ผู้เขียน หัวข้อ: มีใครรู้จักครูบาติ๊บไหมครับ สุโขทัยอะ  (อ่าน 6847 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เสือพุทธคุณ

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 99
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - remymatins@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
พอดีผมได้พระมาจากอาม่า เป็น เหรียญ ครูบาทิพย์อุปาลี วัดหัว ฝาย เลยอยากรู้ประวัติท่านอะครับ

ออฟไลน์ CheKuvara

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 3
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
เหรียญดีครับ เป็นเกจิรุ่นเก่าของจังหวัดสุโขทัย ติด 1 ใน 19 เกจิที่สุโขทัยเคยทำแผ่นบูชาให้เมื่อครั้งนั้นรู้สึกจะเสกโดยหลวงพ่อห้อม วัดคูหาสวรรค์ และอีกหลายท่าน เอารูปมาโชว์บ้างซิครับ อยากเห็นเหมือนกัน ปล.ติ๊บ เป็นภาษาเหนือนะครับ ถ้าภาษาไทยก็คือทิพย์ 

ออฟไลน์ puntanaruk

  • พ่อเลี้ยงหนุ่ม
  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 26
  • เพศ: ชาย
  • พ่อเลี้ยงหนุ่ม
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
แจ้งสมาชิกด้วยการCopyบทความนำมาโพส ควรกล่าวขอบคุณและให้เครดิตแหล่งที่มาด้วย

เพราะว่าเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของบทความและเ็ป็นมารยาทที่ดีในโลกอินเตอร์เนต

                                                                                                         ทีมงานผู้ดูแลบอร์ด


ประวัติ ครูบาติ๊บ อุบาลี
อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวฝาย


เจ้าอาจารย์ติ๊บ อุบาลี  เป็นคำที่ชาวบ้านตลอดทั้งศิษยานุศิษย์เรียกกัน ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่ง ที่ได้พบเห็นมา ท่านเป็นพระที่มักน้อย
สันโดษที่แท้จริง ท่านไม่มีความทะเยอทะยานในเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญใดๆ ทั้งสิ้น เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างมาก เปรี่ยมด้วย
เมตตาบารมี

    พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี นามเดิมติ๊บ  นามสกุล มณีอุด  นามฉายา อุบาลี เกิด พ.ศ.๒๔๔๐ ณ บ้านผาปัง ตำบลผาปัง อำเภอเถิน (ขณะนี้เป็น
อำเภอแม่พริก) จังหวัดลำปาง บิดาชื่อปั๋น มารดาชื่อหน่อแก้ว มณีอุด มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  ๕   คน  เป็นหญิง ๒ ชาย ๓   คือ  
๑.นางจันทร์    
๒.นางดิบ  อุประวรรณา
๓.นายยา มณีอุด
๔. พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี    
๕.นายใจมา มณีอุด


      บิดา มารดาของพระอาจารย์ติ๊บ  อุบาลี ได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านอายุยังไม่ถึง ๑๐ ขวบ ท่านได้อาศัยอยู่กับนางดิบ ผู้เป็นพี่สาว นับว่าท่าน
เป็นกำพร้าตั้งแต่เยาว์วัย ท่านเป็นคนว่านอนสอนง่ายไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกับใครเป็นเกรงใจคนอื่นและเป็นคนเสงี่ยมเจียมตนเสมอ พอ
อายุย่าง ๑๔ ปี พี่ก็นำไปฝากให้เป็นศิษย์วัด เพื่อเรียนหนังสือแบบล้านนา ณ วัดบ้านผาปังหลวง ซึ่งเป็นวัดในหมู่บ้าน  พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี
ท่านเป็นคนมีเมตตามาตั้งแต่เด็ก ๆ สมัยเมื่อท่านเป็นศิษย์วัด ได้มีศิษย์วัดด้วยกันชวนท่านไปจับนกตะขาบโดยใช้กับดัก ท่านก็ไปด้วยความ
ไม่อยากจะขัดใจเพื่อน ท่านก็ไปเมื่อจับนกตะขาบได้เพื่อนๆ ก็ให้ท่านเป็นผู้ถือเพราะท่านไม่ค่อยจะร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ เมื่อท่านถือนก
ก็เกิดความสงสารจึงแอบปล่อยนกไปหมด แล้วบอกเพื่อนๆ ว่านกหลุดมือไป เพื่อนๆ ชวนท่านไปจับปลาท่านก็แอบปล่อย  จนเพื่อนๆไม่ชวน
ท่านไปอีกเลย  ต่อมาเมื่อท่านเรียนสวดมนต์ได้คล่องแล้วก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านผาปังหลวงนั่นเอง โดยมีพระคำมูลเป็นเจ้าอาวาส
พอวันแรกที่ท่านเป็นสามเณรท่านก็เริ่มฉันอาหารมื้อเดียว ไม่นานท่านก็ได้ไปเรียนหนังสือไทยภาคกลางและเรียนนักธรรมที่วัด ท่านางอำเภอเถิน
ตามประเพณีท้องถิ่นของอำเภอเถินพอมีสามเณรมาเรียนนักธรรมจะมีพ่อแม่อุปถัมภ์(เรียกว่าพ่อออกแม่ออก)จะนำอาหารมาส่งให้ทั้งตอน เช้าและ
ตอนกลางวันสามเณรรูปอื่นเขามีโยมอุปถากกันหมด พระอาจารย์ติ๊บมีพ่อแม่อุปถัมภ์ช้ากว่าเขาเนื่องจาก บุคลิกที่ไม่ค่อยพูดประกอบกับหน้าตา
ไม่หล่อเหลาเหมือนคนอื่นเขาในที่สุดท่านก็ได้พ่อหนานป้อง แม่มา (ไม่ทราบนามสกุล)เป็นผู้อุปถัมภ์ มีเรื่องเล่าว่าพ่อหนานป้อง แม่มา เกิดความ-
สงสัยว่า อาหารมื้อกลางวันที่ส่งให้พระอาจารย์ติ๊บ ไม่พร่องเลยคล้ายกับไม่ฉันหลายวันติดต่อกัน พ่อหนานป้องจึงถามดู ด้ความว่าพระอาจารย์ติ๊บ
ฉันอาหารมื้อเดียว และเลือกแต่อาหารผักเท่านั้น เกิดความปลื้มปิติยินดีแก่พ่อแม่อุปถัมภ์เป็นอย่างมากถึงกับเที่ยวอวดใครต่อใครว่าสามเณร
เหลือเดนที่พ่อหนานป้องรับอุปถาก นั้นเป็นเพชรในตม ที่คนอื่นมองไม่เห็น พ่อหนานป้องแม่มาจึงภูมิใจและเพิ่มความเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น
เป็นพิเศษ พออยู่มา ๒ ปี ท่านก็เริ่มฉันอาหารเจ และออกปฏิบัติธรรมในที่ต่างๆ นับว่าท่านสร้างสมบารมีมามากท่านจึงทำได้ถึงเพียงนี้เพราะ
สมัยนั้นท่านไม่มีแบบอย่างที่ไหนมาก่อนเลย





พออายุครบ๒๑ปี ท่านก็อุปสมบท ณ วัดผาปังหลวง พอจำพรรษาอยู่ที่วัดผาปังหลวงได้ไม่นาน ท่านก็เดินทางไปเรียนมูลกัจจาย์สามัญญภิธาน-
สนธิ กับครูบาหมีที่วัดเมืองหม้อ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อยู่หลายพรรษาจนจบแล้วสามารถแปลบาลีได้ ท่านเคยจาริกติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัย
หลายปี ท่านก็แยกตัวออกมาจาริกไปจำพรรษาอยู่วัดพระนอนม่อนช้าง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ ๕ พรรษา แล้วจึงกลับมาวัดผาปังบ้านเดิม


            ปีพ.ศ.๒๔๗๔ ชาวบ้านผาปังประมาณ ๒๐ ครอบครัว ได้พากันอพยพมาอยู่บ้านหัวฝาย ตำบลนาทุ่ง อำเภอสวรรคโลก(สมัยนั้นยังไม่แยก
เป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม) จังหวัดสุโขทัย ตามบรรดาชาวบ้านที่อพยบมาก่อนหน้านี้ ๕-๖ ปี  ในจำนวนผู้อพยบมีนางดิบพี่สาวของท่านด้วย ท่านก็ได้
อพยบมาพร้อมกับพี่สาว มาอยู่บ้านหัวฝายในปัจจุบัน สมัยนั้นบ้านหัวฝายยังเป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ชาวบ้านก็ช่วยกันถางป่า
บนเนินเขาเล็กๆใกล้ๆหมู่บ้านเป็นที่ จำวัตรและเป็นที่ปฏิบัติของท่าน จนมาเป็นวัดหัวฝายในปัจจุบัน ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวฝายเป็นรูปแรก
สมัยนั้นในระแวกนี้ไม่มีอุปัชฌาย์กุลบุตร ที่มีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทต้องไปที่อำเภอสวรรคโลก ระยะทางไกลประกอบอันตรายต่างๆนาๆ
เจ้าคุณสังวรสังฆปรินายก ซึ่งเป็นเจ้าคณะ จังหวัดสุโขทัยสมัยแต่งตั้งท่านเป็นอุปัชฌาย์ พอท่านทราบข่าว(ตอนนั้นท่านมีพรรษา ๑๒ พรรษา)
ท่านกลัวจะเป็นการผูกมัดด้วยยศตำแหน่งท่านจึงลาสิกขา ๗ วัน โดยนุ่งขาวห่มขาวถือศีลแปดอยู่ในวัด และก็อุปสมบทใหม่ เพื่อ
ให้พรรษาต่ำลงจนไม่สามารถเป็นอุปัชฌาย์ได้ ท่านเป็นพระที่ไม่ชอบอยู่กับที่ท่านมักจะหาที่สงบอยู่เสมอเช่นในถ้ำเช่นถ้ำแม่กะสา ถ้ำเชิงผา
และหลายๆที่ ท่านเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นจำนวนมากสมัยนั้นมีญาติโยมหลายที่นิมนต์ท่านไปเป็นประธานสร้างวัดทั้งใกล้ทั้งไกลพอที่
จะเรียบเรียงได้มีดังนี้

๑. กุฏิ วิหารวัดสันหล่อ อำเภอแม่ละมาด
๒. เจดีย์ วัดผาปัง อำเภอแม่พริก
๓.เจดีย์ ถ้ำแม่กะสา อำเภอแม่สอด
๔.หอประชุม อุบาลีอุปถัมภ์ โรงเรียนบ้าหัวฝาย

แล้วก็มีวัดที่ญาติโยมนิมนต์ท่านเป็นประธานก่อตั้งวัดมีดังนี้

 ๑.วัดสังฆทน(แม่ทุเลา)          อำเภอทุ่งเสลี่ยม
 ๒.วัดคลองสำราญ                  อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๓.วัดท่วิเศษ                           อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๔.วัดเชิงผา                           อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๕.วัดต้นธงชัย                        อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๖.วัดชัยอุดม                          อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๗.วัดเขาแก้วชัยมงคล            อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๘.วัดม่อนศรีสมบุรณาราม      อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๙.วัดฝั่งหมิ่น                         อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๑๐.วัดวังธาร                         อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๑๑.วัดห้วยขี้นก                     อำเภอแม่พริก
๑๒.วัดป่าคา                         อำเภอศรีสัชชนาลัย



*** ประวัติการสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังท่านครูบาติ๊บ พอสังเขป ดังนี้ ผมขอวิเคราะห์เกี่ยวกับการเรียนเวทย์มนต์คาถาของครูบาติ๊บ อุบาลี *** ผมคิดว่าครูบาติ๊บ คงจะใฝ่เรียนใฝ่รู้เกี่ยวกับคาถาอาคมตั้งแต่เป็นสามเณรแล้ว และคงจะเรียนคาถาอาคมจากพระเกจิอาจารย์ที่อำเภอเถิน เพราะว่าในสมัยนั้นแถบอำเภอเถิน อำเภอแม่พริกอุดมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ชั้นเยี่ยมยอดหลายรูป นอกจากเรียนวิชาอาคมแล้ว ยังสักยันต์ต่างๆที่ลำตัวด้วย ต่อมาเมื่อครูบาติ๊บ มีความศรัทธาครูบาศรีวิไชยเพราะได้ยินกิตติศัพท์ของครูบาศรีวิไชย จึงได้ดั้นด้นไปหาและอยู่ปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิไชยตลอดมา และครูบาศรีวิไชยคงจะทราบด้วยญาณว่าครูบาติ๊บเป็นพระระดับไหน จึงทำให้ครูบาถึงกับเอ่ยว่า ครูบาติ๊บจะเสมอท่านแต่ติดตรงที่ ครูบาศรีวิไชยชี้ไปที่ลำตัวครูบาติ๊บที่สักยันต์เต็มตัวไปหมด **** ครูบาติ๊บหรือครูทิพย์ ได้สร้างวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 คือปี พ.ศ.2485 แล้ว ผมได้ย้ายไปเป็นครูที่โรงเรียนบ้านผาปังกลาง บ้านเกิดของครูบาติ๊บ ได้สืบค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติครูบาติ๊บจากคนรุ่นที่ทันครูบาติ๊บ ได้ไปพบมัคทายกวัดผาปังท่านหนึ่งชื่อลุงเฮียน บ้านของแกอยู่หน้าโรงเรียนพอดี ยามว่างก็ไปนั่งคุยกับแก แกเล่าว่าเมื่อก่อน สมัยที่ครูบาติ๊บจำพรรษาอยู่ที่ผาปัง ครูบาติ๊บได้ทำผ้ายันต์ขึ้นผืนหนึ่ง แล้วให้ลุงเฮียนนำไปลอง ปรากฏว่า ดัง ลุงเฮียนก็ไปบอกว่า ดัง เละไปด้วยลูกปืนแก๊ปไปหมด ครูบาไม่ว่าอะไร คราวนี้ทำอีกผืนหนึ่งใช้ยันต์แผงใหม่ ให้ลุงเฮียนไปลองอีก คราวนี้ไม่ดังแม้แต่นัดเดียว ครูบาติ๊บพูดขึ้นว่า เพ้ก่อนก่า (ภาษาเหนือ) ลุงเฮียนเล่าว่าครูบาติ๊บทำเครื่องรางของขลังทุกอย่าง เช่น ตะกรุดชนิดต่างๆ ผ้ายันต์แบบต่างๆ เสื้อยันต์แบบต่างๆ ผมไปอยู่มา 5 ปี ได้ตะกรุด ผ้ายันต์ เหรียญรุ่น 1 รูปถ่ายขาวดำ เทียนชัยลงอักขระห่อกระดายฟอยไว้ เกษาได้จากนักเรียนเอามาจากพ่อ พ่อของนักเรียนคนนี้เป็นช่างตัดผมให้ครูบาติ๊บประจำครูบามอบให้ ครูบาติ๊บได้ทำเครื่องรางของขลังไว้แจกจ่ายชาวบ้านผาปังป้องกันอันตรายครั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2485 ครูบาอายุราวๆ 45 ปี นับได้ว่าเก่งคาถาอาคมมาตั้งแต่อายุยังน้อย พอครูบาอพยพไปอยู่ที่บ้านหัวฝาย ก็ได้สร้างเหรียญขึ้นมา 2 รุ่น ในปี 2511- 2513 พอมาปี 2514 ก็ไปออกที่วัดผาปังกลางอีก 1 รุ่น คราวบูรณะวัดผาปังกลาง คงจะได้แนวคิดมาจากวัดหัวฝาย ชาวบ้านผาปังเขาหวงแหนมาก มีเหรียญรุ่น 1 กันทุกครอบครัว เหรียญทั้ง 3 รุ่น มีประสบการณ์มากมาย ดีเด่นทางแคล้วคลาด แต่เหรียญที่ออกวัดหัวฝายดีเด่นทางมหาอุด จนหนังสือข่าวสดนำไปลงว่าเหรียญครูบาติ๊บอุดลูกปืน ปัจจุบันราคายังถูกมากแค่หลักร้อยแก่ๆ พบเห็นได้บ่อยที่สนามพระลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง สำหรับเหรียญที่ออกวัดหัวฝาย สุโขทัย รุ่น 1 ราคาหลักพันต้นๆเท่านั้น ครูบาติ๊บที่สุโขทัยยกย่องให้ท่านเป็น 1 ใน 15 บูรพาจารย์ของจังหวัดสุโขทัยเลยเชียวหนา ก็ไม่ใช่ธรรมดา เพราะที่สุโขทัย เมืองเก่ามีสุดยอดเกจิมากมาย เช่น ลพ.เอม ลพ.ปี้ ลพ.บุญมี ลพ.ห้อม ลพ.ทิม ลพ.ย่น ฯลฯ ***
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พ.ค. 2554, 09:18:43 โดย โองการยันนะรังสี »
"สัจจังเว อมตา วาจา" วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย