กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => บทความ บทกวี => ข้อความที่เริ่มโดย: รวี สัจจะ... ที่ 28 ธ.ค. 2552, 01:26:02

หัวข้อ: เล่าสู่กันฟัง...รู้ตน รู้กาล รู้ประมาณ
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 28 ธ.ค. 2552, 01:26:02
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒
ณ ตถตาอาศรม ริมฝั่งโขง ชายขอบประเทศไทย
                         ในช่วงที่ไปอยู่ปริวาสกรรมนั้น ได้มีเวลาปฏิบัติธรรมเต็มที่ เพราะไม่ต้องมีภาระที่จะต้องต้อนรับสงเคราะห์ญาติโยม
จึงทำให้มีเวลาที่จะปฏิบัติและทบทวนใคร่ครวญ เจริญวิมังสาธรรม ทบทวนสภาวะธรรมของอารมณ์กรรมฐานแต่ละกองที่เคยได้ปฏิบัติมา
เรียบเรียงลำดับความจำสัญญาบันทึกไว้ในสมองเสียใหม่ เพื่อไม่ให้สับสนกันในกรรมฐานแต่ละกอง เพราะเมื่อมีเพื่อนนักปฏิบัติมาขอคำ
แนะนำ สามารถที่จะสงเคราะห์เขาได้โดยไม่สับสนในสภาวะธรรมแต่ละกอง ซึ่งถ้าไม่แม่นยำแล้วอาจจะทำให้แนะนำเขาผิดพลาดไปได้
จึงจำเป็นที่จะต้องทบทวนใคร่ครวญ เรียงลำดับ อารมณ์กรรมฐานนั้นให้แม่นยำในแต่ละกอง เวลาสิบกว่าวันที่ผ่านมานั้นเป้นช่วงเวลาที่มี
คุณค่าสำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เราได้เห็นสิ่งที่เราได้ประมาทและผิดพลาด ซึ่งที่ผ่านมานั้นเราลืมพิจารณาไปเพราะความ
เคยชินและสิ่งที่คุ้นเคย ทำให้ละเลยลืมพิจารณา ลืมพิจารณาถึงบทบาทและหน้าที่ว่ามันมีอะไรบ้างที่เราต้องกระทำและไม่ควรกระทำ
ทั้งทางกายและทางจิต ทั้งความคิดและการกระทำ  มันเหมือนกับเราอยู่ในบ้านในห้อง มุมมองของเราจึงคับแคบ เห็นแต่เพียงภายใน
บ้านในห้อง มองเห็นแต่สิ่งเฉพาะหน้า แต่เมื่อเราออกมาอยู่ข้างนอก แล้วมองย้อนกลับเข้าไป เราจะมองเห็นได้ทั้งภายนอกและภายใน
ว่ามันเป็นอย่างไร มีอะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ มีอะไรที่เสื่อมถอยหรือมีอะไรที่เจริญก้าวหน้า เมือเราออกมาแล้วจึงจะมองเห็น
     ซึ่งมันเหมือนกับขณะที่เรากำลังเผชิญอยู่กับปัญหา มันมีสภาวะกดดันอยู่ ทำให้เราคิดอะไรไม่ออก หาทางออกไม่เจอ แก้ปัญหา
ไม่ได้ เพราะว่าเราเข้าไปอยู่ในปัญหาซึ่งมีสภาวะกดดันบีบคั้นอยู่ ทำให้มุมมองของเรานั้นคับแคบ สมองของเรามึนงงไม่โปร่งโล่งเบา
ทำให้เราไม่เข้าใจปัญหาและตีปัญหาไม่แตก แต่เมื่อเราวางปัญหาไว้ชั่วคราว ออกมาจากปัญหา ทำกายให้สดชื่นแจ่มใส ทำใจให้โปร่ง
โล่งเบาสบาย ให้กายและจิตนั้นมีกำลังมีความพร้อม แล้วจึงน้อมจิตกลับเข้าไปดูปัญหา ค้นให้เจอที่มาคือต้นเหตุแห่งปัญหาให้เห็นที่มา
และที่เกิดของปัญหา มองผลกระทบที่ตามมาว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเราและคนรอบข้างอย่างไรและทำความเข้าใจกับปัญหา
นั้นให้แตกและชัดเจน ยอมรับในความผิดพลาดและล้มเหลวของเรา อย่าไปโทษผู้อื่นหรือไปโทษโชคชะตา เพราะว่ามันเป็นกรรมของเรา
เมื่อใจเรายอมรับในผลของกรรมนั้นแล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะคลายลง และเมื่อความทุกข์ทั้งหลายคลายลง ใจของเราก็จะสบายขึ้น
แล้วมองย้อนกลับไปสู่ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ไม่เข้าข้างตัวเองคือมองอย่างคนนอกมอง อย่าไปคิดว่าสิ่งนั้นมันเป็นปัญหาเป็นทุกข์ของเรา
