ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธานุภาพและจิตตานุภาพ...  (อ่าน 2816 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด









พระพุทธานุภาพและจิตตานุภาพ

พระพุทธคุณ ๙ ประการ


ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด จากกิเลส ผ่องใส
ทรงมีชัยอยู่เหนือบัลลังก์โพธิญาณทรงสยบมารได้ในที่สุด และตรัสรู้แจ้งธรรมด้วยตนเอง ด้วยความเพียร และจากการสั่งสม บ่มบารมีมาอย่ายิ่งยวด
ทรงบรรลุวิชชาอันลึกซึ้งยิ่ง และทรงเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ อันหาผู้ไดเปรียบเสมอมิได้
พระองค์เสด็จไปดีแล้วไปสู่สันติสุขอันเป็นอมตะนิรันดร์
ทรงเป็นผู้รู้แจ้ง แห่งสรรพสัตว์และสรรพชีวิตทั้งหลาย
ทรงเป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
ทรงเป็นบรมครู เป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตลอดเวลา
ทรงเป็นพระผู้มีพระภาค คือเป็นผู้มีความเจริญที่ไม่มีวันเสื่อม
พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดถึงธรรมอันไม่ตาย ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทพ และมนุษย์ ให้รู้ตาม
ทรงแสดงธรรมไพเราะงดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์
อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น เป็นความดี.

คุณของพระพุทธเจ้าและพระพุทธานุภาพนั้นมีอานุภาพคุ้มโทษคุ้มภัยต่อโลกและชีวิตแห่งสรรพสัตว์ ทุกรูปทุกนาม ผู้เชื่อและยึดมั่นต่อพระองค์อย่างแท้จริง ด้วยปํญญาอันชัดแจ้ง เมื่อนั้นแม้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า พวกเราทั้งหลายจะพ้นภัยพิบัติทั้งมวลและล่วงพ้นมือมารได้ จงกล่าวคำว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ เถิด สาธุ สาธุ สาธุ


อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชา จารณะ สัมปันโน สุขโต โลกวิทู อนุตตะโร ปุริสธรรมสารถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภควา ติ

ภาวนาบทนี้ให้ได้วันละ ๑๐๘ จบทุกวัน แล้วท่านจะได้พบกับพลังอำนาจแห่งพระมหาพุทธานุภาพอันวิเศษยิ่ง และอำนาจแห่งจิตตานุภาพของๆท่าน ด้วยจิตของตนเอง

พระพุทธคุณพึ่งได้ไหรือไม่

คำถามคำนี้เป็นคำถามภาษาซื่อๆของคนที่ห่างไกลต่อพระธรรมคำสอน ในทางพระพุทธศาสนา แต่ก็นับว่าเป็นคำถามที่มีค่ามาก เพราะมิฉะนั้นคำตอบนี้จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีผู้ถาม สำหรับผู้ที่ยังต้องพึ่งสิ่งศักดิ์เป็นเครื่องชูกำลังใจ ในการดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหวัง แต่ส่วนมากก็หันไปพึ่งเทพเทวานั่นเอง เพราะเทพยังมีกิเลสอยู่จึงยังมีรักชอบเกลียดชัง เมื่อจัดพลีกรรมบูชาเป็นที่ พอ อก พอ ใจ ก็มั่นใจว่าท่านคงจะต้องบันดาลสิ่งประสงค์ให้สมปรารถนาได้ ก็ไม่ผิดนักสำหรับความเชื่อตรงนั้น แต่ใครจะรู้บ้างไหมว่าเทวดามีฤทธาใด้ในขอบเขตจำกัด แค่กุศลกรรมที่ตนเคยได้สร้างสมไว้เมื่อก่อนตายจากความเป็นมนุษย์มา สิ่งที่ติดตัวมาคือเรียกว่ากรรมยิทธิ ซึ่ง แปลว่าฤทธิ์อันเกิดจากอำนาจกรรมนั่นเอง ไม่ใช่อิทธิจากอภิญญาจิตที่เกิดจากฌานสมาบัติ อันเป็นผลจากการเจริญสมาธิกรรมฐาน อาจมีคำถามต่ออีกว่า และกรรมยิทธิมันมีฤทธิ์ช่วยคนได้แค่ไหน ก็ต้องตอบว่า ยากจะหยั่งรู้จริงๆเพราะเป็นของรู้เฉพาะตนใครทำใครได้ อาจแค่ช่วยตนเองได้แต่ช่วยคนอื่นไม่ได้ อย่างเช่นไฟใหม้ป่าสัตว์บางชนิดอาจต้องตายโดยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ แต่นกมันกลับรอดตายได้เพราะเหาะได้นั่นเอง การที่นกเหาะได้โดยใครๆเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่เกี่ยวกับฤทธิ์เดชไดๆนี่แหละ เรียกว่ากรรมยิทธิหรือฤทธิ์ที่เกิดจากอำนาจกรรม ก็คือกรรมที่ทำให้เกิดมาเป็นนกนั่นเอง คงพอเข้าใจบ้างแล้วใช่ไหมครับ

เหล่าเทพเทวาทั้งหลายก็เช่นกันย่อมจะมีบุญฤทธิ์ไม่เท่าเทียมกันเพราะกุศลที่สร้างกันมาไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง เท่าที่ได้ศึกษามาก็ไม่เห็นมีตำราเล่มไดกล่าวว่าเทวดามาเนรมิตอะไรๆให้มนุษย์โดยตรง มีแต่โดยอ้อมเสียทั้งนั้น อย่างเช่นมาเข้าฝัน หรือดลจิตดลใจอย่างที่เขาว่ากันนั่นแหละ แต่ทุกสิ่งทีกล่าวมาทั้งหมดลองใช้วิจารณาญาณสังเกตให้ดีนะครับ จะไปคตรงกับคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจมีใจเป็นใหญ่มีใจเป็นหัวหน้า เทวดาทั้งหลายพบสันติสุขก็เพราะใจของตน ใจบาปก็ทุกข์ ใจสุขก็เพราะบุญ นี่คือข้อคิดที่ควรค่าแก่การจดจำไว้รำลึกอยู่เสมอ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตนอย่างแท้จริง อิทธิฤทธิ์เป็นของมีได้จริงไม่ปฏิเสฐ แต่ต้องปฏิบัติและต้องทำให้มีขึ้นสามารถทำได้ทุกคน และจะบอกเสียก่อนนะครับว่าถ้าความดีไม่ได้สร้างมาอย่างต่อเนื่องอย่าหวังว่าเทวดาจะหลงติดสินบนเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าคิดเช่นนั้นขอบอกว่าคิดผิดถนัด

พระพุทธานุภาพย่อมเป็นที่พึ่งของเวไนยสัตว์ได้แน่ตราบไดที่ศาสนาพุทธยังไม่สิ้น พระพุทธเจ้าคือผู้บำเพ็ญเพียรทางจิตมาถึงจุดสุงสุดแห่งจิต เป็นมหาบุคคลคนเดียวในหนึ่งพุทธันดรไม่มีใครยิ่งกว่า พระพุทธองค์ทรงมีอำนาจจิตสูงสุด เรียกว่าประมาณหรือเทียบกับไครไม่ได้เลย จริงไหมแม้ผงอิฐ หิน มวลไม้ จากวัตถุทางธรรมชาติ ผู้ที่รู้เรื่องจิตนำมันมานั่งเสกเป่า ยังบังเกิดฤทธิ์อำนาจขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อ แต่ก็เป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่ แล้วพระพุทธานุภาพหรือจะมีฤทธิ์ไม่ได้ใครคิดอย่างนั้นนับว่าสมองโจ๊กมากจริงๆ

เรื่องจิตตานุภาพนี้มีตัวอย่างในปัจจุบันที่วงการวิทยาศาสตร์ก็ยังรับรอง ในโลกวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้ มนุษย์เราต่างยอมรับโดยทั่วไปว่า วิทยุ โทรทัศน์โทรเลข ดาวเทียมและเรด้าร์เป็นสิ่งที่นำสื่อจากระยะไกลมาสู่เราได้ สามารถเข้าใจติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลกภายในไม่กี่นาที สามารถพูดคุยกันได้อย่างง่ายดายแม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันเป็นแสนไมล์ แต่ก็มีบางอย่างลึกลับที่ไม่น่าเป็นไปได้และยังหาคำตอบที่แน่นอนไม่ได้มาตั้งแต่สมัยแรกเกิดมนุษย์บนพื้นโลกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน สิ่งที่เป็นความลึกลับนั้นก็คือจิตของมนุษย์นี่เอง

จิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มีอิทธิพลต่อมวลมนุษย์ทั้งโลก มันเร็วยิ่งกว่าคลื่นเสียงและคลื่นแสง จิตใจของมนุษย์สามารถถ่ายทอดสื่อกันได้โดยปราศจากการใช้เครื่องมือไดๆทั้งสิ้น สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือแม้แต่อารมณ์อันซ่อนเร้นภายในห้วงลึกของจิตใจมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี่เอง นักอวกาศชื่อดังของอเมริกาคือ เอ็ดการ์ มิทเชลล์ ได้ทดลองส่งกระแสจิตหรือโทรจิต จากยานอวกาศติดต่อกับ ยูริ เกลเลอร์ นักพลังจิตที่อยู่บนพื้นโลกได้ เรื่องราวของ ยูริ เป็นเรื่องราวที่ลือลั่นพอสมควรถ้าใครสนใจจะติดตามค้นหาก็น่าจะค้นหาได้ไม่ยากเท่าไร แต่ณที่นี้ผมจะขอยกไว้เพียงเป็นตัวอย่างเท่านั้น

วิทยาการทางโลกก็คงก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่แปลก ความก้าวหน้าแห่งโลกวิทยาศาสตร์เกิดมาเพื่อยืนยันสัจจะแห่งบรรพบุรุษเท่านั้นยังไม่พบเลยว่ามีอะไรที่รู้มากไปกว่าพระสัพภัญญูของพระพุทธเจ้า ในขณะที่โลกวิทยาศาสตร์ยังคงค้นหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องจิตต่อไป แต่บทสรุปเรื่องราวแห่งจิตในพระพุทธศาสนาได้แสดงบทสรุปไว้แล้วอย่างจะแจ้งชัดเจนชนิดไม่มีขอโต้แย้งไดๆจะมาหักร้างได้ ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอ็งด้วยหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาอันเปิดกว้างทนทานต่อการพิสูจน์มานับได้ ๒๕๐๐ กว่าปี

ผมจะขอเสนอบทความเรื่องจิตในพระอภิธรรมไว้ให้ทุกท่านผู้เป็นปัญญาชนม์ใช้เป็นฆลักในการพิสูจน์ ซึ่งประพันธ์ไว้โดยพระอรหันต์สาวกผู้ได้พิสูจน์และเข้าถึงแล้วอย่างแท้จริง คือ พระอนุรุทธาจารย์ ผู้มีคุณต่อพระพุทธศาสนาและพุทธบริษัทอย่างยิ่งเรียกว่าคุณอันหาที่สุดมิได้เลยทีเดียว

จิตคืออะไร
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป

จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต หรือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะ( ความยินดีพอใจ )ที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ


สภาพหรือลักษณะของจิต
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป
จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย
และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น

ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ

วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ
นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความกล่าวถึง ลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คูหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ
แปลความว่า ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
อนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ

๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน
จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละ
เป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหายไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของกรรมเมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย
จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท

เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง>>
แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ รู้ในเรื่อง
อรูปฌาณ รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔0 ดวง
รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่เข้าถึงซึ่งอรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นอรูปพรหมหรือ เป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจาก กามโลก (กามภูมิ), จากรูปโลก (รูปภูมิ) และจากอรูปโลก (อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวน เพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาณด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของฌาณ ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิศดาร ๔๐ ดวง ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๕๔ ดวง และนับโดยพิศดารก็เป็น ๑๒๑ ดวงที่นับอย่างพิศดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรกุศลจิตประเภทเดียวเท่านั้น



ขอขอบคุณที่มา...www.sathanimahaprash.com