กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: phisorn.b ที่ 09 มิ.ย. 2551, 04:27:21

หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: phisorn.b ที่ 09 มิ.ย. 2551, 04:27:21
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอ ? " คติธรรม " ? ?บางส่วนจากพระไตรปิฎกครับ  

? ? ? ? ***? ? ?? คติธรรม ? ?? ? ***? ?

? ? ? ? ? ? วิริเยน? ทุกขมัจเจติ? ?

บุคคลล่วงทุกข์ได้? ?เพราะความเพียร

( พุทธภาษิต  จากขุททกนิกาย  สุตตนิบาติ )

ความเพียร     ทำให้ตน      พ้นจากทุกข์
ความเพียร     ทำให้สุข      สมประสงค์  
ความเพียร     ให้สำเร็จ      เจตน์จำนง
ความเพียร      จะพาส่ง     สู่นิพพพาน 



***   ความเพียรกล่าวโดยทั้วไปมี ๒ อย่างคือ เพียรทำความดี กับเพียรทำความชั่ว
แต่เพียรทำความชั่วจะพาตนให้ประสบกับความทุกข์  ความเดือดร้อน  ความเพียรในพุทธภาษิตนี้  มุ่งหมายถึงความเพียรที่ดีเท่านั้น และอาจแบ่งได้เป็น ๓ ระดับดังนี้  

***  ความเพียรระดับต้น   คือความเพียรในการประกอบสัมมาอาชีพ เมื่อแสวงหาทรัพย์สมบัติได้แล้ว ก็รู้จักรักษา รู้จักใช้จ่ายให้เหมะสมกับฐานะของตน ก็จะทำให้ตนนั้นพ้นจากความจน  ไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินผู้อื่น ได้รับความสุขจาการมีทรัพย์ได้ตามสมควรในโลกนี้เพียรเพื่อประโยชน์โลกนี้อย่างแท้จริง

***   ความเพียรระดับกลางเป็นความเพียรอีกระดับหนึ่ง  ได้แก่ความเพียรในการหมั่นประกอบกองบุญกุศล มีการบริจากทาน มีการรักษาศีล เป็นต้น ก็จะทำให้ตนพ้นทุกข์ภัยในอบายภูมิ ไม่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก ดิรัจฉาน  เปรต และอสุรกาย ที่มีความทุกข์ความเดือดร้อนเป็นอันมาก   แต่บุญกุศลจะพาตนให้ได้เกิดในสุคติ เป็นมนุษย์ หรือเทวดา มีความสุขสบายในโลกหน้าเป็นการเพียรเพื่อประโยชน์โลกหน้าอย่างแท้จริง   

***   ความเพียรระดับสูง  หรือความเพียรอย่างสูงนั้น คือความเพียรในการเจริญสติปัฏฐาน ๔  หรือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  คือใช้สติปัญญาให้รู้จัก นามรูป หรือกายกับใจ  ตามความเป็นจริง   โดยรู้ถึงลักษณะเฉพาะตัว ของนามรูปนั้นๆ และลักษณะที่เสมอเหมือนกันกับสังขารโดยทั้วไป ได้แก่ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ที่เรียกว่าสามัญญลักษณะ หรือไตรลักษณ์นั่นเอง  ความเพียรประเภทนี้จะสามารถทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไป ทำให้ตนพ้นจากทุกข์ทั้งปวง และทำให้ถึงสันติสุข คือพระนิพพานได้อย่างแท้จริง เป็นการเพียรเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งที่แท้จริงที่สุด .

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:
หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: ~@เสน่ห์เอ็ม@~ ที่ 09 มิ.ย. 2551, 08:33:30
 :002:  ขอบคุณครับ
หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 09 มิ.ย. 2551, 10:17:59
อนุโมทนาครับ เพียรไปเถิดจะเกิดผล :054:
หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: phisorn.b ที่ 11 มิ.ย. 2551, 12:49:05
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

        จิตฺตํ  คุตฺตํ  สุขาวทํ
จิตที่คุ้มครองแล้ว  นำสุขมาให้


( พุทธภาษิต  จาก  ธรรมบท  ขุททกนิกาย )

***?  อันนานาจิตตังท่านตั้งไว้   
เพราะดวงใจมีต่าง ๆ อย่างมากหลาย
มีใจดีใจชั่วอยู่มากมาย
จะเลวร้ายหรือดีล้นไม่พ้นใจ

      เมื่อใจดีพาให้ได้ความสุข
ส่วนใจชั่วพาให้ทุกข์ไม่สดใส
ท่านจึงสอนให้คุ้มครองป้องกันใจ
ก็จะได้สุขสมอารมณ์  เอย.

***   จิต  
เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์    มีความรู้สึกนึกคิดได้   เป็นธรรมที่ผันแปรกลับกลอกอย่างรวดเร็ว   เดี๋ยวรักเดี๋ยวชัง  เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย   จิตของปุถุชนผู้หนาไปด้วยกิเลสนั้น   มีปกติฝักใฝ่แสวงหาอารมณ์ที่ตนพอใจเสมอ  อยากเห็นรูปที่สวยงาม  ฟังเสียงที่ไพเราะ  ดมกลิ่นที่หอมหวน  รับรสที่อร่อย  และต้องการสัมผัสที่นิ่มนวล  เมื่อได้รับอารมณ์ที่ตนประสงค์แล้วก็พอใจติดใจ   แต่ถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน  หรือได้รับอารมณ์ที่ดีแล้วแต่พาพลัดพรากจากไปเสีย  ก็เกิดความเศร้าโศกเสียใจ   บางคนถึงกับปริเทวนาการร่ำไห้ก็มีอยู่มิใช่น้อย

***   จิตของปุถุชน   มักตกอยู่ในความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  อยู่เป็นปกติ   มีความคิดซัดส่าย  ฟุ้งซ่านอยู่เป็นประจำ  จะสงบลงบ้างก็เวลาที่ตนหลับสนิทเท่านั้น  แต่จะหลับได้นานสักเท่าใด  ไม่นานนักก็จะต้องตื่นขึ้นมา   และพอลืมตาก็ลืมตัว  ปล่อยให้กิเลสทั้งหลายมีความโลภ  เป็นต้น  เข้าครอบงำสืบต่อไป

***   ฉะนั้น  พระบรมศาสดาผู้ทรงมีเมตตากรุณาต่อชาวโลก   จึงได้ทรงแนะนำพร่ำสอนให้พวกเราชาวพุทธรู้จักการคุ้มครองป้องกันจิต  มิให้จิตตกไปในฝักใฝ่แห่งความชั่ว   แต่ให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี   ไม่ให้ตกอยู่ในความโลภ  ความโกรธ  ความหลง   ให้มีสติปัญญาคอยคุ้มครองรักษาจิตอยู่เสมอ  ก็จะทำให้ตนพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน  ถึงซึ่งความสงบสุขได้โดยแท้จริง.

***  ( อารมณ์ เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้  )    ***


***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ?? ?:090:
หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทร์ ที่ 11 มิ.ย. 2551, 01:58:15
ขอแสดงความขอบคุณให้อีกหนึ่งเสียงครับ.....
หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 11 มิ.ย. 2551, 10:08:01
อนุโมทนาครับท่าน :053:
หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: phisorn.b ที่ 12 มิ.ย. 2551, 12:37:16
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? สารญฺจ? สารโต? ญตฺวา?    อสารญฺจ? อสารโต
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?เต? สารํ? อธิคจฺฉนฺติ      สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา

   ชนเหล่าใด? รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ? และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ชนเหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร? ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ


 ( พุทธภาษิต? ธรรมบท? ขุททกนิกาย? ยมกวรรค )

***อันสาระจะทำให้    ได้ประโยชน์
ไม่เกิดโทษไม่เกิดทุกข์      แต่สุขแน่
ผิดกันกับอสาระ   ไม่ดีแล
สมควรแท้จะละลด            ให้หมดไป

