กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) => ข้อความที่เริ่มโดย: เอก นนทบุรี ที่ 06 เม.ย. 2552, 12:06:50

หัวข้อ: การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบ
เริ่มหัวข้อโดย: เอก นนทบุรี ที่ 06 เม.ย. 2552, 12:06:50
การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบ
    การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบจะใช้ช่างชาวบ้านและพระเณรมาช่วยกันทำเริ่มจากการตัดโลหะก็จะตัดตามขนาดที่ต้องการแล้วก็นำไปม้วนช่วงแรกๆจะมีการม้วนด้วยมือแต่งานออกมาจะไม่ค่อยสวยต่อมาเลยดัดแปลงโดยใช้ไม้หีบมาคีบแล้วม้วนตะกรุดชุดนี้จึงม้วนได้แน่นและสวยงาม..แต่มีปัญหาเวลาม้วนเสร็จโลหะจะคลี่ออกทุกดอกจึงได้ลองทุบหัวตะกรุดดูปรากฏว่าตะกรุดำม่คลี่ออก...ตั้งแต่นั้นมาตะกรุดหลวงพ่อทบจึงมีการเก็บหัวตะกรุดด้วยการทุบหัวทั้งสองข้างจนติดปากชาวบ้านว่าตะกรุดหลวงพ่อทบต้องทุบหัว... ในยุคต้นๆการเก็บหัวตะกรุดจะใช้การทุบหัวบนไม้เลียบๆทั้งสองด้านงานออกมาจึงบุบๆบี้ๆในตะกรุดยุคต้นๆตะกรุดยุคต้นนั้นหลวงพ่อทบท่านจารเองลงอักขระเองจนมายุคกลางหลวงพ่อทบจึงมอบหมายให้พระอาจารย์เพ็งลูกศิษย์ที่หลวงพ่อทบไว้ใจมากที่สุดในการจารแผ่นโลหะทุกแผ่นครับ การพันตะกรุดหลวงพ่อทบหลวงพ่อไม่ได้กำหนดลายถักขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนถักเองจะเห็นได้ว่าตะกรุดของหลวงพ่อทบจะมีหลายลายครับไม่ถือเป็นข้อยุติ ในยุคกลางเรื่มมีการทำเครื่องมือในการใช้เก็บและย้ำหัวตะกรุดขึ้นมา...คล้ายๆกับตะปูตีสังกะสี...มีแท่งเหล็กตรงกลางแล้วมีหมวก...ก็จะเอาแท่งเหล็กเสียบลงไปในรูของตะกรุดส่วนหมวกก็จะวางบนหัวตะกรุด จากนั้นก็ใช้ค้อนตอกไล่เบาๆ การเก็บกัวแบบนี้งานจะออกมาสวยงามเป็นระเบียบสวยกว่ายุคต้นๆและอีกอย่างตะกรุดของหลวงพ่อทบในยุคกลางเริ่มมีตะกรุด3 กษัตริย์เข้ามาทำให้การเก็บหัวตะกรุดแบบเดิมๆทำไม่ได้แล้ว เชือกที่ใช้พันตะกรุดของหลวงพ่อทบนั้นจะใช้เชือกแท้ เชือกป่านเชือกปอ และเชือกไนลอน การพันด้วยในลอนเป็นงานที่ยากมากๆเพราะเชือกจะลื่นส่วนใหญ่ตะกรุดที่ใช้เชือกไนลอนพันจะพบว่าจะพันแค่ 2 เส้นเท่านั้นเพราะจะทำให้พันง่ายสอดซ่อนเงื้อนได้ง่ายกว่าใช้เชือกเส้นใหญ่...นี้ก็เป็นเอกลักษ์อีกอย่างในการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบ การพันตะกรุดหลวงพ่อทบโดยจะเริ่มพันรอบแรกแล้วจะเก็บซ่อนเงื้อน1เส้นแล้วเหลือหัวเชือกไว้ประมาณ 1-2 นิ้วเพื่อใช้ดึงเชือกรัดตะกรุดให้แน่นในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อพันไปจนเสร็จแล้วก็จะเก็บหัวเชือกโดยการพันยึดกับเชือกเส้นสุดท้ายแล้วสอดเชือกกลับไปที่เริ่มต้นจนปลายเชือกโพล่จากนั้นก็จะใช้มือกำตะกรุดแล้วหมุนเชือกรอบๆตะกรุดจนแน่นแล้วก็ดึงปลายเชือกที่โพล่ออกมาให้ตึงเชือกจะรัดตะกรุดจนแน่นแล้วก็ตัดปลายเชือกที่เกินออก....จากนั้นก็จะนำตะกรุดไปทุบหัวให้ปลายตะกรุดทั้งสองข้างบานออกเพื่อล็อคเชือกที่พันไว้ไม่ให้หลุด...ตรงนี้ก็เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างครับของการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบ....ในยุคกลางลงมาการเก็บเชือกจะไม่สวยงามเหมือนยุคต้นๆเพราะเวลาในการสร้างน้อยความต้องการตะกรุดของหลวงพ่อมีมาก ท่านอาจารย์เพ็งเคยเล่าให้อาจาร์วีรวัฒน์ฟังว่าตะกรุดบางรุ่นของหลวงพ่อทบไม่พันเชือกก็มีเป็นตะกรุดเปลือยๆช่วงนั้นตะกรุดชุดนี้จะเอาไปแจกที่จังหวัดจันทบุรีและตราด ปัจจุบันเล่นเป็นพระเกจิในพื้นที่ไปแล้ว การเก็บปลายเชือกยุคกลางปมจะใหญ่มากหรือไม่ก็เอาไฟจี้เอาเลยจะสังเกตุได้ว่าตะกรุดยุคปลายและยุคปลายจะเห็นมีการใช้ไฟจี้เอาเลย...
การพิจารณายุคของตะกรุดหลวงพ่อทบ
1.นอกจากพิจารณาจากความเก่าของโลหะแล้วยังพิจารณาจาก การเก็บหัวตะกรุด ยุคต้นการเก็บหัวจะไม่เรียบร้อย ส่วนยุคกลางและยุคปลายจะมีการเก็บหัวที่สวยงามเป็นระเบียบ
2. พิจารณาจากการเก็บปลายเชือกในยุคต้นๆการเก็บปลายเชือกจะมองแทบไม่รู้เลยเพราะการเก็บปลายเชือกไว้ใต้เชือกที่พัน ส่วนยุคกลางจะผูกปมค่อนข้างใหญ่หรือไม่ก็มัดเอาดื้อๆ และมีการใช้ไฟจี้เพื่อให้เชือกติดกันเป็นข้อสังเกตุอีกอย่าง
3. ขนาดของตะกรุดใยยุคต้นตะกรุดจะดอกไม่ใหญ่มีทั้งดอกสั้นและดอกยาวใช้โลหะ1-2 ชนิด ในยุคกลางตะกรุดจะเริ่มใหญ่ขึ้นมีทั้งดอกสั้นและดอกยาวและการม้วนโลหะจะหนากว่าทุกรุ่นส่วนยุคปลายดอกจะไม่ใหญ่มากแต่จะมีโลหะตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป
4. ตะกรุดของหลวงพ่อทบส่วนใหญ่...ตรงนี้สังเกตุให้ดีครับ ขอบทั้ง 4 ด้านของแผ่นโลหะจะตัดมุนออกทั้ง 4 มุม สังเกตุให้ดีครับจะเห็นได้ทั้งด้านในและด้านนอกครับ...ตรงนีเชื่อว่ายังไม่มีใครเคยสังเกตุลองดูครับส่วนใหญ่จะมีครับ...ขอบคุณข้อมูลจากทีมงานเปิดตำนานหลวงพ่อทบ  
หัวข้อ: ตอบ: การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบ
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์โจรสลัด~ ที่ 06 เม.ย. 2552, 12:43:18
ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้เรื่องตะกรุดธงชาติ  ...  :089:
หัวข้อ: ตอบ: การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบ
เริ่มหัวข้อโดย: nutagul ที่ 06 เม.ย. 2552, 05:35:04
         ความรู้ดีมากครับ
หัวข้อ: ตอบ: การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบ
เริ่มหัวข้อโดย: พุงโต ที่ 07 เม.ย. 2552, 02:02:38
 :054: :054: :054:  สาธุ สำหรับข้อมูลครับ
หัวข้อ: ตอบ: การสร้างตะกรุดหลวงพ่อทบ
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 07 เม.ย. 2552, 09:43:32
แน่นมากๆครับผมขิอบคุณข้อมูลนะครับท่าน  :054: