กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) => ข้อความที่เริ่มโดย: หนุมานตัว9 ที่ 18 พ.ค. 2554, 11:09:09

หัวข้อ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: หนุมานตัว9 ที่ 18 พ.ค. 2554, 11:09:09
เคยเจอไหมครับอยู่ดีๆมีเจ้าทรงบอกว่ามีกุมารมาอยู่ด้วยงงเลยครับ
หัวข้อ: ตอบ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: saken6009 ที่ 18 พ.ค. 2554, 11:19:14
เคยเจอไหมครับอยู่ดีๆมีเจ้าทรงบอกว่ามีกุมารมาอยู่ด้วยงงเลยครับ
ด้วยความเคารพครับ คุณน้อง 36; 36;
                             
โดยส่วนตัวแล้ว ด้วยประสบการณ์ ข้าพเจ้าไม่เชื่อ เรื่องทรงเจ้าเข้าผี แต่ก็ไม่ลบหลู่นะครับ :064: :064:
                                                                                                                                                     
(ขออนุญาตเข้ามาตอบ ขอบคุณมากครับ) :054: :054:
หัวข้อ: ตอบ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 18 พ.ค. 2554, 10:46:10
กาลามสูตร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวังสับสนกับ กามคุณ หรือ กามสูตร

กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
หัวข้อ: ตอบ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 18 พ.ค. 2554, 10:50:53

ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว[/size]

:001:โยนิโสมนสิการ :001:
หัวข้อ: ตอบ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 18 พ.ค. 2554, 11:11:07
โยนิโสมนสิการ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โยนิโสมนสิการ (ปัญจาบ: yonisomanasikāra; คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒[1]
การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [2]เช่น
คิดจากเหตุไปหาผล
คิดจากผลไปหาเหตุ
คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสรีมให้เจริญ
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรึอเป็นไปไม่ได้

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
หัวข้อ: ตอบ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 18 พ.ค. 2554, 11:13:56
ศัพทมูลและนิยาม

คำ "โยนิโสมนสิการ" นั้นประกอบด้วยคำสองคำ คือ[3]
"โยนิโส" มาจาก "โยนิ" แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง
"มนสิการ" หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา
ดังนั้น "โยนิโสมนสิการ" จึงหมายถึง การทำในใจให้แยบคาย หรือ การพิจารณาโดยแยบคาย กล่าวคือ ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี เป็นวิถีทางแห่งปัญญา เป็นธรรมสำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าวหรือที่เรียก "ปรโตโฆสะ" อีกชั้นหนึ่ง กับทั้งเป็นบ่อเกิดแห่งความคิดชอบหรือ "สัมมาทิฐิ" ทำให้มีเหตุผล และไม่งมงาย [4]
อนึ่ง คัมภีร์ในพระไตรปิฎก ชั้นอรรถกถาและฎีกาได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายในแง่ต่าง ๆ ของโยนิโสมนสิการว่า
"อุบายมนสิการ" เป็น การคิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ซึ่งทำให้รู้สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
"ปถมนสิการ" เป็น การคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ หมายถึง ความคิดที่เป็นระเบียบตามหลักเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน จิตไม่แว๊บติดพันในเรื่องนี้ แต่เดี๋ยวกลับเตลิดไปคิดอีกเรื่องหนึ่ง จิตยุ่งเหยิงนี้กระโดดไปมา ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่รวมทั้งความสามารถในการชักความนึกคิดไปสู้แนวทางที่ถูกต้อง
"การณมนสิการ" เป็น การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องตามลำดับ
อุปปาทกมนสิการ การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม เช่น การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น
ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการเกิดในแต่ละครั้ง อาจมีลักษณะครบทั้ง 4 ข้อ หรือเกิดครบทั้งหมด หรือเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนี้สั้นๆ ได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
หัวข้อ: ตอบ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 18 พ.ค. 2554, 11:15:39
คุณค่า

โยนิโสมนสิการนั้น ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒
นอกจากนี้ ยังมีคำพรรณนาคุณของโยนิโสมนสิการอีกมาก เช่น เป็นส่วนหนึ่งที่ให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นเครื่องขจัดความลังเลสงสัย เป็นองค์ประกอบของความเป็นพระอริยบุคคลชั้นแรกหรือ "โสตาปัตติยังคะ" อันแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาส่งเสริมโยนิโสมนสิการว่าจำเป็นสำหรับทุกคน


^ 1.0 1.1 1.2 ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๕๘๗.
^ พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) : Yonisomanasikàra (S.V.2–30; A.I.11–31; It.9.)
^ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๔๖ : ๖๖๙-๖๗๐.
^ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), ๒๕๔๘ : ...
^ reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection, พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า 670-671

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
หัวข้อ: ตอบ: อยู่ดีๆมีกุมารมาอยู่ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: หนุมานตัว9 ที่ 23 พ.ค. 2554, 09:18:14
ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่มาแนะนำครับ