ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามที่ชาวพุทธควรตอบได้  (อ่าน 6595 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายธรรมะ

  • ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา สูงต่ำอยู่ที่ทําตัว
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 615
  • เพศ: ชาย
  • เหนื่อย ได้แต่อย่า ท้อ
    • ดูรายละเอียด
คำถามที่ชาวพุทธควรตอบได้
« เมื่อ: 01 พ.ย. 2553, 10:18:06 »
คำถามที่ชาวพุทธควรตอบได้


๑. ถาม : พระพุทธศาสนาสอนเรื่องความเชื่อไว้อย่างไร?

ตอบ: พระพุทธศาสนา สอนให้เชื่ออย่างมีเหตุผล

๒. ถาม: พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่ออย่างมีเหตุผลในเรื่องใด?

ตอบ: ในเรื่องของกรรม หรือการกระทำที่ได้ทำลงไป

๓. ถาม: เรื่องของความเชื่อ คือ คำว่า ศรัทธาใช่หรือไม่?

ตอบ: ใช่เลย

๔. ถาม: ความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนามีกี่อย่าง อะไรบ้าง?

ตอบ: มี ๔ อย่าง คือ
๑. เชื่อว่า กรรมมีจริง
๒. เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง
๓. เชื่อว่า ผลกรรม ต้องเป็นของผู้กระทำจริง
๔. เชื่อมั่นในคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่าเป็นเรื่องจริง
และมีผลดีต่อผู้เชื่อถือจริง


๕. ถาม: คนบางคนชาวโลกรู้กันโดยทั่วไปว่ากระทำกรรมไม่ดี
คือทำบาปกรรมอยู่เสมอ แต่ก็เห็นว่า ชีวิตของเขาไม่เดือดร้อน
กลับอยู่ดีมีสุข และมีฐานะร่ำรวยเพิ่มขึ้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร?


ตอบ: เห็นว่า เป็นเรื่อง ธรรมดาๆ

๖. ถาม: ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ๆ หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ: ก็เห็นว่า เพราะผลของกรรมชั่วยังมีพลังมากไม่พอที่จะให้ผล
จึงทำให้ผู้ทำบาปหรืออกุศลกรรม หลงระเริงคิดว่า “ทำดีได้ดี
มีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” น่ะซิ


๗. ถาม: กรุณาขยายความคำตอบข้อที่ผ่านมา อีกสักหน่อยครับ?

ตอบ: ได้เลย
ถ้าจะเปรียบ บุญ กับ บาป เป็นนักกรีฑาที่วิ่งแข่งขันกันในสนาม
ชีวิตของเรา และเราคือผู้เกี่ยวข้องกับเขา
เมื่อ นายบุญมีกำลังมาก ก็จะเป็นฝ่ายชนะ ใช่หรือไม่ขณะนายบุญ
วิ่งชนะเข้าสู่เส้นชัย นายบาปก็วิ่งตามไปด้วยแต่ไม่ได้รับชัยชนะ
จึงไม่สามารถสนองผลเป็นรางวัลชนะเลิศให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ในช่วงนั้น
แต่เมื่อใดก็ตาม นายบุญกำลังน้อย อาจเพราะเหตุที่ใช้กำลังวิ่งแข่งขัน
บ่อยมาก และไม่ได้เพิ่มพลังบุญอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นทีของนายบาป
ซึ่งบำรุงกำลังเพิ่มกำลัง คือทำบาปเพิ่มเรื่อย ๆ ก็จะมีกำลังมาก และจะ
เป็นฝ่ายมีชัยชนะ ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผลของบาปเป็นรางวัล
อย่างแน่นอน ตั้งใจอ่านคำถามต่อ ๆ ไป จะเข้าใจโดยอัตโนมัติ
ขอชมว่าคำถามที่ถามเป็นคำถามที่ดีนะ


๘. ถาม: นาย ก ทำบุญทำทานตลอดชีวิตที่เกิดมา รักษาศีลบำเพ็ญ
สมาธิภาวนา สวดมนต์ไหว้พระอยู่เสมอ ทำไมชีวิตของเขาจึงต้อง
ประสบกับชะตากรรมที่เลวร้ายบ่อย ๆ เช่น มีโรคประจำตัวประกอบ
กิจการงานอะไรก็ล้มเหลวจนแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว มีคนคอยกลั่น
แกล้งจนต้องนอนทุกข์ระทมอยู่เสมอ มีลูกลูกก็ตาย มีพี่ชายก็คิดโกง
ทรัพย์สินของน้อง สรุปว่า ชีวิตหาความสุขไม่ได้เลย ท่านคิดอย่างไร?


ตอบ: ก็คิดว่า เป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่ต้องทำใจให้เข้มแข็ง และทำความเข้าใจ
ในเรื่องที่เกิดขึ้นให้ดี


๙. ถาม: ทำจิตใจให้เข้มแข็งพอเข้าใจ แต่ทำความเข้าใจให้ดี ทำอย่างไร?

ตอบ: ก็ทำความเข้าใจว่า ผลกรรมบางอย่างที่เราได้รับอยู่นั้นอาจเป็นกรรมใน
อดีตชาติ (ชาติก่อน ๆ) ที่เราเคยทำไว้ เช่น ผู้มีโรคประจำตัว เป็นเพราะ
กรรมที่เคยเบียดเบียนชีวิตของคนอื่นหรือสัตว์อื่นให้เดือดร้อน ทำให้เขา
ต้องทุกข์ทรมานทางกายหรือทางใจมาก่อน เกิดชาตินี้จึงมีโรคประจำตัว
ตั้งแต่เกิดก็มี ผู้ที่เกิดมาพิกล พิการ เช่น ตาบอด หูหนวก ขาด้วน
แขนด้วน ถ้าไม่เคยทำกรรมชั่วในชาตินี้ ก็เพราะเคยทำร้ายคนหรือสัตว์
อื่นให้ตาบอด หูหนวก ขาและแขนขาดในชาติก่อน ๆ และผลกรรมชั่ว
นั้นมีพลังพอ จึงตามมาให้ผลทันในชาตินี้และส่งผลให้ผู้กระทำต้องรับกรรม
เมื่อใครต้องรับผลกรรมเช่นนี้ ให้เร่งทำบุญ อย่าท้อแท้ แล้วกรวดน้ำอุทิศ
บุญให้เจ้ากรรมนายเวร อาจเป็นอโหสิกรรมต่อกันได้


๑๐. ถาม: ศรัทธา แปลว่า อะไร?

ตอบ: ศรัทธา เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ความเชื่อ

๑๑. ถาม: ศรัทธา ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยย่อ ๆ มีกี่อย่าง?

ตอบ: มี ๒ อย่าง ๑. จลศรัทธา (อ่านว่า จะ-ละ-สัด-ทา) ๒. อจลศรัทธา
(อ่านว่า อะ-จะ-ละ-สัด-ทา)


๑๒. ถาม: จลศรัทธา คือ อะไร?

ตอบ: คือ ความเชื่อที่ไม่มั่นคง หวั่นไหวง่าย มักเชื่อตามข่าวลือ หรือที่เรียกว่า
มงคลตื่นข่าว


๑๓. ถาม: อจลศรัทธา คือ อะไร?

ตอบ: คือ ความเชื่อที่มั่นคง มีเหตุผลถูกต้อง ไม่หวั่นไหวง่าย เป็นความเชื่อตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

๑๔. ถาม: ความเชื่อ หรือ ศรัทธา ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาภาคภาษาบาลี
มีกี่อย่าง อะไรบ้าง?


ตอบ: มี ๔ อย่าง

๑๕. ถาม: ศรัทธา ๔ อย่าง มีอะไรบ้าง?

ตอบ: ศรัทธา ๔ อย่าง ตั้งใจจำให้ดีนะ
๑. กัมมสัทธา (อ่านว่า กำ-มะ-สัด-ทา)
๒. วิปากสัททา (อ่านว่า วิ-ปา-กะ-สัด-ทา)
๓. กัมมสกตาสัทธา (อ่านว่า กำ-มะ-สะ-กะ-ตา-สัด-ทา)
๔. ตถาคตโพธิสัทธา (อ่านว่า ตะ-ถา-คะ-ตะ-โพ-ทิ-สัด-ทา)


๑๖. ถาม: กัมมศรัทธา คือ อะไร?

ตอบ: กัมมสัทธา คือ เชื่อว่า กรรม มีจริง


๑๗. ถาม: วิปากรัทธา คือ อะไร?

ตอบ: วิปากสัทธา คือ เชื่อว่า ผลของกรรม มีจริง

๑๘. ถาม: กัมมสกตาสัทธา คือ อะไร?

ตอบ: กัมมสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าผลกรรม เป็นของผู้กระทำจริง


๑๙. ถาม: ตถาคตโพธิสัทธา คือ อะไร?

ตอบ: ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อว่าความรู้ที่พระพุทธเจ้าสอน หรือที่พระองค์ตรัสรู้ เป็นเรื่องจริง

๒๐.ถาม: กัมมสัทธา เชื่อว่ากรรมมีจริงนั้น คำว่ากรรม คืออะไร?

ตอบ: กรรม คือ การกระทำที่เราทำลงไป ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ (ความคิด)

นายธรรมะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก เว็บบอร์ดพลังจิตด้วยนะครับ
[shake]ศรัทธา ไม่ใช่ ไสยศาสตร์ ศรัทธา เพื่อ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความ ศักดิ์สิทธิ์ ย่อมเกิด ปาฏิหาริย์[/shake]