่มูลเหตุ นั้นสำคัญเพียงไร
อุทาหรณ์ นั้น เป็นเพียงเรื่องที่ผูกขึ้นให้เหมาะสมกับความรู้สึกของคนเราทั่วไป
เรื่องมีว่า เด็กคนหนึ่งมีความกลัวเป็นอันมาก ในการที่จะเข้าไปใน ห้องมืดห้องหนึ่ง
ในเรือนของบิดาของเขาเอง เขาเชื่อว่า มีผีดุตัวหนึ่งในห้องนั้น และจะกินเขา
ในเมื่อเขาเพียงแต่เข้าไป บิดาได้พยายามเป็นอย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ทุกๆ ทาง
เพื่อให้บุตรของตน เข้าใจถูกว่า ไม่มีอะไร ในห้องนั้น เขากลัวไปเอง
อย่างไม่มีเหตุผล แต่เด็กคนนั้น ได้เคยนึกเห็นตัวผีมาแล้ว เขาเชื่อว่า
ไม่มีทางใดที่จะช่วยบุตรของตน ให้หลุดพ้นจากการกลัวผี
ซึ่งเขาสร้างขี้นเป็นภาพใส่ใจของเขาเองด้วยมโนคติได้จริงแล้ว
ก็คิดวางอุบาย มีคนใช้คนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมใจด้วย ฤกษ์งามยามดีวันหนึ่ง
เขาเรียกบุตร คนนั้นมา แล้วกล่าวว่า "ฟังซิ ลูกของพ่อ ตั้งนานมาแล้ว
ที่พ่อเข้าใจว่า พ่อเป็นฝ่ายถูก เจ้าเป็นฝ่ายผิด ก่อนหน้านี้ พ่อคิดว่า
ไม่มีผีดุ ในห้องนั้น บัดนี้ พ่อพบด้วยตนเองว่า มันมีอยู่ตัวหนึ่ง
และเป็นชนิดที่น่าอันตรายมาก เสียด้วย พวกเราทุกคน จักต้องระวังให้ดี"

ต่อมาอีกไม่กี่วัน บิดาได้เรียกบุตรมาอีก ด้วยท่าทาง เอาจริงเอาจัง กล่าวว่า
"หลายวันมาแล้ว ผีพึ่งปรากฏตัววันนี้เอง พ่อคิดจะจับและฆ่ามันเสีย
ถ้าเจ้าจะร่วมมือกับพ่อด้วย ไปเอาไม้ถือ ของเจ้า มาเร็วๆ เข้าเถิด
ไม่มีเวลาที่จะรอ แม้นาทีเดียว เพราะมันอาจหนีไปเสีย" เด็กน้อยตื่นมาก
แต่ไม่มีเวลาคิด ไปเอาไม้ถือมาทันที พากันไปสู่ห้องนั้น เมื่อเข้าไปก็ได้พบผี
(ซึ่งเรารู้ดีว่า เป็นฝีมือของคนใช้ทำขึ้น และคอยเชิดมันในห้องมืดนั้น)
สองคนพ่อลูกช่วยกันระดมตีผี ด้วยไม้ถือ และไม้พลอง จนมันล้มลง
มีอาการของคนตาย พ่อลูกดีใจ คนในครอบครัวทั้งหลาย มีการรื่นเริง
กินเลี้ยงกันในการปราบผี ได้สำเร็จ ฉลองวันชัย และเป็นวันแรก ที่เด็กนั้น
กล้าเข้าไปในห้องนั้น โดยปราศจากความกลัวสืบไป
นี่เราจะเห็นได้ว่า เพียงทำลายล้างผี ที่เด็กสร้างขึ้น ด้วยมันสมองของเขาเอง
บิดาต้องสร้างผี ขึ้นตัวหนึ่งจริงๆ จึงทำลายได้สำเร็จ โดยอาศัยความฉลาด
รู้เท่าทันการ รู้จักตัดต้นเหตุ คนโง่ กับคนฉลาด นั้น ผิดกันในส่วนที่
ระงับเหตุร้าย ลงไปจากทางปลาย หรือตัดรากเหง้า ขึ้นมาจากภายใต้

เสือย่อมกระโดด สวนทาง เสียงปืน เข้าไปหาผู้ยิง ในเมื่อรู้สึกว่า ตนถูกยิง
แต่สุนัข ย่อมมัว ขบกัด ตรงปลายไม้ ที่มีผู้แหย่ ตนนั่นเอง
หาคิดว่าต้นเหตุสำคัญ อยู่ที่ผู้แหย่ไม่

เมื่อเราพบจุดสำคัญว่า การตัดต้นเหตุเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้แล้ว
เราก็ประจัญกันเข้ากับปัญหาว่า อะไรเล่า ที่เป็นต้นเหตุแห่งความกลัว ?

เมื่อเราคิดดูให้ดีแล้ว อาจตอบได้ว่า เท่าที่คนเราส่วนมาก จะคิดเห็นนั้น
ความกลัวผี มีต้นเหตุมากมาย คือ ความไม่เข้าใจในสิ่งนั้นบ้าง
การมีความกลัวติดตัวอยู่บ้าง ใจอ่อนเพราะเป็นโรคประสาทบ้าง
อาฆาตจองเวรไว้กับคนไม่ชอบพอกันบ้าง รักตัวเองไม่อยากตายบ้าง
เหล่านี้ ล้วนเป็น เหตุแห่งความกลัว

มูลเหตุอันแท้จริง เป็นรวบยอด แห่งมูลเหตุทั้งหลาย คืออะไรนั้น
ค่อนข้างยากที่จะตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นกันนั้น เห็นว่า มันมีมูลมากมายเสียจริงๆ
แต่แท้ที่จริงนั้น ความกลัวก็เป็นสิ่งที่ เกิดมาจากมูลเหตุอันสำคัญอันเดียว
เช่นเดียวกับ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด และ ความหลง
เพราะว่า ความกลัว ก็เป็นพวกเดียวกันกับ ความหลง (โมหะ หรือเข้าใจผิด)
มูลเหตุอันเดียวที่ว่านั้น ก็คือ อุปาทาน
ความยึดถือต่อตัวเองว่า ฉันมี ฉันเป็น นั่นของฉัน นี่ของฉัน เป็นต้น
อันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัสมิมานะ (เรื่องนี้ ข้าพเจ้าเคย อธิบายไว้บ้างแล้ว
ในเรื่อง "สุขกถา" ที่คณะธรรมทาน เคยพิมพ์โฆษณาแล้ว)

ความรู้สึก หรือ ยึดถืออยู่เอง ในภายในใจ ตามสัญชาตญาณนั้น
มันคลอดสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ฉัน" ขึ้นมา และความรู้สึกนั้น ขยายตัวออกสืบไปว่า
ฉันเป็นผู้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ฉันจะได้รับนั่น รับนี่ หรือเสียนั่น เสียนี่ไป
นั่นจะส่งเสริมฉัน เป็นมิตรของฉัน นี่จะตัดรอนฉัน ทำลายฉัน เป็นศัตรูของฉัน
"ฉัน" สิ่งเดียวนี้ เป็นรากเหง้า ของความรัก โกรธ เกลียด กลัว หลงใหล
อันจักทำลาย ความผาสุก และอิสรภาพ ของคนเรา
ยิ่งไปกว่าที่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันทำแก่เรา มากกว่ามากหลายเท่า หลายส่วนนัก

อุปาทาน ผูกมัดเรา ทำเข็ญให้เรา
ยิ่งกว่าที่หากเราจะถูกแกล้งหาเรื่องจับจองจำในคุกในตะรางเสียอีก
เพราะปรากฏว่ามันไม่เคยผ่อนผันให้เราเป็นอิสระ หรือพักผ่อน แม้ชั่วครู่ชั่วยาม

เมื่อมี "ฉัน" ขึ้นมาในสันดานแล้ว "ฉัน" ก็อยากนั่น อยากนี่
อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากไม่ให้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
ซึ่งเมื่อพิจารณาดู ซ้ำอีกทีหนึ่งแล้ว จะเห็นว่า เต็มไปด้วย ความเห็นแก่ตนเอง
หรือ "ฉัน" นั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ "ฉัน" ไม่อยากเจ็บปวด ไม่อยากตาย
หรือแหลก ละลายไปเสีย ฉัน จึงกลัวเจ็บกลัวตาย เป็นสัญชาตญาณ ของ "ฉัน"
เมื่อกลัวตายอย่างเดียว อยู่ภายในใจแล้ว ก็กลัวง่าย ไปทุกสิ่งที่เชื่อกันว่า
มันจะทำให้ตาย หรือทำให้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นน้องของตาย ทำให้ฉันกลัว
ผีจะหักคอฉัน กินฉันหลอกฉันขู่ฉัน กลัวเสือซึ่งไม่เคยปรากฏว่าเป็นเพื่อนกันได้
และ
กลัวสัตว์อื่นๆ แม้แต่งูตัวนิดๆ กลัวที่มืดซึ่งเป็นที่อาศัยของสิ่งน่ารังเกียจเหล่านั้น
กลัวที่เปลี่ยว ซึ่งไม่มีโอกาส ที่ตนจะต่อสู้ป้องกันตัวได้
กลัวคู่เวร จะลอบทำฉันให้แตกดับ
กลัวฉันจะอับอายขายหน้าสักวันหนึ่ง เพราะฉัน มีความผิดปกปิดไว้ 
บางอย่าง ฉันกลัว เพราะไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ไม่รู้ เช่น
ผลไม้ดีๆ บางอย่าง แต่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ถ้ารูปร่าง หรือ สีมันชอบกลแล้ว
ฉันก็กลัว ไม่กล้ากิน หรือแม้แต่จะชิมก็ขนลุก และในที่สุดเมื่อ
"ฉัน" ปั่นป่วน ในปัญหาการอาชีพ หรือ ชื่อเสียงเป็นต้นของฉัน
กลัวว่า ฉันจะเสื่อมเสียอยู่เสมอ ฉันก็เป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
สะดุ้งง่าย ใจลอย ความยึดถือว่า ฉันเป็นฉัน เหล่านี้เป็น มูลเหตุของความกลัว
ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็กวาดความสดใส ชุ่มชื่นเยือกเย็น ให้หมดเตียนไปจากดวงจิตนั้น

เมื่อพบว่า ต้นเหตุ ของความกลัว คืออะไร ดังนี้แล้ว
เราก็มาถึง ปัญหา ว่าจะตัดต้นเหตุนั้นได้อย่างไร เข้าอีกโดยลำดับ
ในตอนนี้เป็นการจำเป็น ที่เราจะต้องแบ่งการกระทำ ออกเป็นสองชั้น
ตามความสูงต่ำ แห่งปัญญา หรือความรู้ ของคนผู้เป็นเจ้าทุกข์
คือถ้าเขามีต้นทุนสูงพอ ที่จะทำลายอุปาทาน ให้แหลกลงไปได้
ก็จะได้ ตรงเข้าทำลาย อุปาทาน ซึ่งเมื่อทำลายได้แล้ว
ความทุกข์ทุกชนิด จะพากันละลายสาบสูญไปอย่างหมดจดด้วย นี้ประเภทหนึ่ง
และอีกประเภทหนึ่ง คือ พยายาม เพียงบรรเทาต้นเหตุให้เบาบางไปก่อน
ได้แก่ การสะสางมูลเหตุนั้น ให้สะอาดหมดจด ยิ่งขึ้น

ประเภทแรก สำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติธรรมทางใจ ให้ก้าวหน้าสูงขึ้นตามลำดับๆ
จนกว่าจะหมดอุปาทาน ตามวิธีแห่งการปฏิบัติธรรม อันเป็นเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง
ผู้สำเร็จ ในประเภทนี้ คือ พระอรหันต์ จึงเป็นอันว่า จักงดวิธีนี้ไว้ก่อน
เพราะไม่เป็นเรื่องที่สาธารณะแก่บุคคลทั่วไป
และเป็นเรื่องที่เคยอธิบายกันไว้อย่างมาก ต่างหากแล้ว

ส่วนประเภทหลัง นั้นคือ การพยายาม ประพฤติ ความดี ทั้งทางโลก และทางธรรม
ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ จนตนติเตียนตนเองไม่ได้ ใครที่เป็นผู้รู้ แม้จะมีทิพยโสต
หรือทิพยจักษุ มาค้นหา ความผิด เพื่อติเตียนก็ไม่ได้
เป็นผู้เชื่อถือ และเคารพตัวเองได้เต็มเปี่ยม ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนท่าน
ไม่มีเวรภัยที่ผูกกันไว้กับใครรู้กฏความจริงของโลกศึกษาให้เข้าใจในหลักครองชีพ
หาความ หนักแน่น มั่นใจให้แก่ตัวเอง ในหลักการครองชีพ และรักษา ชื่อเสียง
หรือคุณความดี พยายามทำแต่สิ่งที่เป็นธรรมด้วย ความหนักแน่น เยือกเย็น
ไม่เปิดโอกาสให้ใครเหยียดหยามได้ ก็จะไม่ต้องเป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
เพราะมีความ แน่ใจตัวเอง เป็นเครื่องป้องกัน และสำเหนียก อยู่ในใจ เสมอว่า
สิ่งทั้งปวงเป็น อนัตตา เป็นไปตามเรื่อง คือ เหตุปัจจัยของมัน ไม่เป็นของแปลก
หรือได้เปรียบ เสียเปรียบ อะไรแก่กัน ในเรื่องนี้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ความกลัว ก็หมดไป ใจได้ที่พึ่ง ที่เกษม ที่อุดม ยิ่งขึ้น
สมตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการเห็นแจ้ง อริยสัจ สี่ประการ ไว้ในรองลำดับ
แห่งการถือ ที่พึ่งด้วยการถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
อริยสัจ ก็คือการรู ้ เหตุผลของความทุกข์ และของความพ้นทุกข์
ความกลัว ก็รวมอยู่ในพวกทุกข์ เห็นอริยสัจอย่างเพลา
ก็คือ การเห็น และตัดต้นเหตุแห่งความกลัว
ประเภททีหลังนี้ เห็นอริยสัจ เต็มที่ถึงที่สุด ก็คือ
พระอรหันต์ หรือ การตัดต้นเหตุประเภทแรก ได้เด็ดขาด

ข้าพเจ้าขอจบ เรื่องนี้ลง ด้วย พระพุทธภาษิต
ที่เราควร สำเหนียก ไว้ในใจ อยู่เสมอ
อันจะเป็นดุจ เกราะ ป้องกันภัย จาก ความกลัว ได้อย่างดี ดังต่อไปนี้

"มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัว คุกคาม เอาแล้ว
  ย่อม ยึดถือเอา ภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
  สวนที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง เป็นที่พึ่งของตนๆ
  นั่นไม่ใช่ ที่พึ่ง อันทำความ เกษม ให้ได้เลย
  นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว
  ก็ยังไม่อาจ หลุดพ้น ไปจากความทุกข์ ทั้งปวงได้

  ส่วนผู้ใดที่ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว
  เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุ
  เครื่องให้เกิดทุกข์ เห็นการก้าวล่วงไปเสียได้จากทุกข์ และ
  เห็นหนทาง อันประกอบด้วยองค์แปดประการ อันประเสริฐ
  อันเป็นเครื่องยังผู้นั้น ให้เข้าถึง ความรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละ
  คือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นแหละ คือที่พึ่งอันสูงสุด
  ผู้ใด ถือเอา ที่พึ่ง นั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ (ธ. ขุ. ๔๐)

  ความโศก ย่อมเกิดแต่ความรัก
  ความกลัว ย่อมเกิดแต่ความรัก
  สำหรับผู้ที่พ้นแล้ว จากความรัก
  ย่อมไม่มีความโศก
  ความกลัว จักมีมาแต่ที่ไหนเล่า

  ความโศก ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้)
  ความกลัว ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (เพราะกลัวไม่สมอยาก)
  สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจาก ตัณหา ย่อมไม่มีความโศก
  ความกลัว จักมีมา แต่ที่ไหนเล่า " (ธ. ขุ. ๔๓)

ขอให้ความกลัว หมดไปจากจิต ความสุข จงมีแต่ สรรพสัตว์ เทอญ


กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ เครดิตจากเวปhttp://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html

30
กิเลสชั้นละเอียด ที่ถูกปรุงขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง เรียกว่า "นิวรณ์ ๕" รบกวน
อยู่ที่ มโนทวาร นั้น มีเรื่องที่พึงศึกษาดังนี้

คำว่า นิวรณ์  แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิต
มิให้บรรลุถึงธรรม ที่สูงขึ้นไป
อธิบายว่า ตามปรกติ คนเรา มักมีความรู้สึกที่
เรียกว่า นิวรณ์ อยู่ด้วยกันทุกคน ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ตามวิสัยของ ปุถุชน
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่า จิตของ ปุถุชน ถูกนิวรณ์ เหล่านี้ กีดกันไว้ จากการ
บรรลุธรรมะ ที่สูงขึ้นไป อยู่ทุกครั้ง ที่ กิเลสชั้นละเอียด ถูกปรุง ฟุ้งป่วน ขึ้น
เป็นความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย ไม่สงบ รำงับ ในภายใน ผู้ที่สามารถทำจิตให้ว่าง
จากนิวรณ์ ได้ตาม ความต้องการ ของตน นับว่า เป็นปุถุชนพิเศษ หรือ กัลยาณ
ปุถุชน ได้แก่ ผู้มีปัญญา ในการที่จะเปลื้องนิวรณ์ เหล่านี้ ออกไป เสียจากจิต
โดยการยกจิต ขึ้นมาสู่ สมาธิได้สำเร็จ ตามวิธีใด วิธีหนึ่ง เป็นต้น

กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม
อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็น
จริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง
เป็นต้น ซึ่งทำความมืดมัว ให้อีก ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส
แต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่าน อยู่ ก็ไม่อาจ ทำให้ผู้มอง มองเห็น สิ่งต่างๆ ที่มี
อยู่ ภายใต้น้ำ นั้นได้

ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถ
ภาพ ในการที่จะเห็นแจ้ง ในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส แต่มีพืช เช่น
ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็น สิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้
เช่นเดียวกัน

อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่
ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมา ไว้เหมือนน้ำใส แต่ถูก ทำให้เป็น
ละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้  หรือ มีอะไร มา
รบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้ เกิดความมืดมัว แก่จิต ไม่
อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส อยู่ในที่มืด
ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

เมื่อพิจารณา ดูจากอุปมาเหล่านี้ จะเห็นความหมายได้ว่า จิตที่เป็นเดิมๆ นั้น
มีลักษณะเป็นประภัสสร คือใสกระจ่าง แต่ได้สูญเสีย ความในกระจ่างไป
เพราะสิ่งภายนอก เข้าไปแทรกแซง โดยการปรุงแต่ง ต่างๆ กัน ใน ๕ ลักษณะ
ที่กล่าวแล้ว เรามีหวัง ที่จะขจัด สิ่งซึ่งเป็น นิวรณ์ เหล่านั้น เช่นเดียวกับ อาจ
จะขจัด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ ตามที่กล่าวแล้วในอุปมา ฉะนั้น จึงถือว่า เป็น
สิ่งที่ ไม่เหลือวิสัย และมีลู่ทาง สำหรับให้ปฏิบัติ จนประสบผล ได้โดยแน่นอน
ถ้าสังเกตให้ดี จากอุปมา จะเห็นว่า กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ขจัดยาก เช่นเดียวกับ
น้ำผสมสี เป็นการยาก ที่จะแยกเอาสี ออกจากน้ำ ได้ง่ายๆ ไม่เหมือนกับ การยก
สาหร่าย หรือ จอกแหน ขึ้นจากน้ำ ในอุปมาของ ถีนมิทธะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
ผู้ปฎิบัติ จะต้องเลือกหา ข้อปฏิบัติ ที่เป็น คู่ปรับ โดยตรง กับนิวรณ์ ของตนๆ
โดย หลักทั่วๆ ไป ท่านถือเป็นหลัก เลือกวิธีขจัด นิวรณ์ ๕ ด้วย กัมมัฏฐาน
อารมณ์ ต่างกัน เป็น ๕ อย่าง ดังนี้:

(๑) ให้พิจารณาในทาง อสุภะ และปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งจะกำจัด
กามฉันทะได้

(๒) ให้ เจริญ เมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด
แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อม กำจัด พยาบาท

(๓) ให้ทำในใจ ถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญ อโลกสัญญา เป็นต้น
ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส
หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วย กำจัด ถีนมิธะ ได้
ตามสมควร

(๔) ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ
ทั่วๆไป หรือ แม้แต่ การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัด อุทธัจจะกุกกุจจะได้

(๕) ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้
เช่น เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ ในเรื่อง
ไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัด วิจิกิจฉา ให้สิ้นไป

ถ้ากล่าวกลับกัน อีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใด สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น โดยวิธีใดก็ตาม
จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่ แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอัน
ระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้น ในอันดับแรกนี้ บุคคล ควรเริ่มต้น ด้วยการ เจริญสมาธิ
ที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จ เพราะนิวรณ์
อย่างใด รบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไป เจริญสมาธิ ที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดย
ตรง จะเป้นวิธีที่ สะดวกกว่า และ ได้ผลดีกว่า

ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง
เป็นความพร้อม ที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะ และธรรม อันลึก นับว่า เป็นสิ่ง
ที่จำเป็น จะต้องมี หรือ ต้องฝึกหัด สำหรับ ผู้ที่ประสงค์ จะก้าวหน้า ไปในทาง
ธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิต ไม่ถูกนิวรณ์ รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็น
เวลา ที่มีความ ผาสุก ที่สุด จึงได้มีผู้ หลงใหล ใน รสของ สมาธิ หรือ ฌาน จน
ถึงสิ่งนี้เคยถูก บัญญัติ เหมาเอาว่า เป็น นิพพาน มาแล้ว ในยุคหนึ่ง คือ ยุค ที่ยัง
ไม่มีความรู้ ในทางจิตสูงไปกว่านั้น

กราบขอบพระคุณบทความของ ...หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ  :054:

จากเวป http://www.buddhadasa.com/index.html

31
บทความ บทกวี / กลอนธรรมมะ ....
« เมื่อ: 14 ก.ค. 2553, 11:28:42 »
ตัวกู-ของกู


ถ้าจะอยู่ ในโลกนี้ อย่างมีสุข

อย่าประยุกต์ สิ่งทั้งผอง เป็นของฉัน

มันจะสุม เผากระบาล ท่านทั้งวัน

ต้องปล่อยมัน เป็นของมัน อย่าผันมา

เป็นของกู ในอำนาจ แห่งตัวกู

มันจะดู วุ่นวาย คล้ายคนบ้า

อย่างน้อยก็ เป็นนกเขา เข้าตำรา

มันคึกว่า "กู-ของ-กู" อยู่ร่ำไป

จะหามา มีไว้ ใช้หรือกิน

ตามระบิล อย่างอิ่มหนำ ก็ทำได้

โดยไม่ต้อง มั่นหมาย ให้อะไรๆ

ผูกยึดไว้ ว่า "ตัวกู" หรือ "ของกู"ฯ


.......................................................................
"สักกายทิฏฐิ" หมายถึง ความยึดถือว่า กายกับใจนี้เป็นของตน เมื่อมีความรู้สึกคิดเช่นนั้นแล้ว เขาก็หวงแหน อยากให้มันดีให้มันเที่ยงแท้ถาวร เพื่อประโยชน์แก่ "ตัวเขา" โดยธรรมชาติที่แท้นั้น มันไม่มีอะไรที่จะเป็นของเขาได้เลย แต่ความหลงผิด ทำให้เขาเข้าใจว่ามันมีอะไรๆ เป็นของเขาจนได้ โดยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นเพียงธาตุดินน้ำลมไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ที่รวมกลุ่มกันอยู่ ก็ถูกยึดถือเป็นกายและใจ "ของเขา" มันจึงมีลักษณะเป็น ความเห็นแก่ตัว แล้วก็ทำอะไรๆ ไปในลักษณะที่เป็นความทุกข์ยากลำบากแก่ตัวเองและแก่ผู้อื่น ปัญญาอย่างโลกๆ ก็ส่งเสริม "ตัวตน-ของตน" ให้หนักยิ่งขึ้น ต่อเมื่อได้รับการศึกษาอบรมที่ถูกทาง หรือปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักแห่งพุทธศาสนา เขาจึงจะไม่อาจมี "ตัวตน-ของตน" ชนิดที่จะไปฆ่าไปลัก หรือเบียดเบียนผู้อื่น และจะเริ่มนึกถึงการที่กายทุกกาย หรือธาตุทุกกลุ่ม เป็นเพื่อเกิดแก่เจ็บตายอย่างเดียวกัน จึงลดความหมายมั่นปั้นมือที่จะเอาประโยชน์ จากผู้อื่นมาเป็นของตนเองล้วนๆ ดังแต่ก่อน

ความลดไปแห่งสักกายทิฏฐินี้ ทำให้เกิดความสงบเย็น ความสงบเย็นทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะก็ทำความปลอดภัยให้แก่ตนเองและผู้อื่น ถ้าเพียงแต่คนเราสามารถ ละสังโยชน์ข้อที่ ๑ นี้ได้เท่านั้น โลกนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไป อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ อย่างน้อยที่สุด การเบียดเบียนกันจะหายไปจากโลก มีแต่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอย่างแท้จริง เข้ามาแทน




ท่านพระอาจารย์พุทธทาส .....ภิกขุ เวป http://www.buddhadasa.com/history/budprofile1.html

32
นะโม 3 จบ

พุทโธล้อม ธัมโมล้อม สังโฆล้อม

พระพุทธเจ้ามาพร้อม สมเด็จพระพุทธโธ นะโมพุทธายะ
ท่อง 3 จบก่อนคล้องพระออกจากบ้าน สั้นๆง่ายๆได้ใจความ

 



หรือบทอื่นๆ

พุทธัง อาราธะนานัง ธัมมัง อาราธะนานัง สังฆัง อาราธะนานัง
พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
พุทธะคุณัง ธัมมะคุณัง สังฆะคุณัง
พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม

หรือ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ

นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะมะกะสะ


หรือของเวปเพื่อนบ้าน (เครดิตจากพี่อชิตะ ครับ)

พุทโธ อะนุตตะโร อะระหัง ประสิทธิเมฯ

หรือ

พระพุทธอยู่หลัง พระอะระััหังอยู่หน้า ตรงกลางคือตัวข้า มะหาเตชา ภะวันตุเมฯ

หรือ

อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ
หรือ

นะอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ สิ่งดีๆ จงมาสู่ตัวข้าพเจ้าตลอดวันนี้ โสมาเรสะฯ

เลือกใช้ บทใด บทนึงตามสะดวกพอนะครับ
ใครมีบทใดดีๆ ก็มาแบ่งปันกันได้นะครับ ขอบคุณครับ

33





นำมาให้ชมก่อนไปเลี่ยมครับ  ได้รับความเมตตามาจากพี่ที่ใจดี    :065:  
ขอบคุณมากนะครับจะเก็บใว้อย่างดีเลย  :054:


ขอประทานโทษครับพิมพ์ปีผิด ปี 28 ครับ กดผิดขออภัย  :054:

34




ตะกรุด หลวงปู่เต้า วัดเกาะวังไทร  จ.นครปฐม

ได้รับความเมตตามากจากผู้ใหญ่แถวพื้นที่มาท่านนึงครับ   :001:

35
ก่อนที่จะนั่งสมาธิ ใช้คำสมาทานกรรมฐาน ก่อนนั่งสมาธิด้วยบทนี้ครับ
หรือมีบทอื่นก็ใช้ได้เช่นกัน

นะโม 3 จบ

อุกาสะ อุกาสะ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอา ซึ่งพระกรรมฐาน ขอขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ขอจงบังเกิดขึ้น ในขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งสติกำหนดไว้ ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้ารู้ ลมหายใจออกรู้ สามหนและเจ็ดหน ร้อยหน และพันหน ด้วยความไม่ประมาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.

ขอขอบคุณข้อมูลจากเวป วัดพิชโสภาราม

อนุโมธนาสาธุ ครับ  :054:


36
กฎแห่งกรรม / +++ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5+++
« เมื่อ: 17 มิ.ย. 2553, 04:34:32 »
ผิดศีลข้อ 1
(ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนทำร้ายสัตว์ กักขังทรมานสัตว์)

ผลกรรมคือ
1.มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก
2.มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย
3.อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ
4.กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
5.อายุสั้น ตายทรมาน ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมานสัตว์ไว้
6.อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่าง ๆ ก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น ไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจ ะขายให้คนไปทำกินให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน (ท่าน้ำของวัด) หรือ ซื้อยาสมุนไพรยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลบริจาคเลือดและร่างกาย ให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง



ผิดศีลข้อที่ 2
(ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์)

ผลกรรมคือ
1.ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง โดนโกง
2.มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3.ทรัพย์หายบ่อย ๆ หลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4.มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อย ๆ ทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5.ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อย ๆ
6.ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่คนมาทำลายทรัพย์

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของคนอื่น หากอยากได้ให้ขอเสียก่อน จนกว่าเจ้าของจะอนุญาตด้วยความเต็มใจ หมั่นทำบุญสังฆทาน บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟวัดเ พื่อที่ศาสนาจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัย ส่งผลบุญให้เราไม่ขัดสน มอบทุนการศึกษาแด่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผลบุญทำให้เรามีปัญญาที่จะหาทรัพย์อย่างสุจริตรวม ทั้งต้องตั้งสัจจะที่จะมีสัมมาอาชีพ ไม่ฉ้อโกงใคร แม้แต่สลึงเดียวและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง



ผิดศีลข้อ 3
(ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกเมียเขา ล่วงเกินบุตรธิดาของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต แย่งคนรักของคนอื่น กีดกันความรักคนอื่น นอกใจคู่ครอง หลอกลวง ข่มขืน ค้าประเวณี ล่วงเกินทางเพศต่าง ๆ)

ผลกรรมคือ

1.หาคู่ครองไม่ได้,ไม่มีใครเอา, หน้าตาอัปลักษณ์, โดนเพศตรงข้ามล้อเลียนจนมีปมด้อย
2.เป็นหม้าย, ผัวเมียตายจาก, ผัวหย่าเมียร้าง, คบใครก็มีเหตุให้หย่าร้างเลิกรา
3.คนรักนอกใจ, คนรักมีชู้, มีเมียน้อย, คบใครก็เจอแต่คนเจ้าชู้, โดนหลอกฟัน, ท้องไม่รับ, เสียตัวฟรี, โดนข่มขืน
4.ไม่มีมิตรจริงใจ, เพื่อนฝูงไม่รัก, พี่น้องก็ไม่รัก, พ่อแม่ทอดทิ้ง, ชีวิตขาดความอบอุ่น, มีแฟนก็ไม่มีใครจริงจังด้วย, ครอบครัวไม่อบอุ่น
5.มีความผิดปกติทางเพศ, ทางร่างกาย, ทางจิตใจ, ถูกกีดกันทางความรัก, สังคมไม่ยอมรับความรักของตน, มีความรักหลบ ๆ ซ่อน ๆ
6.ต้องมีเหตุพลัดพรากจากคนรักและของรักอยู่เสมอ (ก่อนเวลาอันควร)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ทำผิดเรื่องทางเพศ ไม่ทำให้ใครรู้สึกผิดหวังเสียใจในเรื่องความรัก ไม่กีดกัน ไม่คิดแย่งหรือไปรักกับคนรักของใคร ไม่คิดทำร้ายความรู้สึกคนรัก ไม่ล่วงเกินบุตรธิดาของใครก่อนได้รับอนุญาต รักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจไม่มีกิ๊ก พอใจในคู่ครองของตนเอง หมั่นทำบุญถวายเทียนคู่ให้วัด ถวายธงคู่ประดับวัด ช่วยออกค่าใช้จ่ายงานแต่งงานและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หรือให้ธรรมะด้านความรักแก่คู่รักที่รู้จักเอาใจใส่คู่ครอง คนรักเอาใจใส่พ่อแม่ของตนเอง หากรักพ่อแม่เอาใจใส่พ่อแม่อย่างดีจะได้รับผลบุญ ทำให้ความรักของเราสดใสไม่เจ็บช้ำหากทรมานพ่อแม่ ทำอย่างไรกับพ่อแม่ไว้ต่อไปชีวิตรักก็จะเลวร้ายพอ ๆ กับความรู้สึกเสียใจของพ่อแม่ที่เราได้กระทำไว้



ผิดศีลข้อ 4
(โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ หลอกลวงผู้อื่นใส่ร้ายผู้อื่น ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ ผิดสัญญาสาบานแล้วไม่ทำตาม)

ผลกรรมคือ

1.ปากไม่สวย ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล (สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ, นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่พลั้งปากโกหกหรือส่อเสียดนินทายุแยงใคร ไม่ด่าใคร พูดตามความเป็นจริงทุกอย่าง สิ่งใดควรพูดก็ควรพูด ไม่ควรพูดก็อดทนไว้ ไม่ด่า ไม่เถี ยง ไม่นินทาผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ให้คำสั ญญาใครไว้ต้องรักษา อย่าสาบานอะไรพร่ำเพรื่อ ว่าง ๆ ก็ออกค่าใช้จ่ายให้ค่าทำฟันแก่คนยากคนจนและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หมั่นให้สัจธรรมความจริงแก่คนทั่วไป พูดแต่ธรรมะ สอนธรรมะอยู่เสมอ หมั่นพูดหรือเผยแพร่ธรรมะให้คนอื่นฟังบ่อย ๆ ทำตัวให้มีธรรมะให้มีสัจจะพูดอะไรก็ไม่ผิดคำพูด ไม่กลับคำ ไม่หลอกลวงใคร คนจะเชื่อถือมากขึ้น


ผิดศีลข้อ 5
(ดื่มของมึนเมา เสพยาเสพติด ให้ยาเสพติด ให้ของมึนเมา ขายของมึนเมา ขายยาเสพติด)

ผลกรรมคือ
1.สติปัญญาไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่จำ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ
2.เกิดในตระกูลที่โง่เขลา เต็มไปด้วยอบายมุข
3.หากกรรมหนักจะเกิดเป็นเอ๋อ ปัญญาอ่อน เป็นโรคทางปัญญา
4.ลูกหลานสำมะเลเทเมา มีลูกหลานติดยาเสพติด
5.เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่มีสติระวัง มีแต่ความประมาท
6.มักลุ่มหลงในสิ่งผิดได้ง่าย เป็นคนที่โดนมอมเมาให้หลงใหลในสิ่งผิดได้ง่าย (ขาดสติ)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ดื่มของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด ไม่จำหน่ายจ่ายแจกของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด หมั่นทำธรรมทาน วิทยาทานให้ปัญญาความรู้แก่คนทั่วไปและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง


ขอบขอบคุณที่มาจากเวป http://www.baanmaha.com/community/thread25520.html
หากมีคนเคยนำมาลงใว้แล้ว ผมขออภัยด้วยครับ  :054:

37
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับธรรมมะเรื่องนึง มาแบ่งปันให้พี่น้องวัดชาวบางพระได้อ่านกันครับ
ซึ่งผมก็ได้รับฟังมาอีกที บางท่านก็อาจจะเคยได้ยิน บางท่านก็อาจจะยังไม่เคยได้ยิน
ใครเคยได้ยินหรือเคยอ่านฟังแล้วก็ขออภัยด้วยนะครับ


เรื่องมีอยู่ว่า มีสามี ภรรยาคู่นึง ซึ่งสามีชาติที่แล้วทำกรรมมาดี เกิดมาชาตินี้ ก็มีทรัพย์สมบัติพอมีอยู่กินไม่อดอยาก
มีภรรยาก็ภรรยาดี แต่ทว่าในชาตินี้สามีกับมีแต่ความโลภหลงในทรัพย์สมบัติ ไม่รู้จักทำความดีเอาซะเลย
แต่ภรรยานั้นเป็นคนดี เชื่อเรื่องเวรกรรม มีศิลธรรม เป็นคนทำบุญสม่ำเสมอ ก็ชวนให้สามีมาทำความดี แต่สามีกับไม่สนใจ

แล้วมีอยู่วันๆนึง ภรรยาก็ออกมาใส่บาตรพระปกติ (ซึ่งปกติภรรยานั้นจะออกมาทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ทุกเช้าเป็นประจำ)
วันนั้นเอง สามีก็เกิดขุ่นเคืองใจ เลยพูดกับภรรยาว่า

สามี: ทำ ทำไมบุญ ไม่มีจริงหลอก เสียดายของป่าวๆเปลือง มีแต่ของดีๆ ทำไมไม่เก็บใว้กินเอง อีกหน่อยก็อดตายหลอก
ภรรยา : ก็เงียบไม่ได้พูดอะไร ใส่บาตรพระตามปกติ

แล้วอีกวันนึง  ภรรยากำลังจะไปวัดเพื่อไปฟังเทศน์ฟังธรรม ที่วัด

ภรรยา : คุณค่ะคุณ ไปวัดกันใหม ไปฟังเทศน์ฟังธรรมซะบ้าง ได้มีปัญญา ได้บุญได้กุศล
สมามี : วู้ไม่ไปหลอก เสียเวลาป่าวๆ วันนี้ว่าจะไปตกปลา บ่อตกปลามาเปิดใหม่ น่าสนุกกว่าอีกไม่น่าเบื่อ

แล้วต่อมาอีกวัน มีงานเทศการทำบุญเอาของไปแจกเด็กๆกำพร้าผู้ยากไร้

ภรรยา
: กำลังขนของ ใส่รถกระบะ เพื่อนำของไปแจกเด็กๆ โดยมีลูกๆมาช่วยกันขน
สามี : พอเห็นเข้าก็เกิดอารมณ์ฉุนเฉียว บอกกับภรรยาว่า - เอาไปแจกทำไม เปลือง ของบ้านเรากว่าจะหามาได้ต้องทำงานมาไม่รู้เท่าไหร่
              นี่อยู่ดีๆจะเอาไปให้ใครไม่รู้ บ้าหรือป่าว อีกหน่อย อดตายไม่มีของใช้ของกินแล้วจะรู้มัวแต่เอาไปแจกให้ชาวบ้าน

ภรรยา
: ได้ยินก็เฉยๆๆ ก็ให้ลูกๆๆขนของกันต่อไป

แล้วเวลาก็ผ่านไป 30 ปี สามีภรรยาคู่นี้ก็แก่ตัวลง สามีดันเป็นโรคมะเร็งโดย เพียง 2 เดือนก็ถึงแก่กรรม
เมื่อตายวิญญาณ ก็ออกจากร่าง ยมบาลก็พาไปสู่ขุมนรก เปิดบัญชีดู


ยมบาล : เจ้าผู้นี่ชาติที่แล้วทำความดี ชาตินี้เลยเกิดมาสุขสบายมีทรัพสมบัติมาก แต่ด้วยชาตินี้มีแต่ความโง่เขลา ไม่คิดทำบุญ ถือศิล ไม่รุ้จักทำบุญทำทาน ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ตายมาชาตินี้ก็ไม่ได้มีบุญติดตัวมาเลย ผลของกรรมเจ้า ต้องตกนรกโดนทรมาน เกิดมาชาติหน้าเป็นคนพิการมีแต่โรคเพราะชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีทรัพสมบัติใดๆ แม้แต่บ้านก็ไม่มี  


สามีที่ตายแล้ว  : ผมจะไม่มีอะไรได้ไง บ้านผมก็มี รถผมก็มี 3-4 คัน ทรัพย์สมบัติมีมากโข ทำไมตายไปผมกับไม่ได้อะไรสักอย่างเดียว ทำไม

ยมบาล :    ก็เจ้าไม่รู้จักทำบุญสร้างกุศลแล้วเหตุใดของเหล่านั้นจะติดตัวเจ้ามาด้วยหละ ของที่เจ้ามีที่เจ้าเห็นล้วนเป็นสมบัติภายนอก ตายไปก็เอาอะไรมาไม่ได้สักอย่าง  เจ้าลองดูนี่สิภรรยาเจ้าสิเป็นคนดี หมั่นรักษาศิลทำบุญสร้างกุศล ดูซะ ถ้าภรรยาเจ้าตายไปจะได้อะไรมาบ้าง

แล้วยมบาลก็เนรมิตรให้ดูบุญกุศลที่ภรรยาของสามีผู้ตายได้บำเพ็ญทำมา - สามีก็มองไป เห็นแสงสว่างเจิดจ้า มีของกินของใช้เพียบเต็มไปหมดประดับประดาไปด้วยเครื่องประดับนานาชนิด -ซึ่งสามีเห็นก็รู้สึกเสียใจภายหลังที่ตนตอนมีชีวิตอยู่ไม่รู้จักทำบุญสร้างกุศลใว้เลยตายไปก็ไม่มีอะไรติดตัวมา
ส่วนภรรยานั้นเมื่อตายไป   ด้วยบุญกุศล ก็จะได้เกิดเป็นเทวดามีของประดับสวยงามอยู่อย่างมีความสุขบนสวรรค์เมื่อบุญหมดเศษบุญที่ติดตัวมา ก็จะได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์
ที่มีความพร้อมทั้งด้านปัญญา ทรัพสินเงินทอง


เพราะฉะนั้นเรามาทำความดี  ทำบุญสร้างกุศล ก่อนที่เราจะตายกันเถอะครับ สาธุ
การมีสติ คือความรู้ผิดชอบดีชั่ว ในความไม่ประมาทในความตาย คนเราตายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ก่อนตายมีสติ ละเว้นชั่ว สร้างแต่บุญ ความดีใว้เถอะครับ

38
สำหรับคนที่ชอบ ปลัดขิกนะครับ คิกคิกๆๆๆๆ

คาถาเรียกปลัดขิกใช้งาน
โอมละลวย..มหาละลวย..สามสิบสองตวยตาขุนเพ็ด

(...)ย็ดน้องเข้าสองที เข้าแล้วอย่าให้ออก ดอกให้เปื่อย ดอกให้เปื่อย ฯ

ตรง(...) ตรงนี้ให้ใส่สระ เอ นะครับ เหอๆๆ อาจติดเหรดนิดขออภัย


คาถาใช้งานปลัดขิก


โอม . . . มหาปลัดขิก ศิวลึงค์ อึงคะนึงอื้อฉาว

คุ้มครองตัวข้าพเจ้าด้วย กัณหะ เณหะ อุอุ อะอะ มะมะ อะอุ โอมฯ


จากนั้นก็อาราธนาขอให้ปลัดขิกช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ จะแคล้วคลาด คงกะพัน

เมตตา หรือโชคลาภก็ได้ตามแต่จะอธิษฐานครับ



เครดิตจากพี่อชิตะ  วัดชายนานะครับ

39
คาถาอาคม / +++++ การตั้งธาตุ +++++
« เมื่อ: 15 มิ.ย. 2553, 01:05:41 »
ในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางๆ ต่างๆ

ซึ่งหนึ่งซึ่งขาดไม่ได้คือการ ตั้งธาตุ-ปลุกธาตุ

นะ คือธาตุนํ้าหล่อเลี้ยงร่างกายและดวงจิต เรียกว่า อาโปธาตุ  

โม คือธาตุดินได้แก่ของที่แข็ง มีหนัง มีเนื้อ มีกระดูก เรียกว่า ปฐวีธาตุ  

พุท คือธาตุไฟได้แก่ความอบอุ่นในร่างกาย เรียกว่า เตโชธาตุ  

ธา คือธาตุลม ลมหายใจเป็นต้น เรียกว่า วาโยธาตุ  

ยะ คืออากาศธาตุ

นะ คือธาตุนํ้า กําลัง = ๑๒  

โมคือธาตุดิน กำลัง =  ๒๑  

พุท คือธาตุไฟ กำลัง = ๖  

ธา คือธาตุลม กำลัง = ๗  

ยะ คืออากาศธาตุ กำลัง = ๑๐  

รวมทั้งหมด=๕๖ คือคุณของพระพุทธ

 

คุณพระพุทธ ๕๖ นี้ ถ้าแบ่งครึ่งออกจะเป็น= ๒๘ และ เอาอากาศธาตุ๑๐ บวกรวมเข้าไปจะเป็น=๓๘ คือคุณพระธรรม  คุณพระพุทธ ๕๖ นี้ ถ้าแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนก็จะ = ๑๔ คือคุณพระสงฆ์

 

เมื่อเราจะประกอปพิธีกรรมใดๆก็ดี เช่นจะปลุกเสกนางกวัก กุมารทอง รักยมหนุมาน สิงห์ เสืออะไรก็ดีที่มีชีวิต

ต้องประจุหรือใส่ธาตุทั้ง4 ก่อน แล้วตามด้วย อาการ ๓๒ ที่ว่า อัตถิอิมัสมิง กาเย เกษา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ...ฯ    

วิธีตั้งธาตุ

การตั้งธาตุนั้นให้ตั้งแม่ธาตุใหญ่ก่อน คือ นะโมพุทธายะ

แล้วตามด้วยธาตุ4 คือ นะมะพะธะ

หนุนด้วยธาตุกรณีคือ จะภะกะสะก่อนที่จะตั้งธาตุให้ว่า

 

 คาถาชุมนุมธาตุ ดังนี้    

เอหิปะถะวีพรหมา

เอหิอาโปอินทรา

เอหิเตโชนารายะ

เอหิวาโยอิสสะราฯ

 

คาถาตั้งแม่ธาตุใหญ่ ว่าดังนี้    

นะอิเพชรคงอะระหังสุคะโตภะคะวา

โมติพุทธะสังอะระหังสุคะโตภะคะวา

พุทปิอิสะวาสุอะระหังสุคะโตภะคะวา

ธาโสมะอะอุอะระหังสุคะโตภะคะวา

ยะภะอุอะมะอะระหังสุคะโตภะคะวาฯ

 

นะมะพะะธะ ต้องมีธาตุพระพุทธเจ้า คือ ธาตุพระกะระณี ตั้งกํากับลงไปด้วย คือ จะภะกะสะเพื่อเป็นพี่เลี้ยงคุมธาตุลงไปอีกทีหนึ่ง    

วิธีตั้งธาตุ

พยายามจําให้ได้มีประโยชน์มากต่อผู้ที่เรียนคาถาอาคมว่าดังนี้

 

ตั้งอาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) ว่า นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะภะกะสะ  

ตั้งปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ว่า นะโมพุทธายะ มะพะธะนะ ภะกะสะจะ  

ตั้งเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ว่า นะโมพุทธายะ พะธะนะมะ กะสะจะภะ  

ตั้งวาโยธาตุ (ธาตุลม) ว่า นะโมพุทธายะ ธะนะมะพะสะจะภะกะ

 

วิธีหนุนธาตุ

นะ คือ แก้วมณีโชติ  มะ คือ แก้วไพทูรย์  อะ คือ แก้ววิเชียร  อุ คือ แก้วปัทมราช      

เมื่อตั้งอาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) ให้เอาแก้วมณีโชติหนุน  

เมื่อตั้งปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ให้เอาแก้วไพทูรย์หนุน  

เมื่อตั้งเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ให้เอาแก้ววิเชียรหนุน  

เมื่อตั้งวาโยธาตุ (ธาตุลม) ให้เอาแก้วปัทมราชหนุน  

หลักของการใช้ธาตุมีดังนี้    

ธาตุนํ้า ใช้ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม  

ธาตุดิน ใช้ทางอิทธิปาฏิหารย์ คงกระพันชาตรี  

ธาตุไฟ ใช้ทางสะเดาะกุญแจขับไล่ผี  

ธาตุลม ใช้ทางสะกด กําบังตัว ล่องหน  

ทางเสน่ห์ เมตตามหานิยมใช้ธาตุนํ้า (อาโปธาตุ)

ภาวนาว่า      นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะภะกะสะ

แล้วหนุนด้วยแก้วมณีโชติว่า นะมะมะนะ นะอะอะนะ นะอุอุนะ

 

ทางคงกระพันภาวนาปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)

ภาวนาว่า  นะโมพุทธายะ มะพะธะนะ ภะกะสะจะ

หนุนด้วยแก้วไพทูรย์ว่าต่อ มะนะนะมะ มะอะอะมะ มะอุอุมะ

 

ทางเสดาะขับไล่ผีภาวนาเตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ภาวนาว่า

นะโมพุทธายะ พะธะนะมะ กะสะจะภะ

หนุนด้วยแก้ววิเชียร ว่าต่อ อะนะนะอะ อะมะมะอะ อะอุอุอะ

 
  
ทางสะกด ล่องหน กําบังตัวภาวนา วาโยธาตุ(ธาตุลม)

ภาวนาว่านะโมพุทธายะ ธะนะมะพะ สะจะภะกะ

หนุนด้วยแก้วปัทมราชว่าต่อ อุนะนะอุ มะมะอุ อุอะอะอุ

การตั้งธาตุเป็นกิจที่ต้องทำ ควรฝึกฝนให้ชำนาญ กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ

แล้วกำหนดใจปลุกเสกตามสายวิชาที่ครูบาอาจารย์ประสิทธิมาตามแต่ถนัดครับ


ขอบคุณเครดิตจากเวป ของพี่อชิตะนะครับ http://fws.cc/sitwadchaina/index.php?topic=107.0

40
คาถาอาคม / คาถาถอนคุณไสย์+++
« เมื่อ: 11 มิ.ย. 2553, 08:25:50 »
นะโม 3 จบ นึกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง และ พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ทุกท่าน

สะมุหะเนยยะ สะมุหะคะติ สะมุหะคะโต สีมาคะตัง พัทธะเสมายัง

 สะมุหะนิตัพโพ เอวัง เอหิ นะเคลื่อน โมคลอน พุทถอน ธาเลื่อน ยะเลื่อนหลุดลอย


ตั้งจิตอธิฐานขอบมารมี แด่คุณพระศรีรัตนตรัย พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลายที่เรานับถือ
โปรดเมตตา ล้าง ถอดถอน คุณไสย์มนต์ดำ คุณผีทั้งหลาย คุณคนทั้งหลาย คุณยาแฝด ฝังรูปฝังรอย ออกสิ้น ณะ บัดนนี้เถิด
สาธุสาธุ



41
ตั้งนะโม 3 จบ

อุ อะ มะ สังวัตติสงสาร เอหิใจพาน มามะมะแห่งกู มาเร็วแม่เอยมารัก มาประจำหลัก ทรามรักประจำโขลง

มาโรงแม่เวย นางทองอย่าเลือกนางเผือกประไพ มะอยู่มิได้ อะร้องไห้ อุตามกูมา โอมสะวาโหม ติดติด

42
การเจริญสมาธิแบบปล่อยวางและพิจารณาอารมณ์

กัมมัฏฐานมี ๔๐ วีธี ใครจะใช้วิธีไหนก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงให้ถูกกับจริตของตนเป็นใช้ได้ หลวงปู่เทสก์บอกว่า การเจริญภาวนากัมมัฏฐานจะกำหนดพุทโธๆ ๆ หรือ อรหังๆ ๆ หรือ สัมมาอรหังๆ ๆ หรือ มรณังๆ ๆ หรือกายคตาสติก็ทำได้ทั้งนั้น ไม่มีขีดขั้น ข้อสำคัญคือการเจริญนั้นๆ จิตจะรวมลงสู่จุดเดียวได้หรือไม่ ถ้ารวมลงได้ก็เรียกว่าสมถะด้วยกันทั้งนั้น
การปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ จิตใจต้องมั่นคง อย่ามัวไหลไปตามกระแส ใครว่ามีอะไรดีที่ไหนก็ไปตามเขา พอเขาเปลี่ยนใจ เราก็เปลี่ยนใหม่อีก จิตใจโลเล จิตใจวุ่นเสียแล้วแต่ต้นอย่างนี้ จะหาความก้าวหน้าจากการเจริญสมาธิไม่ได้เลย หลวงปู่เทสก็บอกว่าหลักธรรมที่แท้มิได้เกิดจากความคิดที่ส่งออก แต่เกิดจากการคิดค้นตรงเข้ามาหาของจริงที่มีอยู่ในตัวนี้ เมื่อเราค้นเข้ามาหาของจริงในตัวนี้แล้วจิตก็เป็นสมาธิ (คือคิดค้นอยู่ในที่อันเดียว)ต่อนั้นไปทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในรัศมีของจิต ก็จะกลายเป็นอุบายให้เกิดเป็นธรรมไปทั้งหมด
อุบายในการเข้าถึงธรรมมีมิใช่น้อย ถ้ารู้จักฉุกคิดขณะที่พระกำลังแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ ตัวพระเองอาจบรรลุถึงธรรมก็ได้ ถ้าส่งใจไปตามกระแสธรรมที่ตนแสดงจนเกิดสมาธิและปัญญา ขณะที่เรากำลังถูบ้านถูไปถูมา เราคิดถึงจิตของตนว่า ถ้าจิตของเรามีการขัดถูให้สะอาดอย่างบ้านเรือน จิตอาจปลอดจากกิเลส หรือขณะตัดผม จะเป็นช่างตัดผม หรือเอาผมไปให้ช่างตัด อาจจะอาศัยอาการอย่างนี้ เพื่อตัดกิเลสตัดทุกข์ได้
พุทธวจนะคำสอนของพระพุทธองค์มีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามที่ท่านกำหนดไว้แต่ละหมวดแต่ละข้อ หรือแต่ละขันธ์ ล้วนแต่เป็นของดี ท่านโบราณาจารย์เคยปฏิบัติได้รับผลสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น จึงได้รวมตั้งไว้เป็นปริยัติเพื่อเป็นบทศึกษาแก่อนุชนสืบมา

ธรรมเป็นของดีแล้ว แต่เราปฏิบัติดียังไม่พอที่จะเป็นรากฐานให้เกิดธรรมของดีได้ มรรค ๘ ผล ๔นิพพาน๑ เป็นของผู้ปฏิบัติที่มีสัมมาสมาธิเป็นรากฐาน อริยสัจธรรมทั้งสี่ คือ ทุกข์๑ สมุทัย๑ นิโรธ๑ มรรค๑ เป็นวิชาของสัมมาสมาธิอย่างถูกต้อง ทุกข์ ทั้งหลาย มีชาติทุกข์เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี สมุทัย มีความทะยานอยากในความใคร่เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเห็นโทษในสมุทัยันั้นแล้วละเสียไม่มี นิโรธ คือความเข้าไปดับซึ่งราคะธรรมเป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้จะเข้าไปดับไม่มี มรรค มีองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางยังผู้ดำเนินตามแล้วให้พ้นทุกข์ได้มีอยู่ แต่ผู้จะดำเนินตามไม่มี ทางจึงเป็นทางว่างหาผู้สัญจรไม่มี ก็เพราะขาดสัมมาสมาธิอันเป็นรากฐานที่มั่นคง
สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของฌาน ๔ อันได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
เราเจริญสมาธิเพื่ออะไร?
ก็เพื่อให้เกิดปัญญา รู้เห็นสภาวะสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เพื่อให้ชีวิตเป็นอิสระ เบาสบายมากขึ้น มีภาระที่ต้องแบกด้วยความยึดมั่นถือมั่นน้อยลงๆ จนหมดสิ้น เพราะฉะนั้น ควรกระทำด้วยความตั้งใจจริง เพื่อให้เกิดผลแท้จริง
วิธีการเจริญสมาธิภาวนาของหลวงปู่เทสก์ มี ๒ วิธีด้วยกันคือ วิธีปล่อยวางอารมณ์ กับวิธียกเอาอารมณ์ขึ้นมาพิจารณา ทั้งสองวิธีนั้นมีคำอธิบายว่า
๑) เราปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด ไม่ให้มีอะไรเหลืออยู่ที่ใจ พร้อมๆ กับอัดลมหายใจเข้าไปแล้วปล่อยวางลมหายใจออกมา แล้วตั้งสติกำหนดเอาผู้รู้ จะไปตั้งอยู่ตรงไหนแล้วแต่ความถนัดของตน แบบนี้ทำได้ง่ายสบายแต่ไม่มีหลักหนักแน่น ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็ส่งส่ายไปตามอารมณ์ที่ตนชอบเสีย

๒)ให้หยิบเอาอารมณ์อันใดก็ได้ ซึ่งมันเป็นอารมณ์ที่มันเคยทำความกระเทือนใจให้เราเกิดความสลดสังเวช จิตของเราเคยไปจดจ่ออยู่เฉพาะในเรื่องนั้นมาแล้ว เช่นเราเคยพิจารณาเห็นโทษทุกข์ในความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็นต้น เรายกเอาเรื่องนั้นขึ้นมาพิจารณาค้นคว้าทบทวนกลับไปกลับมา ไม่ให้จิตแลบออกไปจากเรื่องนั้น จนเข้าไปรู้เรื่องความเป็นอยู่เป็นมาและเป็นไปของเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วจะเกิดมีอาการ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ณ ที่นั้นอย่างแปลกประหลาด คือความชัดเจนแจ่มแจ้ง อันมิใช่เกิดแต่ความนึกคิดคาดคะเน และได้สดับศึกษามาจากคนอื่น แต่มันเป็นความรู้ที่จัดเจนอันประกอบด้วยปีติปราโมทย์ ที่เกิดเองเป็นเอง อันใครๆ จะแต่งเอาไม่ได้๑
มิฉะนั้น จิตก็จะหดตัวเข้าไปนิ่งสงบเฉยอยู่ โดยไม่คิดอะไร แม้แต่ความคิดที่คิดค้นอยู่นั้น ก็พักหมด๑
บางทีสงบนิ่งเข้าไปอยู่ในที่แห่งหนึ่งเฉพาะจิตอย่างเดียว บางที่ก็รู้อยู่เฉพาะตัว แต่ความรู้อันนั้น มิใช่รู้อย่างอย่างที่เราจะพูดกันถูก หรือบางที่ก็ไม่รู้ตัวเสียเลย คล้ายๆกับหลับที่เรียกว่าจิตเข้าภวังค์ อาการเหล่านั้นใครๆจะทำเอาไม่ได้ แต่เมื่อภาวนาถูกต้องดังแสดงมาแล้ว มันก็จะเกิดขึ้นมาเอง๑
อาการทั้งสามอย่างนี้มิใช่จะเกิดเหมือนกันหมดทุกๆคน และทุกๆอาการก็หาไม่ บางคนก็เป็นและครบ บางคนก็เป็นอย่างสองอย่าง เรื่องของการภาวนานี้พิสดารมากหากจะนำมาพรรณาไว้ ณ ที่นี้ จะเป็นหนังสือเล่มเขื่องเล่มหนึ่ง ที่แย้มให้เห็นเพียงเล็กน้อยนี้ก็เพื่อแนะให้ทราบว่าผู้ภาวนาเป็นแล้วจะเป็นไปอย่างนั้น
แบบที่ ๒ ที่ให้หยิบยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณานี้ เป็นการหัดสมถะและวิปัสสนาไปในตัว ถ้าผู้ที่มีนิสัยวาสนาแล้วเป็นไปได้รวดเร็ว ถ้านิสัยพอประมาณได้ปานกลาง บางทีก็จะหนักไปทางสมถะ จิตเข้าหาความสงบ มีอาการสองหย่างดังแสดงมาแล้ว ถึงอย่างไรการพิจารณาอย่างนี้ย่อมมีอานิสงส์มาก เพราะพิจารณาให้เห็นสภาวะเป็นจริง ถึงไม่ได้ปัญญาขั้นละเอียด แต่ก็ยังรู้เท่าเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วค่อยๆ ถอนวางจากอุปทานลงได้โดยลำดับ

การยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณานี้ เป็นอุบายของการภาวนาโดยแท้ อย่าได้สงสัยว่าเราไม่ได้ภาวนา อุบายภาวนา คือการที่หยิบยกเอากัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณาเมื่อจิตแน่วแน่ลงสู่อารมณ์อันเดียวจนเข้าเป็นภวังค์ เรียกว่าจิตเข้าถึงภาวนาแล้ว ฉะนั้นการที่เรายกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณาจิตของเราจะจดจ่ออยู่ในเรื่องนั้นอย่างเดียว เรียกว่าเรากำลังเจริญภาวนาอยู่แล้ว ขอให้ยินดีพอใจในจิตของตนที่เป็นอยู่นั้นเถิด จิตก็จะได้แน่วแน่และเกิดปีติปราโมทย์จนละเอียดลงไปโดยลำดับ ผู้ไม่เข้าใจภาวนามักจะสงสัยไปต่างๆนาๆ แล้วก็ปรุงแต่งไปว่า ภาวนาจะต้องเป็นอย่างนั้น เห็นอย่างนี้ แล้วจัดระดับชั้นภูมิของตนๆ ไว้ก่อนภาวนา เมื่อจิตไม่เป็นไปตามสังขาร ก็เลยฟุ้งซ่านเกิดความรำคาญ สังขารเป็นผู้ลวง จะไปแต่งภาวนาไม่ได้ โดยเฉพาะแล้วสังขารเป็นอุปสรรคแก่การภาวนาอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อยังละสังขารไม่ได้ตราบใดแล้ว ไม่มีหวังจะได้ประสบรสชาติของการภาวนาเลย ที่สุดการฟังเทศน์หรือยกอุบายใจขึ้นมาพิจารณาก็ไม่เป็นผล มีแต่ความลังเลใจ ธรรมทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ก็จะไม่มีคุณค่าแก่เขา แม้เท่าที่เขาได้ส่ายตาไปมองดูรูปที่สวยๆ ขณะแวบเดียว ผู้ที่ท่านช่างคิดค้นหาข้อเท็จจริงทั้งหลาย ท่านไม่ใช้สัญญาออกหน้า แต่ท่านใช้เหตุผลและปรากฏการณ์เฉพาะเพาะหน้าเข้าค้นคว้าพิจารณา จึงได้ผลสมประสงค์ ธรรมหรือวิธีเจริญกัมมัฏฐานมิใช่ของมีโครงการอะไร ขอแต่ให้หยิบยกเอาเหตุผลหรือสิ่งปรากฏการณ์นั้นๆ มาพิจารณาให้เข้าถึงหลักของจริงก็เป็นอันใช้ได้ ที่มีพิธีรีตองและโครงการมากๆ นั้น ล้วนแล้วแต่ว่าตามความจริงจากท่านที่ท่านได้ทำสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น
ฉะนั้น ยิ่งนานและมีผู้ค้นพบของจริงมากเข้าเท่าไร วิธีและโครงการหรือตำราก็ยิ่งมากขึ้น จนผู้ศึกษาภายหลังทำตามไม่ถูก ก็เลยชักให้สงสัย บางคนพาลหาว่าตำราไม่ได้เรื่องอย่างนี้ก็มี ถ้าหากทำตามดังแสดงมาแล้ว คือยกเอาของจริง เช่น เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จนเกิดเป็นภาวนาสมาธิขึ้นมาแล้ว โครงการหรือวิธีทั้งหลายแหล่จะมากสักเท่าไร ก็เป็นแต่เพียงกระจกเงาเท่านั้น หาใช่ตัวจริงไม่ ด้วยเหตุนี้สาวกของพระพุทธองค์จึงได้สำเร็จมรรคด้วยอุบายแปลกๆ ไม่เหมือนกัน

ขนาดแสงไฟในดวงเทียนจะมีธรรมอะไร ใครๆ เขาก็ใช้กันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ก็ไม่เห็นจะวิเศษวิโสได้สำเร็จมรรคผลอะไร แต่ภิกษุณีชื่อ ปฏาจารา จุดเทียนบูชาในวิหาร แล้วเพ่งดูแสงเทียน ยึดเอาอาการแสงเทียนพลุ่งขึ้นด้วยกำลังแรงไฟ แล้วย่อยยับๆ ลงมาด้วยความอ่อนกำลังของมันเอง อยู่อย่างนั้นเป็นอารมณ์ น้อมเข้ามาเทียบกับอายุขัยและวัยในอัตภาพของตน จนเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสังขารทั้งหลาย ที่สุดจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะไฟนั้นนี้เป็นตัวอย่าง ท่านยกเอาแสงเทียนขึ้นมาพิจารณา เห็นเป็นของไม่เที่ยงตามลักษณะที่มันพลุ่งขึ้นแล้งย่อยยับหดตัวลงตามเป็นจริง แล้วหมดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง ธรรมอื่นๆ ไม่ต้องไปตามพิจารณา แต่มันมาปรากฏชัดในที่แห่งเดียวแล้ว
บัณฑิตสามเณรลูกศิษย์ของท่านพระสารีบุตร เห็นเขาไขน้ำให้มันไหลไปตามนา ท่านนำมาพิจารณาว่า น้ำเป็นของไม่มีจิตใจ แต่ก็ไหลไปตามนาได้ตามประสงค์ จิตของเราเมื่อทรมาณให้อยู่ในอำนาจก็จะทำได้ เห็นเขาถากไม้ดัดลูกศร เขาหลิ่วตาข้างเดียวดูที่คดที่ตรง ท่านก็นำมาพิจารณาว่า ผู้ฝึกจิตถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่าง ก็จะสงบไม่ได้และไม่เห็นสภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็มีกำลังเบ่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริงได้ ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นของควรละ ผลที่สุดท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะอุบายอันนั้น นี่แหละความละเอียดและเป็นธรรมมิใช่อยูที่อุบาย แต่อยูที่จิต อบรมถูกจนจิตเป็นภาวนาสัมมาสมาธิแล้ว อุบายทั้งหลายที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณานั้น ไม่ว่าหยาบและละเอียดก็จะได้ปัญญามีคุณค่าให้สำเร็จมรรคผลเป็นที่สุดเช่นเดียวกัน
ฉะนั้นทุกๆ คนเมื่อเราหยิบยกเอาอุบายอันใดขึ้นมาพิจารณา เห็นชัดจนแจ่มแจ้งแล้ว แม้แต่ครั้งเดียวก็ตามขออย่าได้ทอดทิ้ง ให้นำเอาอุบายนั้นแหละมาพิจารณาอีก จิตจะเป็นอย่างที่เคยเป็นมาแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอให้ทำเรื่อยไปจนชำนาญ
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเจริญสมาธิควรกระทำจนเกิดความชำนิชำนาญ แคล่วคล่องว่องไว จะยกอุบายอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ยกมาได้ทันที จะเข้าออกสมาธิก็ง่าย ทำให้สมาธิตั้งอยู่นานก็ได้ และเชี่ยวชาญในการกำหนดรู้อารมณ์ของสมาธิเป็นอย่างดี
( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

ศีลเป็นเบื้องต้นของสมาธิ
การรักษาศีลมิใช่เป็นของยากลำบากและเป็นการหนักอกหนักใจอะไร ทั้งไม่น่าเกลียดและขายขี้หน้าอีกด้วย เพราะการรักษาศีลก็คือการงดเว้นจากการทำชั่วนั่นเอง งดเว้นจากการทำชั่วมากเท่าไร ก็เรียกว่าได้รักษาศีลมากเทานั้น คนที่ไม่งดเว้นจากการทำชั่วนั้นเสียอีกเป็นผู้ที่น่าตำหนิและอับอายมาก ถึงคนอื่นเขาไม่ว่าอะไรตัวของเราเองก็ตำหนิและร้อนใจเราเองอยู่เสมอ เพราะเห็นความชั่วของตัวเองอยู่แล้ว
เช่นชาวประมงนั่นซิเขาลำบากสักหน่อย เมื่อไม่ทำก็ไม่มีอันจะกิน แต่ถึงขนาดนั้น หากเขาเห็นโทษของการไม่มีศีล เกิดศรัทธาเลื่อมใสในการรักษาศีลแล้ว เขาก็สามารถทำได้ เรื่องเช่นนี้เคยมีตัวอย่างมามากต่อมากแล้ว อาชีพของคนเกิดมาในโลกนี้ มิใช่ยมบาลจะจำกัดให้พวกประมงทำแต่บาปอย่างเดียว ยมบาลก็เป็นผู้ยุ่งเพราะสอบสวนพวกนี้อยู่แล้ว ขออย่างเดียวแต่ให้เห็นโทษของการไม่มีศีล แล้วงดเว้นจากโทษนั้นๆ ก็เป็นพระได้เท่านั้นแหละ การไม่ล่วงละเมิดศีลในข้อนั้นๆ เพราะไม่จำเป็น เช่นเรามีอันอยู่อันกินมีผู้เลี้ยงดูสุขสมบูรณ์ ไม่ต้องไปหาฆ่าสัตว์ลักทรัพย์เขามาเลี้ยงชีพ แต่เราไม่ตั้งเจตนางดเว้นศีลในข้อนั้นๆ ก็ไม่จัดว่ารักษาศีล เพราะศีลเกิดจากการงดเว้น ฉะนั้นผู้ที่ทำปานาติบาตมากอยู่แล้ว เมื่องดเว้นได้ มารักษาศีลจึงได้ชื่อว่า"รักษาศีลบนกองบาป"เป็นของมหัศจรรย์มาก ส่วนผู้ไม่ละเมิดศีลเพราะไม่จำเป็นดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ตั้งใจรักษาศีลเพราะความสุขเป็นสิ่งที่น่าเสียดายได้ชื่อว่า"เสวยสุขในกองคูถ" แต่ถ้าเขามีปัญญารู้ตัวว่าเขาได้รับความสุขเช่นนั้นเพราะกุศลหนหลังส่งผลให้และเป็นโอกาสอันดีที่เขาจะได้บำเพ็ญความดี มีการรักษาศีลเป็นต้น แล้วตั้งใจงดเว้นจากบาปนั้นๆ ถึงแม้เขาไม่จำเป็นต้องระวังศีล เพราะเขาไม่มีโอกาสจะทำเช่นนั้นก็ตาม แต่เขามาภูมิใจ เพราะบุญของเขาอำนวยให้ แล้วตั้งใจงดเว้นให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป ได้ชื่อว่าเขา "สร้างบุญกุศลบนกองเงินกองทอง" เป็นของหาได้ยากแท้ ศีลเป็นของรักษาได้ง่าย ถ้าเป็นผู้เห็นโทษในการทำบาปจริงๆ และเมื่องดเว้นจากโทษ๕ โทษ๘ ประการดังพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ตัวของเขาก็เป็นพระขึ้นมาทันที ถึงมิใช่พระอริยเจ้าผู้ไกลจากกิเลสอย่างท่าน แต่ก็เป็นพระไกลจากกิเลส ๕ ข้อ ๘ ข้อ ก็ยังนับว่าดีเลิศอยู่แล้ว


ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=31116

43
การเดินจงกรม คือการเดินภาวนา เพื่อเป็นอุบายให้สงบใจ เดินกลับไปกลับมาพร้อมกับกำหนดคำบริกรรมภาวนาเหมือนวิธีการนั่งสมาธิ คำอธิษฐานก็ใช้แบบเดียวกัน เปลี่ยนแต่ตรงคำว่า “นั่งสมาธิภาวนา” เป็น “เดินจงกรมภาวนา” เวลาจะเดินจงกรม ให้กำหนดทิศทางที่จะเดิน แล้วไปยืนตรงต้นทาง ยกมือประนมขึ้นระหว่างคิ้วกล่าวคำอธิษฐาน ครั้นจบแล้ววางมือลง เอามือขวาทับมือซ้ายวางทาบไว้ใต้สะดือ ทอดตาลงเบื้องต่ำไม่แลซ้ายแลขวา ทำท่าสำรวมกาย ก้าวเดินขาขวาบริกรรมคำภาวนาว่า “พุท” ก้าวเดินขาซ้ายบริกรรมคำภาวนาว่า “โธ” บริกรรมภาวนา “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” ๓ หนแล้ว ให้กำหนดเอาคำบริกรรมภาวนาว่า “พุทโธ” แต่เพียงคำเดียว ครั้นพอถึงปลายทางที่เรากำหนดไว้แล้ว หมุนตัวกลับไปทางขวามือ เดินภาวนากลับไปกลับมา การกำหนดคำบริกรรมภาวนานั้น จะกำหนดอยู่ที่เท้าเวลาเดินก็ได้ หรือกำหนดไว้ในใจก็ได้ตามชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับแต่ประการใด


ส่วนการกำหนดทิศทางเดินจงกรมนั้น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต องค์ท่านกล่าวไว้ว่า “ทางเดินจงกรมตามที่ท่านกำหนดรู้ไว้ และปฏิบัติตามเรื่อยมานั้นมีสามทิศด้วยกัน คือตรงไปตามแนวตะวันออก – ตะวันตกหนึ่ง ไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้หนึ่ง และไปตามแนวตะวันออกเฉียงเหนือหนึ่ง การเดินจงกรมก็เดินไปตามแนวทั้งสามที่กำหนดไว้ในแนวใดแนวหนึ่ง

ความสั้นยาวของทางจงกรมแต่ละสายนั้น ท่านว่าตามแต่ควรสำหรับรายนั้นๆ ไม่ตายตัว กำหนดเอาเองได้ตามสมควร แต่อย่างสั้นท่านว่าไม่ควรให้สั้นกว่าสิบก้าว สำหรับเวลาอยู่ในที่จำเป็นหาทางเดินมิได้” “การเดินไม่พึงเดินไกวแขน ไม่พึงเดินเอามือขัดหลัง ไม่พึงเดินเอามือกอดอก ไม่พึงเดินมองโน้นมองนี้อันไม่เป็นท่าสำรวม”


การนั่งสมาธิภาวนา หรือการเดินจงกรมนั้น เราจะทำที่ไหนก็ได้ ที่วัด ที่บ้าน ในที่ทำงาน ในร้านอาหาร ในช๊อปปิ้งมอลล์ ทำการทำงานทุกสิ่งทุกอย่าง ทำภาวนาได้ทั้งนั้น มีสติระลึกขึ้นมาได้ก็กำหนด “พุทโธ” ทันทีเลยไม่ต้องรอให้เสียเวล่ำเวลา ก้าวขาขวา “พุท” ก้าวขาซ้าย “โธ” เรียกว่าภาวนาได้ทุกเมื่อไม่มีกาลเวลา จึงสมดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “อกาลิโก” ไม่มีกาล ไม่มีเวลา ไม่มีฤดู ทำได้เสมอ


ขอจบลงด้วยโอวาทธรรมของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร “เมื่อเหล่าท่านทั้งหลายได้พากันสดับตรับฟังแล้ว ในโอวาทศาสนีย์ธรรมะคำสั่งสอนนี้ ซึ่งแสดงโดยย่นย่อพอเป็นเครื่องปฏิบัติ ประดับสติปัญญาบารมีของท่านทั้งหลาย ให้พากันโยนิโสมนสิการ กำหนดจดจำ นำไปประพฤติปฏิบัติฝึกหัดตนของตน ให้เป็นไปในศีล เป็นไปในธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว แต่นี้ต่อไป พวกท่านทั้งหลายจะประสบแต่ความสุข ความเจริญงอกงาม ดังได้แสดงมา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้”


ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jit-apinya&month=10-10-2009&group=5&gblog=2
หากเคยมีคนมาลงแล้วก็ขออภัยด้วยครับ

44
ธรรมะ / เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« เมื่อ: 27 พ.ค. 2553, 03:47:31 »


พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ถาม - ดูจิตอย่างไรจึงจะเป็นวิปัสสนาคะ

ถ้ามีสติจริงๆ นะ สมาธิจะเกิดอัตโนมัติได้ด้วย
เพราะเมื่อไรจิตเราฟุ้งซ่าน เรามีสติรู้ทันนะ
ความฟุ้งซ่านจะดับ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา ได้สมาธินะ
เพราะฉะนั้นดูจิต ดูจิต ไป ได้สมาธิ
ทีนี้บางทีครูบาอาจารย์บางท่านก็บอก เอ๊ย ดูจิตเป็นสมถะนะ
ถูกของท่านนะ ดูจิตเป็นสมถะ ถูกของท่าน
แต่ถ้าดูเป็น ก็เป็นวิปัสสนาได้
ดูกายก็เป็นสมถะได้นะ ไม่ใช่ดูกายเป็นวิปัสสนา
ถ้าดูกายแล้วเห็นแต่กายเนี่ย ไม่เห็นไตรลักษณ์แล้วนะ สมถะละ
ดูจิตนะ พอเห็นจิตเราฟุ้งซ่าน เรารู้ทันนะ
จิตมันก็สงบเข้ามา ตรงนี้เป็นสมถะ

เพราะฉะนั้นมันเป็นวิปัสสนา จะขึ้นวิปัสสนาด้วยการดูจิตทำยังไง
พูดมาแล้วนะเรื่องศีล ใช่ไหม
มีสติรู้จิตเนี่ยศีลเกิด มีสติรู้จิตสมาธิเกิด
มีสติรู้จิตแล้วทำยังไงปัญญาจะเกิด
การจะเกิดปัญญาได้เนี่ย เราต้องค่อยๆ ฝึกแยกธาตุ แยกขันธ์ไป
แยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว
อย่างเราดูจิตดูใจ เราเห็นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น
เราค่อยๆ ดูไป เราจะเห็นเลยความโกรธเป็นสิ่งหนึ่งนะ
จิตที่เป็นคนรู้ความโกรธเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เนี่ยเป็นการแยกขันธ์ออกไปนะ
ความสุขเกิดขึ้น เรารู้ทันนะ มีสติรู้ทันนะ จิตตั้งมั่นอยู่ จิตตั้งมั่น
แต่ถ้ามีสติรู้ทันแต่จิตไม่ตั้งมั่น มันจะไปเพ่ง
ถ้ามีสติรู้ทันนะ จิตตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่
จิตมีสัมมาสมาธิหนุนหลังอยู่ มันถึงจะเดินปัญญา
มันจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้
ความสุขเกิดขึ้น จิตตั้งมั่นอยู่ สติรู้ความสุขที่เกิดขึ้น ในขณะที่จิตตั้งมั่นอยู่เนี่ย
มันจะเห็นทันทีว่าความสุขกับจิตเนี่ยเป็นคนละอันกัน
ความสุขกับจิตก็คนละอันกัน
ถ้าสติระลึกรู้ร่างกาย แล้วจิตตั้งมั่นอยู่นะ
มันจะเห็นว่าร่างกายก็อยู่ส่วนหนึ่ง จิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง เป็นคนละอันกัน
เนี่ยมันจะค่อยๆ แยกนะ ร่างกายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง
เวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ ก็ส่วนหนึ่ง
จิตก็อยู่อีกส่วนหนึ่งนะ
กุศลอกุศลทั้งหลาย เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง
หรือสภาวะธรรมที่เป็นกลางๆ ทั้งหลาย
ความปรุงแต่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
จิตที่เป็นคนรู้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
มันจะแยกจิตออกจากสิ่งอื่นๆ แยกจิตออกจากกาย แยกจิตออกจากเวทนา
แยกจิตออกจากจิตสังขารที่เป็นกุศลอกุศล หรือเป็นกลางๆ
จิตจะแยกตัวออกมา

พอขันธ์มันแยกตัวออกไปแล้วเนี่ย สิ่งที่จะเห็นได้ชัดก็คือ
ขันธ์แต่ละขันธ์แต่ละกองที่แยกออกไปนั้น ไม่ใช่ตัวเรา
จะเห็นทันทีนะ ไม่ใช่ตัวเรา
อย่างพอเรามีสติขึ้นมา รู้ร่างกายอยู่ในขณะนั้นจิตตั้งมั่นอยู่
มันจะเห็นว่าจิตอยู่ส่วนหนึ่ง กายอยู่ส่วนหนึ่ง
ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา
ถ้าสติระลึกรู้เวทนา เช่น ความสุขเกิดขึ้น จิตมันตั้งมั่นขึ้นมา
จิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะเห็นว่าเวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง
จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาไม่ใช่ตัวเรา
ถ้าโทสะเกิดขึ้นมา สติระลึกรู้โทสะที่เกิดขึ้น
จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่ มันจะเห็นว่าโทสะอยู่ส่วนหนึ่ง
จิตอยู่อีกส่วนหนึ่ง โทสะไม่ใช่ตัวเรา
นี่มันจะเห็นลงไปเรื่อย แล้วเห็นว่าไม่มีเราในขันธ์ทั้งหลาย
เนี่ยคือการเจริญปัญญานะ






ถาม - หัดเจริญปัญญาอย่างไรจึงจะแยกขันธ์ได้ครับ

การหัดเจริญปัญญา ขั้นแรกก็แยกขันธ์ออกไปก่อน
อย่างโทสะกะจิตนี่คนละอันกัน
โทสะนี่เรียกว่าสังขารขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์นะ
ร่างกายก็ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นรูปขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
เวทนาก็เป็นอีกขันธ์หนึ่ง เรียกเวทนาขันธ์นะ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
ถ้าแยกออกไปแล้วเนี่ย มันจะเริ่มเห็นความจริง
ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ที่แยกออกไปแล้ว ไม่ใช่ตัวเราหรอก
พวกเราที่หัดภาวนากับหลวงพ่อนะ สังเกตไหมไม่นานก็แยกขันธ์ได้
ถ้าไม่มีการแยกขันธ์ อย่าพูดเรื่องเจริญปัญญา อย่าพูดเรื่องวิปัสสนา
วิปัสสนาคือการเห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์นั้นเอง
ถ้าขันธ์ยังไม่แยกตัวออกไป ยังเป็นก้อนเดียวกันอยู่นะ
มันจะไม่เกิดวิปัสสนาตัวจริงหรอก

ทำไมต้องแยกออกไป
เพราะวิธีศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าวิภัชวิธี
ว.แหวน สระอิ ภ.สำเภา ไม้หันอากาศ ช.ช้าง "วิภัช"
วิภัช แปลว่า แยก
แยกอะไร แยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
แยกออกได้ ๕ ส่วน ก็เรียกว่าขันธ์ ๕
บางทีแยกอีก อีกอะไร อีกแบบหนึ่ง แยกเป็น ๖ ส่วน เรียกอายตนะ ๖
ความจริงก็คือขันธ์ ๕ เหมือนกันแหละ แต่แยกไปอีกสไตล์หนึ่ง
หรือแยกอีกแง่มุมหนึ่ง อีกมิติหนึ่ง แยกเป็นธาตุ ธาตุ ๑๘ ธาตุ
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เนี่ยคือวิปัสสนาภูมินะ
คือสิ่งที่จะใช้เรียนทำวิปัสสนา
เพราะฉะนั้นบางคนเรียนเรื่องขันธ์ บางคนเรียนเรื่องธาตุ
บางคนเรียนเรื่องอายตนะ แต่ใจความก็อันเดียวกัน
คือการแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
เพื่อจะได้เห็นว่าแต่ละส่วนนั้นก็ไม่ใช่ตัวเรา
สิ่งที่เรียกว่าตัวเรานั้นคือกายกับใจ คือขันธ์ ๕ ที่มารวมกัน
แล้วเราก็มีการเข้าไปหมายรู้ผิดๆ มีสัญญาเข้าไปหมายรู้ผิดๆ
เรียก "สัญญาวิปลาส" หมายรู้ผิดๆ ว่านี่คือก้อนนี่คือตัวเรา
วิธีที่จะทำลายความวิปลาสนี้คือหัดแยกขันธ์ไป
สติระลึกรู้กาย จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู กายกับจิตก็แยกกัน
สติระลึกรู้เวทนา จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เวทนากับจิตก็แยกกัน
สติระลึกรู้สังขาร จิตตั้งมั่น สังขารกับจิตก็แยกกัน คนละอันกัน
เนี่ยจะแยกอย่างนี้ พอมันแยกไปนานๆ แล้วแต่ละอันจะไม่ใช่เรา
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบนะ มีรถยนต์หนึ่งคัน
เราเห็นว่ารถยนต์นั้นมีจริงๆ รถยนต์มีจริงๆ
ถ้าเรียนแบบชาวพุทธนะ เราจะถอดรถยนต์ออกเป็นชิ้นๆ
นี่พวงมาลัยนะ นี่เกียร์ นี่เบรค นี่คันเร่ง นี่กันชน
นี่ตัวถัง นี่ช่วงล่าง นี่คลัชนะ นี่แยกๆ แยกๆ ไป
คลัชไม่ใช่รถยนต์ใช่ไหม ตัวถังไม่ใช่รถยนต์
เบาะไม่ใช่รถยนต์ โช้คไม่ใช่รถยนต์ กันชนไม่ใช่รถยนต์
วิทยุก็ไม่ใช่รถยนต์ เบาะก็ไม่ใช่รถยนต์นะ

เนี่ย พอแยกๆ แยกออก ไปนะ ก็จะพบว่ารถยนต์ไม่มีจริง
รถยนต์เป็นสิ่งซึ่งหลายอย่างๆ มาประกอบกันขึ้นมา
แล้วเราก็หมายเอาว่านี่คือรถยนต์
ตัวเราจริงๆ ก็ไม่มี มันคือขันธ์ที่มาประกอบกันขึ้นมา
คืออายตนะที่มาประกอบกันขึ้นมา คือธาตุที่ประกอบกันขึ้นมา
เรียนอันใดอันหนึ่งก็พอแล้ว ไม่ต้องเรียนหมดหรอก
เพราะฉะนั้นเรามาคอยดูไป ทำยังไงมันจะแยกออกไป
มันจะแยกออกไปได้ด้วยเครื่องมือสองอัน
อันหนึ่งฝึกมีสติขึ้นมา
อันหนึ่งฝึกให้มีสัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา
การฝึกสติเนี่ยฝึกยังไง คอยหัดรู้สภาวะไปเรื่อย
ความโลภเกิดขึ้นรู้ทัน ความโกรธเกิดขึ้นรู้ทัน ความหลงเกิดขึ้นรู้ทัน
ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นรู้ทัน ใจเฉยๆ ความเฉยๆ เกิดขึ้นก็รู้ทัน
ร่างกายหายใจออกก็รู้ ร่างกายหายใจเข้าก็รู้
ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ก็รู้ นี่หัดรู้บ่อยๆ

หัดรู้บ่อยๆ นะ ต่อไปมันจะรู้โดยไม่ได้เจตนาจะรู้
นี้เรียกว่ามันมีสติขึ้นมา อย่างเราหัดรู้ความรู้สึกของตัวเองเรื่อยๆ นะ
คอยดูความรู้สึกตัวเองไปเรื่อย
เดี๋ยวโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์นะ
ต่อมาพอใครมาพูดขัดใจเรานิดเดียว ความโกรธเกิดนะ
สติจะเห็นเองเลยว่า โอ้ ใจนี้มันมีความโกรธผุดขึ้นมา
นี่วิธีฝึกให้มีสตินะ คือหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ
ถ้าจิตมันจำสภาวะได้แม่นเมื่อไหร่ สติจะเกิดอัตโนมัติ
สติที่เกิดอัตโนมัติเป็นสติที่มีกำลังกล้า
สติที่ต้องจงใจให้เกิดนี่มีกำลังอ่อนนะ
เพราะฉะนั้นเราฝึกจนสติมันอัตโนมัติขึ้นมา
อีกอันหนึ่งเราเรียนเรื่องจิตสิกขา
บทเรียนเรื่องจิตสิกขาเรียนเพื่อให้จิตมีสัมมาสมาธิ จิตมีความตั้งมั่นนั่นเอง
ทีนี้เราชอบมั่ว บางทีได้ยินคำว่าจิตสิกขา คิดว่าเป็นเรื่องเข้าฌานอย่างเดียว
นั่งจะทำฌานอย่างเดียว วัตถุประสงค์ไม่ได้มุ่งทำฌาน
วัตถุประสงค์จริงๆ จะให้จิตเกิดสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นขึ้นมา
ส่วนจะตั้งมั่นถึงระดับฌานหรือไม่
เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่จิตต้องตั้งมั่น

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.dharmamag.com/ หากมีคนเคยนำมาลงแล้วก็ขออภัยดว้ยนะครับ

45


เอามาให้พี่น้องสมาชิกได้ชมกัน จากข้อมูลถ้าจำไม่ผิดปลุกเสก พิธีเสาร์5 ที่ผ่านมาด้วยนะครับ

กราบมนัสการ และ ขอบพระคุณหลวงพี่ญา วัดบางพระมากครับ ที่เมตตาผมมาเสมอครับ  :054:  :054:  :054:

ขอบพระคุณพี่นนโองการ ด้วยครับ

46
ประวัติคาถา และความเป็นมาของ พระคาถา: คาถา ความหมายของคำว่า “คาถา”และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ประวัติ คาถา และความเป็นมาของ พระคาถาต่างๆ การใช้ "คาถา" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจาก การสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 3 (ตติยสังคายนา) แล้ว พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเริ่มร่วงโรยลง และต่อมาได้ย้ายไปประดิษฐานในลังกา ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ในอินเดียสมัยนั้น ได้ผสมผสาน กันมา จนเกิดมีลัทธิ พุทธตันตระ (ลัทธิพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับการใช้คาถา-อาคม พระคาถา)เกิดขึ้น อีกลัทธิหนึ่ง

ศาสนาพราหมณ์ในขณะนั้น มีความมั่นคงเลื่อมใส ในลัทธิไสยศาสตร์มาก มีการใช้เวทมนตร์"คาถา"เป่าพ่นปลุกเสกและลงเลขยันต์ ประกอบ อาถรรพณ์ต่างๆแม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ใช่ว่าจะปฏิเสธเสียทีเดียว เพราะ พระพุทธศาสนาเองก็ยังมีคุณอัศจรรย์ ที่จัดเป็น ปาฏิหาริย์ไว้ 2 อย่าง คือ

1. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนที่เป็นอัศจรรย์

2. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ที่เป็นอัศจรรย์ถึงกับ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่อง พระโมคคัลลานะ เถระไว้เป็น ยอดของพระภิกษุที่ทรงอิทธิฤทธิ์ หากแต่ พระองค์ไม่ทรงยกย่อง อิทธิปาฏิหาริย์เท่ากับ อนุสาสนีปาฏิหาริย์

       การใช้เวทมนตร์คาถานั้น ผลสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดบนฐาน แห่ง วิปัสสนาญาณถึงแม้หาก ว่าปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูงไม่เกินฌานสมาบัติก็ตามกระนั้นก็สามารถที่จะแสดง อิทธิฤทธิ์ ได้ตามภูมิของตน เช่น พระเทวทัตต์หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอก็ยังสามารถบิดเบือน แปลงกายกระทำอวด ให้อชาตศัตรูกุมารหลงใหลเลื่อมใสได้

      ส่วนอารมณ์ของรูปฌานนั้น ท่านใช้กสิณบ้างใช้คาถาบริกรรมบ้าง สุดแต่นิสัยของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ โดยเฉพาะ ที่ใช้คาถาบริกรรมนั้น ผู้บริกรรม จะรู้ถึงเนื้อความของคาถาที่บริกรรมนั้น หรือไม่ก็ตามนั่นมิใช่สิ่ง ที่เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะความมุ่งหมายต้องการแต่จะให้สมาธิเท่านั้น

เพื่อผลในทางอิทธิปาฏิหาริย์ที่ตนมุ่งหวังปรารถนา พระคาถาและการทำสมาธิแบบนี้ ได้เจริญ แพร่หลาย มากขึ้น ได้เกิดมีคณาจารย์มุ่งสั่งสอนเวทมนตร์กัน และได้ดัดแปลงแก้ไขวิธีการทางไสยศาสตร์ ของพราหมณ์มาใช้ โดยคัดตัดตอนเอาเนื้อมนต์ของพราหมณ์นั้นออกเสีย บรรจุพระพุทธมนต์ แทรกเข้าไปแทน เพราะมาคิดเห็นกันว่ามนต์พราหมณ์ยังเรืองอานุภาพถึงอย่างนี้ ถ้าหากว่า เป็นพุทธมนต์ คงจะยิ่งกว่าเป็นแน่
       ฉะนั้นในการใช้เวทมนตร์คาถาที่พวกเราพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันทุกวันนี้ จึงล้วนแล้วแต่เป็นพระพุทธมนต์ที่ท่าน โบราณาจารย์ดัดแปลง แก้ไขเลียนแบบอย่างวิธีทางลัทธิไสยศาสตร์เดิมมาเท่านั้นหาใช่เป็นลัทธิไสยศาสตร์ ของพราหมณ์ดังที่บางท่านเข้าใจกันไม่

      การรวบรวมคัมภีร์พระเวทพระคาถา อย่างจริงจังเกิดขึ้นในสมัย เจ้าพระคุณพระมงคลราชมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ แต่เมื่อครั้ง ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสัจจญาณมุนีอยู่นั้นพระคุณท่านเป็น ผู้สนใจในศาสตร์ ประเภทนี้อยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมขึ้นไว้จากสรรพตำราต่างๆ ส่วนมากเป็นของ สมเด็จ พระสังฆราช (แพ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ของท่าน อันได้รับสืบต่อมาจาก สมเด็จพระวันรัต (แดง) ท่านได้ตั้ง ปณิธานที่จะให้วิชาเหล่านี้ได้เผยแพร่ต่อไปเพราะเกรงว่าจะสาบสูญเสียหมด

       ในการรวบรวมคัมภีร์พระเวท พระคาถาเหล่านี้ข้อความบางแห่งพอ ที่จะมี ต้นฉบับสอบทาน ก็ได้จัดการ สอบทานแก้ไข ให้ถูกต้อง ตามต้นฉบับเดิม ซึ่งได้คัดลอกสืบต่อกันมา แต่ก็ยังมีอักขระพระคาถา เนื้อมนต์นั้นบางทีก็มีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง สำหรับบทที่หาต้นฉบับ สอบทานไม่ได้ ก็คงไว้ ตามรูปเดิม ซึ่งถ้าหากได้ผ่านสายตาท่าน ผู้รู้ทั้งหลายก็ได้โปรด กรุณา แก้ไขต่อเติมเสีย ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้เป็นตำราที่ถูกต้องบริบูรณ์ ดุจต้นฉบับ ของเดิมเพื่อเป็นการเทิดทูน วิทยาการอันประเสริฐ รวมทั้งได้ดำรงคงอยู่เป็นแนวศึกษาของชั้นหลังสืบต่อไป

   คาถา  รวมพระคาถา ความหมายของคำว่า “คาถา” พระคาถา และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบันการใช้ "คาถา" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์  คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต  ในนี้จะมีบท คาถาต่างๆ ทั้ง คาถาชินบัญชร  คาถาทางเมตตามหานิยม คาถาทางคงกระพันชาตรี คาถาแคล้วคลาด คาถาแผ่ส่วนกุศล คาถาแผ่เมตตา คาถากันของไม่ดี หัวใจพระคาถาต่างๆ คาถาบูชาเทพเจ้า คาถาบูชาพระพุทธรูปต่างๆ ซึ่งคาถาต่างๆเป็นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ สมัยก่อนคนจะใช้คาถาต่างๆได้สัมฤทธิผลกันมากเนื่องจากมีความเชื่อความศรัทธาและสัจจะเป็นสำคัญ ส่วนการท่องหรือตัวอักษรอักขระการออกเสียงต่างๆ อาจจะมีแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนสำคัญอยู่ที่ความมั่นใจและตั้งมั่นมากกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆแค่ บทสวดมนต์ต่างๆการออกเสียงในส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ก็ต่างกันแล้ว แต่ทำไมถึงมีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันละ ก็เพราะความตั้งมั่น ไม่สงสัยในครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนมา

คาถาใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเราจะต้องท่องให้จำได้ ก็จะต้องทำใจให้บริสุทธิ์ อาบน้ำชำระล้างสิ่งโสโครกให้สะอาดเสียก่อน แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ แล้วก็ระลึกเป็นการขอพรบารมี ให้ท่องได้ง่ายจำได้แม่น แล้วก็กราบตำรานั้น 3 ครั้ง ต่อจากนั้นก็เปิดขึ้นมาท่องจำ หนังสือนั้นอย่าเหยียบอย่าข้าม อย่านั่งทับหรือนอนทับ ขณะท่องอย่านอนหลับให้หนังสือทับคาอก จะทำให้ปัญญาเสื่อม

เมื่อจะท่องหรือจะใช้พระคาถาใด ๆ ทุก ๆ พระคาถา จะต้องตั้ง นะโม 3 จบก่อน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ความหมายของคำว่า “คาถา”
แต่คาถาและวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ยังมีนัยอีกหลายประการนัยแรกตรงกับความหมายของพระเวท ใช้อ้อนวอนเซ่นสรวงบูชาและขอพรอำนาจแม้แต่การเชื่อว่าเป็นรหัสที่ได้รับจาก เทพเจ้าเป็นพิชอักขระมีความหมายในตัวเองต้องท่องบ่นให้ถูกต้องทุกคำ ห้ามแก้ไขการเรียนควรเรียนจากปากเพื่อรักษาสำเนียงโบราณไว้ ซึ่งทำให้คาถาเพี้ยนอยู่ทุกวันนี้นัยที่สองเป็นสิ่งลึกลับ มีอำนาจและมีตัวตน ใช้ได้เหมือนเครื่องมือสำเร็จรูปคาถาเมตตา คาถามหาเสน่ห์ บริกรรมภาวนาแล้วเมตตา คาถาทรหดบริกรรมภาวนาแล้วอยู่คงคาถาทั้งปวงมีอาถรรพณ์ เรียนแล้วไม่เจริญ มีพลังสร้างโทษแก่ผู้ใช้ได้สามารถสูบตัวตนของอาคมได้ คล้ายกับตำนานอสูรสูบพระเวทของพระพรหมตอนหลับแผลงฤทธิ์วุ่นวายจนพระนารายณ์ ต้องอวตารไปปราบ เกิดเป็นคำว่าอาคมเข้าตัว (เข้าหัวใจเข้าสมอง) เป็นที่เกรงกลัวกันมากสำหรับคนเรียนคาถายุคใหม่ สับสนกับคำว่าของถ้าเข้าตัวแล้วจะทำให้อายุสั้น บ้าใบ้วิกลจริต ตาบอดฉิบหายตายโหง คล้ายกับผิดครู ซึ่งโบราณนั้นต้องการให้อาคมเข้าตัวอย่างที่สุดก่อนทำการใดๆ ท่านให้เรียกอาคม เรียกอักขระเข้าตัวก่อนเรียนวิชาต้องเรียนจนกว่าอาคมเข้าหนัง เนื้อ และกระดูกไม่มีใครเลยที่กลัวอาคมเข้าตัว แต่กลัวผิดครูถ้าใช้คาถาแล้วฉิบหายตายโหงทันตาแสดงว่าผู้เรียนนั้นใช้คาถา ไปในทางเลวอย่างแน่นอนเพราะกรรมไม่ใช่เพราะตัวอาคม การเรียกอาคมเข้าตัวนี้สนับสนุนว่า อาคม หมายถึงวิชาความรู้ แต่การสูบอาคมหรือคัดทิ้งแท้จริงเป็นการสูบปราณหรือลดพลังปราณคุ้มครองตัว ของฝ่ายตรงข้ามการจะทำได้ต้องมีปราณที่แข็งแกร่งทัดเทียมกันเป็นอย่างน้อย (ให้ศึกษาบทความเรื่องจิตและกายทิพย์) การให้โทษต่อสุขภาพร่างกายของปราณอย่างที่เรียกว่าอาคมเข้าตัวนั้นเกิดจาก การที่ปราณแตกกระจายหรือถูกกระแทกโดยปราณของผู้อื่นอย่างรุนแรงการกระทำ ย่ำยี การคัดของก็ใช้หลักการเดียวกันนี้

     แรกเริ่มของการเรียนไสยศาสตร์ทั่วไปจะได้รับคาถาไหว้ครูบทไม่ยาวนักเพื่อ ฝึกความจำ จากนั้นจะได้รับคาถายาวขึ้น จนกระทั่งถึงโองการและแม่บทคัมภีร์ต่างๆ เมื่อเข้าใจเรื่องการใช้ภูต ปราณ และจิต อย่างคล่องแคล่วแล้วคาถาไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่อาจจะมีความเคยชินว่าในการใช้พลังจิตต้องมีคาถาบูรพาจารย์มักยกคาถา สั้นๆมาใช้ ดังคำว่าสูงสุดคืนสู่สามัญจากกระบวนท่าเป็นไร้กระบวนท่า คาถาที่ได้รับตอนแรกเรียนเช่น พุทโธ นะมะพะทะนะโมพุทธายะ ฯลฯจึงเป็นคาถาที่บูรพาจารย์นำกลับมาใช้แสดงฤทธิ์จนเลื่องลือถึงทุกวันนี้ เคยพบหลายท่านที่คล่องแคล่วในการวางอารมณ์และถ่ายปราณไม่ได้ใช้คาถาใดในการ แสดงวิชาเลย
เมื่อเข้าใจว่าการใช้คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต ในตนสร้างความเชื่อมั่น และโน้มน้าวจิตตามวัตถุประสงค์ เราจะพบเห็นการแปลงคาถา เช่นสวาหะ แปลงเป็นสวาหาย สวาหับ สวาโหม ฯลฯ การนำคำพ้องเสียงมาใช้โดยไม่สนใจความหมายเช่น อุทธังอัทโธ แปลว่า เบื้องล่างเบื้องบน นำมาใช้ในวิชามหาอุด เป็นต้นดังนั้นหลักใหญ่ของการใช้คาถาคือความสม่ำเสมอของอารมณ์ในขณะนั้น( ไม่ใช่ความนิ่งไร้อารมณ์)ความเชื่อมั่นไร้ความลังเลสงสัยในกระแสทั้งสามและ อำนาจของกระแสจิตในตนคาถาทั้งปวงจะขลังหรือไม่ขึ้นอยู่กับอุปาทานข้อนี้ และ ๑.อำนาจสัจจะ๒.อำนาจคุณพระและ ๓.อำนาจเคราะห์กรรม (พึงศึกษาบทความเรื่องคุณพระต่อไป)การใช้คาถาทั้งปวงเมื่อเข้าถึงคุณพระได้ ย่อมเกิดอานุภาพความยาวและความยากของภาษาที่ใช้มีผลต่อการเข้าถึงคุณพระพอ สมควรดังนั้นควรเลือกบทที่ชอบ จิตเกาะได้ดี อารมณ์สม่ำเสมอ หรือเกิดปีติ


ขอขอบคุณที่มาจาก board.palungjit.com หากผิดพลาด หรือมีคนเคยลงแล้วก็ขออภัยด้วย

47




สวัดดีปีใหม่ไทยทุกท่านนะครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุข เดินทางปลอดภัย ไม่ประมาทนะครับ

48
ธรรมะ / ฌานสมาบัติ ...
« เมื่อ: 13 เม.ย. 2553, 01:54:37 »
คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ 
เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
          สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ
ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น

ขณิกสมาธิ

          ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

ฌาน

          ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน  ๘
           ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

อุปจารสมาธิ

          อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
          ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
          ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
          ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
          ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
          ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
          ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
          ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
          ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
          อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
          ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

          ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
ดังต่อไปนี้
          ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
อย่างนี้เรียกว่าวิตก
           ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
           ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
           ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
เรียกว่า วิจาร
          ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
          ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
          ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
          ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
ในเรื่องของกาย  เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

          เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
โดยย่อมีดังนี้
          ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
          ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
          ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
          ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
ประณีต
          ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
แทรกแซง
          องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

          เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน
 

นิวรณ์ ๕

          อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
          ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส  อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
          ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
          ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
          ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
          ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
เพียงใด
          อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
          อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
จนเสียผลฌาน
 

ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ

          ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
          อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

อารมณ์ทุติยฌานมี ๓
          ๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
          ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
          ๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
          อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ 
เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์ 
วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้  เคยฟังท่านสอน
เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร

ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ
 
          ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา 
มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน  ๒
ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
          พูดมาอย่างนี้  คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง  เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก

เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

          เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง  เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต
ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตก
วิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู  เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน  จิตคอยจะเคลื่อนเลื่อน
ลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนาเป็นวิตกวิจาร
จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อน คุมอารมณ์ทุติยฌานอย่าให้
เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนดเวลา

อานิสงส์ทุติยฌาน

          ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำการงาน
ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุด นอกจากนี้
เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่าทุติยฌานที่เป็นโลกียฌาน
ให้ผลดังนี้
          ก. ทุติยฌานหยาบ   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๔
          ข. ทุติยฌานกลาง   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๕
          ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๖
          ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมีกำลัง
ช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมีหวังถึงที่สุด
ของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธพจน์ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะพอดี การปฏิบัติ
พอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรงต่อความเป็นจริง
 

ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ

          ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓
ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
          ๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข
ที่เนื่องด้วยกาย
          ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย
ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
          อาการของฌานที่ ๓ นี้  เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้
เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง
ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด
คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า
ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ
ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ
ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย
อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย
จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่
มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า
เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว
 

เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

          ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์
ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน
จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญในเสียง
ก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวังด้วยการทรง
สติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ฌาน ๓

อานิสงส์ฌานที่ ๓

          ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่าจะไม่
หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตาสดชื่นผ่องใส
เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
          ๑. ฌานที่ ๓ หยาบ   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๗
          ๒. ฌานที่ ๓ กลาง   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๘
          ๓. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๙
          ฌาน  ๓  ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงในชาตินี้
โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

          จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่

อาการของฌาน ๔ เมื่อปฏิบัติถึง

          ฌาน  ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
          ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
          ๒.  อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย

อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

          เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน ๔
จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจาก
ฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายใน
กายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไป
ในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ
ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ  ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า
มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่านจะฝึกวิชชาสาม
อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับ
ฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการเคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้
ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือนนักเพาะกำลังกาย  ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้ว
จะทำอะไรก็ทำได้ เพราะกำลังพอ จะมีสะดุดบ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้น
พอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วน
อภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำ
ได้โดยตรง

เสี้ยนหนามของฌาน ๔

          เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่ามีลมหายใจ
ปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้ว จงอย่าสนใจกับ
ลมหายใจเลยเป็นอันขาด

อานิสงส์ของฌาน ๔

          ๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหา
ของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
          ๒. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
          ๓. ท่านที่ได้ฌาน  ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
          ๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตายในระหว่างฌาน
ที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑

รูปสมาบัติหรือรูปฌาน

          ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือรูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จ
มรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือโลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผล
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ ศัพท์ว่า โลกุตตระ ตัดออกเป็น
สองศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิคือเอาโลกะกับอุตตระมาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอา
สระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็นโลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่าโลก อุตตระ แปลว่าสูงกว่า รวมความว่าสูง
กว่าโลก โลกุตตระท่านจึงแปลว่าสูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่าฌานที่สูงกว่าโลกโลกุตตรสมาบัติ
แปลว่าสมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่ากรรมต่างๆ ที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้นไปแล้ว แม้บาปกรรม
ที่ชาวโลกต้องเสวยผล ท่านที่ได้โลกุตตระ ท่านก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลก
ให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นามว่าโลกุตตรบุคคล
          รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อ
สมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบ
ต่อไป
 

อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน
   
          ๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
          ๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
          ๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
          ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
อะไรเลยเป็นสำคัญ
          ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน  เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติ ถ้าเรียก

สมาบัติ ๘
          ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

ผลสมาบัติ 

          คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
ท่านเรียกว่าเข้าฌาน  เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง 

นิโรธสมาบัติ

          นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

ผลของสมาบัติ

          สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
          ๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
          ๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
          ๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

เข้าผลสมาบัติ 

          ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
สมาบัตินั้น  เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้  เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน

ขอขอบคุณเวปพลังจิต สำหรับข้อมูลนะครับ หากมีผู้เคยลงใว้แล้วต้องขออภัยครับ

49
เนื้อมนุษย์
เนื้อช้าง
เนื้อม้า
เนื้อสุนัข
เนื้องู
เนื้อสิงโต
เนื้อเสือโคร่ง
เนื้อเสือเหลือง
เนื้อหมี
และเนื้อเสือดาว


เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย เวลาทำกับข้าวไปถวายพระอย่านำเนื้อพวกนี้ทำกับข้าวไปถวายพระนะครับผม
โดยเฉพาะเนื้องู บางคนไม่รู้ แหม่ได้งูมาผัดเผ็ดถวายพระซะงั้น  กรรม (มีนะครับสมัยนี้ทำเป็นเล่นไป) เพราะฉะนั้นอย่าทำนะครับ :075:
เจตนาเพื่อให้เด็กๆที่ยังไม่รู้หรือคนที่ยังไม่รู้ได้รู้กันใว้นะครับ ไม่ได้มีเจตนาอื่นแอบแฝงเพราะก่อนจะทำกับข้าวไปถวายพระควรรู้ว่าเขาห้ามอะไรใว้บ้าง

ขอบคุณที่มาจากhttp://www.larndham.net/index.php


50
ธรรมะ / เรื่องของวิปัสสนาญาณ....
« เมื่อ: 08 เม.ย. 2553, 10:31:52 »


เรื่องของวิปัสสนาญาณ

 

                        -การขึ้นต้นของการเจริญพระกรรมฐาน  ถ้าเอากันเต็มแบบจริง ๆ  ท่านให้ใช้วิปัสสนาญาณก่อน  คือว่าใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน  ให้คิดถึงไตรลักษณญาณ  คือ อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  อันดับแรก  ท่านให้คิดถึงความเป็นจริงของไตรลักษณญาณ

                        1.  ทุกขัง  การเกิดมาในโลก  การมีชีวิตของคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความทุกข์  ที่มันทุกข์ก็เพราะอาการต่าง ๆ  มันไม่เที่ยง  เป็นอนิจจัง  มันไม่มีการทรงตัว  ความทุกข์มันมีมาตั้งแต่เด็ก  ความหิวก็เป็นทุกข์  ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์  การประกอบกิจการทุกอย่างเหน็ดเหนื่อยก็เป็นทุกข์  การพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ และในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์  มีความทุกข์ตั้งแต่เด็ก  ต่อมาเป็นผู้ใหญ่และก็แก่ตายในที่สุด  มีความทุกข์  อนิจจัง  ทุกขัง ต่อไปก็อนัตตาตามลำดับ

                        2.  อนัตตา คิดตามความเป็นจริงว่าคนหรือสัตว์ก็ดีที่เกิดมาในโลกนี้  ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมดทั้งโลก  เราก็ตายเหมือนกัน

                        -เรื่องของวิปัสสนาญาณนั้น  ส่วนสำคัญถ้าจะกล่าวให้ละเอียดก็คือ  ตอนต้นที่จะเริ่มทำสมาธิ  ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกคนใช้กำลังปัญญาก่อน  ปัญญานี่เป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนาญาณ  อันดับแรกใช้ปัญญาของสมาธิ  โดยการใช้อารมณ์เมตตาจิต เมตตาความรัก  กรุณา ความสงสาร  แผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง  คือทั้งโลก  ให้มีความรู้สึกว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั้งหมด

                        กรุณาความสงสาร  ถ้าคนหรือสัตว์ก็ตามเขามีความทุกข์  ถ้าไม่เกินวิสัยที่เราจะพึงช่วยได้ เราจะช่วยให้เขามีความสุข  ตั้งใจตามนี้ไว้ก่อนเป็นอันดับแรก

                        -เมื่อจิตมีอารมณ์โปร่ง  มีความสุขดีแล้ว  ต่อไปให้นึกถึงด้านวิปัสสนาญาณขั้นอ่อน  มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า  โลกนี้มีแต่ความไม่เที่ยง  เป็นอนิจจัง  ทุกอย่างไม่เที่ยงไม่มีการทรงตัว  เราเองเกิดจากท้องมารดาใหม่ ๆ  เป็นเด็กเล็ก  ต่อมาก็เปลี่ยนแปลง  กลายเป็นเด็กใหญ่  เป็นหนุ่มเป็นสาว  เป็นวัยกลางคน  จนมาเป็นคนแก่  เป็นเพราะมันไม่เที่ยง  ขณะที่ทรงร่างกายอยู่มันก็ไม่เที่ยง  มีการป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ  ที่อาการไม่เที่ยงทำให้เราเป็นทุกข์  ในที่สุดพึงเข้าใจว่าในที่สุดเราก็ต้องตาย  ก่อนตายเราก็เลือกทางไปว่าเราจะไปทางไหน  ถ้าเราไปสวรรค์  เพียงแค่ให้ทานก็ได้  รักษาศีลก็ได้  ถ้าจะไปพรหมโลก  ก็ต้องเจริญสมาธิจิตให้ได้ญาณสมาบัติ  แต่ถ้าต้องการนิพพาน  ก็ต้องให้เข้าใจตามความเป็นจริงด้วยปัญญา  มีความเข้าใจว่าโลกนี้เป็นทุกข์  หาความสุขไม่ได้  ร่างกายมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา  ถ้าเรายังมีร่างกายแบบนี้  เราก็มีแต่ความทุกข์ไม่สิ้นสุด  ฉะนั้น  ขึ้นชื่อว่าการเกิดมีร่างกายแบบนี้จะมีกับเราชาตินี้ชาติเดียวเป็นชาติสุดท้าย  เราไม่ต้องการเกิดแบบนี้อีก  เราต้องการนิพพาน

ขอขอบคุณที่มาจากเวป(และอ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่)
http://kaskaew.com/index.asp?contentID=10000004&title=%E0%C3%D7%E8%CD%A7%A2%CD%A7%C7%D4%BB%D1%CA%CA%B9%D2%AD%D2%B3&getarticle=138&keyword=&catid=23

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก google.com

51











ภาพสุดท้ายพี่บอล(ราหู) กำลังตั้งใจกรวดน้ำ อิอิ

52
ธรรมะ / คำอนของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ
« เมื่อ: 27 มี.ค. 2553, 10:16:14 »
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา

จงเลือกเอา ส่วนดี เขามีอยู่

เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู

ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี อยู่ส่วนเดียว

อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย

เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย

ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริงฯ



คนเราย่อมมี 2 ด้านเสมอ ไม่มีใครดี 100 หรือเลว 100 จงมองอย่างเข้าใจ และเข้าใจในสิ่งที่เป็น

หากข้อความนี่เคยมีคนมาลงแล้ว ก็ขออภัยครับ

ขอบคุณที่มา
http://my.dek-d.com/fairy-fai/blog/?blog_id=10017363



53


ขออนุญาติทุกๆท่าน นำมาให้ชมกันครับ

รุ่นนี้เป็นรุ่นพิเศษย้อนยุค พระนางพญานั่งไก่ รุ่นแรก 2496 นะครับ ของวัดไร่ขิง
จึงนำมาให้ชมสวยดีครับ  ภาพอาจไม่เค่ยชัดต้องขออภัยด้วย

นำมาให้ชมเฉยๆนะครับ ไม่ได้มีเจตนาอื่นใด (ส่วนตัวผมไม่รับจัดหาพระ หรือ ใดๆในเชิงธุรกิจทุกชนิดนะครับ )
ใครมีโอกาศไปทำบุญเอาเองและกัน ครับ

54
พรุ่งนี้ในวันที่ 20 มีนาคม 2553 ซึ่งฤกดีวันเสาร์ 5 และตรงกับวันเกิด ท่านเสน่ห์โจรสลัด

ก็ขออวยพรใว้ล่วงหน้านะครับ

ขอให้เพื่อนโชคดีมีความสุข คิดสิ่งใดสมดั่งใจหวัง  รวยๆ ด้วย มีเมียสวยๆหลายๆ คน อิอิ

พรุ่งนี้เจอกันที่วัด คืนนี้ขอให้เดินทางปลอดภัยนะเพื่อน โชคดี






ขอศรัทธา..ความดี..ที่มีมั่น
..จงช่วยสรรค์..สร้างชีวี..ให้สุขขี
..ช่วยแก้ไข..ปัญหา..นานามี
..ให้เธอนี้..มีสุข..ทุกข์อยู่ไกล


55





ได้รับความเมตตาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีเกศาด้วยสุดยอดครับ

ขอกราบมนัสการหลวงพี่ญา และขอบพระคุณที่เมตตาครับ  :054:

ขอขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆ ที่น่ารักทุกคนเลยครับ พี่ๆดูแลน้องเป็นอย่างดีเลย  :054:
ขอขอบคุณพี่จ๊อบด้วยครับ สำหรับพระหลวงตาวาส วัดสะพานสูง (รูปพี่จ๊อบเคยลงใว้แล้วนะครับ ) ขอบพระคุณครับ
ขอบคุณพี่ชายสุดหล่อ(ไม่ขอเอ่ยนาม) สำหรับพระเครื่องด้วยนะครับ
ไหว้ครูเจอกันครับ  :002:

56
ข้าพเจ้าฝึกกสินสีขาว พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง ขอแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้วิธีหรือเกิดปัญหาดังนี้

ตั้งวงกสินให้อยู่ไกลประมาณ 1 เมตร 10 ซม.
นั่งให้ระดับสายตาอยู่สูงกว่าตรงกลางวงกสินเล็กน้อย ไม่ให้เงยหน้ามองหรือก้มหน้ามอง
ตั้งกสินให้ไม่อยู่ในที่ๆ มีแสงสะท้อน หรือย้อนแสงนั่นเอง

- จากนั้นให้มองดวงกสินแบบให้มองเหม่อเหมือนส่องกระจกไปที่จุดศูนย์กลางของวงกสิน เพื่อไม่ให้มีแสงลายๆวิ่งรอบๆ ดวงกสิน

- พร้อมกันนั้นให้กำหนดคำภาวนาในใจ เช่น "สีขาว", "สีขาว" เป็นต้น ทุกลมหายใจเข้าออก

- จากนั้นให้เรากระพริบตา เมื่อรู้สึกว่าตาของเรามองกสินไม่ชัด

- เมื่อเรามองกสินไปได้พักหนึ่ง ซึ่งประมาณ 15 วินาที - 1 นาที หรือเมื่อรู้สึกว่านาน ให้หลับตาลงมองดูเงาโครงร้างของกสิน ไม่ใช่นึกภาพเอาเอง เราจะเห็นเป็นวงเงาจางๆ ที่ในหนังตากลางระหว่างคิ้ว

- พยายามรักษารูปเงาของกสินไว้ให้นานที่สุด เมื่อภาพของกสินหายไป อาจจะเพราะจิตเกิดนิวรณ์ หรือภาพที่เคยมองหายไปเอง ให้เราลึมตามองแล้วทำอย่างที่บอกมาแล้วอีกเรื่อยไป

- เวลาที่หลับตาและลืมตานั้น ข้าพเจ้ามีเทคนิคอยู่ว่า อย่าให้ร่างกายของตนเองขยับเขยื่อนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ภาพหายเร็วขึ้น สมาธิเคลื่อน, แต่เวลาที่รู้สึกตามันหนัก ตาจะหลับตาท่าเดียวไม่ลืมตาล่ะก็ ให้หายใจยาวๆ ได้จะทำให้อาการหนักตาหายไป และเวลาที่หลับตาหรือลืมตานั้นควรใช้ตอนที่อยู่ในช่วงเวลาหายใจเข้า เพราะตอนกำลังหายใจเข้าร่ายกายของเราจะนิ่งและรู้สึกเบาตัว

- เมื่อเราดำรงตนอยู่กับคำภาวนา พร้อมกับลืมตามองดวงกสิน สลับกับหลับตามองภาพเงาของกสินได้อยู่ตลอดโดยคำภาวนานั้นไม่ได้ตกหล่นแม้สักครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาการฝึกได้แล้ว

- ต่อไปนานวันเข้า จะทำให้นิวรณ์ดับไปช่วงสั้นๆ คือ ดำรงสมาธิโดยไม่มีนิวรณ์ได้ช่วงสั้นๆ สลับกับมีนิวรณ์แทรกเข้ามาช่วงสั้นๆ ตลอดเวลาการฝึก เมื่อเราทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติอยู่ทุกวี่วัน จะทำให้เราสามารถมองเห็นเงาของกสินชาวๆ จางๆ ติดตาในเวลาหลับตาที่ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ฝึกสมาธิอย่างจริงจัง เช่น หลับตาตอนนั่งรถประจำทาง เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าสมาธิอยู่ใน ระดับ "ขณิกสมาธิ"

- ต่อเมื่อฝึกไปนานๆ เข้าทุกวัน สามารถดำรงขณิกสมาธิได้เป็นปกติแล้ว จะทำให้นิวรณ์ดับไปนานขึ้น จนเกือบไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกเลยในช่วงหลังจากที่เริ่มนั่งฝึกสมาธิแล้ว เมื่อกระทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติเคยชินจะทำให้ภาพของกสินนั้นชัดขึ้น จนติดตาของเรา เห็นภาพเหมือนกับลืมตาปกติ (ก่อนที่จะเห็นเหมือนกับลืมตาได้นั้นจะมีวิวัฒนาการคือ จะเห็นขอบของเงากสินชัดขึ้น ตรงกลางของเงากสินเปลี่ยนสีไปเป็นสีขาวก่อนจุดอื่น และค่อยขยายตัวขึ้น จนในที่สุดจะขาวทั้งดวงเหมือนกับลืมตา) อย่างนี้เรียกว่าสมาธิของเรานั้นอยู่ในระดับ "อุปจารสมาธิ"

- เมื่อกระทำอย่างนี้แล้วเราสามารถวัดความก้าวหน้าได้คือ เมื่อไม่ได้อยู่ในเวลาฝึกปกติ เพียงเราต้องการจะเห็นภาพให้เราหลับตาลง นึกถึงดวงกลมๆ ของเงากสินเพียงลัดนิ้วมือจะเห็นภาพเหมือนกับลืมตาทันที

- เมื่อกระทำอุปจารสมาธิได้เป็นปกติแล้ว เราสามารถก้าวหน้าไปได้ด้วยการกระทำแบบเดิมดังที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้สมาธิก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นคือ นิวรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในตอนเริ่มนั่งลงฝึก แล้วพอเรากำหนดคำภาวนาไปนิวรณ์จะหายไป  ไม่กลับมาอีกเลยตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก อาการปิติต่างๆ เช่น ขนลุก, น้ำตาไหล, ตัวโยกโคลง, ตัวเบาเหมือนลอยได้ ความชุ่มชื่นอิ่มเอมใจน้อยๆ ปรากฏขึ้นมา จิตของเราที่เคยรู้สึกตามลมหายใจเข้าไปหรือตามลมหายใจออกมา ไม่อยู่นิ่งจะอยู่นิ่งเอยู่พียงจุดเดียว คือ ระหว่างคิ้วที่ภาพของกสินนั้นชัดเหมือนลืมตา และคำภาวนาปรากฏชัดมากขึ้น เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าสู่ "ปฐมฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกระทำไปด้วยวิธีการดังเดิม แม้ในวันเดียวกัน หรือหลายวันขึ้นอยู่กับความเพียร จะทำให้คำภาวนาของเราค่อยๆ หายไป บางทีอยู่ดีๆ หายไป กลายเป็นเรารู้ลมหายใจชัดมากขึ้นไม่มีคำภาวนามาแทรก อาการต่างๆ ของปิติยังคงอยู่ ภาพของกสินยังเป็นสีเดิมแต่ชัดขึ้น ใสขึ้น นูนขึ้นเหมือนกับภาพ 3 มิติ เมื่อนั้นสมาธิของเราเข้าสู่ "ทุติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสินจิตจ่ออยู่ตรงกลางระหว่างคิ้ว ลมหายใจแผ่วเบาลง ภาพของกสินเริ่มเปลี่ยนเป็นเหมือนแก้วขาวใสขุ่นๆ เหมือนกับมรกตที่มีสีขาวใสผสมกับเนื้อกระจก อาการต่างๆ ของปิติสงบไปเองไม่ต้องบังคับ อาการแช่มชื่น สุขใจ ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดปรากฏขึ้นเต็มตัว เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าถึง "ตติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสิน ภาพของกสินจะค่อยๆ ใสคล้ายกับเนื้อของเพชร สีขาวค่อยๆ หมดไป จนเหลือแต่เพียงสีผลึกเพชร 7 สีอย่างเดียว สว่างไสว ลมหายใจที่มีอยู่หายไปเอง ไม่ต้องบังคับ อาการความสุขต่างๆ หายไปเหมือนกันไม่ต้องบังคับ เมื่อนั่นสมาธิของเราเข้าสู่ "จตุถฌาน"

- จากนั้น ถ้าเราต้องการที่จะฝึกวิชชา 8 หรือเข้าอรูปฌาน หรืออภิญญาก็สามารถกระทำได้ เช่น
        - ถ้าต้องการฝึกอรูปฌานให้เริ่มโดยการกำหนดอยู่นิ่งๆ กับภาพกสินที่เป็นผลึกเพชร ไม่มีลมหายใจปรากฏ จิตแน่วแน่ขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ภาพของเงากสินนั้นค่อยๆ ไปเหลือเพียงดวงกสินไม่มีใส้ ผลึกเพชรหายไป พูดง่ายๆ เหมือนกับวงกลมธรรมดาที่เขียนขึ้นมีพื้นสีดำที่เป็นเหมือนอากาศ  เรากำหนดรู้อยู่อย่างนั้นเป็นต้นไปเรียกว่าเข้าสู่อรูปฌานที่ 1

ที่มาจากเวป  www.larndham.net หากมีคนลงซ้ำแล้วก็ต้องขออภัย

57
ท่านทั้งหลายเอ๋ย สังขาร ของคนเรา ล้วนไม่เที่ยงแท้ ล้วนไม่มีแก่นสาร ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้เลย
ความตาย ทุกคนเกิดมาต้องตาย จงพิจณา ท่านทั้งหลายนี้ความจริงนี้ไม่พ้น
เมื่อเราตายไป ของรัก ของหวง เพื่อน คนรัก ญาติอันเป็นที่รัก สิ่งมีค่า ก็เอาไปไม่ได้เลย  ล้วนแต่ต้องพลัดพราก
ความสวยความงาม ล้วนไม่คงอยู่ไม่ถาวร ท่านทั้งหลายโปรดมีสติจงไม่ประมาทในความตาย จงทำสิ่งที่ดีก่อนที่เราจะตายไป
เพราะคนเราจะตายเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ ไม่มีใครทราบได้....จงมีสติอยู่ในความไม่ประมาท
ข้อความทั้งหลายตลอดเนื้อหา ข้าพเจ้าขอนอบน้อมถวายแด่ พระพุทธบูชา พระธรรมะบูชา พระสังฆะบูชา และครูบาอาจารย์
ท่านทั้งหลายโปรดพิจณาภาพต่อไปนี้ ทุกคนล้วนหลีกหนีมันไม่พ้น จงมีสติ สาธุอนุโมธามิ


คนเราทุกคนล้วนแค่นี้หละ

นี่คือร่างกายของเรามันก็แค่นี้เอง


ความสวยงามล้วนไม่คงทนและไม่ถาวรเลยหนอ มีแต่น้ำเหลืองน้ำหนองเต็มไปหมด


ควายตายไม่เลือก แม่แต่เด็ก คนหนุ่ม คนแก่ หนอ


เนี่ยหละ คนเราหนีความจริงไม่พ้น ตายไปก็เน่าอืด



ดูซะ ร่างกายที่ว่าสวย  สุดท้ายแล้วเป็นยังไง



นี่หละเหตุเกิดเพราะความประมาท หากไม่อยากเป็นควรมีสติอยู่ในความไม่ประมาท



สุดท้ายของคนเรา ก็อยู่แค่ตรงนี้เอง



สุดท้ายเหลือเพียง


ขอขอบคุณรูปภาพจาก google ครับ
สุดท้ายขอให้ท่านพึงมีสติอยู่ในความไม่ประมาท  สาธุอนุโมธามิ
[/color]

58


คำพังเพยโบราณที่กล่าวขานไว้ว่า “อยุธยาไม่สิ้นคนดี”ย่อมมีความเป็นจริงโดยแน่แท้ เช่นเดียวกันกับที่ “วัดดอนยายหอม” อ.เมือง จ.นครปฐม

ในอดีตนั้นมีพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่หลายรูป เป็นที่เคารพนับถือและกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจของผู้คนทั้งใกล้และไกล โดยเฉพาะ “พระราชธรรมาภรณ์” หรือ “หลวงพ่อเงิน” ขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้สร้างประโยชน์และคุณความดีไว้มากมาย จึงทำให้ชาวบ้านในตำบลดอนยายหอมพร้อมใจกันเรียกขานท่านว่า “เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม”

และหลังจากท่านละสังขารแล้วก็ยังมี “พระครูเกษมธรรมานันท์” หรือ “หลวงพ่อแช่ม” เป็นผู้สืบสานคุณความดีต่อไปไม่สิ้นสุด ชาวบ้านตำบลดอนยายหอมและใกล้ไกลจึงยกย่องท่านเป็น “เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม” รูปที่ สอง จวบจนท่านละสังขารเมื่อปี พ.ศ.2536 วัดดอนยายหอมก็ยังมีพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสืบสานให้วัดดอนยายหอมแห่งนี้เป็นอมตะแห่ง “พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ” สืบไปอย่างไม่สิ้นสุด

พระสงฆ์รูปนี้ก็คือ “พระครูสมุห์อวยพร ฐิติญาโณ” หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “พระครูอวยพร” หรือ “หลวงพ่ออวยพร” ซึ่งปัจจุบันท่านได้รับแต่งตั้งเป็น “พระครูสังฆรักษ์อวยพร” พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ที่ผู้คนทั้งในนครปฐมและต่างจังหวัดใกล้ไกลให้ความเคารพนับถือ “วัตรปฏิบัติดี” ที่แทบจะไม่แตกต่างจากหลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม ผู้เป็น “พระอาจารย์” ของท่านเล

ชื่อเสียงของหลวงพ่ออวยพรจึงขจรขจายแผ่ไปไกลมีลูกศิษย์ลูกหาจากทั่วประเทศ และลูกศิษย์คนไทยในต่างประเทศที่ได้นิมนต์ท่านไปโปรดญาติโยมในต่างแดนหลายต่อหลายครั้ง และรวมทั้งชาวต่างชาติอย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และบรูไน ที่แม้จะเป็นคนต่างชาติต่างภาษาแต่ก็เดินทางมาให้ท่านสงเคราะห์ช่วยเหลือปัดเป่าความทุกข์กายทุกข์ใจ รวมทั้งการอาบน้ำมนต์ พร้อมขอวัตถุมงคลไปคุ้มครองป้องกันตัว แม้กระทั่งการนำรถยนต์ไปให้ท่านเจิมเสริมความเป็นสิริมงคลถึงวัดก็มีแทบจะทุกวันเลยทีเดียว

หลวงพ่ออวยพร จึงเป็นศิษย์ผู้สืบสายพุทธาคมของหลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม ที่เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากด้วยบารมีอีกรูปหนึ่งของเมืองนครปฐมในปัจจุบัน

พระครูสังฆรักษ์อวยพร ฐิติญาโณ หรือหลวงพ่ออวยพร เกิดเมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ.2485 ซึ่งตรงกับช่วงสงครามอินโดจีน ภูมิลำเนาเดิมเป็นชาวดอนยายหอม โยมบิดาชื่อ นายพวง โยมมารดาชื่อ นางอินทร์ อินทนชิดจุ้ย มีพี่น้อง 5 คน โดยท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ซึ่งหากจะลำดับญาติความผูกพันทางสายเลือกแล้ว หลวงพ่ออวยพรมีศักดิ์เป็น “หลานของหลวงพ่อเงิน” และเป็นหลาน “หลานของหลวงพ่อแช่ม” ดังนี้

“หลวงพ่อแช่ม” เป็นหลานแท้ๆ ของ “หลวงพ่อเงิน” เนื่องจากคุณปู่ของหลวงพ่อแช่มที่ชื่อ “ปู่จุ้ย” เป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตของ“ปู่พรหม” ผู้เป็นบิดาของหลวงพ่อเงิน ส่วนบิดาของหลวงพ่อแช่ม ที่ชื่อ “คุณพ่อเนียม อินทนชิดจุ้ย” เป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตของ “คุณพ่อพวง อินทนชิดจุ้ย” ซึ่งเป็นบิดาของ “หลวงพ่ออวยพร” นั่นเอง


จากการที่หลวงพ่ออวยพรมีหลวงลุง (หลวงพ่อเงิน) และหลวงอา (หลวงพ่อแช่ม) เป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องนับถือจากผู้คนทั่วไป อีกทั้งยังมีคุณพ่อพวงเป็นที่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม บ่อยครั้งที่ท่านให้บุตรชาย “ด.ช.อวยพร” อ่านหนังสือชัยมงคลให้ท่านฟัง จึงทำให้ ด.ช.อวยพรซึมซับสิ่งที่บิดาปฏิบัติไปด้วย เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วก็ช่วยทางบ้านทำไร่ทำนาตามอาชีพของพ่อและแม่

ต่อมาเมื่ออายุได้ 14 ปี จึงมาเป็นศิษย์วัดรับใช้ใกล้ชิด หลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม เทพเจ้าแห่งวัดดอนยายหอม หลวงพ่อแช่มจึงสอนให้อ่านและเขียนอักขระขอม ท่องบทสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ตลอดทั้งคาถาอาคม ทำให้หลวงพ่ออวยพรมีพื้นฐานเรื่องไสยเวทวิทยาควบคู่ไปกับความสนใจในพระธรรมคำสอน ในขณะที่อายุ 15 ปี ก็มักจะเอาผ้านุ่งของมารดาที่มีสีเหลืองมานุ่งห่มเป็นพระ พร้อมกับทุกคนว่า “หากอายุครบบวชแล้วก็จะออกบวชโดยจะไม่สึกเหมือนกับหลวงลุง (หลวงพ่อเงิน) และหลวงอา (หลวงพ่อแช่ม) จริงๆ

นับว่าหลวงพ่ออวยพรเป็นผู้ที่พูดจริงทำจริงโดยแท้ เพราะว่าต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี ในปี พ.ศ.2506 “นายอวยพร อินทนชิดจุ้ย” ก็ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดดอนยายหอม โดยมี พระราชธรรมาภรณ์ หรือหลวงพ่อเงิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดแช่ม (สมณศักดิ์ในตอนนั้น) หรือหลวงพ่อแช่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสังฆรักษ์แก้ว วัดดอนยายหอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิติญาโณ”

สมัยที่หลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้รับการนิมนต์ให้ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ อยู่เสมอ บางครั้งท่านอาพาธ หรือติดกิจนิมนต์ก็จะให้หลวงพ่อแช่มไปแทน หรือบางครั้งก็มอบหมายให้หลวงพ่ออวยพรไปแทนตามโอกาสอันควร

ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2512 หลวงพ่อเงินได้รับนิมนต์ให้ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดยางสุทธาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ครั้นถึงกำหนดเวลา หลวงพ่อเงินท่านไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานพุทธาภิเษกได้ ท่านจึงมอบหมายให้พระครูสมุห์อวยพรไปนั่งปรกแทน เมื่อหลวงพ่ออวยพรมาพบหลวงพ่อเงินที่กุฏิ หลวงพ่อเงินจึงพูดขึ้นว่า

“คุณพรไปนั่งปรกแทนฉันที ฉันไปไม่ไหว ไม่ค่อยสบาย ไปแทนฉันที่วัดยางสุทธาราม อยู่ในกรุงเทพฯ”

หลวงพ่อยังได้สอนอีกว่า “เวลานั่งปรกปลุกเสก ต้องทำใจให้เป็นสมาธิ อย่าทำใจเลื่อนลอย ต้องเอาใจอยู่ในวัตถุมงคลนั้น ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ เอาคาถาที่ฉันให้คุณไว้นั่นแหละ ก่อนปลุกเสกต้องดูก่อนว่าวัตถุมงคลนั้นเป็นอะไร ถ้าเป็นพระพุทธรูปต้องปลุกเสกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นกุมารทอง นางกวัก หรือของต่างๆ ที่ไม่ใช่พระ ต้องปลุกเสกตามชื่อของวัตถุมงคลประเภทนั้นๆ” หลวงพ่ออวยพรได้จดจำคำสอนของหลวงพ่อเงินไว้อย่างแม่นยำ และได้ประพฤติปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนของหลวงพ่อเงินอย่างเคร่งครัดนับเป็นการปลุกเสกวัตถุมงคลครั้งแรก (พ.ศ.2512) ของหลวงพ่ออวยพร ซึ่งก็ได้รับคำชมเชยจากเจ้าอาวาสวัดยางสุทธารามเป็นอย่างมาก

พิธีกรประจำพิธีพุทธาภิเษกได้ประกาศว่า “ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์หนุ่มที่มีอนาคตไกล (ขณะนั้นหลวงพ่ออวยพร อายุ 27 ปี) ถ้าไม่แน่จริงหลวงพ่อเงินคงจะไม่ให้มานั่งปรกปลุกเสกแทนท่าน” เพราะในงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้นมีพระเกจิอาจารย์อาวุโสมานั่งปรกแผ่เมตตาจิตเจริญสมาธิภาวนาหลายรูปด้วยกัน ซึ่งล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสร่วมสมัยรุ่นเดียวกันกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม แทบทั้งนั้น

เมื่อ หลวงพ่อเงินละสังขาร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520 รวมสิริอายุ 86 ปี พระครูเกษมธรรมานันท์ (หลวงพ่อแช่ม ฐานนุสโก) ได้เป็นเจ้าอาวาสลำดับต่อมาด้วยวัยกว่า 70 ปี ซึ่งก็ชราภาพมากแล้ว หลวงพ่อแช่มได้รับนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีพุทธาภิเษกมากขึ้น จนบางครั้งไม่สามารถไปนั่งปลุกเสกได้ เนื่องจากวัดบางแห่งอยู่ต่างจังหวัดไกลๆ ประกอบกับท่านก็ชราภาพมากแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้หลวงพ่ออวยพรไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลแทนท่าน ในฐานะทายาทพุทธาคมของสำนักวัดดอนยายหอม

ความเป็นศิษย์รู้คุณครูบาอาจารย์ หลวงพ่ออวยพรจึงคอยปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อเงิน สนองงานที่ได้รับมอบหมายอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เช่นปฏิบัติหน้าที่เป็นครูสอนปริยัติธรรม อบรมสั่งสอนดูแลพระสงฆ์-สามเณร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และงานก่อสร้าง หลวงพ่ออวยพรได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาวัดดอนยายหอม จนกระทั่งมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งหลวงพ่อเงินละสังขารไป หลวงพ่อแช่มรับตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปต่อมา

หลวงพ่อแช่มได้สืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อเงินไว้ทุกประการ โดยมีหลวงพ่ออวยพรปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้ช่วยเหลือหลวงพ่อแช่มบูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาเสนาสนะสงฆ์ภายในวัดดอนยายหอมอยู่ตลอดเวลา เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ โรงครัว กำแพงวัด ศาลาอเนกประสงค์ ห้องน้ำ ถนน ศาลาเมรุ และซุ้มประตู ฯลฯ

ต่อมาหลวงพ่อแช่มได้รับอุปถัมภ์สร้างตึกคนไข้พิเศษของโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม (พ.ศ.2535) เป็นตึก 4 ชั้น ขณะนั้นหลวงพ่อแช่มอายุ 85 ปี การสร้างตึกคนไข้พิเศษต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวน 25 ล้านบาท จึงได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อแช่มขึ้นมา เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม สร้างเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อแช่มครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดสังฆาฏิ ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ตามแบบฉบับของหลวงพ่อแช่ม สร้างเป็นเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง จำนวน 5,000 เหรียญ


ในครั้งแรกคณะกรรมการสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นดังกล่าว จะจัดพิธีพุทธาภิเษกนิมนต์พระเกจิอาจารย์ในจังหวัดนครปฐมมาร่วมนั่งปรกปลุกเสก จึงได้เข้าไปปรึกษาหลวงพ่อแช่ม เมื่อหลวงพ่อแช่มได้ฟังท่านก็นั่งนิ่ง แล้วต่อมาก็ยิ้มๆ ด้วยความเมตตาแล้วก็ปรารภว่า

“ไม่เป็นไร ฉันเชื่อว่าฉันทำได้ วัดเราสร้างเองเราก็ต้องปลุกเสกเอง”

ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแช่มและพระครูหลวงพ่ออวยพรจึงได้ร่วมกันปลุกเสกเหรียญรุ่นพิเศษสร้างตึกคนไข้โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม พิธีปลุกเสกจัดขึ้นเวลากลางคืน ที่ตึกกรรมฐานบูรพาจารย์ของวัดดอนยายหอม โดยหลวงพ่อแช่มเป็นผู้จุดเทียนชัย หลังจากนั้นท่านก็นั่งบริกรรมภาวนา โดยมีหลวงพ่ออวยพรร่วมนั่งปรกปลุกเสกด้วย

เมื่อนั่งปรกไปได้ระยะหนึ่งปรากฏว่ามีเสียงระเบิดขึ้นที่หลังคาหอกรรมฐาน คณะกรรมการวัดจึงปีนหลังคาขึ้นไปดู พบว่ากระเบื้องหลังคาแตกเป็นรูใหญ่ ทุกคนเชื่อว่าเกิดจากพลังจิตตานุภาพของหลวงพ่อแช่มและหลวงพ่ออวยพรที่นั่งปรกแผ่กระแสจิตออกมาอย่างเต็มที่จนทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จึงได้พากันเรียกเหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นนี้ว่า

“รุ่นหลังคาระเบิด”


ประชาชนที่ทราบข่าวพากันมาเช่าบูชาเหรียญรุ่นหลังคาระเบิดอย่างเนืองแน่น ทั้งนี้เพราะเชื่อมั่นว่าเหรียญรุ่นนี้มีพลังพุทธคุณสูงเป็นพิเศษ ทำให้ได้เงินสมทบทุนสร้างตึกคนไข้พิเศษสำเร็จสิ้นภายในปีเดียว รวมเงินประมาณ 25 ล้านบาทเศษ โรงพยาบาลศูนย์นครปฐมได้ตั้งชื่อตึกดังกล่าวนี้ว่า “อาคารพระครูเกษมธรรมานันท์ (หลวงพ่อแช่ม)” และได้หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม ไว้ที่หน้าตึกหลังนี้ เพื่อให้คนได้สักการบูชา และรำลึกถึงคุณความดีที่ท่านได้อุปถัมภ์จนสามารถสร้างอาคารหลังนี้ได้เป็นผลสำเร็จ

หลวงพ่ออวยพรเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เคารพครูบาอาจารย์อย่างสูงสุด ทุกครั้งที่จะอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล หรือประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เจิมป้ายร้านอาคาร เจิมรถ ท่านจะต้องระลึกถึงหลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม และอาราธนาขอบารมีของท่านมาช่วยเพิ่มความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ ความเคารพนับถือและความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของหลวงพ่ออวยพรปรากฏชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อแช่มมรณภาพละสังขารไป เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2536 รวมสิริอายุได้ 88 ปี

ซึ่งก่อนหน้าที่หลวงพ่อแช่มจะละสังขาร ท่านได้รับอุปถัมภ์สร้างหอประชุมอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งใช้งบการก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาทเศษ เมื่อวางศิลาฤกษ์ไปแล้ว หลวงพ่อแช่มได้ละสังขารไป จึงทำให้การก่อสร้างหยุดชะงัก หลวงพ่ออวยพรซึ่งเป็นทายาทธรรมและเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงพ่อแช่ม จึงได้รับเป็นผู้อุปถัมภ์และดำเนินการหาทุนทรัพย์มาก่อสร้างหอประชุมต่อ

กล่าวถึงวันที่หลวงพ่อแช่มละสังขารไป เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2536 ซึ่งในวันที่หลวงพ่อแช่มมรณภาพนั้น หลวงพ่ออวยพรได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่จังหวัดเชียงราย เมื่อทราบข่าวท่านจึงรีบเดินทางกลับมาวัดดอนยายหอม เพื่อมาเคารพศพหลวงพ่อแช่มผู้เป็นครูบาอาจารย์และเป็นหลวงอาของท่านด้วย

หลวงพ่ออวยพร ยึดถือหลัก 3 ประการ กับพระภิกษุสงฆ์ตามที่หลวงพ่อเงินท่านได้สั่งสอนลูกศิษย์ไว้ให้ปฏิบัติตาม ได้แก่

1. ภิกษุต้องสำรวมอินทรีย์ มิให้ความยินดีครอบงำจิตใจจนเกินไป เช่น เมื่อมองเห็นรูป สมมุติว่าเหลือบไปเห็นสีกาสาวสวยเข้าคนหนึ่ง หรือไปได้ยินเสียงอันไพเราะจากการขับร้อง หรือเมื่อได้สูดกลิ่นอันเป็นที่สัพโผฏฐัพพะแห่งความปรารถนา

2. ภิกษุต้องนมัสการกรรมฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะ และกายคตาสิ หรือสิ่งอันยังจิตให้สลด คือมรณสติ

3. ภิกษุต้องเจริญวิปัสสนา คือพิจารณาสังขาร แยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็นว่าเป็นสภาพไม่แน่นอน ไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กิเลสกามคือเจตสิกที่ทำให้เศร้าหมอง ชักไม่เกิดความรัก ความใคร่ และความอยากคือตัณหา ความทะยานออก ราคะความกำหนัด และอคติความขึ้งเคียด เป็นต้น จัดว่าเป็นมาร ทั้งนี้เพราะเป็นโทษล้างผลาญทำลายคุณงามความดีของมนุษย์เรา ทำให้มนุษย์เสียคน เรียกว่าชั่ว สิ่งที่เป็นปัจจัยคือวัตถุแห่งกาม มีรูป รส กลิ่น เสียง เป็นสื่อให้น่าชอบ เช่น รูปสวย รสอร่อย กลิ่นหอม และเสียงไพเราะ

เหรียญรุ่นแรก


ตะกรุด


วัวธนู


ล็อคเก็ตหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม (ด้านหลังมีเกศา)



ขอขอบคุณที่มาจากเวป ลานโพธิ์ไทย และ google สำหรับรูปภาพด้วยด้วยนะครับ หากลงซ้ำ ก็ขออภัยด้วย
( ส่วนตัวผมเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับท่านหลายครั้งครับ ซึ่งไม่ขอเล่าเดี๋ยวจะหาว่าเชียร์  )

59


ขออภัยภาพไม่ค่อยชัด

พ่อท่านสังข์ รุ่น ๑ ปี 38 เหรียญทั้งหมดนี้เจอกันในงานไหว้ครู
พล้อมทั้งเศษผ้าตัดแจก หลวงปู่เจือ และอาจมีอะไรเพิ่มเติม ..

60




ภาพอาจไม่เค่ยชัดขออภัยนะครับ

เดิมพระองค์นี้ เลี่ยมกรอบใว้และกระจกด้านหน้าแตกน้ำเข้า เลยแกะเอามาให้ชม  :075:

ด้านหลังเป็นลอยลักที่เดิมประกบติดใว้ แต่ผมได้นำมาแกะออกไป ใว้แยกตางหาก

องค์นี้โดยส่วนตัวมีประสบการณ์โดยตรงกับผมนะครับตอนสมัยเรียน เลยนำมาให้ชมกัน

ขอบพระคุณครับ

61


สำหรับคนที่ไปงานไหว้ครู วัดบางพระปีนี้นะครับ มาร่วมสนุกกัน

คำถามมียู่ว่า .. ?? ในรูป คือที่ไหน วัดอะไร จ.อะไร  

โดย ใครตอบถูกเป็นคนแรก จะได้ตะกรุดคาดเอว แม่นางพิม-ดำเซ็น หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร ฟรี 1 ดอก  (ตะกรุดนี้ให้หลวงปู่เสกกำกับให้อีกทีแล้วครับ)

แต่มีข้อแม้ ... ให้มารับกับตัวผมเองที่งานไหว้ครูวัดบางพระ ที่จะถึงนี่เท่านั้นนะครับ  ผมจะอยู่ที่กุติหลวงพี่ญา ครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดี ..


ถ้ายากไป พรุ่งนี้ เดี๋ยวมีคำใบ้ให้

62









นำมาให้ชมเป็นตัวอย่าง อิอิ

กราบมนัสการและขอบพระคุณหลวงพี่ญา ที่เมตตา เป็นอย่างสูง :054:

ขอบคุณเพื่อนต้น พี่เอ และพี่ๆ ทุกๆคน ครับ ที่เมตตา

63
ธรรมะ / กรรมฐานคืออะไร ???
« เมื่อ: 29 ม.ค. 2553, 05:44:36 »
กรรมฐาน  เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร  ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป   

หากกล่าวถึง คำว่า กรรมฐาน เราจะเข้าใจกันว่า กรรมฐาน คือ สมาธิหรือการนั่งหลับตาท่องคำซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการกระทำบางอย่างที่ต่างไปจากพฤติกรรม การให้ทาน การรักษาศีล แต่สำหรับความหมาย ที่มีมาในพระบาลี ตามนัยแห่งมูลฎีกาแสดงวินิจฉัยคำ “กรรมฐาน” ไว้ว่า

กมฺมเมว วิเสสาธิคมนสฺส ฐานนฺติ กมฺมฐาน

              แปลว่าการงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษชื่อว่า“กรรมฐาน”

เหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะนั่งหลับตาภาวนาดังกล่าว แต่มีองค์ประกอบและรายละเอียด อีกมากมาย ดังนั้น ความหมายของกรรมฐานเท่าที่เราเข้าใจ จึงยังคลุมเครือและยังต่างจากความหมายที่แท้จริงอยู่มาก การสร้างความบริสุทธิ์แห่งจิตนี้ จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ได้ สิ่งอิงที่ว่านี้มี  ๒  ลักษณะ คือ อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบร่างกายและจิตใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจก็ได้ สิ่งที่อยู่นอกระบบร่างกายและจิตอาจเป็นส่วนที่สร้างขึ้นหรือมาจากภาวะแวดล้อม เช่น ดวงกสิณ ซากศพ หรืออาหารที่รับประทานอยู่ทุกวัน ส่วนสิ่งที่มาจากภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจ ก็คือ อริยาบถต่าง ๆ และความคิด เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการฝึกอบรมจิตที่เรียกว่ากรรมฐานได้ (ชิน วินายะ มปป : ๒)

การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นการกระทำด้วยความตั้งใจหรือจงใจลักษณะหนึ่ง แต่เป็นไปในฝ่ายกุศลส่วนเดียว เพราะมิได้มีเหตุจูงใจจากความต้องการในกามคุณอารมณ์ การปฏิบัติกรรมฐานจึงไม่ขึ้นกับโลกธรรมและกามคุณดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายพื้นฐาน คือ การอบรมจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ธรรม คือ ตัณหา ความคิดมุ่งร้าย ความเกียจคร้าน ความเร่าร้อน ไม่สบายใจ และระแวงสงสัย เป็นต้น จิตที่สงบจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลายจักเข้าถึงสภาวะแห่งปัญญาได้ไม่ยากนัก

 เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ (กิริยวาท) และเป็นศาสนาแห่งความเพียรหรือวิริยวาท (พระมหาบุญชิต สุดโปร่ง : ๒๕๓๖) ความเพียรในการปฏิบัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่สำคัญ คือ ศรัทธา ๔ ได้แก่ ความเชื่อในเรื่องกรรมหรือการกระทำ (กมฺมสทฺธา) ในเรื่องผลของกรรม (วิปากสทฺธา) ในความเป็นเจ้าของกรรมที่ตนทำ (กมฺมสกฺตาสทฺธา) และความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ (ตถาคตโพธิสทฺธา) ดังนั้น “ กรรม ” จึงเป็นคำสำคัญในคัมภีร์พระพุทธศาสนาใช้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตในเชิงพุทธ มีความหมายสัมพันธ์กับคำว่า กุศล อกุศล บุญ บาป วาสนา บารมี (พระเมธีธรรมาภรณ์, “กรรม” ในคำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย ๒๕๓๗ : ๑ )
การกระทำโดยทั่วไปมี ๓ ลักษณะ โดยแบ่งตามช่องทางที่แสดงออก คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีทั้งส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ส่วนมากอาศัยอารมณ์ทั้ง ๕ และมีโลกธรรม ๘ เป็นอารมณ์ และเป็นเหตุจูงใจให้มีการกระทำที่เป็นกุศลหรืออกุศล เช่น บุคคลมีเจตนาคิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น (อกุศลมโนกรรม) ด้วยอำนาจความโลภ จึงแสดงพฤติกรรมของการแย่งชิง หรือไม่ก็หยิบฉวยไปโดยไม่ได้รับอนุญาต (อกุศลกายกรรม) เป็นต้นทรัพย์สมบัติของผู้อื่นซึ่งเป็นรูปธรรมจึงเป็นเหตุให้มีการกระทำต่าง ๆ ตามมา

กล่าวโดยสรุป การฝึกกรรมฐานเป็นการกระทำกุศลกรรมชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะมโนกรรม ต่างจากกรรมทั่วไป  ตรงที่เป้าหมายการกระทำเป็นไปเพื่อความสิ้นภพชาติ สิ้นทุกข์ ไม่ต้องไปเกิดในแหล่งกำเนิดใดอีก เนื่องจากจิตต้องอิงอาศัยอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ และธรรมชาติของจิตมีความสัดส่ายไปตามอารมณ์ ไม่อาจหยุดนิ่งเพื่อการพิจารณาแม้เพียงชั่วครู่ จึงจำเป็นต้องใช้อุบายบางอย่าง เพื่อลดความสัดส่าย โดยหาสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ อุบายที่ว่านี้คือ  ที่มาของกิจกรรมที่เรียกว่ากรรมฐาน

 อุบายดังกล่าวแยกออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

๑. อุบายสงบใจ  กล่าวคือ อาศัยวิธีการท่องถ้อยคำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน และบังคับตนเองในลักษณะ การสร้างแนวคิด เกี่ยวกับคำนั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ความคิด หรือภาพพจน์ของคำ ๆ นั้น ล้วนเป็นองค์ประกอบของความสงบที่เรียกว่า    สมถกรรมฐาน
๒. อุบายเรื่องปัญญา อาศัยความรู้สึกตัวที่มีอยู่ รู้ถึงการสัมผัสทางทวารทั้ง ๖ รู้ถึงปรากฏการณ์ทางจิต ขณะร่างกายมีการกระทบสิ่งเร้า เฝ้าติดตามการรับรู้นี้ด้วยความตั้งใจ เมื่อมีความตั้งใจอยู่ที่ การรับ กระทบความคิดต่าง ๆ ก็จะถูกตัดออกไป จนไม่สามารถสอดแทรกเข้ามาได้ ไม่เปิดโอกาส ให้มีการก่อตัว ของแนวคิด ภาพลักษณ์หรือความคิดใด ๆ ตามมา เท่ากับเป็นการรู้เท่าทัน กระบวนการที่เกิดขึ้นโดยตรงในทันทีที่เกิดขึ้น จึงไม่เกิดการบิดผันใด ๆ ทางด้านความคิดนี้ คือ  ส่วนของกิจกรรมที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน (ชิน วินายะ มปป : ๒ - ๗ )

 เนื่องจากกรรมฐานเป็นกุศโลบายบางอย่างที่เกิดจากความตั้งใจสร้างแนวคิดขึ้นหรือไม่ก็เป็นการตั้งใจรับความรู้สึกโดยไม่ผ่านแนวคิด อารมณ์ที่จิตอิงอยู่จึงไม่เหมือนอารมณ์ทั่วไป ที่รับรู้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ภาพลักษณ์และความรู้สึกตัวเป็นผลมาจากความตั้งใจ ดังกล่าว และถูกจัดเป็นหมวดหมู่ของอารมณ์พิเศษที่มีหลักการและวิธีการรับรู้เป็นการเฉพาะสำหรับกรรมฐานแต่ละประเภท เช่น แนวคิดของคำหรือภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากสมถกรรมฐาน ๔๐ อย่าง หรือความรู้สึกตัวในนาม-รูปจากวิปัสสนากรรมฐาน  มีขันธ์ อายตนะ เป็นต้น อารมณ์พิเศษและวิธีการเฉพาะนี้มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้โดยบังเอิญ หรือนึกคิดจะทำตามความนิยมที่สืบต่อกันมาก็ทำได้  แต่เป็นสิ่งที่ต้องการความเข้าใจในเหตุปัจจัยและหลักการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ ดังนั้น การเข้าหาอาจารย์ผู้มีความชำนาญในการใช้อุบายกรรมฐาน การรู้ถึงจริตอัธยาศัยผู้เรียน การอยู่ในสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน มีการเรียนการสอน และการปฏิบัติควบคู่กันไป และการอุทิศเวลาบางส่วนเพื่อศึกษาและปฏิบัติจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเจริญกรรมฐาน

 ความสำคัญของกรรมฐาน

 ความทุกข์เป็นสิ่งที่ชีวิตไม่ต้องการ พระพุทธศาสนาแบ่งความทุกข์ไว้ ๒ อย่าง คือทุกข์ประจำและทุกข์จร ทุกข์ประจำ หมายถึง ทุกข์ที่มาพร้อมชีวิต คือ การเกิด แก่ ตาย ไม่มีใครหลีกเลี่ยงทุกข์ประจำนี้ได้ ส่วนทุกข์จรได้แก่ ความเศร้าโศก รำพัน ต้องอาลัยไม่ขาด การไม่สมความปรารถนา และการพลัดพรากจากของรัก เป็นต้น เป็นเพียงทุกข์ที่ผลัดกันเกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดแก่และตายนั่นเอง อาจจะบรรเทาได้บางส่วนตามสมควร แต่ก็ไม่อาจทำให้ทุกข์จรนั้น หมดไปได้เช่นกัน สังคมในอดีตเคยต้องเกิด แก่ ตายอย่างไร ปัจจุบันแม้จะมีเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าทันสมัยอย่างไร เทคโนโลยีเหล่านั้น ก็ยังไม่อาจ แก้ปัญหาชีวิตที่ต้องแก่และต้องตายของชีวิตใครได้

 พระพุทธศาสนามิได้สอนหรือบังคับให้หนีสังคม มิได้ถ่วงความเจริญ หรือพยายามหยุดยั้งเทคโนโลยีที่กำลังก้าวกระโดดนั้น อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ที่จริงแล้วจะมีเทคโนโลยีหรือไม่มีก็ตาม ปัญหาก็มิได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม ทั้งนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ มีทั้งส่วนที่ให้คุณและให้โทษ ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้มากกว่า จุดยืนทางศาสนาอยู่ที่การเป็นสัญญาณ เตือนภัยที่จะเกิดแก่มนุษย์ ภัยนั้นมีอยู่รอบด้านโดยเฉพาะภัยทางความคิด ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็นและไม่เชื่อว่าเป็นภัยจริง  มุมมองที่คับแคบอาจทำให้มนุษย์มอง เห็นเพียงด้านเดียว  ของความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี แล้วกล่าวอ้างถึงความเจริญทันสมัย เพื่อสนับสนุนความคิดของตน และเลือกที่จะทำตามความคิดนั้น จนละเลยปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง

 ศาสนามีหน้าที่แสดงความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต แนะนำถึงความรอบคอบ  และรอบรู้ในการดำเนินชีวิต  โดยเกิดความเดือดร้อน น้อยที่สุด รอบรู้ว่าสิ่งใดควรคิดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจชีวิตและส่วนที่เป็นปัญหา มีระเบียบในเรือนใจ และการยอมรับเหตุผล ทำให้สามารถหาทางออกจากความขัดแย้งและอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาได้อย่างผู้รู้กาลเทศะ

 จุดมุ่งหมายของกรรมฐาน

 การฝึกกรรมฐาน  เป็นกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เกิดขึ้นเพื่อเป็น พื้นฐานรับรองเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังกล่าว ในพระศาสนา แม้จะ มีจุดหมายสูงสุดอยู่ที่การบรรลุ คุณวิเศษ คือ มรรค ผล นิพพาน แต่ถ้าจิตใจยังพัฒนา ไม่ผ่านขั้นตอนการยอมรับ การเวียนว่ายตายเกิด  อันยาวนานของตนเอง หรือยังมีความสงสัยในเรื่องภพชาติ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและที่จะเป็นไปในอนาคตแล้ว ขบวนการถอนรากถอนโคนกิเลสตัณหา อาสวะ และอนุสัยต่าง ๆ ในจิตใจอย่างจริงจังจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ภัยของภพชาตินั้น มาจาก ความจำเจวนเวียน ที่ชีวิตต้องอยู่กับ ความสุขบ้าง  ความทุกข์บ้าง  มีความผันแปรไปตามเหตุปัจจัย มิได้ผันแปรไปตาม ความต้องการของตนเอง   การเห็นภัยจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เห็นภัยดังกล่าวยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตจากที่เคยวนเวียน เป็นไปเนื่องด้วยกิเลสตัณหา   สู่วิถีชีวิตที่มีสติสัมปชัญญะดำเนินชีวิตไปตามทางมรรคได้อย่างมั่นคง

 ความกลัวภัย ทำให้เราเปลี่ยนแนวความคิด เปลี่ยนความต้องการใหม่ ตรงนี้คือ จุดเริ่มของพระพุทธศาสนา การทำทาน รักษาศีล ไม่ช่วยให้เกิดความรู้สึกกลัวภัยได้   คนที่จะน้อมเข้ามาในการปฏิบัติกรรมฐานจะต้องเห็นภัยในวัฏสงสารก่อน จึงจะมองหาการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติบางอย่างอาจทำให้เกิดความสุขมากมาย ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภัยของวัฏฏะ นั่นก็ไม่ตรงกับพระพุทธศาสนา  พื้นฐานความคิดเกี่ยวกับ  ภัยของวัฏสงสารจะได้จากการเรียนก่อน จากนั้นจึงน้อมเข้ามาสู่การปฏิบัติ (พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิตญาโณ. สัมภาษณ์.)

 การพิสูจน์การเวียนว่ายตายเกิดนั้น มิใช่เพียงการทำจิตให้สงบแล้วพาไปดูนรกสวรรค์หรือจินตนาการถึงพระนิพพาน  ว่าเป็นเมืองแก้วตามที่ได้ยินมา การยอมรับว่ามีนรกสวรรค์ดังกล่าว มีประโยชน์ในแง่ของการสร้างศรัทธา ที่จะทำความดี ละเว้นความชั่ว เพื่อความสุขของชีวิตในภพนี้และภพหน้า  แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อและทิฏฐิ ที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานได้ จึงมีความปรารถนาการเกิดอยู่เสมอไป ไม่รู้สึกว่าสังสารวัฏฏ์ จะเป็นภัย ต่อชีวิตตนเองได้อย่างไร การเผชิญ กับความเกิดดับ (ตาย) อย่างซ้ำซากเฉพาะหน้า จำต้องอาศัยความเข้าใจ และการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทางจิตขั้นเอกอุ จึงจะยอมรับภัยของชีวิตได้    ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

วิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น  ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายในการฝึกสังเกตความเป็นไปของจิตขณะ   กระทบอารมณ์ต่าง ๆ    เป้าหมายการสังเกตอยู่ที่ความสามารถในการรับรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตนเองก่อนที่จะ   แสดงพฤติกรรมอะไรออกไปทางกาย วาจา หากเราเข้าใจช่วงต่อของความรู้สึกนึกคิด จากความรู้สึกเก่า (วิบากวัฏ) ปรุงแต่งไปสู่ความรู้สึกใหม่ (กิเลสวัฏ)  เป็นเหตุให้เกิดการกระทำใหม่อีก (กรรมวัฏ) ว่าวิบากเป็นเพียงผลมาจากอดีตกรรม ไม่มีใครเลือกรับแต่วิบากดี   หรือย้อนกลับไปเปลี่ยนกรรมในอดีตได้  ตัววิบากเองไม่ดีและไม่ชั่วรับผลแล้วดับไป  แต่การดับไป ถูกตัวกิเลสปิดบัง และปรุงแต่งให้ดูเหมือน  ยังมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ด้วยวิธีการสืบต่ออารมณ์อย่างรวดเร็วไม่ขาดสาย ก็ด้วยความเป็นกลุ่มของ อัตตาที่ยึดถือขึ้นมาเอง ความยึดถือและสำคัญผิดนี้ คือส่วนของการปรุงแต่งเป็นกรรมใหม่ที่พยายาม จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง  สิ่งภายนอกให้เป็นไปตามความต้องการของตน วัฏสงสารแห่งกิเลส - กรรม - วิบาก อันเป็นปมปัญหาของชีวิต  ที่เคยทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้น แฝงอยู่ ณ จุดเชื่อมต่อระหว่างความรู้สึกนึกคิดในปัจจุบันนั่นเอง

 หากเข้าใจจุดมุ่งหมายและสามารถปฏิบัติกรรมฐานธรรมไปตามแบบที่พระพุทธองค์วางไว้จนเกิดผลในระดับหนึ่งแล้ว ประสบการณ์ทางศาสนาดังกล่าวจะเป็นตัวกระตุ้นความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้น มิใช่ศรัทธาที่เกิดขึ้นจากการ ฟังตามกันมา แต่เป็นความศรัทธาที่มั่นคงในความจริงเฉพาะหน้า  รู้จักว่าส่วนใดเป็นคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา  ส่วนใดมิใช่คุณค่า และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณพระศาสนาด้วยความเคารพและกตัญญู

พุทธศาสนิกชนที่มีความประสงค์จะแสวงหาวิชาในด้านพระพุทธศาสนา ควรศึกษาพระไตรปิฎก อรรถกา ฎีกา จากท่านผู้รู้ที่มีวิทยฐานะโดยถูกต้องและสมบูรณ์ จึงจะได้รับความรู้นั้นตามความประสงค์ ได้เหตุผลในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ถ้าหากว่ามีแต่การชอบฟังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยทำนอง ปาฐกถาบ้าง ธรรมเทศนาบ้าง ธรรมสากัจฉาบ้างเช่นนี้แล้ว ความประสงค์ที่จะได้รับวิชาความรู้โดยถ่องแท้นั้น จะมีแก่ตนไม่ได้เลย เพียงแต่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ผ่องใส เป็นกุศลจิตเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่ง ๆ พร้อมกับความรู้เล็กๆน้อยๆเท่านั้น (พระสัทธัมมโชติกะ ๒๕๑๐ : ๕๕ )

(หากลงซ้ำหรือมีคนนำมาลงแล้ว ก็ขออภัยด้วยครับ)
อ้างอิงจากเวป http://www.abhidhamonline.org/kammathana.htm

64


ได้มาจากพี่หมู พี่ชายเพื่อนต้นน้ำสุดหล่อผมเอง ครับ อิอิ
ขอบคุณมากนะครับ สำหรับน้ำใจที่มีให้กัน

(ตัดแบ่งไปพอสมควรและครับเหลือแค่นี้เองอะ ค่อยๆ แบ่งเพื่อนๆกันไปอีก อิอิ)
ปล.รบกวนเพื่อนต้นด้วย เรื่องงานวัดนก ใว้มาคุยที่บ้านเอ็ม

65


พระสิบทัศน์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม: พระพิมพ์สิบทัศ เนื้อผงใบลาน สร้างในราวปี 2481 คณะกรรมการของวัดดอนยายหอม ต้องการแรงจูงใจ เพื่อให้ชาวบ้านมาช่วยงานก่อสร้างอุโบสถ เพราะการก่อสร้างต่างๆ อาทิ การผูกเหล็กติดแบบ, เทปูน ตลอดจนมุงหลังคา จำเป็นต้องการแรงงานจำนวนมาก งานแบบนี้ชาวบ้านทำกันเองทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ทางคณะกรรมการของวัดดอนยายหอมจึงได้จัดสร้าง พระเครื่องวัตถุมงคล "พระพิมพ์สิบทัศเนื้อผงใบลาน" ขึ้นเพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่ชาวบ้านที่มาช่วยงาน พระสิบทัศน์ หลวงพ่อเงินที่จัดสร้างนี้ใช้วัสดุที่เป็น "ดินสีดำ" โดยดินชนิดนี้ได้จากที่นาของนายหวย ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองดอนยายหอม โดยหลวงพ่อเงินได้ให้นายหวยเป็นผู้ทำพิธีขอดินจากแม่ธรณี (พิธีบวงสรวง) ก่อนจะขุดดินจากบริเวณนั้น เมื่อได้ดินมาแล้วก็นำดินดำไปละลายน้ำ และกรองด้วยผ้าขาวเนื้อดี จนได้ดินดำที่มีเนื้อละเอียด แล้วนำไปตากให้แห้ง เสร็จแล้วนำมาตำเป็นผง ก่อนจะปั่นเป็นแท่งดินสอแล้วให้ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นำไปใช้เขียนอักขระเลขยันต์บน กระดานดำ เพื่อลบเป็นผงดำก่อนจะเก็บผงที่ได้จากลบผงนำมาเข้าแม่พิมพ์เป็นรูปพระ


ที่มาจากเวป tumsrivichai





66


กราบขอบพระคุณหลวงพี่ญา สำหรับความเมตตาที่มีให้ผมเสมอมาครับ
ปีใหม่นี้ขอให้ท่าน มีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุข มากๆนะครับ ด้วยความเคารพ  :054: :054: :054:

ขอกราบ พระอาจารย์ หลวงลุง หลวงพี่ หลวงอา ทุกรูป และท่านอาจารย์  ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงมีความสุขมากๆนะครับ  :054: :054:

กราบขอบพระคุณหลวงพี่มาร์ค ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ :054: :054:

ขอขอบคุณพี่เอ พี่ที(นกเป็ดน้ำ) พี่เก่ง พี่บอล และพี่ๆทุกคน สำหรับน้ำใจมิตรภาพ และคอยดูแลน้องๆเสมอมาครับ

ปีใหม่นี้ โชคดีมีความสุขทุกท่านนะครับ สาธุ

67


+++++++++++++++++++++++++



ได้รับความเมตตามาจาก หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดท่าพูด  (รูปปัจจุบัน)

68


กัลปังหาดำ ถือเป็นของทนสิทธิ์มีดีในตัว ชาวประมงมักใช้ในการผูกเรือเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่างๆ
ใช้ทางด้าน กันผี กันคุณไสย์ กันเขี้ยว กันงา
เมื่อนำมาแกะเป็นปลัดขิกแล้วเสกเพื่อเพิ่มพลังแล้วนั้น
ยิ่งสุดยอด ทางด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ อีกด้วย
โบราณจารย์ก็มักใช้กัลปังหามาเกะปลัดขิก เช่น หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แจกแม่ครัวแล้วแม่ครัวทิ้งลงน้ำ แล้วปลัดวิ่งแข่งกะเรือ

ปลัดขิกตัวนี้ เป็นของดีของวัดบางพระ เราเองครับ ไม่ธรรมดาเลยจริงๆป็นของดีที่ไม่ควรมองข้าม

ตัวนี้ได้รับความเมตตามาจากพี่ชายท่านนึง(พี่ราหู)ในเวปเรานี่เองครับ ขอบคุณอีกครั้งนะครับ

69


พระผงวัดจันทรังษี สร้างขึ้นโดย หลวงพ่อแต้ม ปณฑฺโต วัดจันทรังษี จ.อ่างทอง เมื่อปี 2514 โดยหลวงพ่อแต้ม ท่านเคยมาเล่าเรียนที่วัดปากน้ำภาษีเจริญและฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ดังนั้นเมื่อท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทรังษีแล้วพบว่า วัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมท่านจึงได้ดำริที่จะพัฒนาวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ท่านจึงนำความดังกล่าวไปปรึกษาเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ในขณะนั้นเพื่อขอผงวิเศษกลับไปสร้างพระพิมพ์และขออนุญาตนำพระที่สร้างขึ้นดังกล่าวมาเข้าพิธีปลุกเสกพระผงของขวัญวัดป ากน้ำรุ่นสี่ด้วย ครับ โดยพระพิมพ์ของวัดจันทรังษีนี้จำลองมาจาก หลวงพ่อโยก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารของวัด ซึ่งชาวบ้านระแวกนั้นให้ความเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างสูงเนื่องจากในอดีตเคยมีผู้พบเห็นว่าท่านโยกองค์ให้ เห็น และเมื่อปิดทองที่องค์ท่านแล้วปรากฏว่าองค์ท่านนิ่มคล้ายกับเป็นเนื้อคน นั่นเองครับผม ดังนั้นถ้าหาพระปากน้ำรุ้นสี่ไม่ได้ก็หาพระผงวัดจันทรังษี บูชาแทนได้เลยครับผม

เพิ่มเติมข้อมูลจากเครดิต http://romphosai.com/forums/forum10/thread392.html

70
พรุ่งนี้ วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เป็นวันครอบรอบวันเกิดหลวงพี่เก่ง

ข้าพเจ้า ขอกราบมนัสการ ขอให้หลวงพี่มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะครับ

คิดสิ่งใดสมดั่งตั้งใจหวัง มีความสุขมากๆนะครับหลวงพี่ ขอมนัสการ

สาธุ  :054: :054: :054: :054: :054: :054:

72
พระกริ่งเนื้อเงิน พิธีใหญ่ พ.ศ. 2539  หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม
ถือว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่ออกมาเป็นเนื้อเงิน ครับ ขอบคุณครับ





73


กระเบื้องหลังคาโบสถ์ วัดไร่ขิง สร้างขึ้นจากประเทศจีน ในสมัยรัชกาลที่ 3
และได้ทำการบูรณะพระอุโบสถ เลยได้ลื้อกระเบื้องออก ใน พ..ศ. 2530
โดยในจำนวนนึงได้ถูกนำไปวางใว้ใต้ต้นไม้แถวบริเวณวัดโดยไม่ได้มีใครสนใจ

แล้วก็มีนายทหารคนนึงได้ลองยิงกระเบื้อง บริเวณใต้โคนต้นไม้นั้นปรากฏว่ายิงไม่ออก เลยลองยิงขึ้นฟ้าก็ยิงออก
ทำให้ผู้คนได้เห็นและ ทราบข่าว มาขนกระเบื้องกลับบ้านกันไป (เป็นประสบการณ์ที่ได้ฟังมาจากผู้ใหญ่ในพื้นที่ )
โดยทางวัดก็ได้เก็บกระเบื้องอีกจำนวนนึง แจกแก่ให้ผู้ที่มาทำบุญบูรณะพระอุโบสถวัดไร่ขิง (โดยที่บ้านข้าพเจ้าก็ได้ทำบุญมาและได้มาจำนวนนึงไม่มาก)  และทางวัดยังได้นำกระเบื้องนี้เป็นมวลสารผสมในพระเนื้อผงของวัดมาจนถึงปัจจุบัน และในพื้นที่ยังได้มีการนำกระเบื้องไปบูชาใว้บนหิ้ง
และบูชาใว้ในรถยนต์ บางคนก็เอาไปเกะเพื่อแขวนคอ (หากใครเคยไปมนัสการหลวงพ่อไร่ขิง คงเห็นลุง อ.พ.ป.ร.แขวนนะครับ ใหญ่มาก
และพ่อค้าขายน้ำอ้อยแขวนอยู่ ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เหอๆๆ

รูปตัวอย่างลุง อ.ฟ.ป.ร. ที่วัด ครับ  :075:

(ความจริงลุงแก น่าทำทำให้แผ่นเล็กๆ และเกะแขวนก็ได้นะครับ หุหุ  :075: )

ที่มาว่าทำไมคนที่บูชากระเบื้องกัน หากผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะครับ เป็นข้อมูลจากพื้นที่ ครับ

74
คาถาอาคม / คาถาช้างหลงโขลง
« เมื่อ: 17 พ.ย. 2552, 09:43:33 »
นะโม3จบ
อุ อะ มะ สังวัตติสงสาร เอหิใจพาน มามะมะแห่งกู มาเร็วแม่เอยมารัก มาประจำหลัก ทรามรักประจำโขลง มาโรงแม่เวย นางทองอย่าเลือกนางเผือกประไพ มะอยู่มิได้ อะร้องไห้ อุตามกูมา โอมสะวาโหม ติดติด

คาถาบทนี้เสกเป่าของให้คนที่เรากใคร่ปราณถนากินดื่มจะล่มหลงใหลคลั่งไคล้ คิดถึง ...

75
คาถาอาคม / คาถาพญานกการะเวก
« เมื่อ: 17 พ.ย. 2552, 09:38:02 »
นะโม 3 จบ
ชานัง ชานัง ตักขะติ ติชชะธัมมัง อัตตะกัง มะระชาติ โพธิยา สะตังธัมมัง นะโมธัมมัง

คาถาบทนี้ ท่านให้ใช้บริกรรมเมื่อก่อนจะใช้เสียงเทศนา หรือปาฐกถา เสียงจะดี เสียงไม่ตกสม่ำเสมอเป็นที่น่าฟังของคนทั่วไป
ไพเราะเสนาะหู ดีนักแล

76
นะโม 3 จบ
วิ เว สุ เว อะ ยะ เวย  ยะ เส เพ เส วะเส ตะ อะ เส

ใช้คาถานี้เสกน้ำลูบตัว เนื้อจะลื่นเหมือนปลาไหล จับตัวมิอยู่ มัดรัดรึงด้วยโซ่ตรวนเชือกมิอยู่เลย กับทั้งแคล้วคลาด คงทนต่อหอกดาบ
ปืนผาหน้าไม้อีกด้วย ...

77
อิติปิโสธงชัย


อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


อิติปิโสนะวะหอระคุณ


อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู



อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา


อิติปิโสแก้นะวะหอระคุณ


1. อะระหัง อะ(แก้อะระหัง) - อะระกัตตากิเลเสหิ สาวาสะเนหิ สัพพะปูชาระ วิทิโต อะระหังอิติฯ
2. สัมมาสัมพุทโธ สัง(แก้สัมมาสัมพุทโธ) - สัมมา สามัญจะ สัจจานิ พุทโธจะ อัญญะโพธะโน เตเนสะ สัมมาสัมพุทโธ สัพพะธัมเมสุ จักขุมาฯ
3. วิชชาจะระณะสัมปันโน วิ(แก้วิชชาจะระณะสัมปันโน) - วิชชาหิ จะระเณเหสะ สัมมะเทวะสะมาคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน อุตตะโม เทวะมานุเสฯ
4. สุคะโต สุ(แก้สุคะโต) - สัพพะเกลละสัพปะหาเนนะ คะโตสุคะโต กาเยนะ วาจายะ มะนะสา สุคะโต คะโตฯ
5. โลกะวิทู โล(แก้โลกะวิทู) - โลกัง วิภูคะโต สัพพัง ญาเณนัญญาสิ สัพพะกา นาโถโลกัสสะ สัมมาวะ เตนะ โลกะวิทู ชิโนฯ
6. อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ปุ(แก้อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ) - สาเรตา นะระทัมมานัง อะกุปปายะ วิมุตติยัง ตะโต อะนุตตะโร นาโถ ปุริสะทัมมะสาระถิฯ
7. สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะ(แก้สัตถา เทวะมะนุสสานัง) - โลกิเยหิ จะ อัตเถหิ อะโถ โลกุตตะเรหิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง สาสิตาเทวะมานุเสฯ
8. พุทโธ พุ(แก้พุทโธ) - สัมพุชฌิตาจะ สัจจานิ เกลละสะนิททา ปะพุชฌิตา สัพพะโส คุณะวิกาสัมปัตโต พุทโธ นะรุตตะโมฯ
9. ภะคะวา ภุ(แก้ภะคะวา) - ภาเคยะนะ ภะคะธัมเมหิ สะมังคีจาตุโล มุนิ คะรุคาระ วะยุตโตจะ วิสสุโต ภะคะวา อิติฯ


- หัวใจพระอิติปิโส
อะสังวิสุโลปุสะพุภะ (เอาตัวหน้าของอิติปิโสมารวมกัน)


อิติปิโส(เต็มที่)
อิติปิโส ภะคะวา - เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง - เป็นผู้ไกลจากกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ - เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน - เป็นผู้พร้อมด้วยวิชาและจรณะ
อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต - เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู - เป็นผู้รู้โลกแจ่มแจ้ง
อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ - เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า
อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง - เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ - เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ - เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์


อิติปิโส 8 ทิศ 8 ด้าน
- อิติปิโส 8 ทิศ 8 ด้าน เริ่มด้วย "อิ" ไล่ลงมาเป็นแถวที่ 1 แล้วขึ้นแถวใหม่จนจบ
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา (อิ)
ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง (ติ)
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท (ปิ)
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ (โส)
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ (ภะ)
คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ (คะ)
วา โธ โน อะ มะ มะ วา (วา)
อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ (อะ)


- อิติปิโสเรือนเตี้ย (มงกุฎพระพุทธเจ้า)
อิติปิโสวิเสเส อิอิเสเสพุทธะนาเม อิอิเมนาพุทธะตังโส อิอิโสตังพุทธะปิติอิ
หมายเตุ จะมี 32 อักขระ เปรียบเหมือนอาการ 32 ของพระพุทธเจ้า


- อิติปิโส (ตามทิศ)เจ็ดแบก


๑. อิระชาคะตะระสา เรียกว่า กระทู้ ๗ แบก คุ้มทิศบูรพา เสกเป่าพิศสัตว์กัดต่อย
๒.ติหังจะโตโรถินัง เรียกว่า ฝนแสนห่า คุ้มทิศอาคเนย์ บทนี้ทำน้ำมนต์ รดคนเจ็บไข้ได้ป่วย
๓.ปิสัมระโลปุสัตพุธ เรียกว่า นารายณ์เกลื่อนสมุทร คุ้มทิศทักษิน ภาวนากันภูตผีปีศาจ
๔.โสมานะกะริถาโธ เรียกว่า นารายณ์คลายจักร คุ้มทิศหรดี เสกสวด108 คาบทำน้ำมนต์ ไล่ผี หรือคนท้องกินคลอดลูกง่าย
๕. ภะสัมสัมวิสะเทภะ เรียกว่า นารายณ์ขว้างจักรไตรตรึงภพ คุ้มทิศประจิมเสกพรมร่างคนไข้ ไล่ภูพผีปีศาจ
๖.คะพุทปันทูธัมวะคะ เรียกว่า นารายณ์พลิกแผ่นดิน เสกน้ำมนต์ป้องกันผีเจ้าเข้าทรง หรือถูกคุณกระทำชะงักนัก
๗.วาโธโนอะมะมะวา เรียกว่า ตวาดป่าหิมพานต์ คุ้มทิศอุดร เสกด้าย หวาย มีด ข้าวสาร ขับไล่ผี ผีป่าเวลาเดินทาง


๘.อะวิชสุนุตสานุสติ เรียกว่า นารายณ์แปลงรูป คุ้มทิศอีสาน เสกเป่าตัวเอง เวลาออกจากบ้านแคล้วคลาด..



กระทู้เจ็ดแบก อาจารย์จําแนกไว้บูชา เสกข้าวกินทุกวัน อาจป้องกันเครื่องศาสตรา อนึ่งภาวนา แล้วหันหน้าสู่ช้างสาร อาจหักงวงคชา ด้วยพลาอันห้าวหาญ มีกําลังเหลือประมาณ ยิ่งช้างสารอันตกมัน ฤษีทั้ง7องค์ ท่านดํารงอยู่ทิศนั้น เมื่ออภิวันท์ หันพักตร์นั้นทางทิศบูรพา


อาคเนย์ฝนแสนห่า ใช้ภาวนาคราเดินทาง ถึงเดินสิ้นทั้งวัน เรื่องนํ้านั้นอย่าระคาง เสกหมากรับประทานพลาง สิบห้าคําอ้างกินเรื่อยไป แม้นใคร่ให้มีฝน อย่าร้อนรนจงใจเย็น ให้เสกไส้เทียนชัย เสกให้ได้แสนเก้าพัน แล้วให้นึกเทเวศ ผู้เรืองเดชในสวรรค์ อิทรพรหมสิ้นด้วยกัน ตลอดจนถึงชั้นอะกะนิฏฐ์ ฝนก็จะตกหนัก เพราะอารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีโรคอันวิปริต จงพินิจพิจารณา เอาทํานํ้ามนต์ แล้วพรํ่าบ่นด้วยคาถา เสกพ่นสัก7ครา มิทันช้าก็จักหาย อาคเนย์นามทิศศา จงหันหน้าไปโดยหมาย เคารพครูบรรยาย แล้วจึงร่ายคาถาเอย


นารายณ์กลืนสมุทร์ ฤทธิรุททิศทักษิณ เรื่องฝีเกลื่อนหายสิ้น ไม่ต้องกินเสกพริกไทย เจ็ดเม็ดเสกเจ็ดหน แล้วจงพ่นลงทันใด สามครั้งก็จะหาย สมดังใจจํานง อนึ่งใช้เสกปูน สําหรับสูญฝีหัวลง มิช้าฝีก็คง ยุบย่อลงในบัดใด ภาวนาลงกระดาษ อย่าประมาทจงตั้งใจ ฟั่นเทียนเอาทําไส้ เทียนนั้นไซร้หนึ่งบาทหนา ลงคาถาล้อมให้รอบ ตามระบอบอย่ากังขา เท่ากําลังเทวดา ตามชันษาผู้เป็นไข้ แล้วจุดบูชาพระ อย่าได้ละภาวนาไป มิช้าไข้นั้นไซร้ จะหายดังปลิดทิ้ง



หรดีพึงสําเหนียก มีชื่อเรียกเป็นสองอย่าง คือนารายณ์คลายจักรอ้าง กับอีกทั้งพลิกแผ่นดิน มีฤทธิ์และศักดา ทั้งเดชาและโกสินทร์ ภาวนาเป็นอาจิณ ยําเกรงสิ้นเหล่าศัตรู รําลึกแต่ในใจ ข้าศึกไซร้ปืนสู้ หย่อนกําลังพรั่งพรู ไม่คิดสู้เราต่อไป ถึงแม้คนใจกล้า พอเห็นหน้าก็อ่อนไป ครูเฒ่าท่านสอนไว้ แม้สิ่งใดมีประสงค์ สิ่งนั้นพลันต้องได้ สมดังใจจํานง เพราะคาถาเป็นมั่นคง อย่างวยงงจงบูชา คุณครูผู้บรรยาย ท่านเร่ย้ายหรดีทิศา เมื่อจะภาวนา จงหันหน้าทางนั้นเอย



ทิศประจิมนามประหลาด ชื่อตวาดหิมพานต์ มีเดชอันห้าวหาญ ดุจช้างสารไม่กลัวตาย พบช้างและปะเสือ ที่ดุเหลือทั้งโคควาย อีกทั้งโจรดุร้าย ก็อย่าได้นึกกลัวมัน จงนิ่งภาวนา พระคาถาไปฉับพลัน เป็นมหาจังงังอัน วิเศษยิ่งอย่ากริ่งใจ สัตว์ร้ายและคนพาล ไม่อาจหาญเข้ามาใกล้ ให้แคล้วให้คลาดไป จงท่องไว้ทั้งเช้าคํ่า อนึ่งเมื่อภาวนา จงหันหน้าอย่าถลํา ทิศประจิมจงจดจํา ดังแนะนําดังนั้นเอย


พายัพนามทิศ มหิทฤทธิ์นั้นมากนัก ชื่อว่านารายณ์กลืนจักร์ มีฤทธิ์ศักดิ์นั้นย้อนยอก ครูเฒ่าท่านกล่าวมา ถ้าแม้นลูกไม่ออก เอานํ้าใส่ขันจอก แล้วเปล่งออกซึ่งวาจา เสกนํ้าทํานํ้ามนต์ ร้อยแปดหนด้วยคาถา ให้กินอย่ารอช้า พรหมกายาตลอดศรีษ์ บุตรน้อยจะค่อยเคลื่อน ขยัยเขยื้อนเคลื่อนอินทรีย์ เสดาะเสกวารี หากไม่มีนํ้ากระสาย จงเป่าด้วยคาถา ไม่ทันช้าหลุดกระจาย ครูประสิทธิ์บรรยาย ท่านเร่ย้ายอยู่พายัพ เพื่อเป็นการคํานับ ตามตําหรับอาจารย์เอย


นารายณ์ขว้างจักร์นี้เลิศลบ อีกนามหนึ่งตรึงไตรภพ สองชื่อย่อมลือจบ ทั่วพิภพเรืองเดชา ภาวนาสูดลมไป ว่าให้ได้สักสามครา คอยดูที่ฉายา ถ้าเห็นเงาว่าหายไป ครานั้นจงชื่นชม คนนับหมื่นหาเห็นไม่ บังตาหายตัวได้ ครูกล่าวไว้เร่งบูชา หันพักตร์สู่อุดรทิศ แล้วตั้งจิตภาวนา ตามบทพระคาถา ที่กล่าวมาแต่ต้นเอย


อิสานนามแถลง นารายณ์แปลงรูปโดย หมาย ภาวนาอย่าระคาย ศัตรูร้ายแปลกเราไป เมื่อจะเสดาะแล้วไซร้ เสกให้ได้ร้อยแปดคาบ ตั้งใจให้แน่วแน่ ครั้นถ้วนแล้วเป่ากระหนาบ ต้องหลุดอย่างราบคาบ ได้เคยปราบเห็นประจักษ์ ถ้าชอบทางเสน่ห์ ทําเป็นเล่ห์ให้เขารัก นํ้าหอมอย่าหอมนัก จงรู้จักที่อย่างดี แล้วเสกให้บ่อยๆ อย่างน้อยๆ108ที แล้วเก็บไว้ให้ดี ถึงคราวที่จะต้องใช้ เสกอีกสักเจ็ดหน ประกายตนแล้วจึงไป เป็นเสน่ห์แก่ผู้ใช้ ทั้งหญิงชายทุกภาษา ไม่ว่าคนชั้นไหน แต่พอได้เห็นพักตรา ให้รักด้วยเมตตา ประหนึ่งว่าเป็นลูกหลาน แคล้วคลาดเหล่าศัตรู สิ้นทั้งหมู่อันธพาล ครูอยู่ทิศอิสาน จงนมัสการและบูชาเอย


++++++++++++++++++++++++++++++++

อิติปิโสแปลงรูป


กะ วิ โล ทู โต อะ คะ นุต สุ ตะ โน โร ปัน ปุ
สัม ริ ณะ สะ ระ ทัม จะ มะ ชา สา วิช ระ โธ ถิ
พุท สัต สัม ถา มา เท สัม วะ หัง มะ ระ นุส อะ สา
วา นัง คะ พุท ภะ โธ โส ภะ ปิ คะ ติ วา อิ ติ
(เริ่มจากก่อนตัวท้ายสุดหนึ่งตัวมายังจุดเริ่มต้น อ่านสลับตัว)



อิติปิโสตรึงไตรภพ


อิ ติ ติ วา ปิ คะ โส ภะ ภะ โธ คะ พุท วา นัง
อะ สา ระ นุส หัง มะ สัม วะ มา เท สัม ถา พุท สัต
โธ ถิ วิช ระ ชา สา จะ มะ ระ ทัม ณะ สะ สัม ริ
ปัน ปุ โน โร สุ ตะ คะ นุต โต อะ โล ทู กะ วิ
(เริ่มจากจุดเริ่มต้นมายังจุดท้าย อ่านสลับตัว)


อิติปิโสนารายณ์คลายจักร
ติ อิ วา ติ คะ ปิ ภะ โส โธ ภะ พุท คะ นัง วา
สา อะ นุส ระ มะ หัง วะ สัม เท มา ถา สัม สัต พุท
ถิ โธ ระ วิช สา ชา มะ จะ ทัม ระ สะ ณะ ริ สัม
ปุ ปัน โร โน ตะ สุ นุต คะ อะ โต ทู โล วิ กะ
(เริ่มจากจุดถัดจากจุดเริ่มต้นมาจุดท้าย อ่านสลับตัว)



- อิติปิโสถอยหลัง


ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต
ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ
กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ
พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ
(อ่านถอยหลังจากจุดท้ายมายังจุดเริ่มต้น)


อิติปิโสย้ายรูป


อิ ติ คะ วา โธ วิช กะ วิ
ปิ ภะ อะ พุท ชา โล ทู ระ
โส ระ สัม จะ โต อะ สา ถิ
หัง มา ระ คะ นุต มะ สัต นัง
สัม ณะ สุ ตะ ทัม ถา สา พุท
สัม โน โร สะ เท นุส โธ วา
ปัน ปุ ริ วะ มะ ภะ คะ ติ


(จากจุดเริ่มต้นอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางขวาไปยังจุดสุดท้ายจนจบ)


- อิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง
ติ วา พุท นัง ถิ ระ วิ กะ
คะ โธ สา สัต สา ทู โล วิช
ภะ นุส ถา มะ อะ โต ชา โธ
มะ เท ทัม นุต คะ จะ พุท วา
วา สะ ตะ สุ ระ สัม อะ คะ
ริ โร โน ณะ มา ระ ภะ ติ
ปุ ปัน สัม สัม หัง โส ปิ อิ


(จากจุดท้ายสุดอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางซ้ายไปยังจุดเริ่มต้นจนจบ)


- อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหัว


ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง
อะ ทู วิ กะ โล โต สา
นุต สัม มา สัม หัง คะ นุส
ตะ พุท ปิ ติ ระ สุ มะ
โร โธ โส อิ อะ โน วะ
ปุ วิช ภะ คะ วา ปัน เท
ริ ชา จะ ระ ณะ สัม ถา
สะ ทัม มะ สา ระ ถิ สัต


(เริ่มจากตรงกลางอ่านทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปจนถึงขอบจนจบ)


อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหาง


อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา
โต โล กะ วิ ทู อะ อะ
คะ ถา เท วะ มะ นุต ระ
สุ สัต คะ วา นุส ตะ หัง
โน ถิ ภะ ติ สา โร สัม
ปัน ระ โธ พุท นัง ปุ มา
สัม สา มะ ทัม สะ ริ สัม
ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท


(เริ่มจากจุดเริ่มต้นอ่านตามทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปหาตรงกลางจนจบ)


อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์


ปุ ริ มะ นุส ปิ โส ภะ คะ
โร สะ วะ สา ติ ระ จะ วา
ตะ ทัม เท นัง อิ ณะ ชา อะ
นุต มะ ถา พุท ติ สัม วิช ระ
อะ สา สัต โธ วา ปัน โธ หัง
ทู ระ ถิ ภะ คะ โน พุท สัม
วิ กะ โล โต คะ สุ สัม มา


(เริ่มจากตรงกลางไล่ขึ้นบนอ้อมขวาลงล่างเก็บด้านขวาให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นซ้ายแล้วเก็บซ้ายให้หมด)


อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์ถอยหลัง


มา สัม สุ คะ โต โล กะ วิ
สัม พุท โน คะ ภะ ถิ ระ ทู
หัง โธ ปัน วา โธ สัต สา อะ
ระ วิช สัม ติ พุท ถา มะ นุต
อะ ชา ณะ อิ นัง เท ทัม ตะ
วา จะ ระ ติ สา วะ สะ โร
คะ ภะ โส ปิ นุส มะ ริ ปุ
(เริ่มจากตรงกลางไล่ลงอ้อมซ้ายลงล่างเก็บด้านซ้ายให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นขวาแล้วเก็บขวาให้หมด)




อิติปิโสถอยหลัง 3 ห้อง


ติ สา กัส โล ตัง เขต ญัก ปุญ รัง
ตะ นุต อะ โย ณี ระ กะ ลี ชะ
อัญ โย เณย ขิ ทัก โย เนย หุ ปา
โย เนย หุ อา โฆ สัง กะ วะ สา
โต วะ คะ ภะ สะ เอ ลา คะ ปุค
สะ ริ ปุ ฐะ อัฐ นิ คา ยุ สะ
ริ ปุ ริ ตา จัต ทัง ทิ ยะ โฆ
สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ โน
ปัณ ฏิ ปะ จิ มี สา โฆ สัง กะ
วะ สา โต วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ
ปะ ยะ ญา โฆ สัง กะ วะ สา โต
วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ ปะ ชุ อุ
โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ
โน ปัน ฏิ ปะ สุ ติ หี ญู วิญ
โฑ ตัพ ทิ เว ตัง จ้ต ป้จ โก ยิ
นะ ปะ โอ โก สิ ปัส หิ เอ โก
ลิ กา อะ โก ฐิ ทิฏ สัน โม ธัม
ตา วะ คะ ภะ โต ขา สวาก ติ วา
คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ
เท คา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ
ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ
โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ
จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง
ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ

อิติปิโสรัตนมาลา 108 คาถาบท
โดยนำอิติปิโสแบบเต็มมาขยายความหมายของแต่ละคำ


พระพุทธคุณ 56


อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ


(1) อิฏโฐ สัพพัญญุตะญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง
อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง
(2) ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมิ อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง
(3) ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโย พรัหมานะมุตตะโม
ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทะริยัง นะมามิหัง
(4) โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะมาโน สะเทวะเก
โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง
(5) ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา
ภะยะสัตเต ปะหาเสนะโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง
(6) คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง
คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง
(7) วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง
วานะนิพพานะมัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง
(8) อะนิสสาสะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน
อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามัง นะมามิหัง
(9) ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน
รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง
(10) หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง
หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง
(11) สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง
สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง
(12) มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต
มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง
(13) สัญจะยัง ปารมี สัมมา สัญจิตวา สุขะมัตตะโน
สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง
(14) พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชานัง
พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง
(15) โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง
โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง
(16) วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตวา ธัมมะเทสะนัง
วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง
(17) ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต
ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง
(18) จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง
จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง
(19) ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา
ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง
(20) นะมิโตเยวะ พรัหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา
นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง
(21) สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต
สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง
(22) ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก
ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง
(23) โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหัง
(24) สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน
สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง
(25) คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง
คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง
(26) โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง
(27) โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร
โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง
(28) กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน
กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถะสัณหัง นะมามิหัง
(29) วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว
วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง
(30) ทูเส สัตเต ปะกาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาเสติ
ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง
(31) อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม
อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง
(32) นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง
นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง
(33) ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง
ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง
(34) โรเสนเต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ
โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง
(35) ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปารมี
ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง
(36) ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ
ริตติ กัมมัง น กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง
(37) สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน
สยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง
(38) ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตวา สะเทวะกัง
ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทะริยัง นะมามิหัง
(39) มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ
มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทโธ นะมามิหัง
(40) สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง
สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง
(41) รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง
รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง อะระหันตัง นะมามิหัง
(42) ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก
ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง
(43) สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สัจจะนิพพานะปาปะกัง
สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง
(44) ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ
ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง
(45) เทนโต โย สัตตะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง
เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง
(46) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง
วันทิตัง เทวะพรัหเมหิ วะรัง พุทธัง นะมามิหัง
(47) มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา
มะนุสสะเทวะพรัหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง
(48) นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง
นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง
(49) สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง
สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง
(50) นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ
นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง
(51) พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง
พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง
(52) โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน
โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง
(53) ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก
ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง
(54) คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง
คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง
(55) วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง
วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง
(56) ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต
ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง
(57) ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
(ต่อ)


พระธรรมคุณ 38


สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
(1) สะวาคะตันตัง สิวัง รัมมัง สะวานะยัง ธัมมะเทสิตัง
สะวาหุเนยยัง ปุญญักเขตตัง สะวาสะภันตัง นะมามิหัง
(2) ขาทันโต โย สัพพปาปัง ขายิโต โย จะ มาธุโร
ขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง
(3) โตเสนโต สัพพะสัตตานัง โตเสติ ธัมมะเทสะนัง
โตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง
(4) ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห อะนุตตะโร
ภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง
(5) คัจฉันโต รัมมะเก สิเว คะมาปิโต สะเทวะเก
คัจฉันเต พรัหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง
(6) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง
วันตัง พาละมิจฉาทีนัง วันตะคันถัง นะมามิหัง
(7) ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง ตาเรสิ โอริมัง ติรัง
ตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง
(8) ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง
ธะเรติ อะมะตัง ฐานัง ธาเรนตันตัง นะมามิหัง
(9) โมหัญเญ ทะมันโต สัตเต โมหะชิเต อะการะยิ
โมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง
(10) สัพพะสัตตะตะโมนุโท สัพพะโสกะวินาสะโก
สัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง
(11) ทิฏเฐ ธัมเม อะนุปปัตโต ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต
ทิฏเฐ ทะวาสัฏฐิ ฉินทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง
(12) ฐิติสีละสะมาจาเร ฐิติเตวะสะธุตังคะเก
ฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง
(13) โกกานัง ราคัง ปิเฬติ โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ
โกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง
(14) อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ
อัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตังวะ นะมามิหัง
(15) กาเรนโต โย สิวัง รัชชัง กาเรติ ธัมมะจาริเย
กาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง
(16) ลิโต โย สัพพะทุกขานิ ลิขิโต ปิฏะกัตตะเย
ลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง
(17) โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ
โก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง
(18) เอสะติ พุทธะวะจะนัง เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง
เอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะนันตัง นะมามิหัง
(19) หิเน ฐาเน นะ ชายันเต หิเน โถเมติ สุคะติง
หิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง
(20) ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก
ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง
(21) สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง
(22) โก โส อัคคะปุญโญ พุทโธ โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ
โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง
(23) โอภะโต สัพพะกิเลสัง โอภัญชิโต สัพพาสะวัง
โอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง
(24) ปัญญา ปะสัฏฐา โลกัสมิง ปัญญา นิพเพธะคามินี
ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง
(25) นะรานะระหิตัง ธัมมัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง
นะรานัง กามะปังเกหิ นิมิตันตัง นะมามิหัง
(26) ยิชชะเต สัพพะสัตตานัง ยิชชะเต เทวะพรัหมุนี
ยิชชิสสะเต จะ ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง
(27) โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง โกธะโกธัญจะ นาสะติ
โกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง
(28) ปะปัญจาภิระตา ปะชา ปะชะหิตา ปาปะกา จะโย
ปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง
(29) จะริตวา พรัหมะจะริยัง จัตตาสะโว วิสุชฌะติ
จะชาเปนตังวะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง
(30) ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ สัพพะวิริยัง
ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง
(31) เวรานิปิ นะ พันธันติ เวรัง เตสูปะสัมมะติ
เวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง
(32) ทีฆายุโก พะหูปุญโญ ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล
ทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง
(33) ตะโต ทุกขา ปะมุญจันโต ตะโต โมเจติ ปาณิโน
ตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโต โมกขัง นะมามิหัง
(34) โพธิ วิชชา อุปาคะมิ โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ
โพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง
(35) วิระติ สัพพะทุกขัสมา วิริเยเนวะ ทุลละภา
วิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง
(36) ญูตัญญาเณหิ สัมปันนัง ญูตะโยคัง สะมัปปิตัง
ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง
(37) หีสันติ วัพพะโทสานิ หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ
หีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง
(38) ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง
(39) อัฏฐัตติงสะ ธัมมะคาถา ธัมมะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
(ต่อ)


พระสังฆคุณ 14


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(1) สุทธะสีเลนะ สัมปันโน สุฏฐุ โย ปะฏิปันนะโก
สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง
(2) ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร
ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง
(3) ติตถะกะระชิโต สังโฆ ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน
ติตถิโย พุทธะวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง
(4) ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร ปัญญะวา จะ อะวังกะโค
ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง
(5) โน เจติ กุสะลัง กัมมัง โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โนนะตัง พุชฌะตัง ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง
(6) ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง
ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง
(7) คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ
คะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นะมามิหัง
(8) วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง วัณเณติ สีละสัมปะทัง
วัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง
(9) โตเสนโต เทวะมานุสเส โตเสนโต ธัมมะมะเทสะยิ
โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง
(10) สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน สาสันโต สิวะคามินัง
สาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง
(11) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง
วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง
(12) กะโรนโต สีละสะมาธิง กะโรนโต สาระมัตตะโน
กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง
(13) สังสาเร สังสะรันตานัง สังสาระโต วิมุจจิ โส
สังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง
(14) โฆระทุกขักขะยัง กัตวา โฆสาเปติ สุรัง นะรัง
โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง
(15) จะตุททะสะ สังฆะคาถา สังฆะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
ฉัปปัญญาสะ พุทธะคุณา ธัมมะคุณา อัฏฐะติงสะติ
สังฆะคุณา จะตุททะสะ อัฏฐุตตะระสะเต อิเม
ทิเน ทิเน สะระเตปิ โสตถี โหนติ นิรันตะรันติ
(จบ)

+++++++++++++++

อานุภาพแห่งรัตนมาลา
(1) - อิ จงหมั่นภาวนา ป้องกันศัสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทำให้แคล้วคลาด
นิราศไพรี สิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา
(2) - ติ ถึงบทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา
ทั้งปอปทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน
(3) - ปิ ภาวนานึก สติตรองตรึก อย่าทำใจร้อน สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์
ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา
(4) - โส ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าร้าย
ศัตรูทั้งหลาย แคล้วคลาดห่างไกล
(5) - ภะ จงภาวนา กันโรคโรคา ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาด มิอาจทำได้ พินาศยับไป
ด้วยพระคาถา
(6) - คะ ถ้าหมั่นภาวนา โรคภัยโรคา ไม่มาย่ำยี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี
มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา
(7) - วา บทนี้ดีล้ำ ภาวนาซ้ำๆ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนีอู้ ไม่คิดต่อสู้
ออกได้หายไป
(8) - อะ ให้ภาวนา กันเสือช้างมา ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง สิ้นทั้งชบวน
จระเข้ประมวล สัตว์ร้ายนานา
(9) - ระ ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้ มิให้เข้ามา
ถูกต้องกายา พินาศสูญไป
(10) - หัง ให้ภาวนา ในเมื่อเวลา เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู ใจหู่ครั่นคร้าม
ไม่คิดพยายาม ทำร้ายเราแล
(11) - สัม ภาวนาตรึก ช่างดีพิลึก ท่านให้รำพัน เมื่อจะเข้าสู่ เหล่าศัตรูสรรพ์
หมดสิ้นด้วยกัน พ่ายแพ้ฤทธี
(12) - มา ภาวนาไว้ ถ้าหมั่นเสกไซร้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรงมี
ใจอ่อนทันที ไม่เย่อไม่หยิ่ง
(13) - สัม สำหรับบทนี้ ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริงจริง สำหรับเสกยา ปัญญาดียิ่ง
สุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน
(14) - พุท ภาวนาไป เสนียดจัญไร มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรไร ก็ไม่คะคาน
แสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา
(15) - โธ ภาวนาไว้ กันเสือช้างได้ ทั้งสุนัขหมา ใช้ป้องกันภัย สัตว์ร้ายนานา
ไม่อาจเข้ามา ย่ำยีบีทา
(16) - วิช สำหรับบทนี้ คุณาย่อมมี อดิเรกนานา กับพวกศัตรู เหล่าหมู่พาลา
ไม่อาจเข้ามา หลบหน้าหนีไป
(17) - ชา ภาวนากัน คุณไสยอนันต์ ทำมามิได้ จงหมั่นภาวนา อย่าได้สงสัย
อาจารย์กล่าวไว้ ดังได้อ้างมา
(18) - จะ บทนี้ดีล้น เสกทำน้ำมนต์ รดเกล้ากายา เสกมะกรูดส้มป่อย
ถ้อยความมีมา ใข้สระเกศา ถ้อยความสูญไป
(19) - ระ ภาวนานั้น ศัตรูอาธรรพ์ สรรพโพยภัย กันได้หลายอย่าง ทั้งเสนียดจัญไร
ภาวนาไว อย่าได้กังขา
(20) - ณะ บทนี้บทเอก มีคุณเอนก สุดจะพรรณนา ระงับดับโศก กันโรคผีห่า
อันจะมาคร่า ชนมายุไป
(21) - สัม สำหรับบทนี้ ท่านอาจารย์ชี้ แนะนำกล่าวไว้ ใช้เป็นเสน่ห์ สมคะเนดังใจ
อย่าได้สงสัย ดียิ่งนักหนา
(22) - ปัน บทนี้สามารถ กันภูติปีศาจ ไม่อาจเข้ามา หลอกหลอนเราได้ ท่านใช้ภาวนา
จงได้อุตส่า ท่องให้ขึ้นใจ
(23) - โน บทนี้ภาวนา ป้องกันฟ้าผ่า และช้างม้าร้าย มีจิตจำนง ประสงค์สิ่งใด
ลงของก็ได้ ใช้ตามปรารถนา
(24) - สุ ภาวนากัน คุณว่านยาอัน เขากระทำมา กับทั้งอาวุธ และเครื่องศัสตรา
แม้ถูกกายา ก็มิเป็นไร
อนึ่ง ถ้าแม้นว่า มีความปรารถนา บังคับเขาให้ อยู่ในโอวาท อนุศาสน์ไรไร
ภาวนาเรื่อยไป เขาจะเกรงกลัว
(25) - คะ ให้ทำน้ำมนตร์ บริกรรมพร่ำบ่น อย่าได้เมามัว ประพรมสินค้า จงอย่ายิ้มหัว
กำไรเกินตัว อย่ากลัวขาดทุน
(26) - โต ภาวนาเสก มีคุณอย่างเอก เข้าหาเจ้าขุน มูลนายพระยา เมตตาอุดหนุน
โปรดปรานการุณย์ เพราะคุณคาถา
(27) - โล ภาวนาเป่า ศัตรูทุกเหล่า แม้กริ้วโกรธา แต่พอได้เห็น เอ็นดูเมตตา
ปรานีนักหนา ดุจญาติของตน
(28) - กะ เอาข้าวสารมา แล้วภาวนา เสกให้หลายหน เสร็จแล้วซัดไป ไล่ผีบัดดล
หนีไปไกลพ้น ไม่มาราวี
(29) - วิ เสกขมิ้นและว่าน เสกข้าวรับประทาน อยู่คงอย่างดี อีกอย่างหนึ่งไซร้
ใช้ไล่ขับผี ภูตพรายไม่มี สิงสู่กายา
(30) - ทู ภาวนาบทนี้ เมตตาปรานี ไม่มีโทสา หญิงชายทั้งหลาย รักใคร่หนักหนา
ห่างภัยนานา สิ้นทุกข์สุขใส
(31) - อะ จงหมั่นตรองตรึก มั่นพินิจนึก ภาวนาไป ศัตรูเห็นหน้า เมตตารักใคร่
ภาวนาไว้ เป็นศุภมงคล
(32) - นุต บทนี้ดีเหลือ ให้ใช้ในเมื่อ ถึงความอับจน ป้องกันผู้ร้าย โรคภัยเบียดตน
พินาศปี้ป่น ไม่ทนรบกวน
(33) - ตะ ภาวนาเสก ปลุกตัวและเลข ว่านยาทั้งมวล อนึ่งใช้เสก เครื่องคาดก็ควร
เมื่อรณศึกล้วน เป็นสิริมงคล
(34) - โร ภาวนาใช้ ในยามครรไล จากด้าวถิ่นตน ทั้งใช้ปลุกเสก ซึ่งเครื่องคงทน
อย่าได้ฉงน แก้กันสรรพภัย


(35) - ปุ บทนี้ศักดิ์สิทธิ์ ภาวนากันพิษ สัตว์ร้ายทั้งหลาย ตะขาบแมลงป่อง
หากต้องเหล็กใน จงภาวนาไป พิษห่างบางเบา
(36) - ริ บทนี้ภาวนา รุ่งเรืองเดชา อำนาจแก่เรา ทั้งหญิงและชาย พอได้เห็นเข้า
ครั่นคร้ามไม่เบา เมื่อเข้าสมาคม
(37) - สะ ภาวนาทุกวัน หมู่เทพเทวัญ ชวนกันระดม พิทักษ์รักษา โดยเจตนารมณ์
มิให้ระทม เดือดเนื้อร้อนใจ
(38) - ทัม บทนี้ภาวนา สำหรับเสกผ้า โพกเศียรครรไล เจริญราศี สวัสดีมีชัย
เสกเจ็ดทีไซร้ แปลงรูปบัดดล
(39) - มะ อาจารย์กล่าวไว้ ให้เสกดอกไม้ ทัดหูของตน มีสง่าราศี สวัสดีมงคล
เสน่ห์เลิศล้น แก่คนทั่วไป
(40) - สา ภาวนาให้มั่น กันฝังอาถรรพ์ เวทมนตร์ทั้งหลาย อีกกันกระทำ มิให้ต้องกาย
อีกอาวุธร้าย เมื่อเข้ารณรงค์
(41) - ระ ใช้ภาวนา ป้องกันสัตว์ร้าย เสือช้างกลางดง ทั้งควายและวัว กระทิงตัวยุ่ง
ไม่กล้าอาจอง ตรงเข้าราวี
(42) - ถิ บทนี้กล้าหาญ เสกข้าวรับประทาน คงกระพันชาตรี ศัตรูหมู่ร้าย ไม่กล้าราวี
เป็นสง่าราศี ไม่มีศัตรู
(43) - สัต เมื่อจะใส่ยา จงได้ภาวนา ตามคำของครู ป้องกันโจรร้าย ไม่มีศัตรู
ที่จะมาขู่ ข่มเหงน้ำใจ
(44) - ถา ภาวนานึก เมื่อจะออกศึก สงครามใดใด แคล้วคลาดศัสตรา ไม่มาต้องได้
คุ้มครองกันภัย ได้ดีนักหนา
(45) - เท บทนี้ก็เอก สำหรับใช้เสก ธูปเทียนบุปผา บูชาเทพเจ้า พุทธธรรมสังฆา
จะมีสง่า ราศีผ่องใส
(46) - วะ บทนี้ยิ่งดี ใช้เสกมาลี สิบเก้าคาบไซร้ เอามาทัดหู คนดูรักใคร่ บูชาพระไซร้
ย่อมเป็นมงคล
(47) - มะ เมื่อลงนาวา ขับขี่ช้างม้า ยาตราจราดล หรือขึ้นเรือนใหม่ อย่าได้ฉงน
เสกสิบเก้าหน จะมีเดชา
(48) - นุส ภาวนาบ่น ประเสริฐเลิศล้น อย่าได้กังขา ชนช้างก็ดี หรือขี่อาชา
มีเดชแกล้วกล้า ไชยาสวัสดี
(49) - สา บทนี้ดีมาก เมื่อจะกินหมาก เสกสิบเจ็ดที ทั้งแป้งน้ำมัน จวงจันทร์มาลี
ทัดกรรณ์ก็ดี มีเสน่ห์ยิ่งยง
(50) - นัง บทนี้เลิศล้ำ เสกลูกประคำ สังวาลย์สวมองค์ ตะกรุดพิสมร สิบเก้าคาบตรง
มีเดชมั่นคง ราศีผ่องใส
(51) - พุท ภาวนาบทนี้ เมื่อจะจรลี สู่บ้านเมืองไกล ป้องกันสรรพเหตุ ภัยเภทใดใด
มีคุณยิ่งใหญ่ แก่ผู้ภาวนา
(52) - โธ บทนี้เป็นเอก สำหรับปลุกเสก เครื่องรางนานา ประสิทธิ์ทุกอย่าง อีกทั้งเงินตรา
จงเสกอย่าช้า เจ็ดทีบันดาล
(53) - ภะ บทนี้ดีล้นค่า ใช้เสกศัสตรา อาวุธคู่ตน นิราศผองภัย ไม่ต้องสกนธ์
เสกสิบเก้าหน ตนจะอาจหาญ
(54) - คะ บทนี้ภาวนา เมื่อจะเข้าหา สมณาจารย์ ท่านมีเมตตา กรุณาสงสาร
ล้วนมงคลการ ประเสริฐเลิศล้น
(55) - วา เข้าหาขุนนาง แม้ใจกระด้าง โอนอ่อนบัดดล จงได้ภาวนา ท่านเมตตาตน
กรุณาล้นพ้น อย่าแหนงแคลงใจ
(56) - ติ ภาวนาบทนี้ เหมือนดังมณี หาค่ามิได้ เจริญทุกวัน ป้องกันโรคภัย
ทุกข์โศกกษัย สูญหายสิ้นเอย
++++++++++++++++++++++++

