กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) => ข้อความที่เริ่มโดย: นรก ที่ 24 เม.ย. 2550, 12:27:04

หัวข้อ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: นรก ที่ 24 เม.ย. 2550, 12:27:04
?แร่บางไผ่? เป็นธาตุกายสิทธิ์ที่มีแหล่งแร่เฉพาะที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี เท่านั้น ส่วนพุทธของแร่บางไผ่ เป็นโลหะธาตุที่นักนิยมพระเครื่องทราบดีว่าเป็นธาตุกายสิทธิ์

เมื่อนำมาสร้างเป็นวัตถุมงคลจะทรงพลานุภาพความศักด์สิทธิ์เข้มขลัง ดังที่พระเกจิโบราณาจารย์คือหลวงปู่จัน เมื่อครั้งอดีตได้สร้าง?พระปิดตาแร่บางไผ่? เป็นสุดยอดวัตถุมงคลที่คงความยอดนิยมแถวหน้าตลอดมา

 ปัจจุบันนี้การสร้างวัตถุมงคลโดยใช้แร่บางไผ่เป็นมวลสารนั้นไม่ค่อยพบเห็น ด้วยเหตุผลที่ว่าพระผู้ที่เก็บแร่บางไผ่นั้นมีน้อยองค์ ขณะเดียวกันพื้นที่เก็บแร่นั้นก็ลดลงตามการขยายตัวของเมือง ที่สำคัญคือการสร้างวัตถุมงคลที่ใช้แร่บางไผ่เป็นมวลสารนั้นทำได้ยาก รวมทั้งวัตถุมงคลไม่สวยสมบูรณ์เหมือนการใช้มวลสารอื่นๆ?

 พระครูวิสาลสรคุณ (หลวงพ่อไวพจน์ กตปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดสามง่าม อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ซึ่งศึกษาวิธีเก็บและหุงแร่บางไผ่ บอกว่า ถิ่นกำเนิดของแร่บางไผ่ ความจริงแร่บางไผ่นั้นไม่ได้เกิดที่บางไผ่ แต่เกิดที่คลองบางคูรัด อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเหนียวเหมาะแก่การเกษตรกรรมมาก ไม่น่าเชื่อว่าจะมีแร่ชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อดูผิวเผินแล้วเหมือนดินดานจับปึกและมีในเนื้อที่ไม่กว้างนัก ชาวบ้านที่อาศัยพื้นที่ทำนาทำสวนไม่ทราบเลยว่านี่คือแร่ชนิดหนึ่ง เมื่อนำจากธรรมชาติมาหล่อหลอมด้วยไฟแรงสูงแล้วจะมีสภาพกลายเป็นแร่เหล็กทันที เพราะแม่เหล็กจะสามารถดูดติด แต่ถ้าอยู่ตามธรรมชาติ แม่เหล็กจะดูดไม่ติด

 ก่อนการเก็บดินที่มีส่วนผสมของแร่บางไผ่ต้องบวงสรวงขอจากเจ้าที่ก่อน โดยจะเก็บได้เฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั่น ซึ่งถ้าออกไปเก็บนอกฤดูฝนจะไม่พบ ปัจจุบันนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะพื้นที่บริเวณดังกล่าวจากในอดีตที่เป็นเรือกสวนไร่นา กลับกลายเป็นหมู่บ้าน โรงงานไปเกือบหมดแล้ว ทำให้สถานที่เก็บแร่น้อยลงไปด้วย ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าในอนาคตหากมีการสร้างหมู่บ้านจัดสรรมากๆ ในที่สุดก็จะไม่มีสถานที่เก็บแร่บางไผ่