(คือการละความเป็นตัวกูของกูชั่วคราว) ที่เราไม่สามารถที่จะแก้ปัญหานั้นได้ก็เพราะเราเข้าไปยึดถือในปัญหาว่ามันเป็นมีความเป็นตัวกู
ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์นั้น ย่อมที่จะไม่ยอมสูญเสียในสิ่งที่เคยเป็นของตน มีความรักความหวงแหนในสิ่งที่เคยครอบครองว่าเป็นของกู
ไม่ยอมเสียหรือถ้าจะเสียก็ให้เสียน้อยที่สุด มีความยึดถือและหวงแหน ซึ่งเกิดจากความเป็นตัวกูและของกู
      แต่ถ้าเป็นปัญหาของผู้อื่นแล้ว เราจะวิจารน์ขาดแนะนำแก้ไขให้เขาได้ เพราะมันไม่มีความเป็นของกู ดั่งคำโบราณที่กล่าวสอนมาว่า
"ผงเข้าตาตัวเองแก้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นช่วยเอาออกให้" ฟ้ารู้ครึ่ง ดินรู้หมด ทะเลรู้ลึกถึงหกวา แต่ว่าไม่รู้จักตัวของเราเอง การที่เราจะรู้จัก
ตัวของเราเองนั้น มันต้องมีสติอยู่กับกายและจิตของเรา ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ดูหนังดูละครแล้วย้อนมาดูตัว ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้เกิด
เมื่อใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว ต้องเพิ่มคุณธรรมให้กับจิต คือความรู้จักผิดชอบและชั่วดี มีการยับยั้งและควบคุมจิตไม่ให้คล้อยตามในสิ่งผิด
มีความคิดที่เป็นกุศลคือรู้จักละอายและเกรงกลัวต่อบาป ย้ำเตือนจิตไม่ให้ก้าวเดินผิดพลาดไป แล้วอุปสรรคปัญหาทั้งหลายก็จะแก้ไขได้
"อย่าปฏิเสธในทุกข์และปัญหา เพราะว่าทุกข์และปัญหานั้นจะช่วยพัฒนาจิตและความคิดของเรา"ดั่งคำผู้รู้ที่กล่าวไว้ว่า "ทุกข์ไม่มา
ปัญญาไม่มี บารมีไม่เกิด" จงตั้งสติทุกครั้งเมื่อเจอปัญหา โดยถอยออกมาตั้งหลักพักกายพักใจให้มีกำลัง แล้วจึงกลับไปแก้ไขปัญหา
อย่าเผชิญหน้าและแก้ปัญหาในสภาวะที่เครียดกดดัน เพราะสมองมันจะตันวิศัยทัศน์นั้นจะแคบลง ทำให้มองไม่เห็นทางออกของปัญหา
ตั้งสติแล้วพิจารณาอย่างรอบคอบมองให้เห็นที่เกิดของปัญหา การตั้งอยู่ของปัญหาผลกระทบของปัญหาแล้วกลับมาดูต้นทุนกำลังของเรา
ว่ามีเท่าไหร่ มีอะไรบ้าง อะไรที่สามารถที่จะเข้าไปแก้ไขได้ในขณะนั้น มองปัญหาให้แตก แยกปัญหาให้ออก แล้วเข้าไปจัดการกับปัญหา
โดยทำจากสิ่งที่ง่ายแล้วค่อยไปสู่ที่ยาก "ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ถ้าเรายอมรับและยอมเสียไม่ยึดติดในความเป็นตัวกูและของกู"
 :059:ฝากไว้เป็นข้อคิดให้นำไปพิจารณา อย่าได้เชื่อทันทีและอย่าได้ปฏิเสธทันที ใคร่ครวญเสียก่อน แล้วจึงจะเชื่อหรือปฏิเสธ :059:
                           เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต-แด่มวลมิตรผู้ร่วมชะตากรรมบนโลกใบนี้
                                          รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีเพเนจร-สมณะชายขอบ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๒๖ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายขอบประเทศไทย
หัวข้อ: ตอบ: เล่าสู่กันฟัง...รู้ตน รู้กาล รู้ประมาณ
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์โจรสลัด~ ที่ 28 ธ.ค. 2552, 02:48:27
ยอมรับในสิ่งที่เป็น ไม่ใช่ว่าตนถูกเสมอ ใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น กรรมมีจริง

ขอบพระคุณหลวงพี่โด่ง ที่เมตตานำมาบอกเล่าเช่นเคยนะครับ ...  :054:
หัวข้อ: ตอบ: เล่าสู่กันฟัง...รู้ตน รู้กาล รู้ประมาณ
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ack01~ ที่ 28 ธ.ค. 2552, 10:20:34
"ทุกข์ไม่มาปัญญาไม่มี บารมีไม่เกิด"
จงตั้งสติทุกครั้งเมื่อเจอปัญหา โดยถอยออกมาตั้งหลักพักกายพักใจให้มีกำลัง แล้วจึงกลับไปแก้ไขปัญหา


...กราบนมัสการขอบพระคุณ ที่เมตตาชี้แนะครับ....
หัวข้อ: ตอบ: เล่าสู่กันฟัง...รู้ตน รู้กาล รู้ประมาณ
เริ่มหัวข้อโดย: PeAwPeed ที่ 29 ธ.ค. 2552, 10:47:00
ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์นั้น ย่อมที่จะไม่ยอมสูญเสียในสิ่งที่เคยเป็นของตน มีความรักความหวงแหนในสิ่งที่เคยครอบครองว่าเป็นของกู
ไม่ยอมเสียหรือถ้าจะเสียก็ให้เสียน้อยที่สุด มีความยึดถือและหวงแหน ซึ่งเกิดจากความเป็นตัวกูและของกู



กราบนมัสการขอบพระคุณ พระอาจารย์ ที่ชี้แนะค่ะ :054:

คนทุกคนย่อมใช้สิทธิในการหวงแหน ยึดติด
กับสิ่งที่เคยชิน นึกคิด ว่าเป็นของตน
รัก หวงแหน ได้...แต่เมื่อถึงวันต้องลาจากและเสียไป
ก็ต้องเปิดใจยอมรับ....เคารพสิทธิ และยอมสูญเสีย

ทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุผล ตามสถานะ กาลเวลา และความเป็นจริง


หัวข้อ: ตอบ: เล่าสู่กันฟัง...รู้ตน รู้กาล รู้ประมาณ
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 30 ธ.ค. 2552, 12:01:03
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ คำสอนนี้ที่พระอาจารย์เคยได้สอนผมไว้ ผมได้นำมาแก้ปัญหาของตัวเอง จนปัญหาคลี่คลายลงจนแทบไม่เป็นปัญหาเลยครับ