อิติปิโสคุ้มแก้ว เดินหน้า ถอยหลัง

1.อะระหัง อะระหัง

2.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ - สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

3.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน -วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

4.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต - สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

5.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู - โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

6.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ - อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทูสุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

7.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง - สัตถา เทวะมะนุสสานังอะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธอะระหัง

8.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ - พุทโธ สัตถาเทวะมะนุสสานัง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโนสัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

9.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา - ภะคะวาพุทโธ สัตถา เทวะมะนุสสานัง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโตวิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

***อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโนสุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธภะคะวา***


พระคาถาอิติปิโสสร้อยสน
.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
๒.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง วิชชาจะระณะสัมปัณโณ
๓.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สุคะโต
๔.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง โลกะวิทู
๕.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง อะนุตตะโร
๖.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง ปุริสะทัมมะสาระถิ
๗.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สัตถาเทวะมะนุสสานัง
๘.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง พุทโธ
๙.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง ภะคะวาติ



จักกล่าวอุปโท พระอิติปิโสสร้อยสนโดยย่อ


บทต้น ชื่อกระต่ายแฝงคอ ไปสงครามพึงพอ บริกรรมพร่ำต่อ ๑๗คาบ แล้วให้ภาวนาแม้นมาตรว่าปืนยิงมา บ่ถูกกายา ปลายเส้นเกศาโลมานั้นบ่ได้ชดเชย



บทสอง ชื่อฝนแสนห่ารำเพย แม้นต้องขื่อคาท่านเอ๋ยสะเดาะ ๑๓ คาบโดยหมาย โซ่ตรวนขื่อคากระจาย ทะลักทะลายด้วยเดชะพระพุทธมนต์



บทสาม ชื่อกลิ่นไตรภพจบสกล ยามเมื่อเดินหนประจัญหนามขวากอาดูร ให้ชุบ ๑๕ คาบโดยตรา ถ้าเข็บแมลงป่องหิงสาปลาดุกแสยงกล้า ให้ชุบ ๘ คาบโดยหมาย ถ้าทำเสน่ห์หญิงชาย เอาแป้งน้ำมันหอมโดยหมาย สามเจ้ามาทำโดยมี ๗ คาบทาที่เข้ามาชมเชย ย่อมเป็นเสน่หาท่านเอ๋ย บ่ได้ละเลย ชมเชยเสน่หาอาลัย

บทสี่ ท่านกล่าวไว้ใหม่ ชื่อว่าการใหญ่จะไปรบศึกโดยตรา ให้ชุบด้วยพระคาถา ๑๗ คาบมาได้โดยดังใจถวิล ร่ายมนต์พ่นไปไขว้ขวินแล่นแยกแตกไปสิ้นไพรี หนึ่งเล่าชุบตัวให้ใหญ่เรี่ยวแรงแข็งดี เอาขมิ้นอ้อยโดยมี มาเสกตามกำลังวัน ๑๖ คาบใหญ่โตมหันต์ ครั้นแล้วจึงกลั้นใจฝนทา ทั่วตัวตนเหมือนหนึ่งกล่าวไว้โดยตรา รูปร่างใหญ่โตหนักหนา คนเห็นตกประหม่า ข้าศึกสยดสยองขน>


บทห้า ชื่อกระทู้ ๗ แบกฤทธิรณ ทิ้งขว้างกลางหนบ่ต้องกายาหม่นหมอง ท่านให้ชุบ ๓๒ คาบแล้วโดยปอง ลงในน้ำโดยตราให้เอาไม้แทงกายา คลาดเส้นเกศาบ่หวาดไหวกายี มูลนายขึ้งโกรธแสนทวี จะเอาไปทุบตี จำจองเฆี่ยนขับสารพัน เจ้านายให้ฆ่าฟัน เสกแป้งน้ำมัน ๙ คาบแล้วทาอาตมา เห็นหน้าหายความโกรธา ทำเสน่ห์นั้นหนา ให้เอาหมากมาที่บนทะลายโดยจง ทำเป็นแมลงภู่แล้วลงชื่ออันประสงค์ ในปีกแมลงภู่อย่าคลา ท่านให้ชุบด้วยพระคาถา ๑๗ คาบนา ปล่อยแมลงภู่ไปโดยประสงค์ ถ้าแม้นมิมาหาโดยตรง คลั่งคลาบ้าหลง ถึงเจ้าแมลงภู่พิศวาส

บทหกชื่อกลืนอากาศ ฤทธาสามารถ ถ้าจะดำผุดล่องหน สำนึกถึงเพทอากาศไพชยนต์ เอาขมิ้นมาฝนแล้วชุบถ้วน ๓๒ คาบแล้วให้ได้ดังใจปองอย่าได้เศร้าหมองทาตัวให้ทั่วอินทรีย์ ถ้าว่าเล่นมวยปล้ำดี ให้ระงับอินทรีย์ชุบ ๑๔ คาบอย่าครา ท่านให้กำกราบกายา สุขจิตจินดา ให้ตั้งปรารถนานึกกระสัน ถ้าเขาหาความเรานั้นเอาขี้ผึ้งอันหนัก ๖ บาทอย่านาน เอากระดาษลงชื่อคนพาล เป็นใส่เทียนฐาน ตามถวายพระห้ามมารด้วยดี แล้วนั่งภาวนาตามที่ตามอาจารย์จนสิ้น
เทียนอย่าคลายแล้วเอาผงเทียนนี้ไว้ ขย้ำน้ำโดยหมาย ถ้อยความสูญหายบ่มินาน


บทเจ็ด ชื่อปราบจักวาล ตามคำอาจารย์ จักเล่นพนันขันตี ให้ชุบมนต์นี้ ๓๒ คาบโดยมี แล้วให้เสกซ้ำน้ำมัน ๓๐ ทีแล้วด้วยพลันทาทั่วกายา เล่นปล้ำตีเถิดนา บ่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เป็นสวัสสัตถาไชยา มูลนายขึ้งโกรธโทษทัณฑ์ จะให้หายโกรธนั้นจึงเอาน้ำมันมา ๓๗ คาบเสกด้วยคาถา แล้วใส่เกศาประไปให้ทั่วกายี ครั้งท่านเห็นหน้ายินดี รักดิ้นสิ้นดี คือบุตรอุทรเกิดกาย ถ้าจะทำเสน่ห์หญิงชาย เอาขมิ้นมาหมาย ฝนเสก ๑๒ คาบทาตัวโดยปอง ไปในบ้านช่องหญิงเห็นชอบใจนารี หญิงชายในบ้านทั้งนี้รักดิ้นสิ้นดี งวยงงหลงใหลหายเดือดดาน เอาใบมะขามมาอย่านานกำหนึ่งประมาณ เสก ๒๗ คาบพลันทันใจสำเร็จเป็นหุ่นเหาะระเห็จและคนธรรพ์ทันใด ถ้าจะใช้สิ่งอันใดทำการอะไรก็ได้เสร็จสิ้นทุกอัน ถ้าจะให้สู้รบขยันทำได้ทุกอัน รบพุ่งแข็งขันฟันแทงประเสริฐฤทธิล้ำซ้ำแข็ง เอาไมทำรูปเสือแดง ฤทธิล้ำซ้ำแข็ง ชุบด้วยมนต์ปราบจักวาล ๓๗ คาบประมาณ ตามคำอาจารย์เสร็จแล้วจึงให้ปล่อยไป ฤทธากล้าหาญชาญชัย พ่วงพีโตใหญ่ สีหนาทคำรน>

บทแปด ชื่อสูบสมุทรอลวล ให้ข้าศึกสยองขน เอาปฐพีดลมาเสก ๒๘ คาบด้วยใจ ดินนั้นกลับกลายทันใด เป็นต่อแตนไปไล่ข้าศึกแตกหนี ถ้าจักประดาน้ำวารี ให้แห้งเหือดดี เอาหวายตะค้าขนาดตีคน มาลงคาถาสถาผล สูบสมุทรประจญ ชุบด้วยพระมนต์ ๑๗ คาบงามตามมี เอาหวายนั้นฟาดตี สาครชลธีนั้นก็แห้งเหือดหาย

บทเก้า ชื่อสมุทรเกลื่อนกระจาย อาจารย์ว่าไว้ แม้นว่าถ้าปรารถนาบ้านเมือง อย่าได้แค้นเคือง เอาถั่วเขียวมาประมาณให้ได้กำมือ เสกคาถานี้คือสมุทรเกลื่อนฤๅ ให้ได้ ๑๐๘ คาบโดยหมายเอาถั่วนั้นโปรยปราย ในเมืองทั้งหลาย ก็ยกเมืองให้แก่เรา
++++++++++++++++++++++++++

อิติปิโสหูช้าง



พุทโธ อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวาติ อิติปิโสภะคะวา อรหังอิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทธ



อิติปิโสถอด


อิปิภะวาระสัมสัมโธ
ชาระสัมโนคะโลวิอะ
ตะปุสะมะระสัตเทมะ
สาพุทภะวาติคะโธนัง
นุสวะถะถิสาทัมริโร
นุตทูกะโตสุปัน
ณะจะวิพุท
มาหังอะคะโสติ


พระคาถาอิติปิโสถอดนี้ มีคุณอันมาก เมื่อภาวนาเข้านอน3ที สารพัดศัตรูทำร้ายมิได้เลย ถ้าภาวงนาเช้าที1 หัวค่ำที1 เที่ยงคืนที1 บุคคลผู้นั้นอยู่มิรู้อดอาหารเลย เป็นสวัสดีมงคลแก่ผู้นั้นอยู่สุขสำราญแล อายุยืนได้84000ปี เมื่อเข้านอน ปลุกหมอนทุกวัน ศัตรูทำร้ายเรามิได้เลย บังเอิญให้รู้สึกตัวก่อน ให้เสกน้ำล้างหน้าทุกวัน กันเสนียดจัญไร คุ้มผีชมบ 12 จำพวก กันได้สารพัด เสกข้าวกินทุกวันถึงสามเดือน คงถึง7ปี คงจนกระดูกเผาไปมิไหม้ ถ้าจะให้คงทั้งเรือนเอาดินสอพองมาทำเป็นผงเสกด้วยตนเอง 108 แล้วจึงใส่โอ่งข้าวสารเสกด้วยตนเอง108คาบ หญิงชายใดได้กินคงจนตายแล ให้ลงใส่แผ่นตะกั่วเสก108คาบใส่โอ่งน้ำกินคงทั้งเรือน กันคุณคนคุณผีทุกประการแล ถ้าถูกจองจำไว้ในคุกก็ดี ให้ภาวนาคาถานี้108คาบลุ่ยหลุดสิ้นแล ประตูก็เผยออก ถ้าแม้นมีช่องแต่เพียงมือก็ลอดไปได้แล



อิติปิโสพระเจ้า 5 พระองค์




อิติปิโส ภะคะวา นะ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิอิ
อิติปิโส ภะคะวา โม ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง ปิจังงัง วา โสภะคิปิอิ


อิติปิโส ภะคะวา พุทธ์ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิติอิ
อิติปิโส ภะคะวา ธา ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิติอิ
อิติปิโส ภะคะวา ยะ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา นะจังงัง วา โสภะคะปิติอิ




เมื่ออยู่กลางดงเสือสิงห์กระทิงแรด
หมั่นภาวนาพระคาถานี้ ศัตรูไม่รบกวนเลย



อิติปิโสนพเคราะห์
(อาทิตย์) อิติปิโสภะคะวา พระอาทิตย์เทวา



วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ โมระปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (อะ วิช สุ นุต สา นุต ติ 6 จบ)






(จันทร์) อิติปิโสภะคะวา พระจันทร์เทวา


วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ อถัยยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา 15 จบ)








(อังคาร) อิติปิโสภะคะวา พระอังคารเทวา


วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ กะระณียะเมตตาสุตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง 8 จบ)








(พุธ) อิติปิโสภะคะวา พระพุธเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ โพชฌังคะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท 17 จบ)






(เสาร์) อิติปิโสภะคะวา พระเสาร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ อังคุลิมาละปะริตตังมังรักขันตุ สัพพะทา

(โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ 10 จบ)






(พฤหัสบดี) อิติปิโสภะคะวา พระพฤหัสบดีเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ รัตตะนะสุตตัง อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ วัฏฏะกะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ 19 จบ)






(ราหู) อิติปิโสภะคะวา พระราหูเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ สุริยะจันทะพุทธะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ 12 จบ)






(ศุกร์) อิติปิโสภะคะวา พระศุกร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ ธะชัคคะ สุตตัง อะระหัง สุคะโต ภะคะวา อาฏานาฏิยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(วา โธ โน อะ มะ มะ วา 6 จบ)






(พระเกตุ) อิติปิโสภะคะวา พระเกตุเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ ชะยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(อะระหัง สุคะโต ภะคภวา 6 จบ)






อิติปิโสนพเคราะห์ ใครเจริญภาวนาได้ตลอดชีวิตเป็นมหามงคลเพราะรวม กำลังพุทธคุณ บุญญานุภาพ พุทธปริตร บารมีเทพนพเคราะห์ และ วิชาศักดิ์สิทธิ์ เข้าด้วยกันเป็นการสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา สิริมงคลชีวิตได้ดีมากเคราะห์ร้ายกลายเป็นดี เคราะห์ดีก็ดียิ่งขึ้นไป สวดแล้วภาวนาคาถาในวงเล็บ ตามกำลังวันจนครบทั้ง 9 องค์ ถ้าให้สมบูรณ์ ควรเจริญ วิชาธาตุศักดิ์สิทธิ์ พระคาถาอื่น และแพร่เมตตา ตามลำดับเป็นที่สุดซึ่งแบบสมบูรณ์นี้ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง นอกจากนั้นสวดทุกวันสวดเฉพาะบทอิติปิโสนพเคราะห์ 9 องค์ก็ยิ่งดี





พระคาถาอิติปิโสผิด

อิตินะ โมอิติ ปิวาพุท ธาภะโส ภะสะยะ ยะระคะ วาชาทา พุทโธอะ ระสะโม นะระหังฯ
+++++++++++


ที่มา จากเวปhttp://board.palungjit.com/f17/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA-153820.html

78
ข้าพเจ้า เอ็มเมืองไร่ขิง  ขอเลิกเหล้าเลิกเบียร์ และน้ำมึนเมาทุกชนิดตลอดชีวิต ถวายแด่หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงปู่เปิ่น และพระเกจิอาจารย์ พระอาจารย์ ที่เคารพทุกรูป ตลอดครูบาอาจารย์ พระเจ้าแผ่นดิน และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย  เจ้ากรรมนายเวร

ขอให้สิ่งไม่ดี  เรื่องไม่ดีอันใด โปรดหายไปด้วยเถิด

ขออนุญาติ บันทึกเพื่อเป็นพยานหลักฐาน ณ เวปบอร์ดแห่งนี้ สาธุ

ขอบคุณครับ




79
พอดีไปค้นเจอไม่แน่ใจแท้หรือป่าว มีกากเพรชด้วย เหอๆๆๆๆ งง

ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ  :054: :054: :054: :054:




หลวงพ่อเต๋ รุ่นมูลนิธิ

80
ด้วยความเมตตาจากหลวงพี่ญา ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ครับ :054: :054: :054:





ฝากนำรูปมาแบ่งกันดูครับ กระผมไม่เค่ยได้เข้ามาเล่นบอร์ดซักเท่าไหร่ หากไม่ได้กดขอบคุณให้ ขออภัยด้วยนะครับ

81


กราบมนัสการและขอบพระคุณ หลวงพี่ตูน หลวงพี่ญา หลวงพี่เก่ง ด้วยนะครับที่เมตตาครับ  :054:

ขอบคุณพี่เอ เพื่อนต้น และพี่บอลด้วยนะครับ

ยันต์จูงนาง งานเข้าครับ

82


หนังหลวงพ่อวัดไร่ขิง หรือแผ่นรักปิดทอง

แผ่นรักปิดทองออกของหลวงพ่อวัดไร่ขิง คือของดีที่ชาววัดไร่ขิงศรัทธา

โดยแผ่นรักนี้ มีอายุราวๆ 100 กว่าปี  
และได้ทำการลอกออกครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 เพียงเล็กน้อยโดยบังเอิญ
และได้ทำการลอกครั้งใหญ่เพื่อบูรณะองค์หลวงพ่อเมื่อปี พ.ศ. 2530
ซึ่งตอนนี้ไม่มีแล้วครับ  ถือเป็นของหายาก

โดยทางวัดได้ทำเป็นชนวนมวลสารในการสร้างพระเนื้อผง
แต่จะมีเพียงบางรุ่นซึ่งไม่เกิน 3 รุ่น ที่แผ่นทองรักเต็มแผ่นติดอยู่ด้านหลัง และสร้างน้อย ดั่งในรูปภาพ

โดยก็ทราบกันดีแผ่นรักที่ปิดทองกับองค์หลวงพ่อนี้ได้ผ่านพิธี นับ หลายๆครั้ง ทั้งพุทธาพิเศก การบวชพระใหม่  การลงบวชเพื่อสวดมนต์ภาวนา อีกหลายๆพิธี ร่วมทั้งความศรัทธาจากประชาชนที่หลั่งไหลกันเข้ามา และยังโดยความศักสิทธิ์จากองค์หลวงพ่อเองแล้ว เช่นเดียวกับหลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูปศักสิทธิ์อื่นๆ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นของมีคุณค่าและพุทธคุณของชาวไร่ขิงเป็นอย่างยิ่ง

โดยรักหลวงพ่อไร่ขิงนี้ ยังถูกปลุกเสกตอนที่พระเกจิ แต่ละยุคของจังหวัดนครปฐม ทั่วประเทศมาปลุกเสกในพระอุโบสถแล้วด้วย
เช่นหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก (ผู้สร้างพระเหรียญหล่อก้นแมงดารุ่นแรกของวัดไร่ขิง)
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม (เป็นประธานเททองพระกริ่ง ปี 08 ที่วัดไร่ขิง)
อื่นๆอีกมากมาย ครับ

ส่วนตัวผมได้มีประสบการณ์กับรักหลวงพ่อไร่ขิงทางด้านมหาอุตมาแล้วเช่นกัน

84


เดินเข้าไปในบริเวณวัดไผ่โรงวัว  เปรตตัวแรกที่ได้พบก็คือ  เปรต...มือถือสากปากถือศีล
ทำให้คิดว่า.....โทษ หรือ ผลกรรม คนประเภทนี้ มีถึงขนาดนี้เชียว  
การที่คนเมื่อสมัยยังมีชีวิตอยู่  ทำใจ วาจา และความประพฤติเป็นเยี่ยง  คนมีศีล มีสัจ  แต่ตรงกันข้าม  เขากลับกระทำการที่ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ  เขาเป็นคนอย่างนั้น  เราก็ต้องตั้งจิต  ตั้งวาจา และตั้งใจ  ในการพูดคุยกับผู้อื่น   โดยไม่พูดคุยโวโอ้อวด  อย่ายกตนข่มท่าน  ไม่ได้มีอะไร แล้วไปคุยโว  ทำให้คนอื่นเข้าใจผิดคิดว่าเราเป็นอย่างนั้น มีอย่างนั้น
จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่  รัก และทนุถนอมสิ่งที่มีอยู่ด้วยใจที่ซื่อสัตย์
จงคิดว่า  เราทำบุญ ทำกรรม มาแบบนี้  ต้องได้รับแบบนี้  และจงรีบทำดี  ตั้งบัดนี้  เพื่อในวันข้างหน้าจะได้ มีอะไรที่ดีในชีวิตด้วย
เคยได้ยินคนพูดว่า...กรรมเวรติดเทอร์โบ....หมายถึง  กรรมเวร  ปัจจุบันนี้เดินทางมาตอบสนองเราได้รวดเร็วมากทีเดียว  โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้า   บางที  กรรมเวรมาแบบ นาทีต่อนาที  ยังเคยมีเลย....
กลับมากล่าวถึง  บุคคลมือถือสาก  ปากถือศีล...แฝงตัวอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางและสูง  ที่มักชอบทำตัวเป็นที่ให้ผู้อื่นปรึกษา  ทำให้ผู้อื่นนิยมชมชอบ  ชอบให้ผู้อื่นกล่าวชมชอบ  เลยทำดี  พูดดีด้วย  แต่ลับหลังกลับพูดจาเชือดเฉือน  ให้ได้เสียหาย  เสื่อมเสียชื่อเสียง  เกียรติยศ  และกลับมาพูดคุยกับตัว..บุคคลแบบนี้เรียกว่า.....  มือถือสาก  ปากถือศีล
เคยพบบุคคลประเภทนี้บ่อยมาก และมีจำนวนมากทีเดียว เราไปว่ากล่าวตักเตือน ก็ไม่ค่อยได้  เพราะพวกเขามักจะมีอีโก้สูง  มีอัตตา  คำพูดของเราคงจะไม่มีความหมาย  และไม่มีประโยชน์อะไร  ที่จะไปยุ่งวุ่นวายกับคนเหล่านี้  
จึงต้องประมาณตน  อยู่ห่างๆไว้  ทักทาย  พอเป็นพิธี  หลีกเลี่ยงได้เป็นดี  เพราะอาจจะมีภัย   พูดอะไรก็จะแปรเปลี่ยนคำพูดของเราเป็นอื่น  ให้ได้เสียหาย...จำไว้เลย  
เชื่อแน่ว่า...คนแบบนี้  จะต้องจนมุม และตายด้วยคำพูดของตนเองแบบ....ปลาหมอตายเพราะปาก


ขอบพระคุณที่มา http://gotoknow.org/blog/goaround1/177883

85


ตะกรุด 3 ห่วง หลวงปู่แย้มวัดสามง่าม เช่ามาหลังออกพรรษาปี 51 ครับ

ตะกรุด 3 ห่วง หลวงพี่ญาเมตตามอบให้มาครับ

ปลัดขิก วัดบางพระ พี่โองการเมตตาให้มา ครับ

ขอบพระคุณหลวงพี่ญา
และพี่โองการด้วยนะครับ

ที่เมตตาให้มา ครับ  :054:

86




ตะกรุดดอกนี้ หลวงพ่อเมตตาจารมือและม้วนเองด้วยครับ ยาวประมาณ 5นิ้วได้
ด้านในมีแป้งเสกเจิมด้วย
ตะกรุดดอกนี้ผมฝากเพื่อนต้นเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดบางพระด้วย

แบ่งมาให้เพื่อนๆชมครับ

87




เป็นอีก 1 พิมที่หาชมได้ยาก แบ่งมาให้ชมกันครับ อิอิ
พระคู่บ้านคู่เมือง ของจ.นครปฐมอีก 1 วัดครับ

88


กราบมนัสการหลวงพี่ญา ที่วันนี้ได้เมตตามอบพ่อปู่ฤาษี เสาร์ 5 มาให้ ครับ
ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับที่เมตตาเสมอครับ

 :054: :054: :054:

และขอบคุณพี่เจมส์ สำหรับแบงค์ขวัญถุงวัดช่องแค ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับสำหรับน้ำใจที่มีให้น้องๆ

และขอบคุณเพื่อนต้นเช่นเคย  :015:

89


ได้ของดีมาอีกแล้วครับ
กราบมนัสการ และขอกราบขอบพระคุณหลวงพี่ญาที่เมตตาต่อผมเสมอครับ
หลวงพี่ญา วัดบางพระ ท่านเมตตาต่อศิษทุกท่านจริงๆ ครับ


ขอบคุณเพื่อนต้นด้วย

90


ปลัดขิกชุดนี้ได้รับความเมตตา จากหลวงพี่ญา แห่งวัดบางพระเป็นผู้เสกและเจิมแป้งให้ครับ
ต้องกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ หลวงพี่ญาท่านเมตตาต่อศิษย์ทุกคนเสมอครับ

ปลัดขิกชุดนี้มีประสบการณ์แล้ว......
ขอบคุณพี่ ราหู ซึ่งเป็นผู้แกะปลัดขิกให้ด้วยครับ แกะได้สวยงามมากครับ

91




ขอแจ้ง งานบุญ ในวันที่อาทิตย์ 13 กันยายน พ.ศ. 2552 เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป
ทางวัดไร่ขิง หรือวัดมงคลจินดาราม (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จ.นครปฐม
จัดเทศน์มหาชาติ  ก็ใครที่ว่าง หรือมีโอกาศ ไปร่วมทำบุญ ฟังเทศน์ กันได้นะครับ

ขอบคุณพี่ๆ ผู้ดูแลบอร์ด ทุกท่าน ครับ สำหรับให้แจ้งข่าวงานบุญ

92
หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด อ.สามพราน จ.นครปฐม เนื้อเมฆพัด รุ่นแรก ครับ 







ส่วนตะกรุด ขอสอบถามหน่อย ครับ
ตะกรุดดอกนี้ ผมได้เช่ามาจากวัดบางพระเร็วๆนี้ ซึ่งที่หน้าตู้ไม่มีครับ หลวงพี่หยิบมาให้จากด้านล่าง
ใครที่อยุ่แถวๆ วัด หรือพอทราบข้อมูล ผมอยากรู้ ครับ ว่าทันหลวงปู่เสกหรือไม่ ของคุณครับทุกๆท่าน
[/color]

93


กราบขอบพระคุณหลวงพี่เก่ง สำหรับเหรียญหลวงพ่ออวยพร
กับขอบพระคุณพี่โองการ สำหรับเหรียญหลวงปู่มาก ครับ

95
ด้วยความเมตตาจากหลวงพี่ญา ครับ  :054:



96
อยากจะเอามาใช้เตือนใจกันครับ
ชื่อว่า บทกลอนทำดีต้องใจบริสุทธิ์
ทุกคนจำต้องทำความดี ทำดีเท่านั้นจึงได้ดี
คนที่ทำดีพระเจ้าเกื้อ พระเจ้าทรงเกื้อคนทำดี
คนที่ทำดีไม่ได้ดี ก็เพราะกรรมเก่านั้นยังมี
กรรมเก่าหมดแล้วดีย่อมได้ มีหรือทำดีไม่ได้ดี
คนที่ทำชั่วไม่ได้ดี ก็เพราะฟ้าดินไม่ปราณี
ฟ้าดินไม่เกื้อคนทำชั่ว มีหรือทำชั่วจะได้ดี
คนที่ทำชั่วกลับได้ดี ก็เพราะบุญเก่านั้นมากมี
บุญเก่าหมดแล้วกรรมชั่วติด สร้างกรรมใช้กรรมทุกข์เวียนดี
ทุกตนจำต้องทำความดี ด้วยเหตุฟ้าดินท่านรู้ดี
ฟ้าดินรู้ทั่วคนชั่วดี ทำดีละชั่วต้องได้ดี
ทำดีอย่าทำเพื่อเอาหน้า ทำเพื่อเอาหน้าไม่ใช่ดี
ทำดีต้องใจบริสุทธิ์ มายาเสแสร้งใช่ทำดี
ทำดีจำต้องไม่หลงดี หลงดีติดดีอาจเสียที
ทำดีจำต้องมีสติ ประมาททำดีมักเสียที
ทำดีต้องทำอย่างรอบคอบ รอบคอบทำดีไม่เสียที
ทำดีจำต้องไม่อวดดี อวดดีถือดีไม่ได้ดี
คนที่ถือดีดีไม่ได้ ทำดีดีแล้วอย่าอวดดี
ทำดีมีคนทำดีกว่า ใช่แต่เพียงท่านมุ่งทำดี
ทำดีต้องรู้คนเหนือดี คนที่เหนือดีไม่พาที
เหนือฟ้ายังมีฟ้าเหนือกว่า นิพพานเหนือฟ้าเหนือมวลดี
ตำราโบราณสอนไว้ดี   สอนเตือนไว้ทั่วให้ทำดี
ตงฉินคนดีคนรู้ทั่ว คนโกงคนชั่วอเวจี
ขอกล่าวเตือนย้ำไว้อีกที พระเจ้าไม่เคยทิ้งคนดี
สวรรค์คือถิ่นไร้ความชั่ว นิพพานสถิตยอดคนดี


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทกลอนทำดีต้องใจบริสุทธิ์
ทุกคนจำต้องทำความดี                        ทำดีเท่านั้นจึงได้ดี
คนที่ทำดีพระเจ้าเกื้อ                                   พระเจ้าทรงเกื้อคนทำดี
คนที่ทำดีไม่ได้ดี                                ก็เพราะกรรมเก่านั้นยังมี
กรรมเก่าหมดแล้วดีย่อมได้                         มีหรือทำดีไม่ได้ดี
คนที่ทำชั่วไม่ได้ดี                                ก็เพราะฟ้าดินไม่ปราณี
ฟ้าดินไม่เกื้อคนทำชั่ว                                 มีหรือทำชั่วจะได้ดี
คนที่ทำชั่วกลับได้ดี                                ก็เพราะบุญเก่านั้นมากมี
บุญเก่าหมดแล้วกรรมชั่วติด                       สร้างกรรมใช้กรรมทุกข์เวียนดี
ทุกตนจำต้องทำความดี                           ด้วยเหตุฟ้าดินท่านรู้ดี
ฟ้าดินรู้ทั่วคนชั่วดี                                ทำดีละชั่วต้องได้ดี
ทำดีอย่าทำเพื่อเอาหน้า                             ทำเพื่อเอาหน้าไม่ใช่ดี
ทำดีต้องใจบริสุทธิ์                                มายาเสแสร้งใช่ทำดี
ทำดีจำต้องไม่หลงดี                                   หลงดีติดดีอาจเสียที
ทำดีจำต้องมีสติ                                ประมาททำดีมักเสียที
ทำดีต้องทำอย่างรอบคอบ                           รอบคอบทำดีไม่เสียที
ทำดีจำต้องไม่อวดดี                                 อวดดีถือดีไม่ได้ดี
คนที่ถือดีดีไม่ได้                                     ทำดีดีแล้วอย่าอวดดี
ทำดีมีคนทำดีกว่า                                       ใช่แต่เพียงท่านมุ่งทำดี
ทำดีต้องรู้คนเหนือดี                                 คนที่เหนือดีไม่พาที
เหนือฟ้ายังมีฟ้าเหนือกว่า                             นิพพานเหนือฟ้าเหนือมวลดี
ตำราโบราณสอนไว้ดี                                 สอนเตือนไว้ทั่วให้ทำดี
ตงฉินคนดีคนรู้ทั่ว                                คนโกงคนชั่วอเวจี
ขอกล่าวเตือนย้ำไว้อีกที                             พระเจ้าไม่เคยทิ้งคนดี
สวรรค์คือถิ่นไร้ความชั่ว                        นิพพานสถิตยอดคนดี


ขอบคุที่มาจากเวป http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=78793576ca861857

ฝากใว้ ครับ ขอบคุณ

97
องค์ที่ 1






รบกวนด้วย ครับ แท้หรือป่าว ครับ ช่วยฟันธงทีครับ ผมไม่แน่ใจเลย ครับ ขอบคุณครับ

98


นำทีมดวย ต้นน้ำ โปเตโต้ เจ้าเก่า





พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์  เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง เจ้าคณะอำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม เป็นพระธานในงาน














ภาพอาจไม่เค่ย ชัดต้องขออภัยเป็นอย่างสูง ครับ  :054:


99


กราบขอบพระคุณ ทั้ง 2 ท่านด้วยความเคารพ ครับ .......

เมตตามหานิยมสุด ครับ  :054: :054: :054: :054:

100
ในวันนี้ เป็นวันดี เป็นวันพิเศษ เป็นวันเกิดของต้นน้ำ

เป็นวันที่คุณแม่ผู้เลี้ยงเรามาเจ็บที่สุด กว่าจะเลี้ยงเรามาโตขนาดนี้ กว่าจะเก็บเงิน ลำบากเพื่อเรา มาตลอด อย่าลืมกราบแม่งามๆนะเพื่อน


ก็ขอให้เพื่อน ต้นน้ำเป็นคนดีของทุกๆคนและ มีความสุข มากๆๆๆๆๆๆๆ  ตั้งใจเรียน และมีครอบครัวที่มีความสุข  รวยๆด้วยนะ

และในฐานะที่ต้นเป็นผู้ดูแลบอร์ดก็ขอให้ต้น เป็นผู้ดูแลบอร์ดที่ดีต่อไป

อย่าลืมไปทำบุญ ให้กับผู้มีพระคุณครูบาอาจารย์ ด้วย

ของขวัญให้ไปแล้วนะ ล่วงหน้าเลย อิอิ ขอให้เพื่อนเก็บใว้ให้ดีละกัน

เพื่อนเอ็มคนนี้ จะอยู่เคียงข้างนายตลอดไป............สุขสันวันเกิดเพื่อน





101
๑. แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสนหรือขาดความ
๒. ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดง ให้ผู้ฟังเข้าใจ
 ๓. สอนเขาด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ

๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น  ตัวเจ้าของไม่คิด แต่คนตอบ อาศัยเป็นเคริ่องมือ บาปปปปปปปปปปปปปปปปป

ขอบคุณเวปพลังจิต สำหรับบทความดีๆ ครับ   <<< เคดิต

102
นับ จากโบราณกาลมา การผิดประเวณีนับเป็นยอดแห่งความชั่วบทลงโทษในโลกมนุษย์นับว่าหนักแล้ว แต่บทลงโทษในนรกยิ่งหนักเพิ่มขึ้นวิธีการลงโทษมีหลากหลายดังขยายต่อไป หวังว่าท่านผู้อ่านควรละเว้นทันที

พี่น้องเสพสุขตกนรกชั่วนิรันดร หากถึงขั้นฆ่าชีวิตด้วยแล้ว จะถูกฟ้าผ่าผู้ใดข่มขืนศพหญิง จะตกนรกชั่วนิรันดรเช่นกัน ผู้ใดได้รับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์มาแล้วจะไม่ถูกฟ้าผ่า ผู้ใดที่มีความกตัญญูจะลดโทษ 4 ส่วน ผู้ใดเคยสร้างบุญใหญ่ 1,500 ครั้งก็ถูกลดโทษ 4 ส่วนเช่นกัน ผู้ใดข่มขืนหญิงหม้าย จะขาดลูกหลานสืบทอดวงศ์ตระกูลตกนรก 500 ชาติ แล้วเกิดเป็นมด หนอน 500 ชาติ ยังมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอีก 500 ชาติ จึงเกิดมาเป็นคน มีอาชีพเป็นโสเภณี ผู้ใดได้รับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์แล้ว ลด 100 ชาติ หากมีการฆ่าถึงชีวิต เพิ่มโทษ 5 เท่าผู้ใดเป็นผู้กตัญญูต่อพ่อแม่และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์กับประเทศ ชาติลดโทษกึ่งหนึ่งประกอบบุญใหญ่ 500 ครั้ง ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน

หมาย เหตุ :บทลงโทษในเมืองนรก คำว่า 1 ชาติ หมายถึงการลงโทษถึงตายแล้วฟื้นคืนกลับมาแล้วรับโทษเหมือนเดิมจนครบกำหนดแล้ว โทษนั้นจึงยุติหากยังมีโทษอื่นอีก ก็ต้องรับโทษในขุมนรกอื่น ๆ ในหนังสือ "บันทึกถ้ำนรก"ได้บรรยายอย่างละเอียด ผู้ใดทำผิดศีลข้อ 3 แล้วหากสำนึกผิดแล้วหันมาประกอบกรรมดีช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อตายจากโลก มนุษย์แล้วจะได้รับการลดโทษตามส่วน ผู้ใดไม่สำนึกผิดเลยจนตาย เมื่อตายจากโลกมนุษย์แล้วจะได้รับการลงโทษจากขุมนรกที่ 1 แล้วยังต้องไปรับโทษขุมนรกอื่น ๆโทษที่จะได้รับเช่น "แหวกหัวใจ" "คนโลหะ" "ตัดไต" "หนูกัด" "ลงกระทะทองแดง" "รถบด"ฯลฯ

ผู้ใดทำผิดศีลข้อ 3 ระหว่างพี่น้อง ลูกกับแม่เลี้ยง พ่อผัวกับลูกสะใภ้ฯลฯ จะตกนรกตลอดกาล เพราะการผิดศีลข้อ 3 ระหว่างหมู่ญาติ นับว่าโทษหนักที่สุด

เมื่อรับ โทษทัณฑ์ครบแล้ว จึงเกิดมาเป็นคน 1 ครั้ง เรียกว่า 1 ชาติ หนังสือ "ตำรับทอง" และ "ตำรับวงเวียน" 2 เล่มนี้ได้บรรยายบทลงโทษอย่างละเอียดกฎเมืองนรกก็มีการลดหย่อนผ่อนโทษเช่น กัน ฉะนั้นเห็นได้ว่าบาปบุญคุณโทษไม่มีการผิดเพี้ยน หากผู้ใดได้อ่านหนังสือ "ตำรับทอง" "ตำรับวงเวียน"และ "บันทึกถ้ำนรก" 3 เล่มนี้แล้ว ยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นในเรื่องกฎแห่งกรรม


ผู้ใดหลอกข่มขืนหญิงหม้าย

จะ ไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 2 ชาติและรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 400 ชาติแล้วจึงเกิดมาเป็นคนพิการ ผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 80 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 4 เท่าผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นบุตรกตัญญูลดโทษ 70% ผู้ใดเคยสร้างบุญขนาดกลาง 500 ครั้งลดโทษ 70% เช่นกัน




ผู้ใดแทะโลมจนหญิงหม้ายเสียตัว



จะ ไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 3 ชาติ หลังจากรับโทษในขุมนรกแล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 300 ชาติ จึงมาเกิดเป็นคนยากจนแสนเข็ญผู้ที่ได้รับโทษในโลกมนุษย์แล้ว จะลด 60 ชาติ หากถึงขั้นฆ่าตาย เพิ่มโทษ 3 เท่าผู้ใดจงรักภักดีและเป็นบุตรกตัญญู ลดโทษ 90% ผู้ใดเคยสร้างบุญ 500 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน


ข่มขืนสาวพรหมจรรย์

บุตร ธิดาจะมั่วกามตัวเองจะต้องรับโทษทัณฑ์ในขุมนรก 400 ชาติ แล้วไปเกิดเป็นหนอน เป็นมด อย่างละ 400 ชาติ จึงเกิดมาเป็นคนขี้ข้า (ทาส) ผู้ใดเคยรับโทษในโลกมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 100 ชาติหากมีการฆ่ากันถึงชีวิต เพิ่มโทษ 4 เท่า ผู้ใดเคยทำประโยชน์แก่ประเทศชาติหรือเป็นบุตรกตัญญู ลดโทษกึ่งหนึ่ง เคยประกอบกรรมดี 400 ครั้งก็ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน



ใช้วิธีหลอกลวงข่มขืนสาวพรหมจรรย์

จะ ไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 2 ชาติ และรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มดสัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 250 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคนขี้โรคอ่อนแอผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 70 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตายเพิ่มโทษ 3 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญู ลดโทษ 70 % ผู้ใดเคยสร้างบุญขนาดกลาง 400 ครั้ง ลดโทษ 70 %




ผู้ใดแทะโลมจนสาวพรหมจรรย์เสียตัว

ภรรยา และบุตรสาวจะต้องชดใช้กรรม และตัวเองต้องรับโทษในขุมนรกแล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 100 ชาติแล้วจึงเกิดเป็นคนมีฐานะยากจน ผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ลดโทษ 40 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 2 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญูลดโทษ 90% ผู้ใดเคยสร้างบุญเล็ก 400 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน

ข่มขืนเด็กสาว (อายุต่ำกว่า 15 ปี)

ภรรยา และบุตรสาวจะต้องชดใช้กรรมตัวเองต้องรับโทษในขุมนรกแล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 350 ชาติแล้วจึงมาเกิดเป็นคนผู้น้อย ถ้าเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 100 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 3 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญูลดโทษกึ่งหนึ่ง ประกอบบุญใหญ่ 300 ครั้ง ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน

ใช้วิธีหลอกลวงข่มขืนเด็กสาว (อายุต่ำกว่า 15 ปี)


ลด อายุ 24 ปีตายแล้วต้องรับโทษทัณฑ์ในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 100 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคน ไร้คู่ครอง ผู้ใดเคยรับโทษในเมืองมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 30 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 2 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีและเป็นลูกกตัญญูลดโทษ 70% สร้างบุญขนาดกลาง 300 ครั้ง ลดโทษ 70% เช่นกัน


ผู้ใดแทะโลมจนเด็กสาวเสียตัว


ลด อายุ 12 ปีตายแล้วรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 70 ชาติแล้วจึงมาเกิดเป็นคนมีฐานะยากจน ผู้ใดเคยรับโทษในเมืองมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 20 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 1 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีและเป็นลูกกตัญญูลดโทษ 90% สร้างบุญขนาดเล็ก 300 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน

บทลงโทษ 3 ข้อข้างต้น (หญิงหม้าย สาวพรหมจรรย์ และเด็กสาว) มีผลเฉพาะที่ไม่ใช่เครือญาติหากเป็นวงศาคณาญาติ เพิ่มโทษ 1 เท่า หากเป็นพี่น้องกันหรือมีเพศสัมพันธ์ระหว่างงานศพ เพิ่มโทษ 3 เท่า หากข่มขืนสาวใช้ รับโทษหนักเช่นกันข่มขืนไม่สำเร็จ ลดอายุ 6 ปี หากถึงขั้นเสียชีวิต มีโทษหนักดั่งโทษข่มขืน

เที่ยวซ่อง 1 ครั้ง ลดอายุขัยครึ่งปี ผู้ใดติดกามโรค ลดอายุขัย 1 ปีหากสำนึกผิด ยกเว้นลดอายุขัย

รักร่วมเพศ รับโทษดั่งข่มขืนหญิงสาวถ้าคู่หูเป็นชายอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือเป็นเด็กสาว รับโทษดั่งเที่ยวซ่องโสเภณี

>>
ประพันธ์ หนังสือลามก ลดอายุขัย 24 ปีหากมีผู้อ่านอ่านแล้วเกิดไปข่มขืนหญิงอื่นผู้ประพันธ์จะต้องรับโทษเสมือน หนึ่งเป็นผู้ข่มขืนเองหากหนังสือลามกไม่ถูกทำลายหมดสิ้น จะไม่ได้ไปผุดไปเกิด ผู้ถ่ายทำหนังลามกรับโทษหนักเหมือนกัน

เปิดเผยเรื่องลามก ลดอายุขัย 6 ปี ถ้ามีการฆ่าถึงชีวิตลดอายุขัย 12 ปี คุยเรื่องในมุ้ง มีโทษเช่นกัน หากสำนึกผิด จะได้รับลดโทษบ้าง


กฎลามกของผู้พิพากษาแซ่ลก (สมัยราชวงศ์ซ้อง) ได้เพิ่มเติมว่าผู้ใดผิดศีลข้อ 3 จนตั้งครรภ์และทำแท้งถึงขั้นเสียชีวิเต เพิ่มโทษ 1 เท่า

ผู้ ใดข่มขืนเด็กสาวตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปไม่ว่าจะใช้วิธีล่อลวงหรือเกลี้ยกล่อม ให้ถือเป็นคดีข่มขืน หากมีการฆ่าถึงชีวิตเพิ่มโทษ 1 เท่า

ผู้ใดมีภรรยาและบุตรแล้ว ยังแอบมีภรรยาน้อย 1 คน ลดอายุขัย 2 ปี คนที่มีชื่อเสียงเกียรติยศอยู่แล้ว จะถูกลดชื่อเสียงลง 8 ส่วน แต่ไม่ลดอายุขัย

หญิงหม้ายใดที่ไม่คิดแต่งงานใหม่ ใช้วิธีหลอกลวงจนได้เสียจะลดอายุขัย 3 ปีหากเธอมีจิตจะแต่งงานใหม่ ไม่ต้องลดอายุขัย

ผู้ ใดแต่งงานกับหญิงหม้ายและไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรธิดาของสามีเก่า 1 คน ลดอายุขัย 2 ปี หากทรมานลูก ๆของสามีเก่าจนเสียชีวิต ลดอายุขัย 12 ปี

สนทนาระหว่างเพื่อนฝูงเรื่องตัณหา 3 ครั้ง ลดอายุขัย 1 เดือน

นำเพื่อนไปเที่ยวซ่องโสเภณี ลดอายุขัย 3 ปีผู้ใดมีชื่อเสียงโชคลาภ งดการลดอายุขัย แต่ลาภยศจะเลื่อนเวลาออกไป

ผู้ ใดเห็นหญิงงามเดินผ่านและเหลียวมองอย่างไม่ลดละ 3 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน หากหาอุบายตีสนิทแฝงด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ 1 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน

ผู้ใดชอบฟังเรื่องลามก 1 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือนผู้ที่มีชื่อเสียงเกียรติยศ จะถูกบั่นทอน

ผู้ใดตั้งใจดูหนังลามก 1 ครั้งลดอายุขัย 3 เดือน หากถึงขั้นเสียชีวิต เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน 1 ชาติ

ผู้ใดชอบอ่านหนังสือลามก 3 ครั้ง ลดอายุขัยครึ่งเดือน ผู้ใดถึงขั้นไม่สบายลดอายุขัย 3 ปี

ผู้ ใดชักชวนเพื่อน ๆ รื่นรมย์กับกามตัณหา ถูกลงโทษ 2 ชั้นพ่อหรือพี่ชายไม่ยับยั้งลูก ๆ หรือน้อง ๆ จนหลงกามารมณ์หรือปล่อยปละละเลยคนใช้รื่นเริงกับกามารมณ์ ถูกลงโทษ 2 ชั้นเช่นกัน


ผู้พิพากษาแซ่ลกเขียนไว้ว่า โทษทัณฑ์ในเมืองนรกยากต่อการผ่อนปรนโทษของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติยิ่ง หนักกว่าเพื่อนไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยละเมิดกามต่อผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่ล่อลวงผู้น้อยเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ต้องรับโทษในขุมนรกทั้งนั้น
สังคมในมนุษย์ปัจจุบันผู้ผิดศีลข้อ 3 มักเกิดขึ้นกับครอบครัวที่รับราชการบัณฑิต พวกเขาประพฤติเช่นนี้บ่อยครั้งจนติดเป็นนิสัยจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตก็ยัง ไม่สำนึกว่าการกระทำของตนนั้นผิด

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจึงได้ ทูลพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ (ท้าวสักกะเทวราช) ท่านทรงอนุญาตให้ตีแผ่กฎลงโทษของนรกสู่โลกมนุษย์โดยไม่ปิดบังเพื่อให้ผู้ อ่านจะได้สำนึกผิดและจะได้รับการลดโทษผู้ที่มีความจงรักภักดีและกตัญญูได้ รับการลดโทษผู้ใดเคยสร้างสมบุญกุศลได้รับการลดโทษเช่นกัน

หากผู้ใดได้อ่านบทความนี้แล้วไม่เพียงสำนึกผิดกลับติเตียนทำลาย จะได้รับโทษหนัก หรือถูกฟ้าผ่าตาย

หากมีผู้ใดเชื่อคำสั่งสอนของบทความนี้ และได้เผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบ

เผยแพร่ 100 คน เพิ่มอายุ 12 ปี

>>
เผยแพร่ 200 คน ผู้ไร้บุตรจะได้บุตร
เผยแพร่ 500 คน ยศชื่อเสียงเพิ่มทวีคูณ
เผยแพร่ 1,000 คน มีชื่อบนสวรรค์เผยแพร่ทั่วพิภพ ตายแล้วได้จุติเป็นเซียน

เผยแพร่กับเศรษฐี 10 คนได้บุญกุศลเท่ากับเผยแพร่กับคนสามัญ 200 คน
เผยแพร่กับข้าราชการได้บุญกุศลเท่ากับเผยแพร่กับคนสามัญ 100 คน


ที่มาจากเวป http://dek-d.com/board/view.php?id=1304517

หากเคยมีคนลงแล้ว หรือ ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วย ครับ

103




พระผงสุพรรณ รุ่น ภ.ป.ร. ของกลมอาชีวะศึกษา (องค์นี้สังเกตุดีๆ มีมวลสารพระผงสุพรรณของเก่า ติดตรงฐาน แน้นๆ 1 ก้อน ครับ



เสือไม้มะรุม เกะ หลวงปู่เพี้ยน วัดตุ๊กตา +++++




เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่เจือ ได้จากแจกในงาน อายุครบ 7 รอบที่ผ่านมา ครับ

 :002:

104

ด้วยวันนี้ ผมกำลังอ่านหนังสือเรียนอยุ่ที่บ้าน ก็ได้มีเพื่อนผม ต้นน้ำ ได้นำหมวก หัวเสือ จากวัดบางพระมาให้
บอกว่าหลวงพี่ญาฝากมาให้
ทั้งที่ผม ก็ไม่เค่ยได้โผล่ไปวัดสักเท่าไหร่ นานๆจะไปที แต่ท่านก็ยังมีเมตตา ได้มอบหมวกใบนี้มาให้ผม
ผมรุ้สึกปลื้มและดีใจมาก ครับ หลวงพี่ญา ท่านเมตตาลูกศิษทุกคนอยุ่เสมอ ครับ ..........

ต้องกราบขอบพระคุณ หลวงพี่ญา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ด้วยความเคารพ ครับ

105


รอเข้าแถวรับวัตถุมงคล คนเยอะมาก ครับ ฝนตกลงมาปลอยๆ ครับ




ไปเจอลุงคนนึง ครับ ...สุดยอดเลย แฟนพันธ์แท้ เลยขอถ่ายรูปมา




ต้นน้ำ & สิบทัศ (พี่เก่งสุดหล่อ) ........



และผมเอ็มเมืองไร่ขิง กับ ต้นน้ำ ครับ .... ณ ริมกำแพงวัดกลางบางแก้ว



หน้าที่เช่า วัตถุมงคล วัดตุ๊กตา

ส่วนภาพที่เหลือ รอ ท่านพี่เก่ง ลง นะครับ ..........ขอบคุณครับ



106
?คำถาม-คำตอบ เรื่องน่ารู้ทางพระพุทธศาสนา?

โดย ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ


พระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของนิกายอื่นๆ อยู่ ๒ นิกายด้วยกัน คือ

๑) นิกายหินยาน

๒) นิกายมหายาน

นิกายหินยาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายเถรวาท และทักษิณนิกาย เหตุที่เรียกว่า นิกายเถรวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามหลักคำสอนที่สืบต่อกันมาโดยพระเถระตั้งแต่ครั้งที่ทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑) ซึ่งถือว่าเป็นพระเถระที่ได้มีชีวิตอยู่ทันเห็นพระพุทธเจ้าและได้รักษาคำสอนพระพุทธเจ้าไว้ตามรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ต่อมานิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทักษิณนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายใต้ หมายความว่า เป็นนิกายของพระภาคใต้
นิกายหินยานได้แตกสาขาออกมาอีกในเวลาต่อมารวมกันเป็น ๑๘ นิกาย และในปีพุทธศักราช ๒๑๘ ปี หลังจากทำตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สายด้วยกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ที่เห็นเด่นชัด คือ ในประเทศลังการวมทั้งประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีนคือ ลาว เขมร พม่าก็รวมอยู่ด้วย
พระพุทธศาสนาที่เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศดังกล่าวมานี้ล้วนเป็นพระพุทธศาสนาประเภทเถรวาททั้งสิ้น

นิกายมหายาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายอาจริยวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ในแต่ละสำนักเป็นหลักและแก้ไขพระวินัยให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นเหตุการณ์และตามความประสงค์ของตนเองได้ โดยยึดถือพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้เมื่อครั้งใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า ?หากสงฆ์ประสงค์จะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ให้ถอนได้?
เพราะฉะนั้น ในนิกายนี้จึงมีการแก้ไขพระวินัยหลายข้อด้วยกัน และบางสาขาในนิกายนี้แก้ไขพระวินัยถึงขนาดที่ว่า พระมีครอบครัวได้
ต่อมา นิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุตตรนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายเหนือ หมายความว่า เป็นนิกายที่แพร่หลายขึ้นไปในแถบภาคเหนือของอินเดีย คือ กำหนดเอาตั้งแต่แคว้นปัญจาปขึ้นไปจนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศอาฟกานิสถานในปัจจุบัน
นิกายมหายานได้เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และปัจจุบันได้รับความนิยมกว้างขวางอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีระเบียบปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดมากเกินไป

(หมายเหตุ ในเมืองไทยเรา ก็มีพระพุทธศาสนานิกายมหายานเหมือนกัน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ ๑. อนัมนิกาย (ญวน หรือเวียดนาม) และ ๒. จีนนิกาย)

อย่างไรก็ตาม นิกายทั้งสองนี้ แม้จะมีข้อวัตรปฏิบัติและพิธีกรรมของพระและฆราวาสแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อพูดถึงจุดหมายปลายทางแล้วก็มุ่งพระนิพพานเป็นจุดสูงสุดเหมือนกัน และนับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเช่นเดียวกัน


ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในเมืองไทยเรานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ

๑. มหานิกาย

๒. ธรรมยุติกนิกาย

ซึ่งนิกายทั้งสองนี้เรานิยมเรียกพระแต่ละนิกายว่า พระมหานิกาย พระธรรมยุต นิกายทั้งสองนี้มีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย จนเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลยไม่ว่าจะเป็นในด้านวินัยบัญญัติ หลักธรรม ที่สำคัญพระในนิกายทั้งสองยังสามารถปฏิบัติศาสนพิธีร่วมกันได้ โดยยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาร่วมกัน
ส่วนในด้านการปกครอง สมเด็จพระสังฆราช (จากนิกายไหนก็ได้) ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์
ข้อเพิ่มเติม นิกายหินยาน นั้นในทางวิชาการเรามักจะไม่ค่อยใช้กัน เพราะถือว่าเป็นคำดูถูกที่นิกายมหายานยัดเยียดให้นิกายหินยาน เพราะคำว่า หิน (อ่าน หิ-นะ) หมายถึง ต่ำช้า เลวทราม สาเหตุเพราะมุ่งความบริสุทธิ์เฉพาะตัวเป็นหลักก่อนจึงค่อยสอนผู้อื่น แต่นักปราชญ์ฝ่ายหินยานก็เลี่ยงเสียใหม่ แปล หิน ว่า เล็ก เพราะฉะนั้น หินยาน จึงแปลว่า ยานเล็ก หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้น้อยกว่า ส่วน มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้มากกว่า
มหายานท่านว่าอย่างนี้ จะจริงเท็จแค่ไหนก็ต้องปฏิบัติดู


จาก... วารสาร พ.ส.ล. ปีที่๓๙ ฉบับที่ ๒๕๖ กรกฎาคม ? กันยายน ๒๕๔๙


ขอขอบคุณข้อมูลจากเวป  http://anamnikay.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=126

107





มีนายทหาร ท่านนึง มอบให้มานานแล้ว ครับ แต่ผมไม่รู้ลายละเอียดไรสักอย่างเลย
ด้านหลังเขียนว่า วัดบางนมโค
สู่มาตุภูมิ 2533  ครับ
ใครมีลายละเอียดรบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณ ครับ ทุกท่านล่วงหน้า  :054:

108











พอดีมีคน..มาให้ผมดูให้อะครับ ตาผมไม่ถึงพอ ครับ :075: ก็เลยอยากให้เพื่อนๆ ช่วยดูให้หน่อย ครับ
ส่วนความคิดเห็นส่วนตัวผมน่าจะไปทางวัดปากทะเลปะครับ
ยังไงลบกวนด้วยนะครับ ...........ขอบคุณครับ

109








คุณแม่ผ่องศรี ก็มาทำบุญด้วย ครับ







110
พอดี เข้าไปชมเวปพระ...และเจอเหรียญนี้ ....เลยมาให้เพื่อนๆดูอะครับ
เหรียญนี้ คงจะเริ่ม หายากเต็มทีแล้ว ตัวจริงเสียงจริง ครับ ................
มีจารด้วย ..... (ไม่ใช่ของผมนะครับ ยื้มรูปเขามา )

มาชมกันเลย ครับ




ขอบคุณรูปภาพ จาก เวป--- นิตยสารพระท่าพระจันทร์ ---

111


เริ่มกันด้วยผ้ายันต์ผืนใหญ่ ชุดกรรมการ




ผืนเล็ก

ว่าด้วยเรื่องของผ้ายันต์ ผ้ายันต์หลวงพ่อนี้คนไร่ขิงรุ้ดี ครับ เพราะจากประสบการณ์มีให้เห็นมากมาย (กระซิบถามนายต้นน้ำสิครับ เขามีหลายผืน 55 )


รุ่น พิเศษ 9 เหลี่ยม รุ่นประสบการณ์ ปี 45 ครับ ปลุกเสก อาทิเช่น หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม  หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม  และอีกๆ หลายๆ ท่านในยุคนั้น ครับ





สุดท้ายเป็น รุ่นมหามงคล ครับ ปลุกเสกในวัน ลอยกระทง ซึ่งพิธีใหญ่มาก
อาธิเช่น หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงปู่แผ้ว ปวโร  หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน และอีกหลายท่าน ครับ

112
กราบขออนุญาติพี่ๆ และทีมงานเวปบางพระ ครับ ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา
วันนี้ก่อนผมจะเดินทางไปทำธุระที่ จ.กาญจบุรี
มีเรื่องไม่สบายใจตั้งแต่เมื่อคืน ครับ

ด้วยที่ว่าพี่ปอม และ ท่านก๊อต เกิดความเข้าใจผิดกัน
โดยในนามผมเอ็มเมืองไร่ขิง ซึ่งก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกับบอร์ดมากมาย แต่ด้วยความเห็นพี่น้องผิดใจกัน ผมก็ไม่สบายใจ ครับ
ผมก็รักพี่ๆ น้องๆๆ เพื่อนๆๆ ทุกคนเท่าๆกันหละครับ ...แต่เห็นมาเป็นแบบนี้แล้ว ก็ไม่สบายใจเลย ครับ

เอาเป็น ว่า ผมรู้ครับ ด้วยความที่นิสัยอาจจะใจร้อนทั้งคู่ไปหน่อย เลยเกิดปัญหาขึ้น ครับ
เหตุนี้ไม่ว่าใครจะ ผิด หรือ ถูก มันไม่ใช่ประเด็น ครับ ผมอยากให้ท่านทั้ง 2 ให้อภัยกันมากกว่า
ถ้าหลวงปู่ท่านมองอยู่ก็คงไม่สบายใจ ครับ ที่เห็นพี่น้องต้องมาผิดใจกัน

เอาเป็นว่า ตัวผมเองก็ไม่ได้ดีเท่าไหร่ เคยสร้างปัญหามาก็เยอะ แต่ผมก็อยากขออภัย และสัญญาว่าจะไม่ทำอีก

ด้วยเหตุนี้แล้ว ผมอยากให้ พี่ปอม และ เพื่อนก๊อต ซึ่งเป็นทั้งพี่และเพื่อนที่ผมรัก ให้อภัยต่อกัน ครับ
ด้วยความเป็นลูกผู้ชาย ผมอยากให้ท่านทั้ง 2 แสดงความมีน้ำใจโดยการให้อภัย ตอบคำว่า
ไม่เป็นไร ครับ ที่ผ่านมาก็ขอให้แล้วไป ซึ่งผมเชื่อ ครับ ว่าท่านทั้ง 2 เป็นลูกผู้ชายพอและใจกว้างที่จะให้อภัยกันได้ ครับ
ซึ่งผมก็ฝากใว้ด้วยนะครับ .....ผมจะดีใจเป็นอย่างมากเลย

(แล้วทุกๆท่านด้วยนะครับ ใครอะไรผิดใจกัน หากใช้คำว่า อภัย ก็จะมีแต่ความสุข ครับ)
(และอีกข้อ เกี่ยวกับบอร์ดเรา ผมขอให้พี่น้องทุกท่าน เลิกมาจีบกัน แล้วอะไรรักๆใคร่ๆ ไม่ว่าหลอก ครับ แต่กลัวจะเป็นปัญหาเรื่องชู้สาวแล้วก็เกิดปัญหากันครับ..ขอหละครับ ใครจะจีบกัน รัก อกหัก กรุณานอกบอร์ดเลย ครับ ขอได้โปรดจงสำรวมใว้หน่อย ครับ นี่บอร์ดพระ ไม่ใช่บอร์ดหาคู่รักนะครับ....บอร์ดหลวงปู่เปิ่นที่เคารพ เพราะพักนี้ผมเห็นกระทู้แบบนี้บ่อย ก็เกิด ความเซ็งครับ เห็นใจพี่ โองการกันหน่อย ครับ เพราะเขาทำงานเหนื่อย ไหนจะต้องป้องกันพวกเอาบอร์ดมาหาผลประโยชน์ ไหนจะต้องดูแลระบบ แต่ต้องมาเจอปัญหาซ้ำๆซากๆ ก็ขอให้โปรดงด และช่วยกันหน่อยนะครับ.อยากให้คำนึงใว้อย่าง.............ที่นี่บอร์ดวัดบางพระ บอร์ดพระ ไม่ใช่บอร์ดหาคู่ ครับ )

และต้องขอรบกวนเพื่อนๆสมาชิกที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีเหตุในความจำเป็นงดแสดงความคิดเห็น หรือมาปั่นป่วน กรุณางดแสดงความคิดเห็นด้วย ครับ

113










องค์นี้ กับ ความผากภูมิใจของผม ครับ ......... ขอนอกรายการ สักนิด ครับ



หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม บารมี 10 ทัศ ยุคต้น ครับ  เป็นพระที่ผมชอบ มากที่สุด ครับ

แถมรูปเพื่อนผม และ บรรยากาศ วันสงกราน ที่วัดไร่ขิง ครับ เมื่อวานที่ผ่านมา











114
พรีเซ็นเตอร์ โดย นายต้นน้ำ บางพระเรานี่เอง อิอิ













สำหรับคืนนี้เป็นคืนที่ 2 นะครับ... งานมีถึงวันที่ 14 นะครับ มาร่วมทำบุญ ได้

สำหรับวันนี้ช่วงหัวค่ำ ฝนตก แต่คนก็ยังมีมาเรื่อยๆครับ เพราะด้วยแรงศรัทธา ที่มีต่อหลวงพ่อ





115
สมมุตผมคาดตะกรุด แม่นางพิม กับพี่ดำเซ็นที่เอว 1 เส้น
แล้วอีกเส้น แขวน สามห่วง หลวงปู่แย้ม

ที่เอวควรจะคาดคู่หรือเดี่ยวดี ครับ แล้วถ้าผมจะคาดทั้ง 2 เส้น พล้อมๆ กันจะเป็นอะไร ใหม ครับ
ขอบพระคุณมาก ครับ  :054:

116




ต้องขอบพระคุณ หลวงพี่ญา พี่นน และพี่ๆ สมาชิกทุกท่านที่เมตตามอบให้มา ครับ
ขอขอบพระคุณ ณ ที่นี้ด้วย ครับ ........
มีลายมือ และ ชื่อเวป อย่างชัดเจน .... สวยงามมาก ครับ  :015:

117




รบกวนทุกท่านเลยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าทุกท่าน ครับ

118




ได้มาจาก ท่านสิบทัศ ครับ สวยงามมาก ครับ แบ่งๆกันชม ครับ
ขอบคุณข้อมูลจากพี่ต้น พระงามด้วย ครับ  :015:

ออกที่วัดมคทัยวัน ครับ

119


แบ่งกันชมนะครับ อาจไม่เค่ยสวย เพราะยังไม่เต็ม ครับ แต่เอามาให้ชมก่อน
เดี๋ยวพอวันงาน มาขอถกดูในงาน คนเยอะๆ อายกว่า ครับ แหะๆๆๆ
เลยนำมาให้ดูก่อน ได้ไม่ถกกัน แหะๆๆๆ ..... ขอบคุณครับ

120


ศิลปทางเหนือพระบูชาไม้แก่นจันทร์

121




พระองค์แรก พระเนื้อดินโบราณ แบบพระ 3 ยืน (มีขนาดใหญ่เกือบเท่าฝ่ามือ)ซึ่งองค์นี้ ผมได้นำไปแห่และเช็คตามศูนย์พระ ก็ได้ข้อมูลมาว่า
พระองค์นี้น่าจะเป็นพระที่อยู่ตามวัดโบราณ มีอายุ ไม่สมัยศรีวิชัย ก็ทราวาดี นะครับ
ซึ่งเจ้าของพระองค์นี้ .ที่ได้มาเป็นช่างก่อสร้าง บูรณะวัดตามสถานที่วัดต่างๆ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าวัดอะไร
เพราะถามไม่ทัน ครับ แกตายไปนานแว้ว เหอๆๆๆๆ.................
ด้านหน้าพระองค์นี้มีลอยถลอก เนื่องจากการเก็บพระองค์นี้ไปรวมกับพระองค์อื่นเลยเกิดทำให้มีลอยถลอกนิดนึง ครับ
ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ ....หรือแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ผิดถูกไม่ว่ากัน  หรือข้อมูลที่ผมได้มาผิดก็แจ้งทีนะครับ ขอบคุณครับ

122


หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ไม่ทราบว่าปีไหน ครับ





ไม่ทราบปีเช่นกัน ครับ

123


.......................




รบกวนด้วยนะครับ ผมไม่ทราบบจริงๆ ครับ ออกทีไหน ขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้านะครับ  :054:

124


หน้าจะเป็นเขี้ยวหมีนะครับ พี่ชายที่กรุงเทพให้มา ครับ

ขอบพระคุณพี่บอล .... ณ ที่นี้ด้วย ครับ สำหรับของที่ให้มา  :054:


130




รบกวนด้วยนะครับ ไม่ทราบที่ แท้หรือป่าวก็ไม่ทราบ ครับ
ใครรู้ช่วยดูให้หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

132





มีพี่ใจดีที่กรุงเทพให้มา ครับ ....

134








เต็มที่เลยนะครับ ผิดถูกไม่ว่ากันไม่ต้องเกรงใจ ครับ คิดว่าไงแสดงได้เต็มที่ ครับ  :002:

ดีไม่ดีก็ว่ากันไป ครับ  อยากได้เหตุผลหลาๆยเสียงๆหนะครับ

135


ยื้มรูปมาลงนะครับ


กล้องส่องพระ ZEISS D40 10X GERMANY พันธุ์ แท้ ๆ ที่สุดของ ตำนาน
กล้องตัวนี้ วงการนิยมกันมาก ครับ ...และเป็นกล้องในฝันของใครหลายๆคน

ซึ่งผมก็ได้แต่มอง ครับ 5555++ เอารูปมาให้ชมกันนะครับ กล้องที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา

136




รบกวนด้วยนะครับ ผมว่าแปลกๆ ไงขอรบกวนด้วยนะครับ

137




องค์แรกสมเด็จหลวงพ่อพริ้งมีในสาระบบ แท้ปะครับ ไม่เคยเห็น

139


เจ้าของภาพคือท่าน ชลาพุชะ ครับ


141


ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย)
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
ชาติกำเนิด

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ มีนามเดิมว่า "น้อย" มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

เกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 เวลา 04.00 น. ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้

ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. พระลักษณาสถิต ราศรีเมษฤกษ์ที่ 7 - นาฑีฤกษ์ 52 มีนามว่าเพ็ชฒฤกษ์ จันทร์องศา 14 ลัคนา 37 พุทธรักษา ธัมมรักษา สังฆรักษา บิดารักษา พระอินทร์รักษา พระ?รักษา พระพรหมรักษา เทวดารักษา มารดารักษา "พระอาจารย์น้อย"
 

หลวงพ่อน้อย มีโยมบิดา ชื่อแสงโยมมารดาชื่อ อ่อน โยมพี่เป็นหญิง ชื่อ ปู๋ ซึ่งแต่ละท่านได้ถึงแก่ อนิจกรรมมานาแล้ว ตามที่สืบทราบมาได้ญาติคนสุดท้าย ของหลวงพ่อที่ยังอยู่บ้านหนองอ้อ คือ นายเอม มีศักดิ์เป็นหลาน

ตามความนิยมในประเพณี ของไทยแต่โบราณ วัดไม่เป็นที่พึ่งทางใจอย่างเดียว วัดเปรียบเสมือนเป็นโรงพยาบาลของชาวบ้าน ใครเป็นโรคอะไรเดือดร้อนก็ต้องวิ่งไปหาพระที่วัดช่วยเป่ารักษาด้วยเวทย์มนต์ หายกันมาส่วนมาก วัดเปรียบเสมือนโรงเรียน เด็กที่อยู่ใกล้วัดไหนก็มักจะไปเรียนหนังสือกันตามวัดมีพระเป็นครูวัดเป็นสถานที่ให้ความรู้ แก่ลูกหลานชาวบ้านมาก พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็ช่วยเหลือถวายปัจจัย 4 แก่พระและช่วยสร้างถาวรวัตถุให้เป็นบางครั้งบางคราวจึงพูดกันเป็นบทเป็นกลอนติดปากว่า


วัดจะดี มีสถาน เพราะบ้านช่วย
บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย
บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย ยิ่งอวยชัย
ถ้าขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง

ดังนั้นในสมัยที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครู ปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลาในยุคนั้นเพื่อการศึกษา เล่าเรียนและรับการอบรม ตามความนิยมในประเพณีของไทยแต่โบราณ

การศึกษาและการบรรพชาอุปสมบท

 
ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ

เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนและได้รับการอบรมจากท่านพระครูปริมานุรักษ์(นวม)เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอมได้

พอหลวงพ่อมีอายุได้ 15 ปี โยมบิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการ "ชา" เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อการศึกษาต่อ เรียนอักขระสมัยภาษาขอม ภาษาไทย ได้ดีและเขียนอ่านได้อย่างแตกฉานจนพระอธิการชา เจ้าอาวาส วัดสามกระบือเผือก เป็นที่ชอบอกชอบใจในตัวหลวงพ่อ

จากนั้นจึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร ในระหว่างที่เป็นสามเณรนี้ได้ไปมาหาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำจวบจนกระทั่งโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน หลวงพ่อจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพด้วยความกตัญญูกตเวที ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 มีพะอธิการทองวัดลมุด อำเภอนครชัยศรีเป็นพระอุปัชฌายะ พรครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกัมมวาจาจารย์และพระสมุห์แสง วัดใหม่ อำเภอนครชัยศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

นับแต่หลวงพ่ออุปสมบทแล้วก็ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีความสมใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวทย์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้น จากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดลมุด พระครูปริมานนุรักษ์(นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์ แสงวัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์ อู๊ด ที่เป็นฆราวาสรวมอยู่ด้วย โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่งคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคม ของท่านเป็นได้ความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยและบุคลิกของหลวงพ่อ

อุปนิสัยของหลวงพ่อ ท่านสงบเงียบ มีความเคร่งขรึมและสำรวมอยู่เป็นเนืองนิจ ไม่ชอบแสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบว่า หลวงพ่อนั้นมีดีอย่างไรจึงไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเท่าที่รู้ๆ กันนั้นก็ในหมู่ลูกศิษย์ เป็นสิ่งที่ปรากฏการณ์มาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละโลภะ โมหะ โหสะ ทั้งมวล หลวงพ่อมุ่งแต่ประกอบความเจริญให้กับผู้อื่นและส่วนรวม เคร่งครัดในศีลในธรรม และประกอบด้วยความมั่งคงในพรหมจรรย์อันเป็นจริยาวัตรเป็นที่ประจักษ์แต่ผู้พบเห็นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงว่า

หลวงพ่อแก่กล้าในญาณสมาบัตินั้นเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ทั่วไปว่า มีความแก่กล้าทันตามวัยวุฒิของหลวงพ่อในทางวิปัสสนาธุระมามากพอสมควร ดังปรากฏจากสิ่งแสดงออกหลายประการ อันได้แก่วาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ การแผ่เมตตาด้วยสื่อสัมพันธ์ทางกระแสจิตจนทำให้สัตว์ป่า คือวานรที่มาอาศัยอยู่มีความเชื่องและเข้าใจประหนึ่งเป็นศิษย์ที่รู้ภาษาของหลวงพ่อด้วย รวมทั้ง นก กา ไก่ ที่มาอาศัยอยู่ในวัดหลวงพ่อให้ความคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายในขอบเขตของวัดจนไม่อาจมีผู้ใดมาทำอันตรายได้ ดังปรากฏมีนักเลงปืนมือฉมังมาลองยิงนกในวัดอยู่เนืองๆ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดได้นกไปแม้แต่ตัวเดียวข่าวนี้ได้รำลือออกไปจากลูกศิษย์จนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป จากเหตุการณ์ครั้งนั้นและในระยะหลังบ้างจึงทำให้ลูกศิษย์ได้เข้าใจหลวงพ่อเกี่ยวกับกฤตยาคมมากขึ้น

บุคลิกของหลวงพ่อ

 
โดยปกติหลวงพ่อมีร่างเล็ก แกร่งแข็งแรง มีกิริยากระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเช่นผู้ชราบางคน มีความเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา และเคร่งครัดต่อกิริยาบทของหลวงพ่อ จะปรากฏให้ผู้อื่นได้เห็นอยู่ตลอดเวลาในกิริยาสำรวมนี้

นอกจากนี้ หลวงพ่อท่านยังมีความนักน้อยยึดสันโดษมีความพอใจต่อสิ่งที่มีอยู่โดยแท้จริง ปราศจากความต้องการและความสุขสบายส่วนตัว แม้ในเรื่องการสร้างกุฎิให้หลวงพ่อก็เช่นกัน ลูกศิษย์ทั้งหลาย ต่างเห็นว่าหลวงพ่อท่านจำวัดในห้องเล็กๆ ทึบ อบอวล เกรงว่าจะไม่เหมาะสมกับวัยชราของท่าน จึงมีความปรารถนาร่วมกันที่จะสร้างกุฏิให้หลวงพ่อใหม่ เพื่อบังเกิดความสะดวกสบายตามสังขารอันควรจะเป็นไป รวมทั้งจักได้มีที่รับรองลูกศิษย์ลูกหาให้เหมาะสมซึ่งจะมีไปนมัสการหลวงพ่อท่านเป็นประจำทุกวัน

การขอร้องในเรื่องนี้หลวงพ่อท่านไม่ยอมอนุญาตในระยะแรก โดยปฏิเสธว่าท่านจะอยู่อีกไม่นานนัก แล้วประกอบกับหลวงพ่อท่านได้พิจารณาเห็นว่า เป็นการส่วนตัวเฉพาะท่านเท่านั้น หลวงพ่อมีความปรารถนาแต่เพียง ต้องการให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวัดนี้ควรจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในท้ายที่สุดหลวงพ่อท่านก็ต้องยอม โดยขัดศรัทธาความรบเร้าจากลูกศิษย์บ่อยๆครั้งอยู่ไม่ได้ หลวงพ่อจึงอนุญาตตามใจลูกศิษย์ การสร้างกุฏิ "อินทสโร"ในการปลูกกุฏินี้ปลูกทับลงที่เก่าระหว่างก่อสร้าง จึงทำเพิงที่พักให้กับหลวงพ่อเป็นการชั่วคราว

แล้วลูกศิษย์กับกรรมการช่วยกันเก็บข้าวของของหลวงพ่อออกจากพื้นที่ เพื่อการรื้นกุฏิหลังเดิมในการเก็บข้าวของนี้ได้พบซองใส่เงินอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังมิได้แก้ออกเลย ในซองมีทั้งปัจจัยและนามบัตรผู้ถวายบางซองกระดาษคร่ำคร่า อยู่ใต้ที่นอนของหลวงพ่ออันเป็นสิ่งแสดงว่า หลวงพ่อท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะเหล่านี้ ใครเขาถวายมาก็ได้แต่เก็บรวมๆ ไว้ในการรื้อกุฏิเก่าของหลวงพ่อครั้งนั้นรวมเป็นเงินได้ประมาณสองแสนกว่าบาท คณะกรรมการจึงได้นำเงินเข้าธนาคารต่อไป

การปกครองวัดในระยะแรกที่หลวงพ่อครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่อใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะโล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิจ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าวนี้ กรณีนี้ท่านผู้รู้ให้ทรรศนะว่าอันความสงบเงียบของสถานที่ ตามพระอารามเช่นนั้นจะเป็นแหล่งอำนวยประโยชน์ในการสร้างปัญญา โดยพระสงฆ์องค์เจ้าที่มาศึกษาทั้งทางคันถธุระและวิปัสนาธุระ จะได้อาศัยในการพิจารณาหัวข้อและปัญหาธรรมทั้งมวล เพื่อความแตกฉานในภูปัญญา นอกจากนั้นสัตว์เล็กๆ ต่างก็จะได้อาศัยความร่มรื่นปราศจากภัยอันตรายเป็นที่พำนักพักพิงของนกกา

ในสมัยที่หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น หลวงพ่อท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดีและในฤดูกาลเข้าพรรษา มีพระภิกษุนวกะมากท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่นั้นท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสมณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ กับหลวงพ่อ สำหรับการฉันจังหันของหลวงพ่อนั้นก่อนอื่นท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันหลวงพ่อจะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง

หลวงพ่อจะฉันด้วยมือและใกล้ท่านต้องมีถ้วยใส่น้ำไว้คอยชุบมือ นอกจากหลวงพ่อจะฉันที่เป็นน้ำเช่น แกงจืด หลวงพ่อจึงจะใช้ช้อนโดยเฉพาะขนมครกหลวงพ่อชอบมาก เวลาท่านจะฉันหมาก หลวงพ่อจะให้ลูกศิษย์หรือญาติโยมที่นำมาถวาย ใส่ในตะบันและตำให้ละเอียดถ้าไม่กลับเอาข้างล่างขึ้นมาอยู่บนและตำใหม่อีกครั้งหลวงพ่อจึงจะฉัน แต่ถ้าลูกศิษย์หรือโยมบางคนไม่รู้เมื่อตำเสร็จส่งให้หลวงพ่อๆ จะไม่ฉันทั้งที่หลวงพ่อไม่ได้ดูการตำผู้เขียนเอายังงงว่าหลวงพ่อรู้ได้ยังไง

ในสมัยที่หลวงพ่อยังแข็งแรงนี้ หลวงพ่อได้มีโอกาสสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลานี้ ด้วยการแสดง พระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกนเพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประพฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนา
ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไปประกอบกับเป็นที่เลื่องลือในวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงเป็นผลสะท้อนทางอ้อมเกี่ยวกับการสนับสนุนในด้านการปกครองท้องถิ่นไปโดยปริยาย โดยจะไม่มีปรากฏว่าผู้ใดมาประพฤติชั่วในเขตวัดของหลวงพ่อ และลูกศิษย์บางคนที่จะคิดประพฤติชั่วในทางที่ไม่ควรลับหลังท่าน ถ้าระลึกถึงท่านได้แล้วมักจะระงับ ที่จะพฤติปฏิบัติเช่นนั้นเสีย

ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าในกรณีที่ทางวัดได้ประกอบเป็นงานบุญขึ้น จะไม่บังเกิด เรื่องราวภายในวัดให้กระทบกระเทือนสถาบันทางพระศาสนา จึงมิต้องอาศัยเจ้าพนักงานของบ้านเมือง มารักษาความสงบสุข นี้ก็เป็นเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์เคารพนับถือตามคำสั่งสอนของท่าน หลวงพ่อยังได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้เจริญรุ่งเรือง

? หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลหลังแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495
? ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499
? พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
? สะพานคอนกรีต และถนนทะยอยสร้างมาราว พ.ศ. 2502
? อาคารโรงเรียนประชาบาลหลังที่ 2 สร้าง พ.ศ. 2505
? ฌาปนสถานสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509
? ระบบน้ำบาดาล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510
? กุฏิสงฆ์ (อินทสโร) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511
? หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512

ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสมานมัสการหลวงพ่อเพื่อขอพรจากท่าน หลวงพ่อมักจะแฝงการสั่งสอนธรรมะให้ด้วยเสมอๆ เป็นต้นว่ามีนักศึกษาจะไปสอบหลวงพ่อท่านก็จะให้พรขอให้สมตามความปราถนา แต่ก็ให้ขยันหมั่นเพียรดูหนังสือให้มากอย่าประมาทและผู้ที่มาขอให้หลวงพ่อเจิมรถอันมีอยู่เป็นประจำนั้น นอกจากหลวงพ่อให้พรเกี่ยวกับความปลอดภัยแล้วท่านก็จะเตือนสติให้การขับรถไว้ทุกราย ส่วนลูกศิษย์ที่เขาพบหลวงพ่อท่านเป็นประจำ ท่านก็มักจะเตือนสติไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นประกอบแต่กรรมดีลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมแสดงว่า ท่านแฝงการสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา

การร่วมกุศลพิธีพุทธาภิเษก

โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิชาการฝังลูกนิมิต การเสกทรายและการลงไม้หลักมงคลซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธิวางศิลาฤกษ์นั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วๆ ไปมานานแล้ว จนปรากฏว่าสังฆเสนาสนะทั้งหลาย ที่หลวงพ่อท่านได้สร้างแล้วนี้มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์เท่าที่รู้เห็นกันก็คือผลอันปรากฏจากผู้มีใจบาปหยาบช้า เข้ามาโจรกรรมสิ่งของมีค่าภายในปูชนียสถานวัตถุเล่านั้นก็บังเกิดความงงงวย ไม่อาจจะเล็ดลอดออกไปได้ ถึงออกไปแล้วก็ต้องกลับมาให้จับจนได้ ดังปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับอภินิหารซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมไว้ในท้ายเรื่อง

ในชีวิตเบื้องปลายของหลวงพ่อท่านได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ณ ที่อื่นๆ อยู่เนืองๆ เช่นเมื่อปี พ.ศ. 2500 พระครูกัลยานุกูล( ) ได้นิมนต์หลวงพ่อไปร่วมชุมนุมพระอาจารย์ 1782 รูปเข้าพิธีพุทธาภิเษกสร้างพระสมเด็จและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นอนุสรณ์กึ่งพุทธกาลโดยบันทึกประวัติในหนังสือชุมนุมพระอาจารย์ ความสำคัญมีว่า

พระอาจารย์น้อย อินทสโต อายุ 77 ปี พรรษา 57 เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลาลงทางมหาอุตย์กันกระทำ มหานิยม คลอดบุตรง่าย - ปลอดภัยกันภยันตรายต่างๆ เลี้ยงบุตรง่าย ก็เด็กขี้อ่อน กันแท้งลูก ใส่ก้งถุง - มีเงินใช้ไม่ขาด มีอำนาจ"

และในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดประสาทบุญญาวาท เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2508 หลวงพ่อท่านร่วมลงแผ่นโลหะปลุกเสกไปเข้าพิธีด้วย และปรากฏว่าแผ่นโลหะที่หลวงพ่อปลุกเสกนี้ เมื่อใส่ไปในเบ้าหลอมกลับไม่ละลายซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของพระอาจารย์ที่ปรากฏการณ์แบบเดียวกันอันเป็นที่โจษจรรย์ในอิทธิปาฏิหาริย์มาแล้วครั้งหนึ่งในหมู่ลูกศิษย์ย่อมรู้กันดี ในระยะหลังที่ได้ของดีจากหลวงพ่อไปแล้วต่างได้ประสบการณ์ในอิทธิปาฏิหาริย์ ใครมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงหวงแหนมาก
มูลเหตุการสร้างอิทธิวัตถุ

หลวงพ่อได้ศึกษาวิชาการทางพุทธคุณพร้อมกับเจริญด้วยวิปัสสนาธุระมาเป็นเวลานาน แต่ก็มิได้แสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบ แต่จากจริยาวัตรของท่านที่เห็นแต่ภายนอกก็สร้างความศรัทธาให้กับบุคคลผู้พบเห็นจวบจนระยะวัยชรา ศิษย์ทั้งหลายต่างก็พร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อ ได้สร้างอิทธิวัตถุเพื่อเป็นมงคลแก่บรรดาศิษย์ทั้งมวล เมื่อไปขอท่านแต่ละครั้งท่านก็ให้เหตุผลว่า สมัยนี้มีคนประพฤติชั่วกันมากของท่านหากสร้างขึ้นมาก็อาจจะมีบุคคลนำไปใช้ในทางที่ผิด แล้วความเสื่อมเสียก็จะมีมาถึงหลวงพ่ออันเป็นสิ่งไม่บังควรในสภาวะการครองสมณเพศ

แต่ในเวลาต่อๆ มา บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็ไม่ละความพยายามที่จะขอให้หลวงพ่อท่านสร้างอิทธิวัตถุมงคลให้ได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดกล้าจัดพิธีการสร้างเพราะทุกคนต่างกลัว เกรงใจและรักเคารพต่อหลวงพ่อเป็นเคารพเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่อยากทำอะไรให้เป็นที่ขัดความประสงค์

จวบจนมาในระยะหลังๆ มีลูกศิษย์ผู้หนึ่งได้ไปพบพระเมฆพัดที่ร้านจำหน่ายพระมีไว้ให้เช่าพระเมฆพัดนี้ พิมพ์เดียวกันกับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบเป็นผู้ปลุกเสก เพื่อแจกทหารเรือในสมัยสงครามอินโดจีน มีลักษณะเป็นรูปพระสมาธิสี่ด้านและมาเรียกกันว่าพิมพ์พรหมสี่หน้าเมื่อ 30 ปีก่อนผู้เขียนก็เคยพบพระพิมพ์นี้เหมือนกัน ที่ร้านจำหน่ายพระพุทธและเครื่องบวชในสะพานหัน และเข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างเกินจำนวนจากการสร้างถวายหลวงพ่ออี๋ในปี พ.ศ. 2433