 "คนอายุร่วม ๑๐๐ ปี เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนนี้มีมากมายในเนื้อที่ของตน แต่พอมาทีหลังค่อยๆ หายไปโดยไม่มีสาเหตุ และถ้าจะเก็บจะต้องบวงสรวงก่อน มิฉะนั้นจะหาไม่เจอและต้องเก็บในฤดูฝนเท่านั้น เมื่อเก็บแร่มาได้แล้ก็นำมาแช่ไว้ในโอ่งน้ำ โดยน้ำที่ใช้แช่นั้นเป็นน้ำคาวปลา (น้ำที่ล้างตัวปลาที่ทำแล้ว) เมื่อต้องการหุงแร่ก็นำไปผึ่งแดดให้แห้งจากนั้นก็เข้าเตาหลอม เมื่อหลอมก้อนดินที่มีส่วนผสมของแร่บางไผ่ก้อนที่หนัก ๑ กิโลกรัมจะได้เนื้อแร่บางไผ่ประมาณ ๕ ขีด" หลวงพ่อไวพจน์ กล่าว
พุทธคุณของแร่บางไผ่

 นายนิพนธ์ เฮงเส็ง หรือ นุ เพชรัตน์ เซียนพระเครื่องของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า ตามคติความเชื่อเรื่องพุทธคุณของแร่บางไผ่ มีความเชื่อกันว่าความอัศจรรย์ดังกล่าวในการทำพระของหลวงปู่จันนั้น ผู้นำไปใช้นำมาเล่าขานกันต่อมาว่า คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย มั่งมีศรีสุข

 ในตำนานหลวงปู่จัน ผู้สร้างพระปิดตาแร่บางไผ่ ท่านมีความรู้ในการเล่นแร่แปรธาตุ และรู้จักแร่ธาตุต่างๆ เป็นอย่างดี ท่านจึงนำแร่ดังกล่าวนี้มาเพื่อจะแปรธาตุให้เป็นทองคำ และท่านกล่าวไว้อีกว่า แร่นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เมตตา คงกระพันอยู่ในตัวแล้ว จึงไม่สามารถเป็นทองคำได้ ท่านจึงหันเหจากการแปรธาตุกลับมาทำเป็นพระปิดตายันต์ยุ่งที่ขึ้นชื่อลือชานักหนา ปัจจุบันมีการเช่าบูชากันในราคาเกือบล้าน

 นอกจากนี้แล้วแร่นั้นเสมือนมีชีวิตถ้าอยู่ตามธรรมชาติ จะต้องอยู่ในน้ำเท่านั้นจึงจะนำมาหล่อหลอมแล้วมีธาตุเหล็กเหลืออยู่ ถ้าอยู่ที่แห้งนานๆ ถึงแม้นำมาหล่อหลอมก็จะกลายเป็นเถ้า ไม่มีธาตุเหล็กหลงเหลืออยู่เลย และก่อนที่จะนำมาหลอม เมื่อนำมาจากธรรมชาติแล้ว ต้องเลี้ยงด้วยน้ำคาวปลา แร่นั้นจึงจะมีน้ำหนักสมบูรณ์ เมื่อมาหล่อหลอมก็จะไล่ขี้ออกได้ง่ายอย่างน่าอัศจรรย์

 "นักเดินไพรสมัยก่อนอมพระปิดตาแร่บางไผ่ไว้ในปาก เดินได้เป็นวันๆ ไม่ต้องกินน้ำ มีกำลังวังชา คนโบราณเอาพระแช่น้ำมันงาไว้ เอาสำลีจุ่มน้ำมางาทัดหูไป เพียงแค่นั้นก็อยู่คงแล้ว อุปเท่ห์การใช้พระแร่บางไผ่ ที่ให้คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งคือท่านให้เอาพระแช่น้ำผึ้งไว้ แล้วเอาน้ำผึ้งมากินทุกวัน ท่านว่าทำให้มีกำลัง ไม่เหนื่อยง่าย อายุยืน ไปไหนมาไหนก็คล่องแคล่วไม่เจ็บป่วย ที่ดินของชาวบ้านที่มีแร่บางไผ่ ไม่มีครอบครัวไหนที่ยากจนเลย มีแต่ครอบครัวมั่งคั่ง แร่บางไผ่นั้นเมื่อนำมาทำพระโดยสมบูรณ์แล้ว ต้องแช่น้ำมันงาจึงจะเกิดความสวยงาม ชุ่มฉ่ำ และดูลึกซึ้งยิ่งนัก" นุ เพชรัตน์ กล่าว

 สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องกรรมวิธีเก็บแร่และหุงบางไผ่ ทราบว่าหลวงพ่อไวพจน์จะออกไปเก็บแร่บางไผ่เพื่อมาสร้างวัตถุมงคล ฤดูฝนที่จะมาถึงนี้จะมีการเก็บอีก ใครสนใจสอบถามรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.๐-๒๙๙๒๕-๕๓๘๐ และ ๐-๒๙๒๕-๕๙๒๑

รูปครับ   http://www.komchadluek.net/2007/04/24/photo_18232.php
เครดิต>>>ไตรเทพ ไกรงู (คม ชัด ลึก)
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: HEA_WOY! ที่ 24 เม.ย. 2550, 03:02:28
 :016:ขอบคุงที่ให้ความรู้ดีๆๆคราบ :015:
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: kaitip ที่ 24 เม.ย. 2550, 04:41:09
 :D :Dไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะเนี่ย.....ขอบคุณค่ะ
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ack01~ ที่ 24 เม.ย. 2550, 07:49:48
ปิดตายันต์ยุ่งแร่บางไผ่ ของหลวงปู่จัน วัดโมลี โอกาสจะได้เห็นของจริงยังยากเลยครับ...

มีบุญได้แค่ปิดตาแร่บางไผ่ของวัดนครอินก็บุญสำหรับผมแล้วล่ะ แหะๆ..

บทความดีมากเลยครับได้ความรู้มากๆเลย...
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: นรก ที่ 24 เม.ย. 2550, 08:16:23
สำหรับการจัดสร้างจตุคามรามเทพ และพระศรีมหาลาภ พังพะกาฬ "รวยแน่แร่บางไผ่" ของวัดสามง่าม เพื่อหาปัจจัยสร้างซื้อที่ดินทำทางเข้าวัด รวมทั้งสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จนั้น หลวงพ่อไวพจน์ บอกว่า ได้เก็บแร่บางไผ่มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเก็บมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ โดยนำไปจัดสร้างพระเครื่องชุดเบญจภาคีแร่บางไผ่ จากนั้นก็ทำพระหลวงพ่อ หลวงพ่อเขียน และพระปิดตา เป็นครั้งคราว โดยใช้ส่วนผสมของแร่บางไผ่เป็นหลัก
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ๛พุทธานุภาพ๛ ที่ 24 เม.ย. 2550, 10:24:13
อืม ผมว่า มีอยู่จริง ครับ และ เหล็กไหล ก็มีอยู่จริง หาได้ใช่เป็นตำนานเพียงอย่างเดียวครับ  :075: :075: :075:
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ตุ๋ย ท้าวเวศ ที่ 25 เม.ย. 2550, 04:09:56
เคยได้ยินมานานแล้วเรื่องของแร่บางไผ่ เพราะใกล้บ้านเราเลย  ปิดตาแร่บางไผ่ของหลวงปู่เกิดก็ดีนะ
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ack01~ ที่ 25 เม.ย. 2550, 09:37:53
หมายถึงหลวงปู่เกิด วัดมะเดื่อ รึป่าวครับ
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ack01~ ที่ 25 เม.ย. 2550, 09:38:41
ปิดตายันต์ยุ่ง หลวงปู่เกิด วัดมะเดื่อ นนทบุรี

(http://img50.imageshack.us/img50/1329/123bc9.jpg)
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: โยคี ที่ 26 เม.ย. 2550, 11:03:00
พระเครื่อง รุ่นเก่า ของหลวงปู่เกิด เขาเรียก ปิดตาแร่บางเดื่อ แต่พอนานเข้าชื่อวัดเปลี่ยนเป็น วัดมะเดื่อ

