ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีฝึกใจให้เข้มแข็ง  (อ่าน 4064 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
วิธีฝึกใจให้เข้มแข็ง
« เมื่อ: 30 ต.ค. 2553, 07:19:08 »
                                                            วิธีฝึกใจให้เข้มแข็ง


                     วิธีฝึกใจให้เข้มแข็ง


ผู้ถาม  หลวงพ่อเจ้าขา ไม่รู้ว่าเป็นเวรกรรมอะไร เกิดมาในชาตินี้รู้สึกว่า ไม่มีความเข้มแข็งในดวงจิตเลย ใช้คาถาก็ไม่แข็ง มาทำบุญกับหลวงพ่อก็ไม่เข้ม เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อยากจะขอคำแนะนำจากหลวงพ่อว่า วิธีฝึกให้จิตใจเข้มแข็งเพื่อพระนิพพานชานินี้ ลูกควรจะฝึกด้วยวิธีไหน

หลวงพ่อ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใช้เบ้าหลอมเหล็ก คนเหลวแล้วก็กินต่อไปใจจะแข็ง ร่างกายก็แข็ง กินเหล็กได้ เข้มแข็งไงล่ะ เนื้อเหล็กกินไม่ไหวนะ กินขี้เหล็กก่อน...(หัวเราะ)


เอาอย่างนี้ซิค่อย ๆ นะ ค่อย ๆ คิด ใช้เวลาน้อย ๆ เราทำอารมณ์ทำสมาธิใช่ไหม ใช้เวลานิดหน่อย ๑-๑๐ เราก็เลิก แค่นี้พอใช้ได้ ไม่ช้าก็ชิน


                           นิสัยไม่ดี

ผู้ถาม กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง คือว่าลูกมีนิสัยไม่ดีอยู่อย่างหนึ่ง คือว่าต้นดีกลางกับปลายคด

หลวงพ่อ ดีมาก

ผู้ถาม ดีอีกแล้ว ปัญหาทุกอย่างมาหาหลวงพ่อนี่

หลวงพ่อ ดีหมด...อย่างเทวทัตไง ต้นดีปลายคด

ผู้ถาม นี่เขาเรียก “ดีหมด” นะครับ หรือว่า “หมดดี”


หลวงพ่อ หมดดี


ผู้ถาม เขาว่ามาอย่างนี้ คือเวลาฟังหลวงพ่อเทศน์ใหม่ ๆ มันปีติ เอาจริงเอาจัง ปฏิบัติคร่ำเคร่งนั่งหูดับตับไหม้เลย

แต่พอหลวงพ่อกลับไปแล้วซิคะ จิตมันเลวระยำคิดจะทำโน่น คำความชั่วต่าง ๆ นานา อารมณ์อย่างนี้ ลูกแก้ไม่ตกเลยเจ้าค่ะ ขอบารมีหลวงพ่อโปรดช่วยความสว่างกระจ่างใจสักครั้งเถิดเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ ก็ดีแล้วนี่

ผู้ถาม ดีอีกแล้ว ผิด...เลว...ก็ดี


หลวงพ่อ อ้าว...ทำไม่เล่า ก็เวลาฟังเทศน์จิตเขาดี ทำไมจำว่า เขาไม่ดีล่ะ

ผู้ถาม นี่เขากล่าวหมายถึง ตอนที่หลวงพ่อกลับไปแล้วจิตไม่ดีครับ

หลวงพ่อ ก็ช่างมัน...เราก็มาดีใหม่ แต่เวลาจะตายความดีอาจเข้าถึงตัวได้นะ ถ้ามันจะตายธรรมดาของคนมันเป็นอย่างนั้นแหละ

 จะให้ดีทุกวันเป็นไปไม่ได้หรอก ต้องดีบ้างชั่วบ้าง ทำความดีคราวละน้อย ๆ ทำบ่อย ๆ ก็เต็ม เหมือนน้ำฝนตกทีละหยาด ๆ สามารถทำให้ภาชนะเต็มได้ใช่ไหม


อย่างนี้ที่หลวงพ่อมามีปีติ ไอ้ปีติเป็นตัวสำคัญมาก เป็นมหากุศล และจงอย่าลืมว่าเวลาจะตายนะมันจะช่วย ปีตินี่จะช่วย เมื่อปีติช่วยเข้าสนองใจปั๊บเห็นภาพพระทันที นี่ตายแบบนี้ลงนรกไม่ได้


เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน แก้ตัวใหม่ ก่อนจะหลับภาวนา “พุทโธ” ๓ ครั้ง ตื่นขั้นก่อนจะลุกขึ้นภาวนา “พุทโธ” ๓ ครั้ง

แค่นี้พอแล้วเอาแค่ฉันเมื่อเป็นเด็ก ฉันเมื่อเป็นเด็กแม่บังคับแค่นี้ ก่อนจะหลับ


หัวถึงหมอนปั๊บภาวนาพุทโธ ต้องว่าดัง ๆ นะ ให้ท่านได้ยิน พอตื่นขึ้นปั๊บ “พุทโธ...พุทโธ...พุทโธ” แล้วก็ไป เราก็ว่าตามประสาเด็ก


ที่ว่าเมื่อกี้หลวงพ่อกลับไปแล้วชั่ว ความจริงเขายังไม่ชั่วหรอกบางวันเขาก็ภาวนา บางวันเขาก็ไหว้พระ ยังไม่ชั่ว ยังนึกถึงหลวงพ่อยู่ ถ้าทางที่ดีนะ ควรจะรับหนี้จากหลวงพ่อไปเสียบ้าง จะได้นึกถึงหลวงพ่อทุกวัน ๆ ใช่ไหม (หัวเราะ)

ผู้ถาม เรียกว่าถ้ารับหนี้จากหลวงพ่อไปได้ไอ้เรื่องอะไร ๆ


หลวงพ่อ ก็นึกถึงหลวงพ่อทุกวันไง...เป็นสังฆานุสสติ ตายแล้วไปสวรรค์ทันที

ผู้ถาม อ๋อ การนึกถึงว่าจะช่วยใช้หนี้หลวงพ่อ เป็นสังฆานุสสติ

หลวงพ่อ ใช่ เป็นการช่วยสงฆ์ นึกถึงพระสงฆ์ไงเล่า สังฆานุสสติ แปลว่า นึกถึงพระสงฆ์


ผู้ถาม นี่ถ้าเกิดนึกอะไรไม่ได้ จับนึกถึงกล้องยานัตถุ์หลวงพ่อ เป่าปู้ด ๆ ๆ เห็นกล้องยานัตถุ์ นึกถึงกล้องยานัตถุ์อย่านี้ ตายแล้วไปไหนครับ

หลวงพ่อ ตายแล้วไปเกิดเป็นกล้อง (หัวเราะ) อันนี้ก็เป็นสังฆานุสสติเหมือนกัน เพราะกล้องยานัตถุ์ของหลวงพ่อ อย่าลืมว่าลงคำหลวงพ่อ หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์ใช่ไหม

ผู้ถาม เรียกว่าอะไรแล้วแต่ เกี่ยวกับหลวงพ่อนี่เป็น


หลวงพ่อ เกี่ยวกับหลวงพ่อ หรือพระองค์ใดองค์หนึ่งก็ตาม...เหมือนกัน เป็นสังฆานุสสติเหมือนกัน ถ้าเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพุทธานุสสติ เกี่ยวกับการสวดมนต์หรือฟังเทศน์เป็นธัมมานุสสติ

ผู้ถาม นั่งสมาธินิดหน่อย ๆ ก็เป็นธัมมานุสสติ


หลวงพ่อ อย่าลืม นิดหน่อยนี่ มีความสำคัญมาก มันสะสมตัวเอง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า แม้ทำบุญคราวละเล็กคราวละน้อย แต่ทำบ่อย ๆ มันก็สามารถทำบารมีให้เต็มได้

เหมือนน้ำฝนที่ตกทีละหยาด ๆ สามารถทำภาชนะให้เต็มได้ เห็นไหมด...ได้นี่เวลาหลวงพ่อมาปีติดีมาก ก็ไหลไปบ้างไหลมาบ้าง


ไม่ได้เสียทุกวัน ฉันรู้นะที่พูดมาน่ะโกหก เขาไม่เสียทั้งวันหรอก เขาเสียบ้างไม่เสียบ้างเท่านั้นเอง เฉพาะเวลาบางเวลา


ผู้ถาม โอ๊ะ! หลวงพ่อรู้เสียด้วย เป็นอันว่าก็เป็นคนดีคนหนึ่ง

หลวงพ่อ ฉันขอแช่งคนนี้ไว้ ตายแล้วห้ามเกิดเป็นมนุษย์ ไปสวรรค์ เป็นเทวดา เป็นนางฟ้าไป

                                        ท้อแท้ทำความดี

ผู้ถาม หลวงพ่อเจ้าขา ลูกอยากจะทำความเพียรเพื่อทำความดี แต่บางครั้งก็มีอารมณ์ท้อแท้จะทำอย่างไรดีคะ

หลวงพ่อ ถ้าท้อแท้ต่อความเพียรก็แสดงว่าขี้เกียจ คนที่มีความเพียรคือคนขยัน


ความเพียร เพียรต่อสู้กับความชั่ว เพื่อหวังให้มีผลในความดี เป็นเรื่องธรรมดาของคน ไอ้การต่อสู้ความขยันหมั่นเพียร มันจะมีทุกเวลาไม่ได้นะ


ในบางครั้งกรรมที่เป็นอกุศลเดิม มันเข้ามาครอบงำจิต เวลานั้นจะตัดความดีของเราให้รู้สึกท้อแท้ไม่กล้าต่อสู้...เบื่อ


พอกุศลเข้ามาสนองปั๊บ กุศลเตะไอ้นั่นออกไปนี่ขยันแล้วสร้างความดี ต้องเป็นอย่างนั้นเหมือนกันทุกคน หนักเข้าๆ กุศลมีกำลังแรงก็เตะได้นั่นกระเด็นออกไป

             พอถึงพระโสดาบันปั๊บ อกุศลยังเข้ามาได้ แต่เข้าก็เข้าแรงไม่ได้ ถ้าถึงพระโสดาบันอกุศลเข้าแรงไม่ได้ มันจะสร้างความขุ่นมัวบ้าง


แต่จะถึงทำบาปไม่ได้ คำว่า “ขุ่นมัว” อาจจะต้องโกรธ ใช่ไหม...พระโสดาบันยังมีโกรธ พระโสดาบันยังมีความรักในระหว่างเพศ พระโสดาบันยังมีความอยากร่ำรวย


แต่เรื่องละเมิดศีลไม่มี แต่มีอารมณ์ที่แจ่มใสจริง ๆ คือพระอรหันต์ ถ้ายังไม่ถึงพระอรหันต์เพียงใด ก็ยังเตะกันใหม่ แต่ว่า เตะเบา ๆ

                                     พระอรหันต์ไม่โกรธ
 

ผู้ถาม หลวงพ่อได้พูดไว้ว่า พระอรหันต์มีอารมณ์โกรธ แต่ดับอารมณ์ได้ฉับพลัน


หลวงพ่อ ฉันสงสัย...ฉันเขียนผิดหรือคนอ่านจำผิด อารมณ์โกรธ ไม่มีตั้งแต่อนาคามี แต่ท่าทางแสดงความโกรธน่ะมีอยู่


ไม่ใช่อารมณ์โกรธ ที่แสดงแบบนั้นกลัวคนนั้นจะเสีย ก็แสดงท่าว่าโกรธ อย่างที่พระพุทธเจ้าลงโทษพระสงฆ์ มีคำสั่งลงโทษนั่นไม่ใช่โกรธนะ...หวังดี


นี่จำผิดแล้ว ถ้าอารมณ์โกรธมีและดับได้เร็วเป็นพระสกิทาคามี อนาคามีนี่เขาไม่มีแล้ว แต่ถ้าความโกรธเกิดขึ้นจะดับไม่ยาก ซื้อรถดับเพลิงไว้ พอเริ่มโกรธปั๊บ...สตาร์ทพรืด นำพ่นพรวด หกคะเมนเกนเก้ หายไปเอง


นั่นไม่ใช่อรหันต์นะ ฉันคงไม่เขียนผิดละมั้ง ต้องกลับไปอ่านใหม่ แต่ว่าแสดงความโกรธนั้นมีอยู่ เพราะว่าจ่ะลงโทษ คือไม่ลงโทษก็ยับยั้ง ไม่ยังงั้นคนนั้นจะเสีย

อย่างพระพุทธเจ้าลงโทษพระต่าง ๆ อย่าง พระฉันนะ ก็เหมือนกัน หนักมาก ที่สั่งให้พระสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ


อันนี้เรื่องใหญ่มาเชียว ไม่ใช่พระพุทธเจ้าโกรธ แต่ต้องการให้พระฉันนะดี แต่ในเมื่อพระสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ท่านก็เสียใจ


คิดว่าตอนพระพุทธเจ้าอยู่ใคร ๆ ก็คุยด้วย พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว จะไปหาใครก็ไม่มีใครคุยด้วย พระอรหันต์ก็เยอะ เพราะพระพุทธเจ้าสั่ง เพราะการรู้ตัวตอนนี้ เป็นเหตุให้พระฉันนะเป็นพระอรหันต์

เขาทำเพื่อประโยชน์ ไอ้คนถูกลงโทษใหม่ ๆ อาจจะนึกว่าเราไม่น่าถูกลงโทษเลย ไอ้คนที่ทำความผิด ไม่รู้ตัวว่าผิดเป็นเรื่องธรรมดา


                        หลวงพ่อตอบปัญหา... หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

       ขอบคุณที่มา เว็บบอร์ด พลังจิต