***มวลมนุษย์น้องพี่    ที่เกิดมา
มิควรข้าพึงรีบหา        สาระไว้
เพื่อจักได้อยู่รอด        และปลอดภัย
ประสบสุขยิ่งใหญ่        จริงจริงแล

***? ?สารธรรม  
คือธรรมที่จะให้เกิดประโยชน์และความสุข?  ส่วนอสารธรรมเป็นธรรมที่จะนำมาซึ่งโทษและความทุกข์ ? สารธรรมเป็นธรรมที่ดีแต่อสารธรรมเป็นธรรมที่ชั่ว? ? สารธรรมเป็นธรรมที่น่ายินดีในการที่จะกระทำตาม ?  แต่อสารธรรมเป็นธรรมที่ควรจะเกรงกลัวและพยายามหลีกหนีเสียให้ห่างไกล

***? ?ธรรมที่ดีหรือความดีนี้? ได้แก่? การกาะทำดี พูดดี และคิดดี?  ที่เป็นไปในทวารทั้ง ๓ คื? กาย? วาจา? และใจนี้เอง? การกระทำความดีย่อมไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน? แต่จะทำให้ตนเองและผู้อื่นเป็นสุข   ส่วนธรรมที่ชั่วตรงกันข้ามกับความดี? คือทำชั่ว? พูดชั่ว? และคิดชั่ว? ทำให้ตนเองและผู้เดือดร้อน.

***? ?พระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกสารธรรมไว้ ๕ อย่าง? คือ? ศีล? สมาธิ? ปัญญา? วิมุต? และวิมุตติ? ญาณ ? ทัสสนะ?  และกล่าวถึงพระนิพพานว่าเป็นปรมัตถสาระ ? คือสาระที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ?  สาระ ๕ อย่างนี้? เรียกว่า? ธรรมขันธ์ก็ได้
   
ศีล ? เป็นธรรมที่เป็นพื้นฐานของคุณธรรมความดีต่าง ๆ  ที่สูงยิ่งกว่าศีล เช่น สมาธิ ? เป็นต้นนั้นต้องอาศัยศีลเป็นเหตุเป็นเครื่องรองรับจึงจะเกิดได้?  การรักษาศีลนี้จะต้องให้สมบูรณ์ คือ ให้ครบทุกข้อ ศีล ๕ ก็ครบ ๕ ข้อ ศีล ๘ ก็ครบ ๘ ข้อ? เป็นต้น?  และต้องรักษาให้เหมาะสมกับเพศของตน? คือคฤหัสถ์ก็รักษาแบบคฤหัสถ์? เป็นบรรพชิตก็รักษาแบบบรรพชิต? การรักษาศีลนอกจากจะต้องให้สมบูรณ์คือ ? ?มีครบทุกข้อไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว? ยังต้องให้บริสุทธิ์? ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกิเลสอีกด้วย? เช่นรักษาศีลแล้วปรารถนาเป็นมนุษย์หรือเทวดา เป็นต้น?  ก็ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์? ศีลเมื่อไม่บริสุทธิ์ก็ไม่เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ ? แต่ถ้าศีลบริบูรณ์และบริสุทธิ์ดีแล้ว? ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิต่อไป

สมาธิ  ในที่นี้เป็นสมาธิที่เกิดจากรักษาศีลบริสุทธิ์? ที่เรียกว่า? ศีลวิสุทธิ? ซึ่งได้มาจากการเจริญสติปัฏฐาน   เพราะศีลจะบริสุทธิ์ได้นั้นต้องมีอินทรียสังวรศีล ? ซึ่งได้มาจากการปฏิบัติสติปัฏฐานนั่นเอง? แต่การปฏิบัติในขั้นต้นนั้น? นิวรณ์ยังเกิดกลุ้มรุมได้? ใจยังไม่สงบ? ไม่เป็นสมาธิ? ไม่เป็นจิตตวิสุทธิ  ได้อย่างมากก็เพียงศีลวิสุทธิ? แต่เมื่อได้ปฏิบัติต่อไปอย่างถูกวิธีดีแล้ว? นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น? ก็ย่อมจะสงบลง? จิตก็เป็นสมาธิเป็นจิตตวิสุทธิ ? และเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาต่อไป

