กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => บทความ บทกวี => ข้อความที่เริ่มโดย: เด็กนอกวัด ที่ 26 พ.ค. 2552, 05:24:04

หัวข้อ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: เด็กนอกวัด ที่ 26 พ.ค. 2552, 05:24:04
(http://img5.imageshack.us/img5/3812/500teb.jpg)

วัตถุโบราณที่ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะที่ผู้คนนิยมสักการะบูชากันตั้งแต่อดีตโบราณตราบจนปัจจุบันนี้ด้วยความเคารพศรัทธากันอย่างกว้างขวาง

"ศิวลึงค์"เป็นเสมือนรูปเคารพแทนพระองค์ ที่มีปรากฏอยู่ในเทวสถานทุกแห่ง และก็มีธรรมเนียมประเพณีที่จะจัดพิธีกรรม เพื่อบูชาศิวลึงค์นี้โดยเฉพาะอีกด้วย

จึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ของพระศิวะมหาเทพนี้ค่อนข้างจะแตกต่างกับมหาเทพองค์อื่นๆตรงที่มีสัยลักษณ์แทนพระองค์เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ที่ดูค่อนข้างจะพิสดารมิใช่น้อยและชวนให้ฉงนสงสัยในความเป็นมาแห่งสัญลักษณ์นี้

กำเนิดของศิวลึงค์นั้นปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยกแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่าง ๆทางคติพราหมณ์ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่าองค์พระศิวะนั้นทรงตั้งพระทัยที่จะประทานรูปศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชายที่ให้กับสาวกทั้งหลาย ทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์

(http://img5.imageshack.us/img5/2517/shivlingameaning.gif)

ซึ่งการที่ประทานรูปเคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชาตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 ซึ่งประกอบไปด้วยพระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวกได้เห็นเป็นบุญตา

ซึ่งพระพรหมก็จะปรากฏพระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี 4 พักตร์ 4 กร ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร แต่สำหรับพระศิวะนั้นทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อย คือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรงแต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพนั่นเอง

ดังนั้นหลังจากงานพิธีกรรมบูชาเทพตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 พระองค์นี้แล้ว บรรดาสาวกก็ได้สร้างศาลรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพพระพรหมเป็นรูปที่มี 4 พักตร์ 4 กร และสร้างรูปเคารพพระนารายณ์เป็นรูปมหาเทพผู้งดงามมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร และสำหรับพระศิวะนั้นสาวกก็ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายตามที่พวกตนได้พบเห็นปรากฏแก่สายตา อันเป็นรูปจำลองเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะนั่นเอง

ในคัมภีร์โบราณอีกเล่มหนึ่งนั้นได้บันทึกไว้ว่า ในวันหนึ่งพระศิวะกำลังร่วมภิรมย์เสพสมกับพระแม่อุมาอัครมเหสีอย่างแสนสุขสันต์ในวิมารของพระองค์บนเขาไกรลาส แต่การเสพสมภิรมย์รักนี้ มิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระมิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์แต่อย่างใด การสมสู่ชู้ชื่นครั้นนี้ พระศิวะและพระแม่อุมาทรงกระทำกันกลางท้องพระโรงเลยทีเดียว ดังนั้นบังเอิญเมื่อพวกทวยเทพทั้งปวงที่กำลังจะมาเข้าเฝ้าพระศิวะ ได้พบเห็นเข้าก็จึงรู้สึกว่าพระศิวะนั้นกระทำการอันไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง

หากทรงกระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด แต่หน้าท้องพระโรงนั้นเป็นที่เปรียบเสมือนห้องรับแขก ที่ย่อมจะต้องมีผู้คนผ่านเข้าออกได้เสมอ และเมื่อทวยเทพผ่านพบเห็นเข้าว่าองค์พระศิวะที่เป็นถึงมหาเทพผู้เป็นใหญ่แห่งเขาไกนลาส กำลังเสพสังวาสกับอัครมเหสีอย่างประเจิดประเจ้อกลางท้องพระโรงเช่นนั้นจึงพากันรังเกียจเดียดฉันและเสื่อมศรัทธาในองค์พระศิวะเป็นอย่างมาก

บรรดาทวยเทพจึงได้พากันเย้ยหยันและหมดสิ้นความนับถือ ยำเกรงในองค์มหาเทพ ต่างก็พากันยืนดูแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเห็นเป็นเรื่องที่น่าสมเพชไป ด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น พระศิวะให้ทรงอัปยศอดสู่ในพระทัยเป็นยิ่งนัก และประกอบกับความโกรธกริ้ว พระศิวะจึงทรงได้ประกาศว่าอวัยวะเพศของพระองค์นี้แหละ จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนของพระองค์ ที่บรรดามนุษย์และเทพเทวะทั้งปวง จะต้องกราบไหว้บูชาถ้าต้องการความสุขและความสำเร็จอันงดงามในชีวิต

และอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์นั้น ก็จะมีดวงตามหาศาลล้อมรอบศิวลึงค์ถึง 1,000 ดวงตา เพื่อจะได้สามารถมองเห็นได้เด่นชัดในทุกทิศทุกทาง โดยดวงพระทัยและดวงพระวิญญาณขององค์พระศิวะจะสถิตอยู่ด้วย เพื่อคุ้มครองและอำนวยพรให้กับผู้ที่สักการะบูชาศิวลึงค์นั้น เมื่อได้ทรงแล่นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์มาในขณะที่กำลังเกิดความกริ้วและความอัปยศเป็นที่สุดนั้น ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์จึงได้บังเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นจริง




นับจากนั้นไม่ว่าจะเป็นบรรดามนุษย์ ดาบส ฤาษี หรือแม้แต่ทวยเทพบนสรวงสวรรค์ชั้นต่างๆเองก็ยังนิยมสักการะบูชา ศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นอวัยวะเพศชาย อันเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของพระศิวะ

เรื่องราวการกำเนิดศิวลึงค์ในบางคัมภีร์นั้น ก็กล่าวแตกต่างออกไป โดยเล่าว่าพระศิวะนั้นค่อยข้างจะมีพระอารมณ์ทางราคะค่อยข้างสูง และโปรดที่จะเสพสังวาสกับพระแม่อุมาอัครมเหสีและพระชายาองค์อื่นอีก ในทุกวี่วันเลยทีเดียว จนเป็นที่รู้กันทั่วไปในเหล่าเทพเทวะทั้งปวง

ดังนั้นบรรดาศิษยานุศิษย์หรือผู้ที่ศรัทธาในองค์พระศิวะมหาเทพ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือทวยเทพ ที่เคารพเลื่อมใสองค์พระศิวะ จึงได้คิดประดิษฐ์วัตถุบูชาขึ้นมา โดยหวังให้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การสรรค์สร้างรูปอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งผู้ที่เชื่อกันว่าน่าจะเป็นคนแรกที่คิดประดิษฐ์รูปเคารพศิวลึงค์นี้เป็นนักบวชฮินดู ที่ได้พบความสุข ความสำเร็จและความรุ่งเรื่องในชีวิตมาก หลังจากที่ได้สร้างรูปศิวลึงค์แล้วทำพิธีกราบไหว้บูชาเป็นประจำ

ดังนั้นบรรดาศิษยานุศิษย์หรือชาวบ้านทั่วไป จึงได้เริ่มทำรูปเคารพเป็นรูปศิวลึงค์กันบ้างและก็ทำการสักการะบูชากันเป็นที่กว้างขวางแพร่หลายต่อหลายต่อไป จนเกิดเป็นลัทธิการบูชาศิวลึงค์ขึ้นจริงจังในยุคต่อๆมา
(http://img7.imageshack.us/img7/7445/vishveshvarashivalinga.jpg)


ในอินเดียตอนใต้จะมีการประกอบพิธีสักการะบูชาศิวลึงค์กันอย่างจริงจัง โดยจัดทำกันในเมืองที่อยู่บนยอดเขาโดยจัดเป็นประจำทุกปีเรียกกันว่าเทศกาลบูชาศิวลึงค์โยนีหรือเทศกาล KAETIKAI หรือเทศกาล SATURNALIT เทศกาลทั้ง 2 นี้ จะทำพิธีกันค่อนข้างใหญ่โตเป็นพิเศษ มีงานเฉลิมฉลองกันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน

เครื่องบวงสรวงที่จะใช้ในพิธีกรรมนี้ก็ประกอบด้วยน้ำนมสดและพวงมาลัยดอกไม้สดเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องประกอบพิธีดังนี้

- ดอกไม้เหลือง
- ดอกไม้แดง
- ข้าวตอก
- ใบมะตูม
- หญ้าคา
- มูลโค
- มะพร้าวอ่อน
- เมล็ดธัญพืชต่าง ๆเช่น ข้าวโพดแห้ง เมล็ดข้าวแห้ง
- ธูปหอมและเทียนหอม

ในเทศกาลนี้จะมีการตั้งรูปศิวลึงค์อยู่ ณ เทวสถานกลางเมือง เมื่อมีการเฉลิมฉลองและถวายเครื่องบวงสรวงบูชาเรียบร้อยแล้ว จะมีการสวดมนต์สรรเสริญบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ด้วย การจัดเทศกาลเพื่อสักการะบูชาศิวลึงค์ด้วยความเคารพ เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงนี้ บรรดาชาวบ้าน ชาวเมือง นิยมกระทำพิธีเพื่อขอพรให้เกิดความสุขและความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์ในการกระทำพืชไร่ ซึ่งสังคมของชาวอินเดียตอนใต้นั้นนิยมทำอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่มีการปลูกพืชไร่กันทั่วไป ดังนั้นการขอให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่การเพาะปลูกที่กระทำอยู่นั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

การประกอบพิธีเพื่อบูชาศิวลึงค์ นอกจากที่ในอินเดียตอนใต้นี้แล้ว ทุกหนทุกแห่งทั่วไผก็จะมีลักษณะการบูชาที่คล้ายคลึงกันในส่วนของการเทน้ำนมสดราดลงไปในศิวลึงค์

โดยความบริสุทธิ์ของน้ำนมนั้นเปรียบเสมือนการให้กำเนิดผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
แต่ก็มีบางแห่งที่นอกจากจะใช้นมสดราดรดบนศิวลึงค์แล้ว ยังนิยมใช้ฝุ่นสีแดงมาแต้มทาที่ยอดปลายของศิวลึงค์ เพื่อแทนความหมายของการกำเนิดใหม่แห่งชีวิตใหม่นั่นเอง

ในการสักการะบูชาศิวลึงค์นั้น ยังมีความเชื่ออีกว่าหากบวงสรวงสังเวยด้วยศิวลึงค์ชนิดใดก็จะได้รับพรที่องค์พระศิวะมหาเทพจะประทานให้แตกต่างกันออกไป ดังเช่น

หากนำมูลโคมาสร้างสรรค์ปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตลอดชีวิต มีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใด ๆเลย

หากนำเอาดินจากบริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตลอดชีวิต มีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใดๆเลย

หากนำเอาดินจากบริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นเป็นศิวลึงค์แล้วบวงสรวงบูชาด้วยความเคารพเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นเกิดความร่ำรวยมั่งคั่ง มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมหาศาลเลยทีเดียว

หากนำเอาเมล็ดข้าวทั้งดิบและสุก มาสร้างสรรค์บรรจงประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์แล้วทำการสักการะบูชา จะทำให้บุคคลนั้นหรือครอบครัวนั้น มีความสมบูรณ์พูลสุข มีข้าวปลาอาหารกินโดยบริบูรณ์ หรือทำกิจกรรมการค้าเกี่ยวกับอาหาร ก็จะมั่งคั่ง ร่ำรวยและรุ่งเรืองเป็นแน่แท้

หากนำเอาทองคำบริสุทธิ์มาสร้างสรรค์ ปั้นประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความมั่นคง ร่ำรวยในระดับเศรษฐีตลอดชีวิต

หากนำไม้จันทร์มาสร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชา ก็จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขสันต์หรรษามิสร่างคลาย
หากนำเมล็ดรุทรรากษ์สร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชาก็จะทำให้ผุ้นั้นมีความรอบรู้ศิลปวิทยาการทั้งปวง

ในคัมภีร์อินเดียโบราณนั้น กล่าวไว้ว่าศิวลึงค์นั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่สร้าง
ลึงค์แบ่งตามหลักของนักปราชญ์อินเดียโบราณแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

จลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนไหวได้หรือสั่นไหวได้
อจลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้

ลึงค์ที่ทำจากแก้ว เรียกว่า รัตนชะ
ลึงค์ที่ทำจากหิน เรียกว่า ไศละชะ
ลึงค์ที่ทำจากดิน เรียกว่ามรินมยะ
ลึงค์ที่ทำจากไม้ เรียกว่า มารุชะ
ลึงค์ที่ทำจากโลหะ เรียกว่า โลหชะ
ลึงค์ที่ทำขึ้นเฉพาะกิจตามวาระโอกาสต่างๆ เรียกว่า กษณิกลิงค
หัวข้อ: ตอบ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: ชลาพุชะ ที่ 26 พ.ค. 2552, 05:44:14
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี่นะครับ
หัวข้อ: ตอบ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์กวาง~ ที่ 26 พ.ค. 2552, 05:53:22
ขอบคุณข้อมูลที่นำมาให้ชมค่ะ

น้อยคนที่จะรู้ว่า

สิ่งที่เราบูชานั้น

กำเนิดมาจากอะไร
หัวข้อ: ตอบ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: tum72 ที่ 26 พ.ค. 2552, 09:05:49
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลยครับ รู้ที่มาที่ไปแล้วครับ เป็นอย่างนี้นี่เอง
หัวข้อ: ตอบ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: streetway21 ที่ 26 พ.ค. 2552, 11:31:05
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ศิวลึงค์ก็เป็นสัญญลักษณ์แทนความเป็นเพศชาย  :   โยนีแทนความเป็นเพศหญิง
เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง ของฮินดู
หัวข้อ: ตอบ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 27 พ.ค. 2552, 10:05:28
ขอบคุณครับ  :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053: :053:
หัวข้อ: ตอบ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: เผด็จศึก ที่ 30 พ.ค. 2552, 02:53:22
.ศิวลึงค์ยังไม่ใช่แบบนี้คับพี่ ผมถามลุงและพ่ออีกทีคับผมจำไม่ได้ บางทีเราไปก๊อปมาจากเวปก็ไม่ใช่ แต่ผมจะไปถามลุงมาให้คับผม.
หัวข้อ: ตอบ: กำเนิดศิวลึงค์ ต้นกำเนิดของปลัดขิก
เริ่มหัวข้อโดย: น้องลิงน้อย ที่ 02 มิ.ย. 2552, 04:56:02
ขอบคุณสำหรับข้อมูลใหม่ ๆ จะได้รู้ถึงที่มาที่ไปของศิวลึงค์หรือปลัดขิก สิ่งที่คนทั่วไปบูชากันมานาน