ส่วน จตุคามรามเทพ วัดสามง่าม รุ่น รวยแน่นแร่บางไผ่
http://www.ruaynae.com/luangpoh.html
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: bughum31 ที่ 19 ก.ย. 2551, 07:48:38
พระปิดตาแร่บางไผ่ที่วัดนครอินทร์ ติดสะพานพระราม5 คืดว่ายังมีให้บูชาอยู่นะครับ ผมได้มา1องค์ สุดยอดครับ
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ~@เสน่ห์เอ็ม@~ ที่ 19 ก.ย. 2551, 07:55:29
 
ปิดตายันต์ยุ่งแร่บางไผ่ ของหลวงปู่จัน วัดโมลี โอกาสจะได้เห็นของจริงยังยากเลยครับ...

มีบุญได้แค่ปิดตาแร่บางไผ่ของวัดนครอินก็บุญสำหรับผมแล้วล่ะ แหะๆ..

บทความดีมากเลยครับได้ความรู้มากๆเลย...

ขอบคุณสำหรับ บทความ ครับ

ตามที่พี่แอ็กบอกหละครับ ...... หาชมได้ยากจริงๆ เก๊ก็เยอะ แต่ทำไม่เหมือน
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 19 ก.ย. 2551, 09:21:05
ที่วัดบางจาก นนทบุรี ตอนนี้ หลวงพ่อเปรื่องท่านก็ทำครับผม แร่บางไผ่  :015:
หัวข้อ: ตอบ: แร่บางไผ่ยังมีอยู่จริงหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมูทองแดง T_T ที่ 20 ก.ย. 2551, 12:47:18
จริงครับที่วัดนครอินทร์ ก็มี น่าจะยังมีให้เช่าอยู่นะผมเคยเช่าเมื่อปีที่แล้ว

ผมเคยไปขอแร่เป็นๆ(ยังไม่ได้หุง)ที่วัดสามง่าม(จ.นนทบุรี) มาเลี้ยงดู ขอกับหลวงพี่ท่านหนึ่ง เดิมที่คิดว่าท่านน่าจะไม่ให้แต่ลองขอดูท่านกลับให้ เลยเดินตามไปดูปรากฎว่ามีอยู่ในตุ้มขนาดใหญ่สามใบ ในนั้นมีก้อนแร่จำนวนมาก และก็มีน้ำท่วมก้อนแร่ ลักษณะเป็นก้อนสีแดงอิฐ ท่านให้มา๒ก้อน และบอกว่าให้เลี้ยงด้วย
น้ำคาวปลา แรกๆก็คิดเหมือนคุณว่าต้องเป็นของ แบบ....นั้น แต่ถามลึกเข้าก็รู้ว่าเป็นน้ำที่ใช้ล้างปลาที่ใช้ทำกับข้าว แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำแห้ง ไม่งั้นเค้าจะตาย เลี้ยงดีๆ เค้าจะขยายตัวและงอก 
          แต่ปัจุบันผมเลี้ยงไม่รอด :043: เหอแรกๆ ดูไปนานๆก็ไม่เห็นอะไร วันนึงเบื่อเอาไปใส่ตู้ปลาไว้ น้องสาวล้างตู้ปลาเอาแร่ออก แห้งตายครับไม่ต่างกับก้อนหินมีน้ำหนักเบา เสียดายจัง
          ศึกษาลึกไปจึงรู้ว่าแร่บางไผ่จริงๆหลวงปู่จันท่านก็ไม่ได้ไว้ ตัวแร่เค้ามีญาณรู้ว่าจะมีคนมาจับตัว เลยหนีไปก่อน ที่ได้คือขี้แร่บางไผ่เท่านั้น หลวงปู่จันเลยนำมาใช้สร้างพระปิดตา  คิดดูเองนะขนาดขี้แร่  ยังเหนียวขนาดเป็นตำนานปิดตาแร่บางไผ่ (ข้อมูลตกหล่นผิดพลาดขออภัยด้วยครับพี่ๆ) 05; 06;