ดังนั้นศิษย์หลวงพ่อน้อยที่มาพบพระพิมพ์พรหมสี่หน้าที่กรุงเทพฯ นี้อาจจะได้จากร้านพระพุทธรูปบูชาในสะพานหันและเสาชิงช้าก็ได้ จึงได้เช่าไปประมาณ 200 กว่าองค์ เมื่อเช่ามาได้แล้วจึงพากันไปหาหลวงพ่อ แล้วถวายหลวงพ่อเพื่อการปลุกเสก

พร้อมกับมีผู้เรียนหลวงพ้อว่าพระจำนวนนี้เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว จัดได้แจกจ่ายให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดทั้งหลายคงจะไม่มีผู้ใดนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะแต่ละคนมีความเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของหลวงพ่อทั้งสิ้น โดยลักษณะนี้หลวงพ่อท่านจำยอมรับมาปลุกเสกให้ ในการปลุกเสกหลวงพ่อท่านทำทุกวัน เป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ก็ไม่มีผู้ใดจำว่านานเท่าใด จึงได้แต่เชื่อว่าประมาณ 1 พรรษาหลวงพ่อจึงนำมาแจกจ่ายให้กับศิษย์ทั้งหลาย พระชุดนี้จึงถือว่าเป็นพระชุดแรกที่หลวงพ่อท่านปลุกเสกให้

ในระยะต่อมาก็มีลูกศิษย์อีกหลายคนที่ยังมิได้รับพระปลุกเสกครั้งแรกจากหลวงพ่อ ต่างก็มาขอร้องให้ท่านสร้างหรือเหรียญเพื่อจักได้ให้เป็นที่ระลึกโดยทั่วถึง ความปรารถนาของศิษย์ทั้งหลายที่หลวงพ่อได้รับรู้นี้ ท่านได้ใช้เวลาไตร่ตรองอยู่เป็นนานพอสมควร และในโอกาสที่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งมีความมักคุ้นกันมากหลวงพ่อท่านก็ได้ปรารภความปราถนาของศิษย์ดังกล่าวให้หลวงพ่อเงินทราบ หลวงพ่อเงินท่านก็สนับสนุน ควรจะตอบสนองความศรัทธา

หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อบรรดาลูกศิษย์ นำเรื่องนี้เรียนกับหลวงพ่ออีก หลวงพ่อท่านก็ไม่กล่าวความแต่อย่างใด กลุ่มลูกศิษย์จึงถือว่าท่านอนุญาตแล้วจึงเริ่มตั้งต้นการสร้างเหรียญของท่านก่อนเป็นปฐมฤกษ์

แต่ในครั้งแรกนี้ในฐานะที่แต่ละคนยังไม่เคยสร้างพระ หรือสร้างเหรียญมาก่อน จึงใช้วิธีการติดต่อช่างว่าจ้างให้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อขึ้นจำนวนหนึ่ง เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญรุ่นอัดพิมพ์ เนื้อโลหะผสมที่แก่ทองแดงพิมพ์เสมา มีขนาดค่อนข้างเล็ก

ด้านหน้าเบื้องบนอักษรไทยตัวนูนว่า "หลวงพ่อน้อย" ขอบด้านหน้ามีลายกนกกิ่งกลางด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ลอยเด่นอยู่ตรงกลาง มีใบหน้าหนุ่มและรู้สึกดูด้านล่างของรูปหลวงพ่อประมาณแนวอก ตัดตรงและไม่มีส่วนใดชิดเส้นขอบ

สำหรับด้านหลังเรียบมียันต์นะปถมังอยู่ตรงกลางเป็นเส้นนูนขึ้นมา ดังนั้นเหรียญรุ่นนี้จึงนับว่าเป็นรุ่นแรก ที่หลวงพ่อได้สร้างและปลุกเสกจากมูลเหตุที่จะมีการสร้างอิทธิวัตถุของหลวงพ่อขึ้นดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าลูกศิษย์ได้ใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าหลวงพ่อจะอนุญาตซึ่งการสร้างเหรียญชุดแรกขึ้นนี้ ท่านก็คงมุ่งหวังแต่เพียงเป็นของที่ระลึกสำหรับลูกศิษย์ในกาลอนาคตที่ท่านจากไปแล้ว

ส่วนก่อนหน้านี้สิ่งที่หลวงพอกระทำอันเกี่ยวกับพุทธาคมก็มีเรื่องการลงไม้หลักมงคล การรดน้ำมนต์การเสกทราย การทำตะกุดโทน เป็นอาทิ

"อิทธิวัตถุของพระครูภาวนากิตติคุณ"

 
รูปหล่อ หลวงพ่อน้อย

หลวงพ่อน้อย อินทสโร หรือท่านเจ้าพระคุณภาวนากิตติคุณองค์นี้ได้สร้างอิทธิวัตถุอันเป็นมงคลไว้หลายชนิด ทั้งที่สร้างเป็นรุ่นๆ ในจำนวนมาก และที่ปลุกเสกเป็นการเจาะจงให้กับลูกศิษย์เป็นเฉพาะรายในจำนวนน้อย เมื่อรวมกันแล้วถึง 50 กว่าชนิด การสร้างนั้นท่านมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาผู้ที่มานมัสการหลวงพ่อ รวมทั้งแจกในโอกาสต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน และผ้าป่า งานสร้างศาลาการเปรียญ-สร้างพระอุโบสถ-สร้างโรงเรียน-สร้างหอระฆัง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการฉลองสิ่งก่อสร้างทางสงฆ์ภายในวัดธรรมศาลา

"หลวงพ้อน้อย เป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองด้วยวิทยาคุณ" การปลุกเสกก็มักจะเป็นไปในทำนองเกจิอาจารย์ทั้งหลายคือ มักจะปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่ปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่จัดเป็นพิธีพุทธาภิเษก อันเป็นงานใหญ่ของวัด โดยคณะกรรมการวัดได้นิมนต์พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และคุ้นเคยชอบพอกับหลวงพ่ออีกหลายแห่ง มาร่วมการปลุกเสกกับหลวงพ่อ เช่นในงานสมโภชที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูภาวนากิตติคุณเมื่อเดือนมีนาคม 2512 เป็นต้น

นอกจากนั้นหลวงพ่อก็เคยรับนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกที่อื่นๆ อยู่เสมอแต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันควรทราบก็คืออิทธิวัตถุต่างๆ ที่ปลุกเสกนี้ หลวงพ่อจะเก็บเอาไว้นานอย่างน้อยก็ 1 พรรษา ระหว่างที่เก็บ ท่านก็จะปลุกเสกของท่านไปทุกวัน ตามเวลาจะเอื้ออำนวย กว่าจะนำเอาออกมาให้สาธุชนสักการะบูชาได้ก็ร่วมขวบปีผ่านไปแล้ว โดยลักษณะดังกล่าวนี้อิทธิมงคลวัตถุของหลวงพ่อแต่ละชิ้นจึงนับว่ามีกฤติยาคมหนักแน่นจริงๆ จนปรากฏข่าวทางอภินิหารเกิดขึ้นเสมอ ผู้เขียนเองก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อและเคยมีประสบการณ์ทางด้านคงกระพัน เมื่อสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

 
เหรียญปั๊มหลวงพ่อน้อยรุ่นแรก เนื้อทองแดง

นอกจากนั้นอิทธิวัตถุจากที่อื่นๆ ก็มีอยู่หลายครั้งที่นำถวายหลวงพ่อให้ท่านช่วยปลุกเสก เมื่อแล้วเสร็จท่านก็มอบคืนไป และผู้รับก็มักจะแบ่งถวายหลวงพ่อท่านไว้ส่วนหนึ่ง เมื่อมีใครมาขอท่านก็ให้ไปจนหมด อิทธิวัตถุเหล่านี้มีผู้มาติดตามเพื่ออยากได้อยู่หลายราย โดยเฉพาะภายหลังที่หลวงพ่อมรณะภาพแล้ว ทางวัดก็มิรู้จะหาที่ไหน สอบรายละเอียดก็มิใช่ทางวัดสร้าง แต่เขาก็ยืนยันว่ารับไปจากหลวงพ่อ กว่าจะเข้าใจเรื่องราวตรงกันก็ต้องสืบถามคนเก่าๆ อยู่นานถึงได้รู้แล้วหลวงพ่อได้แจกไปจริง

อิทธิวัตถุต่างๆ ที่สร้างนี้ในยุคแรกๆ มีทั้งเนื้อโลหะและเนื้อผง บางส่วนจัดสร้างขึ้น โดยเฉพาะภิกษุเป็นช่างกันเองภายในวัดนั้น ดังนั้นของจำพวกหล่อที่แท้จริงไปบ้างส่วนจำพวกเหรียญอัดพิมพ์( ปั๊ม) นั้นก็มีการว่าจ้างโรงงานผลิตขึ้น ความปราณีตงดงามจึงสวยกว่าเป็นไปตามแบบมาตราฐานทั่วไป ที่มาของ "เหรียญหน้าเสือ" กรณีนี้ได้เล่าสู่กันว่า เหรียญหน้าเสือและเหรียญคอน้ำเต้ายุคแรกเมื่อออกมาใหม่ๆ ลูกศิษย์ให้ความสนใจกันน้อยเพราะด้อยในความปราณีตและสวยงาม เมื่อช่างหล่อเทพิมพ์และถอดออกมาจะพบเหรียญนี้ใบหน้าจะเทไม่ค่อยติด ช่างได้บอกกับหลวงพ่อว่า "หน้าเสีย" หลวงพ่อได้ยินก็ตอบช่างว่าไม่ใช่ "หน้าเสือ" แต่เมื่อลูกศิษย์ที่นำใช้ติดตัว เมื่อประสบผลทางกฤติยาคมกันเข้า ต่างก็เสาะหา แสวงหา จนเป็นของหายากในยุคนี้ไปเสียแล้ว

 
เหรียญหล่อรุ่นแรก เนื้อทองผสม(เหรียญหน้าเสือ) หลวงพ่อน้อย 

ในกรณีที่คนไปนมัสการหลวงพ่อ เพื่อจะขอของจากท่านและแทบทุกครั้งเมื่อเขาจะเอ่ยปาก หลวงพ่อท่านเห็นท่า ท่านก็ยิ้มก่อน แล้วลุกไปนำออกมา โดยไม่ต้องรอคำขอ เมื่อเลือดได้แล้วจึงจะส่งให้หลวงพ่อท่านประสาทให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่ท่านหยิบให้เองมักจะเป็นของชนิดที่ตรงกับผู้ขอมาต้องการ ซึ่งได้สร้างความแปลกใจกันในหมู่ลูกศิษย์เสมอมา

มรณกาล

เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา 34 นาที ความเศร้าโศกก็ได้ครอบงำตำบลธรรมศาลา เมื่อได้ทราบข่าวมรณภาพของหลวงพ่อด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 67 การนี้มีศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่างร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมถวายทุกคืนจนครบ 100 วัน และทางวัดก็ได้ตั้งศพของท่านที่กุฏิอินทรสรจวบจนในปี พ.ศ.2516 พระอธิการบำเพ็ญปญญาโภได้สร้างวิหารจตุรมุขเมื่อวัยที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2516 เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือท่านได้มีความสะดวกมาสักการะบูชาต่อไปจวบจนทุกวันนี้
 


ข้อมูลจากเวป http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=801

143


หลวงปู่สาย หรือ พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ นามสกุลเดิม เพชรนิล เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กย 2435 ปีมะโรง บิดาชือ สง มารดาชือ อุบ อาชีพกสิกรรม มีพี่น้องบิดามารดาเดียวกัน 6 คน ท่านเป็นคนที่ 3
เมื่อเยาว์วัย หลวงปู่ได้เรียนหนังสือกับหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จนมีความรู้ความชำนาญในด้านภาษาไทยเทียบเท่าชั้นประถม 4 ในด้านภาษาขอม ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนจนสามารถจารอักขระลงในใบลานเป็นหนังสือเทศน์

เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป้นสามเณร ณ วัดตึก โดยมีหลวงปู่นิล เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้รับมอบหมายจากหลวงปู่นิล ได้เป็นผู้จารหนังสือเทศน์เป็นภาษาขอมลงในใบลานวันละหลายๆหน้า เพราะหลวงปู่มีความวิริยะอุสาหะใหนการทำงานเป้นอย่างยิ่ง ท่านเคยเล่าให้ฟังว่ากิจวัตรของหลวงปู่สมัยเป็นสามเณร เวลาเช้าก็บิณฑบาต เมื่อกลับจากบิณฑบาตก็ถวายการปรนนิบัติอุปัชฌาย์จารย์ แล้วก็เริ่มจารหนังสือขอมลงในใบลานตลอดวัน เว้นระยะฉันเช้าและเพลเท่านั้นจะหยุดพักจำวัดต่อเมื่อ 5 ทุ่มเศษ และตื่นจากจำวัตรเวลาตี 4 ของทุกวัน 
 ***อุปสมบท***.....หลวงปู่อายุได้ 20 ปี ก็เข้ารับการอุปสมบท ณ วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร โดยมี หลวงปู่นิล วัดตึก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษา ณ วัดตึก ได้ 9 พรรษา ก็ได้ทำการลาสิกขาบท เพื่อไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพยังภูมิลำเนาเดิม
อุปสมบทครั้งที่ 2.......เมื่อหลวงปู่ลาสิกขาบทได้ 7 วัน จะเป็นด้วยบารมีที่หลวงปู่สั่งสมไว้หรือไม่ ท่านได้รับการเข้ารับการอุปสมบทอีกครั้ง เมื่อ 9 เมย. 2468 ณ วัดใหม่โพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ ราชบุรี โดยมีพระอธิการแช่ม วัดดอนเซ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมสาทิศ (แม้น) เป้นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปลื้ม วัดโพหัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และหลวงปู่ได้มาจำพรรษา ณ วัดหนองสองห้อง ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่ท่านจะลาสิกขาครั้งแรก ท่านก็ได้รับการเชิญจาก ทายก ทายิกาให้มาจำพรรษา ณ วัดหนองสองห้องก่อนแล้ว 
ความดีพิเศษของหลวงปู่สาย......
โดยปกติหลวงปู่เป็นพระที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก ตามที่ปรากฎเวลาที่ท่านจะไปทำธุระอะไรก็ตาม แม้จะเป็นภายในวัด ท่านมักจะนุ่งห่มอย่างเรียบร้อยและปฎิปทาอันนี้มิใช่ท่านจะปฏิบัติเฉพาะตัวท่านเอง ยังได้อบรมพระภิกษุสามเณรให้ประพฤติตามด้วยจนได้การยกยอ่งจากคนทั่วไปว่า พระเณรของหลวงปู่มีความประพฤติดี นุ่งห่มเรียบร้อย ...
หลวงปู่เป็นพระที่มีอัธยาศัยอันงาม โอบอ้อมอารีย์ ท่านจะทำกิจของสงฆ์ไม่เคยขาดคือการทำวัตร และท่านจะนำการสวดมนต์ทำวัตรเอง ให้แก่พระภิกษุสามเณร
ฌานสมาบัติ........
หลวงปู่เป็นพระเถระที่มีฌานสมาบัติสูง มีศิษย์ที่ใกล้ชิดท่านหนึ่งเคยได้ยินได้ฟังกับหูตัวเองว่า.....หลวงปู่เคยถามท่านปลัดพิศาลฯ (อดีตปลัดกระทรางมหาดไทยนับถือท่านมากๆ) ว่า นั่งสมาธิ เป็นไหม ท่านปลัดตอบว่า ท่านนั่งได้ถึงขั้นโอภาส หลวงปู่สายได้ชวนท่านปลัด ให้ไปค้างคืนที่วัดสักคืน ท่านว่าจะพาปลัดฯ ไปเที่ยวสวรรค์ ถ้าหลวงปู่ฯ ไม่มีฌานสมาบัติที่สูง ก็คงทำอย่างนั้นไม่ได้เป็นแน่..... 
 วัตถุมงคลที่นิยมและมีประสบการณ์มากรุ่นหนึ่ง ของหลวงปู่สาย ก็คือ พระเครื่องพันแปดไฟ ท่านสร้างเนื่องในโอกาส แจกศิษย์ที่ไปสงครามอินโดจีนและสงครามเกาหลี ที่เรียกว่า ธาตุพันแปดไฟ นั้น เพราะ หลวงปู่ได้ใช้แผ่นตะกั่วมาลงอักขระปลุกเสกแล้วนำไปหลอม เมื่อหลอมเสร็จ เมื่อแผ่นตะกั่วเย็นก็นำมาลงอักขระอีก แล้วนำไปหลอมใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนครบ หนึ่งพันกับแปดครั้ง จึงเรียกว่า พระธาตุ พันแปดไฟ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2485-2487
ขอบคุณข้อมูลจากเวป http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=show&No=24902

144
วันที่ 3 ก.พ. 2552 นี้ สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการสักยันต์ อย่าลืมดูช่อง ไทยทีวี(ITV เก่า)
มีรายการเกี่ยวกับการสักยันต์ เวลาประมาณ 20.20 นาที จึงเรียนมาให้พี่น้องเวปวัดบางพระ ผู้ที่สนใจรอชมนะครับ

145








ขอบคุณทุกทท่านล่วงหน้าเลยนะครับ

146




พระรุ่นนี้ โดยสมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมพระคณาจารย์ที่ล้วนทรง กิตติคุณในขณะนั้น จำนวน อีก108 รูป ปลุกเสกอธิฐานจิต ...และยังมีมวลสารเก่าจำนวนมาก ตำและผสมลงไป สำหรับองค์นี้พิมคะแนนนะครับองค์เล็ก

พิจณาได้เต็มที่เลยครับ  :002:

147



สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราคุยกันถึงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอกกันบ้างครับ หลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระของท่านมีทั้งเหรียญและพระเนื้อผง และเป็นที่นิยมของสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาครับ

ท่านพระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดบางปะกอก ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์ บูรณะ กทม. ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านเป็นชาวบางปะกอกโดยกำเนิด โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อสุ่น ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่วัดพลับ โดยอยู่กับพระน้าชายชื่อพระอาจารย์ดี ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงอุปสมบทที่วัดทอง นพคุณ และต่อมาท่านได้ถูกนิมนต์ให้มาอยู่ที่วัดบางปะกอก อีก 2-3 ปีต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ และเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคสงครามอินโดจีน สมณศักดิ์สุดท้ายที่ท่านได้รับก็คือ พระครูประศาสน์สิกขกิจ พระครูชั้นพิเศษ แต่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อพริ้งบ้าง หลวงปู่พริ้งบ้าง
พระสมเด็จพิมพ์บัวห้าเม็ด

 


การศึกษาวิชาของท่านนั้นสืบไม่ได้ว่าท่านเรียนมาจากที่ใดเข้าใจว่าท่านคงศึกษามาจากที่วัดพลับนั่นเอง หลวงพ่อพริ้งท่านมีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และทางหมอยา ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปะกอกใหม่ๆ ในย่านนี้มีนักเลงหัวไม้อยู่หลายก๊กงานวัดเมื่อไรก็จะมีการตีกันอยู่เป็นประจำ ต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้ว พวกนักเลงหัวไม้ต่างๆ ก็เกรงกลัวท่านไม่กล้ามาก่อเรื่องอีก บ้างก็ฝากตัวเป็นศิษย์หรือไม่ก็หายหน้าหายตาไปเลย

ในสมัยก่อนนั้นการเดินทางไปยังวัดบางปะกอกยังยากลำบาก ต้องเดินทางโดยเรือพาย แต่ก็มีผู้คนมากมายเดินทางมากราบท่านอยู่เป็นประจำ ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ เช่นเสด็จใน กรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งท่านได้รับการบอกกล่าวมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ว่ายังมีพระอาจารย์ที่เก่งมีวิทยาคมสูงอยู่ทางบางปะกอก ซึ่งหลวงพ่อพริ้ง ครั้นต่อมาเสด็จในกรมฯ ท่านจึงได้มาลองวิชากับหลวงพ่อพริ้ง จนฝากตัวเป็นศิษย์ และนำพระโอรสมาบวชเป็นสาม เณรกับท่านถึง 3พระองค์ นอก จากนี้ทหารเรืออีกมากมายก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพริ้ง บางครั้งมีเรือจอดกันที่หน้าวัดแน่นขนัดไปหมด ผู้ที่เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อพริ้งต่างก็มาขอของขลังบ้าง ลงกระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บ้างเวลามีงานไหว้พระครูประจำปี ขบวนเรือจะจอดกันยาวเหยียดไปจนถึงปากคลอง ซึ่งจรดแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นระยะทางเกือบกิโลทีเดียว
พระเนื้อผงพิมพ์พระคง

 


หลวงพ่อพริ้งท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่าง เช่น ลูกอมเนื้อผงเหรียญรูปท่านปี พ.ศ.2483 พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์ไพ่ตอง พิมพ์พระคง และสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ธงผ้ายันต์เชือกคาดเอว ตะกรุด ฯลฯ เป็นต้น พระเครื่องของท่านล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อครั้งตอนสงครามอินโดจีนพระเครื่องและเครื่องรางของท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว

หลวงพ่อพริ้งท่านมักจะได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ด้วยทุกครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านนิมนต์หลวงพ่อพริ้งลงแผ่นทองคำเพื่อนำไปหลอมในการสร้างพระกริ่งของท่าน ปรากฏว่าเมื่อช่างได้นำแผ่นทอง แดงของท่านลงในเบ้าหลอมรวมกับแผ่นทองแดงของอาจารย์ท่านอื่นๆ มีแผ่นทองแดงที่ไม่หลอม ละลายอยู่แผ่นหนึ่ง จึงนำขึ้นมาดูปรากฏว่าเป็นแผ่นทองแดงของหลวงพ่อพริ้ง จึงได้ทำการหลอมต่อ แต่ทำอย่างไรแผ่นทองแดงนั้นก็ไม่ละลาย ถึงกับต้องนิมนต์หลวงพ่อพริ้งมาจากวัด เมื่อท่านกำกับ ปรากฏว่าแผ่นทองแดงนั้นละลายไปอย่างง่ายดาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปอย่างกว้างขวาง

หลวงพ่อพริ้งท่านมรณภาพลงในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2490 ในวันที่ท่านมรณภาพนั้นท่านได้ให้ลูกศิษย์ประคองท่านลุกขึ้นนั่งแล้วท่านก็ประสานมือในท่าสมาธิ ครู่เดียวท่านก็มรณภาพลง สิริอายุได้ 78 ปี เหรียญพระเนื้อผงและลูกอมของท่านนั้นปัจจุบันหายากพอสมควรครับ


จากเวป http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538664016&Ntype=40

148


วันนี้ได้มีโอกาศไปทำบุญ ณวัดกลางบางแก้วมา ครับ เลยนำพระรุ่นบรรจุกรุ มี 5 องค์ ทำบุญ 100 บาทมาให้ชม ครับ
โดยใช้ดิน และมวลสารเก่าของหลวงปู่บุญผสม ปลุกเสกเดี่ยว โดยหลวงปู่เจือ ครับ

ส่วนอีกองค์เป็นพระรูปเหมือนหลวงปู่บุญ ที่แจกมากับชุดดอกๆไม้ธูปเทียน ครับ

อะครับ ...และก็เอาบุญมาฝากพี่น้องชาวบางพระดว้ยนะครับ สาธุ

ใครจะไปก็ขออนุโมธนาบุญล่วงหน้าเลยนะครับ ........................สาธุ ครับ
วันนี้คนเยอะมาก ครับ เหอๆๆๆๆ

ขอโทษนะครับ ที่มได้เก็บบรรยากาศมาให้ชม ครับ เหอๆๆ คนเยอะมาก ครับ ไม่กล้าถ่าย

151
ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนาพุทธ มีความศรัทธาในพระพุทธ พระสงฆ์ จึงได้มีการสร้างสัญลักษณ์ หรือตัวแทนความศรัทธาต่อสิ่งเหล่านี้ในรูปของ รูปภาพ รูปหล่อเหมือน เหรียญพระห้อยคอ ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เคารพบูชา ประชาชนส่วนใหญ่จะมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในครอบครอง เพราะฉะนั้นจึงควรมีความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ การผลิต การใช้สิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน การดูแลรักษา การทำความสะอาด การเก็บรักษา ให้คงสภาพเดิมให้อยู่ได้นานเท่าที่จะนานได้
เหรียญส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย จะเป็นเหรียญโลหะ ซึ่งก็มีหลายชนิด เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลือง ชิน เป็นต้น ซึ่งจะแยกอธิบายทีละชนิด
ทองคำเป็นโลหะหนัก มีสีเหลืองเป็นมันวาว มีสัญลักษณ์ทางเคมี (Au) มีจุดหลอมเหลวที่ 1063 องศาเซลเซียล เป็นโลหะที่เฉื่อยต่อปฏิกิริยา คือจะคงสภาพเป็นทองคำอยู่เช่นนั้น ไม่เป็นสนิมแต่ที่ผลิตเป็นเหรียญทั่วไปจะไม่อยู่ในสภาพที่เป็นทองคำบริสุทธิ 100%แต่จะมีส่วนผสมของทองแดงอยู่บ้างในปริมาณที่น้อยมากๆเพื่อเพิ่มให้เนื้อโลหะมีความแข็งมากขึ้นไม่ให้นิ่มจนเกินไป สิ่งที่เหรียญทองคำเหล่านี้จะเกิดการเสียหายก็อาจจะมาจากการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่นการเสียดสีกับลำตัวโดยตรงจากการห้อยคอ มีคราบฝุ่นคราบสบู่อยู่ หรือเห็นว่าเหรียญมีความสกปรกแล้วนำไปทำความสะอาดตามร้านทองทั่วไปซึ่งทำโดยนำไปแช่ในน้ำยาล้างทองซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ กรดกัดทอง น้ำยาประสานทอง ล้วนแล้วแต่ไม่สมควรทำอย่างยิ่งซึ่งเป็นการทำลายไม่ใช่การรักษา สำหรับการเสียดสีแก้ไขโดยการใส่กรอบเสีย และถ้าสกปรกเราก็จะใช้แอลกอฮอล์เช็ดออก หรือนำไปแช่ในน้ำอุ่นแล้วก็เช็ดออกด้วยผ้าแห้งนุ่มๆ สำหรับการเก็บรักษาไม่ควรห่อรวมกับชิ้นอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดการขัดสีกัน
เงินเป็นโลหะสีขาวมันวาว เนื้อค่อนข้างนิ่ม มีสัญลักษณ์ทางเคมี(Ag) มีจุดหลอมเหลว 961 องศาเซลเซียล เป็นโลหะที่ค่อนข้างเฉื่อยต่อปฏิกิริยาเช่นเดียวกับทองคำ แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดสนิมได้มากกว่าทองคำ ซึ่งสนิมที่กล่าวถึงอาจจะมีสีขาวเทาซึ่งเป็นสนิมที่เกิดจากคลอไรด์ เรียกว่าเงินคลอไรด์(AgCl)ซึ่งมาจากน้ำซึ่งมีอนุมูลของคลอไรด์โดยเฉพาะน้ำประปา สภาพแวดล้อมทั่วๆไปบ้าง และสนิมอีกชนิดจะมีสีออกดำเกิดจากซัลไฟล์เรียกว่าเงินซัลไฟล์(AgS) เกิดจากเหงื่อไคล สภาพแวดล้อมที่มีซัลเฟอร์ ที่มีเขม่าควันของรถยนต์ โรงงาน สนิมสีดำที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเอาออกเพราะชั้นของสนิมมีคุณสมบัติที่เป็นฟิล์มป้องกันเนื้อเงินที่ลึกลงไป ถ้าเห็นว่าไม่สวยอยากจะเอาออกก็ไม่ควรขัดด้วยน้ำมะขามเปียกเพราะเป็นกรด ควรใช้น้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะแต่ก็ไม่สมควรขัดบ่อยเพราะเป็นการขัดเนื้อเงินออกไปด้วย ยิ่งขัดยิ่งหายไปถ้าสกปรกจากฝุ่นละออง คราบไคล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดออก สำหรับการเก็บรักษาควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมข้างต้นซึ่งอาจจะใส่กรอบพลาสติกที่ปราศจากซัลเฟอร์ แต่ก็อยู่ได้ชั่วระยะหนึ่งก็อาจจะดำได้เพราะอากาศเข้าได้ อย่าเก็บรวมกับของอย่างอื่นเพราะจะเกิดการเสียดสีกันได้
ทองแดงเป็นโลหะค่อนข้างจะออกสีแดง สามารถดึงเป็นเส้นได้ นำไฟฟ้าได้ดี มีสัญลักษณ์ทางเคมี(Cu) มีจุดหลอมเหลว 1083 องศาเซลเซียล ทองแดงสามารถเกิดสนิมหรือปฏิกิริยาได้ง่ายกว่าโลหะทองคำและเงิน เหรียญทองแดงสามารถเกิดสนิมได้หลายชนิด ที่พบส่วนมากได้แก่ สนิมของออกไชด์ เรียกว่า Copper Oxide ซึ่งจะมีสีออกน้ำตาลแดง เช่นสนิม คิวไปรท์ (Cu2O) สนิมคาร์บอเนต เรียกว่า copper carbonate จะมีสีเขียวเข้ม เช่น มาลาไคต์ Cu2CO3(OH)2 และสนิมของคลอไรด์ เรียกว่า Copper Chloride เช่น Cu2Cl(OH)3 จะมีสีเขียวออ่นเป็นขุยๆ จะเห็นได้ว่าทองแดงสามารถเกิดสนิมได้มากมาย เป็นทั้งสนิมที่ดีและสนิมที่ไม่ดี สนิมที่เกิดจากออกไซด์ และคาร์บอเนตจะเป็นสนิมที่ดีจะเกิดเป็นฟิล์มป้องกันการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาอื่นๆได้และถ้าเป็นสนิมสีเขียวปกคลุมเสมอกันทั้งเหรียญก็จะมองดูสวยงาม สำหรับสนิมที่เกิดจากคลอไรด์จะเป็นสนิมที่อันตรายเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะกัดกร่อนเนื้อของเหรียญให้เกิดความเสียหายได้ สาเหตุส่วนใหญ่ก็จะมาจากสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น มีออกซิเจน และมีอนุมูลของคลอไรด์ เช่นใกล้น้ำทะเล เพราะฉะนั้นควรป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเพราะถ้าเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถทำให้กลับคืนดังเดิมได้ การป้องกันก็ควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมข้างต้น อาจจะทำกรอบใส่เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง สำหรับการทำความสะอาดก็ใช้แอลกอฮอล์เช็ดคราบไคล ไขมัน ความเป็นกรดออกและอาจจะเคลือบผิวด้วย Acrylic Polymer ก็ได้ที่สำคัญควรหมั่นตรวจดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบ่อยๆเพราะจะได้แก้ไขทันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ทองเหลืองเป็นโลหะที่ผสมระหว่าง ทองแดง(Cu) และ สังกะสี (Zn) โดยมีทองแดงประมาณ 80%ขึ้นไป และอาจมีโลหะอื่นผสมอยู่ด้วยในปริมาณเล็กน้อย ทองเหลืองจะมีสีออกเหลืองแดง เป็นมันวาวสามารถทำปฏิกิริยาได้เช่นเดียวกับทองแดงเพราะองค์ประกอบหลักคือทองแดง สนิมที่เกิดขึ้นมีทั้งสนิมดำ แดง เขียว การดูแลก็เช่นกันป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง การทำความสะอาดก็ใช้แอลกอฮอล์เช็ดและทำให้แห้ง อย่าใช้น้ำมะขามเปียกในการขัดให้เหลืองอร่ามเพราะจะเป็นการทำลายโดยใช่เหตุ เราอาจจะใช้น้ำยาที่ใช้เฉพาะทองเหลืองเท่านั้น แต่ก็ไม่สมควรขัดบ่อยเพราะเนื้อโลหะจะหลุดออกไปด้วย
ชินเป็นโลหะที่ผสมระหว่างดีบุก(Sn)และตะกั่ว(Pb)มีปริมาณของดีบุกประมาณ 80% โลหะจะมีสีขาวค่อนข้างมันวาวสามารถเกิดสนิมได้มีสีขาวอมเทาเรียกว่า Basic lead carbonateซึ่งสนิมนี้เกิดขึ้นแล้วอาจจะขยายตัวขึ้นทำให้ผิวโลหะแตกเป็นรอยร้าว สนิมนี้จะเปราะและแตกหักง่ายและเนื้อโลหะจะเกิดสนิมจนเป็นรูและทะลุในที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากที่ชินได้สัมผัสกับไอกรดจำพวกAcetate ควรหลีกเลี่ยงการเก็บชินไว้ในตู้ที่เป็นไม้เพราะจะมีไอกรดเหล่านี้ทำให้ทำลายเนื้อชินโดยตรง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมนี้ และไม่ควรให้สัมผัสกับความชื้นและออกซิเจน สำหรับการทำความสะอาดก็ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดเฉพาะที่มีฝุ่นและคราบใคลเท่านั้นและอาจจะเคลือบผิวด้วย Acrylic Polymer ซึ่งเป็นการป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับสภาพแวดล้อม


เหรียญโลหะอื่นๆ
โลหะชนิดอื่นๆก็ล้วนแต่มีปัญหาของสนิมมาจากสภาพแวดลอ้มที่มีความชื้น ออกซิเจน และกรด อยู่จึงควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมข้างต้น ควรมีสิ่งป้องกันไม่ให้โลหะสัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง ไม่ควรใช้สารเคมีต่างๆกับโลหะโดยตรงเพราะอาจจะเป็นการทำลายฉะนั้นถ้าเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาเบื้องต้นเหรียญวัตถุมงคลของเราก็จะอยู่กับเราได้อีกนานสิ่งที่สำคัญควรหมั่นตรวจดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเสมอถ้ามีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้นก็หาข้อมูลเพื่อใช้แก้ไขได้ทันท่วงที


มหาผล   
ขอขอบคุณจากเวป http://mail.vcharkarn.com/vcafe/61400 มาก ครับ

และขอบคุณพี่บอล ที่เซิดความรู้ ของเวปนี้มาให้ผมลงอีกที ครับ

152








แบบชัดๆเลยนะครับ รบกวนด้วยนะครับ เต็มที่เลยครับ กระแสเนื้อทองผสม ครับ
ฟันธงเลยครับ :002:

153
การวิเคราะห์พระหล่อโบราณ
    การดูพระหล่อโบราณนั้นต้องใช้การพิจารณาเชิงวิเคราะห์ถึงธรรมชาติพระเราต้องรู้ก่อนว่าพระองค์นี้มีวิธีการสร้างแบบไหนอย่างไร พระเครื่องของหลวงพ่อทบ ข้าพเจ้าพิจารณาจากประสบการณ์ในแวดวงพระเครื่องกว่าค่อนชีวิตและเคยเขียนบทความลงในนิตยสารพระเครื่องหลายๆฉบับมาก็หลายปี เห็นพระหล่อโบราณมาก็หลายเกจิหลายสายการพิจารณาก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ข้าพเจ้าจะให้ความสำคัญกับ กระแสพระมาเป็นอันดับต้นๆ ลองมาจะเป็นคราบเบ้า คราบนำทอง และลักษณาของการตะไบ...ส่วนพิมพ์ทรงนั้นยุติยากในพระหล่อโบราณ พระหล่อโบราณมีการแต่งพระในภายหลังก็มี บางองค์พิมพ์ผิดหมดแต่กระแสพระและธรรมชาติพระยังอยู่ เจอพระแบบนี้จะไปเหมาว่าเป็นพระปลอมก็นับว่าใจแคบเกินไป คนรุ่นหลังที่เข้ามาใหม่ได้รับข้อมูลผิดๆในที่สุดพระแท้ก็ต้องกลายเป็นพระเก็ไปอย่างน่าเสียดาย บางคนเล่นพระสไตส์เดียวตือถ้าพระไม่เหมือนของข้าต้องเป็นพระเก็ทั้งหมด ซึ้งไม่ถูกต้อง ประสบการณ์เท่านั้นครับถือว่าสำคัญ ขึ้นอยู่ที่ว่าใครเคยเห็นพระแท้ๆหลายสภาพมากกว่ากันต่างหาก ข้าพเจ้าเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ๆที่เข้ามาพลอยทำให้ได้รับข้อมูลที่ผิดๆและหลงทางในที่สุดการพิจารณาพระหล่อโบราณต้องดูธรรมชาติของพระให้เป็นต้องพิจารณาจากหลักความเป็นไปได้และความน่าจะเป็นควบคู่กันไปอย่ายึดติดกับความรู้สึกส่วนตัวแบบเก่าๆมาเป็นเครื่องตัดสิน น้องๆที่กำลังศึกษาต้องศึกษาให้รู้ท่องแท้และศึกษาจากคนที่รู้จริงเท่านั้นไม่อย่างนั้นเราจะหลงทาง ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณทีมงานเปิดตำนานหลวงพ่อทบมากไ ที่เปิดเว็บนี้ขึ้นมาถือว่าเป็นประโยชน์มากแก่ผู้ที่สนใจพระหลวงพ่อทบนับว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องขอให้กำลังใจทีมงานทุกคนให้ทำงานต่อไปอย่าท้อถอยจะเป็นกำลังใจให้ครับ 


ที่มา http://www.pantown.com/board.php?id=27010&area=4&name=board8&topic=28&action=view
ขอบคุณมากครับ :054:

และอีกอันอันนี้ครับ เกี่ยวกับข้อมูลพระหลวงพ่อทบครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=27010&area=4&name=board2&topic=173&action=view
ลองอ่านหัวข้อด้านบนดู ครับ ....ผมว่าดี ครับ ......
อยากรู้พระอะไรแท้ไม่แท้ ควร..ถามคนในพื้นที่ครับ เพราะคนในพื้นที่มักเห็นของแท้มากกว่าคนทั่วไป ครับ
ส่วนจะเก่งหรือไม่ก็อีกเรื่อง ครับ ลองอ่านดูครับ เห้นว่ามีประโยชน์ดีเลยเอามาฝากกัน ครับ

154

เมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่เนียม ผู้คนทั้งหลายจะต้องเรียกชื่อท่านควบกับชื่อวัดไปด้วย หรือเมื่อเอ่ยชื่อวัดน้อยนี้ก็ต้องควบชื่อท่านเข้าไปด้วยเช่นกัน เพราะในสุพรรณบุรีมีวัดที่ชื่อวัดน้อยหลายแห่งด้วยกัน แต่วัดอื่นๆ ก็ไม่ติดปากผู้คนเหมือนวัดน้อย หลวงปู่เนียม

 

วัดน้อยเป็นวัดเก่าอายุกว่าร้อยปี มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่สร้างโดยผู้ใดไม่ปรากฏ อยู่ในท้องที่ตำบลโตกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี วัดน้อยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม เส้นเดียวของเมืองสุพรรณบุรี สู่เมืองบางกอก

 

สมัยเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ก่อนจะมีถนนมาลัยแมนตัดจากนครปฐมมายังตัวเมืองสุพรรณวัดน้อยอยู่ระหว่างอำเภอบางปลาม้ากับตัวจังหวัด คิดระยะทางทางน้ำ ก็จะอยู่ห่างตัวเมืองสุพรรณราวเจ็ดแปดกิโลเมตร

 

สมัยเมื่อราวๆ ร้อยปีที่ผ่านมา วัดน้อยมีความเจริญสูงสุด เพราะครองวัดโดยพระมหาเกจิ-เถราจารย์นามกระเดื่อง ผู้เชี่ยวชาญทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระและวิทยาคมชื่อหลวงปู่เนียม

 

ในสมัยที่หลวงปู่ครองวัดอยู่ วัดน้อยของหลวงปู่ มีพระเณรมากกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง และค่อนข้างจะคลาคล่ำไปด้วยผู้ศรัทธาที่มาให้ท่านช่วยรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยยาสมุนไพร น้ำมนต์และอาคม ที่ชะงัดมากเห็นผลทันตาก็เรื่องหมาบ้าและงูพิษกัด เพียงเสกเป่าพรวดออกไปแล้วบอกว่า เอ้า ! มึงไปได้แล้ว ก็ไม่เห็นมีใครตายสักราย น้ำมนต์ของท่านเล่าลือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก

 

ถาวรวัตถุที่เชื่อกันว่าสร้างมาในสมัยหลวงปู่ที่ยังพอมีให้เห็นก็คือ มณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ศาลาข้างสระน้ำ ซึ่งสิ่งก่อสร้างทั้งสามนี้มีสภาพเป็นซากที่ถูกทอดทิ้งใช้การไม่ได้แล้ว

 

ถนนมาลัยแมน ที่สร้างขึ้นมาเมื่อราว ๕๐ ปีก่อน ทำให้สุพรรณบุรีเป็นเมืองเปิดขึ้นมาโดยทันที แม่น้ำท่าจีนที่เคยเป็นเส้นทางคมนาคมเดียวสู่บางกอกเริ่มลดความสำคัญ การเดินทาง และการส่งสินค้าเข้าออกเมืองสุพรรณทางเรือก็ค่อยเปลี่ยนเป็นทางรถยนต์และรถไฟ หน้าวัดที่คลาคล่ำด้วยหรือแพ เริ่มน้อยลงๆ จนไม่มีเลยในปัจจุบัน ผู้คนจะไปไหนๆไม่จำเป็นต้องผ่านวัดน้อยอีกแล้ว ผู้คนที่มาทำบุญที่วัดน้อยลง คนรุ่นหนุ่มสาวที่พอมีกำลังทำบุญแทบไม่เหลือติดหมู่บ้าน วัดในตำบลโตกครามก็มีมากเสียจนผู้คนในตำบลนี้ ไม่สามารถที่จะอุปถัมภ์ได้ทุกวัด

 

ความเสื่อมโทรมของวัดน้อยค่อยๆ เริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับความเจริญของจังหวัดสุพรรณบุรี

 

ในวัดน้อยเองขณะนี้ก็มีพระเณรอยู่ในวัดเพียงไม่ถึงสิบรูป แค่เพียงดูแลถาวรวัตถุ เช่น กุฏิ วิหาร มณฑป หอฉัน ศาลา ที่หลวงปู่สร้างไว้ ไม่ให้ผุพังไปตามกาลเวลาก็ดูจะเป็นเรื่องยากเสียแล้ว รายได้เข้าวัดน้อยมากสมชื่อวัด น้อยเสียจนทำอะไรไม่ค่อยได้ บางวันพระเณรต้องหุงหาอาหารไว้ฉันกันเอง ผู้คนที่จะมาที่วัดน้อยในปัจจุบันนี้ ร้อยทั้งร้อยจะแวะมาเพียงเพื่อมากราบรูปหล่อของหลวงปู่เนียมในมณฑปเท่านั้น

 

ประวัติของหลวงพ่อเนียม

 

ขุนดอน เขียนประวัติของหลวงพ่อในนิตยสารพระเครื่องชื่อ พุทโธ ฉบับเดือนพฤษภาคม- เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๑ และคุณทนงทิพย์ ม่วงทอง เขียนในฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๕ มีเนื้อความใกล้เคียงกันว่า

 

หลวงปู่เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นคนบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิด มารดาของท่านเป็นคนบ้านป่าพฤกษ์ ตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า ส่วนบิดาเป็นคนบ้านส้อง ตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ แต่ได้ย้ายมาลงหลักปักฐานอยู่ที่บ้านฝ่า