ผู้เขียน หัวข้อ: อักษรกำกับยันต์มีกี่ชนิดครับ  (อ่าน 4249 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฅนอยุธยา

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 53
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ มีข้อสสัยอีกแล้วอ่ะครับ

คือผมเป็นคนอยุธยานะครับ เพื่อนๆ ไปสักมา ก็อาจารย์เวช ตรงข้ามวัดบ้านแจ้ง
อาจารย์เหว่า แระก็วัดจอมเกษ  พระอาจารย์ที่สักอยู่ก่อนหลวงพี่เลี้ยงอ่ะครับ

ข้อสงสัยคือ อักขระที่กำกับยันต์  มีบางตัวที่เหมือนกับเป็นสระ คืออยู่ด้านล่างขระข้างบน แระยังมีลักษณะ
ไม่เหมือนกับ ของวัดบางพระ 

ในความเข้าใจของผม คือ เป็นคนละสายกัน แระได้รับการถ่ายทองจากอาจารย์ มีคนละอักษร(อักขระ)
เหมือนภาษาอังกฤษ ที่บางประเทศมีจุดๆ อยู่ข้างบน

แระที่ผมเอ่ยมา สายอยุธยานี่ใช่ อักษรขอม อักษรบาลี หรือ...?  วานผู้รู้มาบอกทีนะครับ  จะได้มีความรู้เพิ่มอีก1 เรื่อง



ออฟไลน์ หนุมานน้อย

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 33
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: อักษรกำกับยันต์มีกี่ชนิดครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 มิ.ย. 2552, 10:44:37 »
อาจารย์วัดจมเกศที่อยู่ก่อนหลวงพี่เลี้ยง ท่านชื่ อ.ทรงยศ ครับ สึกออกมาหลายปีแล้ว ตอนนี้เปิดสำนัอยู่ ใกล้กับวัดไชวัฒนารามครับ
ส่วนอักขระ ที่คุณถามมา อาจเป็นคำควบกล้ำที่ออกเสียงเป็นภาสาไทย หรือเขียนสะกดคำตรงตัว และอีกอย่างก็มีคือ เขียนแบบขอมแท้ๆซึ่งนิยมใช้กันในแถบภาคอีสานติดกับประเทศกัมภูชา เป็นภาสาที่เขียนสั้นๆต่อกันเป็นชั้นๆแต่อ่านออกเสียงเป็นประโยคทียาวทีเดียว ว่าแต่อักขระที่คุณว่ามานี้อาจราย์ท่าใดเป็นผู้ลงให้เอ่ย อิอิอิ : :005:
น้อมคำนพครูบาอาจาริ
ด้วยสติครบถ้วนไม่มัวหมอง
ท่านประสิทธิ์วิชาตามคันลอง
มิให้ต้องศาตราและโภยภัย
ศิษย์คนใดไร้ละลึกถึงครูนี้
ต่อให้ได้ของดีมาจากไหน
คนเยี่ยงนี้เขาเรียกคน_ไร
ของที่จะมาค้มตัวมึ_

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ตอบ: อักษรกำกับยันต์มีกี่ชนิดครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 25 มิ.ย. 2552, 01:48:47 »
ด้วยความเคารพครับเท่าทีผมทราบ
อักขระต่างๆที่ใช้ในวิชาไสยศาสตร์ ก็แบ่ง
ตามลักษณะของพื้นที่ภูมิประเทศเป็นหลักครับ
เช่นทางเหนือ ใช้ตัวธรรม หรืออักษรฝักขาม บางทีก็เรียกตั๋วเมือง
หรือใช้อักษร ไทยใหญ่ พม่า มอญ เหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายกันครับ
แต่อาจจะแตกต่างในเรื่องของตัวสะกด สระ และรูปแบบของตัวอักษร
ส่วนทางภาคกลาง ที่นิยมกันมากคือขอมกลาง หรือก็คือขอมที่เขียนและใช้กันอยู่
ในปัจจุบัน ขอมกลางนี้ส่วนมากใช้เขียนให้อ่านออกมาเป็นคำบาลี หรือคำในบทสวดมนต์
ที่เราๆท่านๆเคยท่องกันมาแล้วนั่นเอง แต่ตัวขอมจริงๆก็มีครับ อีกชนิดหนึ่งเรียกว่าขอมโบราณ
หรือขอมเก่า จะเขียนไม่เหมือนขอมบาลีหรือขอมกลาง ปัจจุบันหาคนที่ศึกษาภาษาขอมเก่าได้น้อยมากครับ
ส่วนมากที่อ่านออกเขียนได้จะเป็นขอมกลางกันซะมาก
อีกชนิดหนึ่งคือขอมลาว เป็นตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายกับตัวธรรมของทางเหนือครับ
ส่วนที่ใช้ในภาคกลางส่วนมากก็คือขอมกลางน่ะแหละครับ แต่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของการใส่ตัวสะกด
เพราะอักษรขอม การใส่ตัวสะกดมีหลากหลายครับแต่เน้นๆคืออ่านออกเสียงเหมือนกันครับ จะแตกต่างกันบ้างที่วิธีการประสมสระและตัวสะกดเสียส่วนมากครับ
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