ผู้เขียน หัวข้อ: มหาสติปัฏฐานสูตร...(แบบย่อ)  (อ่าน 2255 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
มหาสติปัฏฐานสูตร...(แบบย่อ)
« เมื่อ: 30 ก.ค. 2552, 11:07:08 »
   ๐ มหาสติปัฏฐานสูตร๐
      พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ณ นิคม กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุ ต่อพระภิกษุ ให้รู้จักการตั้งสติ ๔ อย่าง อันได้แก่
๑.ตั้งสติกำหนดพิจารณากายในกาย
๒.ตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนาในเวทนา
๓.ตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตในจิต
๔.ตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมในธรรม
        การพิจารณากายแบ่งออกเป็น ๖ ส่วน อันได้แก่
๑.พิจารณากำหนดลมหายใจเข้าออก (อานาปานบรรพ)
๒.พิจารณาอิริยาบทของกาย (อิริยาบถบรรพ)
๓.พิจารณารู้ตัวในความเคลื่อนไหว (สัมปชัญญบรรพ)
๔.พิจารณาความน่าเกลียดของร่างกาย (ปฏิกูลปนสิการ)
๕.พิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ (ธาตุบรรพ)
๖.พิจารณาร่างกายที่เป็นซากศพมีลักษณะต่างๆ ๙ อย่าง (นวสีวถิกาบรรพ)
      การพิจารณาเวทนาความรู้สึก อารมณ์ ๙ อย่าง
๑.อารมณ์เป็นสุข
๒.อารมณ์เป็นทุกข์
๓.อารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์
๔.อารมณ์สุขที่ประกอบด้วยอามิสเหยื่อล่อ
๕.อารมณ์สุขที่ไม่ประกอบด้วยอามิสเหยื่อล่อ
๖.อารมณ์ทุกข์ที่ประกอบด้วยอามิสเหยื่อล่อ
๗.อารมณ์ทุกข์ที่ไม่ประกอบด้วยอามิสเหยื่อล่อ
๘.อารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขอันประกอบด้วยอามิส
๙.อารมณ์ไมทุกข์ไม่สุขที่ไม่ประกอบด้วยอามิส
       การพิจารณาจิต ๑๖ อย่าง
๑.จิตมีราคะ
๒.จิตปราศจากราคะ
๓.จิตมีโทสะ
๔.จิตปราศจากโทสะ
๕.จิตมีโมหะ
๖.จิตปราศจากโมหะ
๗.จิตหดหู่
๘.จิตฟุ้งซ่าน
๙.จิตใหญ่ในญาณ
๑๐.จิตไม่ใหญ่จิตที่ไม่ถึงญาณ
๑๑.จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
๑๒.จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
๑๓.จิตตั้งมั่น
๑๔.จิตไม่ตั้งมั่น
๑๕.จิตหลุดพ้น
๑๖.จิตไม่หลุดพ้น
       การพิจารณาธรรมแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน อันได้แก่
๑.พิจารณาธรรมที่กั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิที่เรียกว่า นิวรณ์ ๕ (นีวรณบรรพ)
๒.พิจารณาขันธ์ ๕ (ขันธบรรพ)
๓.พิจารณาอายตนะภายใน ๖ (อายตนบรรพ)
๔.พิจารณาธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ (โพชฌงคบรรพ)
๕.พิจารณาอริยสัจจ์ ๔ (สัจจบรรพ)
       การพิจารณาอีก ๖ ประการ
๑.ที่อยู่ภายใน
๒.ที่อยู่ภายนอก
๓.ที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก
๔.ที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
๕.ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
๖.ที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
          คือการตั้งสติพิจารณา ใน กาย เวทนา จิต ธรรม จนมีกำลังแห่งการพิจารณาเป็นมหาสติปัฏฐาน จิตไม่คลาดเคลื่อน
มีสติพิจารณาอยู่ทุกขณะจิต..
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม