ผู้เขียน หัวข้อ: ...........จิต..........คืออะไร อยู่ที่ไหน.......  (อ่าน 2468 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ขออนุญาตต่อกระทู้เรื่อง บันเทิงธรรม...
« เมื่อ: ๑๒ ม.ค. ๕๓, ๑๒:๐๗:๓๐ »
โดยคุณธรรมะรักโข
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14660.msg132106#msg132106

ข้อความเดิม

5. ดูจิต : จิตคืออะไร อยู่ที่ไหน แล้วจะเอาอะไรไปดู

ผู้ เขียนปฏิบัติตามยถากรรมมาโดยตลอด. เพิ่งจะมีครูบาอาจารย์จริงจังเอาเมื่ออายุ 29 ปี. เหตุที่จะพบอาจารย์นั้น ก็เพราะชอบเล่นเหรียญพระเครื่อง. จึงไปซื้อหนังสือทำเนียบเหรียญหลวงปู่แหวนมาเล่มหนึ่ง. ชื่อหนังสือ "ชีวิตและศาสนากิจ หลวงปู่แหวน". เข้าใจว่าเป็นหนังสือที่ทางวัดสัมพันธวงศ์ จัดพิมพ์. ดูไปทีละหน้า พอถึงตอนท้ายๆ เล่ม. ผู้จัดพิมพ์หนังสือคงเห็นว่ามีที่ว่างเหลืออยู่. จึงนำธรรมะเรื่องอริยสัจจ์แห่งจิตของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มาลงไว้เป็นข้อความสั้นๆ ว่า. "จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ. อนึ่ง ตามสภาพที่แท้จริงของจิต. ย่อมส่งออกนอกเพื่อรับอารมณ์นั้นๆ โดยธรรมชาติของมันเอง. ก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว. จิตเกิดหวั่นไหวหรือเกิดกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย. ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์. ถ้าจิตที่ส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว. แต่ไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค. ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม เพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ. พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกนอก. จิตไม่หวั่นไหว จิตไม่กระเพื่อม เป็นวิหารธรรม. จบอริยสัจจ์ 4.

(ข้อ ความจากหนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนสนใจคำสอนของหลวงปู่ดูลย์. นอกจากผู้เขียนแล้ว ยังมีนักปฏิบัติรุ่นไล่ๆ กับผู้เขียนอีก 2 ท่าน. เข้าไปเป็นศิษย์ของหลวงปู่ด้วยแรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มนี้. และท่านหนึ่งได้ครองสมณเพศมั่นคงในธรรมปฏิบัติ. มีศีลาจารวัตรงดงามบริบูรณ์ยิ่ง. ผู้เขียนและพระอาจารย์รูปนั้น. ยังปรารภด้วยความเคารพในหนังสือเล่มนั้นมาจนทุกวันนี้).

อ่านแล้วผู้เขียนเกิดความสะกิดใจว่า. จริงนะ ถ้าจิตไม่ทุกข์ แล้วใครจะเป็นผู้ทุกข์. ดังนั้นเมื่อมีโอกาสในช่วงวันมาฆบูชาปี 2525. ผู้เขียนพร้อมด้วยน้องในทางธรรม. ก็สุ่มเดินทางไปสุรินทร์ แล้วเที่ยวถามหาวัดบูรพาราม. ในตอนสายวันนั้น ก็ได้ไปนั่งอยู่แทบเท้าของหลวงปู่ผู้สูงวัยกว่า 90 ปี.

ผู้ เขียนกราบเรียนท่านว่า ผู้เขียนอยากปฏิบัติ. ท่านนั่งหลับตาเงียบๆ ไปครึ่งชั่วโมง แล้วสอนว่า. “การปฏิบัติไม่ยาก มันยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ. อ่านหนังสือมามากแล้ว ต่อแต่นี้ให้อ่านจิตของตนเองให้แจ่มแจ้ง”. แล้วท่านก็สอนอริยสัจจ์แห่งจิต เหมือนที่เคยอ่านมานั้น. แล้วถามว่า “เข้าใจไหม”. ผู้เขียนในขณะนั้นรู้สึกเข้าใจแจ่มแจ้งเสียเต็มประดา. จึงกราบเรียนท่านว่า เข้าใจครับ. แล้วลาท่านกลับไปขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพ. พอรถไฟเริ่มเคลื่อนจากสถานีจังหวัดสุรินทร์. ผู้เขียนก็เพิ่งนึกได้ถึงความโง่เขลาอันร้ายแรงของตนเอง.

คือนึกขึ้นได้ว่า หลวงปู่สั่งให้ ดูจิต. ก็แล้ว จิตคืออะไร จิตอยู่ที่ไหน แล้วจะเอาอะไรไปดู. นึกเสียใจที่ไม่ได้ถามปัญหาเหล่านี้จากหลวงปู่. แล้วคราวนี้จะปฏิบัติได้อย่างไร. นี่แหละความผิดพลาดที่ฟังธรรมด้วยความไม่รอบคอบ. เอาแต่ปลาบปลื้มใจและตื่นเต้นที่ได้พบครูบาอาจารย์. จนพลาดในสาระสำคัญเสียแล้ว. จะกลับไปถามหลวงปู่ก็ไม่สามารถกระทำได้แล้วในตอนนั้น.

ผู้เขียนแก้ปัญหานี้ ด้วยการทำใจให้สบายหายตระหนกตกใจ. แล้วพิจารณาว่า จิตเป็นผู้รู้อารมณ์. จิตจะต้องอยู่ในกายหรือในขันธ์ 5 นี้ ไม่ใช่อยู่ที่อื่นแน่. หากค้นคว้าลงในขันธ์ 5 ถึงอย่างไรก็ต้องพบจิต. แต่จะพบในสภาพใด หรือจะเอาอะไรไปรู้ว่าอันนี้เป็นจิต. ยังเป็นปัญหาที่พิจารณาไม่ตก ก็จับปัญหาแขวนไว้ก่อน.

ผู้ เขียนพยายามทำใจให้สบาย สลัดความฟุ้งซ่านทิ้ง. ตั้งสติระลึกรู้อยู่ในกายนี้ ตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงพื้นเท้า. ก็เห็นว่ากายนี้ไม่ใช่จิต กายเป็นวัตถุธาตุเท่านั้น. แม้จะตรวจอยู่ในกายจนทั่วก็ยังไม่พบจิต. พบแต่ว่ากายเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ไม่ใช่จิตที่เป็นผู้รู้. ผู้เขียนจึงพิจารณาเข้าไปที่เวทนา. ตั้งสติจับรู้ที่ความทุกข์ ความสุข และความเฉยๆ ที่ปรากฏ. ก็พบอีกว่า เวทนาก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ยังไม่ใช่จิต. ผู้เขียนก็วางเวทนา หันมีระลึกรู้สัญญาที่ปรากฏ. ก็เห็นว่าสัญญาคือความจำได้/หมายรู้ ก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกรู้อีก. ผู้เขียนก็หันมาดูสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้น. ก็เห็นความคิดนึกปรุงแต่งผุดขึ้นเป็นระยะๆ. เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ยังไม่ใช่จิตอีก.

ก่อนที่รถไฟจะถึงกรุงเทพฯ. ผู้เขียนสามารถแยกรูป เวทนา สัญญา และสังขาร ออกแล้ว. ทันใดผู้เขียนก็พบจิตผู้รู้ เป็นสภาพที่เป็นกลาง ว่าง และรู้อารมณ์. ผู้เขียนก็ตอบปัญหาได้แล้วว่า. จิตเป็นอย่างนี้. จิตอยู่ที่รู้นี้เอง ไม่ได้อยู่ที่กาย เวทนา สัญญา และสังขาร. ผู้เขียนรู้จิตผู้รู้ได้ด้วยเครื่องมือ คือ สติ. ซึ่งผู้เขียนได้ใช้สติเป็นเครื่องระลึกรู้. และใช้ปัญญาพิจารณาแยกขันธ์ จนเข้ามาระลึกรู้ จิตผู้รู้ได้.

ถ้า มีความรอบคอบ ถามครูบาอาจารย์มาให้ดี. ก็คงไม่ต้องช่วยตนเองขนาดนี้. แต่การที่คลำทางมาได้อย่างนี้. ก็สอนให้ผู้เขียนเคารพแต่ไม่ติดยึดอาจารย์. และซึ้งถึงคำว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ได้เป็นอย่างดี. และทำให้ผู้เขียนเคารพในศักยภาพของมนุษย์. เห็นว่าถ้าตั้งใจจริง ก็สามารถพัฒนาตนเองได้. เพราะขนาดผู้เขียนไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไร ก็ยังทำมาจนได้.

6. รู้จักจิต แล้วจะทำอย่างไรต่อไปดี

ทันทีที่แก้ปัญหาแรกตก คือตอบได้ว่า. จิตคืออะไร อยู่ที่ไหน และเอาอะไรไปดู. ปัญหาใหม่ก็ตามมาทันทีว่า. เมื่อรู้แล้วจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป. เพราะหลวงปู่สอนมาสั้นๆ ว่าให้ดูจิต. เมื่อผู้เขียนได้จิตผู้รู้มาด้วยการแยกขันธ์ ออกจากจิต. ผู้เขียนก็ต้องระวังรักษาจิตเพื่อเอาไว้ดู. โดยการป้องกันไม่ให้จิตไหลเข้าไปปนกับขันธ์. เพราะถ้าจิตไหลเข้าไปปนกับขันธ์ ก็จะไม่มีจิตผู้รู้เอาไว้ให้ดู.