ปัญญา ? หมายถึงวิปัสสนาปัญญา? ได้มาจากการเจริญสติปัฏฐานจนนิวรณ์สงบแล้ว ? ปัญญาประเภทนี้ย่อมรู้จักรูปนามหรือขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ? รู้ทั้งปัจจัตตลักษณะ? ลักษณะประจำตัวของรูปนามนั้น ๆ เช่น?  รูปมีลักษณะเสื่อมสลาย? นามลักษณะน้อมสู่อารมณ์หรือจะเรียกว่าวิเสสลักษณะก็ได้?  และรู้ลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือสามัญลักษณะ ? ลักษณะที่มีเสมอเหมือนกันกับสังขารทั้งปวง? คือ? การเกิดขึ้น? ตั้งอยู่? และดับไป? หรืออนิจจัง? ไม่เที่ยง? ทุกขัง? เป็นทุกข์? และอนัตตา? ไม่ใช่ตน?  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า? ไตรลักษณะ? ลักษณะ ๓ อย่างเมื่อได้เจริญวิปัสสนามาจนเห็นรูปนาม? เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตาแล้ว ? เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม?  และนี่เองที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่าเป็นทางแห่งความบริสุทธิปราศจากกิเลส  ปัญญาจึงเป็นเหตุให้ถึงวิมุตความหลุดพ้นจากกิเลสได้
   

***? ?วิมุต ? ในที่นี้หมายถึง? มรรคและผล?  เมื่อได้เจริญวิปัสสนาจนมีปัญญาแก่กล้าแล้ว? ก็สามารถประหาณกิเลสได้เด็ดขาด? บรรลุมรรคและผล?  ในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น? ย่อมทำกิจในอริยสัจครบ ๔ ประการ? คือ รู้ทุกขสัจ? ละสมุทัยทำให้แจ้งนิโรธสัจ?  และทำมรรคสัจให้เกิดสำหรับผลจิตนั้นแม้ไม่ได้ทำกิจเหมือนกับมรรคจิตแต่ก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์และมีเจตสิกประกอบเหมือนในมรรคจิต? จึงจัดเป็นวิมุตด้วย

***? ?วิมุตติญาณทัสสนะ? เป็นสารธรรมข้อสุดท้าย? คือความรู้มรรค? ผล? นิพพาน ? ที่ตนได้ประสบแล้วนั่นเอง ? และรู้ตลอดถึงกิเลสที่ตนละได้แล้ว ? และกิเลสที่ยังละไม่ได้ด้วย ความรู้ประเภทนี้รู้ในปัจจเวกขณวิถี? จะเกิดมีแก่พระอริยบุคคลทุกท่าน

***? ?สำหรับปรมัตถสาระ ? ไม่ได้อยู่ในสาระ ๕ แต่พระอรรถกถาจารย์ได้นำมากล่าวไว้  เพราะเป็นยอดแห่งสาระทั้ง ๕ คือเป็นผลที่เกิดจากสาระทั้ง ๕ นั่นเอง?  พระบรมศาสนดาได้ทรงยกย่องว่าเป็นธรรมที่ประเสริฐที่สุด? เป็นปรมัตถประโยชน์
   
***? ?ผู้มีศรัทธาและปัญญา ? เมื่อมาปฏิบัติตนอยู่ในสารธรรมทั้ง ๕ แล้ว ? ในที่สุดก็จะถึงปรมัตถสาระ? หรือปรมัตถประโยชน์ ? คือพระนิพพานได้โดยแท้.

***?  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ? :090:
หัวข้อ: " คติธรรม "
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 12 มิ.ย. 2551, 09:52:46
ขอบคุณครับท่าน :002: