กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ, กฎแห่งกรรม และ ประสบการณ์วิญญาณ => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ => ข้อความที่เริ่มโดย: รวี สัจจะ... ที่ 31 ก.ค. 2552, 07:38:08

หัวข้อ: บันทึกธรรม...๓๐ ก.ค.๕๒
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 31 ก.ค. 2552, 07:38:08
 :059:วันนี้เป็นวันพระ....
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู
ประเพณีของท้องถิ่น ในวันพระญาติโยมจะมาทำบุญตักบาตรที่วัดกัน
สังคมในชนบทยังสืบทอดศรัทธากันมาอย่างยืนยาว
หลังจากเสร็จนาในต้นฤดูฝน ทุกคนก็พอจะมีเวลามาช่วยงานภายในวัด
ช่วยกันพัฒนาวัดวาอารามตามกำลังเท่าที่จะทำได้
ฝนตกลงมาตั้งแค่เช้า....
ลงไปทำงานภาคสนามไม่ได้
ไม่มีใครมาหามาธุระ เพราะเป็นวันพระ งดทำกิจของโยม
เลยได้มีเวลาที่จะทบทวนหลักธรรมที่ร่ำเรียนมา
ยกเรื่องมหาสติปัฏฐานมาพิจารณาเป็นอารมณ์
เพื่อให้จำได้หมายรู้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงตั้งเป็นกระทู้ไป
ลองเปลี่ยนแนวใหม่มาเขียนแบบเชิงวิชาการ
โดยยกอ้างพุทธพจน์ที่มีมาในพระไตรปิฏก
เพื่อให้มีที่มาและที่ไปเพราะส่วนใหญ่แล้วจะเขียนเรื่องสภาวะธรรม
เพราะเห็นว่าเรื่องหลักธรรมมีผู้เขียนกันมามากมายแล้ว
ผู้สนใจสามารถที่จะค้นหาได้ในตำรับตำราที่ผู้รู้ได้รจนาไว้
แต่เรื่องสภาวะธรรมนั้น.....
มันเป็นของเฉพาะตน มีเพียงคล้ายและใกล้เคียง
และบางครั้งไม่สามารถที่จะบรรยายเป็นคำพูดได้
จึงนำมาบอกเล่าเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน
และผู้ที่เคยผ่านการฝึกฝนปฏิบัติมาแล้วได้เข้าใจ
ในสิ่งที่ยังสงสัยและค้างคาใจ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร
และสิ่งที่เขียนออกไปทุกครั้งนั้นเป็นการย้ำเตือนตัวเอง
เพื่อให้ใคร่ครวญทบทวนในสิ่งที่ตนได้ทำมาและกล่าวไป
ทำไปด้วยใจเจตนาที่บริสุทธิ์ไม่ได้หวังลาภยศและชื่อเสียง
เพราะพยายามหลีกเลี่ยงหนีออกจากโลกธรรม ๘ อยู่ตลอดเวลา
ศึกษาปัญหาและจิตใจมนุษย์....
ของยุคไอทีที่ไร้ขอบเขตและไร้พรมแดน
แต่ละข้อความ แต่ละกระทู้ เข้าไปดูเพื่อศึกษา
กิเลส ตัณหา มายา และความบริสุทธิ์ใจ
มีมากมายหลายหลากที่ปรากฏออกมา
เอาทุกอย่างมาเป็นครู...เรียนรู้จากอุปสรรคและปัญหา
ตัณหาละตัณหา...ทุกข์ละทุกข์...คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา...
 :054:ขอบคุณทุกสิ่งอย่างที่ได้พบเห็นและเรียนรู้มา :054:
              เชื่อมั่น-ศรัทธา-ในความบริสุทธิ์ใจ
                   รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๗.๓๘ น. ณ กุฏิน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
หัวข้อ: ตอบ: บันทึกธรรม...๓๐ ก.ค.๕๒
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 31 ก.ค. 2552, 08:19:52
เอาทุกอย่างมาเป็นครู...เรียนรู้จากอุปสรรคและปัญหา
กราบนมัสการพระอาจารย์ ขอบพระคุณสำหรับคำสอนดีๆ ผมจะเรียนรู้และปฎิบัติตามครับ
หัวข้อ: ตอบ: บันทึกธรรม...๓๐ ก.ค.๕๒
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 21 มี.ค. 2554, 12:14:56
สติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ [1][2][3] (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง[4] คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง[5] โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต

มหาสติปัฏฐานสูตร​ หมายถึง ​ ​พระสูตรที่กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ 21 ​บรรพะ​ ​อยู่​ใน​พระสุตตันตปิฎก​ ​ทีฆนิกาย​ ​มหาวรรค​ ​เป็น​สูตรที่​ 9 ​รองสุดท้ายของวรรคนี้
สติปัฏฐานสูตร​ ​คือ​ ​พระสูตรที่กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ ​สติปัฏฐานสูตรนี้อาจมีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายที่​แล้ว​แต่​ท่านจะ​ตั้งชื่อ​ ​แต่ที่นิยมเอามาพูด​ถึง​ ​จะ​อยู่​ใน​พระสุตตันตปิฎก​ ​มัชฌิมนิกาย​ ​มูลปัณณาสก์​ ​กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ 21 ​บรรพะ​เหมือน​ใน​ทีฆนิกายนั่นเอง​.

โครงสร้างสูตร

ในมหาสติปัฏฐานสูตรท่านได้แสดงเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐานไว้อย่างละเอียด โดยแบ่งแสดงออกเป็นข้อ ๆ เรียกว่า ปพฺพ(ปัพพะ,บรรพะ, ข้อ, แบบ) โดยในพระบาลีใช้คำว่า อปิจ(อะปิจะ - อีกอย่างหนึ่ง) เป็นเครื่องหมายในการแบ่งสติปัฏฐาน 4 อย่างลงไปอีก รวมทั้งสิ้น 21 บรรพะ เริ่มที่อานาปานบรรพะ และไปสิ้นสุดที่ สัจจบรรพะ โดยเรียงตาม พระพุทธพจน์ ได้ดังต่อไปนี้ :-

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับร่างกายไว้ 14 แบบ คือ :-

อานาปานบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องอานาปานสติคือลมหายใจเข้าออก ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
อิริยาปถบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ท่าทางของมนุษย์ ใน 4 อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
สัมปชัญญบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องโคจรสัมปชัญญะ คือการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เช่น อิริยาบถย่อยทั้ง 7 คือ เดินหน้า ถอยหลัง แล เหลียว เหยียด คู้ ใช้สอยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
ธาตุมนสิการบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ธาตุ 4 คือ ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม  ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
ปฏิกูลมนสิการบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง กายคตาสติ คือ องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ 32 อย่าง หรือที่เรียกว่า อาการ 32 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
-14. นวสีวถิกาบรรพะ - อธิบายแนวพิจารณาคิดเรื่องนวสีหรือ ซากศพ 9 วาระ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการได้สัมผัสรับรู้ไว้ 1 แบบ คือ :-
เวทนาบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องเวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ที่เกิดจากการสัมผัสรับรู้ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับการรับรู้ไว้ 1 แบบ คือ :-
จิตตบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องจิตคือ การรับรู้-ความคิดคำนึงมี กิริยาจิต ทั้ง 11 เป็นต้น ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับการรับรู้ไว้ 5 แบบ คือ :-
ขันธบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ร่างกายและจิตใจทั้งหมด ตามการจัดหมวดแบบขันธ์ 5 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
อายตนบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตามการจัดหมวดแบบอายตนะ12 โดยพิจารณาตามการยึดติดที่ผูกมัดจิตของเหล่าสัตว์ของสังโยชน์ 10 ที่ผูกจิตในทุกปัจจุบันขณะ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
นีวรณบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง จิตใจฝ่ายชั่วร้าย 5 กลุ่ม ตามการจัดหมวดแบบนิวรณ์5 อันส่งเสริมสมาธิ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
โพชฌังคบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง จิตใจฝ่ายดีงามพร้อมจะตรัสรู้ 7 อย่าง อันส่งเสริมศีล ตามการจัดหมวดแบบโพชฌงค์7 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
สัจจะบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง สภาวะอันเป็นปรมัตถ์ ตามการจัดหมวดแบบอริยสัจ4 อันส่งเสริมปัญญา ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
การแสดงข้อมูลสำหรับสะสมอบรมสติปัฏฐานไว้ถึง 21 แบบ ซ้ำกันไปซ้ำกันมาในเรื่องเดียวกันอยู่อย่างนี้ เพราะทรงแสดงตามนิสัยสันดานของแต่ละคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลและภาษาเป็นต้นมาไม่เหมือนกัน หากทรงแสดงย่อเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ผู้ฟังบางส่วนอาจไม่สามารถทำความเข้าใจจนบรรลุได้.
แต่หากทรงแสดงหลากหลายแบบ เลือกคำพูดและร้อยเรียงเอาเรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมาแสดงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ฟังบรรลุได้ตามประสงค์ เพราะผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอยู่ในระดับชำนาญเฉพาะทางอยู่แล้ว เพียงแค่ทรงบอกแนะเพิ่มเติมในจุดที่ขาดตกบกพร่องไปเท่านั้นเขาก็สามารถเข้าใจและบรรลุตามได้ไม่ยากเลย, เหมือนการอธิบายเรื่องพระเจ้าหลุยให้ชาวฝรั่งเศสฟังด้วยภาษาฝรั่งเศส ถ้าเจอคนโง่ก็อธิบายให้คนโง่ฟังอย่างละเอียด ถ้าเจอคนฉลาดก็อธิบายให้คนฉลาดอย่างสังเขป เป็นต้นนั่นเอง.
อนึ่ง ทั้ง 21 บรรพะนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์(<<ละเอียดที่สุด) และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ใน สุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ใน ปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ใน สารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ใน สัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ใน สัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7(ย่อไว้ดีมาก),ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร ซึ่งสามารถหาประสบการและความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ใน ขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส, การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.

เปรียบเทียบมหาสติปัฏฐานสูตรกับสติปัฏฐานสูตร

มหาสติปัฏฐานสูตร กับ สติปัฏฐานสูตร ต่างกันดังนี้ :-
มหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ในทีฆนิกาย ส่วนสติปัฏฐานสูตรอยู่ในมัชฌิมนิกาย และในสังยุตตนิกายเป็นต้น
​สติปัฏฐานสูตร​ใน​มัชฌิมนิกาย ​จะ​มีการ​ใช้​เปยยาล​(ฯลฯ) ​มาย่อข้อ​ความ​ที่​ซ้ำ​ๆ​กัน​ ​จึง​ทำ​ให้​ดู​เหมือน​​สั้นลง​ ​แต่​ความ​จริง​ถ้า​แทนเปยยาล​ด้วย​ข้อ​ความ​ปรกติก็​จะ​ต้อง​มีขนาด​เท่า​ กัน
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​ทีฆนิกายนั้น​ ​บางบรรพะ​ ​เช่น​ อรรถกถาของสัมปชัญญบรรพะ ​เป็น​ต้น​ ​จะมีขนาด​สั้นกว่า​ อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกาย ​เพราะ​ท่าน​ได้​อธิบาย​ไว้​ก่อน​แล้ว​ในอรรถกถาของสามัญญผลสูตรเป็น​ต้น​ ​ท่าน​จึง​ไม่​กล่าว​ซ้ำ​อีก​. ​อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกายก็​เช่น​กัน​ ​คือ อรรถกถาของบางบรรพะ​ ​เช่น​ อรรถกถาของสัจจบรรพะ ​เป็น​ต้น​ ​ก็​จะ​สั้นกว่าอรรถกถา​เรื่องเดียว​กัน​น​ ​ใน​ทีฆนิกาย ​เพราะ​ท่าน​ได้​กล่าว​ไว้​ก่อน​แล้ว​ใน​อรรถกถาสูตร​อื่น​ที่มาก่อน​ซึ่ง​ อยู่​ใน​มัชฌิมนิกายเหมือน​กัน​ ​เพราะ​แต่ละนิกายก็​จะ​มีอรรถกถาคนละ​เล่มเช่น​ ​อรรถกถาขอทีฆนิกาย​ ​ชื่อ​ ​สุมังคลวิลาสินี​, ​อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย​ ​ชื่อ​ ​ปปัญจสูทนี​ ​เป็น​ต้น​ ​ซึ่ง​แม้​จะ​มี​เนื้อหาคล้ายๆ​กัน​ ​แต่ก็​จะ​มีการเรียงเนื้อหาอธิบายต่าง​กัน​ขึ้น​อยู่​กับ​ว่า​ ​สูตรไหนมาก่อน​-​คำ​ไหนมาก่อน​ ​ก็ถูกอธิบายก่อน​, ​สูตรไหนมาหลัง​-​คำ​ไหนมาหลัง​ ​ก็ถูกอธิบายทีหลัง​ ​ที่อธิบายมา​แล้ว​ท่านก็​จะ​ให้​ย้อนดูอันที่ผ่านมา​แล้ว​ ​ไม่​อธิบาย​ซ้ำ​อีก​, ​พอ​เป็น​อรรถกถาคนละ​เล่ม​กัน​ ​อรรถกถา​จึง​สั้นยาวต่าง​กัน​ ​แต่​ถ้า​เอาที่ท่านละ​ไว้​มา​เติมก็​จะ​ได้​พอๆ​กัน​ ​ต่าง​กัน​บ้าง​เล็ก​น้อยแค่​ใน​บางจุด​เท่า​นั้น​.
อนึ่ง ข้อน่าสังเกต คือ ฉ. ฉัฏฐสังคายนาของพม่า สติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย ชื่อของพระพุทธพจน์จะใช้ มหาสติปัฏฐานสูตร ส่วนในอรรถกถาจะใช้แค่สติปัฏฐานสูตร. เมื่อตรวจสอบกับที่อื่นๆ ในอรรถกถาก็พบว่า เมื่อสุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายอ้างถึงมหาสติปัฏฐานสูตรว่าจะอธิบายในสูตรนี้ ท่านก็จะใช้คำว่า "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". แต่ถ้าเป็นปปัญจสูทนี อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย เวลาอ้างท่านจะใช้แค่ว่า "สติปฏฺฐานสุตฺต" ไม่ใช่ "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". ซึ่งเป็นอย่างนี้ทั้งในอรรถกถาและฏีกาของทั้ง 2 คัมภีร์ และตรงกันทั้ง ฉบับไทย ทั้ง ฉบับพม่า. จึงมีความเป็นไปได้ว่า ท่านใช้ชื่อสติปัฏฐานสูตรกับมหาสติปัฏฐานสูตร ตามแบบที่ไทยใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยแยกอย่างนี้มาตั้งแต่โบราณแล้ว.
ในอรรถกถาที่อื่นนั้น มีอยู่ 1 ที่ ในนิทานวรรคท่านเรียกรวมทั้ง มหาสติปัฏฐานสูตร ในทีฆนิกาย และ สติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย รวมกันทั้ง 2 สูตร ว่าเป็น "มหาสติปัฏฐาน" ไปเลยก็มี. คงเป็นเพราะว่า ถ้าสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกายไม่ทำเปยยาลแล้วเขียนเต็มก็จะต้องมีขนาดเท่ากับมหาสติปัฏฐาน สูตรในมัชฌิมนิกายนั่นเอง.