ใน ช่วงวันแรกๆ ที่แยกจิตกับขันธ์ออกจากกันได้นั้น. ผู้เขียนใช้ความพยายามอย่างมากรักษาจิตไม่ให้ไหลเข้าไปรวมกับขันธ์อีก. แต่ก็รักษาได้เพียงชั่วขณะสั้นๆ. แล้วกว่าจะพิจารณาแยกออกได้อีกก็ใช้เวลาเป็นวันๆ. ผู้เขียนผู้ไม่มีความรู้ใดๆ อาศัยความอดทนและความเพียรพยายาม. รวมทั้งอุบายทุกชนิดที่จะรักษาจิตผู้รู้เอาไว้ให้ได้. เช่นใช้กำลังจิตพยายามผลักสังขารขันธ์ไม่ให้เข้ามาครอบงำจิต. เมื่อจิตไปติดก้อนสังขารที่ปรากฏด้วยความรู้สึกเป็นก้อนแน่นๆ ที่หน้าอก. ก็พยายามเจาะ พยายามทุบทำลายก้อนนั้นด้วยพลังจิต. บางคราวทุบตีไม่แตก ก็พิจารณาแยกเป็นส่วนๆ. บางคราวแยกแล้วก็ไม่สำเร็จอีก. ก็กำหนดจิตให้แหลมเหมือนเข็ม แทงเข้าไปเหมือนแทงลูกโป่ง. วันใดทำลายก้อนอึดอัดได้ ก็รู้สึกว่าวันนี้ปฏิบัติดี. บางวันทำลายไม่ได้ ก็รู้สึกว่า วันนี้ปฏิบัติไม่ดี.

ต่อมาเป็นเดือนๆ ก้อนอึดอัดนี้ก็เล็กลงเรื่อยๆ. แล้วสลายไปกลายเป็นความรู้สึกที่เคลื่อนไหวได้. เช่นเห็นการเคลื่อนไหวไปมาบ้าง. เป็นความไหวตัวยิบยับบ้าง. แล้วก็พบว่าอารมณ์แต่ละตัวที่เกิดขึ้น จะมีสภาวะที่รู้ได้ไม่เหมือนกัน. เช่นความโกรธเป็นพลังงานและมีความร้อนที่พุ่งขึ้น. โมหะเป็นความมืดมัวที่เคลื่อนเข้ามาครอบงำจิต. ถ้าเป็นกุศลจิต ก็จะเห็นความโปร่งว่างเบาสบาย. ในเวลาที่จิตกระทบอารมณ์ เช่นตกใจเพราะเสียงฟ้าผ่า. ก็จะเห็นการหดตัววูบ. ในช่วงนั้น ผู้เขียนเอาแต่ชุลมุนวุ่นวายอยู่กับการเรียนรู้สภาวะต่างๆ. และคอยแก้อาการต่างๆ ที่จิตเข้าไปติดข้อง. ด้วยความสำคัญผิดว่า นี่แหละคือการดูจิต. บัดนี้เราเห็นจิตชัดเจนแล้ว ว่ามีอาการต่างๆ นานา. สมควรแก่เวลาที่จะไปรายงานผลการปฏิบัติให้หลวงปู่ทราบ. ซึ่งท่านคงจะอนุโมทนาด้วยดี. เพราะศิษย์ได้ปฏิบัติตามคำสอนของท่านไม่หยุดหย่อนติดต่อกันมาแล้วถึง 3 เดือน.

ผู้เขียนไปนั่งอยู่แทบเท้าของหลวงปู่ผู้ชราภาพ. แล้วรายงานผลการปฏิบัติต่อท่านว่า. ผมเห็นจิตแล้ว. หลวงปู่ถามว่า จิตเป็นอย่างไร. ก็กราบเรียนท่านว่า จิตมีความหลากหลายมาก มันวิจิตรพิสดารเป็นไปได้ต่างๆ นานา ดังที่ได้พบเห็นมา. พอกราบเรียนจบก็ได้รับคำสอนที่แทบสะอึกว่า. "นั่นมันอาการของจิตทั้งนั้น ยังไม่ใช่จิต จิตคือผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึก ให้กลับไปดูใหม่"

เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...........จิต..........คืออะไร อยู่ที่ไหน.......
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 พ.ค. 2554, 11:17:30 »
ขอบคุณที่มา
http://nkgen.com/jit.htm
(ในต้นฉบับ มีการขยายความของคำต่างๆมากมายครับ)


จิต คืออะไร อยู่ที่ใด  และธรรมชาติของจิต
 กระดานธรรม ๑
 

        เป็นที่สงสัย ใคร่รู้ของปุถุชนมาแต่โบราณกาล ตลอดทุกยุคสมัย เพราะความต้องการใคร่รู้ว่า จิตบ้างวิญญาณบ้างเป็นอะไร อยู่ที่ใด  เพื่อหวังเข้าใจบ้าง หวังควบคุมและบังคับจิตหรือวิญญาณได้บ้าง หวังใช้ประโยชน์จากจิตบ้าง หวังในภพภูมิหรือชาติหน้าบ้าง หรือแม้แต่นักปฏิบัติธรรมเพื่อหวังประโยชน์ไปในทางดับทุกข์อันดีงาม  ดังนั้นจึงมีผู้พยายามแสวงหาคำตอบเหล่านี้ทั้งทางด้านปัญญา สมาธิ และไสยศาสตร์ วิทยาศาสตร์มาเป็นเวลาช้านานมาโดยตลอด  จนกล่าวว่าเป็นปัญหาโลกแตก จึงไม่มีผู้ใดสามารถตอบปัญหานี้ได้อย่างถูกต้องดีงาม  จนกระทั่งบังเกิดมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้นที่ได้ทรงหงายของที่คว่ำอยู่  เปิดของที่ปิด  บอกทางแก่คนหลงทาง ด้วยการตามประทีปในที่มืด ด้วยเห็นว่าผู้มีจักษุคือปัญญาคงเห็นได้  เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ด้วยพระมหากรุณาคุณอันยิ่งนั่นเอง

        จิตนั้นถ้าพยายามหาตัวหาตนว่าเป็นอะไร อยู่ที่ใดแล้ว  โดยไม่เข้าใจธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แล้ว  ก็จะเป็นดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวแสดงไว้ในเรื่อง "จิตคือพุทธะ" อันเป็นส่วนหนึ่งของ"คำสอนของฮวงโป"เช่นกัน

        "จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งที่เห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ  แต่ลองไปใช้เหตุผล(ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ   เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที   สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง  อันปราศจากขอบทุกๆด้าน  ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง  หรือวัดได้" (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม, น.๔๒๓)

        จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์  ที่บ้างก็เรียกกันว่ามโน  บ้างก็เรียกว่าหทัย  บ้างก็เรียกว่ามนายตนะ  บ้างก็เรียกว่ามนินทรีย์  บ้างก็เรียกว่าวิญญาณ ฯ.  หลายท่านพยายามหาว่า จิตคืออะไร?  เป็นอะไร?  อยู่ที่ใด?   บ้างก็ว่าเจตภูต  บ้างก็ว่าปฏิสนธิวิญญาณที่ลอยละล่องท่องเที่ยวแสวงหาภพใหม่หรือที่เกิดบ้าง  บ้างก็ว่ากายทิพย์  บ้างก็ว่าคือสมอง  บ้างก็ว่าหัวใจ  บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางอก  บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางศูนย์กาย  บ้างก็ว่ากลางหน้าผาก  บ้างก็ว่าเกิดมาแต่ชาติปางก่อน ฯลฯ.  ล้วนแล้วแต่ปรุงแต่งกันไปต่างๆนาๆ  กล่าวคือเป็นไปตามความเชื่อที่ถ่ายทอดหรือสืบต่อกันมา  หรือตามความเข้าใจของตัวของตน  ตามอธิโมกข์ ฯ.  จึงต่างล้วนตกลงสู่หลุมพรางของความผิดพลาด หรือมายาของจิตทันที   จึงเป็นไปดังคำกล่าวข้างต้นที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้กล่าวไว้นั่นเอง

        จิตนั้น  ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นสังขาร อันคือสิ่งปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น  แล้วย่อมเป็นไปภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ที่ว่า  ย่อมมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ในที่สุด  ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเป็นอนัตตา เพราะเกิดมาแต่การที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันหรือมาประชุมกันชั่วขณะหนึ่งหรือระยะเวลาหนึ่ง จึงเกิดจิตหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา ดังเช่น ตา กระทบ รูป ย่อมเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา อันคือจิตหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา   กล่าวคือเมื่อเกิดการกระทบกันของอายตนะภายนอกและภายในในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ จิตหรือวิญญาณหนึ่งๆก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  แล้วตั้งอยู่อย่างแปรปรวน  แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา  จิตจึงมีสภาพที่เกิดดับ เกิดดับๆๆ...เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา  อันเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ นั่นเอง ดังแสดงไว้ในชาติธรรมสูตร

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...........จิต..........คืออะไร อยู่ที่ไหน.......
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 พ.ค. 2554, 11:21:09 »
ขอบคุณที่มา และท่านwebmaster
http://nkgen.com/jit.htm
(ในต้นฉบับ มีการขยายความของคำต่างๆมากมายครับ)

ชาติธรรมสูตร

        [๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สิ่งทั้งปวงมีความเกิด(คือชาติ)เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ  รูป  จักษุวิญญาณ  จักษุสัมผัส(ผัสสะ) มีความเกิด(ของจิตหรือวิญญาณหนึ่งขึ้น จนยังให้เกิดเวทนาขึ้นด้วย)เป็นธรรมดา
(กล่าวคือเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้   ตา  รูป   จักษุวิญญาณ  จักษุผัสสะ...จิตหนึ่งก็มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา   แล้วยังให้เกิดเวทนาเป็นธรรมดา)
(พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๘)

        ในอายตนะหรือทวารอื่นๆในผู้ที่ยังดำรงขันธ์อยู่ ก็เป็นเฉกเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อ หู  กระทบ เสียง ย่อมเกิดโสตวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา แล้วย่อมเกิดการผัสสะกันเป็นธรรมดา  จิตหนึ่งจึงย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา,   เมื่อ คิดหรือธรรมารมณ์ กระทบกับ ใจ ย่อมเกิด มโนวิญญาณ หนึ่งขึ้นจากการกระทบกันเป็นธรรมดา จิตหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ.  ดังนั้นจิตจึงเกิดแต่เหตุต่างๆอันหลากหลาย มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน  และยังครอบคลุมหมายรวมไปถึงอายตนะภายนอกหรืออารมณ์คือสิ่งต่างๆที่ไปกระทบสัมผัสอีกด้วยคือเหล่าอายตนะภายนอกทั้ง ๖ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยใจ)  ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป  รูปหรือภาพที่เห็นอันทำหน้าที่เป็นอารมณ์ของจิตนั้น ก็ย่อมกลายเป็นส่วนหนึ่งของจิต กล่าวคือมีอิทธิพลหรือเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ,  จิตนั้นถ้าแยกออกมาเป็นกองเป็นกลุ่มหรือเป็นขันธ์ อย่างง่ายที่สุดก็มีถึง ๔ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  ซึ่งแต่ละกองหรือแต่ละขันธ์นั้น ก็ล้วนเป็นสังขาร-สิ่งปรุงแต่ง อันเกิดมาแต่เหตุปัจจัยต่างๆอีกมากหลายมาปรุงแต่งกันเช่นกัน จึงต่างล้วนเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยหนึ่งของจิตโดยทางอ้อมอีกด้วยทั้งสิ้น  ดังนั้นเมื่อประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันแปรปรวนได้มากหลายดังนี้ จึงย่อมมีความแปรปรวนง่ายดายเป็นที่สุด คือย่อมแปรปรวนไปตามเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันเหล่านั้นด้วย  จึงมีพระพุทธดำรัสไว้ว่า
เราไม่เล็งเห็นสิ่งอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง  ที่จะเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิตเลย
(เอกนิบาต ๒๐/๙)
จิตมีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
(ธรรมบท ๒๕/๑๗)

        "ภิกษุทั้งหลาย   การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะเข้าใจไปยึดถือว่าร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน  (webmaster - ขยายความว่า  ถึงแม้ว่าจะเป็นความเข้าใจที่ผิดก็ตาม แต่ก็)ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน  เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้  ยังปรากฎให้เห็นว่าดำรงอยู่(webmaster - ขยายความว่า  คงทนอยู่ไม่ได้อย่างแท้จริง  อยู่ได้)เพียงปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง  ๓ - ๔ - ๕  ปีบ้าง  ๑๐ - ๒๐ - ๓๐ - ๔๐ - ๕๐ ปีบ้าง  ๑๐๐ ปีบ้าง  เกินกว่านั้นบ้าง  แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณนี้  ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (webmaster - ขยายความว่า  เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆ อยู่ทั้งในขณะตื่น และแม้ขณะหลับไป เช่นการฝัน)"

(อัสสุตวตาสูตร)
(พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๖  หัวข้อที่ ๒๓๑)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พ.ค. 2554, 11:26:09 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...........จิต..........คืออะไร อยู่ที่ไหน.......
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 06 พ.ค. 2554, 11:28:44 »
ขอบคุณที่มา และท่านwebmaster
http://nkgen.com/jit.htm
(ในต้นฉบับ มีการขยายความของคำต่างๆมากมายครับ)



  จิตหนึ่งนี้  ตลอดจนสังขารทั้งปวง จึงมีการแปรปรวนหรือเปลี่ยนแปลง เกิดดับ เกิดดับๆๆๆ....อยู่ตลอดเวลา ตามเหตุอันมาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง เฉกเช่นดัง เงา
        เราก็รู้อยู่อย่างตำใจ ว่ามีจิต แต่ไฉนจึงกล่าวว่าไม่มีตัวไม่มีตน , ไม่ใช่ของตัวของตน อย่างแท้จริง  เหตุเพราะจิตนั้นอุปมาเหมือนดังเงา  อันไม่มีตัวตน,ไม่ใช่ตัวใช่ตน อย่างเป็นแก่นแกนถาวรแท้จริง จึงไร้แก่นสารหรือสาระอย่างแท้จริงที่จะไปยึดหรือไปอยากให้เป็นทุกข์   ดังเช่น ถ้าถามว่ามีเงาไหม ทุกคนก็ต้องตอบว่ามี ก็เพราะเห็นอยู่ทั้งตำตาและตำใจแท้ๆ  แต่ถึงจะมีก็จริงอยู่ แต่ก็อยู่ในสภาวะที่ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง ตามกฏพระไตรลักษณ์ นั่นเอง  เพราะเงาล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม กล่าวคือ มีเหตุต่างๆอันมี วัตถุทึบแสง, แสง, พื้นที่รับแสง มาเป็นปัจจัยกัน

เงา นั้นก็ไม่มีใน วัตถุทึบแสง       
เงา นั้นก็ไม่มีใน แสงหรือแสงแดด
เงา นั้นก็ไม่มีใน พื้นที่รับแสง       

         แต่เมื่อเหตุทั้ง ๓ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกันตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม กล่าวคือ วัตถุทึบแสงมาบังกั้นแสงที่ตกกระทบบนพื้นที่รับแสง จึงเกิด สังขาร - สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น จากเหตุทั้ง ๓ มาเป็นปัจจัยกัน  จึงเกิดสิ่งที่เราเรียกกันโดยภาษาสมมติหรือสมมติสัจจะว่า เงา ขึ้น  อันเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่เป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา ที่หมายถึงเมื่อเหตุปัจจัยครบดังนี้ ก็ย่อมต้องเกิดขึ้น จะไปห้ามไม่ให้เกิด,ไม่ให้เป็นก็ไม่ได้   เมื่อเจริญวิปัสสนาโดยการโยนิโสมนสิการจะพบว่า เมื่อเหตุต่างๆอันคือวัตถุทึบแสง, แสง, พื้นที่รับแสง ที่มาเป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่งเหล่านั้น  เมื่อเหตุตัวใดตัวหนึ่งซึ่งต่างก็ย่อมล้วนเป็นสังขารอันไม่เที่ยงเช่นกัน  มีอาการแปรปรวนหรือดับหรือสูญไป  เงาอันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม ย่อมต้องเกิดอาการแปรปรวน หรือดับไป กล่าวคือขึ้นอยู่หรืออิงอยู่กับเหล่าเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันนั้นนั่นเอง   เงาอันเป็นสังขารจึงมีการแปรปรวน หรือการเกิดดับๆๆๆ...เป็นไปตามเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ภายใต้ อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา เป็นไปเช่นดั่งจิต ที่ก็เป็นไปตามเหตุที่มาเป็นปัจจัยต่อกันและกันดังเช่นเงานั่นเอง  ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันก็ไม่เกิด   ดังนั้นการพยายามหาตัวหาตนของจิต หรือไล่จับจิตหรือวิญญาณ จึงเป็นการพลัดหลงสู่วังวนของความคิด  หรือมายาของจิต  จึงอุปมาได้ดั่งการพยายามวิ่งไล่จับเงา อันย่อมไม่มีวันประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเนิ่นนานสักกี่ร้อยภพ กี่พันชาติ ก็ตามที

        เงา เมื่อเป็นสังขารสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นชนิดหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้น จึงย่อมต้องเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ เกิดแต่เหตุปัจจัยมาเนื่องสัมพันธ์กัน ชั่วขณะหรือระยะหนึ่งเท่านั้น สังขารจึงมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปเป็นที่สุด เป็นอนัตตา ไม่เป็นแก่นไม่เป็นแกนอย่างแท้จริง เพราะคงทนอยู่ไม่ได้ และควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามใจปรารถนา เป็นไปหรืออิงตามเหตุปัจจัยหรือหลักปฏิจจสมุปบันธรรม  จิตก็เป็นเช่นดังเงานั้นนั่นเอง  ดังนั้นการพยายามหาตัวจิตหรือนิยามของจิตอย่างเฉพาะเจาะจง ก็จะเป็นการตกสู่หลุมพรางของความคิดหรือมายาของจิตทันที   ดังนั้นการที่ไปยึดหรือไปอยากใดๆในผลอันเกิดแต่จิตอันไม่เที่ยง  ผลอันเกิดขึ้นมาแต่เหตุที่ไม่เที่ยงนั้น  ผลก็ย่อมไม่เที่ยงไปด้วย  จึงย่อมต้องเกิดทุกข์ขึ้นในที่สุดจากการเสื่อม การสูญเสีย ความอาลัย ความอาวรณ์ ความคำนึงถึงต่างๆ  เพราะอำนาจพระไตรลักษณ์เป็นที่สุด

        จิต จึงไม่มีตัวตนเป็นแก่นเป็นแกน เป็นมายาเหมือนดั่งเงานั่นเอง เกิดแต่เหตุปัจจัยดุจดั่งเงา เมื่อขาดเหตุปัจจัยก็ดับไป  จิตจึงมีสภาวะเกิดดับ..เกิดดับ เหมือนดัง เงา ดังนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...........จิต..........คืออะไร อยู่ที่ไหน.......
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 06 พ.ค. 2554, 11:31:56 »
ขอบคุณที่มา และท่านwebmaster
http://nkgen.com/jit.htm
(ในต้นฉบับ มีการขยายความของคำต่างๆมากมายครับ)

อายตนะภายนอก --->  อายตนะภายใน --->  วิญญาณ หรือก็คือ จิตหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป เป็นไปตามธรรมดาหรือตามการกระทบของอายตนะในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือมีชีวิตินทรีย์อยู่  กล่าวคือเป็นไปดังพระสูตรที่ได้ตรัสแสดงไว้ดังนี้
       
[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณ(หรือจิต)อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น  ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น  ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ (ได้เกิดขึ้น กล่าวคือเกิดรู้แจ้งในอารมณ์อันคือรูป หรือรับรู้ในรูป)
วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือเสียง หรือรับรู้ในเสียง)
วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ (รู้แจ้งในกลิ่น หรือรับรู้ในกลิ่น)
วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ (รู้แจ้งในลิ้น หรือรับรู้ในลิ้น)
วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ (รู้แจ้งในกาย หรือรับรู้ในกาย)
วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ (รู้แจ้งในธรรมารมณ์ หรือรับรู้ในธรรมารมณ์)

เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ
ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้
ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า
ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า 
ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย   
ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ
ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...........จิต..........คืออะไร อยู่ที่ไหน.......
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 06 พ.ค. 2554, 11:36:53 »
ขอบคุณที่มา และท่านwebmaster
http://nkgen.com/jit.htm
(ในต้นฉบับ มีการขยายความของคำต่างๆมากมายครับ)



(มหาตัณหาสังขยสูตร)

         จิตนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของตัวตน  เกิดดับ เกิดดับ...ขึ้นตามเหตุปัจจัยการกระทบกันดังข้างต้นในมหาตัณหาสังขยสูตร  จึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย  จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเรา จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนาอย่างแท้จริง ที่หมายถึงเมื่อกระทบกันของอายตนะภายนอกและอายตนะภายในในผู้ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตินทรีย์อยู่ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ   แต่เพราะความที่ไปควบคุมเหตุบางประการได้ระยะหนึ่งเท่านั้ัน จึงเกิดมายาหลอกลวงจิตให้เห็นผิดไปว่าควบคุมบังคับมันได้  จิตจึงแปรปรวนไปตามเหตุหรือสิ่งที่กระทบสัมผัสอันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ  โดยอาศัยส่วนหนึ่งของกายเป็นประตูหรือทวารเชื่อมอีกด้วยโดยอายตนะภายในต่างๆนั่นเอง  และกายก็ยังเป็นแหล่งแสดงผลของจิตอีกทางหนึ่งด้วย  ดังนั้นแม้แต่กายจริงๆแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งหรือเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตอีกด้วย  ตลอดจนขันธ์ต่างๆของจิตเองอันมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็ล้วนเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้นเช่นกัน จึงต่างก็ล้วนมีเหตุมีปัจจัยของมันเองทั้งสิ้น  ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง จิตจึงเป็นสิ่งที่แปรปรวน ลึกลับสุดหยั่ง และควบคุมบังคับได้ยาก เพราะเกิดแต่เหตุปัจจัยมากหลายดังที่กล่าวมา  และยังมีมายาของจิตนั่นเองที่พยายามเสกสรรปั้นแต่งด้วยอำนาจของตัณหาอันยังให้เกิดอุปาทานให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริง

        ด้วยธรรมชาติของชีวิตดังนี้นี่เอง  เมื่อใจคิดนึกปรุงแต่ง กล่าวคือฟุ้งซ่าน ก็ย่อมเกิดจิตต่างๆขึ้นเป็นธรรมดา และเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา ดังได้กล่าวโดยละเอียดไว้แล้วในขันธ์ ๕  ด้วยเหตุนี้นี่เองจึงจำเป็นต้องมีสติรู้เท่าทันจิต กล่าวคือจิตสังขารที่ครอบคลุมทั้งเวทนาและจิตสังขารคิด แล้วหยุดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งเสีย กล่าวคือเมื่อยังปรุงแต่งฟุ้งซ่านอยู่ย่อมยังให้เกิดทุกขเวทนาขึ้นได้เป็นธรรมดา
        ดังนั้นเราจึงพอให้แค่ความหมายแก่จิต เพียงเพื่อใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกันว่า
        จิต คือ องค์ประกอบอันสำคัญยิ่งของชีวิตทั้งหลาย ส่วนที่นอกเหนือไปจากส่วนรูปหรือรูปขันธ์(ร่างกายหรือตัวตน)  แต่ถึงกระนั้นกายนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของจิตอีกด้วย  หรือ
        จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ กล่าวคือ สภาวธรรมของชีวิตที่รับรู้อารมณ์ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่กระทบ,   สภาพที่นึกคิด,   ความคิด,   ใจ;

        ส่วนคำถามที่ว่า จิตอยู่ที่ไหน? นั้น เป็นคำตอบเดียวเช่นกับเงานั่นเอง กล่าวคือจิตไม่มีตัวตนแท้จริงเป็นอนัตตาเหมือนดังเงาดังที่กล่าวข้างต้น  เมื่อมีเหตุเป็นปัจจัยกัน จิตหนึ่งก็เกิดขึ้น  ไม่มีเหตุก็ไม่เกิด  จึงอิงหรือขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง  กล่าวคือในผู้มีชีวิตินทรีย์อยู่ เมื่ออายตนะภายนอกกระทบหรือประจวบกับอายตนะภายใน  จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
        จิตหรือวิญญาณ จึงเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ดีแล้ว ในมหาตัณหาสังขยสูตรตอนหนึ่งว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
                เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ  ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี
        ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณเจ้าพระธรรมปิฏก ก็ได้กล่าวถึงจิตไว้ดังนี้   
         "จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์  ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป

        เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕  จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์.
        ส่วนคัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว  แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน ๘๙  หรือโดยพิสดารมี ๑๒๑  เรียกว่า จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

        แบ่ง โดยชาติหรือลักษณะของการเกิดแบบต่างๆ เป็น  อกุศลจิต ๑๒  กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗)  วิปากจิต ๓๖ (๕๒)  และกิริยาจิต ๒๐;
        แบ่ง โดยภูมิ เป็น  กามาวจรจิต ๕๔  รูปาวจรจิต ๑๕  อรูปาวจรจิต ๑๒  และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)."

        ดังคำอรรถกถาธิบายข้างต้น  จะเห็นการจำแนกจิต   จิต โดยตามความเป็นจริงแล้วจึงเกิดได้หลายดวง  ดวงที่เป็นเพียงสรรพนามที่มีความหมายถึงอาการ จึงหมายถึงว่า จิตเกิดอาการของจิตได้หลายอาการในชั่วขณะหนึ่งเช่นกัน ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  และในขณะเดียวกันนั้นหูก็กระทบในเสียงก็ย่อมมีจิตอีกดวงย่อมเกิดขึ้นร่วมด้วยเป็นธรรมดา  และถ้าในขณะนั้นธรรมารมณ์(เช่นคิด)กระทบใจ ก็ย่อมมีอีกจิตหนึ่งร่วมเกิดขึ้นด้วยอีกเป็นธรรมดา ฯ.  จึงเกิดจิตได้หลายดวงหรืออาการในขณะหนึ่งๆ เพียงแต่ว่าจิตดวงใดเด่นหรือเป็นเอกอยู่ในขณะนั้นๆ หมายถึงแสดงอาการออกมาอย่างเด่นชัดที่สุดในขณะนั้นๆนั่นเอง  อุปมาได้ดังพลุที่ยิงขึ้นท้องฟ้าในงานเทศกาล อันย่อมประกอบด้วยพลุจำนวนมากนับสิบนับร้อย แต่ ณ ขณะหนึ่งๆนั้น ย่อมมีพลุที่งามเด่นในสายตาอยู่หนึ่ง  แต่แล้วต่างก็ล้วนต้องดับไปเป็นที่สุด  จิตก็เป็นไปเช่นดังพลุ   หรือดังเงาที่กล่าวข้างต้นนั่นเอง

        เงานั้นเกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น วัตถุทึบแสง และแสง เมื่อสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือเหตุ มีอาการแปรปรวนอันใดเป็นธรรมดา  เงานั้นก็ต้องแปรปรวนหรืออิงขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยนั้นๆ มิสามารถควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนา  เพราะแปรปรวนหรืออิงกับเหตุอันมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันเหล่านั้นเป็นธรรมดาอย่างจริงแท้แน่นอน  ไม่มีตัวตนที่แท้จริง หรือตัวตนไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง  จิตก็เช่นเดียวกัน   แต่เงานั้นเมื่อมีอาการแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแล้ว เป็นทุกข์ไหม?  ย่อมไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัณหาทะยานอยากหรือไม่อยากใดๆในเงานั้นนั่นเอง  อันเป็นสิ่งที่เราพึงต้องพยายามปฏิบัติให้เป็นเช่นนั้นต่อจิตหรือผลของจิตเช่นกัน

         เนื่องจากจิตเกิดแต่เหตุได้มากหลาย มาเป็นปัจจัยกัน   จิตจึงกวัดแกว่ง แปรปรวนได้ง่าย  ควบคุมบังคับได้ยาก  จึงต้องหัดควบคุมจิตไม่ให้กวัดแกว่ง แปรปรวน หรือฟุ้งซ่าน  เราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการฝึกจิตให้มีสติ ระลึกรู้เมื่อปรุงแต่ง  และมีปัญญาอย่างแจ่มแจ้งไม่คิดนึกปรุงเพราะรู้เข้าใจว่า ถ้าคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านเสียแล้วย่อมก่อให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นนั่นเอง